ขอกล่าวถึงความเป็นไปของนิกายเซ็น โดยสังเขป |
คลิกขวาเมนู |
ทางนิกายเซ็นนั้น ได้มีการบันทึกไว้ ดังในคำสอนของฮวงโป ว่าได้รับคำสั่งสอนแบบ"จิต สู่ จิต" หรือ "จิต เห็น จิต" โดยตรงจากพระพุทธเจ้า ที่ถ่ายทอดให้พระมหากศยปะ (ซึ่งทางนิกายเถรวาทก็คือ ท่านพระมหากัสสปะ) ด้วยเล็งเห็นว่ามนุษย์มีปัญญาแตกต่างกันไป อีกทั้งมอบบาตรและจีวรให้ท่าน จนกลายเป็นเครื่องหมายการมอบตำแหน่งส่งต่อกันของพระสังฆปรินายกในนิกายเซ็น และทางนิกายเซ็นถือว่าท่านมหากศยปะ หรือพระมหากัสสปะ เป็นพระปฐมสังฆปรินายกองค์แรกของนิกายเซ็นของอินเดียหรือของโลก และธรรมะนี้ก็ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ด้วยวิธีจิต สู่ จิต โดยปาก สู่ ปาก ถ่ายทอดกันมาดังนี้ตลอดมา, ส่วนท่านโพธิธรรม หรือตั๊กม้อ ซึ่งเป็นพระภิกษุชาวอินเดีย เชื่อกันว่าก่อนออกบวชท่านเป็นเจ้าชายของแว่นแคว้นหนึ่ง ไปศึกษาแสวงธรรมอยู่กับพระปรัชญาตาระเถระ ผู้เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ ๒๗ แห่งนิกายเซน (ซึ่งอ้างว่าสืบตำแหน่งต่อเนื่องกันมาตั้งแต่พระมหากัสสปะในสมัยพุทธกาล) จึงได้ยกย่องถือกันว่า พระปรัชญาตาระเถระ เป็นพระปฐมสังฆปรินายกของนิกายเซนของประเทศจีน ต่อมาท่านโพธิธรรมได้เดินทางมาโปรดสัตว์ ณ ประเทศจีน แล้วสร้างวัดที่คนไทยรู้จักกันดีว่า วัดเสี้ยวลิ้มยี่ หรือวัดเส้าหลิน ที่มีชื่อเสียงยืยยงตราบมาจนทุกวันนี้ ท่านเป้นผู้สถาปนานิกายเซ็นขึ้นในประเทศจีน และฝ่ายนิกายมหายาน ถือว่าท่านพระโพธิธรรมเป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ ๒๘ ของนิกายเซ็น ที่สืบทอดโดยตรงมาจากพระโคตมพุทธเจ้า ตั้งแต่สมัยพุทธกาล, และนับว่าเป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ ๑ ของนิกายเซ็นของประเทศจีน และต่อมานิกายเซ็นได้แพร่หลายถ่ายทอดไปยังประเทศต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น จนเจริญรุ่งเรือง แตกกิ่งก้านไปอีกหลายนิกายหรือสำนัก เช่น นิกายรินไซเซ็น (Rinzai Zen) สำนักนี้เน้นการรู้แจ้งอย่างฉับพลันโดยอาศัยปริศนาธรรม เพื่อให้เกิดความสงสัยอย่างต่อเนื่องในจิต จนกระทั่งถึงที่สุดก็จะบรรลุสู่ความรู้แจ้งอย่างฉับพลัน กล่าวคือ การปฏิบัติธรรม กับผลที่ได้ จากการปฏิบัติธรรมเป็นคนละส่วนกัน โดยอาศัยปริศนาธรรมเป็นวิธีที่นำไปสู่การบรรลุธรรม, นิกายโซโตเซ็น (Soto Zen) สำนักนี้เน้นที่การปฏิบัติซาเซ็น (Zazen) หรือ การทำสมาธิเป็นสำคัญ ทั้งนี้เพื่อพัฒนาความสงบและมั่นคงแห่งจิตไปสู่การรู้แจ้ง คำสอนของสำนักโซโตเซ็นจะเน้นว่า การปฏิบัติธรรมกับผลที่ได้จากการปฏิบัติธรรมเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยที่การปฏิบัติธรรมมิใช่ วิธี สู่การบรรลุเป้าหมายบางอย่างภายนอก แต่ประสบการณ์ที่แท้ในการปฏิบัติธรรมนั้นเอง คือ การบรรลุธรรม, ถึงแม้ว่าหลักสำคัญของพุทธศาสนานิกายเซ็น คือ การสืบทอดพิเศษนอกคัมภีร์ ไม่ต้องอาศัยคำพูดและตัวอักษร ชี้ตรงไปยังแก่นแท้ของมนุษย์ ให้เห็นแจ้งในธรรมชาติของตนเองและบรรลุความเป็นพุทธะ, นิกายเซ็นได้แพร่หลายในประเทศญี่ปุ่นจนบางครั้งเข้าใจกันไปเองว่า เป็นนิกายที่มีต้นกำเนิดในญี่ปุ่น, ส่วนท่านเว่ยหล่างผู้เป็นอาจารย์ของท่านฮวงโป ก็เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ ๖ ของนิกายเซ็นของประเทศจีน
ขอกล่าวถึงการบรรลุธรรมหรือตรัสรู้โดยฉับพลัน ตามแนวคำสอนของท่านฮวงโป มิใช่สิ่งเลื่อนลอยเพ้อฝันแต่ประการใด คือท่านฮวงโปแห่งนิกายเซ็นได้กล่าวเน้นแสดงธรรมไว้แล้วว่า จิตพุทธะหรือจิตบริสุทธิ์นั้นมีอยู่แล้วในทุกผู้คน แม้สัตว์โลกทั้งหลาย จึงอย่าไปเที่ยวเสียเวลาไปแสวงหาจากภายนอก ไปเที่ยวค้นหาด้วยวิธีการต่างๆนาๆ มันมีอยู่ภายในตัวเรานั่นแหละ ซึ่งแท้จริงแล้วก็ตรงกับทางฝ่ายเถรวาท ที่กล่าวถึงไว้ว่า จิตเดิมแท้หรือจิตพุทธะภายในเรานั้นแหละประภัสสร แต่หม่นหมองลงเพราะกิเลสที่จรมาสั่งสม คือจิตพุทธะหรือจิตเดิมแท้นั้น เป็นของที่มีอยู่กับชีวิตหรือตัวตนอยู่แล้วด้วยเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาตินั่นเอง แต่หม่นหมองลงไป ก็เพราะมีกิเลสต่างๆ จรมากระทบสั่งสมอยู่เนืองๆ, ทางฝ่ายนิกายเซ็นนั้น ทางนิกายก็มีการถ่ายทอดบันทึกสืบต่อกันมาตามที่มีอยู่ในบันทึกของท่านฮวงโป อีกทั้งของท่านเว่ยหล่าง ได้กล่าวถึง พระมหากาศยะปะ ซึ่งก็คือพระมหากัสสปะของฝ่ายเถรวาทนั่นเอง(หัวข้อที่ ๑๑๓) ได้รับการถ่ายทอดโดยตรงจากพระตถาคต ถึงพระมหากัสสปะ ผ่านทางวิธี จิต สู่ จิต และสืบถ่ายทอดกันต่อๆไปดังนี้ตลอดมา เน้นสอนด้านจิตสู่จิต หรือจิตเห็นจิต ด้วยปัญญา และถ่ายทอดกันจากปากสู่ปาก ปราศจากพิธีการ ลัดสั้นฉับพลันด้วยการข้ามพิธีรีตองที่ฝ่ายตัวเองเห็นว่าเยิ่นเย้อ เสียเวลา ให้เห็นธรรมจากปริศนาธรรม หรือดังรวบลัดสั้นให้เห็นความลึกซึ้งของการ"หยุดความคิดปรุงแต่ง"ว่า นี่แหละ ถือได้ว่าคือเป็นต้นตอ หรือต้นกำเนิด หรือเป็นเหตุปัจจัยของอวิชชาอย่างหนึ่งทีเดียว จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสังโยชน์อื่นๆแม้อีกทั้ง ๙ ที่เหลือ ทั้งหลายในแนวทางฝ่ายเถรวาท คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ และแม้อวิชชา แท้จริงแล้วก็มีมาจากบาทฐานของความคิดนึกปรุงแต่งหรืออุทธัจจะในสังโยชน์ข้อที่ ๙ เนื่องสัมพันธ์หรือเป็นเหตุปัจจัยร่วมด้วยทั้งสิ้น เช่น
คิด หรือ ธรรมารมณ์ (คิดที่เป็นเหตุ เมื่อเกิดแล้วย่อมดำเนินไปตามเหตุ) + ใจ มโนวิญญูาณขันธ์ เวทนาขันธ์ หยุด มโนกรรม แสดงวงจรกระบวนธรรมการทำงานของขันธ์ทั้ง ๕ ที่วนเวียนปรุงแต่ง สังขารขันธ์ เกิดมโนกรรม(เกิดคิดที่เป็นผล แม้ต้องรับผล ไม่สามารถดับได้ แต่อุเบกขาได้ จึงไม่ไปเป็นเหตุอีกได้) สัญญาขันธ์ |
มโนกรรม ที่เกิดขึ้นจากสังขารขันธ์นั่นแหละ ได้แปรไปทำหน้าที่เป็นธรรมารมณ์อีก จึงเกิดการคิดปรุงแต่ง วนเวียนเป็นวงจรดังภาพ จนไม่เกิดจิตพุทธะหรือจิตเดิมแท้ แต่เมื่อหยุดการปรุงแต่ง ไม่ให้เกิดการเนื่องสัมพันธ์เป็นวงจรวนเวียนต่อเนื่องสัมพันธ์ได้อีก จึงเป็นเพียงกระบวนธรรมตามธรรมชาติของขันธ์ ๕
ได้มีการบันทึก คำสอนของท่านฮวงโป ที่ได้สนทนาธรรมกับ ท่านเป่ยสุ่ย ณ.เมือง ชินเชา ได้มีการกล่าวถึงจิตพุทธะ หรือการบรรลุธรรมหรือตรัสรู้อย่างแบบฉับพลัน ไม่ต้องยืดเยื้อไปด้วยพิธีรีตองใดๆเป็นขั้นๆ ด้วยเพียงการ"หยุดคิดปรุงแต่ง" และ"หยุดการแสวงหา"เสียเพียงแค่นี้เอง ด้วยเล็งเห็นว่าความคิดปรุงแต่งหรืออุทธัจจะนั่นแหละเป็นเหตุปัจจัยสำคัญยิ่ง ที่ทำให้เกิดตัณหาต่างๆขึ้นโดยไม่รู้ตัว เมื่อ"หยุดการคิดนึกปรุงแต่ง"และหยุดการแสวงหา"ลงไปเสียได้ ก็ย่อมขาดเหตุปัจจัยให้ตัณหาเกิดการสืบเนื่องต่อไปได้ ตัณหาก็ย่อมดับไปด้วยขาดเหตุปัจจัย เป็นไปดังคำกล่าวที่ว่า "ขาดจากเหตุปัจจัย มิได้มี" จิตเดิมแท้หรือจิตพุทธะอันบริสุทธิ์ที่ดำเนินไปเพียงตามหน้าที่ของขันธ์ ๕ อันเป็นธรรมชาติของชีวิต ก็ไม่ถูกกิเลสตัณหาขึ้นห่อหุ้มอีกต่อไป
สักกายทิฏฐิ แท้จริงก็เกิดจากการคิดนึกปรุงแต่งไปเพราะไม่รู้ความเป็นเหตุปัจจัย จนมีความเชื่อเรื่องตัวตน ว่าเป็นตัวตน เป็นของตัวตน เป็นไปโดยสั่งสมไม่รู้ตัว
วิจิกิจฉา ก็เกิดจากการคิดปรุงแต่งไปต่างๆนาๆ จึงเกิดความคิดนึกต่างๆนาๆถูกบ้างผิดบ้างเป็นธรรมดาจนเกิดความสงสัย
สีลัพพตปรามาส ก็เกิดจากการคิดปรุงแต่ง จึงเสียเวลาไปกับศีลวัตรที่ผิดๆจนเนิ่นช้า
กามราคะ ก็เกิดจากการคิดปรุงแต่ง จึงคิดไปในกามทั้ง ๕ ให้เกิดราคะ
ปฏิฆะ ก็เกิดจากการคิดปรุงแต่งไปในสิ่งที่ขุ่นเคือง ขัดข้อง จึงเกิดความคับแค้น ขุ่นข้องใจ
ทั้งรูปราคะ และอรูปราคะ ก็เกิดจากการคิดปรุงแต่ง ว่าถูกทางแล้ว แสนสุข แสนสบาย ศักดิ์สิทธิ์ มีฤทธิ์ มีเดช มีบุญ เป็นของวิเศษ
มานะ ก็เกิดจากการคิดปรุงแต่งไปว่า ด้อยกว่าเขา เท่าเทียมเขา เสมอเขา
อวิชชา ก็ด้วยไม่รู้ว่า "คิดนึกปรุงแต่งนี่แหละ ตัวทำให้เกิดทุกข์
ด้วยเหตุนี้ทางนิกายเซ็นหรือคำสอนของฮวงโปท่านจึงมาสรุปลัดสั้น ขาดจากพิธีรีตองอันฟุ่มเฟือยจนเฝือ ให้เรียบง่ายตามหลักการของเซ็น มาที่จุดลัดสั้นและเรียบง่าย ทั้งต่อความเข้าใจและการปฏิบัติที่สุด คือ จิตพุทธะนั้นเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติที่มีอยู่เช่นนี้เอง จึงไม่ต้องไปเที่ยวแสวงหาจากภายนอก เพียงแต่"หยุดความคิดนึกปรุงแต่ง" หรือในแนวทางเถรวาทแล้วก็คือ "หยุด อุทธัจจะ"เสียนั่นเอง
ส่วนหนึ่งของ คำสอนของฮวงโป
7 จิตหนึ่งนั้นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอันใดที่ไหนอีกแล้ว
เพียงแต่ตื่น และลืมตาต่อ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร ไม่มีอะไรต้องปรากฏ นี่แหละคือพุทธะ ที่แท้จริง
เธอก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้น ไม่ใช่หรือ
6 ถ้าเธอยังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือพุทธะก็ดี คือเธอยังยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมต่างๆอยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆอยู่ก็ดี และต่อพิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆอยู่ก็ดี แนวความคิดของเธอก็ยังผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับทาง ทางโน้นคือพุทธะ เสียเลย
8 พุทธะ ซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะทางรูปธรรม หรือพุทธะของความยึดมั่นถือมั่น, หรือการปฏิบัติปารมิตาต่างๆ หรือการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะได้เป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าไป ทีละชั้นๆ, แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่
9 เรื่องมันเพียงแต่ตื่น และลืมตาต่อ จิตหนึ่ง นั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร ไม่มีอะไรต้องปรากฏ นี่แหละคือพุทธะ ที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย
หากยังไม่ลืมตาขึ้น ต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิต นี้ พวกเธอจะปิดบังจิตนั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเธอเอง พวกเธอจะไปเที่ยวแสวงหาพุทธะ นอกตัวเธอเอง ซึ่งไม่มี และพวกเธอจะยังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ และสิ่งอื่นๆทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้น แต่อย่างใดเลย
จิตหนึ่ง ที่กล่าวแล้ว จงลืมตาดูมันเถิด มันอยู่ที่ตรงนั้นเอง พวกเธอซึ่งเป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้น เมื่อไม่ลืมตาต่อสิ่งๆนี้ ซึ่งมีอยู่ในใจของเธอเองแล้ว และยึดมั่นถือมั่นต่อปรากฏการณ์ต่างๆ หรือแสวงหาสิ่งบางสิ่งฝายรูปธรรมจากภายนอกใจของเธอเอง อยู่ดังนี้แล้ว ย่อมเท่ากับหันหลังให้ต่อ ทาง ทางโน้น ด้วยกันทุกคน
คำพูด ที่ว่าไม่มีอะไรที่ต้องลุถึงนั้น มันมิใช่คำพูดพล่อยๆ แต่เป็นความจริง