buddha

หัวข้อธรรม ๑๙

ทุกขเวทนา VS ทุกข์ใจ

คลิกขวาเมนู

        ทั้งสองแม้ต่างเป็นความรู้สึกทุกข์ แต่มีความแตกต่างกันมาก  ทุกขเวทนาเป็นเวทนาขันธ์ จึงจำต้องมีอยู่ในการดำเนินชีวิต คือเป็นความทุกข์กายหรือใจที่เกิดจากการเสวยอารมณ์หรือเสวยสิ่งที่มากระทบหรือผัสสะ ดังเช่น เสวยอาหาร ก็ย่อมต้องรู้รสในอาหาร อีกทั้งพรั่งพร้อมด้วยความรู้สึกถูกใจ ไม่ถูกใจ หรือเฉยๆกลางๆขึ้นเป็นธรรมดาทุกครั้งทุกทีไป  เป็นการทำงานตามหน้าที่เขา เพราะเมื่อมีชีวิต ประสาทสัมผัสยังมีอยู่ เมื่อสิ่งใดมากระทบสัมผัสหรือผัสสะทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ย่อมเกิดความรู้สึกรับรู้เป็นอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นเป็นธรรมดา จึงไม่ให้เกิดขึ้นย่อมไม่ได้ เป็นกระบวนการธรรมชาติ ซึ่งท่านจำแนกออกเป็น ๓ คือเมื่อกระทบแล้วเกิดความรู้สึกจากการรับรู้เป็น สุขสัมผัสหรือสุขเวทนาคือความรู้สึกออกไปทางเป็นสุข ถูกใจ พอใจ หรือในทางบวกจากการผัสสะกับอารมณ์ต่างๆ  ส่วนทุกขเวทนาเมื่อกระทบแล้วเกิดความรู้สึกรับรู้ในสิ่งกระทบไปทางเป็นทุกข์  ระคายเคืองใจ ไม่ถูกใจ หรือในทางลบ  ส่วนอทุกขมสุขเป็นความรู้สึกรับรสในทางเป็นกลาง ไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่บวกไม่ลบ เป็นสภาวะธรรมของชีวิตที่ย่อมต้องรับรู้ในสิ่งที่เสวย  จึงเป็นสภาวะจำยอม อย่างไรเสียเวทนาก็ต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา จึงเป็นสิ่งที่หลีกหนีไม่พ้นเป็นธรรมดา  นักปฏิบัติจึงจำต้องแยกให้ออกว่า ที่ปฏิบัติอยู่นั้นเป็นการพยายามไม่ให้เกิดหรือพยายามดับเวทนาใช่หรือไม่  หรือเป็นการปฏิบัติเพื่อการดับความทุกข์คือทุกข์ใจอันเป็นสังขารขันธ์ที่ถึงแม้จะเกิดขึ้นเป็นธรรมดาเช่นกันแต่มีวิธีปฏิบัติของพระพุทธองค์ที่จะระงับหรือตัดวงจรไม่ให้เกิดใหม่ขึ้นได้  ส่วนทุกขเวทนานั้นย่อมมีอยู่เมื่อยังมีการผัสสะอยู่เป็นธรรมดา  จึงอย่าเสียเวลาหลงไปไม่ให้เกิดทุกขเวทนาที่จำเป็นอย่างยิ่งเช่นกันในการดำรงชีวิต คือทำหน้าที่รับรู้การกระทบสัมผัสต่างๆในการดำรงชีวิต แม้เราเกลียดกลัวทุกขเวทนากันหนักหนา ไม่อยากให้เกิดให้มีให้เป็น แต่ลองพิจารณาดู ถ้ามือเราไปถูกกาน้ำร้อนๆเข้า ถ้าไม่เกิดทุกขเวทนาทั้งทางกายและใจขึ้น เราจะสะดุ้งชักมือออกจากมันไหม อะไรจะเกิดขึ้นแก่ร่างกายหรือชีวิต จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ไหมถ้าปราศจากทุกขเวทนาจริงๆ

        ทุกขเวทนา จะเรียกว่าเป็น ทุกข์ที่ต้องเกิดจาก ความรู้สึกต้องรับรู้จากการกระทบผัสสะในอารมณ์(สิ่งที่กำหนดหมาย)นั้นๆ  ซึ่งจัดเป็นนิพัทธทุกข์ (ทุกข์เนืองนิตย์, ทุกข์ประจำ, ทุกข์เป็นเจ้าเรือน  ได้แก่ หนาวร้อน หิวกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ)

        ส่วนทุกข์ใจนั้น เป็นสังขารขันธ์ เป็นอาการของจิตเป็นทุกข์ทางใจ ที่เกิดขึ้นจากความรู้สึกที่ปรุงขึ้นเนื่องจากสัญญาหมายรู้คือการคิดอ่านในอารมณ์(สิ่งที่กระทบ)นั้นๆ

        ถ้าจะพูดให้พอเห็นเข้าใจได้บ้าง ก็กล่าวได้ว่า  ทุกขเวทนา เป็นทุกข์จากเหตุปัจจัยภายนอกมากระทำ   ส่วนสังขารขันธ์ทุกข์ต่างๆทั้ง โทสะ โมหะ หดหู่ ตัณหา ทั้งความทุกข์ใจ เกิดจากเหตุปัจจัยภายในคือสัญญาชนิดสัญเจตนา(คิดอ่าน)เป็นผู้ปรุงแต่ง

        ทุกข์ใจหรือความทุกข์ทางใจที่เกิดขึ้นนั้น เป็นสังขารขันธ์หรืออารมณ์ อาการของจิตในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ที่เกิดขึ้นมาจากการผัสสะ จึงยังให้เกิดเวทนา และเป็นเหตุเป็นปัจจัยร่วมด้วยสัญญา จึงเกิดสังขารขันธ์หรืออารมณ์ต่างๆ คืออาการของจิตขึ้นเช่นโทสะ โมหะ โลภะ ตัณหา หดหู่ ทุกข์ใจ สุขใจ เป็นกลางๆ ฯ. จึงยังให้เกิดเจตนาในการกระทำ(กรรม)ต่างๆขึ้น  เป็นขันธ์อย่างหนึ่งเช่นกัน จึงยังคงมีอยู่ จึงไม่ให้เกิดไม่ได้เช่นกัน หรือกล่าวได้ว่าสังขารขันธ์หรืออารมณ์นั้นเกิดจากการปรุงแต่งเวทนาอีกคราหนึ่งด้วยสัญญาหมายรู้ จึงเกิดขึ้น แม้เป็นขันธ์ห้ามไม่ให้เกิดไม่ได้ แต่เมื่อเกิดแล้วสามารถตัดวงจรของมันไม่ให้เกิดสืบเนื่องต่อไปได้ด้วยการดับเหตุก่อคือมโนกรรมหรือความคิดนึก กล่าวคือสังขารขันธ์ทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้น เช่น มโนกรรม เมื่อมักนำมาคิดนึกปรุงแต่งต่อ มโนกรรมก็จะเปลี่ยนแปรปรวนเป็นธรรมารมณ์คือตัวเหตุอีก ไม่ใช่ขันธ์อีกต่อไป  ซึ่งพระพุทธองค์ท่านทรงสอนไว้ในหลักปฏิบัติจิตตานุปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔ ว่า เมื่อสติเห็นคือระลึกรู้สังขารขันธ์หรืออารมณ์อันเป็นโทษหรือสมควรแก่เหตุแล้ว ก็ไม่ไปยึดมั่น หมายมั่น คือปล่อยวาง คือการไม่ปรุงแต่ง โดยการอุเบกขา เป็นกลาง วางใจเฉย แม้รู้สึกอย่างไรก็ไม่เป็นไรมันเป็นอย่างนั้นเป็นธรรมดา แต่ต้องไม่เอนเอียงเข้าไปปรุงแต่งด้วยถ้อยคิดใดๆในกิจ(สังขารขันธ์และมโนกรรม)นั้นๆเสียนั่นเอง  เมื่อจิตอุเบกขา ย่อมเป็นการหยุดการปรุงแต่งจึงเป็นการหยุดเหตุหรือธรรมารมณ์ในเรื่องนั้นๆ  เมื่อหยุดคิดปรุงแต่งคือธรรมารมณ์ก็ย่อมหยุดการผัสสะ เมื่อหยุดผัสสะเวทนาย่อมดับ ดังนั้นเวทนาที่จะเกิดใหม่ขึ้นต่อเนื่องอีกจึงไม่มี จึงย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้สังขารขันธ์ความทุกข์นั้นก็ย่อมเกิดขึ้นเนื่องต่อไปไม่ได้เช่นกัน  ทุกข์จึงย่อมต้องคลายดับไป เนื่องจากไม่มีคลื่นความทุกข์ระลอกใหม่ทะยอยขึ้นมากระทบอีกนั่นเอง

ดังนั้นถ้าดับธรรมารมณ์ คือการหยุดคิดนึกปรุงแต่งในเรื่องอันเห็นว่าเป็นโทษนั้นๆเสีย ก็คือ"อวิชชา"ดับ ย่อมทำให้

                                                                                        ผัสสะย่อมไม่เกิด

ธรรมารมณ์ดับ  ใจย่อมไม่เกิดการทำงาน  มโนวิญญาณดับ anired06_next.gif เวทนาดับ  สัญญาดับ  สังขารขันธ์ทุกข์ย่อมดับไป

แต่ถ้าไม่ดับ(หมายถึงไม่ให้เกิดขึ้นอีก)นั้นอย่างเด็ดขาด

กล่าวคือ ยังฟุ้งซ่าน คิด นึก ปรุงแต่งไม่หยุดหย่อนไม่ว่า ยินดี-ยินร้าย ชอบ-ชัง ถูก-ผิด ดี-ชั่ว บุญ-บาป ฯ.

ก็ต้องยอมรับความจริงว่า ต้องเกิดกระบวนธรรมของจิต วนเวียนเป็นวงจรจนเกิดอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ ดังนี้

 

แสดงกระบวนธรรมของจิต ที่เกิดการคิดนึกปรุงแต่งไม่หยุดหย่อน จิตจึงทำงานหมุนเวียน จนเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ในที่สุด จึงยิ่งเร่าร้อนและยาวนาน

 anired06_next.gif      anired06_next.gif      anired06_next.gif ตัณหา anired06_next.gif อุปาทาน anired06_next.gif ภพ anired06_next.gif ชาติ anired06_next.gif......ธรรมารมณ์      ใจ   anired06_next.gif วิญญูาณูปาทานขันธ์    anired06_next.gif   เวทนูปาทานขันธ์  

                   วงจร ปฏิจจสมุปบาท                                  อุปาทานขันธ์๕ อันเกิดวนเวียนอยู่ใน ชรา อันเป็นทุกข์                   

   ดำเนินไปตามวงจรใหม่  anired06_next.gif อาสวะกิเลส anired06_next.gif มรณะ anired06_next.gif......สังขารูปาทานขันธ์ เกิดมโนกรรมคิดที่เป็นทุกข์      สัญญูปาทานขันธ์    

ภาพขยายในชรา   ล้วนเป็นอุปาทานขันธ์ อันเป็นทุกข์ เพราะเกิดจากสังขารูปาทานขันธ์ในชาติ อันถูกครอบงําโดยอุปาทานแล้ว

 

ขันธ์ ๕ ย่อมทำงานของเขาไปตามธรรมชาติ  ไม่มีใครหยุด หรือห้ามการทำงานของเขาได้ เพียงแต่มีสติ ระลึก รู้ แล้ว วาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็สามารถเป็นอิสระเหนือขันธ์ ๕ ได้ โดยวิธีนี้

หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล

webmaster - เพราะขันธ์ทั้ง ๕ เขาทำงานตามหน้าที่ของงเขาเท่านั้นตามธรรมหรือธรรมชาติ ไปควบคุมบังคับเขาไม่ได้เลย เพราะเป็นอนัตตา เกิดแต่มีเหตุเป็นปัจจัยกัน จึงขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย จึงล้วนไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เราอย่างแท้จริง

 

 หัวข้อธรรม

 

กลับหน้าเดิม