สารบัญ               

คลิก เลื่อนลง                  

 เลื่อนลง                 

 

blue_red.gif

xblue_red.gifx

 

 

                                 สารบัญ

ค้นหาคำศัพท์   กระดานธรรม      

๑. คํานํา             หัวข้อธรรม น่าสนใจยิ่ง             ธรรมะประจำวันนี้   

เวทนา   :   อาพาธสูตร   :   วิธีเปลี่ยนอารมณ์  :  ข้อผิดพลาดในการปฏิบัติ

 ธรรมะสอนใจ : ดับทุกข์ คือสุขนั่นเองเหตุปัจจัย ปฐมบทของโลกและธรรม

๒. ทุกข์ เห็นทุกข์อะไร?   จึงเห็นธรรม                     ข้อธรรมแนะนำให้อ่านอาทิตย์นี้

๑๗. ทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว  :  วิบากกรรม  :  เหนือกรรม  :  กาลามสูตร

๓. วงจรจําลอง เพื่อความเข้าใจในปฏิจสจมุปบาท      ปฏิจจสมุปบาท จากพระโอษฐ์

๑๘. มารู้จัก ธรรมชาติการทำงานของขันธ์ทั้ง ๕                          คลิก เลื่อนลง

๔. ปฏิจจสมุปบาทมนสิการ&พุทธอุทานคาถา๓ เหตุปัจจัยปฐมบทของโลก&ธรรม

๑๙. วิปัสสนูปกิเลส อุปสรรคหรืออุปกิเลส๑๐แห่งวิปัสสนา ที่นักปฏิบัติจำต้องผ่าน

๕. ปฏิจจสมุปบาท ปรมัตถธรรมบันลือโลก     การดับทุกข์โดยอาศัยปฏิจจสมุปบาท

๒๐. พุทธพจน์,พระสูตร : มหาสติปัฏฐานสูตร  :  ปฏิบัติสติปัฏฐาน เพื่ออะไร ?

อุเบกขา องค์สำคัญยิ่งในการปฏิบัติให้ถึงซึ่งวิมุตติใน โพชฌงค์ ๗ ; อุเบกขาแบบต่างๆ

๒๑. ข้อคิดคํานึง  :  นิวรณ์ ๕  :  มโนกรรม  :  มงคล ๓๘  :  นิพพิทา

๖. ขันธ์๕โดยลำดับ กระบวนธรรมอันสําคัญยิ่งของชีวิต                    เวทนา

๒๒. สติรู้เท่าทันระดับใด จึงยังผลยิ่ง        มหาสติ

๗. อุปาทานขันธ์ ๕ ขันธ์๕ที่ถูกครอบงําโดยอุปาทาน                                อุปาทาน ๔

๒๓. สังโยชน์ ๑๐ ธรรมหรือสิ่งที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์   

๘. การปฏิบัติในชีวิตประจําวัน ปฏิบัติอะไร ?       

๒๔. ฌาน,สมาธิ เรื่องที่ควรรู้

 

๙. วงจร แสดงกระะบวนจิตของมวลมนุษย์โดยพิศดาร

๒๕. ถาม - ตอบ เรื่องฌานสมาธิ

๑๐. ธรรมข้อคิดจากพระอริยเจ้า-หลวงปู่ดูลย์ ; หลวงปู่เทสก์  ;  พระธรรมปิฏก ; พุทธทาส ฯลฯ.

๒๖. เวทนา                   แยกแยะเวทนา

๑๑. อริยสัจ กิจอันพึงกระทําในอริยสัจ๔  เพื่อยังให้เกิดมรรคองค์ที่ ๙ และ ๑๐

๒๗. จิตเห็นจิต คืออะไร

๑๒. พระไตรลักษณ์ กฎธรรมชาติที่มีอยู่  อันเป็นอกาลิโก       อนัตตา    :     อัตตา

๒๘. ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ ตรัสกับพระอานนท์

๑๓. สติปัฏฐาน ๔ ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ

๒๙. ปฏิจจสมุปบาท โดยย่อ         

๑๔. ฝึกสติปัฏฐาน ๔ เพื่อจุดประสงค์อะไร?

๓๐. วิปัสสนา,โยนิโสมนสิการ กันอย่างไร

๑๕. การปฏิบัติสมถวิปัสสนา แนวทางปฏิบัติ

๓๑. รายละเอียดของขันธ์ ๕                                                               คลิก เลื่อนลง

  สารคดี ตามรอยพระพุทธเจ้า 

๓๒. สติ สติที่ใช้ในการปฏิบัติ         

    จิตเกิดอย่างไร?  มีตัวตนอยู่ที่ใด?  และธรรมชาติของจิต 

๓๓. แสดง ตําแหน่งดีที่สุดในวงจรปฏิจจสมุปบาท

 แสดงจิตขณะทำงาน  อุปมาดุจดั่งดอกไม้ไฟในงานฉลอง

๓๔. แสดง การเกิด อุปาทานขันธ์ อันเป็นทุกข์ในวงจรปฏิจจสมุปบาท

 

แนะนําหนังสือ ธรรมะ       

๓๕. วันสำคัญทางพระศาสนา                   วันอาสาฬหบูชา

ไหว้พระ สวดมนต์       

๓๖. มุมพักผ่อน ความงดงามพุทธศิลป์จากเว็บต่างๆ

   บันทึกลงเครื่อง 09/06/65                             เว็บธรรมะ       

๓๗. กระดานธรรม        

  สมุดเยี่ยม       

       สมุดเยี่ยม                        

break

   สมาธิแบบพุทธ # ๑  ,   # ๒  โดย   สมเด็จพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)  (หน้าหลัก)

แก่นธรรมคำสอน ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล

  คำสอนของฮวงโป เพื่อการบรรลุธรรมโดยฉับพลัน ของนิกายเซ็น แปลไทยโดย ท่านพุทธทาส          เซ็น         ธรรมหรือธรรมชาติ

 ติดสุข   จิตส่งในเป็นภัย    นิมิตและภวังค์   เกร็ดธรรม   เหนือกรรม    ตัวกู  ไม่ใช่ของกู

ประมวลภาพ วงจรปฏิจจสมุปบาท    หลวงพ่อชา ตอบปัญหาธรรม      

 เหตุใดสติที่ตามทันขณะปัจจุบัน จึงเป็นหลักสำคัญของวิปัสสนา - พระธรรมปิฎก  

นิพพาน  เป็นอนัตตา  มีจริงๆอยู่ที่ใด    พจนานุกรม ต่างๆ  

สังขารขันธ์ ในขันธ์ ๕    ขันธ์ทั้ง ๕ ล้วนเป็นอิสระจากเรา    เมื่อทุกข์กำลังเผาลน

พระอริยเจ้า    คิดนึกปรุงแต่ง    วิธีเปลี่ยนอารมณ์    ญาณ ๑๖

Google


ทั่วโลก  ค้นหาเฉพาะใน"ปฏิจจสมุปบาท"

ค้นหา หัวข้อธรรมในกระดานธรรมต่างๆ ทั้งหมด

การตีความปฏิจจสมุปบาท ในแง่มุมต่างๆ

 

  ไปสารบัญ

ความสำคัญของปฏิจจสมุปบาท

ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม

(มหาหัตถิปโทปมสูตร ที่ ๘)

        ปฏิจจสมุปบาทเป็นปรมัตถธรรมที่แสดงถึง กระบวนธรรมของจิต คือ กระบวนการทำงานหรือความเป็นไปของจิต อันต้องดำเนินเป็นไปเช่นนี้เองโดยธรรมคือธรรมชาติในทุกๆชีวิต ในการทำให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์  และกระบวนธรรมของจิตในการดับไปแห่งทุกข์,  ท่านได้จําแนกออกเป็น

        แบบอนุโลม หรือ สมุทยวาร - อันเป็นธรรมคือธรรมะหรือหลักธรรมของ กระบวนธรรมของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์

        แบบปฏิโลม หรือ นิโรธวาร - อันเป็นหลักธรรมของ กระบวนธรรมของการดับไปแห่งทุกข์

        องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบและตรัสรู้ จึงได้บัญญัติเปิดเผย"ปฏิจจสมุปบาท"อันคือสภาวะธรรมในการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เพื่อใช้ในการดับไปแห่งทุกข์, เพื่ออํานวยประโยชน์แก่ เวไนยสัตว์  อันเป็นการค้นพบก่อนตรัสรู้และจึงเป็นเหตุปัจจัยให้ตรัสรู้, และได้ทรงพิจารณาทบทวนเรียบเรียงปฏิจจสมุปบาทภายหลังการตรัสรู้คือตั้งแต่วันแรกในขณะเสวยวิมุตติสุขเป็นเวลาตลอดสัปดาห์ จนบังเกิดพุทธปีติอิ่มเอิบพระทัยเปล่ง พุทธอุทาน ขึ้นถึง ๓ ครั้ง ๓ ครา ณ.ขณะนั้น, ซึ่งบังเกิดเป็น "พุทธอุทาน" ในพระศาสนาทั้ง ๓ ครั้ง ๓ ครานั้น  ซึ่งแต่ละครั้งนั้นทรงแสดงถึงความปีติพระทัยในสัจจธรรมความลึกซึ้งของปรมัตถธรรม"ปฏิจจสมุปบาท" อันคือกระบวนการจิตของการเกิดขึ้นและการดับไปแห่งทุกข์ จึงเป็นแก่นธรรมที่สมควรศึกษาให้เข้าใจอย่างยิ่งยวดเพื่อให้เกิดความเข้าใจ(สัมมาญาณ)และนําไปปฏิบัติให้จางคลายจากทุกข์ได้ตามควรแห่งฐานะตน  หรือถึงที่สุดแห่งการดับสนิทไปของทุกข์อันเป็นสุขอย่างยิ่ง

        ใน พุทธอุทานคาถาที่๑ แสดงถึงพุทธปีติในสัจจธรรมที่ทรงค้นพบว่า "เพราะมารู้ธรรม พร้อมทั้งเหตุ"  อันหมายถึงเกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมหรือธรรมชาติขึ้นว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนสิ้น ล้วนเกิดแต่มีเหตุาเป็นปัจจัยกัน คือมาประชุมเป็นปัจจัยอันเนื่องสัมพันธ์แก่กันและกัน จึงเกิดขึ้นได้,  อันเป็นสภาวธรรมหรือกฏธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ จริงแท้แน่นอน  ความทุกข์นั้นจึงล้วนเป็นเฉกเช่นเดียวกัน คือประกอบด้วยการที่มีมีเหตุต่างๆมาเป็นปัจจัยเช่นกัน จึงจักเกิดเป็นความทุกข์ที่แสนเร่าร้อนจนเผาลนกระวนกระวายขึ้นมาได้

        ใน พุทธอุทานคาถาที่๒ แสดงถึงพุทธปีติในสัจจธรรมที่ทรงพบว่า "เพราะได้รู้ความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย"อันหมายถึงการที่พระองค์ท่านได้ทรงค้นพบว่าเมื่อสิ่งทั้งหลายทั้งปวงอันล้วนต้องเกิดแต่เหตุปัจจัยต่างๆมาประชุมกัน แม้กระทั่งความทุกข์  ดังนั้นถ้าดับหรือทําให้เกิดความสิ้นของเหตุบางสิ่งหรือบางประการ ที่มาเป็นปัจจัยกันได้ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้นแม้กระทั่งความทุกข์ก็ย่อมไม่สามารถประชุมรวมตัวเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกันจนเป็นทุกข์อุปาทานหรือก็คือความทุกข์ที่ประกอบด้วยอุปาทานอันแสนเผาลนใจได้  อันย่อมต้องดับสลายหรือถูกทําลายไปเพราะความสิ้นไปแห่งเหตุปัจจัยนั้นเอง

        ใน พุทธอุทานคาถาที่๓ แสดงถึงพุทธปีติอิ่มเอิบในสัจจธรรมที่ทรงค้นพบนั้นว่า"ย่อมสามารถกําจัดมารและเสนาเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัย ทําอากาศให้สว่างฉนั้น" อันแสดงถึงความปีติพระทัยในการที่ทรงทราบว่า เมื่อรู้ เมื่อเข้าใจในธรรมนี้และนําไปปฏิบัติตามความเข้าใจนั้น  ย่อมมีคุณอันยิ่งใหญ่ในการกําจัดเสียซึ่งบรรดามารและเสนาอันคือกิเลส ตัณหา อุปาทาน ซึ่งล้วนแต่เป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกันอันยังให้เกิดอุปาทานทุกข์ออกไปเสียได้  อันจักยังให้จิตคือชีวิตนั้นสว่างไสว ประดุจดั่งพระอาทิตย์อุทัยที่ทอแสงอันยิ่งใหญ่ให้ความสว่างเจิดจ้าและอบอุ่นแก่โลกและชีวิตทุกๆชีวิตบนโลกนี้

        ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมที่กล่าวถึงกระบวนการทางกายและจิตในอันที่ทํางานเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกันเป็นลำดับขั้นจนเป็นผลให้เกิดความทุกข์ และดับทุกข์,  อันแสดงเหตุปัจจัยใดๆบ้างที่เป็นเหตุเป็นผลกัน  อันเมื่อรู้เมื่อเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในเหตุปัจจัยนั้นแล้ว ก็กําจัดเหตุปัจจัยบางเหตุปัจจัยนั้นออกไปเสีย ตามกําลังจริต, กําลังสติ และปัญญาของผู้ปฏิบัติ  อันย่อมทําให้ความทุกข์นั้นต้องดับหรือขาดความสมดุลย์ ไม่สามารถเป็นเหตุปัจจัยให้ก่อตัวขึ้นเป็นอุปาทานทุกข์ได้ ประดุจดั่งท่านไม่เพิ่มฟืนหรือดึงท่อนฟืนออกจากกองไฟ ไฟนั้นย่อมจักต้องค่อยๆมอด ค่อยๆมอด..จน.ดับไปในที่สุด ซึ่งอุปาทานทุกข์นี้แหละที่มนุษย์ทุกผู้นาม"รู้สึกเป็นทุกข์"กันอยู่เป็นมารยาจิต เพียงแต่ไม่รู้แยกแยะไม่ออก เพราะยังไม่มีวิชชา จึงถูกมันครอบงํามาทุกกาลสมัย  จนบังเกิดมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นมหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ในโลกมนุษย์นี้ ที่ได้ทรงเปิดเผยความลับของธรรมชาติหรือสภาวะธรรมนี้ให้บันลือไปทั่วทุกโลกธาตุ เพื่อเป็นหลักชัยแก่ชีวิตของผู้ที่รู้ ผู้ที่เข้าใจ และผู้ที่ปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์ หรือเพื่อการจางคลายจากความทุกข์ได้ตามควรแห่งฐานะตน ไม่ว่าบรรพชิตหรือฆราวาส, ตามกําลังสติ, ปัญญา, ความมุ่งมั่น, ความปรารถนา และความเพียรของผู้ปฏิบัตินั้นเอง อันได้ผลตั้งแต่จางคลายจากทุกข์ตามควรแห่งฐานะตน จนถึงการดับสนิทไปแห่งทุกข์, อันเป็นดั่งพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า

ความเพียรพยายามพวกเธอต้องทําเอง  ตถาคตเป็นเพียงผู้ชี้บอกเท่านั้น

(ธรรมบท ๒๕/๔๓)

        ความทุกข์นั้นเป็น "ปฏิจจสมุปบันธรรม" อันคือธรรมหรือสิ่งที่เกิดมาแต่เหตุปัจจัย อันมาประชุมกัน เป็นปัจจัยแก่กันและกันชั่วระยะหนึ่ง  ดังนั้นเมื่อเราต้องการดับทุกข์ เราจึงควรศึกษาให้เกิดปัญญาญาณหรือเรียกง่ายๆว่าความเข้าใจถึงใจ อันจักเกิดขึ้นอย่างมั่นคงได้จากการพิจารณาธรรมโดยละเอียดและแยบคายเท่านั้น, เพื่อจะได้เกิดกําลังของปัญญาญาณในการตัดวงจรหรือวัฏฏะแห่งทุกข์ที่หมุนสืบเนื่องกันอยู่ตลอดกาลนานให้ขาดสะบั้น หรือเคลื่อนช้าลง

        สามารถกล่าวได้ว่าปฏิจจสมุปบาทเป็นเหตุปัจจัยให้พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้อริยะสัจอันเป็นผลให้เป็นแนวทางคําสอนและแนวทางปฏิบัติ, จริงๆแล้วปฏิจจสมุปาทและอริยสัจ ตลอดจนแก่นธรรมทั้งหลายในพุทธศาสนานั้นต่างล้วนเป็นหลักธรรมเดียวกันทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในปฏิจจสมุปบาท ก็จักเกิดปรากฎการณ์ดังที่ท่านได้ตรัสไว้

ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม

(มหาหัตถิปโทปมสูตรที่ ๘)

และเป็นแก่นธรรมหรือสภาวธรรม(ธรรมชาติ)อันถูกต้องสมดั่งพุทธประสงค์, จึงจักยังให้มีความเข้าใจใน อริยสัจ ไตรลักษณ์ และแก่นธรรมต่างๆได้อย่างถ่องแท้ เพราะเป็นผู้มีดวงตาเห็นธรรมแล้วสมดั่งพระพุทธดํารัส. 

buddha1-1.gif

ปฏิจจสมุปบาท

ปรมัตถธรรมเพื่อความจางคลายจากทุกข์

จนถึงการดับสนิทแห่งทุกข์

ได้ตามควรแห่งฐานะตน

เราไม่สามารถรู้ได้ว่า เหตุแห่งทุกข์อันเป็นสภาวธรรม(ธรรมชาติแท้ๆ)นั้นจะมาเยือนเราเมื่อใด

อันไม่มีสิ่งใดๆควบคุมบังคับได้อย่างจริงแท้แน่นอน  จึงควรใฝ่ใจปฏิบัติ,ศึกษา

เมื่อเหตุแห่งทุกข์นั้นมาเยือนโดยสภาวธรรม ก็จักไม่มีผู้รับผลทุกข์นั้น

หรือจางคลายจากทุกข์นั้นๆ

อันยังให้เกิดปรากฎการณ์ที่พระอริยะเจ้ากล่าวอยู่เนืองๆว่า

เหตุแห่งทุกข์นั้นยังมีอยู่    แต่ไม่มีผู้รับผลทุกข์นั้น

(ทุกฺขเมว หิ น โกจิ ทุกฺขิโต การโก น, กิริยา วิชฺชติ)

กล่าวคือ "ทุกข์อริยสัจ"นั้นแม้ยังมีอยู่   แต่ไม่มีผู้รับผลของ"ทุกข์อุปาทาน" หรืออุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์

หรือ ความจริงทุกข์ธรรมชาตินั้นแม้มีอยู่  แต่ไม่มีผู้ถึงทุกข์นั้นๆ

blue_red_1.gif     

คติธรรม         

อริยสัจแห่งจิต  โดยหลวงปู่ดูลย์ อตุโล

จิตส่งออกนอก

เป็นสมุทัย (เหตุแห่งทุกข์)

 

ผลอันเกิดจากจิตส่งออกนอก

เป็นทุกข์ (อุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์)

 

จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง

เป็นมรรค (ปฏิบัติ)           

 

ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง

เป็นนิโรธ (อันพ้นทุกข์)    

 

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

หรือธรรมอันเป็นไปในลักษณาการเดียวกัน โดย"อริยสัจ"และ"ปฏิจจสมุปบาท" คือ

จิตมีตัณหา จากการปรุงแต่งเวทนา เป็นเหตุ

เป็นสมุทัย เหตุแห่งทุกข์

ผลของจิตมีตัณหา จากการปรุงแต่งเวทนา

เป็นอุปาทานขันธ์๕ อันเป็นทุกข์

สติเห็นกาย,เวทนา,จิต หรือธรรม เป็นเหตุ

เป็นมรรค ปฏิบัติ           

ผลของสติเห็นกาย,เวทนา,จิต,ธรรม

เป็นนิโรธ อันพ้นทุกข์    

พนมพร คูภิรมย์

 

หยุด อุทธัจจะ อันเป็นสมุทัย เหตุแห่งทุกข์

เจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันเป็นมรรค การปฏิบัติ เพื่อนิโรธอันพ้นทุกข์

 

พนมพร คูภิรมย์

กล่าวคือ

        อนึ่งตัณหา ในวงจรปฏิจจสมุปบาท ไม่ได้มีความเฉพาะแต่ ความอยาก ความปรารถนา ความแสวงหาดิ้นรน ความเสน่หา ความใคร่ ฯ. แต่เพียงเท่านี้ ตัณหาก็เป็นอาการอย่างหนึ่งของจิต ในชั่วระยะเวลาหนึ่งๆ หรือเรียกกันว่า อารมณ์(ในทางโลก)หรือสังขารขันธ์  แต่มีความหมายที่ครอบคลุมกว้างขวาง คือทั้งฝ่ายอกุศลสังขารขันธ์ หรืออารมณ์ฝ่ายอกุศลทั้งหลาย เช่น ความโลภ โกรธ หลง หดหู่ ฟุ้งซ่าน ฯ. ซึ่งต่างก็ล้วนเกิดขึ้นมาจากตัณหาทั้งสิ้น

จิตที่ส่งออกนอกไปฟุ้งซ่านปรุงแต่ง  ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการผัสสะ ย่อมยังให้เกิดเวทนาต่างๆขึ้นโดยธรรมคือธรรมชาติ เป็นธรรมดา

อันเวทนาที่ย่อมเกิดขึ้นเหล่านี้นั่นแล  อาจเป็นปัจจัยไปปรุงแต่งให้เกิดตัณหาขึ้นได้  ถ้าไม่เท่าทันว่าสักว่าเวทนา

เวทนาที่เป็นเพียงเป็นเครื่องรับใช้ ในการรับรู้(เสวย)รสชาดของอารมณ์ที่กระทบหรือผัสสะ

ซึ่งเมื่อเกิดตัณหาแล้ว ย่อมยังให้เกิดอุปาทาน เป็นธรรมดา อันเป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทธรรมคือการเกิดขึ้นของทุกข์

อันเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์อุปาทานอันแสนเร่าร้อนเผาลน อีกทั้งเกิดการวนเวียนปรุงแต่งไม่หยุดหย่อนจึงแสนยาวนานขึ้น ในที่สุด

คติธรรมนี้รวบรวมแก่นธรรมอันสําคัญยิ่งทางพุทธศาสนา

อันเมื่อบริกรรม ท่องบ่น เพื่อเป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ เครื่องพิจารณา

อันพึงมีความเข้าใจในความหมายของธรรมเหล่านี้ด้วย  จึงจักยังผลอันยิ่งใหญ่   อันมี

อิทัปปัจจยตา

แสดงหลักธรรม"อิทัปปัจจยตา"ที่มีใจความว่า

เพราะเหตุนี้มี

ผลเหล่านี้จึงเกิดขึ้น

เพราะเหตุนี้ดับ

ผลนี้จึงดับ

 

ปฏิจจสมุปบาท

เวทนาเป็นเหตุปัจจัยจึงมีตัณหา หมายถึง เมื่อเกิดเวทนา ที่เป็นสภาวธรรมที่เกิดขึ้นจากการเสวยอารมณ์ในสิ่งที่สัมผัสผัสสะ ที่ต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  แล้วเวทนาอาจเป็นปัจจัยจึงมีตัณหาความทะยานอยาก(ภวตัณหา) หรือความไม่อยาก(วิภวตัณหา)เกิดเนื่องต่อจากเวทนาต่างๆที่เกิดขึ้นเหล่านั้น   

แล้วตัณหานั้นไปเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นให้เป็นไปตามกิเลสตนเป็นสำคัญ จึงไปปรุงแต่งจิตให้เกิดเจตนา(สัญเจตนา)ในการกระทำต่างๆ ได้ทั้งทางกาย วาจา ใจ เป็นไปตามอำนาจอุปาทานความเชื่อ ความเข้าใจ ความยึดมั่นด้วยกิเลสของตัวตนเป้นสำคัญ ที่ครอบงำอยู่  จึงทำให้เป็นทุกข์อันแสนเร่าร้อน เผาลน กระวนกระวายเพราะประกอบด้วยอุปาทาน อีกทั้งยังวนเวียนเป็นวงจรของทุกข์ได้อีกแสนยาวนานในชราด้วย อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ อันเป็นทุกข์

 

อริยสัจ ๔

ทุกขอริยสัจหรือทุกข์ธรรมชาติ และอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ อันเป็นทุกข์  

สมุทัย คือเหตุแห่งทุกข์

นิโรธ คือการดับทุกข์   

มรรค คือทางปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์

สติปัฏฐาน๔

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ทางสายเอกในการปฏิบัติ  อันควรปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวัน  กล่าวคือ เห็นธรรมใดคือสติระลึกรู้เท่าทันในธรรมคือในกาย หรือเวทนา หรือจิต หรือธรรมใดก่อน ก็ปฏิบัติไปในธรรมนั้นๆ

สติเห็นเวทนา หรือ เวทนานุปัสสนา(สติระลึกรู้เท่าทันในเวทนา) ในสติปัฏฐาน๔, อันคือมีสติรู้เท่าทัน และทั้งเข้าใจในเวทนา เช่นเกิดอย่างไร ดับอย่างไร มีอะไรบ้าง จึงจะทำให้รู้ว่าเป็นเพียงขันธ์เพื่อใช้การใช้งานในการดำรงชีวิตเท่านั้น คือเมื่อมีการผัสสะย่อมต้องเกิดขึ้นทุกคราไปเป็นธรรมดา เพื่อการรับรู้รสสัมผัสต่างๆจากการกระทบผัสสะกับโลก(อายตนะภายนอกทั้งปวง) ถ้าไม่รู้เท่าทันและเข้าใจแจ่มแจ้ง ก็อาจเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดตัณหา ความทะยานอยากหรือไม่อยากให้เกิดขึ้น จึงย่อมเป็นทุกข์

สติเห็นจิต คือสังขารขันธ์ หรือ จิตตานุปัสสนา(สติระลึกรู้เท่าทันในจิตตสังขาร) ในสติปัฏฐาน๔ อันคือสติรู้เท่าทันและเข้าใจในจิตที่หมายถึงสังขารขันธ์ชนิดจิตตสังขาร(ราคะ, โทสะ, ฟุ้งซ่าน, หดหู่ ฯลฯ หรือความคิด, ความนึก)อันให้โทษ  เมื่อเท่าทันจึงปล่อยวางได้ ด้วยอุเบกขา เพื่อตัดวงจรของทุกข์ไม่ให้หมุนหนุนเวียนเป็นวงจรอีกต่อไป

สติเห็นกาย หรือ กายานุปัสสนา(สติระลึกรู้เท่าทันในกาย) ในสติปัฏฐาน๔ อันคือ ฝึกสติโดยใช้กายสังขารดังเช่น ลมหายใจ การเดิน ฯ. เป็นอารมณ์ เพื่อระงับความดำริพล่าน เมื่อสงบระงับแล้วนำไปพิจารณาในกาย เพื่อให้เกิดปัญญา เพื่อให้เกิดนิพพิทาความหน่ายเพื่อความปล่อยวาง  โดยใช้กายและกายสังขาร(กิน นอน เดิน ฯ.)ต่างๆเป็นฐานในการปฏิบัติและนำไปพิจารณาเพื่อให้เกิดปัญญา เช่น สักว่าธาตุ๔ บ้าง  สักว่าปฏิกูลบ้าง ฯลฯ.

สติเห็นธรรมหรือ ธรรมานุปัสสนา(สติระลึกรู้เท่าทันในธรรม) ในสติปัฏฐาน๔ สติเห็นคือรู้เท่าทันและเข้าใจในธรรมดังกล่าวเพื่อเป็นเครื่องรู้  เครื่องระลึก  เครื่องเตือนสติ  เพื่อให้เกิดปัญญาญาณ(สัมมาญาณ)อันสําคัญยิ่งในการปฏิบัติเพื่อการดับไปแห่งทุกข์

      เมื่อมีสติรู้เท่าทันในธรรมทั้ง๔ คือกาย หรือเวทนา หรือจิต หรือธรรม กล่าวคือสิ่งใดสิ่งหนึ่งในธรรมทั้ง ๔ นี้ที่บังเกิดขึ้นขณะนั้นๆแล้ว  ก็ให้ไม่ยึดมั่น หมายมั่นในสิ่งนั้นๆดังปรากฏในสติปัฏฐาน๔ ด้วยอาการของการเป็นกลางวางทีเฉย(อุเบกขา) โดยการปฏิบัติก็คือ เมื่อเกิดการผัสสะย่อมยังให้เกิดเวทนาอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นเป็นธรรมดา ไม่ว่าเป็นสุข หรือทุกข์ หรืออทุกขมสุขเวทนา อันย่อมเกิดขึ้นและเป็นไปตามธรรมคือตามเหตุปัจจัยที่มาผัสสะกันนั่นเอง  แล้วเนื่องให้เกิดสังขารขันธ์ เช่น โทสะ หดหู่ ฯ. ต่างๆขึ้น,  เมื่อสติรู้เท่าทันสังขารขันธ์อันให้โทษแล้ว ที่ต้องปฏิบัติคือ การไม่เอนเอียงไปแทรกแซงโดยการคิดนึกหรือปรุงแต่งด้วยถ้อยคิด(ความคิดนึก)หรือกริยาจิตใดๆ(ชอบชัง ผิดถูก ชั่วดี บุญบาป ยินดียินร้าย ฯ.) ในเรื่องหรือกิจที่สติเท่าทันนั้นๆ  แม้ทั้งทางดีหรือชั่ว อันหมายถึงไม่ยึดมั่นถือมั่นใดๆ  กล่าวคือไม่ไปยึดแม้ทั้งในด้านดี(กุศล)หรือด้านร้าย(อกุศล)ในเรื่องนั้นๆ   เพราะต่างล้วนเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันให้เกิดการปรุงแต่งจนๆเกิดเวทนาต่างๆขึ้น อันอาจเป็นเหตุเป็นปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดตัณหา อันยังให้เกิดทุกข์อุปาทานอันเร่าร้อนเผาลนขึ้นในที่สุดโดยไม่รู้ตัว อันดำเนินเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง

 

         พระไตรลักษณ์   

  สิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนสิ้น(สังขาร-สิ่งปรุงแต่ง) มีสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ที่ล้วนดั่งต้อง"เป็นเช่นนี้เอง"

       คือ ล้วนเกิดมาแต่เหตุปัจจัยอันมาประชุมปรุงแต่งเป็นปัจจัย(สนับสนุน)แก่กันและกันชั่วขณะหรือระยะหนึ่ง, ตัวตนที่เห็นหรือผัสสะได้ด้วยอายตนะใดๆก็ตามที ล้วนเป็นเพียงมวลรวมหรือกลุ่มก้อน(ฆนะ)ของเหล่าเหตุปัจจัยนั้นๆ   ตัวตนเหล่านั้นแท้จริงจึงขึ้นอยู่กับเหตุหรือสิ่งต่างๆที่มาเป็นปัจจัยกัน  จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวตนที่หมายถึงเราหรือของเรา

       และเพราะเกิดแต่เหตุปัจจัย  อันต้องอาศัยเหตุต่างๆมาเป็นปัจจัยแก่กันและกัน หรือมาประชุมเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน,  จึงเพียงแลดูดุจประหนึ่งว่าเป็นสิ่งๆเดียว, แต่ก็มิใช่สิ่งๆเดียวกันอย่างแท้จริง   จึงมีความไม่สมบูรณ์ในตัวเองแฝงอยู่โดยธรรมหรือธรรมชาติ   สังขารทั้งปวงจึงล้วนมีสามัญญลักษณะหรือลักษณะโดยธรรมชาติ ๓ ประการดังนี้

อนิจจัง

ล้วน"อนิจจัง"มีความไม่เที่ยง  มีอันต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆเป็นอาการธรรมดา  ก็เนื่องด้วยความไม่สมบูรณ์ในตัวเอง  จึงพยายามคืนสู่สภาพเดิมๆก่อนการเป็นเหตุปัจจัยกัน  และไม่สามารถควบคุมบังคับให้เป็นไปตามปรารถนา(ได้อย่างแน่นอน และตลอดไป)

ทุกขัง

จึงล้วน"ทุกขัง" เมื่อไม่เที่ยงจึงมีการคงสภาพเดิมอยู่ไม่ได้ จึงต้องเสื่อมไปเป็นอาการธรรมดา จนดับไปเป็นที่สุด  จึงเป็นที่ตั้งของทุกข์ในที่สุดจากการบีบคั้นต่างๆของการเกิดการดับ ความเสื่อมสลาย คงสภาพเดิมอยู่ไม่ได้

อนัตตา

จึงล้วนเป็น"อนัตตา"ม่มีตัวไม่มีตน ที่เป็นแก่น เป็นแกน อย่างถาวรและแท้จริง กล่าวคือ ตัวตนที่เห็นหรือผัสสะได้ด้วยอายตนะใดๆก็ดี  ล้วนเกิดแต่การที่มีเหตุต่างๆ มาเป็นปัจจัยปรุงแต่งกันขึ้นมา อันเป็นสภาวธรรม(ธรรมชาติ)  ตัวตนเกิดขึ้นขณะประชุมปรุงแต่งเป็นปัจจัยแก่กันและกัน เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันชั่วขณะๆหนึ่งเท่านั้นนั้น  สังขารทั้งปวง อุปมาดั่งเงา  เงาย่อมไม่มีตัวตนแท้จริง เกิดแต่เหตุคือแสงและวัตถุทึบแสง มาเป็นปัจจัยกันคือมากางกั้น พรั่งพร้อมด้วยพื้นผิวที่รับการตกกระทบของแสง จึงย่อมเกิดเงาขึ้นบนพื้นผิวนั้น เงานั้นหามีตัวตนแท้จริงไม่ เกิดมาแต่เหตุปัจจัยดังกล่าว  เมื่อไม่มีเหตุต่างๆดังกล่าวมาเป็นปัจจัยกัน ก็ย่อมดับไป  หรือดุจดั่งแสงแดด แว่นขยาย และเชื้อไฟ(ขยายความ),  แต่เมื่อเหตุปัจจัยหลากหลายต่างๆอันมาประชุมกันเหล่านั้น มีอันต้องแปรปรวน, เสื่อม และดับด้วยเหตุอันใด อันต้องเป็นเช่นนั้นเอง เพราะสิ่งเหล่านั้นเกิดแต่เหตุหลายๆเหตุมาประชุมรวมกัน ย่อมไม่ใช่สิ่งเดียวกันอย่างแท้จริงนั่นเอง  จึงเกิดแรงบีบคั้นกระทำให้คืนสู่สภาพเดิมโดยธรรมนั่นเอง,  สิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้น จึงต้องแปรปรวน เสื่อม และดับไปตามเหตุปัจจัยเหล่านั้นด้วย

       ดังนั้น แม้กระทั่งตัวตน,ของตน ที่แอบหลงแอบยึดมั่น,ถือมั่นตามความพึงพอใจของตัวของตนนั้น ก็ล้วนไม่ใช่ตน,ไม่ใช่ของตน ต้องแปรปรวน เสื่อม และดับไป ตามเหตุปัจจัยเช่นกัน

       เพราะต้องแปรปรวน เสื่อมและดับไปเป็นอาการธรรมดา ทําให้ไม่มีตัวตนที่เป็นแก่นแกนถาวรอย่างแท้จริง(อนัตตา)  จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เป็นทุกข์ถ้าไปอยากด้วยตัณหา หรือไปยึดด้วยอุปาทานความพึงพอใจของตัวของตน เพราะความที่ควบคุมบังคับให้เป็นไปตามปรารถนาไม่ได้อย่างจริงแท้แน่นอนนั่นเอง เพียงดูประหนึ่งสามารถควบคุมบังคับได้ในบางเหตุปัจจัยจนก่อให้เกิดความสมปรารถนา จึงก่อให้เกิดมายาจิตหลงคิด,หลงยึดว่าอยู่ภายใต้อํานาจ สามารถควบคุมบังคับได้  แต่แท้จริงแล้วไม่สามารถควบคุมได้อย่างจริงแท้แน่นอน, แต่ต้องแปรปรวนไปตามสภาวะธรรม(ชาติ)อย่างจริงแท้แน่นอน  อันล้วนเป็นไปตามสภาวธรรม(ธรรมชาติ)แท้ๆ  เหมือนดั่ง ตัวกู ยังไม่ใช่ของกู

ไตรลักษณ์  

นี้คือแก่นธรรมของพระไตรลักษณ์

 

ที่ควรหมั่นพิจารณา(ธรรมะวิจยะโดยการโยนิโสมนสิการ)   เพี่อให้บังเกิดปัญญาหรือญาณหยั่งรู้ ในความจริงว่า

สิ่งที่เรายึดมั่นถือมั่นทั้งสิ้นทั้งปวงนั้น ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ตลอดจนตัวตนของตน

ล้วนอยู่ภายใต้กฎพระไตรลักษณ์อันเป็นสภาวธรรม(ธรรมชาติ)อันยิ่งใหญ่ทั้งสิ้น

แก่นของอนัตตานั้นมิได้อยู่ที่มีตัวตนหรือไม่มีตัวตน,  แต่หมายถึงขั้นปรมัตถ์

ที่ตัวตนไม่เป็นแก่นแกนถาวรอย่างแท้จริง เหตุเพราะล้วนแล้วแต่เกิดจากเหตุปัจจัยที่มาปรุงแต่งกันทั้งสิ้น

ย่อมไม่สามารถควบคุมบังคับให้เป็นไปตามปรารถนา เพราะย่อมแปรปรวนไปตามเหล่าเหตุที่มาเป็นปัจจัยปรุงแต่งกัน

เมื่อรู้และสติรู้เท่าทันตามความเป็นจริงแห่งธรรมเช่นนี้ จนเกิดนิพพิทา

จึงไม่เป็นทุกข์ จากการไปอยากด้วยตัณหา หรือไปยึดด้วยอุปาทาน

ภาพวงจรปฏิจจสมุปบาทที่มีเหตุปัจจัยภายนอกเข้ากระทบ คลิกที่นี่

ภาพวงจรปฏิจจสมุปบาทแบบขยายความโดยพิศดาร คลิกที่นี่

แก่นธรรมที่ควรหมั่นพิจารณา(ธรรมะวิจยะโดยการโยนิโสมนสิการ)   เพี่อให้บังเกิดปัญญาหรือญาณหยั่งรู้ ในความจริงว่า

สิ่งที่เรายึดมั่นถือมั่นทั้งสิ้นทั้งปวงนั้น ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ตลอดจนตัวตนของตน

ล้วนอยู่ภายใต้กฎพระไตรลักษณ์อันเป็นสภาวธรรม(ธรรมชาติ)อันยิ่งใหญ่ทั้งสิ้น

แก่นของอนัตตานั้นมิได้อยู่ที่มีตัวตนหรือไม่มีตัวตน,  แต่หมายถึงขั้นปรมัตถ์

ที่ตัวตนไม่เป็นแก่นแกนถาวรอย่างแท้จริง เหตุเพราะล้วนแล้วแต่เกิดจากเหตุปัจจัยที่มาปรุงแต่งกันทั้งสิ้น

ย่อมไม่สามารถควบคุมบังคับให้เป็นไปตามปรารถนา เพราะย่อมแปรปรวนไปตามเหล่าเหตุที่มาเป็นปัจจัยปรุงแต่งกัน

เมื่อรู้และสติรู้เท่าทันตามความเป็นจริงแห่งธรรมเช่นนี้ จนเกิดนิพพิทา

จึงไม่เป็นทุกข์ จากการไปอยากด้วยตัณหา หรือไปยึดด้วยอุปาทาน

ภาพวงจรปฏิจจสมุปบาทที่มีเหตุปัจจัยภายนอกเข้ากระทบ คลิกที่นี่

ภาพวงจรปฏิจจสมุปบาทแบบขยายความโดยพิศดาร คลิกที่นี่

แก่นธรรม

ทุกข์ของขันธ์ ๕ ทั้งทางใจและกาย  อันเป็นสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของชีวิต  ยังคงมีอยู่เป็นธรรมดา

แต่เราปฏิบัติเพื่อไม่ให้เกิดทุกข์อุปาทานหรืออุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์อันเร่าร้อนเผาลน

กล่าวคือ

เหตุแห่งทุกข์นั้นมีอยู่ แต่ไม่มีผู้รับผลทุกข์นั้น

หรือ

เหตุแห่งทุกข์นั้นมีอยู่ แต่ทุกข์นั้นทําอะไรใจไม่ได้

จริงๆแล้วที่มนุษย์ทั้งหลายเป็นทุกข์กันอยู่ทุกๆขณะจิตก็คือ "ทุกข์อุปาทาน"นี้นั่นเอง

เพราะอวิชชาความไม่รู้ จึงจําแนกไม่ออก จึงถูกครอบงำทุกกาลสมัย

ปฏิจจสมุปบาท

กระบวนการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์

หาอ่านและปรับปรุงข้อธรรมที่เกิดขึ้นได้ใน

www.nkgen.com

nkgen.com

คําแนะนําในการใช้โฮมเพจ "ปฏิจจสมุปบาท"

ควรเปิดอ่านในคอมพิวเตอร์จะได้ประโยชน์กว่า  เพราะมือถือหรือTablet ภาพอาจจะเพี้ยนไป

คำที่มีเครื่องหมาย link  หรือขีดเส้นใต้   สามารถเอา cursor ไปชี้  หรืออาจคลิก ดูความหมายได้

เครื่องหมายที่ควรรู้      = คลิกดู "เมนู" ที่เม้าส์ขวาได้,       Magnify0b.gif = + ขยาย I - ย่ออักษร,       = คลิกดูขยายความได้

คลิกที่นี่ Banner ของโฮมเพจนี้

คลิกที่นี่ เพื่อแจ้งข้อบกพร่อง ข้อผิดพลาด

Ctrl + หมุนเม้าส์  เป็นวิธีขยายตัวอักษรให้ ใหญ่ หรือ เล็ก

ยินดีให้เผยแพร่ ส่วนหนึ่งส่วนใด ข้อเขียน ข้อความ ทั้งหลายทั้งปวง ในรูปแบบต่างๆได้ โดยไม่สงวนสิทธิใดๆทั้งสิ้น

เพราะย่อมยังประโยชน์แก่ผู้อ่าน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปฏิบัติ พระพุทธศาสนา และโลกเป็นที่สุด

 

 

สารบัญ

สารถึงนักปฏิบัติ

 

 

 

 

 

 

 

 Anti Spam

 

 

 

 

ขยายความเพิ่ม

เพื่อเข้าใจที่ถูกต้อง

ใน ปฏิจจสมุปบาท

สมาธิและฌาน

ขันธ์ ๕

เหตุปัจจัย ปฐมบทของธรรม

พระไตรลักษณ์