คำสอน ของฮวงโป |
|
พุทธทาส แปลไทย, The Zen Teaching of Huang Po by John Bolfeld แปลอังกฤษ
ส่วนหนึ่งของ คำสอนของฮวงโป, ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thammapedia.com/dhamma/books/bdds/500.pdf
|
ส่วนหนึ่งจากคำชี้แจงโดยท่านพุทธทาส เพื่อทำความเข้าใจภาษาของทางนิกายเซ็นในเบื้องต้น ดังนี้
สำหรับผู้อ่านที่เป็นเถรวาท เมื่อได้ฟังคำว่า จิต, จิตหนึ่ง, ทาง, พุทธะ, หรือแม้แต่คำว่า ธรรม ก็ตาม อย่าได้เข้าใจว่า มีความหมายเหมือนกับที่เข้าใจหรือรู้อยู่เดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อได้ยินคำพูดของฮวงโปซึ่งผิดไปจากเว่ยหล่างอีกไม่น้อยเลย ตัวอย่างเช่นคำว่า จิต หรือจิตหนึ่ง หมายถึงสิ่งๆหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ก่่อนที่จะเกิดมีจิตตามความหมายที่เรารู้จักกัน หรือยิ่งไปกว่านั้น ก็คือก่อนเกิดมีสิ่งทั้งปวงนั่นเอง ก่อนเกิดมีสังสารวัฏและนิพพานตามความรู้สึกทั่วไป สิ่งที่เรียกว่า จิตหนึ่งก็มีอยู่แล้ว คือมีตั้งแต่ไม่มีใครทราบ คำว่าทางก็คือสิ่งนี้ พุทธะก็คือสิ่งนี้ ฉะน้้นจะต้องค่อยๆอ่านไป และค่อยๆจับใจความให้ได้ ว่ามันหมายถึงอะไร (webmaster-น่าจะตีความหมายได้ว่าหมายถึงธรรมหรือธรรมชาติอย่างหนึ่ง คือสภาวธรรมหรือธรรมชาติของจิตเดิมแท้อันบริสุทธิ์ ก่อนที่กิเลสจะจรมาสั่งสมปรุงแต่ง)
ทีนี้
ที่ยังยากไปกว่านั้นอีกก็คือ แม้คำว่า มี ก็มิได้มีความหมายเหมือนกับคำว่า มี ตามธรรมดาสามัญ
คือมันอยู่ในสถานะ ที่เรียกว่ามี ก็ไม่ถูก, เรียกว่า ไม่มี ก็ไม่ถูก หรือถ้าถูก
ก็ถูกทั้งที่จะเรียกว่า มีและไม่มี เพราะว่ามันมี โดยไม่ต้องมีความมี ซึ่งคนธรรมดาหรือคนที่ยังมองไม่เห็นสิ่งๆนี้จะฟังไม่เข้าใจได้เลย
(webmaster-น่าจะเทียบเคียงได้กับธรรมชาติเช่นกัน
เพียงเกิดขึ้นดั่งเงา
ที่จะว่า"มี"
ก็ไม่ถูก จะว่า"ไม่มี"ก็ไม่ใช่)
ที่ยุ่งยากต่อไปอีกก็คือข้อความที่ว่า สัตว์ทั้งหลายก็เป็นสิ่งๆเดียวกันกับ สิ่งที่เป็น จิตหนึ่ง หรือเป็นพุทธะอยู่เองแล้ว แม้สิ่งท้้งปวงก็เป็นสิ่งเดียวกัน แต่สัตว์ทั้งหลายถูกกิเลสห่อหุ้ม หรือปรุงแต่งความรู้สึกเสียเรื่อย จิตเดิมแท้หรือจิตหนึ่ง จึงไม่ปรากฏแก่เขา ทั้งที่กิเลสก็เป็นสิ่งๆเดียวกับ สิ่งที่เรียกว่า จิตหนึ่งนั้น เหมือนกัน เมื่อสัตว์ทั้งปวงก็เป็นพุทธะอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีการปฏิบัติอะไรอีก นอกจากการทำให้เห็นว่า ตนเป็นพุทธะอยู่แล้ว และหาความเป็นพุทธะนั้นให้พบ เหมือนคนหาของที่ติดอยูที่หน้าผากของตนเองแล้ว การเที่ยวหาที่อื่น หรือทำการปฏิบัติอย่างอื่นๆอีกมากมายน้ันเป็นความบ้าหลังเปล่าๆ นี้คือใจความสำคัญของคำว่า การตรัสรู้ฉับพลัน หรือการเดินทางลัด
ถัดไปอีกที่จะต้องทราบไว้กันความยุ่งยากก็คือว่า ลัทธินี้ เป็นลัทธิไม่มีรูปธรรม หรือไม่เกี่ยวกับรูปธรรมเลย ทุกอย่าง ถูกแปลเป็นธรรมธิษฐาน หรือฝ่ายนามธรรมไปหมด เช่นคำว่า โพธิสตว์ มิได้หมายถึงคน แต่หมายถึงคุณธรรมอย่างใดอยางหนึ่ง เช่นคำวา โพธิสตว์อวโลกิเตศวร หมายถึงความเมตตากรุณา โพธิสตว์มัญชุศรี หมายถึงกฎแห่งเหตุผลที่ว่าสตว์ เป็นพุทธะอยู่แล้ว ดังนี้เป็นต้น ข้อนี้ผู้อ่านจะต้องสังเกต ให้เห็นชัดเจนว่า เป็นความมุ่งหมายของคำสอนแห่งนิกายนี้
อีกทางหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดอาการน่าเวียนหัว หรือถึงกับสะดุ้งสะเทือนแก่คนบางพวก ก็คือข้อที่คำกล่าวของนิกายนี้ ใช้ตรรก หรือใช้การกล่าวตามวิธีของตนเอง เช่นกล่าวยกย่องการที่ไม่มีความคิดปรุงแต่ง โดยยกเอาพระพุทธเจ้ามาเทียบกับคนสามัญ ว่าถ้าคนสามัญไม่มีความคิดปรุงแต่ง ก็มีคุณธรรมสูงกว่าพระพุทธเจ้า ผู้หมดความคิดปรุงแต่งสิ้นเชิงแล้ว ข้อนี้มีเลศนัยอยู่ตรงที่ว่า คนสามัญที่ไม่มีความคิดปรุงแต่งต้องถือว่าเก่งกว่าพระพุทธเจ้าที่มีความคิดปรุงแต่ง ดังนี้เป็นต้น
สำหรับข้อที่ชวนให้เวียนหัวนั้น เป็นวิธีพูดของท่านฮวงโปแบบหนึ่งโดยเฉพาะ เนื่องจากประสงค์จะสกัดกั้นการยึดถือ เสียโดยประการทั้งปวงโดยตะพึดตะพือไปทีเดียว ทำให้มีการปฏิเสธทั้งขึ้นทั้งล่อง ตัวอย่างเช่น กล่าวว่าพุทธะและสัตว์ทั้งปวง คือจิตหนึ่ง หรือออกมาจากจิตหนึ่ง, แล้วก็ต่อท้ายเลยต่อไปว่า จิตหนึ่งนั้นมิใช่ทั้งพุทธะและมิใช่ทั้งสัตว์ทั้งหลาย ทั้งนี้เพราะว่า ในจิตหนึ่งนั้น ไม่มีคติทวินิยม คนที่ไม่คุ้นเคยกับการพูดวิธีนี้ ของท่านผู้นี้ พอได้ฟังเขาก็งง จนเวียนหัว ในกรณีเช่นนี้ ท่านมุ่งหมายที่จะกล่าวว่าสิ่งที่เรียกว่าจิตหนึ่งนั้น เป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกมองว่าเป็นสิ่งที่มีคุณสมบัติสองอย่างชนิด ตรงกันข้าม ที่เรียกว่าคติทวินิยมนั่นเอง พระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามจากสามัญสัตว์ ทำนองดีกับชั่วเป็นของตรงกันข้ามต่อกัน เป็นต้น คติมีของหรือมีลักษณะตรงกันข้ามเป็นคู่ๆ เช่นนี้ มีในสิ่งที่เรียกว่า จิตหนึ่ง ไม่ได้ ถ้ามีได้ก็ไม่เรียกว่าจิตหนึ่ง. แต่แล้วจิตหนึ่งนั้นเอง เป็นทั้งพระพุทธเจ้าและเป็นทั้งสามัญสัตว์ทั้งปวง เมื่อเป็นดังนั้น ก็ย่อมหมายความว่าพระพุทธเจ้าและสามัญสัตว์เป็นสิ่งๆเดียวกัน มิได้ต่างกันแม้แต่น้อย อย่าว่าที่จะต่างกันถึงตรงกันข้ามเลย นี่แหละคือความแปลกประหลาดผิดเขาทั้งหมดของนิกายนี้ ผู้อ่านจะต้องสังเกตุจับฉวยให้ได้ และข้อสำคัญก็คือ ต้องรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลาที่อ่าน ว่าเรากำลังอ่านถ้อยคำที่มีหลักเกณฑ์ในการกล่าว ผิดจากของเราเอง หรือที่เราเคยอ่านๆกันมาแล้วแต่ก่อนอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างอีกอันหนึ่ง มีอยู่ว่า ถ้าจิตของผู้ปฏิบัติ ตกไปในฝ่ายรูปธรรมหรือยึดรูปธรรมเป็นหลักแล้ว ทางของพุทธะ ก็เป็นอันตรายเท่ากับทางของมาร โดยเท่ากัน เพราะฉะนั้นพุทธะกับมารย่อมเป็นของเท่ากันหรือสิ่งเดียวกัน ในเมื่อเป็นเพียง ความคิดอย่างคติทวินิยม ที่เกิดขึ้นเพราะการหลงติดในฝายรูปธรรม ข้อนี้อธิบายคล้ายข้อบน เป็นแต่แสดงให้เห็นชัดลงไปว่า คติทวินิยมมีแต่ในฝ่ายที่มองกันอย่างรูปธรรมหรือฝ่ายรูปธรรม ถ้าเขาถึงตัวความจริงแท้แล้ว พุทธะก็ไม่มี มารก็ไม่มี มีแต่ จิตหนึ่ง หรือ ความว่างทั้งจากพุทธะและจากมาร ฉะนั้น ถ้าจิตหนึ่ง คือพุทธะแล้ว มารก็คือจิตหนึ่ง ด้วยเหมือนกัน ไม่มีอะไรต่างกันเป็นคู่ๆไปได้เลย มีแต่จิตหนึ่ง ธรรมหนึ่ง ธาตุหนึ่ง พุทธะหนึ่ง หรืออะไรๆก็หนึ่ง คืออย่างเดียวเท่านั้น ไปทั้งนั้น ถ้าไม่มีความคิดปรุงแต่งที่หลงผิดเนื่องจากหลงต่อคติทวินิยมแล้ว จะไม่เห็นว่ามีอะไรที่เป็นคู่เลย และเห็นจิตหนึ่ง นั้นได้ทันที นี้คือหลักสำคัญของนิกายนี้
webmaster ขอกล่าวถึงความเป็นไปของนิกายเซ็น
ทางนิกายเซ็นนั้น ได้บันทึกไว้ดังในคำสอนของฮวงโป และถือว่า ได้รับคำสั่งสอนแบบจิต สู่ จิต โดยตรงจากพระพุทธเจ้าที่ถ่ายทอดให้พระมหากศยปะ (ซึ่งทางนิกายเถรวาทก็คือ ท่านพระมหากัสสปะ) จึงถือว่าท่านมหากศยปะหรือพระมหากัสสปะเป็นพระปฐมสังฆปรินายกองค์แรกของนิกายเซ็น ของอินเดียหรือของโลก และธรรมะนี้ก็ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ด้วยวิธีจิต สู่ จิต ถ่ายทอดกันมาดังนี้ตลอดมา, ส่วนท่านโพธิธรรมเป็นภิกษุชาวอินเดีย เชื่อกันว่าเป็นเจ้าชายของแว่นแคว้นหนึ่ง ไปศึกษาแสวงธรรมอยู่กับพระปรัชญาตาระเถระ ผู้เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ ๒๗ แห่งนิกายเซน (ซึ่งว่าสืบทอดต่อๆมาตั้งแต่พระมหากัสสปะในสมัยพุทธกาล ถือเป็นพระปฐมสังฆปริณายกองค์แรกของนิกายเซนในประเทศจีน) ต่อมาท่านโพธิธรรมได้เดินทางมาโปรดสัตว์ ณ ประเทศจีน แล้วสร้างวัดที่คนไทยรู้จักกันดีว่า วัดเสี้ยวลิ้มยี่ หรือวัดเส้าหลิน ที่มีชื่อเสียงตราบมาจนทุกวันนี้ ท่านได้สถาปนานิกายเซ็นขึ้นในประเทศจีน และฝ่ายมหายานถือว่าท่านพระโพธิธรรมเป็นสังฆปรินายกองค์ที่ ๒๘ ของนิกายเซ็น ที่สืบทอดโดยตรงมาจากพระโคตมพุทธเจ้า ตั้งแต่สมัยพุทธกาล, หรือนับเป็นสังฆปรินายกองค์ที่ ๑ ของจีน และต่อมานิกายเซ็นแพร่หลายถ่ายทอดไปยังประเทศต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น, ส่วนท่านเว่ยหล่างผู้เป็นอาจารย์ของท่านฮวงโป ก็เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ ๖ ของจีน
(webmaster-คำสอนของฮวงโป
ท่านเน้นสอนถึง การบรรลุธรรมหรือการตรัสรู้อย่างฉับพลัน และถือหลักอย่างเรียบง่ายอันเป็นไปตามหลักนิกายเซ็น สิ่งที่ท่านเน้นให้เห็นถึงการบรรลุถึงจิตพุทธะหรือจิตหนึ่งหรือจิตเดิมแท้โดยเรียบง่ายและฉับพลันโดยจิต
อย่างหนึ่งนั้น
ก็คือ
การหยุดคิดนึกปรุงแต่ง หรือก็คือหยุดอุทธัทจะในฝ่ายเถรวาทของไทยเสียนั่นเอง
หรือการอุเบกขานั่นเอง ยิ่งประกอบด้วยปัญญาพละจากความเข้าใจอันแจ่มแจ้งในความเป็นเหตุปัจจัยกันของขันธ์
๕ หรือปฏิจจสมุปบาท จักยิ่งให้ผลอันยิ่ง เพราะเมื่อหยุดการความคิดปรุงแต่งที่ประกอบด้วยปัญญาคือด้วยรู้เหตุรู้ผลนั่นเอง
ย่อมทำให้อวิชชาอันเป็นสังโยชน์ข้อสุดท้ายดับไปด้วย, การอ่านหรือโยนิโสมนสิการจึงพึงพยายามจับสาระสำคัญให้ได้
เนื่องจากความยากลำบากของการสื่อกัน เนื่องจากการสั่งสมอบรมแตกต่างกันไปตามแต่นิกาย)
การ "หยุดคิดนึกปรุงแต่ง" ตามวิถีเซ็น
เป็นไปได้ไหมในการปฏิบัติแบบเซ็น ตามคำสอนของท่านฮวงโป
ภาคหนึ่ง
ว่าด้วยบันทึกชึนเชา ของครูบา ฮวงโป (ตวนชิ) แห่งนิกายเซน
รวมบนทุกคำสอนและคำสนทนา ระหว่างเป่ยสุ่ย กับท่านครูบาฮวงโป ในขณะที่ท่านครูบาพักอยู่ในเมืองชึนเชา
บันทึกชึนเชา
๑. จิตหนี่ง
1 ท่านครูบาได้กล่าวกับข้าพเจ้าว่า พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง (One mind) นอกจากจิตหนึ่ง นี้แล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย.
สรุปย่อคำสอนของท่านฮวงโป โดยWebmaster-จิตหนึ่ง นี้เป็นสภาวธรรม หรือธรรมชาติอย่างหนึ่งอันเป็นวิสัยของชีวิตทั้งปวงนั่นเอง คือนอกจากธรรมชาติแล้วมิได้มีอะไรตั้งอยู่ได้เลย
2 จิตหนึ่ง ซี่งเป็นสิ่งที่ปราศจากการตั้งต้น เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้น* และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมี สีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ มันไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งทั้งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ มันไม่อาจจะถูกลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือของเก่า มันไม่ใช่ของยาว ของสั้น ของใหญ่ ของเล็ก ทั้งนี้เพราะมันอยู่ เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และเหนือการเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น(webmaster-จิตหนึ่งจึงน่าจะมีความหมายถึงจิตเดิมแท้ หรือธรรมชาติได้)
* คำว่าไม่ได้เกิด ในที่นี้มิได้หมายถึงความเป็นอมตะ แต่หมายถึงสิ่งตรงข้ามจากการเกิดเท่านั้น หรือจะขยายความออกไปว่า มันเป็นสิ่งที่ไม่ยอมรับอานาจของความเปลี่ยนแปลงก็ได้ ผู้แปลเป็นไทย (จึงน่าจะหมายถึง"สภาวธรรม หรือธรรมชาติ"ได้-webmaster)
จิตป็นสภาวธรรมอย่างหนึ่ง
ไม่มีตัวตนอยู่ที่ใดๆ จึงไม่อาจเกิดเป็นตัวตนอย่างแท้จริงได้และจึงย่อมไม่ถูกทำลายได้เช่นกัน
เพียงแต่ปรากฏขึ้น(เรียกว่าเกิดก็ได้)เมื่อมีเหตุปัจจัย ดับไปหมายถึงว่างปล่าเมื่อเหตุปัจจัยไม่ครบองค์ประกอบ
จึงไม่มีรูปลักษณะใดๆปรากฏ มันเป็นไปของมันเช่นนี้เองโดยธรรม(ธรรมชาติ)
เหมือนดังเงา
3 จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เธอเห็นตำตาเธออยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เธอจักหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้เป็นเหมือนกับความว่างอันปราศจากขอบเขตทุกๆด้าน ซึ่งไม่อาจหยั่งหรือวัดได้
ก็รู้ๆตำตาตำใจว่ามีจิต แต่จิตเป็นเพียงสภาวธรรมหรือธรรมชาติ อันเป็นวิสัยของชีวิตอย่างหนึ่ง มันจึงเป็นไปเช่นนี้เอง จึงยากต่อการให้ความหมายหรือคำจำกัดความใดๆลงไปได้อย่างเฉพาะเจาะจง ถ้าไปคิดหาจิตจึงเกิดคิดปรุงแต่งไปต่างๆนาๆ อย่างผิดพลาด
4 จิตหนึ่งนี้เท่านั้น เป็นพุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่าง พุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆเสีย และเพราะเหตุนั้น จึงได้แสวงหา พุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้นเท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยว จับ ฉวย จิต* แม้เขาเหล่านั้นจะได้พยายามสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปป์หนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถบรรลุถึงมันได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง** และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะ ก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิตนี้ คือพุทธะ นั่นเอง และพุทธะก็คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั้นเอง สิ่งๆนี้เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นใหญ่หลวงก็หาไม่ (webmaster-มีความหมายว่า ต่างก็ล้วนดีงามกันทั้งสิ้น)
จิตพุทธะ แท้จริงไม่มีความแตกต่างกัน เพราะเป็นสภาวธรรมของสัตว์โลกทั้งหลาย แต่สัตว์โลกทั้งหลายมัวแต่ลุ่มหลงยึดมั่นในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส กันเสีย จึงไปเเที่ยวแสวงหาจิตพุทธะจากทางอื่นๆจากภายนอก เช่นจากบุญ กุศล การปฏิบัติต่างๆนาๆ นอกลู่นอกทางไป ไม่ได้รู้ว่าจิตพุทธะนั้นเป็นสภาวธรรมอย่างหนึ่งของทุกคนหรือสัตว์โลก โดยที่เพียงหยุดคิดปรุงแต่งหรืออุทธัจจะ และหยุดการแสวงหา เสียเท่านั้น จิตพุทธะก็ย่อมปรากฏขึ้นในตน การหยุดคิดปรุงแต่ง เป็นหลักปฏิบัติเดียวกันกับฝ่ายเถรวาทของไทยคือการอุเบกขาสัมโพชฌงค์ องค์ประกอบของการตรัสรู้นั่นเอง เป็นการปฏิบัติเข้าสู่จุดหมายหรือเหตุที่สำคัญที่สุด จึงเป็นการปฏิบัติชนิดลัดสั้นเข้าสู่จุดหมายของการดับทุกข์ คือการหยุดมโนกรรมฝ่ายอกุศลหรือจักก่อกิเลสที่เกิดขึ้นเสีย ด้วยกำลังของปัญญาพละอันเกิดขึ้นจากปัญญาญาณที่รู้ดียิ่งว่า ถ้าคิดนึกปรุงแต่งต่อไปย่อมเนื่องเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดทุกข์ที่ประกอบด้วยอุปาทานหรือกิเลสสืบเนื่องต่อไป นั่นแหละคือการหยุดคิดนึกปรุงแต่ง หรือการอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันเป็นที่สุดในการปฏิบัติ
(ความคิดเห็นของ webmaster เกี่ยวกับจิตพุทธะนี้)
* กล่าวให้ฟังง่ายที่สุด ก็เหมือนคนสวมหมวกอยู่แล้ว เที่ยวหาหมวก เพราะไม่รู้จักหมวก ผู้แปลไทย
** ความคิดปรุงแต่ง คือความไม่รู้จักสิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริง แล้วก็เกิดความคิดขึ้นในรูปต่างๆเรื่อยไป ด้วยอำนาจของความไม่รู้ ผสมกับอานาจของสิ่งแวดล้อม ปรุงแต่งอยู่ ผู้แปลไทย
webmaster-ความคิดปรุงแต่งมักเกิดขึ้นจากมโนกรรมความคิดนึกที่เกิดจากอารมณ์ทางโลกต่างๆ(สังขารขันธ์)
ธรรมารมณ์(คิดอันเป็นเหตุ) |
ที่ทำให้เกิดความคิดนึกปรุงแต่งขึ้น
ในรูปต่างๆเรื่อยๆไปจากมโนกรรมนั้นนั่นเอง จึงเกิดการวนเวียนเป็นวงจร
ดังภาพ
คิด
หรือ ธรรมารมณ์ (คิดที่เป็นเหตุ
เมื่อเกิดแล้วย่อมดำเนินไปตามเหตุ) +
ใจ หยุุด สังขารขันธ์ เกิดมโนกรรม(เกิดคิดที่เป็นผล
แม้ต้องรับผล
ไม่สามารถดับได้ แต่อุเบกขาได้ จึงไม่ไปเป็นเหตุอีกได้)
|
ดังนั้นการหยุดความคิดปรุงแต่ง จึงคือการหยุดความคิดมโนกรรมปรุงแต่งเสีย ที่มีสติรู้เท่าทันนั่นเอง
หรือการอุเบกขาสัมโพชฌงค์ในมโนกรรมที่เกิดขึ้นนั่นเอง จึงขาดเหตุก่อให้เนื่องสัมพันธ์ต่อไปได้ จึงเสื่อมดับไป
จิตจึงว่างจากกิเลสตัณหาดังเดิม หรือจิตพุทธะ
๒. ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร
5 สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้งหก* ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆกันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วนเหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหลานี้นั้น จงคิดดูเถิด ถ้าเมื่อเธอเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัจจะพื้นฐานในทุกๆกรณีอยู่แล้ว (คือเป็นจิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เธอก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้น ไม่ใช่หรือ, เมื่อไรโอกาสอำนวยให้ทำ ก็ทำมันไป แหละเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆก็แล้วกัน (webamater หมายถึง เมื่อมีความสมบูรณ์แล้ว จึงไม่ต้องไปเที่ยวแสวงหาบุญกุศลต่างๆอย่างกระวนกระวายด้วยกิเลสให้วุ่นวายใจไป เมื่อมีโอกาสอำนวยก็ทำมันไป)
* ปารมิตา ทั้งหก คือ ทาน ศีล ขันติ วิริยะ สมาธิ และปัญญา -ผู้แปลไทย (ผู้แปลไทย หมายถึงท่านพุทธทาส-webmaster)
จิตพุทธะมีความสมบูรณ์อยู่ในทุกอย่างอยู่แล้ว จึงไม่ต้องไปเที่ยวแสวงหาสิ่งต่างๆมาเพิ่มเติม ด้วยสีลัพพตปรามาสหรือสีลัพพตุปาทานใดๆอีก เมื่อมีโอกาสอำนวยก็ทำไป
6 ถ้าเธอยังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือพุทธะก็ดี และถ้าเธอยังยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมต่างๆอยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆอยู่ก็ดี และต่อพิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆอยู่ก็ดี แนวความคิดของเธอก็ยังผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับทาง* ทางโน้น เสียเลย
* ทาง ทางโน้น คำนี้เป็นสานวนที่ต้องการความหมายเป็นพิเศษ คือหมายถึงวิธีปฏิบัติที่ทำให้จิตหนึ่ง หรือพุทธะแท้ ปรากฏตั้งได้เท่านั้น -ผู้แปลไทย
ถ้ายังไม่ตระหนักรู้ว่า จิตตนนั่นแหละที่เป็นจิตพุทธะ มัวแต่ไปยึดมั่นต่อรูปธรรมหรือต่อการสีลัพพตปรามาสต่างๆเสีย ก็เป็นความผิดพลาดในการไปแสวงหาความเป็นจิตพุทธะจากสิ่งต่างๆภายนอกเหล่านั้น
7 จิตหนึ่งนั้นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอันใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอันใดที่ไหนอีก มันแจ่มแจ้งและไร้ตำหนิ เช่นเดียวกับ ความว่าง คือมันไม่มีรูปร่าง หรือปรากฏการณ์ใดๆเลย การใช้จิตของเธอให้ปรุงแต่งความคิดฝันไปต่างๆนั้น เท่ากับเธอละทั้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสียแล้ว ไปผูกพันตัวเองกับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก (webmaster-มักจะคิดค้นหาจิตพุทธะ หรือคิดว่าจะมีปรากฏการณ์พิเศษหรือปาฏิหาริย์ใดๆปรากฏแสดงความเป็นพุทธะ ก็ด้วยความคิดปรุงแต่งเองนั่นแหละ)
จิตนั่นแหละคือพุทธะ ไม่มีในที่ใดๆที่ไหนอีกแล้ว การไปคิดปรุงแต่งฝันไปต่างๆนาๆว่าเป็นอย่างโน้น เป็นอย่างนี้ ต้องทำดังนั้นดังนี้ในการแสวงหาจิตพุทธะ จึงเท่ากับเป็นการทิ้งสาระสำคัญไปเสีย
(webmaster-ทำไม หยุดคิดปรุงแต่ง จึงเป็นหัวใจสำคัญในการปฏิบัติของนิกายเซ็น)
8 พุทธะ ซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะทางรูปธรรม หรือพุทธะของความยึดมั่นถือมั่น, การปฏิบัติปารมิตาต่างหาก และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะได้เป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น (webmaster-คือสีลัพพตปรามาส อันเป็นสังโยชน์ข้อที่ ๓ ที่ผูกมัดมัตว์ไว้กับทุกข์) เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าไป ทีละชั้นๆ, แต่ พุทธะ ซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆเช่นนั้นไม่
จิตพุทธะไม่ใช่รูปธรรมใดๆ หรือความยึดมั่นใดๆ การบำเพ็ญข้อวัตรตลอดจนบำเพ็ญบุญเพื่อความเป็นพุทธะ จึงเป็นไปได้อย่างเชื่องช้า เพราะพุทธะไม่ใช่การปฏิบัติแบบเป็นขั้นเป็นตอนดังนั้นไม่ (นิกายเซ็นจึงเน้นปัญญาเพื่อการตรัสรู้โดยฉับพลัน เพื่อข้ามขั้นตอนซึ่งเซ็นเล็งเห็นว่าเป็นการเนิ่นช้าดังพุทธนิกายอื่นๆ ที่เป็นไปแบบทีละขั้นทีละตอน และอีกมักพากันเมาไปในบุญกุศลหรือข้อวัตรปฏิบัติอย่างผิดๆ)
9 เรื่องมันเพียงแต่ตื่น และลืมตาต่อ จิตหนึ่ง นั้นเท่านั้น และไม่มีอะไร ที่จะต้องบรรลุถึงอะไร (webmaster-ไม่มีอะไรที่ต้องบรรลุถึง อีกทั้งไม่มีปรา่กฏการณ์ใดๆให้ปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมดังคิดปรุงแต่งกันไป) นี่แหละคือพุทธะ ที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย
เพียงแต่ลืมตาดูคือเปิดใจยอมรับความจริงว่า จิตเท่านั้นที่จะลุถึงความเป็นพุทธะ และไม่มีอะไรที่ต้องบรรลุถึง ไม่มีจิตพุทธะอื่นใดอีกแล้ว
๓. ความว่าง
10 จิตเป็นเหมือนความว่าง ซึ่งภายในนั้น ย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์(ส่องแสงผ่าน-webmaster)ไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น และให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น ก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่างความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่าง ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง
ธรรมชาติของจิตจึงเหมือนกับความว่าง ที่เพียงมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งจึงเกิดขึ้น แล้วก็ดับไปหรือว่างเช่นเดิม
เหมือนดั่งฝ่ายเถรวาทที่กล่าวว่า จิตเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตนของมันเองจริง เกิดแต่เหตุปัจจัยนั่นเอง ถ้ายังไม่เข้าใจหรือยอมรับได้ว่าจิตนั้นว่างเปล่าให้เข้าไปดูที่นี่ว่าจิตจึงเหมือนดั่งเงา
ที่เป็นของว่าง คือว่างเปล่า ไม่มีรูปลักษณ์ที่แน่นอนดั่งความว่าง )
11 จิต ของ พุทธะ และของสัตว์ทั้งหลาย ก็เป็นเช่นนั้น ถ้าเธอมองดู พุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของ สิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใสและรู้แจ้งก็ดี หรือมองดูโลกทั้งหลายว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เงา มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านั้น อันเป็นผลเกิดมาจากความยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเธอไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเธอจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปป์นับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม
ถ้ามัวแต่มองว่าจิตพุทธะ คือการปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์(กุศล) หรือแม้แต่ความมืดมน(อกุศล) ก็เป็นเพียงการไปยึดมั่นหรือคิดปรุงแต่งต่อรูปธรรมนั้นๆ ซึ่งจะกันเธออกจากความเป็นพุทธะผู้ดับกิเลสและทุกข์เสีย
12 มีแต่ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้น และไม่มีสิ่งอื่นใด แม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะว่า จิต นั่นเอง คือ พุทธะ ถ้าพวกเธอซึ่งเป็นนักศึกษาเรื่องทาง ทาง ทางโน้น ยังไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิต นี้ พวกเธอจะต้องปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเธอเอง พวกเธอจะเที่ยวแสวงหาพุทธะ นอกตัวเธอเอง และพวกเธอจะยังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ และสิ่งอื่นๆทำนองนั้น (webmaster-คือสีลัพพตปรามาส อันเป็นสังโยชน์ข้อที่ ๓ ที่ผูกมัดมัตว์ไว้กับทุกข์) ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้น แต่อย่างใดเลย
ถ้ายังไม่ลืมตายอมรับความจริงว่าเพราะมีแต่จิตเท่านั้นล้วนๆ ถ้ายังไปมัวหาจิตพุทธะหรือการดับกิเลสหรือทุกข์จากทางอื่นๆ ดังเมาบุญ หรือมัวเมาในรูปธรรมอื่นๆใด ก็ยังเป็นการหลงทางอยู่ อันเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติและไม่ใช่หนทางของจิตพุทธะหรือการดับทุกข์เลย
13 การถวายทานใดๆ ต่อพระพุทธเจ้าทั้งปวงในสากลโลก ไม่เท่ากับการถวายทานต่อผู้ที่ดำเนินตาม ทาง ทางโน้น แม้เพียงคนเดียว ซึ่งเป็นผู้กำจัดความคิดปรุงแต่งเสียได้แล้ว เพราะเหตุใดเล่า? เพราะบุคคลประเภทนั้น ย่อมไม่ก่อความคิดในรูปใดๆทั้งสิ้น
เพราะการถวายทานแก่ผู้ดำเนินตามทางพุทธะอยู่นี้ ไม่ก่อให้เกิดการคิดปรุงแต่งไปในทางเมาบุญกุศลแก่ผู้ถวายนั่นเองว่าได้ถวายแก่พระพุทธเจ้าผู้สูงสุดไปต่างๆนาๆ คือไม่คิดปรุงแต่งหวังผลใดๆแต่ทำไปด้วยใจบริสุทธิ์ ไม่มีอามิสแอบแฝงนั่นเอง จึงมีอานิสงส์สูง ท่านจึงกล่าวดังนั้น
๔. เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุด
14 เนื้อแท้แห่ง สิ่งสูงสุด สิ่งนั้น(จิตพุทธะ) โดยภายในแล้ว ย่อมเหมือนกับไม้หรือหิน คือภายในนั้นปราศจากความเคลิ่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนความว่าง กล่าวคือปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้มิใช่เป็นฝายนามธรรม(หรือ ฝ่ายกรรตุการก) หรือฝ่ายรูปธรรม(หรือ ฝ่ายกรรมการก) มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้
จิตพุทธะโดยเนื้อแท้แล้ว ภายในจึงปราศจากความเคลื่อนไหวดุจดั่งหินผาด้วยไม่มีจิตไปคิดปรุงแต่งฟุ้งซ่าน(อุทธัจจะ) ส่วนภายนอกก็เป็นดั่งความว่างไม่มีตัวตนอันใดแท้จริง ที่ไม่ยึดมั่นต่อสิ่งใดที่มากระทบ(ผัสสะ) ปล่อยผ่านสิ่งต่างๆ(กิเลส)ไปด้วยไม่ยึดมั่น ดุจดั่งความว่างที่ย่อมปล่อยให้แสงหรือสิ่งต่างๆผ่านไปโดยไม่มีความผันผวนเปลี่ยนแปลงใดๆ
15 ผู้ที่รีบไปให้ถึง ก็ไม่กล้าเข้าไป เพราะกลัวว่าจะพุ่งลงไปสู่ที่ว่าง โดยไม่มีสิ่งใดจะให้เกาะ หรือให้อาศัยไม่ให้ตก เมื่อเป็นอยางนั้น เขาจึงดูอยู่แต่ที่ขอบ และถอยออกมา ข้อนี้เล็งถึงพวกแสวงหาความหลุดพ้นโดยการเรียนรู้ (webmaster ทางเซ็นหมายถึงวิธีปฏิบัติดังลัทธินิกายอื่นๆ) เพราะฉะนั้น พวกที่แสวงหาความหลุดพ้นโดยการเรียนรู้ จึงมีมากเหมือนขนสัตว์ และพวกที่ได้ประสบความรู้แห่ง ทาง ทางโน้น ด้วยใจตนเอง มีน้อยเหมือนเขาสัตว์
ด้วยเข้าใจผิดในความว่างดังนี้ กลัวว่าจะไปอยู่ในที่ว่างเปล่า ไม่มีอะไร ไม่มีบุญกุศล ไม่มีภพชาติให้เกิด ไม่มีตัวตน ไม่มีที่ยึดเกาะดังการปฏิบัติในทางบุญทางกุศล จึงคิดไปเอาเองว่า ไม่ใช่หนทางของการเป็นพุทธะหรือการหลุดพ้น จึงไม่กล้าว่างด้วยเข้าใจผิด ด้วยไม่เข้าใจในความว่าง ว่าว่างจากการคิดปรุงแต่งหรือว่างจาทุกข์เท่านั้น จึงเกิดจิตพุทธะหรือจิตหลุดพ้นขึ้นได้เท่านั้น (ซึ่งก็ตรงกับทางเถรวาทของไทยคือละอุทธัจจะ อันเป็นสังโยชน์ข้อที่ ๙ รองจากอวิชชาเท่านั้น ที่เมื่อละได้ก็เป็นเหตุปัจจัยให้ละอวิชชาข้อสุดท้ายได้เนื่องต่อมาอีกด้วย จึงเกิดการตรัสรู้หรือดับทุกข์โดยพลัน)
๕. ชื่ออันไร้ตําหนิ
16 พระโพธิสัตว์มัญชุศรี เป็นตัวแทนกฎแห่งธรรมที่เป็นมูลฐานของสัตว์ และพระโพธิสัตว์สมันตภัทร เป็นตัวแทนกฎแห่งกรรม สิ่งแรกหมายถึงกฎแห่งความว่างอันแท้จริง และไม่ถูกจำกัดขอบเขต และสิ่งหลังหมายถึงการเคลื่อนไหวที่ไม่รู้จบ ที่ไม่รู้จักหมดกำลัง ซึ่งอยู่ภายนอกวงเขตของรูปธรรม
พระโพธิสัตว์มัญชุศรี เป็นบุคคลาธิษฐาน โดยสมมุติ คงมีความหมายกล่าวถึง ธรรมนิยามและอนัตตา ส่วนพระโพธิสัตว์สมันตภัทรสิ่งหลังคงกล่าวหมายถึงปฏิจจสมุปบาท
17 พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เป็นตัวแทนของความเมตตากรุณาอันไม่มีสิ้นสุด พระโพธิสัตว์มหาสถามะ เป็นตัวแทนของปัญญาอันยิ่งใหญ่ และวิมลเกียรติ*เป็นตัวแทนชื่ออันไร้ตําหนิ คำว่าไร้ตำหนิ เล็งถึงธรรมชาติอันแท้จริงของสิ่งทั้งปวง ในเมื่อคำว่า ชื่อ เล็งถึงรูปร่าง ดังนั้นจึงเกิดมีคำรวมว่า "ชื่ออันไร้ตำหนิ" ดังนี้
* วิมลเกียรตินิทเทสสูตร เป็นพระสูตรที่สาคัญของมหายาน เสถียร โพธินนทะ แปลไทยแล้ว
18 คุณสมบัติทั้งหลายนี้ ซึ่งถูกทำเป็นบุคคลาธิษฐาน ว่าเป็นโพธิสัตว์ผู้ยิ่งใหญ่ ชื่อนั้นชื่อนี้ขึ้นมาเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นสิ่งซึ่งมีประจำอยู่ในคนเรา และก็ไม่แยกออกไปต่างหากจาก จิตหนึ่ง ที่กล่าวแล้ว จงลืมตาดูมันเถิด มันอยู่ที่ตรงนั้นเอง พวกเธอซึ่งเป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้น เมื่อไม่ลืมตาต่อสิ่งๆนี้ ซึ่งมีอยู่ในใจของเธอเองแล้ว และยึดมั่นถือมั่นต่อปรากฏการณ์ต่างๆ หรือแสวงหาสิ่งบางสิ่งฝายรูปธรรมจากภายนอกใจของเธอเอง อยู่ดังนี้แล้ว ย่อมเท่ากับหันหลังให้ต่อ ทาง ทางโน้น ด้วยกันทุกคน
เป็นเพียงสมมุติให้เห็นเป็นรูปธรรม เพื่อให้พิจารณาเห็นได้ง่ายขึ้น มันอยู่ในเธอเท่านั้นแหละ เพียงแต่หยุดคิดปรุงแต่ง(อุทธัจจะ)เสียเท่านั้น
19 เมล็ดทรายแห่งแม่น้ำคงคานั้นน่ะหรือ? พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงทรายเหล่านี้ว่า "ถ้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายและพระโพธิสัตว์ ทั้งปวงทุกๆพระองค์รวมทั้งพระอินทร์และเทพทั้งหมด พากันเดินไปบนทรายนั้น ทรายเหล่านั้นก็ไม่มีความยินดี ปรีดาอะไร และถ้าโค แกะ สัตวเลื้อยคลาน และมดแมลงต่างๆ ทั้งหลายจะพากันเหยียบย่ำ เลื้อยคลานไปบนมัน ทรายนั้นก็ไม่รู้สึกโกรธ สำหรับเพชรนิลจินดาและเครื่องหอม ทรายนั้นก็ไม่มีความปรารถนา และสำหรับความปฏิกูลของคูถและมูตร อันมีกลิ่นเหม็น ทรายนั้นก็ไม่มีความรังเกียจ
จิตพุทธะจึงดังความว่างหรือเมล็ดทราย ที่ไม่ว่าสิ่งใดไปเหยียบย่ำ ย่ำยีด้วยประการใดๆก็ตามที ทั้งกุศลและอกุศลใดๆ เมล็ดทรายนั้นย่อมไม่เกิดสุขทุกข์อันใดขึ้น เป็นกลาง ว่าง หรืออุเบกขาต่อสิ่งที่กระทบทั้งหลายทั้งปวง
๖. ปลดเปลื้อง
20 จิต นี้ มิใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงจึงไม่แตกต่างกันเลย ถ้าพวกเธอเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกมาเสีย จากความคิดปรุงแต่งเท่าน้้น พวกเธอจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง
จิตพุทธะนี้ ที่กล่าวถึง จึงไม่ใช่จิตชนิด ความคิดปรุงแต่ง จึงปราศจากการไปเกี่ยวข้องปรุงแต่งกับฝ่ายรูปธรรม จึงเหมือนกันในพระพุทธเจ้าและสัตว์โลก ดังนั้นถ้าปลดเปลื้องออกจากความคิดปรุงแต่งก็จะประสบความสำเร็จ
21 แต่ถ้าพวกเธอ ซึ่งยังเป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้น ไม่ปลดเปลื้องตัวเองจากความคิดปรุงแต่งเสียให้ได้ฉับพลันแล้ว แม้จะเพียรพยายามอยู่กัปป์แล้ว กัปป์เล่า เธอก็จะไม่ประสบความสำเร็จนั้นเลย ถ้าพวกเธอถูกผูกพันอยู่กับการปฏิบัติเพื่อหวังบุญต่างๆ ตามแบบของยานท้ังสาม* อยู่ดังนี้ เธอจะไม่สามารถลุถึงความรู้แจ้งเลย
* ยานท้ัง 3 นี้หมายถึงของลัทธินิกายอื่น ซี่งมิใช่เซ็น ซึ่งพวกนิกายเซ็นเห็นเป็นงุ่มง่าม -ผู้แปลไทย
ถ้าไม่ปลดเปลื้องตัวเองจากความคิดปรุงแต่งโดยฉับพลันแล้ว ก็ยังต้องเพียรพยายามปฏิบัติไปอีกนานแสนนาน ดังพุทธนิกายอื่นๆ
22 อย่างไรก็ดีการรู้แจ้งแทงตลอดต่อจิตหนึ่งนี้ อาจจะมีได้ทั้งจากการปฏิบัติซึ่งกินเวลาน้อย หรือกินเวลานาน มีอยู่หลายคนที่เมื่อได้ฟังคำสอนนี้แล้ว สามารถปลดเปลื้องความคิดปรุงแต่งออกจากตนได้โดยแว็บเดียว แต่ก็ยังมีพวกอื่นซึ่งประสบความสำเร็จอย่างนี้โดยการปฏิบัติตามหลักแห่งศรัทธา 10 ภูมิกรรมบถ 10 และบุญกิริยาวัตถุ 10 และยังมีพวกอื่นอีก ซึ่งประสบความสำเร็จหลังจากการปฏิบัติตามหลักแห่งภูมิ 10 ในความก้าวหน้าของพระโพธิสัตว์ * แต่ไม่ว่าเขาจะอยู่เหนือความคิดปรุงแต่งเหล่านั้นได้ด้วยทางที่ยาวหรือส้ันก็ตาม ผลที่ลุถึงก็มีแต่สิ่งเดียวคือภาวะแห่งสภาวะอย่างหนึ่งเท่านั้น ที่แท้ไม่มีการบำเพ็ญบุญ และการทำให้เห็นแจ้งอะไร ที่ต้องทำ คำพูด ที่ว่าไม่มีอะไรที่ต้องลุถึงนั้น มันมิใช่คำพูดพล่อยๆ แต่เป็นความจริง
* เป็นระเบียบการปฏิบัติอย่างมากมายวิจิตรพิสดาร(ของนิกายอื่นๆ) ซึ่งไม่มีในคัมภีร์ฝ่ายเถรวาท และยิ่งไปกว่าเถรวาท -ผู้แปลไทย
จิตพุทธะหรือจิตดับกิเลสหรือกองทุกข์นี้ จึงมีทั้งการปฏิบัติอย่างลัดสั้น(ทางปัญญาดังเซ็นนี้) และปฏิบัติแบบเป็นขั้นเป็นตอนซึ่งยาวนาน ก็ได้ผลในสิ่งๆสิ่งเดียวกัน คือจิตพุทธะหรือจิตหลุดพ้น การปฏิบัติโดยลัดสั้นของเซ็นนี้ ไม่มีการบำเพ็ญบุญ การต้องทำให้เห็นแจ้งอะไร เพียงแต่หยุดคิดนึกปรุงแต่งเป็นหลักปฏิบัติ
23 ยิ่งกว่านั้นไปอีกไม่ว่า เธอจะประสบความสำเร็จตามความมุ่งหมายของเธอได้ด้วยเวลาชั่วความรู้สึกแว็บเดียว หรือตลอดเวลาอันยาวนานแห่งการบำเพ็ญ ตามหลักแห่งภูมิทั้งสิบของความก้าวหน้าของพระโพธิสัตว์ก็ตาม ผลที่ได้รับก็จะเป็นอย่างเดียวกัน เพราะภาวะแห่งสภาวะอันนี้เป็นสิ่งซึ่งไม่มีอันดับลดหลั่น เพราะฉะนั้นวิธีอย่างหลัง จึงเป็นวิธีที่ทำให้เสียเวลาเป็นกัปป์ๆด้วยต้องทนทุกข์และพากเพียรเปล่าๆโดยไม่จําเป็น** พวกนี้ถือว่า เมื่อไม่ทําอะไรๆเพราะอยากได้ หรืออยากลุถึงอะไรเลย นั่นแหละสภาวะเดิมที่ปราศจากทุกข์จะปรากฏตัวออกมาเอง -ผู้แปลไทย
ผลที่ได้รับ ไม่ว่าจะโดยการปฏิบัติโดยลัดสั้น หรืออย่างยาวนานด้วยการบำเพ็ญและพากเพียร ก็ได้ผลเดียวหมือนกันที่จิตพุทธะเดียวกัน ผู้ปฏิบัติได้แล้วก็จะมีความเข้าใจถ่องแท้ได้ว่ามันเป็นเช่นนั้นจริงๆด้วยตนเอง คือเข้าสู่จุดหมายคือจิตพุทธะเดียวกัน
๗. หลักธรรม
24 การสร้างสมความดี และความชั่วทั้งสองอย่างนี้ เนื่องมาจากความยึดมั่น ถือมั่น ต่อรูปธรรม, ผู้ยึดมั่นในรูปธรรม ซึ่งทำความชั่ว จะต้องทนรับการเกิดแล้วเกิดอีกด้วยประการต่างๆอย่างไม่จำเป็น, ส่วนผู้ที่ยึดมั่นในรูปธรรม ซึ่งทำความดี ก็ทำตัวเองให้ตกลงไปเป็นทาสของความพยายาม มันจะเกิดความรู้สึกว่าตนเป็นผู้ขาดแคลนอยู่เสมอ, เท่าเทียมกันอย่างไม่มีที่มุ่งหมายในทั้งสองกรณีนั้น, มันจะเป็นการดีเสียกว่า ถ้าหากว่า เขาจะทำให้เกิดความเห็นแจ้งในตนเองอย่างฉับพลัน และในการที่จะยึดหลักธรรม อันเป็นหลักมูลฐานของสัตว์ทั้งหลาย ดังที่กล่าวแล้ว
การสร้างสมทั้งความดีและชั่ว ล้วนทำให้เกิดภพชาติ(ปฏิจจสมุปบาท)ได้ทั้งสิ้น ดังนั้นการปฏิบัติแบบลัดสั้นคือหยุดคิดปรุงแต่งเสียที่ทำให้ดับทุกข์ได้อย่างฉับพลัน จักไม่ดีกว่าหรือ
25 หลักธรรมที่กล่าวนี้ก็คือจิต ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว ก็ไม่มีหลักธรรมใดๆเลย และจิตนี่แหละคือหลักธรรม ซึ่งนอกไปจากนั้นแล้ว มันก็ไม่มีจิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังมิใช่จิต การที่กล่าวว่า จิตนั้น มิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายความถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง ขอให้มีความเข้าใจอย่างนิ่งเงียบเถิด ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้นหลักธรรมปฏิบัติที่กล่าวมานี้ก็ล้วนคือเรื่องของจิตล้วนๆ แม้จิตจะไม่มีตัวตน แต่ปรากฏเมื่อมีเหตุปัจจัยครบองค์ประกอบ
26 จงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้นเราอาจจะกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูด ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และพฤติการของจิตก็ถูกเพิกถอนขึ้นโดยสิ้นเชิงแล้ว
27 "จิต นั้น คือ พุทธโยนิ*อันบริสุทธิ์ที่มีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิดกระดุกกระดิกได้ ทั้งหมดก็ดีและพระพุทธเจ้าพร้อมท้ังพระโพธิสัตว์ ทั้งหลายทั้งปวงก็ดีล้วนแต่เป็นของสิ่งหนึ่งแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้ เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากความคิดผิดๆ เท่านั้น และย่อมนำไปสู่การสร้างกรรม ทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิด ไม่มีหยุด
* หมายถึงกำเนิดและต้นตอแห่งความเป็นพุทธ ผู้แปลไทย
๘. ความฝันอันไร้ตัวตน
28 ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ ดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอัน สูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนี้เป็นความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในที่ทุกแห่ง สงบเงียบและไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นศานติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งนี้ให้ลึกซึ้งโดยการลืมตาต่อมัน ด้วยตัวเธอเองเถิด
29 สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเธอนั่นแหละคือ สิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้นของมัน และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว ถึงแม้เธอได้ก้าวไปจนถึงความเป็นพุทธะโดยผ่านทางภูมิทั้งสิบ แห่งความก้าวหน้าของพระโพธิสัตว์ทีละขั้น ๆ ไปตามลำดับจนกระทั่งวาระสุดท้าย และเธอได้ลุถึงความรู้แจ้งเต็มที่โดยแว็บเดียวก็ตาม เธอก็จะเพียงแต่ได้เห็นแจ้งซึ่งธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะอันนั้น ซึ่งที่แท้ก็ได้มีอยู่ในตัวเองแล้วตลอดเวลาการปฏิบัติ ก้าวหน้าตามลำดับดังกล่าวแล้วทั้งหมดของเธอนั้น ก็หาได้เป็นการเพิ่มอะไรให้แก่สิ่ง สิ่งนี้ไม่เลยแม้แต่หน่อยเดียว
ไม่ว่าจะปฏิบัติโดยลัดสั้น หรือตามการปฏิบัติเป็นลำดับขั้นไปก็ตามที ก็เข้าสู่ความเป็นพุทธะหรือจิตหลุดพ้นเดียวกัน
30 ในที่สุด เธอก็จะมองเห็นว่า การบำเพ็ญบุญและผลที่เธอจะได้รับมาตลอดเวลาเป็นกัปป์ๆนั้น ไม่มีอะไรมากไปกว่าการกระทำในความฝันอันไร้ตัวจริง นั่นแหละคือข้อที่ว่า ทำไมพระตถาคตจึงตรัสว่า "โดยแท้จริงแล้ว เราตถาคตไม่ได้ลุถึงอะไรจากการตรัสรู้ที่สมบูรณ์ และไม่มีอะไรยิ่งกว่า ถ้ามีอะไรที่ได้ลุถึงแล้ว* พระพุทธเจ้าทีปังกรก็จะไม่ทรงทําการพยากรณ์เกี่ยวกับเรา" ดังนี้* คำกล่าวทำนองนี้เป็นสำนวนของท่านฮวงโปเอง ที่ถือว่าการตรัสรู้ ไม่มีผู้ตรัสรู้ สิ่งที่ถูกตรัสรู้ สิ่งที่ไม่ถูกตรัสรู้ และผู้ที่ไม่ตรัสรู้ใดๆเลยเพราะความเป็นของว่างด้วยกัน ทั้งหมด และท่านถือว่า แม้พระพุทธะทีปังกรก็ทรงมีหลักอย่างนี้ ซึ่งมีอ้างหลายแห่งโดยตรงบ้างโดยอ้อมบ้าง ผู้แปลไทย
31 พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า "ธรรมสภาวะ นี้เป็นสิ่งซึ่งไม่มีทางที่จะถูกแยกเป็นฝักฝ่ายโดยเด็ดขาด เช่นไม่เป็นของสูง หรือของต่ำ และมัน มีชื่อว่า "โพธิ" สิ่งนี้คือจิตล้วนๆที่กล่าวแล้วนั่น แหละมันเป็นสิ่งที่กำเนิดของทุกๆสิ่งและไม่ว่าจะปรากฏออกมาเป็นแม่น้ำและภูเขาในโลก ซึ่งมีรูปร่าง หรือเป็นสิ่งอื่นที่ไม่มีรูปร่าง หรือเป็นสิ่งที่ซึมแทรกอยู่ทั่วสากลโลกก็ตาม มันก็ยังเป็นสิ่งไม่มีทางที่จะถูกแยกเป็นฝักฝ่ายโดยเด็ดขาดอยู่นั่นเอง ไม่มีทางที่จะเกิดสมญานามต่างๆ เช่น สมญาว่า "ตัวเอง" หรือ"ผู้อื่น"ขึ้นมาได้เลย๙. ขอบวงของพุทธะ
32 จิต ล้วนๆนี้ซึ่งเป็นที่กำเนิดของสิ่งทุกสิ่งย่อมส่องแสงอยู่ตลอดกาลและส่องความสว่างจ้าแห่งความสมบูรณ์ของมันเองลงบนสิ่งทั้งปวง แต่ชาวโลกไม่ประสีประสาลืมตาต่อมัน ไปมัวเข้าใจเอาแต่สิ่งซึ่งทำหน้าที่ดู ทำหน้าที่รู้สึก และทำหน้าที่คิดนึกว่า นั่นแหละคือจิต เขาเหล่านั้นถูกการดู การฟัง การรู้สึก และการคิดนึกของเขาเอง ทำเขาให้ตาบอด เขาจึงไม่รู้สึกต่อแสงอันสว่างจ้าของสิ่งซึ่งเป็นต้นกำเนิดทางฝ่ายจิต
33 ถ้าเขาเหล่านั้นจะเพียงแต่ได้ขจัด ความคิดปรุงแต่ง เสียชั่วแว็บเดียวเท่านั้น สิ่งซึ่งเป็นต้นกำเนิดของสิ่งทั้งปวงดังที่ กล่าวนั้น จะแสดงตัวมันเองออกมาทันทีเหมือนดวงอาทิตย์ที่โผล่ขึ้นมาท่ามกลางที่ว่าง และส่องสว่างทั่วจักรวาลโดยปราศจากสิ่งบดบังและขอบเขต
34 พวกเธอเพียงแต่มองให้เห็นชัดว่า แม้จิต จริงแท้นั้นจะเป็นสิ่งที่ถูกกล่าวรวมอยู่กับ สัญญาเหล่านี้ก็ตาม มันก็ไม่ได้ ตั้งอยู่ในฐานะเป็นส่วนประกอบของสัญญาเหล่านี้ แต่ก็ไม่ได้แยกออกไปต่างหากจากสัญญาเหล่านี้
35 เธอไม่ควรตั้งต้นการใช้เหตุผลไปจากสัญญาเหล่านี้หรือยอมให้มันก่อความคิดปรุงแต่งขึ้นมา แม้กระนั้น เธอก็ไม่ควรแสวงหา จิตหนึ่ง นั้นในที่ต่างหากไปจากสัญญาเหล่านั้น หรือละทิ้งสัญญาเหล่านั้น เสียในการคิดค้นธรรมนั้นของเธอ พวกเธออย่า เก็บมันไว้ และอย่าทิ้งมันเสีย หรือพวกเธออย่างอยู่ในมัน และอย่าแยกไปจากมัน เบื้องบนก็ตาม เบื้องล่างก็ตาม และรอบๆตัวเธอก็ตาม สิ่งทุกสิ่งย่อมมีอยู่เองตามปกติเพราะว่า ไม่มีที่ไหนที่อยู่ภายนอกขอบวงของ พุทธะหรือจิต นั้น
๑๐. การแสวงหา
37 เมื่อชาวโลกได้ฟังคำกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงถ่ายทอดธรรม คือจิต เขาก็พากันเหมาเอาว่า มีอะไรบางสิ่งซึ่งจะต้องลุถึง หรือเห็นแจ้งต่างหากไปจากจิต และเพราะเหตุนั้น เขาจึงใช้จิตเพื่อการแสวงหาธรรม โดยไม่รู้เลยว่า จิต และธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาพากันแสวงหาน้ัน เป็นสิ่งๆเดียวกัน
38 จิต ไม่ใช่สิ่งซึ่งอาจนำไปใช้แสวงหาสิ่งอื่น นอกจากจิต เพราะถ้าทำดังนั้น แม้เวลาล่วงไปแล้ว เป็นล้านๆกัปปั วันแห่งความสำ เร็จก็ยังไม่โผล่มาให้เห็นอยู่นั่นเอง การทำตามวิธีนั้น ไม่สามารถจะนํามาเปรียบกันได้กับวิธีแห่งการขจัดความคิดปรุงแต่งโดยฉับพลัน ซ่ึ่งนั่นแหละ คือตัว ธรรม อันเป็นหลักมูลฐาน
39 เหมือนอย่างว่า นักรบคนหนึ่ง เขาลืมไปว่า ได้ประดับไข่มุกของตนไว้ที่หน้าผากตัวเองเรียบร้อยแล้ว กลับเที่ยวแสวงหามันไปในที่ทุกแห่งเขาอาจจะเที่ยวหาไปได้ทั่วทั้งโลก แต่ก็มิอาจจะพบมันได้แต่ถ้าเผอิญมีใครสักคนหนึ่ง ซึ่งรู้ว่านักรบคนนั้น ทำผิดอยู่อย่างไรแล้วไปชี้ไข่มุกที่หน้าผากของเขา ให้เขาเห็น นักรบคนนั้นก็จะเกิดความรู้แจ้งขึ้นในทันทีทันใดนั้น ว่าไข่มุกได้มีอยู่ที่นั่นแล้วตลอดเวลา40 ข้อนี้ฉันใด เรื่องของพวกเธอก็เป็นฉันนั้น คือถ้าพวกเธอซึ่งเป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้น กำลังสำคัญผิดเกี่ยวกับ จิต จริงแท้ของเธอ คือจับฉวยความจริงไม่ได้ว่า จิต นั่นแหละคือพุทธะ ดังนี้แล้วพวกเธอก็จะต้องเที่ยวแสวงหาพุทธะนั้น ไปในที่ทุกหนทุกแห่งเฝ้าสาละวนอยู่แต่การบำเพ็ญวัตรปฏิบัติ และการเก็บเกี่ยวผลของการปฏิบัติมีประการต่างๆ มัวหวังอยู่แต่การที่จะลุถึงซึ่งความรู้แจ้งโดยการปฏิบัติที่ค่อยๆคืบ ค่อยๆคลาน ไปด้วยอาการเช่นนี้เท่านั้น แต่แม้ว่าจะได้ แสวงหา ด้วยความขยันขันแข็งอยู่ตลอดเวลาเป็นกัปป์ๆ พวกเธอก็ไม่สามารถลุถึง ทาง ทางโน้น ได้เลย
41 วิธีการอย่างนี้ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกันได้กับวิธีการชนิดฉับพลัน กล่าวคือการขจัดความคิดปรุงแต่ง โดยอาศัย ความรู้อัน เด็ดขาดว่า ไม่มีอะไรเลย ที่จะตั้งอยู่อย่างไม่ต้องแปรผัน ไม่มีอะไรเลย ที่จะอิงอาศัยได้ ไม่มีอะไรเลย ที่จะมอบความไว้วางใจได้ ไม่มีอะไรเลย ที่ควรจะเข้าไปอยู่อาศัย ไม่มีอะไรเลย ที่ตั้งอยู่ในฐานะเป็นผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำ42 มันต้องทำโดยการป้องกัน ไม่ให้ความคิดปรุงแต่งเกิดขึ้นมาให้ได้เท่านั้น ที่พวกเธอจะสามารถรู้แจ้งเห็นจริงต่อโพธิ และเมื่อเธอทำได้ดังนั้น เธอก็จะเห็นแจ้งต่อ พุทธะ ซึ่งมีอยู่ใน จิต ของเธอเองตลอดเวลาได้จริง
43 ความดิ้นรนตลอดเวลาเป็นกัปป์ๆ เหล่านั้น จะพิสูจน์ตัวมันเองให้เห็นว่า เป็นความพากเพียรที่เสียแรงเปล่าอย่าง มหึมา เปรียบเหมือนกับ เมื่อนักรบผู้นั้นได้พบไข่มุกของเขาแล้ว เขาก็เพียงแต่ค้นพบสิ่งซึ่งแขวนอยู่ที่หน้าผากของเขาเองมาตลอดเวลาแล้วเท่านั้น และเหมือนกับการพบไข่มุกของเขานั่นเอง ที่แท้ก็ไม่มีอะไรที่ต้องทำ เกี่ยวกับความเพียรของเขาที่ไปเที่ยวค้นหามัน ทุกหนทุกแห่ง เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "โดยแท้จริงแล้ว เราตถาคตไม่ได้ลุถึงผลอะไรจากการตรัสรู้ที่สมบูรณ์ และที่ไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า"
44 โดยทรงเกรงว่า ประชาชนจะไม่เชื่อคำตรัสข้อนี้พระองค์จึงทรงดึงความสนใจมายังสิ่งซึ่งมนุษย์เห็นได้โดยการเห็น 5 วิธี * และสิ่งซึ่งมนุษย์พูดกันอยู่แล้ว ด้วยการพูด 5 วิธีดุจกัน ดังนั้นคำกล่าวนี้ จึงมิใช่คำพูดพล่อยๆ แต่ประการใดเลยแต่ได้แสดงถึงสัจจะอันสูงสุดทีเดียว* คือเห็นด้วยตาเนื้อ ตาทิพย์ ตาปัญญา ตาธรรม และตาพุทธะ
๑๑. ตัวตน
45 นักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้น ควรจะแน่แก่ใจว่า ธาตุทั้งสี่ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นร่างกายนั้น ไม่ได้ให้เกิดมี"ตัวตน"ขึ้นมาได้ และ"ตัวตน"ก็มิใช่เป็นความมีอยู่จริง และเพราะว่ามันว่าง จากข้อเท็จจริงอันนี้เองทำให้ลงสันนิษฐานได้ว่า ร่างกายนั้น ไม่ใช่ทั้ง "ตัวตน" ไม่ใช่ทั้งความมีอยู่จริง
46 ยิ่งกว่านั้นอีก ส่วนประกอบ 5 ส่วน ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นจิต (ตามที่รู้กันอยู่ทั่วไป) ก็ไม่ก่อให้เกิด "ตัวตน" หรือ ความมีอยู่จริงขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นจึงสันนิษฐานลงไปได้ว่า จิต (ซึ่งเรียกกันว่า ตัวตน)นััน ไม่ได้เป็นทั้ง "ตัวตน" หรือทั้งความมีอยู่จริง
47 อวัยวะแห่งอายตนะทั้งหก* (รวมสมองอยู่ด้วย) พร้อมทั้งสัญญา 6 อย่าง**และอารมณ์ 6 ชนิด***ของสัญญานั้นซึ่งได้ก่อให้เกิดโลกทางอายตนะขึ้นมานี้ก็เป็นสิ่งที่ต้องได้รับการทำความเข้าใจในทำนองเดียวกันกับ ที่กล่าวนั้น
* คือตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ(ซึ่งใช้คำว่า สมองในที่นี้)
** คือความรู้สึกในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ทางผิวหนัง และในความรู้สึกทางใจ
*** คือในรูป เสียงกลิ่น รส สัมผัส ทางผิวหนัง และความรู้ทางใจเอง ผู้แปลไทย
๑๒. การแบ่งแยก
48 สิ่งทั้ง 18 สิ่ง ซึ่งเนื่องด้วยอายตนะดังที่กล่าวแล้วนั้น จะโดยแยกกัน หรือรวมกันก็ตาม ย่อมเป็นของว่าง มันมีอยู่แต่ จิต ต้นกำเนิดซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกจำกัดในทุกทิศทุกทาง และประกอบด้วยความไม่มีอะไรเจือปนอย่างเด็ดขาด49 ตามที่กล่าวมาแล้วนี้ ย่อมมีการกินอย่างมีกิเลสตัณหา และการกินอย่างมีสติปัญญา เมื่อร่างกายซึ่งประกอบอยู่ด้วย ธาตุทั้งสี่กระวนกระวายอยู่เพราะการบีบค้ันของความหิวและเธอต้องให้อาหารแก่มัน ถ้าปราศจากการละโมบ ก็เรียกว่า เป็นการกินอย่างมีสติปัญญา
50 ในทำนองที่ตรงกันข้าม ถ้าเธอมีความยินดีอย่างตะกละในอาหารที่มีความสะอาดและรสอร่อยก็ชื่อว่า เธอยอมให้มีการแบ่งแยกเป็นฝักฝ่ายอันเป็นความรู้สึก ที่เกิดจากความเข้าใจผิดขึ้นมาแล้ว การที่เพียงแต่มุ่งจะปรนเปรออวัยวะทางรส โดยปราศจากการรู้แจ้งว่า เมื่อไรหรือเพียงไหน เป็นการบริโภคที่เพียงพอแล้ว นั่นแหละคือการบริโภคอย่างมีกิเลสตัณหา
๑๓. วิธีชั้นสุดยอด
51 พวกสาวก (ยาน) ลุถึงการตรัสรู้ โดยการฟังธรรม ดังนั้นเขาจึงถูกเรียกว่า สาวก พวกสาวกเหล่านั้น ไม่มีความเข้าใจ อย่างทั่วถึงต่อจิตของตนเอง แต่ก็ได้ยอมให้ความคิดต่างๆ เกิดขึ้นจากการฟังธรรมนั้น
52 ไม่ว่า เขาเหล่านั้นจะได้ยินถึงความมีอยู่ของโพธิและ นิพพาน โดยทางกำลังจิตที่เหนือธรรมชาติมนุษย์ก็ตาม เขาจะลุถึงความเป็นพุทธะได้ก็ต้องหลังจากเวลาอันยืดยาวทั้ง 3 กัปป์ ล่วงไปแล้วเท่านั้น วิธีทั้ง 3 นี้เป็นวิธีของพวกสาวก(ยาน) ดังนั้น เขาจึงถูกขนานนามว่าสาวกพุทธะ
53 แต่การทำตัวเองให้ลืมตาโดยฉับพลันต่อความจริงที่ว่า จิต ของเธอนั่นแหละคือ พุทธะ และว่า ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุหรือไม่มีไรสักสิ่งเดียวที่จะต้องปฏิบัตินี้คือวิธีชั้นยอดสุด นี่คือวิธีที่จะทำให้เป็น พุทธะ ได้อย่างแท้จริง
54 สิ่งที่ควรกลัวมีอยู่แต่ว่า พวกเธอซึ่งเป็นนักศึกษาเรื่องทาง ทางโน้น เมื่อความคิดเกิดขึ้นแม้แต่เพียงอย่างเดียวก็จะกลายเป็นว่า เธอได้สร้างสิ่งกีดขวางขึ้น ระหว่างเธอเองกับ ทาง ทางโน้น เสียแล้ว
55 จากขณะจิตหนึ่ง ถึงขณะจิตหนึ่งก็ไม่มี(การก่อ)รูป (ของความคิดปรุงแต่ง) จากขณะจิตหนึ่งถึงขณะจิตหนึ่งก็ไม่มี การกระทำ(กรรม) นั่นแหละคือวิธีที่จะเป็น พุทธะละ
56 ถ้าพวกเธอซึ่งเป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้น ปรารถนาที่จะเป็นพุทธะ พวกเธอไม่ต้องศึกษาคำสอนใดๆหมด จงเรียนแต่เพียงว่า ทำอย่างไรจึงจะเว้นขาดจากการแสวงหา หรือการผูกพันตัวเองต่อสิ่งทุกสิ่งเท่านั้น เมื่อไม่มีอะไรถูกแสวงหาข้อนี้หมายความว่า จิต ไม่เกิดเมื่อไม่มีการยึดมั่นอยู่ ข้อนี้หมายความว่า จิต ไม่ถูกทำลาย สิ่งซึ่งไม่เกิดและไม่ถูกทำลายนั่นแหละคือ พุทธะ
57 วิธีการตั้งแปดหมื่นสี่พันวิธีสำหรับต่อสู้กับ สิ่งซึ่งเป็นมายาหลอกลวงจำนวนแปดหมื่นสี่พันอย่างนั้น เป็นเพียงคำพูด อย่างบุคคลาธิษฐานเพื่อชักชวนคนให้มาสู่ประตูนี้เท่านั้น58 ตามที่จริงแล้ว ไม่มีสักอย่างเดียว ที่มีอยู่จริงการสลัดสิ่งทุกๆสิ่งออกไปเสีย นั่นแหละคือ ตัวธรรม ผู้ซึ่งเข้าใจความจริงข้อนี้นั่นแหละคือ พุทธะแต่การสลัดสิ่งที่เป็นมายา ทุกสิ่งออกไปเสียนั้น ต้องไม่เหลือธรรมะอะไรๆไว้ให้ยึดถือกันอีกจริงๆ
๑๔. ธรรมกาย
59 ถ้าพวกเธอผู้ซึ่งเป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้น ประสงค์จะได้ความรู้เรื่องของสิ่งอันเร้นลับใหญ่หลวงนี้ พวกเธอก็เป็นเพียงแต่เว้นขาดจากการยึดมั่น ถือมั่นต่อสิ่งทุกสิ่งเสีย เว้นแต่จิตนั้นอย่างเดียว
60 การกล่าวว่า ธรรมกาย ที่แท้จริงของพุทธะ ย่อมเหมือนกับความว่างนั้น เป็นวิธีกล่าวอีกอย่างหนึ่งของการที่จะกล่าวว่า ธรรมกายคือความว่าง หรือว่า ความว่างคือธรรมกายก็ตาม
61 คนทั้งหลายมักจะอวดอ้างว่า ธรรมกายมีอยู่ในความว่าง และว่าความว่างบรรจุไว้ซึ่งธรรมกาย นี้เป็นเพราะเขาไม่รู้แจ้งเห็นจริงว่า สิ่งทั้งสองนั้น เป็นเพียงของสิ่งเดียวและเป็นอันเดียวกัน แต่ถ้าพวกเธอให้คำจำกัดความลงไปว่า ความว่าง นั้นเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ถ้าเป็นดังนั้น ความว่างนั้นก็ไม่ใช่ธรรมกาย และถ้าพวกเธอให้คำจำกัดความลงไปว่า ธรรมกาย น้ันเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ถ้าเป็นดังนั้น ธรรมกายน้ันก็ไม่ใช่ความว่าง
62 พวกเธอจงเพียงแต่ละเว้น เสียจากความคิด ที่เป็นไปในทางความมีตัวมีตน อันเกี่ยวกับความว่างนั้นเสียเท่านั้น เพราะเมื่อเป็นดังนั้นนั่นแหละคือธรรมกาย แล้วถ้าพวกเธอเพียงแต่ละเว้นเสียจากความคิดที่เป็นไปในทางความมีตัวมีตนใดๆ อันเกิดเกี่ยวกับ ธรรมกาย นั้นเสียเท่านั้นก็พอแล้ว ทำไมเล่า เพราะถ้าเป็นดังนั้นนั่นแหละคือความว่าง
63 สิ่งทั้งสองนี้ไม่แตกต่างจากกันและกันเลย หรือนัยหนึ่งก็คือไม่มีความแตกต่างใดๆ ในระหว่างสามัญสัตว์ทั้งปวง กับ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย หรือระหว่างสังสารวัฏกับนิพพาน หรือระหว่างโมหะกับโพธิ เมื่อใดรูปบัญญัติ * เหล่านี้ถูกเพิกถอน ไปแล้วทั้งหมดทั้งสิ้น นั่นแหละคือ พุทธะ
* รูปบัญญัติ หมายถึงการบัญญัติ ชื่อและบัญญัติอย่างคติทวินิยม เช่นว่า ดี-ชั่ว บุญ-บาป พุทธะ-สามัญสัตว์ ฯลฯ ผู้แปลไทย
64 คนธรรมดาสามัญ มองดูแต่สิ่งแวดล้อมรอบตัวเขา พร้อมกันนั้น พวกผู้ปฏิบัติฝ่าย ทาง ทางโน้น ก็มองดูไปยังจิต แต่ ธรรม ที่แท้จริงนั้น คือไม่ใส่ใจมันเลยทั้งสองอย่าง
65 อย่างแรกง่ายพอใช้ แต่อย่างหลังนั้น ยากมากคนทั้งหลายไม่กล้าที่จะทำความรู้สึกว่า ตนไม่มีจิตของตน โดยกลัาว่า จะตกลงไปในความว่า ง ซึ่งปราศจากที่เกาะที่ยึดในการตกนั้น เพราะเขาเหล่านั้น ไม่รู้ว่า ความว่างนั้น ไม่ได้เป็นความว่าง อย่างที่พวกเขารู้จักกันอยู่ตามธรรมดา แต่เป็น "เมือง"*แห่งธรรม อันแท้จริง
* คำว่า เมือง ในที่นีัมีความหมาย เช่นคำว่า เมือง ในเมื่อมีการพูดว่า เมืองนรก เมืองสวรรค์ เมืองนิพพาน ผู้แปลไทย
66 ธรรมชาติที่เป็นความรู้แจ้งทางฝ่ายจิตนี้ เป็นสิ่งที่ไม่มีการเริ่มต้น เป็นของเก่าเท่าความว่างไม่อยู่ใต้อำนาจของการเกิด หรือการทำลาย ไม่ตั้งอยู่หรือไม่ได้ตั้งอยู่ ไม่ใช่ของมีมลทินหรือของบริสุทธิ์ ไม่อึกทึกครึกโครมหรือเงียบสงบ ไม่แก่ไม่หนุ่ม ไม่กินเนื้อที่ไม่มีภายใน ไม่มีภายนอก ไม่มีขนาด ไม่มีรูปร่าง ไม่มีทั้งสีหรือเสียง
67 สิ่งนี้เป็นสิ่งซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้หรือเป็นสิ่งที่ถูกแสวงหาไม่อาจจะเข้าใจได้ด้วยปัญญา หรือความรู้อธิบาย ไม่ได้ด้วยคำพูด สัมผัสไม่ไ้ดอย่างวัตถุ หรือไม่อาจลุถึงได้ด้วยการประกอบบุญกุศลใดๆ
68 พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ ทุกพระองค์รวมทั้งสิ่งซึ่งมีชีวิตเคลื่อนไหวได้ทั้งหมด ย่อมมีส่วนในธรรมชาติของ นิพพาน อันใหญ่หลวงนี้ทั้งนั้น ธรรมชาติที่กล่าวนี้คือจิต จิต ก็คือ พุทธะ และ พุทธะก็คือธรรม
69 ความคิดใดๆที่ออกไปนอกลู่นอกทางของความที่กล่าวนี้ย่อมเป็นความคิดที่ผิดโดยสิ้นเชิง พวกเธอไม่อาจจะใช้จิต ให้แสวงหา จิต ใช้ พุทธะ ให้แสวงหา พุทธะ หรือใช้ ธรรม ให้แสวงหา ธรรม
70 เพราะฉะนั้น พวกเธอซึ่งเป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้น ควรจะละเว้นขาดจากความคิดปรุงแต่งเสียทันที ขอให้เข้าใจอย่างเงียบเฉียบอย่างเดียวก็เป็นพอ71 พฤติกรรมทางจิตไม่ว่า ชนิดไหนหมด ย่อมนำเราไปสู่ความผิดพลาดทั้งนั้น มีสิ่งที่ต้องทำอยู่ก็แต่เพียงการถ่ายทอด จิต ด้วยจิต เท่านั้น นี้คือทัศนะอย่างเดียวที่ต้องถือไว้
72 จงระวังอย่า ให้เพ่งเล็งไปทางภายนอกไปยังสิ่งแวดล้อมต่างๆ ทางวัตถุ การเข้าใจผิดว่า สิ่งแวดล้อมต่างๆทางวัตถุมีอยู่เพื่อจิต นั้นก็เท่ากับไปเข้าใจโจรว่า ลูกของเธอ*
* มีเรื่องเล่าว่าคนๆหนึ่ง เข้าใจผิดในโจรคนหนึ่งว่า เป็นลูกชายของตน ที่หายสาบสูญไปนานแล้ว จึงต้อนรับเขาอย่างอบอุ่น เป็นเหตุให้โจรขโมยเอาทรัพย์ที่มีอยู่ไปเกือบหมด พวกที่มอบความไว้วางใจให้กับสิ่งต่างๆทางวัตถุเป็นพวกที่ตกอยู่ในอันตราย ที่จะต้องสูญเสียสิ่งที่มีค่าที่สุดกว่า สิ่งทั้งหลาย นั่นคือกุญแจ ที่จะใช้ไขปริศนาชีวิตเพื่อเปิดประตูนิพพาน
๑๕. พุทธภาวะ
73 มันต้องเป็นไปในทางที่จะขจัดเสียซึ่งความโลภ ความโกรธ และความไม่รู้เท่านั้น ด้วยความสำรวม ความสงบ และปัญญาตั้งอยู่ ถ้าไม่มีความหลงผิดแล้ว การตรัสรู้จะมีขึ้นได้อย่างไร ด้วยเหตุนั้น ท่านโพธิธรรมจึงได้กล่าวว่า "พระพุทธเจ้า ได้ประกาศธรรมทั้งปวงโดยมุ่งหวังที่จะขจัดเสียซึ่งลู่ทางทุกๆชนิดแห่งความคิดปรุงแต่ง ถ้าฉันปราศจากความคิดปรุงแต่ง โดยสิ้นเชิงแล้ว ธรรมทั้งปวงจะมีประโยชน์อะไรแก่ฉัน * ดังนี้
* หมายความว่า ถ้าคนเราไม่มีความคิดปรุงแต่งก็จะไม่มีปัญหาที่จะต้องใช้ธรรมะเพื่อสิ่งใดๆเลย เพราะไม่มีความทุกข์อยู่แล้ว ผู้แปลไทย
74 พวกเธอจงอย่าผูกพันตัวเองกับสิ่งใด นอกจากกับ ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของสิ่งทั้งปวง สมมติว่า พวกเธอเอาเพชรพลอยจำนวนนับไม่ถ้วน ไปประดับ เข้าที่ความว่าง จงคิดดูเถิดว่า มันจะติดอยู่ที่นั่น ได้อย่างไร75 ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะนั้น เป็นเหมือนกับความว่างแม้เธอจะประดับ มันด้วยบุญกุศลและปัญญาอันมากมาย จนประมาณมิได้ก็จงคิดดูเถิดว่า สิ่งเหล่านั้นจะติดอยู่ที่ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะนั้นได้อย่างไร* บุญและปัญญาชนิดนั้น ก็รังแต่จะปิดคลุมธรรมชาติดั้งเดิมของ พุทธภาวะเสียและทำให้มันกลายเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ไปเสียเท่านััน
* เพชรพลอยในที่นี้หมายถึงบุญกุศลทุกชนิด ซึ่งพวกนิกายอื่นถือว่าจำเป็น แต่พวกนิกายเซ็นถือว่า สิ่งเหล่านั้น เกิดจากคตินิยม และเป็นอุปสรรคต่อการเห็นแจ้ง จิตหนึ่ง นั้น ผู้แปลไทย
76 ลัทธิที่มีชื่อว่า "ลัทธิแสดงมูลฐานของจิต" (อันปฏิบัติกันอยู่ในนิกายอื่นบางนิกาย) นั้น วางหลักคำสอนไว้ว่า สิ่งทุกสิ่งก่อตั้งขึ้นในจิต และว่า สิ่งเหล่านั้นแสดงตัวเองออกมาให้เห็นได้ก็ต่อเมื่อได้สัมผัสกันกับอารมณ์ภายนอก และไม่แสดงอะไรเลยเมื่ออารมณ์ภายนอกไม่มี แต่นี่มันผิดอยู่ ตรงที่ไปคิดว่า สิ่งแวดล้อมเหล่านั้น เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก นอกไปจากธรรมชาติอันบริสุทธิ์และเปลี่ยนแปลงไม่ได้ของสิ่งทั้งปวง
77 ลัทธิที่มีชื่อว่า "ลัทธิแว่นส่องสมาธิและปัญญา" (หมายถึงมหายานซึ่งมิใช่เซ็นอีกนิกายหนึ่ง) นั้น ต้องการประโยชน์ของการเห็น การฟังการสัมผัส และความรู้ที่เกิดจากการกระทำเหล่านั้น ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่ภาวะแห่งความสงบ ซึ่งสลับกัน อยู่กับความวุ่นวายอย่างไม่มีที่สิ้นสุดแต่สิ่งเหล่านี้เกี่ยวกับอยู่กับความคิดต่างๆ ซึ่งมีรากฐานอยู่ที่อารมณ์ต่างๆ ที่แวดล้อมมัน มันเป็นการกระทำอย่างขอไปที และเป็นเพียงส่วนหนึ่งของรากเหง้าแห่งกุศลชั้นต่ำๆ รากเหง้าของกุศลชั้นนี้สามารถเพียงแต่ทำให้คนเขาได้ยินได้ฟังเท่านั้น78 ถ้าเธอต้องการเข้าถึงตัวความตรัสรู้ด้วยตัวเธอเองจริงๆ เธอต้องไม่ปล่อยตัวไปตามความคิดเช่นนั้น สิ่งเหล่านั้นทั้งหมด เป็นธรรมประเภทเครื่องแวดล้อม ซึ่งเนื่องกันอยู่กับสิ่งต่างๆ อันเป็นอยู่ ละไม่ได้เป็นอยู่ซึ่งมีรากฐานอยู่บนความ มีอยู่และความไม่มีอยู่ ถ้าเธอจะเพียงแต่ทำจิตให้ว่างจากความคิด เรื่องความมีอยู่และความไม่มีอยู่เกี่ยวกับสิ่งทุกๆสิ่งจริงๆได้เท่านั้น เธอก็จะลุถึงธรรมตัวจริงได้
๑๖. สัจจะธรรม
79 เมื่อวันหนึ่งค่ำเดือนเก้า ท่านครูบาได้กล่าวแก่ข้าพเจ้า
นับตั้งแต่วันที่ท่านโพธิธรรมผู้ปรมาจารย์ได้มาถึงประเทศจีนเป็นต้นมา ท่านได้ดูถึง จิตหนึ่ง นี้เท่านั้น และได้ถ่ายทอด ธรรมหนึ่ง นี้แต่อย่างเดียวเท่านั้น ท่านได้ใช้พุทธะ(คือจิตหนึ่ง ที่กล่าวแล้วนั่นเอง) นี้ถ่ายทอด พุทธะ นี้ไม่เคยกล่าวถึงพุทธะอื่นใดเลยท่านได้ใช้ธรรมะนี้ ถ่ายทอด ธรรมะนี้เท่านั้น ไม่เคยกล่าวถึงธรรมะอื่นใดเลย80 ธรรมะ ที่กล่าวนั้น เป็นธรรม ที่ไม่อาจจะบรรยายได้ด้วยคำพูดและ พุทธะ นั้น ก็เป็น พุทธะ ที่ไม่เห็นได้ด้วยตา หรือคลำได้ด้วยมือ เพราะว่า โดยที่จริงนั้น สิ่งทั้งสองนั้นก็คือจิตล้วน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของสิ่งทั้งปวง นั่นเอง นี่แหละคือ สัจจะ ซึ่งมีอยู่เพียงอย่างเดียว ข้ออื่นนอกไปจากนี้เป็นสัจจะเทียม
81 ปรัชญา คือ ความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือ จิต-ต้นกำเนิดดั้งเดิมซึ่งปราศจากรูป
82 คนธรรมดาทั่วไป ไม่แสวงหา ทาง ทางโน้น เขาเหล่านั้นได้แต่ปล่อยตนไปตามอำนาจของอายตนะทั้งหก ซึ่งย่อมนำเขาวกกลับไปสู่การกำเนิดในคติทั้งหก*ไปตามเดิม นักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้น ก็ยังพลัดตกลงไปสู่พวกมารร้ายได้โดย การยอมให้ตนเองเกิดมีความคิดอย่างสังสารวัฏ**ขึ้นมาแม้เพียงคร้ังเดียวถ้าเขายอมให้ความคิดชนิดที่นำไปสู่ความสาคัญมั่นหมายมีประการต่างๆ เกิดขึ้นแก่เขาเองเพียงคร้ังเดียวเขาก็ตกไปสู่ความเป็นมิจฉาทิฏฐิ
* คติทั้งหก หมายถึงกำเนิดสัตว์ชนิดต่างๆ ตั้งแต่ต่ำที่สุด เช่นนรก สูงขึ้นไปจนถึงชั้นสูงสุด เช่นพรหม
** คือความคิดที่ประกอบด้วยกิเลสตัณหา อันเป็นเหตุให้ทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งลงไปจนต้องรับผลของกรรมนั้น แล้วมีกิเลสตัณหาต่อไป โดยสิ้นสุด
83 การถือว่า มีอะไรบางอย่างเกิดขึ้น และการพยายามขจัดความเป็นอย่างนั้น เสียนั้น ก็จะทำให้ตกลงไปอยู่ในระหว่าง บรรดาพวกสาวก(ยาน)*การถือว่า สิ่งต่างๆไม่ได้เกิดขึ้น แต่ก็อยู่ในวิสัยที่จะแตกทำลายไปนั้น ก็จะทำให้ตกลงไปอยู่ ระหว่างบรรดาพวกปัจเจกะ(ยาน)*** ตามปกติฮวงโป ใช้คำว่า สาวกนี้อย่างมีความหมายว่า หีนยาน พวกหีนยานเป็นพวกทวินิยมในข้อที่ว่า เขาต้องการจะข้ามสังสารวัฏ เพื่อไปสู่นิพพาน ในขณะที่ ฝ่ายเซ็นถือว่าสังสารวัฏ กับ นิพพาน เป็นของสิ่งเดียวกนั
** ตามปกติฮวงโป ใช้คำๆนี้อย่างมีความหมายว่า พวกมัธยมิกะ หรือพวกยานกลาง ผู้แปลไทย
84 ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีอะไรทำลายไป จงเหวี่ยงคติทวินิยมไปเสียให้พ้น รวมทั้งความชอบและความไม่ชอบของเธอด้วย สิ่งที่มีอยู่จริงๆเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น คือจิตหนึ่ง นี้เท่านั้น เมื่อเธอเข้าถึงสิ่งๆนี้ด้วยใจแล้ว เธอก็จะได้สู่ราชรถแห่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลาย(พุทธยาน)
๑๗. ว่างเปล่า
85 คนธรรมดาทั่วไปทุกคน พากันปล่อยตัวไปตามความคิดปรุงแต่งซึ่งอาศัยปรากฏการณ์ทั้งหลายที่แวดล้อมอยู่ เพราะฉะนั้น เขาจึงเกิดความรู้สึกที่เป็นความรักและความชัง ถ้าจะขจัดปรากฏการณ์ซึ่งเป็นเครื่องแวดล้อมเหล่านั้นเสีย เธอก็เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่งของเธอเสีย เมื่อความคิดปรุงแต่งหยุดไป ปรากฏการณ์ต่างๆที่เป็นเครื่องแวดล้อม ก็กลายเป็นของว่างเปล่า เมื่อปรากฏการณ์ต่างๆ กลายเป็นของว่างเปล่า ความคิดก็สิ้นสุดลง
86 แต่ถ้าเธอพยายามขจัดสิ่งแวดล้อมเหล่านั้น โดยไม่ทำให้ความคิดปรุงแต่งหยุดไปเสียก่อน เธอจะไม่ประสบความสำเร็จกลับ มีแต่จะเพิ่มกำลังให้แก่สิ่งแวดล้อมเหล่านั้น ให้รบกวนเธอหนักขึ้น
87 เพราะฉะนั้น สิ่งทั้งปวงก็ไม่ได้เป็นอะไร นอกจากจิต คือจิต ซึ่งสัมผัสไม่ได้ทางอายตนะเมื่อเป็นดังนี้แล้ว อะไรเล่า ที่เธอหวังว่า อาจจะบรรลุได้
88 พวกที่เป็นนักศึกษาด้านปรัชญา (ของเซ็น)ย่อมถือว่า ไม่มีอะไรเลย ที่จะต้องสัมผัสได้ด้วยอายตนะเมื่อเป็นดังนั้น เขาจึงหยุดคิดถึงยานทั้งสาม*
* นิกายอื่นอีก 3 นิกาย ซึ่งไม่ใช่เซ็น เพราะมีคำสอนในระบบค่อยเป็นค่อยไปจนกว่าจะตรัสรู้
89 มีความจริงอยู่ก็แต่เพียงความจริงอย่างเดียวนั้น ซึ่งเป็นความจริงที่ไม่ต้องรู้หรือต้องลุถึงการพูดว่า "ข้าพเจ้าสามารถรู้ถึง สิ่งบางสิ่ง" หรือ"ข้าพเจ้าสามารถลุถึงสิ่งบางสิ่ง" นั้น คือการจัดตัวเองเข้าไว้ในระหว่างบรรดาคนผู้เป็นนักอวดโอ้ เหมือนพวกคนที่สะบัดฝุ่น ที่เครื่องนุ่งห่มของเขาแล้วลุกไปจากที่ประชุม ดังที่มีกล่าวอยู่ใน สัทธรรมปุณฑรีกสูตร(ของนิกายมหายาน) นั่นแหละ คือคนพวกนี้ทีเดียว*
* คนพวกที่คิดว่า เขาเข้าใจธรรม และมีความอิ่มใจตัวเองอย่างสุดซึ้ง ผู้แปลไทย
90 เพราะเหตุดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "โดยแท้จริงแล้ว เราตถาคตไม่ได้บรรลุถึงผลอะไรจากการตรัสรู้ของเรา" ดังนี้มีอยู่ก็แต่ความเข้าใจซึมซาบอย่างเงียบกริบและเร้นลับที่สุดเท่านนั้น ไม่มีอะไรอีกแล้ว
๑๘. การรู้แจ้งเห็นแจ้ง
91 ถ้าคนธรรมดาสามัญคนหนึ่ง เมื่อเขาร่อแร่จวนจะตาย หากว่า เขาสามารถเพียงแต่เห็นว่า มูลธาตุทั้งห้า ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่าและเห็นว่า มูลธาตุทางรูปกายนั้น ไม่ใช่สิ่งซึ่งประกอบขึ้นเป็นตัว "ข้าพเจ้า" และเห็นว่า จิต จริงแท้นั้นไม่มีรูปร่างและไม่ใช่สิ่งที่มีการมาหรือการไป และเห็นว่า ธรรมชาติเดิมแท้ของเขานั้น เป็นสิ่งๆหนึ่ง ซึ่งมิได้มีการตั้งต้นขึ้นที่การเกิด หรือมิได้มีการสิ้นสุดลงที่การตายของเขา แต่เป็นของสิ่งเดียวรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆในส่วนลึกจริงๆของมันทั้งหมด และว่า จิต ของเขากับ สิ่งต่างๆซึ่งแวดล้อมเขาอยู่นี้ เป็นสิ่งๆเดียวกัน ถ้าเขาสามารถ ทำได้ตามนี้จริงๆเขาจะลุถึงการรู้แจ้งได้โดยแว็บเดียวในขณะนั้น
92 เขาจะเป็นผู้ที่ไม่ต้องข้องเกี่ยวกับโลกท้ัง 3 อีกต่อไป เขาจะเป็นผู้อยู่เหนือโลกได้ เขาจะไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว93 แม้หากว่า เขาจะได้มองเห็นภาพอันรุ่งโรจน์ของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์กำลังเสด็จมาต้อนรับเขา ห้อมล้อมไปด้วย สิ่งอันวิจิตรตระการตาทุกชนิด เขาก็ไม่เกิดความรู้สึกอยากเข้าไปใกล้สิ่งเหล่านั้น หรือถ้าเขาจะได้มองเห็นสิ่งอันน่าหวาดเสียวทุกๆชนิดมาแวดลอ้ มอยู่รอบตัวเขา เขาก็จะไม่รู้สึกกลัวเลย
94 เขาจะเป็นแต่ตัวของเขาเองเท่านั้น ที่ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง และเป็นสิ่งๆเดียวกันกับสิ่งสูงสุด สิ่งนั้น เขาจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมะที่เป็นหลักมูลฐานในที่นี้** ข้อความแห่งบรรพที่18 บางทีจะเป็นคำอธิบายชั้นเลิศของนิกายเซ็นชิ้นหนึ่ง เพราะว่าได้ประมวลเอาสติปัญญาอันกว้างขวางและแหลมคมทั้งหมดทั้งสิ้น เข้ามาไว้ในถ้อยคำเพียงไม่กี่คำ
๑๙. แดนแห่งสิ่งล้ำค่า
95 ในวันแปดคํ่าเดือนที่สิบ ท่านครูบาได้กล่าวแก่ข้าพเจ้าว่า ลัทธิที่มีชื่อว่า นครแห่งมายา นั้นได้้กล่าวถึงยานสองอย่าง ภูมิสิบแห่งการก้าวหน้าของโพธิสัตว์และการตรัสรู้เตม็ ที่สองแบบ เรื่องทั้งหมดนี้เป็นคำสอนที่มีอิทธิพลในการเร้าความสนใจของประชาชน แต่แล้วมันก็ยังคงเป็นเพียงสิ่งของในนครแห่งมายา* สมชื่อของมันอยู่นั่นเอง
96 ถิ่นที่เรียกว่า แดนแห่งสิ่งล้ำค่านั้น (ถ้ามีจริง)ก็คือจิต จริงแท้ซึ่งเป็น เนื้อแท้ด้ังเดิมของพระพุทธเจ้าและเป็นขุมทรัพย์แห่งสภาวะอันแท้จริงของพวกเราเอง เพชรพลอยเหล่านี้วัดหรือตวงไม่ได้ สะสมให้มากขึ้นก็ไม่ได้
97 เมื่อพระพุทธะหรือสามัญสัตว์ทั้หลายเองก็ยังไม่มีและสิ่งซึ่งจะเป็นตัวตนผู้ทำหรือตัวตนผู้ถูกกระทำ ก็ยังไม่มีเสียเองแล้ว นครแห่งสิ่งล้ำค่าจะมีได้ที่ไหนอย่างไรเล่า?
98 ถ้าพวกเธอถามว่า "เอาละครับ นครแห่งมายา มีอยู่มากพอแล้ว ส่วนแดนแห่งสิ่งล้ำค่านั้นเล่า มันอยู่ที่ไหนกัน " ฉัน ขอตอบว่า มันเป็นถิ่นซึ่งไม่มีทิศทางที่ไม่อาจชี้ให้แก่เธอได้ เพราะว่า ถ้ามันเป็นสิ่งที่อาจจะชี้ได้มันก็ต้องเป็นถิ่นที่มีอยู่ในอวกาศมิใช่หรือ เมื่อเป็นดังนั้น มันก็ไม่อาจจะเป็นแดนแห่งสิ่งล้ำค่าจริงแท้อะไรๆไปได้เลย อย่างมากที่สุดที่เราจะพูดได้ ก็คือว่า มันอยู่แค่จมูกนี่เอง มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะระบุตรงๆลงไปได้จริง แต่เมื่อใจของพวกเธอมีความเข้าใจซึมซาบ ถึงเนื้อแท้ของมันอยู่อย่างหุบปากเงียบ พูดอะไรไม่ออกแล้ว มันก็อยู่ ที่ตรงนั้นแหละ
* คําๆนั้นนำมาจาก สทัธรรมปุณฑรีกสูตร และในสูตรนั้นเล็งถึงนิพพานชนิดชั่วคราวและไม่สมบูรณ์ตามความเห็นของเซ็นนั้น เห็นว่าคำสอนของนิกายเป็นอันมากอาศัยความเชื่อในข้อที่ว่า การตรัสรู้ต้องเป็นไปอย่า งช้าๆ ตามลำดับ เพราะฉะนั้นจึงนำสาวกเหล่าน้ัน ไปสู่นครแห่งมายา เพราะคำสอนเหล่านั้น นําไปสู่ลัทธิทวินิยม ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่งอย่างที่เห็นอยู่โดยชัดแจ้ง ผู้แปลไทย
๒๐. จิต นั่นแหละคือ ธรรม
99 พวกลัทธิอิจฉันติกา เป็นพวกที่มีหลักลัทธิอันไม่สมบูรณ์สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงซึ่งมีอยู่ในนคติภพทั้งหกนี้ ซึ่งมีทั้งพวกมหายานและหีนยานรวมอยู่ด้วยนั้น ถ้าเขาไม่มีความเชื่อต่อ พุทธภาวะ อันเป็นสิ่งที่ไม่มีอะไรยิ่งกว่าซึ่งมีอยู่ในตัวเขาเองแล้ว ก็เป็นการสมควรแล้ว ที่จะถูกขนานนามว่า เป็นพวกอิจฉันติกา
100 พวกพระโพธิสัตว์ต่างๆ ซึ่งมีความเชื่อใน พุทธธรรม อย่างลึกซึ้งและไม่ยอมรับการแบ่งแยกเป็นมหายาน และ หีนยานแล้วก็ตาม แต่ถ้ายังไม่เห็นแจ้งต่อ สภาวะหนึ่งเดียวของพุทธะทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงแล้ว ก็ควรถูกขนานนามว่า เป็นพวกอิจฉันติกา ประเภทที่รากเหง้าแห่งกุศลยังดีอยู่
101 พวกที่การรู้แจ้งของเขาส่วนใหญ่มีมูลมาจากการได้ยินได้ฟังธรรมที่มีผู้แสดงนั้น ถูกขนานนามว่า พวกสาวก พวกที่รู้แจ้งเห็นจริงด้วยการซาบซึ้งต่อกฎแห่งกรรม ถูกขนานนามว่า พวกปัจเจกพุทธ พวกที่เป็นพุทธะโดยได้มาจากการรู้แจ้งเห็น แจ้งอันแท้จริง ซ่ึงแสวงหาเอาได้จากใจของเขาเองนั้น ถูกขนานนามว่า พวกสุตพุทธะ102 นักศึกษาเรื่อง ทาง ทางนี้แทบทั้งหมด รู้แจ้งโดยทางธรรมะซึ่งสอนกัน เป็นคำพูด ไม่ใช่โดยทางธรรมะที่เห็นได้ด้วยใจ แม้ว่าเขาจะได้ทำความพากเพียรมาแล้วเป็นกัปป์ๆ ไม่ขาดสายเขาก็จะไม่เป็นผู้ที่กลมกลืนกันได้กับเนื้อแท้ดั้งเดิมของ พุทธะ พวกที่ไม่รู้แจ้งเป็นแจ้งภายใน จิต ของเขาเองได้แต่ฟังธรรมซึ่งสอนกันด้วยคำพูดนั้น สร้างแสงสว่างให้จิตเอาเอง และไปเห็นความสำคัญอยู่ที่คำสอน ดังนั้นเขาจึงมัวแต่ก้าวไปทีละขั้นๆโดยไม่ประสีประสาต่อจิตเดิมแท้ของตนเองเลย
103 เมื่อเป็นดังนั้น ถ้าเธอเพียงแต่มีความเข้าใจซึมซาบต่อจิต อย่างหุบปากเงียบ ไม่ต้องพูดอะไรเท่านั้น เธอก็ไม่จําเป็นต้องเที่ยวแสวงหาธรรมใดๆเลยเพราะเมื่อทําได้ดังนั้น จิต นั่นแหละคือธรรมนั้น *
*ข้อความทั้งหมดแห่งบรรพนี้ มุ่งหมายที่จะชี้ให้กระจ่างว่า ถึงแม้ว่า พุทธศาสนาแบบนิกายค่อยเป็นค่อยไปทีละขั้น จะยังทำให้เกิดผลได้จริงก็ตาม มันก็กินเวลานาน หรืออย่างน้อยที่สุดก็ยังไม่สมบูรณ์ในเมื่อนำไปเปรียบกันกับผลที่ได้รับจากการปฏิบัติเซ็น ผู้แปลไทย
๒๑. การหลบหลีก
104 คนเป็นอันมาก มักถูกปิดกั้น เสียจากการรู้แจ้งต่อจิต โดยปรากฏการณ์ต่างๆ ซึ่งแวดล้อมอยู่รอบๆตัวเขาและถูกปิดกั้นเสียจากการรู้แจ้งต่อหลักธรรมที่สำคัญที่สุด โดยเหตุการณ์ต่างๆเฉพาะตน ดังนนั้น เขาจึงพยายามหาทางหลีกเลี่ยงจากปรากฏการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมเหล่านั้นเสีย ด้วยหวังว่า จะทำจิตของเขาให้สงบ หรือพยายามที่จะระงับเหตุการณ์ต่างๆเสีย ด้วยหวังจะยึดหน่วงเอาธรรมะนั้นให้ได้ เขาไม่เห็นอย่างแจ่มแจ้งว่า การทำอย่างนี้เป็นการกลบเกลื่อน ปรากฏการณ์ต่างๆด้วยจิต กลบเกลื่อนเหตุการณ์ต่างๆด้วยหลักธรรม105 จงเพียงแต่ทำจิตของเธอให้ว่างเท่านั้น ปรากฏการณ์ที่เป็นสิ่งแวดล้อมต่างๆ ก็จะเป็นของว่างไปในตัวมันเอง จงให้หลักการต่างๆหยุดแกว่ง แล้วเหตุการณ์ต่างๆก็หยุดวุ่นวาย ก็หยุดวุ่นวายได้ด้วยตัวมันเอง จงอย่าใช้จิต ไปในทางอุตริแผลงๆเช่นนั้นเลย
106 คนส่วนมากขี้ขลาดต่อการทำจิตของตนให้ว่าง โดยเกรงไปว่า เขาจะพลัดตกลงไปในความว่าง เขาเหล่านั้นไม่ทราบว่า จิต ของเขาเองเป็นความว่าง คนโง่มัวแต่หลบหลีกปรากฏการณ์ต่างๆ ไม่หลบหลีกจากความคิดปรุงแต่ง ส่วนคนฉลาด ย่อมหลบหลีกจากความคิดปรุงแต่งและไม่ต้องหลบหลีกปรากฏการณ์*
* คำสอนอันลึกซึ้งนั้นส่วนหนึ่งได้เล็งถึงพวกพุทธบริษัท ซึ่งปฏิบัติสมาธิภาวนาโดยหวังจะถอนออกซึ่งโลกฝ่ายวัตถุเพียงชั่วคราว
107 จิตของพระโพธิสัตว์นั้น เหมือนกับความว่าง เพราะท่านได้เพิกถอนสิ่งต่างๆออกเสียแล้ว และไม่ปรารถนาแม้แต่จะสร้างสมบุญกุศล*
* ในที่นี้พึงเข้าใจเสียด้วยว่า ความหมายของคำว่าโพธิสัตว์อย่างเถรวาท กับอย่างมหายานนั้นต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็ต่างกันอยู่อย่างนี้ - ผู้แปลไทย
๒๒. การเพิกถอน
108 การเพิกถอนนั้น มีวิธีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน เมื่อทุกๆสิ่งทั้งภายในและภายนอก ทั้งรูปธรรมและนามธรรมถูกเพิกถอนแล้ว เมื่อความยึดมั่นต่างๆไม่มีเหลืออยู่ เช่นเดียวกันกับในความว่าง เมื่อการกระทำทั้งหมดเป็นไปแต่ตามควรแก่สถานที่และสิ่งแวดล้อมล้วนๆ(ไม่มีกิเลสเจือปน) และเมื่อความรู้สึกว่ามีตัวตนในฐานะเป็นผู้กระทำ และความรู้สึกว่ามีตัวตนในฐานะเป็นผู้ถูกกระทำนั้น ถูกเลิกล้างไปหมดแล้ว นั้นคือวิธีแห่งการเพิกถอนชนิดสูงสุด
109 เมื่อในขณะหนึ่ง หนทาง ทางนี้มีการดำเนินโดยการประกอบกุศลกรรมมีประการต่างๆ และอีกในขณะหนึ่งการเพิกถอนกุศลเหล่านั้นก็มีอยู่ และไม่ดำรงความหวังที่จะรับผลแห่งบุญกุศลนั้นไว้ น้ันคือวิธีแห่งการเพิกถอนชนิดกลางๆ
110 เมื่อการประกอบบุญกุศลทุกชนิด ได้ทําไปเพื่อหวังที่จะได้รับผลตอบแทนของบุคคลผู้ซึ่งแม้จะมีความรู้เรื่องความว่าง โดยได้ยินได้ฟังธรรมะข้อนี้ แล้วทำตนเป็น(ประหนึ่งว่า)ผู้ไม่ยึดถือ-นั่นคือวิธีแห่งการเพิกถอนชนิดต่ำที่สุด111 วิธีชนิดแรกเหมือนกับไต้ลุกโพลง ที่ถือส่องยื่นไปข้างหน้า อันไม่สามารถจะทำให้หลงทางไปได้ วิธีชนิดที่สอง เหมือนกับไต้ลุกโพลงที่ถือยื่นไปข้างๆซึ่งบางทีก็เห็นทาง บางทีก็มืด ส่วนวิธีที่สามนั้น เหมือนกับไต้ลุกโพลงที่ถือไขว้ไปข้างหลัง จนกระทั่งหลุมมีอยู่ข้างหน้าก็มองไม่เห็น*
* วิธีการเพิกถอนทั้งสามนี้คงจะเล็งถึง เซ็น มหายาน และหีนยาน ตามลำดับ ผู้แปลไทย
๒๓. การสร้างความมีอยู่
112 ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เห็นได้ว่า จิตของพระโพธิสัตว์นั้น เหมือนกับความว่างและสิ่งทุกสิ่งถูกเพิกถอนหมดสิ้น โดยจิตนั้น เมื่อความคิดต่างๆที่เกี่ยวกับอดีตไม่ถูกยึดถือไว้นั่นคือการเพิกถอนส่วนอดีต เมื่อความคิดต่างๆที่เกี่ยวกับปัจจุบันไม่ถูกยึดถือไว้นั่นคือการเพิกถอนส่วนปัจจุบัน เมื่อความคิดต่างๆที่เกี่ยวกับอนาคตไม่ถูกยึดถือไว้นั่นคือการเพิกถอนส่วนอนาคต นี้เรียกว่า การเพิกถอนที่สุดทั้ง 3 กาล
113 จำเดิมแต่พระตถาคตได้ทรงมอบธรรมะแก่พระมหากศยปะ(เถรวาทเรียก พระมหากัสสปะ) มาจนกระทั่งทุกวันนี้ จิต ได้ถูกถ่ายทอดด้วยจิต ตลอดมาและจิต เหล่านี้ แต่เป็นจิตๆเดียวกัน
114 การถ่ายทอด ความว่าง ให้กันและกันนั้น ไม่สามารถได้โดยทางคำพูด การถ่ายทอดตามความหมายทางฝ่ายวัตถุนั้น ไม่สามารถใช้กันได้กับธรรมะ เมื่อเป็นดังนั้น จิต เป็นสิ่งที่ถูกถ่ายทอดด้วยจิต และจิต เหล่านี้ไม่แตกต่างกันเลย
115 การถ่ายทอด และการรับการถ่ายทอด ท้ังสองอย่างนี้เป็นความเข้าใจอันเร้นลับ ที่เข้าใจได้ยากที่สุด จนถึงกับมีไม่กี่คนจริงๆ ที่สามารถรับเอาได้
116 ถึงอย่างไรก็ตาม ตามความเป็นจริงนั้น จิต นั้นก็ยังมิใช่จิต และการถ่ายทอดนั้น ก็มิใช่การถ่ายทอด ที่เป็นจริงเป็นจัง อะไรเลย
๒๔. กาย ๓ กาย
117 พุทธะองค์หนึ่ง มีกาย 3 กายโดยคำว่า ธรรมกายย่อมหมายถึงธรรมะ(ธรรมดา)แห่งความว่าง อันมีอยู่ในที่ทุกแห่งของธรรมชาติอันแท้จริงที่เป็นอยู่เองของสิ่งทุกสิ่งโดยคำว่า สัมโภคกาย ย่อมหมายถึงธรรมะ(สภาวะธรรมดา)แห่งความบริสุทธิ์สากลอันสำคัญ ยิ่ง ของสิ่งทั้งปวงโดยคำว่า นิรมานกาย ย่อมหมายถึงธรรมต่างๆแห่งวัตรปฏิบัติ 6 ประการ ซึ่ง นำไปสู่พิพพาน และอุบายวิธีอื่นๆทำนองนั้น ทั้งหมดด้วยกัน
118 ธรรม (ธรรมดา)ของธรรมกาย นั้น ไม่อาจแสวงหาได้โดยทางการพูดจา หรือโดยทางการฟัง หรือโดยทางตัวหนังสือไม่มีอะไรที่อาจจะพูด มีอยู่ในที่ทุกหนทุกแห่งและไม่มีอะไรมากไปกว่านั้นอีก เพราะฉะนั้น การบอกให้รู้ว่า ไม่มีธรรมะ ที่ต้องอธิบายด้วยคำพูดนั่นแหละเรียกว่า การเผยแพร่ธรรมละ
119 สัมโภคกายและ นิรมานกาย ทั้งสองอย่างนี้ ย่อมตอบสนองด้วยปรากฏการณ์ต่างๆ ซึ่งเหมาะสมแก่สิ่งแวดล้อม เฉพาะอย่างยิ่ง ธรรมะต่างๆที่มีผู้นำมากล่าวเพื่อสนองแก่เหตุการณ์ต่างๆ โดยความรู้สึกทางอายตนะและในทุกๆชนิดแห่ง รูปและแบบนั้น ไม่มีอันไหนเลยที่เป็นธรรมะจริง ดังนั้น จึงมีคำกล่าวว่า สัมโภคกาย ก็ตาม นิรมานกายก็ตาม หาใช่พุทธะ ที่แท้จริงไม่ทั้งไม่ใช่ผู้ประกาศธรระด้วย** ตามปรกติฮวงโปมักใช้คำสันสกฤต ตามความหมายของตนเองจึงมีการอธิบายไปอย่างนั้น ตามที่รู้กันอยู่ทั่วไปนั้น ธรรมกาย หมายถึงลักษณะอันสูงสุดของ พระพุทธเจ้าองค์หนึ่งๆ กล่าวคือเช่นลักษณะที่เรียกกันวา สัจจธรรมอันเด็ดขาด เป็นต้น สัมโภคกาย นั้น เป็น พระกายของพระพุทธเจ้าที่รุ่งเรืองเพราะความอยู่เหนือโลก และนิรมานกายอาจจะหมายถึงการแปลงรูป ชนิดใดก็ได้ที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จมาปรากฏในโลกนี้ส่วนในนิกายเซ็นนั้น สิ่งแรก หมายถึงธรรมที่สูงสุดที่อยู่ใน รูปที่ใครๆ จะคิดเอาไม่ได้และเป็นรูปที่สมบูรณ์ที่สุด สิ่งที่สอง หมายถึงสัจจธรรมสูงสุดที่อยู่ในรูปความคิด ที่มนุษยสามัญ ซึ่งมีความรู้แจ้งแล้ว อาจจะหยั่งทราบได้ ได้แก่ความบริสุทธิ์และสภาวะแห่งความเป็นอันเดียวกัน ของสิ่งททั้งปวง ซึ่งเป็นสิ่งวิเศษที่สุด สิ่งที่สามนั้น หมายถึงวิธีปฏิบัติต่างๆ ที่เราหวังจะใช้เพื่อลุถึงความ เข้าใจ ซึมซาบ ต่อสัจจะอัน สูงสุดนั้น -ผู้แปลไทย
๒๕. เอกสภาวะ
120 คำว่า เอกสภาวะเล็งถึงสิ่งที่มีความรุ่งเรืองทางฝ่ายจิต ซึ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันหมดสิ่งหนึ่ง ที่แบ่งแยกออกเป็นมูล ธาตุที่เจือกันอย่างสนิทสนมเป็นเนื้อเดียวกัน มีจำนวน 6 ธาตุ สิ่งที่มีความรุ่งเรืองทางฝ่ายจิต ซึ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกัน ดังกล่าวนั้น ก็คือจิตหนึ่งนั่นเอง พร้อมกันนั้น มูลธาตุทั้งหกที่มีการเจือกันอย่างสนิทนั้น ก็คืออวัยวะแห่งอายตนะทั้งหกอีก นั่นเอง
121 อวัยวะแห่งอายตนะทั้งหกเหล่านี้ ต่างก็เข้าคลุกคลีกันกับ สิ่งที่จะทำให้มัน เศร้าหมองกล่าวคือ ตากับรูป หูกับ เสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ และใจกับธรรมารมณ์ ในขณะแห่งการสัมผัสระหว่างอวัยวะเหล่านี้กับวัตถุที่มัน สัมผัส ย่อมเกิดความรู้สึกทางอารมณ์ขึ้นอีก6 ชนิด (คือเวทนา) ดังนั้น จึงทำให้เกิดมีสิ่งซึ่งเนื่องกันอยู่ กับอายตนะขึ้นเป็น 18 อย่างด้วยกัน
122 ถ้าพวกเธอเข้าใจได้ว่า สิ่งซึ่งเนื่องกันอยู่ กับอายตนะทั้ง 18 อย่างเหล่านี้ ไม่มีความมีอยู่เป็นตัวเป็นตนอะไรเลยเธอ ก็อาจจะคุมมูลธาตุที่มีการเจือกันอย่างสนิททั้ง 6 ธาตุนั้น เข้าเป็นสิ่งซึ่งมีความสว่างไสวทางฝ่ายจิตเพียงสิ่งเดียวได้ สิ่งซึ่งมีความสว่างไสวทางฝ่ายจิตเพียงสิ่งเดียวนั้น ได้แก่จิตหนึ่ง นั่นเอง
123 นักศึกษาทุกคนแห่ง ทาง ทางนี้ ย่อมรู้ข้อนี้ดี แต่เขาไม่สามารถจะเว้น เสียจากการสร้างรูปความคิดต่างๆ อันเกี่ยวกับ "สิ่งซึ่งมีความรุ่งเรืองทางฝ่ายจิตสิ่งเดียว" และมูลเหตุต่างๆที่เจือกันสนิท 6 อย่างนั้น เมื่อเป็นอย่างนั้น เขาก็กลายเป็นผู้ถูกจองจำอยู่กับความยดึถือในความมีอยู่ต่างๆ และพลาดจากการได้รับความเข้าใจ ชนิดที่หุบปากเงียบไม่ต้องพูด ในเรื่องจิต เดิมแท้*
* ข้อนี้ เล็งถึงคนพวกที่สามารถเข้าใจธรรมะได้อย่างเฉลียวฉลาด แต่ยังไม่สามารถทำได้สำเร็จในการสลัดภาวะแห่งความคิดปรุงแต่งเสียได้ ผู้แปลไทย
๒๖. สัจจยาน
124 เมื่อพระตถาคตได้ทรงแสดงพระองค์ให้ปรากฏในโลกนี้ พระองค์ทรงปรารถนาที่จะประกาศแต่สัจจยาน เพียงอย่างเดียว แต่ประชาชนจะไม่เชื่อพระองค์ และจะพากันจมลงในทะเลแห่งสังสารวัฏ เพราะพากันหัวเราะเยาะพระองค์ด้วยความไม่เชื่อ
125 อีกประการหนึ่งถ้าหากว่า พระองค์จะไม่ตรัสอะไรเสียเลย ข้อนั้นจะเป็นการเห็นแก่ตัว และพระองค์ก็จะไม่สามารถกระจายความรู้เรื่องทางอันเร้นลับนั้น ให้เป็นคุณประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงได้ ดังนั้นพระองค์จึงทรงใช้วิธีที่เหมาะสม คือ ประกาศว่า มียานอยู่ 3 ยาน
126 อย่างไรก็ตาม เมื่อยานทั้งสามนี้เป็นสิ่งที่ใหญ่เล็กกว่ากันและกันอยู่ มันจึงเกิดมีคำสอนตื้น และคำสอนลึกขึ้นมา อย่างที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ แต่ก็ไม่มีอันไหนที่เป็นธรรมะเดิมแท้ ดังนั้น จึงมีคำกล่าวไว้ว่า มีแต่ทางแห่งยาน ยานเดียว ถ้ามันเกิดมีมากกว่านั้น มันก็ไม่อาจเป็นของจริงไปได้
127 นอกไปกว่านั้นอีก มันไม่มีวิถีทางใดเลย ที่จะบรรยายถึงธรรม แห่งจิตหนึ่งนี้ ให้แก่กันและกันได้โดยเด็ดขาด เมื่อเป็นดังนั้น พระตถาคตจึงได้รับสั่งให้ พระมหากาศยะปะ (พระมหากัสสปะ) มาเฝ้าและนั่งกับพระองค์ บนอาสนะแห่งการประกาศสัจจธรรม ทรงมอบธรรม แห่งจิตหนึ่ง นี้ ซึ่งเป็นธรรมที่ไม่เกี่ยวกับคำพูดแต่ประการใดเลยให้แก่ท่านเป็นพิเศษ ธรรมที่ไม่อาจจะแตกแขนงข้อนี้ เป็นธรรมที่ต้องปฏิบัติเป็นพิเศษต่างหากจากธรรมเหล่าอื่น และผู้ที่จะรู้แจ้งเห็นจริงซึ่งธรรมนี้โดยมิต้องมีการเอ่ยปากพูดกัน นั่นแหละจะได้ลุถึงภาวะแห่งความเป็นพุทธะนั้น
๒๗. ความรู้สึก
128 ถาม ทาง นั้นเป็นอย่างไร และต้องเดินมันอย่างไร
ตอบ เธอจะสมมติให้ทางนั้น เป็นของคนชนิดไหนกันนะ จนถึงกับเธออยากจะเดิน
129 ถาม อาจารย์มีคำแนะนำอะไรบ้าง ที่จะให้แก่ศิษย์ในที่ทั่วไป เพื่อปฏิบัติยานะและศึกษาธรรม
ตอบ ถ้อยคำต่างๆที่ใช้เป็นเครื่องดึงดูดความสนใจของพวกปัญญาทึบนั้น ใช้อาศัยอะไรไม่ได้หรอก
130 ถาม ถ้าคำสอนเหล่าโน้น มุ่งหมายสำหรับพวกปัญญาทึบแล้ว กระผมก็ยังต้องการจะฟังว่า ธรรมอะไร ที่ใช้สอน พวกที่ปัญญากว้างขวางจริงๆ
ตอบ ถ้าเขาเหล่านั้น เป็นคนมีปัญญากว้างขวางจริงๆแล้ว เขาจะหาพบคนที่เขาควรเดินตาม ได้ที่ไหนเล่า ถ้าเขาแสวงหาจากภายในตัวเขา เขาจะพบว่า ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอยู่แล้ว คิดดูเถิดว่า เขาจะพบธรรมะที่ควรแก่ความสนใจของเขา ในที่อื่นๆ ภายนอกนั้น น้อยมากลงไปอีกเพียงไร? อย่า มองมุ่งไปยังสิ่งซึ่งพวกนักเผยแพร่ทั้งหลายเรียกกันว่า ธรรมะ เลย เพราะธรรมะชนิดนั้น จะเป็นธรรมะอะไรที่ไหนได้
131 ถาม ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว เราไม่ควรแสวงหาสิ่งใดๆ กันบ้างเลยเชียวหรือ?
ตอบ ด้วยการทำอย่างนั้นแหละ พวกเธอจะประหยัดความเหน็ดเหนื่อยทางจิต ให้เธอเองได้มากที่สุด
อ่านต่อทั้งหมดได้ใน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thammapedia.com/dhamma/books/bdds/500.pdf
(webmaster-คำสอนของฮวงโป
ท่านเน้นถึงการบรรลุธรรมอย่างฉับพลันหรือรวดเร็วและเรียบง่ายตามหลักนิกายเซ็น สิ่งที่ท่านเน้นให้เห็นถึงการบรรลุถึงจิตพุทธะ
หรือจิตหนึ่ง หรือ ทาง ทางโน้น หรือจิตเดิมแท้
โดยเรียบง่ายและรวดเร็วฉับพลันอย่างหนึ่งนั้นก็คิอ
การหยุดคิดนึกปรุงแต่ง
หรืออุทธัทจะนั่นเองเป็นสำคัญ
และยิ่งประกอบด้วยปัญญาพละจากความเข้าใจอันแจ่มแจ้งจากขันธ์
๕ ยิ่งให้ผลอันยิ่ง เพราะเมื่อหยุดการคิดปรุงแต่งที่ประกอบด้วยปัญญาด้วยรู้เหตุรู้ผลนั่นเอง
ย่อมทำให้อวิชชาดับไปด้วย, การปฏิบัติของท่านเป็นในแนวทางจิตเป็นสำคัญ คือ
จิตเห็นความคิดนึกปรุงแต่ง
หรือก็คือจิตตานุปัสสนาในแนวทางสติปัฏฐาน
๔ แบบเถรวาท ที่เมื่อเห็นว่าเป็นโทษก็ปล่อยวางเสีย, การอ่านหรือโยนิโสมนสิการจึงพึงพยายามจับสาระสำคัญให้ได้)
: คำสอนของฮวงโปแห่งนิกายเซ็น เป็นการปฏิบัติทางจิตเป็นสำคัญ สาระสำคัญที่สุดคือ การหยุด"คิดนึกปรุงแต่ง"หรือ"อุทธัจจะ"ในสังโยชน์ ๑๐
|