พระประวัติตรัสเล่า(๗)
Reminiscences (7)
๗. สมัยทรงรับสมณศักดิ์
พระองค์เจ้าเช่น แรกทรงกรม เป็นกรมหมื่นก่อน เว้นบางพระองค์ ผู้รับเมื่อพระชนมายุมากแล้ว เป็นกรมหลวงบ้างเป็นกรมขุนบ้างทีเดียว เจ้าฟ้าและพระองค์เจ้าแรกรับสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ทรงถือพัดยศเป็นพิเศษ ทรงตำแหน่งต่างๆ ตามคราว มาในรัชชกาลที่ ๒ สมเด็จพระมหาสมณะ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ดูเหมือนทรงรับสมณศักดิ์ เป้นพระราชาคระครองวัดพระเชตุพน แทนสมเด็จพระวันรัตพระอาจารย์มาก่อนแล้ว จึงทรงกรมเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรสศรีสุคตขัตติยวงศ์ ทรงถือพัดยศอย่างไรหาทราบไม่ ในรัชชกาลที่ ๓ ทรงบัญชาการคณะกลาง ในรัชชกาลที่ ๔ ทรงรับมหาสมณุตมาภิเษกเป็นประธานแห่งสังฆมณฑลทั่วพระราชอาณาจักร ทรงถือพัดแฉกพื้นตาดเหลืองเดิมไม่ได้ครองวัด ภายหลังครองวัดบวรนิเวศวิหาร ตามเสด็จพระอุปัชฌายะทรงเล่า เดิมดูเหมือนไม่ได้เทียบชั้น ภายหลังทรงขอพระราชทานตั้งฐานานุกรมชั้นนั้นบ้างชั้นนี้บ้าง เป็นอันเทียบชั้นเข้าได้ ตั้งแต่ชั้นธรรมขึ้นมา เมื่อครั้งลาผนวชเทียบชั้นเจ้าคณะรอง พระองค์เจ้าอำไพในรัชชกาลที่ ๒ ไม่ได้ทรงกรม เป็นแต่พระราชาคณะ ในรัชชกาลที่ ๓ เสด็จพระอุปัชฌายะทรงเล่าว่า ทรงถือพัดงาใบอย่างพะด้ามจิ้ว เป็นฝ่ายพระสมถะครองวัดอรุณราชวราราม เสด็จพระอุปัชฌายะครั้งรัชชกาลที่ ๓ ทรงเป็นพระราชาคณะทรงถือพัดแฉกถมปัด ไม่ได้ทรงครองวัดครั้งรัชชกาลที่ ๔ จึงได้ทรงกรม เป็นกรมหมื่นบวรรังสีสุริยพันธุ์ ทรงถือพัดแฉกพื้นตาด ที่ทูลกระหม่อมทรงมาเดิมและทรงถือพัดแฉกงานเป็นพิเศษ ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเจ้าคณะรรมยุตติกนิกาย เมื่อครั้งเรารับกรมและสมณศักดิ์ยังไม่ได้ทรงรับมหาสมณุตมาภิเษก เป็นแต่เลื่อนกรมเป็นกรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ พระองค์เจ้าประถมวงศ์ ในกรมพระราชวังหลัง หาได้ทรงสมณศักดิ์ไม่ หม่อมเจ้าแรกเป็นพระราชาคณะ ถือพัดยศสุดแต่จะได้รับพระราชทาน แฉกถมปัดบ้างก็มี แฉกพื้นแพรปักก็มี แฉกพื้นโหมดสลับตาดก็มี แฉกพื้นตาดสีก็มี พัดงาน ใบพัดด้ามจิ้วก็มี ในเวลาเรารับสมณศักดิ์หม่อมเจ้าพระราชาคณะ มีตำแหน่งเพียงชั้นเจ้าอาวาสยังไม่ได้เป็นเจ้าคณะ ท่านผู้เป็นพระราชาคณะก่อนเรา ๖ องค์ คือ หม่อมเจ้าพระศีลวราลังการ (สอน) ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา ครองวัดชนะสงคราม ถึงชีพิตักษัยก่อนเราบวช ๑ หม่อมเจ้าพระญาณวราภรณ์ (รอง) ในกรมหลวงพิเศษสรีสวัสดิ์ ครองวัดบพิตรพิมุข ถึงชีพิตักษัยก่อนเราบวช ๑ หม่อมเจ้าพระสังวรวรประสาธน์ (เล็ก) ในกรมหมื่นนราเทเวศวังหลัง ครองวัดอมรินทราราม ๑ หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) ในกรมหลวงเสนีบริรักษ์ วังหลัง ครั้งนั้นยังเป็นหม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันธน์ ครองวัดระฆังโฆษิตาราม ๑ หม่อมเจ้าพระธรรมมุณหิสธาดา (สีขเรศ) ในกรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ อยู่วัดบวรนิเวศวิหาร ๑ พระองค์เจ้าอรุณนิภาคุณากร ครั้งยังเป็นหม่อมเจ้าสมญานั้น ในกรมหมื่นภูมินทรภักดี ครองวัดราบพิธ ๑ เราโปรดให้เป็นกรมหมื่น มีสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคระรองแห่งคณะธรรมยุตติกนิกาย
|
เมื่อทรงดำรงพระอริสริยยศเป็นกรมหลวง |
อนึ่ง ในคราวที่เราจะรับกรมและสมณศักด์นั้น จะทรงตั้งหม่อมเจ้าพระประภากรบาเรียน ๕ ประโยค ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมกระยาบำราบปรปักษ์ เป็นพระราชาคณะด้วย วันเวลารับกรมในครั้งนั้น เป็นธุระของเจ้า งานจะกำหนดถวายทรงอนุมัติแล้วเป็นใช้ได้ ส่วนวันเวลาที่เราจะรับกรม เสด็จพระอุปัชฌายะน่าจะทรงกำหนดประทาน แต่ตรัสสั่งให้เราไปทูลขอสมเด็จเจ้าฟ้าพระยาบำราบปรปักษ์ ท่านทรงกำหนดพ้องวันแต่เหลื่อมเวลากับฤกษ์จุดเทียนชัยพระราชพิธีตรุษ ตกในวันพฤหัสบดี เดือน ๔ แรม ๑๒ ค่ำ ปีมะเส็งตรีศก จุลศักราช ๑๒๔๓ ตรงวันที่ ๑๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๒๔ เวลาเช้า ๔ โมง เศษเท่าไรจำไม่ได้ บางทีเสด็จพระอุปัชฌายะจะทรงต้องการวันนั้น แต่พ้องพระราชพิธีตรุษ ไม่อาจทรงกำหนดลง จึงตรัสให้ไปทูลขอสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ฝ่ายท่านข้างโน้น จะกำหนดวันอื่นก็เสียภูมินักรู้ในทางพยากรณศาสตร์ จึงกำหนดลงในวันนั้นกระมัง เมื่อท่านทรงจัดมาในทางราชการเช่นนั้น ก็จำต้องรับในวันนั้น แต่เราไม่พอใจเลย เราไม่ถือฤกษ์ชอบแต่ความสะดวก ทำงานออกหน้าทั้งที มาพ้องกับพิธีหลวงเข้าเช่นนั้น จะนิมนต์พระก็ไม่ได้ตามปรารถนาผู้มีแก่ใจจะมาช่วยก็ไม่ถนัด ตกลงต้องจัดงานให้เข้ารูปนั้น วันสวดมนต์จะนิมนต์พระราชาคณะผู้ใหญ่ก็คงให้พระมาแทนทั้งนั้น พอเหมาะที่เสด็จพระอุปัชฌายะประทานผ้าไตร และเครื่องบริกขาร ๑๐ สำรับ เพื่อถวายพระสงฆ์ ยายเตรียมไว้ให้เราแล้ว จึงจัดพระสวดมนต์ขึ้นอีกสำรับหนึ่ง นิมนต์ตามชอบใจ เลือกเอาพระศิษย์หลวงเดิมของทูลกระหม่อมที่เป็นชั้นผู้น้อยรุ่งขึ้นเลี้ยงแต่เช้า ถวายบริกขารแล้ว เปิดให้กลับไป นิมนต์พระราชาคณะผู้ใหญ่นั่งฉะเพาะในเวลารับกรม อีก ๑๐ รูป แล้วเลี้ยงเพล ก่อนหน้าวันรับกรม มีทำบุญที่พระปั้นหย่าโดยฐานขึ้นตำหนัก วันหนึ่ง ในการรับกรม ตั้งพระแท่นมณฑลในพระอุโบสถหน้าที่บูชาสำหรับวัดออกมา หาได้ผูกพระแสงต่างๆ ที่เสาไม่ ประดิษฐานพระชัยวัฒน์ประจำรัชชกาลที่ ๔ เชิญพระสุพรรณบัฏที่จารึกไว้ก่อนแล้วมาตั้งบนนั้นด้วย วันสวดมนต์ล้นเกล้าฯ เสด็จมาช่วยเป็นส่วนพระองค์ด้วย วันสรงและรับพระสุพรรณบัฏ พอจุดเทียนชัยข้างพระราชพิธีตรุษแล้ว โปรดให้เอารถหลวงรับพระราชคณะผู้ใหญ่มาส่งที่วัดล่วงหน้าแล้ว เสด็จพระราชดำเนินมาวัด ทรงเครื่องนมัสการแล้วทรงประเคนไตรแพร ตามแบบควรจะเป็นไตรพิเศษ เราก็ได้เคยรับพระราชทาน เมื่อครั้งแปลหนังสือเป็นบาเรียน แต่ครั้งนี้เป็นไตรเกณฑ์จ่าย ออกมาผลัดผ้าครองสบงและอังสะ ขึ้นพระแท่นสรงแต่เราองค์เดียว เราสรงก่อน มีประโคม แล้วล้นเกล้าฯ พระราชทานน้ำพระพุทธมนต์ด้วยพระเต้าและพระมหาสังข์ทักษิณาวัตน์ทรงรดเพียงที่ไหล่ ต่อนั้นพระสงฆ์พระบรมวงศ์และเสนาบดีรดหรือถวายน้ำโดยลำดับ ฝ่ายพระเสด็จพระอุปัชฌายะสมเด็จพระวันรัต สมเด็จพระสังฆราช และเจ้าคุณพรหมมุนีแทนเจ้าคุณอาจารย์ผู้กำลังอาพาธ พระบรมวงศ์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลเสด็จอาว์ และเจ้าพี่ฝ่ายหน้าทุกพระองค์บันดาที่เสด็จมาในเวลานั้น เสนาบดีทุกท่านบันดามา สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ อยู่ที่เมืองราชบุรีหาได้ไม่ แต่เมื่อผนวชได้ไปถวายบริกขารที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เราสรงแล้วครองไตรใหม่ มานั่งบนอาสน์ในพระอุโบสถหม่อมเจ้าประภากรก็เหมือนกัน ชุมนุมพระบรมวงศานุวงศ์ข้าทูลละอองธุลีพระบาท โปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) เจ้ากรมพระอาลักษณ์อ่านประกาศดำเนินกระแสพระบรมราชโองการทรงสถาปนาเราเป็น กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เท้าความถึงเราได้รับราชการมาอย่างไร ทรงเห็นความดีและความสามารถของเราอย่างไร ถ้าอยู่ทำราชการ จะเป็นเหตุให้วางพระราชหฤทัยได้ ปรารภถึงพระราชปฏิญญาที่พระราชทานไว้แก่เรา ว่าบวชได้ ๓ พรรษา จะทรงตั้งเป็นต่างกรม บัดนี้ก็ถึงกำหนด แม้อายุยังน้อยอยู่ แต่ได้แปลหนังสือเป็นบาเรียน ได้ทรงเห็นปรีชาสามารถประกอบกับความรู้ทางโลก ทรงหวังพระราชหฤทัยว่า จะเป็นหลักในพระพุทธศาสนาต่อไปข้างหน้าได้ จึงทรงตั้งเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมยกย่องขึ้นไว้ในบัดนี้
|
ทรงฉายร่วมกับพระเถรรานุเถระ หน้าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร |
ครั้นอ่านประกาศจบแล้ว มีประโคม ล้นเกล้าฯ พระราชทานพระสุพรรณบัฏ สัญญาบัตรตั้งเจ้ากรมปลัดกรมสมุหบาญชีไป ๑ สัญญาบัตร ตั้งฐานานุกรม ๘ รูป ๑ สัญญาบัตร พระครูปลัด ๑ พัดแฉกพื้นตาดขาวสลับเหลือง มีตราพระมหามงกุฎเป็นใจกลางหมายรัชชกาล เทียบหีบหมากเสวยลงยาราชาวดีเครื่องยศเจ้านายยอดเป็นพระเกี้ยวยอด พัดรองตราพระเกี้ยวยอดด้ามงาสำหรับพระราชาคณะ ๑ บาตรถุงเข็มขาบ ฝาเชิงประดับดับมุก ๑ ย่ามหักทองขวาง ๑ ย่ามเยียรบับ ๑ เครื่องยศถมปัดสำหรับใหญ่ ๑ สำรับ พระราชทานสัญญาบัตรทรงตั้งหม่อมเจ้าพระประภากร เป็นหม่อมเจ้าพระราชาคระมีสมญาขึ้นต้นอย่างนั้น แต่มีสร้อยว่า หม่อมเจ้าพระประภากรบวรวิสุทธิวงศ์ ได้รับพระราชทานพัดแฉกพื้นตาดสี มีตราครุฑประจำรัชชกาลที่ ๒ เป็นใจกลาง และเครื่องยศสำหรับพระราชาคณะ ต่างกรมใหม่ผู้เป็นคฤหัสถ์ทูลเกล้า ถวายดอกไม่ธูปเทียน และต้นไม่ทองเงินแด่ในหลวง และกรมพระวังบวรสถานมงคล ถวายดอกไม้ธูปเทียนแด่เจ้านายผู้เจริญพระชนมายุกว่า แต่ต่างกรมพระไม่ได้ถวายอย่างนั้น เรายักถวายเป็นชิ้นสำหรับประดับดอกไม้จั้งกลางโต๊ะที่ถวายล้านเกล้าฯ ทรงจบพระหัตถ์บูชาพระพุทธชินสีห์ เจ้านายถวายแต่ของแจกครั้งนั้นยังแจกของมีราคามาก แจกตามชั้นพอเสร็จพิธีรับกรมก็พอเพล ล้นเกล้าฯ ทรงประเคนสำรับเจ้าภาพ และเสด็จประทับอยู่ตลอดเวลาพระฉันและอนุโมทนาธรรมเนียมรับกรมที่อื่น เลี้ยงพระเสียก่อนเป็นแต่อนุโมทนาหน้าพระที่นั่ง เสด็จกลับแล้ว มีเวียนเทียนสมโภชพระสุพรรณบัฏแล้วเป็นเสร็จการ ต่อมาอีกวันหนึ่ง มีทำบุญพระบรมอัฐิทุกรัชชกาล ตามรับสั่งแนะนำของเสด็จพระอุปัชฌายะมีเลี้ยงพระเทศนาและสดับปกรณ์ เราพอใจจะบ่นถึงฤกษ์รับกรมเพิ่มอีก นอกจากไม่สะดวกดังกล่าวแล้ว เผอิญเมื่อวันสวดมนต์ เจ้าคุณอาจารย์ผู้อาพาธเสาะแสะมานั้น อาพาธเป็นธาตุเสียท้องร่วง มาในงานไม่ได้ ไม่ได้รดน้ำในเวลาสรง และไม่ได้อยู่ในเวลาตั้ง ขาดท่านผู้สำคัญไปรูปหนึ่งเมื่อวันรับกรม ยายผู้มาดูการโรงครัวอยู่หน้าวัด เจ็บเป็นลมแต่เดชะบุญ เป็นเมื่อรับเสด็จและเสด็จกลับแล้ว ถ้าเลือกวันรุกเข้ามาจากนั้น แม้ดีไม่ถึงวันนั้นเจ้าคุณอาจารย์คงจักมาได้ ได้อาจารย์มาเข้าในพิธีเราถือว่าเป็นมงคลกว่าทำในวันฤกษ์งาม แต่ขาดท่านผู้สำคัญไปอย่างนี้ ฝ่ายยายนั้นเป็นลมเพราะทำธุระมากกระมัง เลื่อนวันเข้ามาจักคุ้มได้หรือไม่ หารู้ไม่
|
ทรงฉาย ณ วัดสมุหประดิษฐ์ จังหวัดสระบุรี เมื่อคราวเสด็จตรวจการคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๕๗ |
เราเป็นกรม ในครั้งนั้น เป็นที่ถูกใจของคนทุกเหล่า ในฝ่ายพระวงศ์ตั้งแต่ล้นเกล้าฯ ลงมา ในฝ่ายพระสงฆ์ตั้งแต่เสด็จพะรอุปัชฌายะลงมา และพวกข้าราชการตลอดถึงคนสามัญ ต่างเรียกเรา ด้วยไม่ได้นัดหมาย แต่มาร่วมกันเข้าว่า กรมหมื่น หาได้ออกชื่อไม่ เจ้าพี่เป็นกรมหมื่นก็มี แต่หาได้เรียกอย่างนี้ไม่ ภายหลังรู้ว่า กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ครั้งรัชชกาลที่ ๑ เขาก็เรียกกันว่ากรมหมื่น ในเวลาแรกตั้งแต่แผ่นดินใหม่ ต่างกรมเป็นกรมหมื่น มีแต่กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์องค์เดียว เขาจึงเรียกว่ากรมหมื่น ไม่ออกพระนามกระมัง ในฝ่ายพระ ทั้งผู้ใหญ่ ผู้น้อย ผู้เป็นศิษย์หลวงเดิมของทูลกระหม่อม มีความนิยมยินดีในเราโดยมาก สมปรารถนาที่ได้เราไว้สืบพระศาสนา ในพวกท่านผู้นิยมยินดีในเรานอกจากอุปัชฌายะอาจารย์สมเด็จพระวันรัต (พุทธสิริ) เป็นผู้เอาใจใส่ในเรา และเอาเป็นธุระแก่เราเป็นอันมาก ตั้งแต่ยังไม่ได้เป็นต่างกรมมาแล้ว เวลาเราอยู่วัดมกุฏกษัตริย์ มีการพระราชกุศลในวังที่ได้รับนิมนต์ เรามักเดินเข้าไป ท่านไปเรือ เวลากลับ ท่านเรียกเราลงเรือของท่าน ให้พายขึ้นน้ำเข้าคลองผดุงกรุงเกษมไปส่งเราที่วัดมกุฏกษัตริย์ก่อนแล้วจึงเลยไปวัดโสมนัสวิหาร โดยปกติท่านเข้าคลองรอบพระนคร และคลองเล็กตรงไปถึงวัดโสมนัสวิหารทีเดียว เป็นอย่างนี้เสมอมา ไปพบกันในกิจนิมนต์ ทั้งการหลวงทั้งการราษฎร์ เวลาอยู่ด้วยกัน ๒ รูป ท่านพร่ำสอนการพระศาสนาเนืองๆ พอมีพระอื่นเข้าไปอยู่ผู้เป็นที่ ๓ เป็นเลิก เว้นไว้แต่พระนั้นเป็นผู้ที่สนิทสนม เราเข้าใจว่า ท่านเลิกเสียเช่นนั้น เพื่อไว้หน้าเรา ถ้าท่านรู้ว่าเราไม่ผาสุกเมื่อใด เป็นหายาส่งมาให้เมื่อนั้น คราวหนึ่งเราเป็นผู้ใหญ่ในคณะแล้ว ท่านอาพาธเป็นปลายอัมพาตลิ้นแข็งพูดไม่ชัดถึงลงนอน เราไปเยี่ยมท่านแล้ว กลับออกมาอยู่ที่เฉลียงหน้ากุฎี พูดกับพระวัดนั้นผู้ชอบกัน ถึงความยอกขัดของเรา เกิดขึ้นเพราะหมอนวดไม่เป็น ชะรอยเสียงจะดังท่านได้ยินเข้า ทั้งเจ็บมากกว่าเราอย่างนั้นขวนขวายสั่งพระ ให้เอาน้ำไพรกับการบูรมาทาให้ รู้สึกความเอื้อเฟื้อของท่านก็จริง แต่รู้สึกอายแก่ใจเหมือนกัน ว่าไปเยี่ยมไข้ท่าน กลับทำให้ท่านกังวลถึงเรา ท่านถนอดเราเป็นอย่างยิ่งคล้ายเจ้าคุณอาจารย์โดยที่สุดบางเวลาเราขุ่น รู้เข้าเลือกธรรมเขียนส่งมาปลอบ เราได้รับเมตตาและอุปการของท่านอย่างนี้ ได้ถวายตัวเป็นศิษย์ ถ้าเราจักได้อยู่ในสำนักของท่านสักพรรษาหนึ่ง จักอาจเชื่อม ๒ สำนักได้ดีกว่านี้อีก
|
รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้่าเจ้าอยู่กัว ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ |
7. Years of Ecclesiastical Titles
A
His Highness Prince when he
first became a titled Krom (a rank conferred by the king) had to
be a Krom Muen ( title of 5th rank) first, except for the
aged princes who became a
Krom Luang ( title of the 3rd
rank) , and a Krom Khum (title of
the 4th rank). Their Royal Highness Princes and Their Highness Princes first became ecclesiastical
dignitaries, holders of special royal
fans and their occasional positions.
In the
reign of King Rama II , His Royal Highness Prince Porama Nuchit Chinoros , if my memory
is not wrong, received ecclesiastical title, and was the Abbot of Wat Chetupon in place of His Eminence Somdej Phra
Wanrat , who had been his mentor. He became Krom Muen Nuchit Chinoros Sri Sukot Katriyavongse,
holder of an unknowable royal fan. In
the reign of King Rama III, the prince - monk directed the central section.
During the reign of King Rama IV, he was duly appointed to preside over the
Sangha circles across the country, and became the holder of pointed fan with
yellow brocade. He did not become a Krom, but was an ecclesiastical dignitary in
the reign of King Rama III , and he was holder of pointed fan with brocade. I
saw that this prince-abbot who held this fan was not the abbot there, but was
the abbot of Wat Bovorn Nives Viharn.
According to what my prince preceptor related that originally his title was not
exactly rated. Afterwards, he humbly informed His Majesty to graciously appoint
different rates of promotion. The Dhamma
study appointment group was also included. When HSM Prince Amphai left the monkhood,
he was not conferred a Krom, but was a deputy abbot. The Prince - Pratriarch
told me that during the reign of King Rama III, he had been an ecclesiastical
dignitary and holder of neilloware fan, but he was not the abbot. Prince Krom
Muen Bovorn Rangsri Suriyapan, was holder of pointed brocade fan which he had held before, and it was a pointed ivory. This Prince- Patriarch was the Abbot of
Wat Bovorn Nives and monk-dean of Dhamma Yuti Sect. Later, when I was a titled Krom and accepted ecclesiastical rank,
I was not yet Supreme Patriarch, but was conferred Krom Phra
Pavares Varinalongkorn. His Serene Highness Prince
Pathomvongse of the
ulder bag, one big Tompad insignia of rank inscribed with sacred letters, royal commission to appoint venerable Momchao Prapakorn as ecclesiastical dignitary with the allertative name of venerable Momchao Prapakorn Bovorn Visudhivosgse, having a pointed yellow fan, Garuda Seal of King Rama II at the center, and insignia of rank for ecclesiastical dignitary. The newly appointed Tang Krom who had been a lay disciple presented flowers, candies and joss-sticks, and gold-silver plants to His Majesty the King and the Deputy King. He also presented flowers, candles and joss-sticks to aged princes, except the Tangkrom. I presented a piece of ornament to decorate the flowers in the middle of the table which His Majesty had pressed his hands together at the chest to pay respects to Phra Buddha Chinnasri Image. The venerable princes also received gifts which in those days were expensive, and were presented according to their hierachical order. When the Krom ceremony was completed, His Majesty handed sets of dishes to the monks, and he stayed with them all the time when they partook of the complete meals and joined in the rejoicing of the Tang Krom. Whenever there was a Krom for celebration, meals must first be provided for monks, and the rejoicing was done in His Majestys presence. When the King left, the gold inscription must be circled round the temple. One day there was a merit-making ceremony for all Kings according to the royal ordainers suggestion. Meals for monks, sermons and prayer for royal deceased relatives were performed. Some of us would like to have an auspicious time for the occasion, but it was not quite proper. Our monk-teacher had been ailing, and had a diarrhea so he could not come over and did not pour water for the ritual bathing of the monks. He could not even stay there during the preparation time. On the day of being titled a Krom, one grand-mother in charge of the kitchen located in front of the wat fell to the ground in a dead faint. Fortunately, the monk-teacher who came to welcome His Majesty until his return saw it. If this venerable would choose the auspicious time, he might not be able to see it. Without his presence and also the grand-ma who swooned away due to too many works, the postponement might help or not I do not know.
I happened to be titled a Krom, and this rank at that time might have pleased many people. The immediate royal family ranging from His Majesty, royal ordainer to government officials and ordinary folks call myself Krom Muen with no previous name . Some relatives also call me that way. So did Prince Krom Muen Narindra Pitak who had this title since the reign of King Rama I. In the early period of this reign, Tang Krom was called Krom Muen except for this prince who called me without mentioning my name. As for the monks both senior and junior, who were His Majestys disciples, rejoiced at this title, and they all hoped for the fulfillment of this sasana or religion. Besides, Eminence Somdej Phra Wanrat Buddha Siri took great concern for myself since the time that I was not titled yet. When I was at Wat Makut Kasat(ri), His Majesty always made merit. I usually went on foot inside the Grand Palace. My monk-teacher would go there by boat. On his return, he asked that I went with him on his paddle boat, and rowed it upwards to Padung Krung Kasem canal (klong) to see myself off at Wat Mongkut Kasat(ri) before he himself went to Wat Sommanas Viharn. Usually, he would go round Pra Nakorn ddistrict and smaller klongs or canals in order to arrive at his wat. He always did like that. Whenever I had the opportunity to take care of him in my regular practice, both private and public, he would always exhort about religious matters. But if there was a third person, beside two of us, he would break it off. In case it was the third monk who happens to be on familiar terms, then he would continue. I understood that he did not teach on this because he did not want to disappoint me or made myself lose face. When he knew that in case I was ill, he would send medicine right away. One time when I happened to be a senior or elder monk in my section (Khana), he became very unwell and began to be paralytic. He had trouble pronouncing and had to be bed-ridden. I went to visit him, but I saw him come to the balcony in front of his chamber or monastic cell (kuti) , and spoke to a monk whom I happed to be on familiar terms concerning my muscular pain. He said the masseur did not practice a relaxing massage. Maybe, he might have heard some noise while the massage was applied on me. Despite of his sickness, he asked his monk to use medicine plant and camphor to apply on my pain. He had been kind and gentle. I felt embarrassed not to visit him more regularly. He always cherished myself. Sometimes I felt cross and he would send a dhammic solution to me. I have been under his care and concern all the time, and his tutelage has always been my great guardian. If I would have an opportunity to reside at this wat for one pansa, I believe that the better relations between his wat and mine will be established soon.
(Click for enlargement)
His Majesty King Chomkloa or King Rama IV (King Mongkut)
Royal Household or his place of birth of His Highness Prince Vajrananavarosa
King Rama IV s missive in Thai and Pali languages
The Venerable Supreme Patriarch
(Sa Pussadhevo)
Royal Children of King Rama IV
--------------------------------------
--------------------------------------
H.R.H. Princess Ying Yaowarak
--------------------------------------
--------------------------------------
H.R.H Princesss Pakpimolpan
--------------------------------------
H.R.H. Prince Kasemsan Sobhak
--------------------------------------
Royal Villa on top of the Mahaisawan hill in the
--------------------------------------
H.R.H. Princess Banchob Benjama
--------------------------------------
The First Coronation of King Rama IV
--------------------------------------
Somdej Chao Phraya Borom Maha Sri Suriyavongse (Chuang Bunnag)
--------------------------------------
H.R.H. Prince Devawongse
--------------------------------------
H.R.H. Prince Narissar Nuvativongse (Prince Jitrjaroen)
--------------------------------------
Chao Phraya Pakornwongse
--------------------------------------
Royal children of King Rame the fourth
--------------------------------------
Mr. Fances George Patterson and his students
--------------------------------------
HRH Prince Savasti
--------------------------------------
HRH Prince Damrong
--------------------------------------
HRH Prince Vivit Varnpreecha
--------------------------------------
Venerable Phra Amara Piraakit (Kerd Amro, 9th grade holder in Pali studies)
--------------------------------------
Queen Sunanda
--------------------------------------
HRH Prince Deves Vacharin
--------------------------------------
HRH Prince Vongsa Thiraj Snit
--------------------------------------
HRH Prince Ananda Karurit
--------------------------------------
Supreme Patricrch Prinve Vajirananavarorasa
--------------------------------------
Petch (Diamond) Tammak where it used to be a printing house when King Rama IV was ordained
--------------------------------------
Printing House when King Rama IV was Abbot of Wat Bovorn Nives Viharn
--------------------------------------
--------------------------------------
HRH Prince Sommut Amornpan
--------------------------------------
King Chulalongkorn when he was ordained
--------------------------------------
Chao Phraya Bhanuvongse (Tuan Bunnag)
--------------------------------------
HRH Prince Bhanupan
--------------------------------------
Saranromya palace during the reign of King Rama IV
--------------------------------------
HRH Prince Devavongse
--------------------------------------
Phrya Sri Suntorn Voharn (Noi) with royal students
--------------------------------------
HRH Prinve Pichit Preechakorn.
--------------------------------------
HRH Princess Sudarat
--------------------------------------
His Eminence Somdej Phra Vanrat (Tab Buddha Siri, P.9)
--------------------------------------
Viharn and Ubosoth (Assembly Hall) at Wat Rangsri Sutthavas or Rangsri section at Wat Bovorn Nives Viharn
--------------------------------------
HRH Prince Narubal Mukmat
--------------------------------------
Ananda Smakom Throne Hall,
--------------------------------------
HRH Prince Nares Vorarith
--------------------------------------
Phraya Sri Sunthorn Voharn (Fak Salak)
--------------------------------------
Phraya Sri Sunthorn Voharn (Kamol Salak)
--------------------------------------
Phraya Sri Sunthorn Voharn (Pan Salak)
--------------------------------------
Supreme Patriarch Prince Porama Nuchit
Chinonos (His Highness Prince Vasukri)
--------------------------------------
Supreme Patriarch Prince Pavares Varinalongkorn
(His Highness Prince Ruek)
--------------------------------------
Venerable Phra Chanakochornkhun (Yim Chandra See)
--------------------------------------
HRH Prince Chakrapaddipongse
--------------------------------------
Residence or kuti of the Supreme Patriarch when he was ordained
--------------------------------------
The Supreme Patriarch Prince when he was first ordained
--------------------------------------
Ubosoth and Chedi in Wat Bovorn Nives Viharn
--------------------------------------
Venerable Pra Muni (Fang Kittisaro)
--------------------------------------
Supreme Patriarch Prince Vajirananavarorasas photo taken in Wat Makut Kasat(triyaram)
--------------------------------------
Venerable Phra Ariya Muni (Em Aryuwattano)
--------------------------------------
Venerable Phra Samud Muni (Nai Khemgo)
--------------------------------------
Supreme Patriarch (Sa Pussa Devo)
--------------------------------------
Venerable Phra Trilolachariya (Dej Thanajaro). This photo taken in front of the Ubosoth Hall in Wat Bovorn Nives Viharn
--------------------------------------
Supreme Patriarch was promoted to the rank of Krom Muen
--------------------------------------
Wat Makut Kasat(riyaram)
--------------------------------------
This photo was taken with committee members
--------------------------------------
Venerable Phra Chanto Pamakhum (Hatta Palo)
--------------------------------------
--------------------------------------
HRH Prince Devawongse Varopakarn
--------------------------------------
HRH Prince Prachak Silapakom
--------------------------------------
Momchao Tongkon Tongyai
--------------------------------------
Venerable Ubalee Kunu Pamachan (Pan)
--------------------------------------
Chan (Moon) residence when the late Supreme Patriarch Prince was residing there
--------------------------------------
Chan (Moon) residence as it is in the present time
--------------------------------------
Taken with all the monks. Unknown location
--------------------------------------
Chao Phraya Wichitvongse Wuthikrai (M.R. Klee Suthas)
--------------------------------------
Envelopes and Pali Texts. His hand-writing and Seal
--------------------------------------
Examples of Pali Texts
The Supreme Patriarch Princes hand-writing
--------------------------------------
Venerable Momchao Somdej Phra Budhajarn (Tad)
--------------------------------------
Chao Phraya Mahind Sakdi Thamrong (Peng Penkul)
--------------------------------------
Venerable H.H. Prince Phra Arun Nibha Kunakorn (Momchao Krachang Aruno)
--------------------------------------
Venerable Momchao Phra Praprakorn Bovornyuthivongse (Prapakorn Malakul)
--------------------------------------
Ecclesiastical fan of the late Supreme Patriarch Prince when he held the ranks of Krom Muen, Krom Luang, Krom Phraya, and the Lord Abbot
--------------------------------------
When he held the rank of Krom Luang
--------------------------------------
Phra Buddha Jinasiha. Victorious King at the Ubosoth Hall of Wat Bovorn Nives Viharn when the late Supreme Patriarch Prince was the Abbot
--------------------------------------
Taken together with the monks of all ranks at the Ubosoth Hall
-------------------------------------
Taken at Wat Somuha Pradit in the
--------------------------------------
Photo taken by King Rama V when he proceeded to Wat Bovorn Nives Viharn , B.E. 2448 (A.D. 1905)
--------------------------------------
Welcoming His Majesty King Rama V when he proceeded to Wat Bovorn Nives Viharn , B.E. 2448 (A.D. 1905)
--------------------------------------
Taken at Wat Samuha Pradit in the
--------------------------------------
Cast Image of the late Supreme Patriarch Prince Vajiranavarorasa at the Ubosoth Hall, Wat Bovorn Nives Viharn
--------------------------------------
Some Explanations and Notes
A.D. :- Amo Domini
Old capital city :- Ayuthaya (Th), Ayodhaya, Ayuthya
B.E. :- Buddhist Era.
Bhikkhu :- Buddhist . Derived from bhikkha (P) meaning alms food.
Buddha (P & Skt). Lit. :- the Enlightened One. What is now known as Buddhism.
Chedi :-
Chao Khun :- Form of address used as a personal pronoun referring to a bhikkhu ; Appellation for the second highest rank of government official in olden times or a monk elevated to a rank appointed by king.
Chao Phra or
Dhamma (P) , Dharma (Skt). :- Pali term having many meanings in the Buddhist Scripture.
Kana (Th), Gana (P). :- group or section.
Khun :- lowest civil title
Klong (Th). Canal
Kuti :- Residence of a bhikkhu ; chamber ; monastic cell
Luang :- official ; state government
Mahanikaya :- Lit : large group, sect or collection.
Manussanaga :- Manussa : man. Naga : serpent . Lit. serpent man .
Mon (Th). :- Predominent race of Pegu
Pagoda (Eng), pagoda (Portugese), Pagavade (Tamil) :- Usually a temple or part of a temple.
Pansa (Th), Vassa (P). :- Refers to the three months rains retreat or rainy season when the bhikkhus or bhikkus do not wander about but are obliged to remain in one place of residence only.
Patimokkha (P), Patimokh (Th). :- Disciplinary code of 227 training rules for bhikkhus. U - posatha Day is for the recitation of all the rules.
Phra (Th). :- From the Pali Vara meaning excellent , meaning monk . Phra also means a royal service title above Luang.
Phra Buddha Jinaraja. :- Victorious King.
Phra Buddha Jinasiha. :- Victorious Lion.
Phra Prommuni or Phra Prom Muni :- Title of the fifth Abbot of Wat Bovorn Nives.
Phraya :- a royal service title of the second rank.
Samanera (P), Samanen (Th), or Nen :- (Colloquial) A novice who takes only ten precepts or training rules instead of the 227 of a bhikkhu or bhikku . He is not yet twenty years of age at which age one is eligible to be ordained as a bhikkhu.
Samsaravatta (P). :- cycle of birth and death.
Sasada (Th). Satha (P), :- Teacher.
Sangha (P). :- A collective noun meaning community of bhikkhus.
Sangharaja (P), Sangharaj (Th). :- Supreme Patriarch.
Sima (P) :- Boundary.
Stupa (Skt), Thupa (P) , Tope (Hindustani) . :- Dome-shaped mound or tower made of earth , bricks or stone.
Tamnak (Th). :- A building used as a royal residence, or princely residence.
Tamnak Derm :- Old Residence.
Tamnak Lang :- Lower Residence.
Tamnak Petch :- Diamond Residence.
Thammayut (Th), Dhamma Yuti (P). :- Lit. yoked to the Dhamma.
Thudong :- Practices sometimes undertaken by bhikkhus such as wearing robes made of cast off rags etc.
Traipitok (Th), Tipitaka (P), Tripitaka :- Lit. three baskets. Pitaka was often used in the Pali Canon
Upajjhaya (P), Upadja :- Preceptor or ordainer
Uposatha (P) , Ubosoth, shortened to Bot :- The ubosatha hall functions basically as a place for the Sangha to carry on official activities .
Vajirananavamsa (P), Vajirayananavongse (Th) : - Vajira ; diamond Nana ; knowledge. Vamsa ; race, lineage, family.
Vajirananavarorasa (P) , Vajirayanavarorot (Th). :- Vara : excellent Orasa: legitimate , self begotten.
Varinalongkorn :- Name of the second Abbot of Wat Bovorn Nives.
Vihara (P), Viharn (Th). :- A dwelling place . A temple building other than the ubosath hall which houses a (usually large ) Buddharupa.
Vinaya :- Discipline.
Vesakha (P), :- The name of the sixth lunar month which falls around April or May.
Wat :- Refers to the whole area of the temple and monastery compound.
Wat Bovoranives Vihara :- The Thai name is pronounced : Wat Bowarniwet Wiharn and Wat Bovorn Nives Viharn
|