|
ปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายนิโรธวาร |
|
กระบวนธรรมของการดับไปแห่งทุกข์
จากพุทธพจน์ ที่ไว้ว่า
ธรรมใดเกิดแต่เหตุ เมื่อเหตุดับ ธรรมนั้นก็ดับ
หรือ ทุกข์ใดล้วนเกิดแต่มีเหตุ เมื่อเหตุดับ ทุกข์นั้นก็ดับ
อันเป็นไปตามหลักอิทัปปัจจยตา
โยนิโสมนสิการ ฝ่ายนิโรธวาร ๑
ท่านควรพิจารณาปฏิจจสมุปบาท แบบสมุทยวาร หรือกระบวนธรรมของจิตในการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ให้มีความเข้าใจที่แจ่มแจ้งถูกต้อง แล้วจึงควรมาศึกษาพิจารณาแบบนิโรธวารหรือกระบวนธรรมของการดับไปแห่งทุกข์นี้ เพราะเป็นเหตุปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น, ในการอ่านกระบวนธรรมของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์อย่างพิจารณาโดยแยบคายก็เท่ากับท่านได้ปฏิบัติธรรมานุปัสสนา อันเป็นหนึ่งในทางสายเอกทั้ง๔ ของสติปัฎฐาน๔ เฉกเช่นเดียวกัน, หรือเท่ากับปฏิบัติธัมมวิจยะอันเป็นหนึ่งใน ๗ ขององค์แห่งการตรัสรู้(โพชฌงค์๗), และ ณ ขณะจิตต่อจากนี้ ถ้าท่านอ่านปฏิจจสมุปบาทแบบนิโรธวารหรือกระบวนธรรมของการดับไปแห่งทุกข์อย่างพิจารณาโดยละเอียดและแยบคาย หาเหตุหาผล หาผิดถูก ไล่ลําดับกระบวนจิต(หรือกระบวนธรรมตามหลักเหตุและผล) โดยพิจารณาอย่างถี่ถ้วนหาเหตุหาผลในขณะอ่าน ก็เท่ากับว่าท่านได้ปฏิบัติโดยการโยนิโสมนสิการ อันดีงามยิ่งอีกครั้งหนึ่ง คือการพิจารณากระทําในใจโดยแยบคายในการดับไปแห่งทุกข์ และธรรมที่ท่านกําลังจะพิจารณาอยู่นี้เป็นปรมัตถธรรมอันสูงสุดธรรมหนึ่ง อันเป็นธรรมที่เป็นเหตุปัจจัยให้ตรัสรู้ในสภาวธรรมของทุกข์และการดับทุกข์โดยตรง จนเกิดเป็นอริยะสัจ ๔ อันเป็นการรวบรวมธรรมที่บังเกิดขึ้นเป็นแนวทางสรุปและการปฏิบัติ จึงมีอานิสงส์บังเกิดขึ้นสมดังพระพุทธ์พจน์ที่ทรงตรัสไว้
ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม
อันจักทําให้เกิดสัมมาญาณความรู้ความเข้าใจใน กาย เวทนา จิต ธรรม ทั้ง๔ ได้อย่างถูกต้องบริบูรณ์สมดังพุทธประสงค์ อันยังให้การปฏิบัติธรรม ตามความรู้ความเข้าใจในธรรมที่เกิดนั้นเป็นไปอย่างบริบูรณ์ อันยังผลให้จางคลายจากทุกข์ได้ตามฐานะอันควรแห่งตน จนถึงสัมมาวิมุตติ(สุขจากการหลุดพ้น) อันเป็นสุขอย่างยิ่ง
อันอุปมาได้ดั่งท่าน มีแผนที่อย่างดีมีรายละเอียดอันวิเศษถูกต้องอยู่ในมือ ท่านย่อมเดินทางได้เร็ว และถูกต้องตามจุดหมาย ไม่หลงทางระหกระเหินเข้าป่าเข้าเขาไปในทิศต่างๆ มุ่งเข้าสู่จุดหมายได้อย่างรวดเร็วและเลือกหนทางที่ดีที่สุดได้, ตลอดจนเมื่อเกิดสัมมาญาณความรู้ความเข้าใจแล้วยังเป็นบ่อเกิดพลังที่สําคัญยิ่งของจิต เนื่องจากขาดความสงสัย กังวล วิจิกิจฉาต่างๆในธรรม อันเมื่อประสบปัญหา อันจักต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา แทนที่จะท้อหรือขาดศรัทธาหรือหลงผิด ก็กลับพิจารณาในธรรมนั้นๆให้เกิดความกระจ่าง สว่างขึ้น ไปเป็นลําดับ จึงทําให้การปฏิบัติธรรมนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วและราบรื่น และถูกต้อง
การปฏิบัติโดยขาดสัมมาญาณ ดังเช่น การปฏิบัติตามความเชื่อ(ทิฏฐุปาทาน) ตามศรัทธาประเภทอธิโมกข์ ตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้อ่านมา อย่างน้อมเชื่อขาดการพิจารณาโดยละเอียดและแยบคายในธรรม อุปมาได้ดั่งท่านต้องการเดินทางไปสู่จุดมุ่งหมายอย่างรวดเร็ว จึงเดินลัดตัดตรงแน่วแน่ไปตามนั้น อย่างขาดปัญญาด้วยอธิโมกข์ เมื่อเจอสิ่งกีดขวางดังเช่น เหว เขา ต้นไม้ สิ่งกีดขวาง ฯ. แทนที่จะใช้ปัญญาในการแก้ไข กลับพยายามฝ่าฟันสิ่งเหล่านั้นไปด้วยความยึดมั่นมุ่งมั่นอย่างผิดๆ จึงย่อมเกิดการบาดเจ็บล้มตายเป็นธรรมดา ไม่สามารถบรรลุถึงจุดหมาย หรือไปถึงจุดหมายด้วยความยากลําบากแสนเข็ญ ย่อมใช้เวลายาวนานหลายภพหลายชาติยิ่งนัก
อนึ่งสิ่งที่ปุถุชนปฏิบัติธรรมกันอยู่นี้ ถ้ามองตามสภาวธรรมแล้วผลของการปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นสิ่งสูงสุดที่มนุษย์พึงจักได้รับ เพราะเราปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ เพราะสุขนั้นไม่มี มีแต่สร้างความอยากอันเป็นทุกข์ และดับทุกข์เท่านั้น และการดับทุกข์ที่เกิดที่เป็นนี่แหละที่เราเรียกกันโดยภาษาโลกสมมุติ(สมมุติสัจจะ)ว่าความสุข ดังนั้นการดับทุกข์ทั้งมวลจึงเป็นสุขอย่างแท้จริงอย่างยิ่ง แต่เราต้องยอมรับตามความเป็นจริงในสภาวธรรมอื่นๆเช่นกัน ดังเช่น สิ่งใดยิ่งสูง เมื่อตก ย่อมเจ็บกว่าเป็นธรรมดา ดังนั้นการปฏิบัติธรรมโดยมีดวงตาเห็นธรรมแล้ว หรือสัมมาญาณเป็นเครื่องรู้เครื่องเข้าใจ เป็นแนวทางประพฤติ ปฏิบัติ จึงแก้ปัญหาต่างๆเหล่านี้ได้ เพราะท่านเป็นผู้เห็นธรรมแล้ว สมดังพระพุทธดํารัส
แสดงวงจรปฏิจจสมุปบาท
ฝ่ายนิโรธวาร เป็นลำดับขั้น
โยนิโสมนสิการในปฏิจจสมุปบาท องค์ธรรมใดที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ที่จะเข้าไปดับ(ภาษาธรรม)หรือแก้ไขได้ และองค์ธรรมใดแก้ไขไม่ได้เป็นเพียงกระบวนธรรมแสดงเหตุปัจจัยที่ต่อเนื่องสัมพันธ์ของสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ต่างๆ, หรือเป็นสภาวธรรม(ธรรมชาติ)แท้ๆอันยากที่จะแก้ไขโดยตรง จําเป็นต้องพิจารณาโดยละเอียดและแยบคาย มิฉนั้นจะเสียเวลาหรือหลงทาง ดังเช่น มักจะคิดดับวงจรปฏิจจสมุปบาทที่อวิชชาโดยตรงแต่แรกๆบ้าง, ที่สังขารโดยตรงบ้าง, ที่อุปาทานโดยตรงบ้าง ที่ผัสสะโดยตรงบ้าง หรือที่เวทนาโดยตรงๆบ้าง หรือแม้แต่อาสวะกิเลสโดยตรงบ้าง แต่มักขาดความรู้ความเข้าใจ จึงมักก่อให้เกิดความหลงหรือความเข้าใจผิดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงด้วยอวิชชา, จึงควรพิจารณาให้มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ จึงจักเกิดความมั่นคงในธรรมอย่างถาวร อันไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากการอ่านหรือศรัทธาอย่างอธิโมกข์ ต้องให้เห็นด้วยปัญญาตนเองจริงๆอีกจึงจักบังเกิดผล การอ่านแล้วรู้สึกเข้าใจแต่จะไร้ค่าอันควร, ต้องมาจากการพิจารณา(ธัมมวิจยะ)โดยละเอียดและแยบคายภายในจิตเท่านั้น(โยนิโสมนสิการ) ให้บังเกิดความเข้าใจที่ใจจริงๆ ดังตัวอย่างที่จะกล่าวในบทนี้ เช่น พิจารณาโดยละเอียดให้เห็นด้วยความเข้าใจว่า องค์ธรรมเหล่านี้ล้วนเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกัน แต่องค์ธรรมใดที่จะตัดวงจรหรือดับหรือหยุดวงจรได้ รวมทั้งเหมาะแก่จริต สติ ปัญญาของผู้ปฏิบัติธรรมเองเป็นสำคัญ และข้อสําคัญที่สุด แรกๆให้ มีสติและความรู้ความเข้าใจ(ปัญญ)ว่า อยู่ ณ ที่ใดในวงจร เพื่อจะได้ตัดวงจรหรือวัฏจักรของการเกิดทุกข์ได้อย่างถูกวิธีและก่อให้เกิดภูมิรู้ภูมิญาณการเห็นการเข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อไม่ให้วงจรปฏิจจสมุปบาทฝ่ายสมุทยวาร เกิดสืบเนื่องหมุนเวียนต่อไป กล่าวคือ จางคลายจากทุกข์ตามควรแห่งฐานะของตน โดยการทําให้วัฏจักรหรือวงจรปฏิจจสมุปบาทฝ่ายสมุทยวารขาดแรงหนุนส่งจนเคลื่อนหมุนช้าลง...ช้าลงไป.....เป็นลําดับ.
ขอขยายความเรื่อง มีปัญญาและสติเห็นเมื่ออยู่ ณ ที่ใดในวงจร ก็เพื่อจุดประสงค์ที่จะได้ตัดวงจรหรือวัฏจักรของการเกิดทุกข์ได้อย่างถูกวิธี และด้วยความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ด้วยเหตุที่กำลังสติปัญญาและจริต ตลอดจนประสบการณ์ของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน จึงย่อมเข้าใจดีในแต่ละองค์ธรรมแตกต่างกันไปบ้าง และในแต่ละองค์ธรรมในวงจรนั้นจะใช้กําลังจิตหรือสติที่จะใช้ตัดหรือลดละนั้นไม่เท่ากัน ดังเช่น ถ้ามีสติปัญญาเห็นเวทนา(ในวงจรปฏิจจสมุปบาท)เราสามารถตัดวงจรของทุกข์ได้อย่างง่ายดายและไม่เป็นทุกข์เสียด้วย มีแต่ทุกขเวทนาเป็นไปตามธรรมชาติเป็นธรรมดา, แต่ถ้าเรามีสติรู้เท่าทันที่ตัณหาหรืออาจรู้ทันที่อุปาทานเวทนาขันธ์หรืออุปาทานสังขารขันธ์ในชรา ซึ่งถึงแม้จะมีสติปัญญารู้เท่าทันแล้วก็ตาม แต่การที่จะดับหรือลดละนั่นย่อมกระทําได้ยากเพราะย่อมถูกครอบงําหรือประกอบด้วยกําลังอันแรงกล้าของอุปาทานเสียแล้วจึงกระทําได้แต่เพียงให้ทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้วนั้นให้ดับลงโดยเร็วและสั้นที่สุดเท่านั้นและต้องใช้กําลังความพยายามมากขึ้น แต่ถึงอย่างไรก็ย่อมยังปัญญาให้เห็นความจริง และข้อสำคัญถ้าไม่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เมื่อบางครั้งติดขัดในการปฏิบัติ อันย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาของการปฏิบัติของจิตอันแสนลึกลํ้าและแปรปรวน ซึ่งเมื่อเกิดบ่อยๆครั้งก็ย่อมยังให้เกิดวิจิกิจฉาความกังวลสงสัยในปรมัตถธรรมปฏิจจสมุปบาทว่าไม่เป็นจริง ไม่เที่ยงแท้แน่นอน อันย่อมยังให้เกิดความท้อหรือเสื่อมศรัทธาในธรรมอันยิ่งใหญ่โดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา จึงพาลไปแสวงหาหนทางอื่นๆ หรือเลิกปฏิบัติบ้าง อันล้วนเป็นการทอนสัมมาปัญญา(ญาณ)และกําลังแห่งจิตโดยไม่รู้ตัว ทำให้เนิ่นช้าในการปฏิบัติ เพราะความไม่รู้ปฎิจจสมุปบาทจัดว่าเป็นหนึ่งในอวิชชา ๘ โดยตรงนั่นเอง
ชีวิต ณ ปัจจุบันชาตินี้ ก็เกิดภพ เกิดชาติ อันเป็นทุกข์ จนไม่รู้ว่าสัก กี่ภพ กี่ชาติ มาแล้ว
|