วิธีอุเบกขา โดยสรุปลัดสั้น |
|
ข้าพเจ้า ...... ....... ขอตั้งจิตอธิษฐาน ตั้งมั่นใน"อุเบกขาสัมโพชฌงค์"องค์แห่งการตรัสรู้ มีสติระลึกรู้ใน"มโนกรรม"ความคิดนึกต่างๆที่เป็นผลเกิดขึ้น และปัญญาเล็งเห็นว่าเป็นโทษ หรือสมควรแก่เหตุแล้ว
(ซึ่งย่อมประกอบด้วยปัญญาที่รู้ในขันธ์ ๕ และความเป็นเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น อีกทั้งประกอบด้วยสติระลึกรู้เท่าทันระดับใดจึงยังผลยิ่ง)
อุเบกขาสัมโพชฌงค์-การวางใจเป็นกลาง วางเฉย คือการมีสติระลึกรู้เท่าทันจิตหรือจิตสังขาร ที่หมายถึงทั้ง"เวทนา"และ"สังขารขันธ์"(คืออาการต่างๆของจิต หรืออารมณ์ทางโลกต่างๆที่เกิดขึ้นนั่นเอง เช่น ความรู้สึกโลภ โกรธ หลง หดหู่ ฟุ้งซ่าน กังวล ความกลัว สุขใจ ทุกข์ใจ ตัณหา จิตหมกมุ่น จิตเป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น อารมณ์เป็นกลาง ฯลฯ. คือทั้งดีและชั่ว) อีกทั้ง"มโนกรรม"(คือความคิดนึกต่างๆอันเป็นผลที่ย่อมเกิดขึ้นจาก"สังขารขันธ์"ข้างต้นนั้น, และแม้มีสติระลึกรู้เท่าทันสังขารขันธ์หรือมโนกรรมแล้ว แต่ก็ย่อมยังเกิดสังขารขันธ์คืออารมณ์สุข ทุกข์ โกรธ หดหู่ ยินดี ยินร้าย ฯ. และความคิดนึกต่างๆ(มโนกรรม)ยังเกิดขึ้น เป็นอย่างไรก็ย่อมเป็นอย่างนั้นเป็นธรรมดา แค่รู้ และไม่ใช่ต้องรู้สึกเฉยๆกลางๆแต่อย่างใด เพราะย่อมเป็นไปตามธรรมของการผัสสะหรือเหตุปัจจัย ซึ่งเป็นการถูกต้องดีงามแล้ว มันเป็นเช่นนี้เอง อย่าใส่ใจ ไม่เป็นการถูกผิดแต่อย่างใด แต่อย่าไปอยากหรือไม่อยาก"ละ"อารมณ์นั้นๆ ให้มันหายดับไป ด้วยเป็นอนัตตา อันจักเป็นเหตุปัจจัยให้ก่ออีกตัณหาหนึ่งขึ้นมาแทน แล้วมันก็จะเสื่อมดับไปเองด้วยธรรมนิยาม) เพียงแต่ปฏิบัติดังนี้เพื่อไม่ให่เกิดการสืบเนื่องต่อไปอีก คือ เมื่อสติระลึกรู้เท่าทัน"สังขารขันธ์"หรือ"มโนกรรม"นั้น และปัญญาเล็งเห็นว่าเป็นโทษ หรือสมควรแก่เหตุแล้ว, ต้องมีจิตคือสติ และสมาธิ(ความตั้งใจ) ที่ประกอบด้วยปัญญาพละที่เข้าใจในเหตุปัจจัย(ยิ่งทำให้มีกำลังมาก), แล้ว "อุเบกขาสัมโพชฌงค์" คือ วางใจให้เป็นกลาง วางทีเฉย โดยอาการไม่เอนเอียงเข้าไปแทรกแซงปรุงแต่งในถ้อยคิด(คือความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆนาๆที่เกิดขึ้นจากสังขารขันธ์อารมณ์ต่างๆคือมโนกรรม) หรือในกิริยาจิตใดๆ(ดังเช่น ฟุ้งซ่าน, รำคาญใจ, หดหู่, ยินดี-ยินร้าย, สุข-ทุกข์, ชอบ-ชัง, ถูก-ผิด, ดี-ชั่ว, บุญ-บาป ฯ.) คือไม่แทรกแซงปรุงแต่งในเหล่ามโนกรรม หรือในสังขารขันธ์คือกิริยาจิตหรืออารมณ์ต่างๆนั้น ที่เล็งเห็นคือสติระลึกรู้ว่าให้โทษ หรือสมควรแก่เหตุแล้ว ที่เกิดขึ้นมา แล้วทุกข์ที่เกิดขึ้นมาแล้วนั้นก็ย่อมต้องเสื่อมลงๆ แล้วดับไปด้วยอำนาจพระไตรลักษณ์ ไม่สามารถเกิดสืบเนื่องต่อไปได้อีก
เราจักมีจิตตั้งมั่น ระลึกรู้เท่าทันจิต คือ"สังขารขันธ์"หรือ"มโนกรรม" ที่ปัญญาเห็นว่าให้โทษหรือสมควรแก่เหตุ แล้วอุเบกขาเสีย
ข้อสำคัญอย่าลืมว่า ทุกขเวทนาและสังขารขันธ์ทุกข์(อารมณ์ทุกข์อีกทั้งตัณหาอันเป็นสังขารขันธ์อย่างหนึ่งนั้น) อีกทั้งมโนกรรมยังมีอยู่เป็นธรรมดา
อย่าไปอยาก"ละ"(เพราะมันคือการเกิดตัณหาขึ้นอีกแบบหนึ่ง)ให้มันหายไป เพราะมันก็ต้องเสื่อมดับไปเองด้วยธรรมนิยาม
(มีสติตั้งมั่น ให้ระลึกรู้เท่าทันอารมณ์ต่างๆ และความคิดนึกต่างๆที่เกิดขึ้นมาจากอารมณ์นั้นๆ เมื่อปัญญารู้ว่าให้โทษหรือสมควรแก่เหตุ ก็อุเบกขาเสีย)
จึงไม่ใช่การพยายามไปหยุดคิด หยุดนึก ไม่ให้คิดไม่ให้นึกขึ้นเลยใน"ธรรมมารมณ์"ความคิดนึกอันเป็นกระบวนธรรมของการดำเนินชีวิตโดยธรรมชาติ
แต่เป็น "มโนกรรม" หรือสังขารขันธ์คืออารมณ์ ที่ปัญญาเล็งเห็นแล้วว่าเป็นโทษ หรือสมควรแก่เหตุแล้ว
ธรรมารมณ์
ใจ
มโนวิญญาณ
สัญญาจํา
เวทนา
สัญญาหมายรู้
สังขารขันธ์
เกิดสัญเจตนา(ความเจตนา)
กรรม การกระทำต่างๆทางกาย,วาจา หรือทางใจ เช่น ความคิดนึกต่างๆอันเป็นโทษ
คือเกิดมโนกรรมความคิดนึกอันเป็นผลขึ้น ซึ่งถ้าไม่อุเบกขาก็จักไปทำหน้าที่เป็นธรรมารมณ์ของวงจรใหม่อีกรอบ
จึงยิ่งก่อทุกข์ขึ้นให้ต่อเนื่องยาวนานและเร่าร้อนขึ้นเป็นวงจรของทุกข์อีกนั่นเอง
ภาพประกอบด้านล่าง ถ้าไม่อุเบกขาอย่างฉับไวใน "๗.มโนกรรม" คือความคิดนึกต่างๆที่เกิดขึ้นมาจาก"๖.สังขารขันธ์"คืออารมณ์ต่างๆที่เล็งเห็นว่าเป็นทุกข์หรือโทษแล้ว ก็ย่อมต้องยอมรับความจริงว่าย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัย คือ ถ้าคิดนึกปรุงแต่งต่อไปตาม"๗.มโนกรรม"ความคิดนึกต่างๆที่เกิดขึ้นมานั้นจึงย่อมแฝงด้วยอารมณ์ต่างๆจาก๖.สังขารขันธ์ ซึ่งความคิดนึกที่ปรุงแต่ง(๗.มโนกรรม)ที่เกิดขึ้นมานี้ ก็จะไปทำหน้าที่เป็น"๑.รูป คือ ธรรมารมณ์" อีกครั้ง อันย่อมยังให้เกิดเวทนาขันธ์และสังขารขันธ์อันเป็นทุกข์หรือเป็นโทษนั้นเนื่องต่อไป เป็นวงจรได้อีกเป็นธรรมดาที่ไม่ธรรมดา ดังภาพ
ชี้ที่ตัวอักษรที่ขีดเส้นใต้ มีคำอธิบายประกอบ
๑.รูป
คือ ธรรมารมณ์ + ๒.ใจ + ๓.มโนวิญญูาณขันธ์ (มโน ๖.สังขารขันธ์ จึงเกิด
๗.มโนกรรม
|
การอุเบกขาในมโนกรรมที่เกิดขึ้นและเล็งเห็นโทษ จึงเป็นทางลัดสั้น และได้ผลเป็นอัศจรรย์ จนสามารถเห็น"จิตหลุดพ้น"ได้ด้วยตนเองในที่สุด
เป็นการปฏิบัติจิตตานุปัสสนา ในสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ จึงต้องประกอบด้วยหลักสำคัญคือ สติ๑ คือมีสติระลึกรู้เท่าทันสังขารขันธ์หรือมโนกรรมที่เกิดขึ้น, ปัญญา๑ เล็งเห็นแยกแยะสังขารขันธ์หรือมโนกรรมอันเป็นโทษหรือสมควรแก่เหตุแล้ว, จิตตั้งมั่นหรือสมาธิสัมโพชฌงค์๑