include($_SERVER['DOCUMENT_ROOT'] . "/netChimes_send.php"); sendChime("XXXXXXXX"); ?>
แสดงวงจรปฏิจจสมุปบาทโดยละเอียด ขยายความโดยพิศดารของอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ใน"ชรา"
ที่เกิดดับ..เกิดดับ..อย่างต่อเนื่องในองค์ธรรมชรา อันเป็นอุปาทานทุกข์ อันเร่าร้อนเป็นทุกข์แท้จริง
อาสวะกิเลส อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป มรณะ สฬายตนะ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ (เกิดมโนกรรม) ชรา อันเป็นทุกข์ วนเวียนปรุงแต่งและเร่าร้อน ผัสสะ เวทนูปาทานขันธ์ วิญญูาณูปาทานขันธ์ ใจ ธรรมารมณ์ (มโนกรรมจาก"ชาติ"มาทำหน้าที่เป็นธรรมารมณ์) ชาติ (สังขารขันธ์ แปรเป็นสังขารูปาทานขันธ์เกิดมโนกรรมคิดนึก เวทนา (มโนสังขาร) (อกุศลสัญเจตนา) (สังขารขันธ์) ภาพวงจรปฏิจจสมุปบาท แบบขยายความเต็มรูปแบบโดยพิศดาร |
วงจรที่แสดงนี้เป็นการประมวลทั้ง ปฏิจจสมุปบาท และ อุปาทานขันธ์ ๕
ที่แสดงให้เห็นรายละเอียดทั้งหมดของกระบวนการจิตในการเกิดขึ้นแห่งทุกข์
เบื้องแรกหยุดวงจรได้ที่ เวทนา และตัณหา(อีกทั้งมโนกรรมที่เกิดร่วมด้วย) ด้วยปัญญาชอบว่า สักว่า มันเป็นเช่นนี้เอง
ส่วนวงจรเล็กที่กําลังเคลื่อนไหวอยู่เป็นวงจร แสดงการเกิดของขันธ์ ๕ ที่เป็นอุปาทานขันธ์ ๕ แล้วคือขันธ์ ๕ ในการดําเนินชีวิตอยู่ในสภาวะถูกครอบงําแล้วโดยอุปาทาน(หรือก็คือเกิดภพแล้ว)อย่างสมบูรณ์ และยังคงดําเนินต่อไปโดยการคิดนึกปรุงแต่งต่างๆนาๆโดยไม่รู้ตัว(สติ) หรือรู้ตัวแต่สติรู้นั้นเกิดขึ้นภายหลังจากการถูกครอบงําเสียแล้ว, จึงหยุดได้ยากเพราะกําลังอันกล้าแข็งของอุปาทานอันสามารถครอบงํามวลมนุษย์ชาติ ได้เข้าครอบงําเสียแล้ว, วงจรเล็กนี้เกิดขึ้นในกองธรรมชราอันแปรปรวน เปลี่ยนแปลง เกิด-ดับ...เกิด-ดับ.....อย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆโดยไม่รู้ตัว หรือหยุดไม่ได้นั่นเอง
ณ.ที่ชรานี้ เราต้องมีสติรู้ว่าความทุกข์หรืออุปาทานขันธ์๕ได้เกิดขึ้นแล้ว ต้องใช้เวทนานุปัสสนา หรือจิตตานุปัสสนา สติเห็นเวทนาหรือเห็นจิตสังขาร(ความคิด ความนึก กริยาจิต)ตามความเป็นจริงว่าเป็นเยี่ยงไร แล้วใช้อุเบกขาในโพชฌงค์ ไม่คิดไม่นึกไม่ปรุงแต่ง เป็นกลางวางที โดยการไม่เอนเอียง ไม่แทรกแซงด้วยกริยาจิตใดๆ จึงจะทําให้วงจรเล็กนี้ดับ ทําให้เกิดความทุกข์แบบสั้นลงและเบาบางกว่าปุถุชนโดยสติและปัญญา
ดังนั้นการมีสติรู้เท่าทันในการปฏิบัติ จึงควรพิจารณาปฏิบัติให้ดับได้เสียก่อนการเกิดอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์ (อ่านปฏิจจสมุปบาท)จึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่การปฏิบัติในระยะแรกเราต้องใช้ทุกอย่างที่ถูกต้องตามความเป็นจริงตามที่สติรู้เท่าทันนั้นๆ
พิจารณาที่ชาติ อันถือว่าเป็นการเริ่มเกิดขึ้นของทุกข์ ที่พึงถูกครอบงำด้วยอุปาทานความยึดมั่นในพึงพอใจของตัวของตน ความหมายรู้นั้นจึงถูกชักนําให้เห็นผิด ไปหมายรู้อันแอบแฝงด้วยความพึงพอใจแห่งตนโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นขันธ์ต่างๆที่จักต้องเกิดสืบเนื่องต่อมาจึงล้วนถูกครอบงําเป็นอุปาทานขันธ์ต่างๆไปด้วย อันล้วนเป็นทุกข์โดยไม่รู้ตัวเช่นกัน หรือรู้ตัวแต่สายไปเสียแล้วเพราะถูกครอบงำแล้วด้วยอุปาทานอันแรงกล้า
พิจารณาวงจรเล็กที่เกิดในกองธรรมชรา นั่นเป็นอาการของอุปาทานขันธ์ทั้ง๕ ที่เกิดเนื่องต่อจาก ชาติ, เป็นทุกข์ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วขณะ และดับไป แต่การเกิดนั้นเป็นไปอย่าง เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป...เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป...เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป.....เป็นเช่นนี้อย่างเป็นระยะๆ หรืออย่างค่อนข้างจะต่อเนื่องกัน และถ้าอุปาทานนั้นรุนแรงก็จะเป็นอย่างต่อเนื่องกันไปไม่ขาดสาย ดังวงจรอุปาทานขันธ์๕(วงจรเล็ก)ที่แสดง
ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ......ธรรมารมณ์ ใจ วิญญูาณูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ วงจร ปฏิจจสมุปบาท อุปาทานขันธ์๕ อันเกิดวนเวียนอยู่ใน ชรา อันเป็นทุกข์ ดำเนินไปตามวงจรใหม่ อาสวะกิเลส มรณะ ......สังขารูปาทานขันธ์ เกิดมโนกรรมคิดที่เป็นทุกข์ สัญญูปาทานขันธ์ ภาพขยายในชรา ล้วนเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ เพราะเกิดจากสังขารูปาทานขันธ์ในชาติ อันถูกครอบงําโดยอุปาทานแล้ว |
ภาพขยายวงจรในชรา ในวงจรปฏิจจสมุปบาท
สังเกตุด้วยว่าทั้งเวทนาขันธ์และสังขารขันธ์ที่เกิดในวงจรเล็กที่เกิดในกองธรรมชรานี้ต่างล้วนเป็น อุปาทานเวทนาขันธ์(เวทนูปาทานขันธ์) และ อุปาทานสังขารขันธ์(สังขารูปาทานขันธ์)แล้วทั้งสิ้น ดังนั้นแม้จะมีสติเห็นอุปาทานเวทนาและอุปาทานสังขารที่เกิดขึ้นบ่อยและถี่ๆ อันเป็นการปฏิบัติเวทนานุปัสสนาและจิตตานุปัสสนาอันถูกต้องดีงามแล้วก็จริงอยู่ แต่ล้วนถูกครอบงำเสียแล้วด้วยอำนาจของอุปาทานหรือความพึงพอใจของตัวของตน หรือความเป็นตัวกูของกูอันกล้าแกร่งได้ครอบงำเสียจนไม่สามารถหยุดยั้งมันได้ง่ายๆเสียแล้ว เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้ว,ในขณะที่ตั้งอยู่อย่างแปรปรวน, และกําลังจะดับลงไปนั้นซึ่งเป็นไปในลักษณะแปรปรวนแบบค่อยๆมอดลง มอดลง...ดุจดั่งกองไฟอันเกิดแต่ฟืนที่อันจักค่อยๆ...มอดดับไป, แต่ตามปกติในวิถีจิตของปุถุชนนั้น ขณะที่ไฟกําลังค่อยๆ...มอดลง...มอดลงนั้น ได้มีการเติมฟืนหรือเชื้อไฟ อันคือเวทนา,ตัณหา,อุปาทานอันล้วนแต่มีอุปาทานครอบงำแล้วทั้งสิ้น อันเกิดขึ้นเนื่องจากการคิดนึกปรุงแต่งที่เกิดเป็นระยะๆเพิ่มเติมเข้าไปอีกตลอดเวลา จึงเป็นเหตุทําให้กองไฟที่กำลังเผาลนแห่งทุกข์อันกำลังมอด...ดับลงไปนั้น เมื่อได้เชื้อไฟหรือฟืนเพิ่มขึ้นใหม่ๆอีก จึงย่อมต้องลุกกระพือขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง ไม่สามารถมอดดับลงไปได้ กลับกลายเป็นกองทะเลเพลิงแห่งทุกข์เผาลนอย่างเร่าร้อนและยาวนาน, เพราะแต่ละเวทนาของความคิดนึกปรุงแต่งที่ก่อให้เกิดอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์นั้นอยู่ในอํานาจของพระไตรลักษณ์คอยควบคุมกํากับอยู่เช่นกันจึง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วขณะ แล้วดับไป แต่เป็นเพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจในเรื่องทุกข์และการดับทุกข์(อวิชชา)และความไม่รู้ตัว(สติรู้ไม่เท่าทัน) ตลอดจนกำลังอันแข็งกล้าของอุปาทาน จึงทําให้เกิดอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์ขึ้นนานๆ อันเกิดจากการอุปาทานเวทนาของการคิดปรุงแต่งหลายสิบหลายร้อยครั้งโดยไม่รู้ตัวอย่างต่อเนื่อง หรือต่อเนื่องเป็นระยะๆ จนแลดูหรือรู้สึกเชื่อมต่อเป็นชิ้นหรือมวลเดียวกัน จนเกิดเป็นความทุกข์ที่กัดกร่อนใจยาวนาน ยิ่งคิดหรือยิ่งนึกปรุงแต่งเท่าใดๆก็ยิ่งเกิดเวทนา..ตัณหา..อุปาทาน..ก็ยิ่งกัดกร่อนใจ. (พิจารณาขันธ์๕ ที่เกิดการสืบเนื่อง)
อันอุปมาได้ดังการทํางานของหลอดไฟอันยังให้เกิดแสงสว่าง ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วแสงสว่างอันเกิดแต่หลอดไฟนั้นทํางานแบบ เกิดดับ เกิดดับ อยู่ตลอดเวลาตามความถี่กระแสสลับของกระแสไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง จนเรามองเห็นเป็นแสงสว่างอย่างต่อเนื่องไม่ขาดตอน แต่ตามความเป็นจริงนั้นเกิดแต่ตาเราแยกจําแนกความถี่ที่เกิดๆดับๆอย่างรวดเร็วนั้นไม่ออกโดยตาธรรมชาติ จึงมองเห็นเป็นแสงสว่างต่อเนื่องกันเช่นนั้นเอง, อันเหล่ามนุษย์ผู้มีปัญญาได้รู้เห็นความจริงข้อนี้ได้ก็เพราะเหล่านักวิทยาศาสตร์ผู้มีตาปัญญาในเรื่องเหล่านี้ได้เห็นและทดสอบมาแล้ว อันดุจดั่งธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง, ความทุกข์ ก็เฉกเช่นเดียวกันกับหลอดไฟที่ให้กําเนิดแสงสว่าง เกิดจากความคิดนึกปรุงแต่งในรูปอุปาทานขันธ์๕ที่วนๆเวียนๆ เกิดดับ เกิดดับโดยไม่รู้ตัว(สติ)เป็นระยะๆจนรู้สึกต่อเนื่องเป็นความทุกข์ที่ราวกับว่าเกิดจากความคิดครั้งเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นดุจดั่งแสงสว่างจากหลอดไฟ คือเกิดการเกิดดับๆๆๆของความคิดนึกปรุงแต่งอย่างโดยต่อเนื่องเป็นระยะๆโดยไม่รู้ตัว
การปฏิบัติที่ดีที่สุดคือมีสติรู้เท่าทันตามความเป็นจริงเห็นเวทนาคือเวทนานุปัสสนาที่ตําแหน่งเวทนาในวงจรปฏิจจสมุปบาท อันจะทําให้วงจรของทุกข์นั้นขาดการสืบเนื่อง ไม่เป็นทุกข์อุปาทานใดๆ วงจรของการเกิดทุกข์หยุดลง ณ.ที่นี้ แล้วย่อมดําเนินไปตามกระบวนการขันธ์๕แทนวงจรของการเกิดทุกข์ คือ
เกิดสัญญาหมายรู้อันย่อมหมายรู้ตามความเป็นจริงไม่ถูกครอบงําด้วยอุปาทานไปให้เห็นผิดไปตามความพึงพอใจของตัวของตน >> สังขารขันธ์ของขันธ์๕คือการกระทําต่างๆ ทางกาย วาจา ใจ ตามธรรมชาติอันไม่ถูกครอบงำ อันไม่เป็นทุกข์
อันสัญญาหมายรู้นี้จักเกิดสืบเนื่องต่อจากเวทนานั้น แทนวงจรของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์, และให้มีสติวางอุเบกขา วางทีเฉยต่อเวทนาหรือสังขารขันธ์นั้นโดยที่มีความรู้สึกอย่างไรก็เป็นอย่างนั้นเป็นธรรมดา แต่ไม่ปล่อยให้เลื่อนไหลไปแทรกแซงคิดนึกปรุงแต่งต่างๆ เป็นกลาง ไม่เอนเอียง ไม่ฝักใฝ่ทั้งกุศลและอกุศล คือ ดีก็ไม่-ชั่วก็ไม่, ถูกก็ไม่-ผิดก็ไม่ (คิดนึกปรุงแต่งไปว่าเราดีก็ไม่ ปรุงแต่งไปว่าเขาชั่วก็ไม่, คิดนึกปรุงแต่งไปว่าเราถูกก็ไม่ ปรุงแต่งไปว่าเขาผิดก็ไม่, คิดปรุงแต่งไปว่าทำดีก็ไม่ คิดปรุงแต่งว่าชั่วก็ไม่) อันเป็นอุบายวิธี ตัดไฟแต่ต้นลม ป้องกันการเกิดเวทนาของความคิดนึกปรุงแต่งที่จะเกิดขึ้นมาภายหลังนั้นนั่นเอง อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา..อันเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ขึ้นมาอีกได้.
เหตุที่ต้องตัดไฟแต่ต้นลมโดยการหยุดคิดนึกปรุงแต่งอันเกิดหลังจากรับรู้ตามความเป็นจริงแล้ว เป็นอุบายวิธีไม่ให้เกิดเวทนาอื่นๆอีก เพราะเวทนาเป็นกระบวนการรับรู้ตามธรรมชาติเป็นสภาวะธรรม เมื่อเกิดอย่างไรเป็นอย่างนั้น อันทําการหยุดโดยตรงไม่ได้, ส่วนตัณหาความรู้สึกทะยานอยากหรือไม่อยาก และคิดนึกปรุงแต่งอันเป็นสังขารขันธ์เกิดจากเจตนาของตัวตนเองถึงแม้ว่าจะหยุดได้ยากแสนยาก แต่เมื่อทราบเหตุปัจจัยชัดแจ้งด้วยปัญญาก็สามารถฝึกฝนอบรมได้ในที่สุด
ท่านสามารถพิจารณาธรรมะวิจยะโดยใช้ขันธ์๕ได้เช่นกัน, ผลก็เป็นดังเช่นปฏิจจสมุปบาทนั้นนั่นเอง
หลักปฏิบัติในสติปัฏฐาน๔ ก็เป็นเช่นเดียวกันนั่นเอง แต่เน้นอยู่ที่วิธีปฏิบัติและเจริญสติ อันจักบังเกิดปัญญาขึ้นจากการพิจารณาการปฏิบัตินั้นและจากหมวดธัมมานุปัสสนา อันถ้าไม่บังเกิดปัญญาขาดความเข้าใจในธรรมก็จะติดขัดเป็นวิจิกิจฉาหรือเป็นมิจฉาสมาธิเช่นกัน
อริยสัจ ๔ ก็มีกําเนิดเฉกเช่นเดียวกัน อันเป็นหลักการปฏิบัตที่เกิดจากปฏิจจสมุปบาท ผู้เขียนจึงได้กล่าวไว้ว่าปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมอันเป็นเหตุปัจจัยให้ตรัสรู้อริยสัจ๔ อันเป็นการแสดงธรรมถึงเหตุและผลและรวบรวมเป็นแนวการปฏิบัติของมรรค๘ ตั้งแต่ขั้นปัญญา ศีล สมาธิ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้เกิดมรรคองค์ที่๙ อันคือสัมมาญาณ(ปัญญาในขั้นดับทุกข์)อันเป็นปัจจัยก่อให้เกิดมรรคองค์ที่๑๐ สัมมาวิมุตติ สุขจากการหลุดพ้นอันเป็นที่สุด
เราจึงต้องปฏิบัติอย่างถูกต้องด้วยความเข้าใจในธรรมคําสอนของพระพุทธองค์จนเป็นมหาสติ หรือสังขารในปฏิจจสมุปบาท แต่เป็นสังขารใหม่อันมิได้เกิดแต่อวิชชา เป็นสังขารแห่งการพ้นทุกข์ วันนั้นจึงจักเป็นวันสิ้นสุดการปฏิบัติของเรา เสวยแต่ผลคือวิมุตติ
จงมีแต่คิดของขันธ์๕โดยเฉพาะสติและปัญญา แล้วอุเบกขาเป็นกลางวางเฉย
โดยการไม่ปรุงแต่งเอนเอียงไปทั้งในด้านดีหรือด้านร้าย
อันเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดเวทนาอันเป็นปัจจัยให้อาจเกิดตัณหา