คลิกขวาเมนู |
มงคล ๓๘ ประการ หรืออุดมมงคล ธรรมที่นำมาซึ่งความสุขความเจริญ |
|
เมื่อมหาชนและผู้คนทั้งหลายพากันบูชาสิ่งเคารพของตนๆ
ดังได้กล่าวมาแล้ว
ต่างก็พากันบูชาด้วยของบูชาอันเลิศ พร้อมกระนั้นก็ขอความคุ้มครองรักษา บำบัดปัดเป่าขจัดทุกข์ภัยจากสิ่งเคารพของตน ซึ่งผลที่ตอบรับบางทีก็ได้บ้างไม่ได้บ้าง จนทำให้เป็นที่โจษจัน เคลือบแคลงระแวงสงสัยแก่มหาชนคนทั้งหลายว่า สิ่งเคารพอันใดกันแน่ ที่จัดว่าเป็นสิ่งเคารพที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ดีมีมงคล มหาชนทั้งหลายต่างฝ่ายต่างพากันถกเถียงกันอยู่เกลื่อนกล่นอลหม่าน ก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ ว่าอะไรคือสิ่งเคารพที่เป็นมงคลสูงสุด เหล่าเทวดาทูลถาม ท้าวสักกเทวราช "อะไรคือมงคล" จนร้อนถึงเทวดาชั้นกามาวจร อันได้แก่เทวดาที่สถิตอยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์ เมื่อได้สดับคำโจษขานของมนุษย์ที่อยู่ในความดูแลของตนๆ ก็พากันสอบถามกันและกันว่า "เอ...พวกมนุษย์เขาถามกันไปมาว่า อะไรคือสิ่งดีมีมงคลสูงสุด" "นั่นซิท่าน! อะไรล่ะ ข้าพเจ้าก็มิได้รู้เหมือนกัน" "ถ้าอย่างนั้นชาวเราทั้งหลาย พากันไปเฝ้ามหาเทพ เพื่อทูลถามปัญหานี้เถิด" เหล่าเทพเทวาทั้งหลาย ก็ได้พากันเข้าเฝ้ามหาเทพ ผู้เป็นใหญ่ในสรวงสวรรค์ พร้อมกับทูลถามปัญหาว่า อะไรเป็นมงคลสูงสุด องค์อินทราธิราชผู้เป็นใหญ่ในสรวงสวรรค์ เมื่อได้ทรงฟังปัญหา ของเหล่าเทพเทวาทั้งหลายดังนั้นแล้ว ก็วิเคราะห์ใคร่ครวญพิจารณาดู ก็หาได้รู้ไม่ สุดปัญญาที่จอมเทพไทจักแก้ไข ก็เลยตรัสขึ้นว่า เห็นทีปัญหานี้ จักต้องกราบทูลอาราธนาขอให้พระจอมบรมศาสดา ทรงเมตตาแก้ปัญหาในครั้งนี้ ด้วยเหตุที่ว่า พระองค์ทรงเป็นพระสัพพัญญู มิมีอะไรที่ไม่ทรงรู้ คิดดังนั้นแล้ว ก็ชวนเหล่าเทวดาทั้งหลายมาเฝ้าทูลถามปัญหา ณ เชตวันมหาวิหารอารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี ท้าวสักกเทวราชทูลถาม พระพุทธเจ้า ณ เชตวันมหาวิหารอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี |
พรพุทธเจ้าทรงแสดง มงคล ๓๘ ประการ |
พรพุทธเจ้าได้โปรดแสดงธรรม คือ มงคล ๓๘ ประการ
มงคลที่ ๑
มงคลที่
๒
มงคลที่
๓ |
มงคลที่ ๔
|
|||
|
มงคลที่ ๘
การรอบรู้ในศิลปะ
(มีศิลปะ)
มงคลที่ ๙
ความศึกษาวินัยดี
(มีวินัย)
บ้านที่มีวินัย
บุคคลผู้อยู่ร่วมกับสังคม พึงศึกษารู้จักกฎเกณฑ์กติกา
ระเบียบวินัย ของสังคมนั้นๆ เมื่อเข้าไปร่วมกับสังคมนั้นจะได้ไม่เก้อเขิน ไม่ประหม่า
ไม่พลาดพลั้งผิดต่อกติกานั้นๆ แม้แต่จักมิได้เข้าสังคมใดๆ ตัวเราก็จำต้องมีระเบียบวินัยเอาไว้กำกับกิริยา
อาการ กาย วาจา มิให้ผิดพลาด ฟุ้งซ่าน ต่อตน และคนอื่น จัดได้เป็นผู้กล้าแข็ง
เชื่อมั่นในตนเอง องอาจ มั่นคง เช่นนี้จึงจักถือว่าเป็นผู้มีชีวิตเป็นสาระรักษาและวินัยดี
มงคลที่ ๑๑
ความบำรุงมารดาและบิดา บุคคลใดหญิงชายที่เกิดมา ได้ปฏิบัติมารดา บิดาให้เป็นสุข จัดเป็นมงคลอันประเสริฐ ถามว่า คนอย่างไรเรียกว่า บิดา มารดา ก็คือหญิงใดเป็นที่อาศัยแห่งสัตว์ให้บังเกิด หรือยังให้สัตว์เหล่านั้นให้เจริญขึ้น หญิงนั้นเรียกว่ามารดา ชายใดยังสัตว์ให้บังเกิดหรือยังให้สัตว์ให้เจริญขึ้น ชายนั้นชื่อว่าบิดา ดูแลบิดา มารดา ด้วยการนวดขาและป้อนข้าว
|
มงคลที่ ๑๒
ความสงเคราะห์แก่บุตรหญิงชาย ได้รับการฝึกฝนทางธรรมด้วยการบวช
ได้รับการศึกษา
มารดาเฝ้าดูแลบุตรยามเมื่อเด็ก
เป็นคนรับผิดชอบการงาน |
|
มงคลที่ ๑๔
การงานไม่อากูล (ทำงานไม่คั่งค้าง) คนสร้างบ้านให้สำเร็จลุล่วง
คนเล่นการพนัน คนเอาแต่นอน คนทำงานคั่งค้าง |
|
มงคลที่ ๑๕
ความให้ทาน
ทำบุญใส่บาตร ปล่อยนก ปล่อยปลา เลี้ยงดูบ้านเด็กกำพร้า |
|
มงคลที่ ๑๙
ความงดเว้นจากบาป
คนขโมยเสื้อผ้า คนตกปลา ตำรวจจับเข้าคุก การเดินหนีจากการทำบาป |
**
|
โทษของการดื่มน้ำเมามี ๖
ประการ
๑. ทำให้เสื่อมทรัพย์
๒. ทำให้เกิดความทะเลาะวิวาท ทุบตี
ฆ่าฟันกันตาย
๓. กินสุราทำให้เกิดโรคต่างๆ ตับแข็ง เป็นต้น
๔. ไม่รู้จักอาย
นอนไหนก็นอนได้ดังเดรัจฉาน
๕. มีผู้ติเตียนนินทาด้วยกิริยาอันหยาบ
๖.
เป็นคนโง่เขลาไม่มีปัญญา ขาดสติ
เมื่อบุคคลผู้หวังความเจริญแก่ตนเอง
พิจารณาเห็นโทษภัยของน้ำเมาดังกล่าวแล้ว ควรจักสำรวมระวัง อย่าปล่อยให้น้ำเมาและสิ่งเสพติดทั้งปวง
เข้ามาบั่นทอนชีวิต จิตวิญญาณและความเจริญในตน
มงคลที่ ๒๒
ความเคารพกราบไหว้
แสดงความเคารพพระบรมสารีริกธาตุ |
|
มงคลที่ ๒๓
ความเจียมตัว ไม่จองหอง
ใช้อำนาจข่มเหงรังแกผู้ที่ขวางทางเดิน |
|
มงคลที่ ๒๔
ความยินดีด้วยของอันมีอยู่ มีของกินมากมายแต่จะหากินอีก ทำนา ประกอบอาชีพกสิกรรม พออยู่พอกิน บุคคลมายินดีในสิ่งที่มีและตนทำได้ โดยมิใช่ปล่อยอะไรให้เลื่อนลอยไปตามยถากรรม เกียจคร้านหลังยาว ขาดความเพียร เช่นนี้ไม่ถือว่ายินดีในสิ่งที่ตนมีอยู่ ตัวอย่างเช่น มักจักมีผู้เข้าใจผิดแล้วอ้างว่าความยินดีในสิ่งที่ตนมีตนได้คือ มีมาอย่างไร ก็พอใจยินดีแค่นั้น รู้แค่ไหน ก็รู้แค่นั้น เคยเป็นอยู่อย่างไร ก็จักเป็นอยู่อย่างนั้น เข้าใจอย่างนี้ก็มิได้ถูกทั้งหมด ถ้าผู้มีปัญญาเขาแย้งขึ้นมาว่า ตอนท่านออกมาจากท้องแม่ แก้ผ้ามาแล้วทำไมทุกวันนี้ ไม่แก้ผ้าเดินตามถนน แก้ผ้าเข้าสังคมเล่า เพราะฉะนั้นบางอย่างมองอะไรไปในทางไม่เจริญย่ำอยู่กับที่ไม่ก้าวหน้า ความหมายของความยินดีด้วยของอันมีอยู่ ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่าด้วยของ แล้วของนั้นจะมาจากไหน ถ้าท่านไม่แสวงหามา หรือใครจัดหาให้ท่านมา โดยเนื้อแท้แล้ว ท่านหมายถึงว่า ให้ทุกคนลงไม้ลงมือกระทำให้เต็มความรู้ ความสามารถของตนเสียก่อน เมื่อทำจนเต็มที่อย่างสุดความรู้ความสามารถแล้ว มันได้มาเท่าไร ค่อยยินดีพอใจในสิ่งนั้น เพราะถ้าขืนไม่พอใจยินดีแค่นี้ ตนก็จะเป็นทุกข์ เราจะเห็นว่าของทุกอย่างที่ได้มาก ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาเล่าเรียน ความรู้ ความสามารถ เครื่องนุ่งห่ม ทรัพย์สมบัติ ที่อยู่อาศัย หรือแม้แต่ยารักษาโรค เราได้มาด้วยความเพียรพยายาม ทำได้มาทั้งนั้น ท่านสอนให้เรามีความเพียรใช้ศักยภาพและใจนี้ให้ได้ประโยชน์สูงสุดและประหยัดสุด โดยมิให้ทะเยอทะยานอยากจนเกินเหตุ |
แม้ว่าชีวิตประจำวัน จะสับสนว้าวุ่นเพียงใด
แต่เมื่อถึงกาลสมัยที่ฟังธรรมก็ต้องให้เวลากับกาลนั้นด้วย อย่างน้อยธรรมนั้นก็อาจจะช่วยชำระล้างมลทินภายในใจ
และช่วยผ่อนความตึงเครียด สับสนของชีวิตให้ลดลง ทั้งนี้ท่านต้องฟังด้วยความตั้งใจ
จดจ่อใคร่ครวญพิจารณาในธรรมที่ฟังนั้นๆ ท่านก็จะได้ประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย
เพราะธรรมแปลว่า ธรรมชาติเครื่องฟอกจิต ชำระจิต ถ้าท่านคิดว่าอาหารและน้ำ
จำเป็นต่อร่างกายฉันใด ธรรมะก็จำเป็นต่อจิตใจฉันนั้น ร่างกายที่ขาดน้ำและอาหารเป็นร่างกายที่อยู่ไม่ได้ฉันใด
ใจนี้ขาดธรรมก็อยู่ดีไม่ได้ฉันนั้น สำหรับประโยชน์ของการฟังธรรมนั้นมีมากมาย
ตัวอย่างเช่น
๑. ธรรมอันใดที่ตนยังไม่เคยฟังก็จะได้ฟัง
๒.
ธรรมที่ตนได้เคยฟังแล้ว มาได้ฟังเข้าอีกก็มีปัญญารู้แจ้ง รู้ชัดในธรรมนั้นมากขึ้น
๓.
มีความสงสัยครั้งมาฟังธรรมก็สิ้นความสงสัยเสียได้
๔. จะทำความเห็นให้ตรงถูกต้องต่อพระศาสนา
๕.
จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส เบิกบาน
ยังอานิสงส์ในการฟังธรรมมีอีก
๕ ประการคือ
๑. ยังพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองเจริญไปภายหน้า
๒. ตายแล้วจะไปสู่สุคติคือมนุษย์และสวรรค์
๓.
จะได้ตรัสรู้ซึ่งมรรคและผล
๔. จะทำให้เกิดเป็นนิสัยแก่ผู้ฟังทั้งมนุษย์และเทวดาและสัตว์เดรัจฉาน
๕.
ฟังแล้วทำให้เกิดปัญญา รู้ตื่นและเบิกบาน
มงคลที่ ๒๗
ความอดทน อดทนต่อการทำมาหากิน
เกี่ยงกันซ่อมเรือไม่อดทนต่อความยากลำบาก |
มงคลที่ ๒๘
ความเป็นผู้ว่าง่าย
ยอมไปโรงเรียนโดยดี
หนีโรงเรียน มั่วสุม เกเร |
|
เมื่อครั้งพระศาสดาได้ปัญจวัคคีย์ทั้ง
๕ เป็นพระสาวก แล้วส่งไปประกาศพระศาสนานั้น พระอัสสชิก็เป็นพระอรหันต์สาวกรูปหนึ่ง
ได้จาริกไปตามคามนิคมชนบท แล้วออกบิณฑบาตโปรดสัตว์อยู่นั้น พระสารีบุตรซึ่งยังครองเพศเป็นพราหมณ์อยู่
ได้เห็นกิริยาอันละเมียดละไม สง่างามดังกวางทองเยื้องย่างปานนั้น ก็ทำให้เกิดศรัทธา
เข้าไปน้อมกราบแล้วถามขึ้นว่า ท่านเป็นสาวกของใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน แล้วศาสดาของท่านสอนว่าอย่างไร
ท่านจะเห็นได้ว่า
พระสารีบุตรซึ่งยังไม่ได้นับถือศาสนาพุทธเลย แค่เพียงเห็นพระอัสสชิออกเดินบิณฑบาตโปรดสัตว์เท่านั้นเอง
ทำให้เกิดความเลื่อมใส ยอมตนก้มลงน้อมกราบแทบเท้าของพระอัสสชิ เพียงเพื่อต้องการรู้ว่าใครเป็นผู้สั่งสอน
จึงทำให้พระอัสสชิช่างมีกิริยาอาการละเมียดละไม สง่างาม มั่นคง เสียเหลือเกิน
ประโยชน์ของการได้เห็นสมณะผู้สงบ
ทำให้จิตของผู้พบเห็นมีจิตสงบ
- เกิดศรัทธาที่บริสุทธิ์
- กิเลสไม่กำเริบ
-
เกิดวิชาความรู้
มงคลที่ ๓๐
ความเจรจาธรรมตามกาล
หมั่นศึกษาธรรมะ พบปะสนทนาธรรม
สนทนาธรรมผิดกาล |
|
การพูดถึงธรรม ดูน่าจะดีทุกกาล
ในข้อนี้ท่านหมายถึงผู้พูดและผู้ฟัง จะต้องมีใจเห็นพ้องกันว่าควรจะพูดและควรจะฟังในเวลานี้
แต่ถ้าพูดถึงเรื่องธรรมในเวลาที่ผัวเมียกำลังเสพกาม เสพเครื่องดองของเมา หรือบริโภคอาหาร
เช่นนี้ผู้พูดและผู้ฟังอาจจะต้องเกิดทะเลาะกันก็ได้ เพราะพูดไม่ถูกกาลเทศะ
บริษัททั้ง
๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้ง ๔ นี้มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
ได้เล่าเรียนศึกษาพระธรรมและพระวินัยที่พระศาสดาทรงบัญญัติไว้ เมื่อเล่าเรียนศึกษาได้แล้ว
มีข้อข้องใจสงสัย ก็จำข้อสงสัยนั้นมานั่งสนทนากัน สอบถามกันในเวลาประชุมหรือในเวลาพบปะท่านผู้รู้
เพื่อช่วยแก่ข้อสงสัยนั้นให้กระจ่าง ในส่วนที่รู้แล้วก็จะยิ่งทำให้รู้ชัดไม่หลงลืม
เรียกว่าทำให้มั่นยิ่งขึ้น สำหรับผู้ที่ไม่รู้เลย เมื่อได้มาร่วมรับฟังการเจรจาธรรมนั้น
ผู้ที่ไม่รู้นั้นก็จะได้รู้ตาม ถือได้ว่าเป็นการเผยแผ่ธรรม กระจายธรรมไปในตัวด้วย
บุคคลใดมีความเพียรสำรวมระวังรักษาซึ่งอินทรีย์เป็นต้น
กำจัดเสียซึ่งอกุศล คือ ราคะ โทสะ โมหะ อวิชชา ตัณหา มานะ ทิฏฐิ อุปาทาน ให้หมดน้อยถอยจากสันดานจัดเป็นมงคลอันประเสริฐ
ความเพียรที่จะละกิเลสดังต่อไปนี้
๑.
สำรวมรักษาอินทรีย์ทั้ง ๖ ให้บริบูรณ์
๒. การรักษาศีล ๕ ไม่โหดร้าย ไม่มือไว
ไม่ใจเร็ว ไม่พูดปด ไม่หมดสติ
๓. การรักษาศีลในวันโกน วันพระ
๔. ขันติความอดใจที่จะไม่โกรธไม่พยาบาทอาฆาตจองเวรแก่สัตว์
ยังกิเลสให้เร่าร้อน
๕. ปาติโมกข์สังวร สำรวมระวังในพระปาติโมกข์
๖.
ความเห็นซึ่งมรรคด้วยอำนาจแห่งปัญญา ความรู้อริยสัจ ๔
๗. มีความยินดีรักษาซึ่งธุดงควัตร
เป็นข้อปฏิบัติของบรรพชิต
๘. มีความยินดีเจริญพระกัมมัฏฐานสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา
๙.
ความทำนิพพานให้แจ้ง
มงคลที่ ๓๒
ความประพฤติอย่างพรหม
ประพฤติอย่างพรหม
ผู้ไม่ประพฤติอย่างพรหม |
|
ท่านให้เห็นอริยสัจ มิใช่ให้เป็นโดยการท่องจำ
แต่ให้เห็นโดยปัญญารู้แจ้งตามสภาพความเป็นจริง ในสภาพแวดล้อมในปัจจุบันว่า
ทุกชีวิตของสรรพสัตว์ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่และแตกสลายไป
หรือจะมีปัญญาแยบคายมาก สามารถเห็นตามหลักอริยสัจ ๔ ก็ได้ เช่นเห็นว่า
ชีวิตนี้เป็นทุกข์ อันมีมาแต่เหตุ ถ้าจะดับทุกข์ก็ต้องดับที่เหตุ โดยมีข้อปฏิบัติให้ทุกข์นั้นดับ
มีอยู่คือ มรรค ๘ ประการ เช่นนี้เรียกว่าเห็นอริยสัจ ๔
มงคลที่ ๓๔
ความทำพระนิพพานให้แจ้ง บุคคลมาเจริญวิถีแห่งนิพพาน ได้แก่ มีความเพียร เจริญสติ เป็นสมาธิ เกิดปัญญา พิจารณาสภาวะธรรม ทั้งนอกกาย ในกาย ให้รู้เห็นตามความเป็นจริง จนเกิดความเบื่อหน่าย คลายความยึดถือทั้งนอกกายในกายละเสียได้ซึ่ง โทสะ โมหะ ความยินดียินร้าย มีจิตอันไม่เศร้าหมองแล้ว บุคคลนั้นย่อมลุถึงความดับและเย็นแห่งชาติภพเสียได้ เช่นนี้จึงกล่าวได้ว่าเป็นผู้ทำนิพพานให้แจ้ง
มงคลที่ ๓๕
จิตของผู้ใด อันโลกธรรมถูกต้องแล้วไม่หวั่นไหว โลกธรรม ๘ ประการ เป็นเครื่องผูกสัตว์ทั้งหลายให้ข้องอยู่ในโลก จนต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักจบ โลกธรรมทั้ง ๘ คือ ๑. มีลาภ ๒. เสื่อมลาภ ๓. มียศ ๔. เสื่อมยศ ๕. มีสรรเสริญ ๖. มีนินทา ๗. มีความสุข ๘. มีทุกข์ คนต้องการสรรเสริญ ประจบสอพลอ คนอยากได้อยากมีทอง มีเสื้อผ้า คนขออาจารย์ใบ้หวย ขูดหาเลขที่ต้นไม้ คนร่อนทองในแม่น้ำ จิตอันโลกธรรมถูกต้องแล้วไม่หวั่นไหว คือจิตที่ต้องมีความเพียร มีสติ เกิดสมาธิ ปรากฎปัญญา เห็นตามความเป็นจริงว่า ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มันมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วแปรปรวน ดับไปเป็นธรรมดา ไม่มีอะไรคงที่ อยู่ถาวรตลอดกาล เมื่อมีปัญญาพิจารณาเห็นสภาพตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมไม่มัวเมา หลงยึดถือ สลัดหลุดจากเครื่องพันธนาการร้อยรัดทั้งปวง |
|||
|
|||
จบบริบูรณ์ |
|||
|
|||
ขอขอบคุณข้อมูลข้างต้นจาก มงคล ๓๘ ประการ จาก http://www.buddharam.se/thai/text/tree/tree5.htm ภาพจิตรกรรมข้างต้นโดย
กาพย์แก้ว สุวรรณกูฏ และทีมงาน |
|||
|
มงคลสูตรในขุททกปาฐะ
(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต)
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ครั้นปฐมยามล่วงไป
เทวดาตนหนึ่งมีรัศมีงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย
ขอพระองค์จงตรัสอุดมมงคล พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาตอบว่า
การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วในกาลก่อน ๑ การตั้งตนไว้ชอบ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
พาหุสัจจะ ๑ ศิลป ๑ วินัยทีศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาสุภาสิต ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
การบำรุงมารดาบิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑ การงานอันไม่อากูล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
ทาน ๑ การประพฤติธรรม ๑ การสงเคราะห์ญาติ ๑ กรรมอันไม่มีโทษ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
การงดการเว้นจากบาป ๑ ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑ ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
ความเคารพ ๑ ความประพฤติถ่อมตน ๑ ความสันโดษ ๑ ความกตัญญู ๑ การฟังธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ การได้เห็นสมณะทั้งหลาย ๑ การสนทนาธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
ความเพียร ๑ พรหมจรรย์ ๑ การเห็นอริยสัจ ๑ การกระทำนิพพานให้แจ้ง ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ๑ ไม่เศร้าโศก ๑ ปราศจากธุลี ๑ เป็นจิตเกษม ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ทำมงคลเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่ปราชัยในข้าศึกทุกหมู่เหล่า
ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน นี้เป็นอุดมมงคลของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ฯ