อุปาทาน VS สัญเจตนา |
|
"เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ, เจตยิตฺวา กมฺมํ กโรมิ กาเยน วาจาย มนสา"
"ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนานั่นแหละเป็นกรรม เมื่อมีเจตนาแล้ว บุคคลย่อมกระทำกรรม โดยทางกาย วาจา ใจ"
สัญเจตนา คือ เจตนา, ความจงใจ, ความคิดอ่าน เป็นธรรมหรือสิ่งหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นจากสังขารขันธ์เป็นเหตุปัจจัย สังขารขันธ์ คืออาการ,สภาพของจิตหรืออารมณ์ ที่ไปปรุงแต่งจิตให้เกิดสัญเจตนา คือ เจตนาหรือความจงใจหรือความคิดอ่านขึ้น จึงทำให้เกิดกรรมคือการกระทำต่างๆขึ้น ทั้งดี ชั่ว และกลางๆที่ใช้ในการดำเนินชีวิตทั่วไป ได้ทั้งทางกาย วาจา และใจคือมโนกรรม, สัญเจตนามักใช้กันในขันธ์ ๕ ใช้ได้ในความหมายไปในทั้งทางดี ชั่ว และกลางๆ, ที่กล่าวถึง การที่สังขารขันธ์ไปปรุงแต่งจิตให้เกิดสัญเจตนา ความจงใจ ความคิดอ่านต่างๆให้เป็นไปตามสังขารขันธ์หรืออารมณ์ที่เกิดขึ้นครอบงำอยู่ ในขณะนั้นๆ
ดังภาพข้างล่างนี้ แสดงการทำงานประสานเป็นเหตุปัจจัยกันของขันธ์ทั้ง ๕ จนยังผลคือเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสัญเจตนา และเกิดกรรม(การกระทำ)ต่างๆเป็นที่สุด
ผัสสะ ยังให้เกิด ส่งผลให้
ธรรมารมณ์ ใจ
มโนวิญญาณ
สัญญาจํา
เวทนา
สัญญาหมายรู้
สังขารขันธ์ [
สัญเจตนา(เจตนา,จงใจ)
เกิดการกระทำต่างๆทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ (กรรม
ทั้งกายกรรม วจีกรรม-มโนกรรม)]
อุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นด้วยกิเลสตน แท้จริงก็คือสัญเจตนาอย่างหนึ่งนั่นเอง เพียงแต่เป็นฝ่ายอกุศลคือเป็นอกุศลสัญเจตนา คือความจงใจความคิดอ่านต่างๆที่เกิดขึ้นนั้น ล้วนถูกครอบงำด้วยอาสวะหรือกิเลสแล้วทั้งสิ้น จึงเป็นการเจตนาหรือจงใจคือคิดอ่านให้เกิดการกระทำต่างๆแต่ไปตามกิเลสตน จึงเป็นไปในทางอกุศลหรือกิเลสตนนั่นเอง กล่าวคือเมื่อเกิดอุปาทานขึ้นแล้ว ก็จะเกิดเจตนาหรือความคิดอ่านต่างๆ ให้เห็นเป็นไปตามการครอบงำ ตามความยึดถือ ความเชื่อ ความเข้าใจ ความทะยานอยาก ความปรารถนาของตัวตนเป็นสำคัญ จึงยังส่งผลให้เกิดการการทำหรือกรรมต่างๆขึ้นทางกายวาจาหรือใจ เช่นเดียวกับสัญเจตนา แต่การกระทำหรือกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นเหล่านั้น ย่อมแฝงด้วยอำนาจของกิเลสนั่นเอง อุปาทานมักใช้กันทั่วๆไปในทางอกุศลและในปฏิจจสมุปบาท เมื่อหมายถึงความเจตนาหรือคิดอ่าน,จงใจ ให้เกิดการกระทำหรือกรรมต่างๆฝ่ายทุกข์หรือกิเลส ดังนั้นเมื่อเป็นอุปาทานแล้วจึงมักเป็นการกล่าวถึงการทำให้เกิดทุกข์ ดังเช่นภาพด้านล่างนี้ ที่แสดงขันธ์ ๕ ที่ถูกครอบงำแล้วด้วยอุปาทานในองค์ธรรมชราของวงจรปฏิจจสมุปบาท แล้วหมุนวนเวียนเป็นวงจรอีกวงจรหนึ่งของอุปาทานขันธ์ ๕ และเป็นทุกข์ด้วยกำลังของอุปาทานอันประกอบด้วยกิเลสจึงเร่าร้อน ซึ่งขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เมื่อถูกครอบงำหรือประกอบด้วยกำลังของอุปาทานแล้ว จะเรียกว่า รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์ ตามลำดับ
ภาพขยายในชรา ล้วนเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ เพราะเกิดจากสังขารูปาทานขันธ์ในชาติ อันถูกครอบงําโดยอุปาทานแล้ว |
วงจรปฏิจจสมุปบาท แบบขยายความเต็มรูปแบบ
อาสวะกิเลส
มรณะ สฬายตนะ สัญญูปาทานขันธ์
เวทนูปาทานขันธ์
ชาติ
(สังขารขันธ์
แปรเป็นสังขารูปาทานขันธ์เกิดมโนกรรมคิดนึก เวทนา ภาพวงจรปฏิจจสมุปบาท แบบขยายความเต็มรูปแบบโดยพิศดาร |