พระประวัติตรัสเล่า(๕)

Reminiscences (5)

 

๕. คราวทรงพระเจริญ

          แต่เป็นบุญของเรากลับตัวได้เร็วตั้งแต่อายุได้ ๑๗ ปี  ทางที่กลับตัวได้ก็เป็นอย่างภาษิตว่า “หนามยอก เอาหนามบ่ง”นั้นเอง  เราเข้าเฝ้าในวังทุกวัน ได้รู้จักกับหมอปิเตอร์เคาวัน ชาวสกอตซ์เป็นแพทย์หลวง  เวลานั้นอายุแกพ้น ๒๕ ปี แล้ว  แต่ยังไม่ถึง ๓๐  แกเป็นฝรั่งสันโดษ อย่างที่คนหนุ่มเรียก ฤษี  ไม่รักสนุกในทางเป็นนักเลง  เรานิยมแกว่าเป็นฝรั่ง  เราก็ผูกความคุ้นเคยกับแก  ได้เห็นอัธยาศัยและจรรยาของแก  และได้รับคำตักเตือนของแกเข้าด้วย  เกิดนิยมตาม เห็นความละเลิงที่หมอเคาวันไม่ชอบเป็นพล่านไป  น้อมใจมาเพื่อเอาอย่างหมอเคาวัน  จึงหายละเลิงลงทุกที  จนกลายเป็นฤษี ไปตามหมอเคาวัน  ที่สุดแกว่ายังเด็กและห้ามไม่ให้สูบบุหรี่  แกเองไม่สูบเหมือนกัน  เราก็สมัครทำตาม  และไม่ได้สูบบุหรี่จนทุกวันนี้  เราก็เห็นอานิสสงฆ์  เราเป็นผู้มีกายไม่แข็งแรง  เป็นผลแห่งความเจ็บใหญ่ เมื่อยังเล็ก  ถ้าสูบบุหรี่ แม้มีอายุยืนมาถึงบัดนี้  ก็คงมีโรคภัยในประจำตัว  หมอเคาวันเป็นทางกลับตัวของเราเช่นนี้  เมื่อภายหลังเราจึงนับถือแกฉันอาจารย์  ในครั้งนั้นและต่อมา  แกก็ได้แนะนำเราในภาษาอังกฤษบ้าง  ในวิชาแพทย์บ้างเหมือนกัน

          ส่วนความสุรุ่ยสุร่ายนั้น  เราได้นิมนต์และงดได้ตามลำพังตนเอง  วันหนึ่งเวลาบ่ายจวนเย็น ที่เคยขึ้นม้า หรือขึ้นรถเที่ยวเล่น  หรือไปข้างไหนเผอิญฝนตกไปไม่ได้  ที่คนหนุ่มรู้สึกเหงาสักเพียงไร  เรานอนเล่นอยู่บนเก้าอี้นอนในเรือน ตาส่ายแลดูนั่นนี่  สิ่งที่ตาเราจับอยู่ที่คราวแรกคือโต๊ะขนาดกลาง  ตั้งอยู่ข้างเก้าอี้ที่เรานอน  เป็นชนิดที่ตั้งกลางห้องสำหรับวางของต่างๆ โต๊ะตัวนั้นเราเห็นที่ห้าง  ชั่งงามน่ารักจริงๆ ทั้งรูปพรรณทั้งฝีมือ  ในวันนั้นไม้พื้นโต๊ะที่เคยเห็นเป็นแผ่นเดียว  ก็แลเห็นเป็นไม่เพลาะ ปากไม้ห่างออกโร่  ลวดที่ราวกับคัดขึ้นจากเนื้อไม้นั่นเอง  ก็ปรากฏเป็นไม้ หรือเส้นหวายผ่าซีกติดเข้า  ผิวที่แลเห็นขัดเป็นเงาโง้ง  ก็ปรากฏว่าเป็นแต่ทาน้ำมันให้ขึ้นผิว  คราวนี้นึกถึงราคาของโต๊ะนั้น  แรกซื้อกับราคาในวันนั้น  อันจะพึงผิดกันมาก  แต่หาได้นึกถึงประโยชน์ที่ได้ใช้โต๊ะนั้นมาโดยกาลด้วยไม้  เห็นไกลกันมาก  เห็นซื้อมาเสียเปล่า  คราวนี้จับปรารภถึงของอื่นบันดามีในเรือนก็เห็นเป็นเช่นนั้น  แต่นั้นนึกถึงของที่ซื้อมาแล้วไม่ชอบใจ  ให้คนอื่นเสีย  ยิ่งเห็นน่าเสียดายมาก  ตั้งแต่นั้นสงบความเห็นอะไรอยากได้เสียได้  ไม่ค่อยได้เที่ยวห้าง  ไม่ค่ายได้ซื้ออะไร  ใบเสร็จของห้างที่ส่งมาเก็บเงินใบหลังที่สุด  เรายังจำได้มีราคาบาทเดียว  ค่ากระดุมทองเหลืองชุบทองสำรับหนึ่ง  ที่เรียกว่าแฟนซีเดรส  ในการขึ้นปีใหม่ เขาเห็นเราเคยซื้ออะไรบ่อยๆ  จึงส่งใบเสร็จมาเก็บเงิน  หลายเดือนล่วงมาจนลืมแล้ว

          ตกมาถึงเวลานี้  ขี่ม้าที่เคยวิ่งหรือห้อ  ก็เป็นแต่เดิน   รีบก็เพียงแต่วิ่งเหยาะ  ขี่รถที่เคยแล่นปรื๋อ  ก็เป็นเพียงวิ่งอย่างปกติ  สรวมเสื้อตัดร้านเจ๊ก  ก็ไม่เห็นเป็นเร่อร่า  กลับเห็นเป็นเก๋  รู้จักเปลือง รู้จักสังวรไม่เห่อ  ของร้านแขกที่เขาไปซื้อมาให้ ก็ใช้ได้เหมือนของห้าง  ศรีไม่ได้อยู่ที่ของอยู่ที่ราคาถูก  ในเวลานั้นเรายังไม่รู้จักหาเงิน  แต่รู้จักประหยัดทรัพย์ลงได้แล้ว  ลดรายจ่ายลงได้  ก็เหมือนค่อยหาเงินได้บ้าง  แม้หาเงินได้คล่อง  แต่ไม่รู้จักประหยัดทรัพย์  ก็ไม่เป็นการ ไม่พ้นขาดแคลน หาได้น้อยแต่รู้จักประหยัด ยังพอจะเอาตัวรอด

          หมอเคาวันกล่อมเกลาเรา ให้เรียบเข้าได้อย่างนี้แล้ว  ถ้ามีปัจจัยชักนำ เราก็คงเข้าวัดโดยง่าย  ปัจจัยนั้นได้มีจริงด้วย  ตั้งแต่เราสึกจากเณรแล้ว  ไม่ใช่เทศกาลเช่นเข้าพรรษาหรือมีงาน  เราหาได้ไปเฝ้าเสด็จพระอุปัชฌายะไม่   ยิ่งกำลังลำพองยิ่งหันหลังให้วัดทีเดียว  เหตุนั้นเราจึงห่างจากท่าน  แม้ในเวลานั้นก็ยังไม่ได้คิดจะเข้าวัด  คืนหนึ่งนอนหลับฝันว่าได้ไปเฝ้าเสด็จพระอุปัชฌายะ  ได้รับปฏิสันถารของท่านอันจับใจ  โดยปกติท่านช่างตรัสอยู่ด้วย  อาจจะทรงทำปฏิสันถารเช่นนั้น  ตื่นขึ้นปฏิสันถารของท่านจับใจยังไม่หายปรารถนาจะได้รับอย่างนั้นจริงๆ คิดจะไปเฝ้า  แต่ห่างมาเสียนาน  เกรงจะเข้ารอยไม่ถูกจะเก้อ เห็นทางอยู่อย่างหนึ่ง จึงเอาโคมนาฬิกาใบหนึ่งตามด้วยน้ำมันมะพร้าว มีเครื่องจักรอยู่ใต้ถ้วยแก้วน้ำมัน  มีเข็มชี้โมงและลิปดาขึ้นมาจากเครื่องจักรนั้นถึงโป๊ะครอบ  ที่เขียนเลขบอกโมงและลิปดา  เป็นของสำหรับตั้งในห้องนอน พึ่งมีเข้ามา  ตามความคิดเห็นของเรา  เป็นของแปลก  ไปถวายเป็นทีว่าได้พบของแปลกนึกถึงท่าน  ได้รับปฏิสันถารของท่านจับใจเหมือนในฝัน  ตั้งแต่นั้น  หาช่องไปเฝ้าอีกค่อยง่ายเข้า  ค่อยสนิทเข้าโดยลำดับจนไม่ต้องหาช่อง  ในที่สุดท่านทรงคุ้นเคยเป็นคนโปรดของท่าน  ได้รับประทานพระทนต์ตั้งแต่ครั้งนั้น  ในเวลาไปเฝ้าได้รับพระดำรัสในทางคดีโลกบ้าง  ในทางคดีธรรมบ้าง  โดยที่สุดแบบแผนในทางพระ  ได้รับประทานสมุดเรื่องต่างๆ ของท่านไปลอกไว้เป็นฉะบับเป็นอันมาก

 

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ

พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารกูร)
พร้อมด้วยเจ้านายผู้เป็นศิษย์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร
(พระองค์เจ้าคัคณางยุคล)

          การเข้าถึงสมเด็จพระอุปัชฌายะ  นำให้สนใจในโคลง เรียนโหราศาสตร์ อ่านหนังสือธรรม ตามเสด็จท่าน

          โคลงเคยเล่นมาบ้างแล้ว  ไม่ต้องหาครู  เป็นแต่หมั่นอ่านเรื่องต่างๆ สนใจในพากย์ต่างๆ หัดแต่งเรื่องต่างๆ เท่านั้น  เรายังไม่เคยแต่งเรื่องยาวจนบวชเป็นพระแล้ว  จึงได้แต่งเรื่องทรงผนวช ล้นเกล้าฯ แต่เสียดายว่าในตอนทรงผนวช ที่เราไม่ได้เห็นเอง  และบางอย่างไม่ได้รับพระกระแสรับสั่งของล้นเกล้าฯ และของสมเด็จพระอุปัชฌายะ  ยังไม่ถูกก็มี  คิดจะแก้แต่ไม่มีโอกาสเสียแล้ว  เหตุนำให้แต่งหนังสือเรื่องนี้  เมื่อครั้งเรารับราชการแล้ว  ล้นเกล้าฯ ทรวงทราบว่า  เราเป็นคนโปรดของสมเด็จกระอุปัชฌายะ  จึงตรัสใช้ไปเฝ้าด้วยพระราชธุระเนืองๆ  คราวหนึ่งตรัสใช้ให้เชิญพระราชหัตถเลขาคำโคลงทรงอาราธนาเพื่อทรงแต่งเรื่องทรงผนวช  ในพระราชหัตถเลขานั้นทูลว่า  ถ้าเสด็จพระอุปัชฌายะ มีพระประสงค์จะทรงทราบการนั้นๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง  จงตรัสสั่งเราไปกราบทูลถามจะทรงเล่ามาถวาย  เหตุนั้นเราจึงได้รับพระกระแสของล้นเกล้าฯ ในเรื่องนี้มาก  พระนิพนธ์ของเสด็จพระอุปัชฌายะย่อไปไม่พอพระราชประสงค์  เราปรารภถึงเรื่องนี้   ในคราวฟื้นจากไข้ ๓ เดือน  ยังทำอะไรอันเป็นการเป็นงานไม่ได้  จึงได้แต่งเรื่องนั้น ในครั้งนั้น  แม้ไม่ได้แต่งเรื่องเป็นชิ้นเป็นอัน  ก็ยังได้ออกหน้าในทางโคลงอยู่บ้าง  ครั้งทรงพระราชนิพนธ์โคลงนิทราชาคริชตอนอาบูหะซัน  เมื่อกำลังพิมพ์โปรดให้ส่งใบแก้หน้าแท่นไปให้ท่านจินตกวี ๗ หรือ ๑๐ ท่านๆละใบ  ตรวจแก้แล้วส่งถวาย  ทรงพระวินิจฉัยลงในใบแก้แกใบหนึ่ง  แล้วส่งไปแก้พิมพ์  พวกเราผู้เข้าในจำนวนนั้น  ยังมีอีก ที่จำได้  กรมพระเทวะวงศ์

สารบัญ

วโรปการ   และกรมพระสมมตอมรพันธุ์  ได้มีธุระเสมอกับท่านจินตกวีชั้นสูง  เช่นเสด็จป้ากรมหลวงวรเสฐสุดา  กรมหลวงวิชิตปรีชากร  พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย)  ก็น่าจะรู้สึกว่ามีเกียรติยศอยู่  เราได้ชื่อในทางตาไว  จับคำผิดลักษณะโคลงได้บ่อยๆ ผู้ตรวจเหล่านี้  มีรายชื่อแจ้งในท้ายพระราชนิพนธ์นั้นแล้ว  เมื่อบวชพระแล้ว  ทรงขอแรงแต่งโคลงพงศาวดารบ้าง  โคลงยอพระเกียรติสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์บ้าง  เป็นบทๆ ใช้ในงานพระเมรุ นี้นับว่าได้ออกหน้าในทางโคลงตั้งแต่เป็นผู้ใหญ่และมีการทางพระศาสนาแล้ว ไม่ได้สนใจอีก ใฝ่ใจไปในทางเรียงเรื่องร้อยแก้ว เพราะได้ใช้มากในธุระ ครั้งนั้น เราแต่งฉันท์ไม่เป็นเลย ข้อขัดข้องคือรู้จักศัพท์ไม่พอ มาแต่งเป็นต่อเมื่อรู้ภาษามคธ และแต่งคาถาเป็นแล้ว ไม่เคยเรียงเรื่องยาว ท่อนที่ออกหน้า คือคำศุพท์แปลศราทธพรตคาถา ในพระราชกุศลสตมาหสมัย ที่พระศพสมเด็จกรมพระยาสุดารัตรราชประยูร และคำร้องถวายชัยมงคลของนักเรียนมหามกุฎราชวิทยาลัย กลอนแปดไม่เคยทำเลย จะลองบ้าง พ้นเวลามาแล้วให้นึกกระดาก เราไม่พอใจลึกซึง ในการแต่งคำประพันธ์จึงไม่ตั้งใจหาดีทางนี้เป็นแต่สำเนียก พอเป็นกับเขาบ้างเท่านั้น

 

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตน์ราชประยูร
(พระองค์เจ้าลม่อม)

สมเด็จพระวันรัตน์
(ทับ พุทฺธสิริ ป.๙)

         

           เราเริ่มเรียนโหราศาสตร์กับขุนเทพยากรณ์ (ทัด) ตั้งต้นหัดทำปฏิทินก่อน เข้าใจยากจริงๆ เพราะเราเอาโหราศาสตร์กับพยากรณศาสตร์ รวมเข้าเป็นอันเดียวกัน นำให้เข้าใจว่าเรียนโหราศาสตร์ ก็เพื่อมีวิชารู้จักทำนายเหตุการณ์ต่างๆ จึงมุ่งไปเสียในทางนั้น และเพราะวิธีสอนบกพร่องด้วย ไม่ได้อธิบายให้เข้าใจรสคือกิจของโหราศาสตร์ว่าเป็นเช่นไร ปฏิทินคืออะไร ชื่อต่างๆ คือศักราช แล้งกระจายออกเป็นองค์เหล่านั้น ราศี องศา ริบดา กำหนดหมายอะไร ความเดิมของพระอาทิตย์ พระจันทร์ และดาวพระเคราะห์ ที่เรียกว่ามัธยมก็ดี สมผุสก็ดี ต่างกันอย่างไร เป้นอาทิ ในตำราบอกว่า ถ้าทำองค์ชื่อนั้น ให้ตั้งเกณฑ์อย่างนั้น  แล้วทำเลขอย่างนั้นๆ เริ่มตั้งแต่ทำวันธงชัย วันอธิบดี วันอุบาสน์ วันโลกาวินาส ที่ไม่ได้เกี่ยวกับโหราศาสตร์เลย แต่เกี่ยวกับพยากรณสาสตร์ กว่าจะคลำเข้าใจได้แต่ละอย่างชั่งยากเสียจริงๆ ข้าพเจ้าไม่แน่ใจในโหรอธิบายได้ทุกคน โหรไม่รู้จักดาวฤกษ์ หรือแม้ดาวพระเคราะห์ด้วย เป็นมีแน่ ขุนเทพยากรณ์ (ทัด) ถึงแก่กรรมในระวางเรียน ได้ไปขอเรียนกับครูเปีย ครั้งยังบวชและเป็นพระครูปลัดสุวัฒนสุตคุณที่วัดราชประดิษฐ์ ตั้งใจจะทำปฏิทินให้จบปี ทำร่วมมาได้มากแล้วถึงสมผุสพระเคราะห์ เห็นจะกว่าครึ่งแล้วจับเล่นธรรมะจัดเข้า เห็นเหลวไหลเลยเลิก เราจึงไม่รู้มาก พยากรศาสตร์ยิ่งรู้น้อยเป็นแต่เสด็จพระอุปัชฌายะ ทรงแนะประทานบ้าง ไม่ได้เรียนจริงๆ จังๆ แต่เรายังได้ใช้ความรุ้โหราศาสตร์อยู่บ้าง โดยช่วยชำระปูมเก่าถวายเสด็จพระอุปัชฌายะ

          เราเรียนธรรมด้วยอ่านหนังสือเป็นพื้น ได้ฟังเสด็จพระอุปัชฌายะตรัสด้วยคราวนั้นสบเวลาที่สมเด็จพระวันรัตน (พุทธศิริ) วัดโสมนัสวิหาร เริ่มเรียงหนังสือธรรมลงพิมพ์แจก หนังสือนั้นใช้สำนวนดาด เป็นคำสอนคนสามัญเข้าใจง่าย ช่วยเกื้อกูลความเรียนธรรมของเราให้กว้างขวางออกไป เมื่อสนใจอยู่ความเบื่อย่อมไม่มี ธรรมที่เป็นเพียงปฏิบัติ กายวาจาใจเรียบร้อย อันตรงกันข้ามกับความลำพองที่เคยมาแล้ว ยังเห็นเป็นละเอียดพอแล้ว ครั้นได้เรียนธรรมที่เป็นปรมัตถ์ แจกเบญจขันธ์ไตรลักษณ์อริยสัจจ์    และปฏิจจสมุปบาท ยิ่งตื้นใหญ่ แต่นิสัยของเราเป็นผู้เชื่อไม่ลงทุกอย่างไป และธรรมกถานั้นๆ มักมีข้อความอันไม่น่าเชื่อปกคลุมหุ้มห่ออยู่ มากบ้าง น้อยบ้าง นี้แลเป้นเครื่องสดุดของเราให้ชงัก แต่เมื่อนิยมในธรรมมีแล้ว ทั้งได้ยินท่านผู้ใหญ่ค้านบางเรื่องไว้ก็มี ก็พอจะปลงใจเลือกเอาข้อที่เรารับรองได้ และสลัดข้อที่เรารับรองไม่ได้ออกเสีย เช่น คำเปรียบว่า ร่อนทองจากทราย เรื่องที่ถูกอารมณ์ของเราคือกาลามสูตร ที่สอนไม่ให้เชื่ออย่างงมงาย ให้ใช้ความดำริของตนเป็นที่ตั้ง ความรู้ความเข้าใจของเราในครั้งนั้น เป้นอย่างนักธรรมใหม่ คือไม่เชื่อหัวดายไป เลือกเชื่อบางอย่าง อย่างที่ไม่เชื่อ เข้าใจว่าผู้หนึ่งซึ่งหาความละอายมิได้แทรกเข้าไว้ พอใจจะพิสูจน์ให้ปรากฏให้เป็นเท็จ เต็มดีก็เพียงทอดไว้ ไม่คำนึงถึงที่เรียกว่า ชั่งเถิด แต่ยังไม่เคยได้ความรู้ในเชิงอักษรวิทยา ว่าเป็นปฤษณาธรรมก็มี เช่นเรื่องมารวิชัย ไม่เคยนึกว่าเป็นเรื่องแต่งเปรียบน้ำพระหฤทัยของพระพุทธเจ้า คิดหวนกลับหลังด้วยอำนาจความอาลัย อันพระองค์หักเสียได้ด้วยเอาความมุ่งดีมาข่ม  แต่เราไม่ใช่ชนิดคนอวดรู้ในทางนี้  ที่เขาตั้งชื่อว่า “ทำโมห์”

          เราลงสันนิษฐานว่า  จะรู้ธรรมเป็นหลักกว้างขวาง  ต้องรู้ภาษามคธ  จะได้อ่านพระไตรปิฎกได้เอง  ไม่เช่นนั้น  จะอ่านได้แต่เรื่องแปล เรื่องแต่ง ที่มักเป็นไปตามใจของผู้แปลผู้แต่ง  ในเวลานั้นพระปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม)  อาจารย์เดิมของเรา  ย้ายบ้านจากหน้าวัดชนะสงครามไปอยู่บางบำหรุคลองบางกอกน้อย  เหลือจะเรียนกับแกได้  พระปริยัติธรรมธาดา (ชัง) อยู่บ้านหน้าวัดรังสีสุทธาวาส  ไม่ไกล  ทั้งได้เคยเป็นครูสอนมาบ้างแล้ว  จึงขอให้แกมาสอน  ได้ยินเขาพูดกันว่า  จะรู้ภาษามคธกว้างขวาง ต้องเรียนมูล คือกัจจายนปกรณ์  บทมาลาแคบไป  ไม่พอจะให้รู้กว้างขวาง  เรียนทั้งที่ปรารถนาจะรู้ดีที่สุดตามจะเป็นได้  ทั้งบทมาลาก็ได้เคยเรียนมาบ้างแล้ว  รู้ทางอยู่จึงตกลง  เป็นเรียนมูล ชั้นแรกมีสูตรคือ หัวข้อสำหรับท่องจำให้ได้ก่อน  ผูกโตอยู่   เราเล่าพลางเรียนแปลคำอธิบายใจความของสูตรนั้น  ที่เขาเรียกว่าพฤติในปกรณ์ไปพลาง  ครูของเราดูเหมือนไม่ชำนาญในมูล  แต่พอสอนให้แปลไปได้ แต่ไม่ถนัดแนะให้เข้าในความที่กล่าว  ตกเป็นหน้าที่ของเราจะเข้าใจเอาเอง  ลงปลายแกหาหนังสือที่แปลสำเร็จตลอดถึงคำอธิบายในภาษาไทย  ซึ่งเรียกว่านิสสัยมูลมาให้อ่านเอาเอง  การเรียนของเรา อาจารย์มูลเขาคงกล่าวว่าเรียนอย่างลวก  ไม่ละเอียดลออ เรากล่าวเอง  เรียนแต่พอจับเค้าได้ แม้อย่างนั้น กว่าจะจบถึง ๑๐ เดือน  นี้เป็นอย่างเรียนเร็ว  เขาเรียนกันตั้งปีสองปี เราอาจสังเกตเห็นว่า  ระเบียบที่จัดในมูลยังไม่ดีมีก้าวก่ายกล่าวความยืดยาวฟั่นเฝือเหลือความสามารถของผู้แรกเรียนจะทรงไว้อยู่  ครั้นขึ้นคัมภีร์คือ จับเรียนเรื่องนิทานในอรรถกถาธรรมบท  เป็นเรื่องดาดของเราในเวลานี้แล้ว  แต่เราเลือกเอาหนังสือที่ครูถนัดเป็นดี  จึงตกลงเรียนอรรถกถาธรรมบท ทั้งเรียนมูลมาแล้ว และแปลพฤติของมูลได้เองแล้ง  เริ่มเรียนอรรถกถาธรรมบทยังงง  กว่าจะเอาความรู้ในมูลมาให้เป็นเครื่องกำหนดได้  ก็เปลืองเวลาอยู่เรียนคราวนี้รู้จักใช้ความสังเกต  เอาความเข้าใจได้  อาจแปลเองได้บ้างตามลำพัง  เมื่อเรียนในทางนี้  เราเลือกสร้างพระไตรปิฎกขึ้น  วานกรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์ อธิบดีกรมราชบัณฑิตเป็นธุระ  หนังสือบาลีพระวินัยไม่ยากนัก  อ่านเข้าใจความได้ติดต่อกันเป็นเรื่อง ชั่งสนุกจริงๆ

 

กรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์

          ตั้งแต่เข้าวัดมา  และจับเรียนธรรมมา เราปลูกความพอใจในความเป็นสมณะขึ้นโดยลำดับ  นึกว่าบวชก็ได้  แต่ยังไม่ได้น้อมใจไปส่วนเดียว  เคยเข็ดเมื่อครั้งยังรุ่น  เรามักจืดจางเร็ว ที่สุดห้องเรียนที่แต่งไว้อย่างหนึ่ง ครั้นชินตาจืดไปตั้งยักย้ายแต่งใหม่  มาถึงเวลานี้จึงยังไม่ไว้ใจตัวเองเกรงจะไม่ตลอดไปได้  บวชอยู่นานแล้วสึกไม่ได้การเสียเวลาในทางฆราวาส

          เมื่ออายุเราได้ ๑๗ ปี  กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์  ทรงผนวชพระ ในเวลานั้นหม่อมเจ้าหญิงจรัสโฉม พระบุตรีใหญ่ของท่านยังอยู่ในครรภ์  ท่านทรงฝากเราให้เป็นธุระ เธอคลอดในเวลาท่านยังทรงผนวช  เราได้เอาเป็นธุระขวนขวายตลอดกาล  เป็นผู้รับเธอเป็นลูก  ในเวลาที่เขาทำพิธีมอบให้มีผู้รับ  เราพึงได้เห็นเป็นครั้งแรกที่ทำการเกี่ยวกับผู้อื่นในน่าที่ของผู้ใหญ่  เราเอาธุระมาโดยเรียบร้อยจนถึงท่านลาผนวช

          อนึ่ง กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ทรงรับราชการว่าช่างสนะ  คือช่างเย็บ ผู้ชายในเวลานั้น  กำลังท่านยังทรงผนวชเตรียมการเฉลิมพระที่นั่งวโรภาศพิมานที่พระราชวังบางปอิน  ล้นเกล้าฯ รับสั่งให้เราดูการแทนกรมหลวงพรหมวรานุรักษ์มีน่าที่ในการเย็บเสี้ยวอันเป็นของผู้ชาย  มีทำธงต่างๆ มีธงช้างเป็นต้น  สำหรับใช้ตกแต่งในงาน  ครั้งนั้นธงยังไม่มีซื้อต้องทำเอาเองทั้งนั้น  เรายังไม่เคยงาน  ออกวิตกว่าจะไม่แล้วทันราชการ  แต่ก็ทำจนทัน  รับสั่งว่าจ่ายสิ้นเท่าไรให้ตั้งเบิก  เราไม่รู้ว่าผ้าต่างๆ ที่จัดซื้อมาใช้นั้นราคาอย่างไร ฉวยว่าซื้อแพงไป จะเป็นที่ระแวงผิดว่าหาเศษ  ไม่กล้าเบิก แต่ราชการสำเร็จเป็นที่พอใจแล้ว

          ต่อมาถึงงานฉัตรมงคล  เราได้รับพระราชทานพานทอง คือพานหมากใหญ่มีเครื่องในพร้อม ๑ เต้าน้ำ ๑ กระโถนเล็ก ๑ เป็นเครื่องยศ  กับดวงตราเครื่องราชอิศริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้า พร้อมกับกรมพระสมมตอมรพันธุ์  เมื่อวันจันทร์ เดือน ๑๒ แรม ๑๒ ค่ำ ปีชวด อัฐศก จุลศักราช ๑๒๓๘ ตรงกับวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๙ ที่ยังทำตามจันทรคติกาลที่พระที่นั่งอนันตสมาคมองค์เดิม  และได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี  มีตราพระมหามงกุฎหมายรัชชกาลอยู่บนหลัง  เมื่อคราวงานพระราชพิธีตรุษ วันอาทิตย์  เดือน ๔ แรม ๑๒ ค่ำ ตรง วันที่ ๘ มีนาคม  ปีเดียวกัน  การได้รับพระราชทานพานทองนี้ ไม่ดีใจเท่าไรนัก  ถ้าทูลกระหม่อมยังทรงพระชนม์อยู่  ก็คงได้รับพระราชทานมาแต่ครั้งยังเป็นเด็กตามอย่างพระเจ้าลูกยาเธออื่น  และได้ยินเขาพูดว่า  เราอยู่ในจำนวนแห่งพระเจ้าลูกยาเธอ  ผู้จะได้รับพระราชทานในคราวอันจะมาถึง  ครั้นตกมาเป้นพระเจ้าน้องยาเธอ พานทองจึงเลื่อนออกไปตามภาวะ ตามอายุ  ทั้งในเวลานั้นเราเข้าวัดอยู่แล้วด้วย ความรู้สึกมีหน้ามีตาพอทุเลา เป็นแต่เห็นว่าได้ ดีกว่าไม่ได้ ไม่ได้ออกจะเสีย  ดูเป็นคนเหลวไหล  หรือไม่ได้ราชการ ส่วนตราทุติยจุลจอมเกล้าเล่า  เป็นตราสกุลเห็นจืดครั้งนั้น  เขานิยมตราความชอบมากกว่า  เพราะในประกาศนียบัตรระบุความชอบลงไว้ด้วย  คล้ายประกาศตั้งกรมอย่างเตี้ยๆ  ส่วนตราสกุลในประกาศนียบัตรแสดงแต่เพียงว่าทรงเห็นสมควรจะได้รับ เรายังไม่มีราชการเป็นหลักฐาน  สิ้นหวังตราความชอบ  ในพวกเราที่ได้เป็นอย่างสูง ก็กรมพระนเรศวรฤทธิ์  เพียงมัณฑนาภรณ์มงกุฎสยามชั้นที่ ๓ เท่านั้น แม้ตราสกุล ถ้าได้รับพระราชทานในเวลาชอบแต่งตัวก็คงไม่จืดทีเดียว  ได้รับพระราชทานแล้วไม่ได้เคยแต่งถ่ายรูปสักคราวหนึ่ง  ต่อเมื่อเป็นผู้ใหญ่ในฝ่ายพระแล้วจึงรู้ว่า  เวลาที่ไม่อยากได้นั้นแลเป็นเวลาสมควรแท้  ที่จะได้รับพระราชทาน  เราเองจะยกย่องใครๆ ก็เลือกถูกที่เขาไม่อยาก และจักไม่ตื่นเต้น

 

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์
(พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร)

 

          แม้เราเป็นคนเข้าวัดแล้ว  ก็ยังต้องออกหน้าเป็นคราวๆ เพราะเป็นคนเคยคบฝรั่ง เช่น มีเจ้าฝรั่งเข้ามาเป็นครั้งแรก  ก็ได้ออกแขกได้รับเชิญในการเลี้ยงเวลาค่ำ  และในการสโมสรล้นเกล้าฯ ยังไม่ทรงทราบว่าเราเข้าวัด

          เมื่ออายุเราได้ ๑๘ ปี  ล้นเกล้าฯ โปรดเกล้าฯ ให้รับราชการประจำในกรมราชเลขา  มีหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานสารบบฎีกา  หรือกล่าวอีกโวหารหนึ่ง  เป็นราชเลขานุการในทางอรรถคดี  ในครั้งนั้นศาลที่พิจารณาอรรถคดียังแยกกันอยู่ตามกรมนั้นๆ  (ยังไม่ได้จัดกระทรวง)  ต่างทูลเกล้าฯ ถวายสารบบประจำเดือนมารวมอยู่ในพระองค์สมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน และความฎีกาในครั้งนั้น  ศาลฎีกาเรียงพระราชวินิจฉัยในท้ายฎีกาทูลเกล้าฯ ถวายทรงพระบรมนามาภิไธยแล้ว  จึงจะบังคับได้ตามนั้น  ถ้าไม่โปรดตามที่เรียงมา  ก็ทรงแก้ใหม่  มีพระราชประสงค์จะรวมราชการทางนี้เป็นแพนกหนึ่ง มีเจ้าพนักงานรักษาการ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เรารับราชการในหน้าที่นี้  เราได้เข้ารับราชการตั้งแต่วันพฤหัสบดี เดือน ๘ อุตราษาฒ ขึ้น ๒ ค่ำ  ปีฉลูนพศก  จุลศักราช ๑๒๓๙  ตรงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๒๐  ราชการที่เราทำนั้น  เมื่อกรมนั้นๆ อันมีหน้าที่พิจารณาอรรถคดีทูลเกล้าฯ ถวายสารบบประจำเดือนแล้ว  พระราชทานแก่เราๆ รวมยอดถวายอีกใบหนึ่ง เพื่อทรงทราบว่าในเดือนหนึ่งๆ คดีทุกกรมเกิดใหม่เท่านั้นๆ ตัดสินเสร็จไปแล้วเท่านั้นๆ ยังคงค้างพิจารณาเท่านั้นๆ ดูเพียงสารบบก็พอรู้ได้ว่า  การพิจารณาคดียังหละหลวมมาก  กรมหนึ่งพิจารณาเดือนหนึ่งไม่ได้กี่เรื่อง  กรมนครบาลมีหน้าที่พิจารณาความอาชญาเดือนหนึ่งแล้วเพียง ๒ เรื่อง ก็มี  ที่สุดจนรวมยอดคดี ก็ไม่ถูกกับรายคดี จะฟังเอาว่ารายคดีเป็นถูก  จำนวนเดือน ต่อมาอาจยกรายเก่ามาผิดอีก  บางทีตุลาการเอง จะรู้ไม่ได้ทีเดียวว่า คดีมีเท่าไรแน่  เป็นความยากแก่เราผู้จะรวมยอด ถึงต้องต่อว่าต่อขานกันไม่รู้จบ ผลที่ได้ก็เพียงให้จำนวนในสารบบหลังกับหน้าตรงกันเท่านั้น  อีกอย่างหนึ่งเราเป็นผู้รับฎีกาที่เรียงพระราชวินิจฉัยแล้ว  จากกรมหลวงพิชิตปรีชากรอธิบดีศาลฎีกาไว้แล้ว  อ่านถวายในเวลาทรงพระราชธุระในทางนี้โปรดตามนั้น  ทรงลงพระนามาภิไธยข้างท้าย  ไม่โปรดทรงแก้ใหม่  ตรัสบอกให้เราเขียนแล้วทรงลงพระนาม คัดสำเนาไว้แล้ว ส่งต้นถวายพรมหลวงพิชิตไป  กรมพระนเรศวรฤทธิ์อธิบดีกรมราชเลขาในครั้งนั้น  ทรงจ่ายเสมียนประทานเรา ๒ คน  คือ พระยาศรีสุนทรโวหาร  ครั้งยังเป็นนายกมล ๑  นายเจิมน้องเขา ๑  ยังเป็นเสมียนฝึกหัดทั้ง ๒ คน  เขียนหนังสือช้าทั้งตกมากด้วยตกได้ทั้งบรรทัด  เราได้ความหนักใจมากต้องคิดหาอุบายว่าอย่างไรจะรักษาสำนวนไว้ได้ ควรใช้ต้นสารบบเองก็ต้องใช้  น่าประหลาดว่าภายหลังพระยาศรีสุนทรโวหารมีความรู้ทางหนังสือเจริญขึ้นโดยลำดับ เขียนได้เร็วไม่ตก  ฟังคำที่พูดในที่ประชุมแล้วจำได้แม่นจนได้เป็นเลขานุการในเสนาบดีสภา  ยังมีข้อน่าประหลาดอีก  เขามีลูกชายคนหนึ่งชื่อนายผัน  เดี๋ยวนี้ (พ.ศ.๒๔๕๘) เป็นหลวงสารประเสริฐ  เมื่อยังเด็กเขียนหนังสือตกบรรทัดเหมือนพ่อ  เขาเอามาฝากเราบวชเป็นสามเณร  เมื่อเราเป็นผู้ใหญ่ในฝ่ายพระแล้วหัดใช้เขียนหนังสือไป  หายเขียนตก  จนถึงได้เป็นเลขานุการของเรา  ในเวลานี้ได้ชื่อว่าเป็นจินตกวี อันคนมีนิสสัยดี  ได้รับแนะนำเข้าบ้าง  อาจขยายออกได้ตามลำพังของตน  พระยาศรีสุนทรโวหาร  เป็นคนปูนเดียวกับเรา ดูเหมือนเขาได้รู้ความเข้าใจจากเราไม่เท่าไรนัก  แต่เขานับถือเราเป็นฉันอาจารย์  จนเอาลูกมาฝากอีกต่อหนึ่ง  ส่วนหลวงสารประเสริฐจักถือว่าเป็นเจ้าบุญนายคุณของเขา  แม้ตัวเขาเองก็ต้องยอมรับ  เราได้เรียนอรรถคดี เมื่อครั้งเข้ารับราชการในทางนี้  รู้เพียงฟังคำพยานแล้วสันนิษฐานเอาความจริง  แต่ตามยุติธรรมควรจะเป็น อย่างไรไม่เข้าใจถึงวางบทเพราะในครั้งนั้น รวมต่างๆ พิจารณาแล้ว  ส่งสำนวนให้ลูกขุน ณ ศาลหลวงชี้ขาด  คือชี้ว่าใครผิดใครถูก แล้วจึงเป็นหน้าที่ของขุนหลวงพระไกรศรีราชสุภาบดี  เป็นผู้ปรับสัตย์ คือว่างบทลงโทษผู้ผิดหรือยกฟ้อง  ครั้นมาถึงฎีกา  ทรงตัดสินเองไม่ได้อ้างบท ยืนตามคำชี้ขาดปรับสัตย์  ก็เป็นแล้วไป  ทรงแก้ก็ไปตามยุติธรรมเป็นเค้าเงื่อน  และการรู้กฎหมายก็ยังไม่เป็นที่น่าปรารถนา  เพราะหนังสือกฎหมายเก่า ก็อ่านเข้าใจยาก  และมีพระราชบัญญัติแลประกาศออกซ้ำซ้อนกันชันมากตั้งแต่รัชชกาลที่ ๔  กระจัดกระจายกันอยู่ยากที่จะรวบรวมไว้ได้ ทั้งอาการของผู้ทรงกฎหมายในครั้งนั้นไม่นำให้เกิดความเลื่อมใส  ชั้นใหม่มีแต่กรมหลวงพิชิตปรีชากรพระองค์เดียว  ไม่พอจะแก้ผู้อื่นเป็นอันมาให้เป็นผู้น่าเลื่อมใสไปทั้งนั้น  ถ้าเราสนใจก็คงรู้ดีขึ้นกว่านี้อีก  ตำแหน่งที่เราทำนี้แล   ครั้นเมื่อตั้งศาลสถิตยุติธรรมยกคดีในกรมทั้งหลายมารวมพิจารณาในใต้บัญชาของเจ้ากระทรวงเดียวกันแล้ว  ก็ยังคงมีสืบมาเจ้าพนักงานในตำแหน่งนี้  ได้ไปเป็นกรรมการศาลฎีกาก็มี  กรรมการศาลฎีกาได้เข้ามารับตำแหน่งนี้ก็มี  ในบัดนี้เป็นอธิบดีกรมพระสมุหนิติศาสตร์ ในกระทรวงวังด้วย

 

พระยาศรีสุนทรโวหาร (ฟัก สาลักษณ์)

พระยาศรีสุนทรโวหาร (กมล สาลักษณ์)

พระยาศรีสุทรโวหาร (ผัน สาลักษณ์)

 

          ครั้งนั้น เรื่องพระราชทานเงินเดือนแก่ผู้ทำราชการประจำวันแล้ว  ข้าราชการในกรมราชเลขาได้พระราชทานทั่วกัน  กรมพระนเรศวรวรฤทธิ์  เป็นอธิบดี  กรมพระเทวะวงศ์วโรปการ  กรมพระสมมตอมรพันธุ์  เข้ามาก่อนเรา  เมื่อเราเข้าไปเป็นที่ ๔ ไม่มีเจ้านายอื่นอีกจนเราออกมาบวช  นอกจากนี้ ข้าราชการในกรมพระอาลักษณ์ ชั้นหลวง ชั้นขุนและเสมียน  เรารับราชการอยู่  ๒ ขวบปีเต็ม  หาได้รับพระราชทานเงินเดือนไม่  จะเป็นเพราะไม่ได้ ทรงนึกถึงหรืออย่างไรหาทราบไม่  เสด็จอธิบดีของเราท่านก็หาได้ทรงขวนขวายไม่ เป็นแต่ได้รับพระราชทานเงินปีขึ้นกว่าเดิม ๕ ชั่ง เป็นปีละ ๓๕ ชั่ง  ตามอย่างเจ้านายรับราชการ  ท่านผู้ได้รับพระราชทานเงินเดือน  ก็ได้รับพระราชทานเงินปีเพิ่มเหมือนกัน  เราหาได้กระสับกระส่ายเพราะเหตุนี้ไม่  เหตุว่าเคยทำราชการมาด้วยความภักดี  ยังไม่เคยได้รับพระราชทานเงินเดือน  ทำไปด้วยน้ำใจเช่นนั้น  มีราชการไม่อยู่เปล่า  และทรงสนิทสนมด้วย เป็นพอแล้ว  ทั้งในเวลานั้นเราไม่ได้จับจ่ายเลี้ยงตัวเอง  ยายยังเป็นธุระอยู่  ไม่รู้จักสิ้นยังและเหตุต้องการเงินใช้  กล่าวคือสุรุ่ยสุร่ายเราก็งดได้แล้ว  เสียแต่มามีราชการในเวลาที่เข้าอยู่วัดเล้ว 

          ตั้งแต่เข้ารับราชการแล้ว  เราปลงใจว่าจักหาได้บวชเลยไปไม่  ถ้าทำอย่างนั้นดูเป็นทิ้งราชการเห็นแก่ประโยชน์ตัวมากเกินไป  เวลานั้น เสียงพวกสยามหนุ่มข้อนว่าพระสงฆ์ว่า  บวชอยู่ไม่ได้ทำประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่แผ่นดิน ขี้เกียจ กินแล้วนอน รับบำรุงของแผ่นดินเสียเปล่า  ฝ่ายเราไม่เห็นถึงอย่างนั้น  เห็นว่า  พระสงฆ์ยังตั้งใจทำดีแต่เป็นเฉพาะตัว เพราะไม่มีการอย่างอื่นเช่นตัวเรา  เท่านั้นก็จะจัดว่าดี  จึงไม่อาจปฏิเสธคำที่ว่า  ไม่ได้ทำประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่แผ่นดิน  ยังไม่มีญาณพอจะเห็นกว้างขวางไปว่า  พระสงฆ์ได้ทำประโยชน์แก่แผ่นดินมากเหมือนกัน  มีสั่งสอนให้คนประพฤติดี  เอาธุระในการเล่าเรียนของเด็กบุตรหลาน ราษฎรเป็นอาทิ  ข้อสำคัญคือ เป็นทางเชื่อมให้สนิทในระวางรัฐบาลกับราษฎร ในครั้งก่อน  พระสงฆ์ยิ่งเป็นกำลังของแผ่นดินมากกว่าเดี๋ยวนี้  ญาณเช่นนี้ยังไม่ผุด  จึงกระดากเพื่อจะละราชการไปบวชเสีย  แต่ยังคงไปเฝ้าเสด็จพระอุปัชฌายะ  และเรียนภาษามคธอยู่ตามเดิม  แต่ชาตาของเราเป็นคนบวชกระมัง   วันหนึ่งเผอิญกรมพระเทวะวงศ์วโรปการทรงล้อเราว่า  เป็นผู้เข้าวัดต่อหน้าพระที่นั่ง  แต่ล้นเกล้าฯ หาได้ทรงพระสำรวลตามไม่  ทรงถือเอาเป็นการ  ทรงเกลี้ยกล่อมจะให้เราสมัครบวช  เรากราบทูลตามความเห็นเกรงจะเป็นทิ้งราชการ  พระราชทานกระแสพระราชดำรัสอธิบายว่า  ถ้าเราบวชจะได้ราชการเพียงไร  ไม่เป็นอันทิ้ง จนเราหายกระดากใจเพื่อจะบวช  ตรัสปรอบอย่าให้เราห่วงถึงยาย  เราะท่านชราแล้วก็คงตายมื้อหนึ่ง  ตรัสขอปฏิญญาของเราว่าจะบวช  เราเกรงจะไปไม่ตลอด  เพราะยังไม่ไว้ใจของตัวอันเปลี่ยนเร็ว  เมื่อครั้งรุ่นหนุ่ม จึงไม่กล้าถวายปฏิญญา  เป็นแต่กราบทูลว่าถ้าจะสึก จะสึกเมื่อพ้นพรรษาแรก  พ้นจากนั้น เป็นอันจะไม่สึก  พระราชทานปฏิญญาไว้ว่า  บวชได้ ๓ พรรษาแล้ว  จักทรงตั้งเป็นต่างกรม  ทรงอ้างสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส  ครั้งเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรสเป็นตัวอย่าง  ครั้งนั้นเจ้านายพวกเราได้เป็นต่างกรมแล้ว  เพียง ๔ พระองค์  เป็นเจ้าพี่ชั้นใหญ่ทั้งนั้น  และเราจะมาเป็นที่ ๕ เหลือที่จะเอื้อมคิดไปถึง  จึงไม่ได้เอามาเป็นอารมณ์เสียเลย  จนวันมีพระราชดำรัสสั่งให้เตรียมรับกรม  ดังจะกล่าวข้างหน้า

          ตั้งแต่ทรงทราบว่าเราเป็นผู้เข้าวัด ดูทรงพระกรุณามากขึ้น  และมีราชการในทางวัดเพิ่มขึ้น  เมื่อมีพระราชธุระถึงเสด็จพระอุปัชฌายะ รับสั่งให้เราเชิญพระกระแสรับสั่งมากราบทูลบ้าง  เชิญพระราชหัตถเลขามาถวายบ้าง  เมื่อคราวจะฉลองวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ  เกาะบางปอินที่ทรงสร้างใหม่  โปรดเกล้าฯ ให้เรามีหน้าที่เป็นผู้ดูการจารึกอักษรต่างๆ ในแผ่นศิลาและติดศิลาจารึกนั้นตามที่  เรียกช่างเขียนหนังสือขอมจากกรมราชบัณฑิต  ช่างเขียนหนังสือไทยจากรมพระอาลักษณ์  ช่างแกะจากกรมกษาปณสิทธิการ และกรมช่างสิบหมู่  มาตั้งกองทำแล้วนำขึ้นไปติดเร่งรัดทำแล้วเสร็จทันงานฉลอง   ทรงใช้สรอยเราในราชกิจนั้นๆ สนิทสนม  จนถึงเวลากราบถวายบังคมลาออกมาบวช

หน้าต่อไป

5. The Prime of Life

It was a blessing for myself to mend my ways when I was 17 years old. What I have turned over a new leaf seems to be the saying; “ It take  a thief to catch a thief or  like cures like”.  We were granted audience with His Majesty every day. I had known Dr. Peter Cowan, a Scot  royal doctor, who was  over 25 years old and not yet  30. He was an undemanding farang, or what the young men would be calling him a rishi or hermit. He did not want to be a tough guy, but we still preferred to call him a farang. We were very intimate, and I saw his disposition and also his pre-warning. This was why I favoured this person, and he saw through my arrogance which he did not like at all. My humbling experience made my arrogance and pride be gone and made me a rishi like this doctor. Finally, he said that I was so young and should not smoke cigarettes. He himself did not smoke nor light the tobacco. I followed his behaviour up until now. His good effect became what I reaped. My health was not good. When I was younger, I suffered from a disease. If I smoked cigarette, and happened to be alive, I might have some internal disease. Later, I respected and adored him as a good mentor. He helped me in many ways such as the English language and also medicine then and afterwards.

As for my being profligate, I had invited the monks and called off the humble meetings on my own. One day in the late afternoon, I used to ride my horse or get on my car just for fun, or for going just anywhere. Accidentally, there was a big rainfall and I couldn’t go. A young person might feel lonely for that matter. I decided to lie about on the chaise  lounge in my dwelling. My eyes were looking here and there. What I was seeing first was a medium size table near a chair where I lied. It was  a type staying in the middle of my room where a number of things were piled up on it. That table was the type that one could see in a store. It was very beautiful and stylish. On that day the wood which was composed of the chair was merely one board, and it was a soft wood. Its opening was far from the wire at the back,  and only made of  the wood. It turned out to be a board or a rattan wood near the curved surface. It was clear that the table was oiled on the surface. As for the price when I first bought, it was unexpectedly expensive. I did not very much think of its use in terms of time-honored practice. Other pieces of furniture were also all the same. If I  happened to give this piece of  furniture which  I  disliked to other people I might  regret and deplore. From that time, I would never like to go to big stores again. My mind had indeed calmed down. I hardly bought anything at all and remember that the last receipt sent by one of the stores was only for one baht or the price of a coat botton or a cuff link made of brass gilded with gilt, for a fancy dress. In the New Year, people went shopping for what pleased them. I would look forward to it, but I waited. Sometimes the stores sent a receipt near the New Year, and I forgot it for many months.

At  this time, the horse that I used to ride or gallop only waited around here and there.  In case of a hurry, it merely trotted. The car that I got on and drove at very fast speed was the one  that went very smoothly. I simply bought coats from the Chinese tailors , and they were not awkward or clumsy, but very chic. I knew how not to squander money, and be a mindful person, not to be a social climber. Any goods bought at the Indian stores could function as well. What was good was not its low price. At that time, I did not know how to make money or  to earn a living, but I knew how to economize. This had helped people to save their income. If one leads a life of profligacy one will  be in want all the time. Wherever one saves up some money, one can save one’s own skin.

Dr. Cawvin had soothed me to understand things far better. If there be a good factor to help, it was the ordination. Certainly, there were some real requisites  also. I was ordained as a novice some years ago, but did not go to see the prince - ordainer whether it be on the Lent or during other celebrations. When I had been ambitious, I merely turned my back on the wat. One night I had a dream that I went to see my prince-ordainer. He heartily welcomed me, and was a good conversationalist. Awake I was, his conversation in this dream impressed me a great deal. I wanted the welcome to be real, and would like to visit him, but I was away from him for a long period, and felt rather awkward. Slowly I found out the good way for my visit. There was a clock lantern with coconut oil and a gadget underneath the glass. The hour and minutes needles rose up from  the gadget to the top of the lantern . The needle  was for  the bedroom and was just imported not long ago. It  was a curio in my opinion. I humbly presented this to my prince - ordainer. It was a strange curio  which somehow made me think of him. He spoke with me in a fascinating way like he did in my dream. After that, I had several chances to have the humble meetings with him. I became closer and need not look for a way to have a humble audience. Sooner or later I already became his favourite disciple. Afterwards I served and listened to him all  the time. While having an audience, he spoke on worldly and religious matters and also on Buddha image and statute models. I received various note - books from him which I made a copy on.

Such humble meetings made me interested in verses, astrology and Dhamma books which he had already read.

I was also interested in verses, and I need no mentor, but I read a number of them already. Various versions were my cup of tea. I wrote some verses and stories, but never long ones, except those during my being ordained as a bhikku or monk. I also wrote on the royal ordination of his Majesty. It was a pity that during the royal ordination I did not witness the whole event. Sometime I did not hear the expression or saying of His Majesty the King and his prince-ordainer. Some of my writings on the event might be incorrect and therefore the revision was required, but I could not do it then. The reason for the writing was during the civil service, His Majesty knew that I was a favourite disciple of the prince-ordainer so he used me on various occasions.  Once he graciously directed me to bring in his writings in verses on his desiring to be bhikku or monk. The missive had told his royal ordainer that if he wanted anything he should let his ordainer know about it. This led me to learn that His Majesty felt worried that the writings to the prince-ordainer were too abridged. I commented on this to him. At that time I was convalescing for 3 months and did not do anything of great interest. My writing on that matter was not serious, but my klongs or stanzas were somewhat good. When His Majesty wrote Abu Hassan in verses, he had the work printed and distributed each page to some 7 or 10 imaginative poets so they would send the corrections of each page for his discretion in another page before the real printing. We who were included were Prince Krom Devavongse Varopakarn and Prince Krom Phra Sommut Amornpan, who corrected them along with real imaginative poets such as Princess Krom Luang Voraseth Suda, Prince Krom Luang Pichit Prichakorn, Phraya Srisuntorn Voharn (Noi). We felt highly honored, and believed in our own sharp eyes. Some kloang patterns were erroneous. The names were provided in the appendix of His Majesty’s work. When I was ordained as a monk, he graciously directed me to help write some poems on the Thai chronicles and a eulogy to Prince Krom Phraya Bamrap Prabporapak for his royal funeral. This was the first time that as an adult I wrote stanzas or klongs.

When there were some religious works, I was no longer interested in writing poems, Later on, I was absorbed in writing only essays or comments since I had to use them quite often. In those days, chanta or poems on metrical composition was difficult to write. My real problem was that I did not have enough vocabularies. I wrote it when I knew the Magatha or Pali language and could pen the mantra or incantation, but I did not write long stories. The stanza was an incantation translated from Saratthaprot on the charitable occasion of Satanaha (one hundred days) of the Prince Krom Phraya Sudaratra Rajprayus, and a song in her honour by the students ofMaha Mongkut College. I did not write rhyme (klon paed) though I would like to try it, but the time had elapsed, and I felt resistant to do it. Besides, my interest was not profound enough. When I wrote poem, I was not good at it, and merely did it for sophistry.

My study on astrology began with Khun Thepyakorn (Tap), starting from the calculating of the Thai calendar, which was a very difficult subject. Astrology and forecast had then been one inseparable subject which became a wrong course. We emphasized only the forecast, and the teaching had been an error and omission. There was no explanation on the affairs of the astrology on the calendar. Even the names such as the counting of the years, lunar months, the counting of the days altogether and other things, what did they actually mean? Why was the counting of the years set up? Why should there be a different segment? What did a House degree and minutes mean? What was the different orbit of the Sun and the Moon and other planets? What was called the Median and zodiacal calculation of the earth and the other planets? In the texts, if we did the counting of the years, we should set it up like that, and should do as the calculation provided. We started with an auspicious day of a week in a year, inauspicious day, and doomsdays  which  had  nothing to do  with  astrology but had  something to do with the forecast. Each item was difficult to learn.  I was not quite confident that all astrologers could explain its basic difference. Astrologers do not understand the meaning of fixed stars or planets well. Khun Thepyakorn (Tad) died while the study of astrology was on. Later on I learnt  with teacher Pia when he  was  ordained  and became venerable Phra Kru Palad  Suvattana  Sudkoon   at Wat Rajpradit.   I was  determined to complete the  calendars  within  that  year. We  had done  quite a lot of work up to the zodiacal calculation or half of the  whole thing. I was  deeply  involved in the study of pansa and later  found astrology to be  all nonsense  since I did not really comprehend it . As for  the forecast, my scope of  knowledge  seems to be nothing. My prince-ordainer  had  given some  guideline, but   I did not  study it  seriously. We had used this subject to some  extent, and I did the revision of  the astrological almanac for the  prince-ordainer.

I  studied the Dhamma  only  by reading as a background or   by listening to  the  teaching  of the prince-ordainer. He talked with me  when  His  Eminence Somdej  Phra  Wanarat (Buddhasiri)  at Wat  Sommanas  began  to  write on the subject  of the Dhamma  for  circulation  . The book  used simple expressions , and  was easy for laymen  to  understand. It  helped  broaden our scope of knowledge on the subject. If one would be interested in this ,  one would never be stiff bored. The Dhamma is a physical and  mental conduct  which  is quite contrary to arrogance  or vanity.  It is a delicate subject. If  we study the ultimate truth of the Dhamma, the five aggregates of  mental properties,  the three characteristics of  existence :-  impermanence incompleteness  and  non-self , the Four  Noble  Truths , and  Dependent Origination in which we would be impressed. Our  disposition is not to believe  in anything easily, especially  the  speeches on the Dhamma which  are  often  shrouded  in being unreliable to some a extent.  This  made me catch my attention to the subject  since I admired  the Dhamma.  I heard  certain superior  persons who  objected  to some  expositions on it. I   decided to use only reliable sources and got rid of the unreliable ones such as the expression of panning the gold from sand. What  is most admirable is Kalammasutra or  formula of ten beliefs, which teaches us not to believe in anything blindly,  and to use our consideration as one of the sources. Our comprehension at that time was that of a modern Dhamma scholar. We were not dogmatic  and believed blindly in anything .  What was unbelievable was something that brazen people had put forward, and this was found to be a falsehood. But  these people  merely  say  they should reproduce it without thinking  about the code  that  might be dhammic  puzzles such  as the Victory of  the  Tempter (Maravichai). They thought it was untrue, and they  never figured it was  a theme made up by  the compassionate Buddha, who reviewed  the whole  matter with  His goodness. I  do not  think  I am a pedagogue on  this at all.

My  conjecture  is that we should  know the Dhamma on a  comprehensive  level and  learn the words in the Pali language  so  that  we could read  the Pali  Canon on our  own , or else  we simply read the translations  or the  stories which the writers may  make it up.  In those days the  venerable  Phra Priyatti  Tham Tada  (Piam)  , my  old teacher , had  moved from his previous house in front of Wat  Chana Songkram to a new place in Bang Bamru around Bangkok – Noi  canal. I could not study with him since Phra  Pariyatti Tham Tada (Chang)   was in front  of  Wat  Rangsri Suthavas, which  was not so  far  away, and he had been one of my teachers.   I was asked to give a moral lesson, and had heard that to study with him we could learn the Magatha  language on a more  comprehensive  level . We  studied  the language  from the origins  that is the  Gajjayna  Pakorn or miscellaneous part  . The account of  Bot Mala section  was too narrow  and  I did not know  the subject  full well enough. We learnt  the subject as comprehensively as  possible  ,  and  we had  studied the Bot  Mala  section ,  which was regarded the origins  of this  language.  The primary grade was  the topics for recitation or committal to memory. We studied this subject and its translations in order to  understand  the contents or the  miscellaneous composition. Our   teacher was not well-versed in it , but  he could  render  its translation, though it befell us to understand the issue more properly . Finally,  he gave  us the ready – made  translation as well  as  Thai  explanation ( or  what  was called  Nissai  Mool).  The study was rather  casual  and  careless and we found  the texts were  rough,  even  though it  took  us  nearly  10 months to  complete  the  works.  This  was a rapid  learning , however. Usually  we should study for  two  years, but  we might  notice  that  the  arrangement  in the  text  was very lengthy   and  overlapping.  When it came to the context of each  story in the Buddhist exegetical literature,   it  was  quite  compact  for  us.  We  only  selected  the  best  teachers  to  teach us the treatises. When studying the exegetical   literature, we were  quite  perplexed. Before  we began to use  elementary  course  on  the  subject  to  define its  nature , we  found it  was a  real waste  of  time  . The  text  was  much  easier and  could be  noticed and  understood, and we could also translate on our own.  This  was  why we  chose  the  texts  from Tripitaka  , and  asked  Prince  Krom  Muen  Narubal  Mukhamatya, director-general  of  the  Royal    Institute,  to  help us. The treatises on  Pali and  Vinaya (rules and  regulations or disciplines)  were  not   difficult , and   could also  be  read  only in  one  sitting.

Since   I  came to  this  wat  and  learnt  the Dhamma , I  began to  favour  the monkhood  much  more  . Quite  a majority of us  thought  that to be ordained  was  not  difficult. They simply humbled their mindful heart and that  should  be  more  than enough. When I was  a  kid  I was  afraid  to  be  ordained  again ;  things seemed  to be savorless  wishy – washy . We  may decorate  a  room , but  once  our  eyes are  trained on it  then  we need  to  redecorate it .  At  that  time I did not  trust  myself since  I might  leave  the Order. To be a monk  for  a  long time and  leave  the  monkhood  later is  a  sheer waste  of time for  laity   in  this   world.

When I was seventeen Prince Krom Luang Prom Varanulak was ordained. In  those  days , Momchao (M.C.)  Jaras  Chom, his eldest  daughter ,  was born when  he was  a monk. I took care of her and accepted her as my own child. During this occasion, I just saw her for  the  first  time. It was my initial time to be involved in other people as an adult. I took great care of the baby until the father left the Order.

When  Prince Krom Luang Prom Varanulak joined the  civil   service  as  a  seamster at  the  time of  His Majesty’s  ordination. He  prepared  for  the  royal  celebrations at  Varopas  Piman  Palace  at       Bangpa-in  island. His  Majesty had  graciously  commanded me to look  after  the work of being  a seamster of  Prince Krom Luang Prom Varanulak  such as making  general  flags and  elephant  flags. As  for  the  decorations for  this  celebration , we could  buy  the flags,  but  finally we had decided to make  them. I had never done the job , and  was  afraid  that  I could not catch up   with  the  event,  but finally I could  keep up  with it. His Majesty graciously said the expenses could be disbursed. I did not know the exact price of each cloth, and someone might be wary, so I decided  not to  disburse it.  After  all,  the whole work was completed.

Later  came the Coronation Day , and  I was  graciously granted a golden  footed tray  to  put in  the areca nuts with  all the  devices , one  water goblet,  one seal of Chulachomkhlao   royal  orders and  decorations. Prince  Krom Phra Sommut  Amornpan was  also  graciously  granted on  Monday,  twelfth lunar  month,  twelfth day of  the waning moon, the Year of the Rat, the  eighth year of the decade, the Minor  Year  or Era of  1234, corresponding  to  November 13th , B.E. 2419  (A.D.  1876),  which was  calculated on lunar system at the Ananda  Throne  Hall ,  and he had  graciously been received a golden chest inscribed with golden Rachavadee design  with the Seal  of  the Crown in the  back on the Thai New Year  royal  celebration  on Sunday, the 4 lunar  month  , 12th  day of the waning  moon  , corresponding to   March  8 of the same year.  He was not very happy to have  been  graciously granted the golden footed  tray.  If  His Majesty  was still alive, he would  provide  it  along  with other royal  children. I heard that I happened to be among those  who were graciously granted  on  this  occasion. When  it  came to our royal  brothers, the  granting had  to be  postponed according to the  ages of the receivers. In  those days that I was  ordained , I was  not  a  somebody . I  merely said  that to have graciously been  granted  was  better  than  not  to be.  It must  be  remembered  that  I did not  join  the civil  service. The Tutiya  Chulachomklao  or  2nd  class decoration  was  quite  commonplace.  At   that  time  they admired  the  merit more  since the  certificate of  recognition also  inscribed   it  more  or  less like the preremptory command  to  promulgate  a  department . As    for  the seals and  decorations  of  the  certificates  of  recognition,  they  verified that  the persons  should be  awarded,   but I  had not  directly joined the civil  service, so my  certificate was in  a hopeless  situation. We  were  happy  that  the Prince  Krom Phra  received the 3rd  level  Crown of  Siam for  being an  interior  decorator. The  seals  and  decorations that  one happened  to be  granted  were  also  very  special.  Once  graciously granted,  I never  had  the  opportunity  to take  a  photograph of  the  event .  Later on, when  I became a senior  monk or Elder, I knew  that  we did not  feel  like to  receive  these  decorations, but it  was  the most  appropriate  time.  I admired the people who did not  desire to receive  or  got   excited  too  much   over  the  occasion.

Even  though  I  more or  less joined  the wat  and was ethical  I had  to put  myself  forward  openly  sometimes  because of  my  familiarity with  farang people  and  knowing  their  nature. Once  a  farang prince  came  here  for  the first  time  , I was  graciously invited  by  His  Majesty  the King  to  entertain his  royal  guest  at  the  banqueting  hall during the  royal  dinner . His  Majesty  the  King did not  know  that  I already  joined the wat  and  became  ethical.  

At  the age  of  18,  His  Majesty  the King  had  graciously commanded me to join  the civil  service  at  the  royal  secretariat to  take  care  of  the  Dika or  supreme  court  rolls. In other words, I was  the  royal  secretary  on legal cases. In  those days  the  courts  were  separate  from each other  according to   each department (the Ministry of Justice  was not  set  up   yet).  We had to report the rolls to His Majesty every  month. The legal cases  of  the Supreme Court at that time  arranged his  royal  discretion  and  decision at  the appendices of the rolls. He signed his royal name, and the  law then became  official and enforced. If  His  Majesty  did  not graciously  have  a liking for  the  decision, he could revise the  case. He  intended to collect the rolls and  set up a  section  with  officials to take  care  of the matter. He graciously appointed me to do the  duty ,  and  I therefore  joined the civil service  on Thursday,  eighth  lunar   month , Uttaravan constellation,  the  2nd  day of the  waxing  moon,  the Year  of  the Ox, the nineth  year  of  the decade,  the  Minor  Year or Era of 1239, corresponding to  July 12, B.E.  2420 (A.D. 1877)  . The work  that  I  did was  that  once  the departments had considered that the legal  matters  should  be  graciously  presented  to His Majesty’s  monthly roll,   which he had graciously  appointed  us to take care of it. We collected in  another  piece  of paper  for His Majesty  to  understand  that  in one  month  altogether how many  legal decisions and   cases  were  left  unfinished . If  we looked  at  the  rolls,  we would  understand that   there  were  many  loopholes or drawbacks in the  legal trials.  One department could take care  of  only a few  cases . The department of city works  only  tried  its few cases in  a month. Finally, the legal decisions were only compiled  in terms of  cases for  each  month. Maybe, the  judges or jury did not  know  how  many cases there  were . It  was difficult for us , the collector of  this roll, since here  had  been  some  controversy  in  this  matter; the  end-result  of the number of each roll  must  also  have  the former  and  the latter  cases.  On the other hand, the Dika or Supreme  Court decision collector  must  set  His Majesty’s  decision in order. Prince Krom  Luang  Pichit  Prichakorn, President  of  the  Supreme Court,    read  the rolls  in  presence of His Majesty  , who was interested  in  this matter as we could see his  royal  signatures  in the appendices . If  he  did not   revise  the case , he simply signed his name. We only  copied it right away and sent  the  case to Prince  Krom Luang Pichit  Prichakorn, director – general of  the  royal  secretariat at that  time. He  then  directed  2 clerks for us ;  that is , Phraya Sri Suntorn  Voharn or Mister Kamol and Mister Jirm who were our clerk – trainees.   While  copying they  missed some  words or sentences and  were slow  writers. I was   disturbed  and  found  a way to  keep  the real contents intact. They  used the original  works , and  it  was  quite a surprise that   they were well  educated , and finally never  overlooked   any  sentences , and  were  fast writers.  They  could  commit  the conversation in a meeting  to memory, and  wrote it well.  Finally they  became  secretaries  to all  ministers’  official  meetings  . Another  surprise was that one of  them got a  son  by  the name  of  Phan . In the year of  B.E. 2458 ( A.D.  1915 ),  he is  Luang  Saraprasert . When this  boy  was young ,  he  overlooked  some  words like his  father  used to do. His father left  him in my care when he was a  novice. When  I became senior  monk , I  directed  him to  write some papers, but  he  never  missed any  words. He had  been  my secretary  and  a real  imaginative poet. His  nature  is  excellent and he may be highly  recommended , but  he gets  better on his own.   Phraya  Srisunthorn  Voharn  belongs  to my generation. It  seems that  he has  learnt not  too much from me , but he  has a great respect,  calling me his  archan  (teacher), and  left his son in  my care . As  for  the son  or Luang Saraprasert , I  may be  regarded as his  benefactor, which  he also  admits. I  learnt legal  cases when I joined the civil  service. When  listening  to  the witnesses, I might conjecture from the  fact, truth , and justice , but  I did not  comprehend the  broad  outline since in those  days when the departments  had considered    the  matter , they  submitted the   whole  thing to the jury to  decide the issue concerning  right or wrong. It was  incumbent on  Khum Luang Phra Kraisri  Rachasubpabodee to impose a penalty  or to dismiss a plaint. When  the  matter was at  the Dika court, His Majesty  decided the issue  with  no citing  of the  provisions. If he  confirmed the prevailing   provisions , it  would  be alright.  But   if  he revised the  matter  it  would be  a  primary cause .  To  understand  legal  matters  might  be of  assistance  since the  old  legal  books   were  quite difficult to  read. There  were  acts  and  announcements   legislated  in  succession  since  the  reign of  King  Roma IV, but   they  were  scattered in  disarray  , and  the manners of  the  legislators  did not  deserve  merit.  As for  the new  generation,  there  is  only  Prince Krom Luang  Pichit  Preechakorn  who  could  revise  the  whole  affair   . If   I happened  to be more interested   I might  understand  much  better.  My position was no  more  when   they  set up the Ministry   of Justice.  All  legal cases  were under the  command  of  one  minister. Even  nowadays, the  situation is  still the same . The  portfolio  of  the  person  who  holds  this  rank is   also  a  committee  member  of  the Dika  court  and  the chief  of legal  affairs at the  Ministry   of  Palace. 

In  those  days, monthly  salaries  were  paid  to those who  joined the civil  service  , especially all officials at   the royal  secretariat  received their stipends.  Prince  Krom Phra  Devavongse Varopakarn  and  Prince  Krom Phra Sommut  Amonpan were  officials before   myself. I was the  4th  official . There  were  no other princes until I  was ordained to be  a monk. Besides,  there  were  officials at the royal   scribe  department  holding the titles of  Luang, Khun,  and  also  clerks  . I  joined the  civil  service for  2 full  years,  but  I was not  paid  my  salary.  I did not know   whether His Majesty  did not   think  of  us  or  not. Even   my  own  prince  who  became  director – general  did  not  take  the  trouble to  seek  for it.   But   I merely  received a  more yearly  salary  by 5 chung or  80 baht  , or  a  yearly  salary of 35  chung  as all  the  princes  had  already  received . Those who  graciously  received  monthly  salaries  got  more  yearly salaries. I was  not  ill  at  ease on this  since   I  did the whole  work  with full loyalty   and  good  feelings  ;    I  was never  paid  a monthly salary , but  I still nourished my  grand  - ma  . My  profligacy was  shameful and   came  to an end. The civil service  which  I  joined  often  had a  lot of  work  to  do  while I had   to go to wat  and  became   more  ethical.

After  having  joined  the civil  service , I accepted  my situation  that   I  did  not  have  the  time to be  ordained as a  monk  . If  such  decision  was  made,  I might  have  abandoned  the civil  service  , and  could  be very  self – centred.  In those  days ,  the  young men in Siam said mean  thing  on  the  monks that   they  were of   no  use  or  substance to the  society even  though  they had been  monks  for  a  long  time. They  were slothful ,  simply  ate and  slept , so the  society  should not  support  them. I did not  have that  kind of  opinion,  and  thought  that  monks  who could do  good  were  those who were  private  for themselves . There  was nothing  else  but  their own . We can  not  refuse  the saying  that  the  society should  not  support   them , but they can be of  tremendons  benefit  and vantage  point  to all  society as well. They  teach all people   to  be good  and  behave  well  . Besides, they  are also interested   in  children’s  learning , and  are  the  midpoint between  the people  and   the government.  In those days , monks  had  been  a real  force and strength of this   society.  If  this  meditative  absorption  did  not  occur  ,  I merely thought  that to leave  the  civil  service  and be  a monk  was  self  - centered .  But  I still  visited  my prince - ordainer  and  studied the   Magatha (Pali)  language  . My destiny  might  be  a  monk . One day  , Prince  Krom Phra  Devavsngse  Varopakarn  teased me in  presence of   His Majesty  that  I was  very ethical,  but  he did not  chuckle, and  treated the matter  as a model . His Majesty even persuaded me to be ordained as a monk. I informed him that it might be  improper to  leave  the  civil  service.  He explained  that  if  I  happened  to  be  ordained , it  would  be  officially  good  to the civil  service, and   would  not  be  considered  that I left it. I  was  not  diffident  to be ordained, and  His  Majesty  graciously  told me not  to  worry  too  much  about  my  grand-mother . She was too senile. I  was not  sure I  could be ordained  for  a  long  time  and  I did not trust  myself  and  my own   behaviour . At  that  young age,  I did not  dare to tell  His Majesty  on oath  that  I would  be a  monk for good.  I simply informed him that  I  might  leave the  Order  after  the first  Buddhist  Lent. If   it was beyond that, there was no leaving the monkhood. He  told me  that  after  3 Buddhist  Lents he  would confer  me  to  the rank  of  Tang Krom  or  prince  of  higher  designation . He  quoted  Prince Somdej  Phra  Porama  Nuchit as  an example.  At that time, there were 4 princes that held  this  rank . I happened  to be the  5th  , which  was  beyond my thought  , so I did not  get  worked  up  on that  .  One day , His Majesty  graciously  directed  me to be  a Krom  ,which I shall   explain later.

His Majesty  the King  knew  full  well that  I was  very  ethical. Since  then ,  he  had  been kind  and gentle , and graciously  commanded me to  do  civil  service about  religious  matters.  He  directed  me to inform my  prince-ordainer  that  he  would  visit  him and  I should tell   him  his  royal  missive . When  the  newly erected  Wat  Nives  Dhamma  Prawat  would  be  celebrated at  Bang  Pa – in  island  , His Majesty  directed me to  supervise  the  engravement   of  different  languages in the  inscription stones  , which  included  the  Khom ( Cambodian or Kmer)  language,  inscribed  by the  craftsmen at  Royal  Institute  and   at  court  secretariat  for  the  Thai  writing.  There were also engravers from the   mint and the Ten Arts and Crafts Department  . They  did  this  beforehand and engraved  it  hurriedly  so that  the  celebrations of the wat  would  be done  in  time.  His  Majesty   had  graciously  directed me  to do  this  sort of  things until I became  familiar  with  this  service. I  prostrated  before  His  Majesty  and  informed  him  that  I would  be  ordained  as a  monk.

next page

 

 

กลับหน้าเดิม

 

 

web site hit counter