ธรรมารมณ์ |
|
ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ทางใจหรือสิ่งที่กำหนดได้ด้วยใจ, สิ่งที่ใจคิดนึก
ธรรมารมณ์หรือจิตคิดจิตนึก ที่มาทำหน้าที่เป็นเหตุคือเป็นอายตนะภายนอกอย่างหนึ่งในกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ เกิดขึ้นได้หลายทาง
๑.จากสังขารขันธ์หรืออารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เมื่อปรุงแต่งจิตให้เกิดเจตนาเป็นกรรมชนิดการกระทำทางใจหรือมโนกรรม คือความนึกคิด ซึ่งความนึกคิดนี้ก็สามารถไปทำหน้าที่เป็นธรรมารมณ์หรือฝ่ายเหตุได้อีก จึงเกิดเป็นวงจรเกิดการสืบเนื่องต่อไปได้ ธรรมารมณ์ประเภทมโนกรรมนี้ เมื่อเรารู้เท่าทันสังขารขันธ์หรือมโนกรรมแล้วอุเบกขาเสีย ธรรมารมณ์ก็ย่อมเกิดขึ้นใหม่อีกไม่ได้
เสียง หู
โสตะวิญญาณ
(การประจวบกันของปัจจัยทั้ง ๓ คือ) ผัสสะ
สัญญาจํา
เวทนา
สัญญาหมายรู้
สังขารขันธ์
[
เกิดสัญเจตนา(เจตนา,จงใจ)
กรรม (คือ
การกระทำทางใจ ต่างๆ)
เช่นความคิดนึกต่างๆ(มโนกรรม) ซึ่งมักจะไปทำหน้าที่เป็นธรรมารมณ์ในกระบวนธรรมของขันธ์
๕ ต่ออีกได้]
คือนำไปเป็นเหตุก่อ จึงเกิดการผัสสะของความคิดอีก ดังกระบวนธรรมจิตต่อไป
ธรรมารมณ์(จากสังขารขันธ์ชนิดทางใจข้างต้น) ใจ
มโนวิญญาณ
(การประจวบกันของปัจจัยทั้ง ๓ คือ) ผัสสะ
สัญญาจํา
เวทนา
สัญญาหมายรู้
สังขารขันธ์
[
เกิดสัญเจตนา(เจตนา,จงใจ)
กรรม (คือ
การกระทำทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ ต่างๆ ได้ทั้งทางดี
ชั่ว หรือกลางๆ))
สามารถดำเนินสืบต่อเนื่องไปได้เรื่อยๆอย่างยาวนาน
๒.จากสัญญาความจำ ที่นอนเนื่องอยู๋ ซึ่งย่อมสามารถผุดขึ้นมาเองได้ตามวิสัยของชีวิต อาสวะกิเลสในปฏิจจสมุปบาทก็คือสัญญาความจำได้หมายรู้อย่างหนึ่งแต่เจือกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ ก็เป็นสัญญาอย่างหนึ่งเช่นกัน หรือจากการที่มีสิ่งกระตุ้นเร้ามากระทบก็เกิดการผุดระลึกจำขึ้นได้ ซึ่งความคิดนึกที่ผุดขึ้นนี้ก็ไปทำหน้าที่เป็นธรรมารมณ์ฝ่ายเหตุ จึงทำให้สืบเนื่องหมุนเวียนต่อไป
ธรรมารมณ์ ใจ
มโนวิญญาณ
(การประจวบกันของปัจจัยทั้ง ๓ คือ) ผัสสะ
สัญญาจํา
เวทนา
สัญญาหมายรู้
สังขารขันธ์
[
เกิดสัญเจตนา(เจตนา,จงใจ)
กรรม คือ
การกระทำทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ(มโนกรรม) ต่างๆ
จึงเกิดการหมุนเวียนเป็นวงจรจนเกิดทุกข์ขึ้นได้ในที่สุด ดังภาพ
รูป
หรือ ธรรมารมณ์ (คิดที่เป็นเหตุ เมื่อเกิดแล้วย่อมดำเนินไปตามเหตุ) +
ใจ X
มโน สังขารขันธ์
(เกิดคิดที่เป็นผล(มโนกรรม)
แม้ต้องรับผล ไม่สามารถดับได้ แต่อุเบกขาได้ จึงไม่ไปเป็นเหตุอีกได้)
|
ธรรมารมณ์ ก็มีทั้งฝ่ายดีและชั่วและกลางๆ เช่นกัน ด้วยสามารถผุดนึกผุดจำขึ้นมาได้ตามวิสัยของชีวิต ฝ่ายชั่วได้แก่ธรรมารมณ์ที่ผุดเกิดมาแต่อาสวะกิเลสจึงเป็นสังขารกิเลส คือธรรมารมณ์ที่แฝงอาสวะหรือกิเลสอยู่ในที จึงพึงต้องสังวรระวัง เพราะธรรมารมณ์นั้นทำหน้าที่เป็น"องค์ธรรม สังขาร"ในวงจรปฏิจจสมุปบาท จิตจึงย่อมดำเนินไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทแทน ฝ่ายดีก็ได้แก่ความคิดนึกในกิจการงาน ความคิดสร้างสรรค์, ฝ่ายกลางๆก็ได้แก่ความคิดนึกที่ใช้ไปในการดำเนินชีวิตเป็นปกติธรรมดา จึงกล่าวว่าธรรมารมณ์นั้นดับไม่ได้ และจะรู้ก็ต่อเมื่อเกิดเวทนาหรือสังขารขันธ์มโนกรรมขึ้นแล้ว เมื่อควบคุมไม่ได้ เมื่อไปยึดไปอยาก จึงเป็นทุกข์, สามารถมีสติรู้ทัน อีกทั้งมีปัญญาแยกแยะดีชั่วได้นั่นเอง เมื่อเห็นว่าเป็นโทษ แล้วไม่เอา หรืออุเบกขาเสียนั่นเอง
มโนกรรม ธรรมารมณ์ และความคิดนึก