พระประวัติตรัสเล่า

๑ ในหนังสือดี ๑๐๐ เล่มที่คนไทยควรอ่าน

Reminiscences

(Remembrance of Things past)

His Royal Highness

the late Supreme Patriarch

Prince Vajirananavarorasa

One of the top hundred books that all Thais should read

Translated by S. Noppon

 สารบาญ   Table of Contents

๑) คราวประสุต  My Birth Time

๒) คราวเป็นพระทารก  My Infancy

๓) คราวเป็นพระกุมาร  My Childhood

๔) คราวเป็นพระดรุณ  The Age of Boyhood

๕) คราวทรงพระเจริญ  The Prime of Life.

๖) สมัยทรงผนวชพระ  Time of Being Ordained

๗) สมัยทรงรับพระสมณศักดิ์  Years of Ecclesiastical Titles

     คำอธิบาย  Some explanations and notes

     ภาพถ่าย  Phototext

รูปภาพจากประวัติของพระองค์และพิพิธภัณฑ์ที่วัดบวรนิเวศน์วิหาร

All  photoes  are taken from the autobiography of  this Supreme Patriarch, his books and commentaries,

and from the Museum of Wat Bovorn Nives Viharn.

 

My grateful appreciation is due to Songkram Somboon for his advice

and assistance he has given me in the preparation of the edition of this translated work.

S. Nopporn

พระประวัติตรัสเล่า

พระประวัติของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส โดยพระองค์เอง

แปลเป็นภาษาอังกฤษโดย นพพร สุวรรณพานิช

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

His Majesty King Chomkloa or King Rama IV (King Mongkut)

๑. คราวประสุต

    พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฏ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามที่ ๔  ในพระบรมราชจักรีวงศ์ เป็นพระบรมชนกนาถของเรา  เจ้าจอมมารดาแพพระสนมเอกในรัชชกาลที่ ๔  เป็นเจ้าจอมมารดาของเรา  เราประสุตที่ตำหนักหลังพระที่ นั่งจักรพรรดิพิมานมุขหลัง  ที่เรียกว่าท้องพระโรงหลังถัดโรงลครออกไป  ในพระบรมหาราชวัง

หมู่พระมหามณเฑียรอันเป็นที่ประสูติของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ

Royal Household or his place of birth of His Highness Prince

พระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ ๔

The  King Rama IV's missive in Thai and Pali languages

    เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๕ แรม ๗ ค่ำ ปีวอก ยังเป็นเอกศก จุลศักราช ๑๒๒๑  ตรงกับวันที่ ๑๒ เมษายน พุทธศักราช  ที่ใช้ตามธรรมเนียมในบัดนี้ ๒๔๐๓  เวลา บ่าย๑ โมง  ๓๖ ลิปดา  ตามโหราศาสตร์สยาม  พระอาทิตย์สถิตราศีเมษ  องศา ๑  เป็นวันเนาว์  หลังวันมหาสงกรานต์  หน้าวันเถลิงศกที่ขึ้นจุลศักราชใหม่  ได้ฟังคำผู้ใหญ่เล่าว่า  พอเราประสุตแล้ว  อากาศที่กำลังสว่างมีเมฆตั้ง  ฝนตกใหญ่  จนน้ำฝนขังนองชาลาตำหนัก  ทูลกระหม่อมของเรา  ทรงถือเอานิมิตต์นั้น  ว่าแม้นกับคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จประทับ ณ ควงไม้ราชายตนนาคราชเอาขนดกายเวียนพระองค์  และแผ่พังพานเหนือพระเศียร เพื่อมิให้ฝนตกถูกพระองค์  ครั้นฝนหายแล้ว  จึงคลายขนดจำแลงกายเป็นมาณพหนุ่มเข้ามายืนเฝ้าเฉพาะพระพักตร์  จึงพระราชทานนาเราว่า  พระองค์เจ้า “มนุษยนาคมาณพ”  แต่เราได้พบในภายหลัง เมื่ออ่านบาลีเข้าใจแล้ว  ในบาลีมหาวรรคพระวินัยเล่ม ๑ ตอนทรามานอุรุเวลกัสสปชฎิล  คำว่า “มนุสสฺนาโค” หรือ มนุษยนาค”   นั้น  เป็นคำเรียกพระพุทธเจ้าคู่กับคำว่า “อหินาโค” หรือ “อหินาค”  เป็นคำเรียกพระนาคที่เป็นชาติงูเช่นนี้  คำว่า มนุษยนาคก็เหมือนคำว่า บุรุษรัตน์ หรือ มหาบุรุษ  ที่ใช้เรียกท่านผู้สูงสุดในหมู่มนุษย์  คือ พระพุทธเจ้า และพระเจ้าแผ่นดิน  เมื่อเรายังเยาว์ แต่จำความได้แล้ว  ได้ตามเสด็จทูลกระหม่อมไปวัดราชประดิษฐ์เนืองๆ  คราวหนึ่งได้ยินตรัสถามพระสังฆราช (ปุถสฺสเทว สา)

สมเด้จพระสังฆราช(สา ปุสฺสเทโว)

The Venerable Supreme Patriarch (Sa Pussadhevo)

    ครั้งนั้นยังเป็นพระศาสนโศภนว่า  คนชื่อคนมีหรือไม่  สมเด็จพระสังฆราชนิ่งนึกอยู่หนึ่ง แล้วถวายพระพรทูลว่า  ไม่มี  ทรงชี้เอาเราผู้นั่งอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ว่า  นี่แนะคนชื่อคน  แต่นั้นเราสังเกตว่า  ทรงพระสรวล  และสมเด็จพระสังฆราชก็เหมือนกัน  แปลชื่อมนุษยนาคมาณพ  ตามวิกัปป์ต้นว่า  หนุ่มน้อยจำแลงเป็นคน  แต่ศัพท์มคธที่แปลว่า คนหนุ่มนั้น สอบสวนได้แน่ในบัดนี้ว่า “มาณโว”  คือ มาณพ  แต่ในพระราชหัตวเลขา พระราชทานนามนั้นเป็น “มาณพ” ที่ที่ตรงศัพท์มคธว่า “มานโว”  และแปลว่า “คน”  หรือ “เชื้อสายของท่านมนุ”  ศัพท์สันสกฤตก็เป็นเช่นเดียวกัน  แต่ครั้งนั้นหนังสือและภาษาอันเป็นเครื่องสอบสวนยังหามีแพร่หลายเหมือนในกาลนี้ไม่  แปลตามวิกัปป์หลังว่า “คนผู้เป็นมนุษยนาค” หรือ “คนผู้เป็นนาคในมนุษย์”  ศัพท์ว่านาคในวิกัปป์นี้ หมายความว่า ผู้หลักผู้ใหญ่  เราเป็นพระเจ้าลูกเธอที่ ๔๗  ของทูลกระหม่อม และเป็นพระองค์เจ้าที่ ๔ ของเจ้าจอมมารดาของเรา ผู้มีพระองค์เจ้า ๕ พระองค์

    รุ่งขึ้นอีกปีหนึ่ง คือพุทธศักราช ๒๔๐๔  เจ้าจอมมารดาของเราถึงแก่กรรม  เราจึงจำเจ้าจอมมารดาของเราหาได้ไม่

 

Reminescences

(Pra Pravat Trat Lao)

(Remembrance of Things past)

His Royal Highness the late Supreme Patriarch

Prince Vajirananavarorasa

Translated by S. Noppon

1. My Birth Time

                        His Majesty King Phra Chom Klao or King Rama IV, Rex Siamois, monarch of  the Chakri Dynasty , is my royal father . I was begot by my royal mother who was one of his queen-consorts, whose name was Pae.  My place of birth is located at the princely residence in the back of the Chakrapaddi Piman Hall or the Throne Hall next to the theatre inside the Grand Palace. I was born on Thursday, the 5th  lunar month,  on the 7th  day of the waning moon, in the Year of the Monkey, the first year of the decade, the Thai Minor Era (Year) of 1221. What  is currently used is  12th April , B.E 2403 (AD 1860) , in the afternoon at1 o’clock 36 lipda (minutes).  According to Siamese astrology, the sun was in April , the degree was one,  on the Songkran eve, which was the beginning of the Thai New Year .  Some older people told me that  during my birth the weather was about to be bright . It  became suddenly overcast. Later, there burst forth  a heavy rain which soon  inundated the open porches of the princely residence.

                        My  father or (His Majesty)  the King used this as an encouraging omen of cool and delight   when the Buddha sat in   the rain absorbed in an ecstatic contemplation of the  Enlightenment for  7 days . Even  the king of serpents or naga coiled himself  around the Buddha’s body.  Its hood spread over  the head of the Lord to protect Him from the downpour . When  it stopped raining , the naga  turned into a young man in presence of the Buddha. It  was named Manus Nag Manop. Later, when  I could understand the Pali language, I came across the text on Discipline  about  torturing  Uruvelkasapa Chadin that Manussanako or Manus Nag is the name or epithet that the Buddha called Ahinako or Ahinag, which was the Naga that turned into  a serpent . The word Manus Nag is the same as a Great Man , an honourific name,  which means the Buddha and also the king.  When  I was young I still  remember  that I went  with His Majesty  the King  repeatedly to Wat Rajpradit . Once His Majesty asked the Supreme Patriarch Pussadev Sa, who was then His Eminence  Phra  Sasana Sophon  whether there be a person by the name  of a human being or not . This Supreme Patriarch kept thinking over for a while , and told His Majesty that there be no such a person. The King then pointed at me in his presence staying behind him, and said that this person  was called “human being“ or Manus.  My observation is that His Majesty chortled, so did the Supreme Patriarch. Manus Nag Manop according to the text means the young naga turned into a person. The Magatha or Pali vocabulary  which can now be undoubtedly translated as  Manop. His Majesty’s  word as explained  from Magatha vocabulary means human being  or an offspring of Manu. The Sanskrit word  also  carries the same meaning, but  the word  and the language in those days were not widely known. The meaning in the latter part of Vikappa, a Pali text, is a human  who  turns into a ‘naga‘ or  a naga who turns into a ‘human’.  The term in this  text also means a person of importance or a Great Man.  I am the 47th child of His Majesty  and  the 4th  child of his consort , who had altogether 5 children.

In the following  year or B.E. 2404 (AD 1861),  my mother  passed away. I do not remember  her exactly.

next page

 

กลับหน้าเดิม

 

 

web site hit counter