พระประวัติตรัสเล่า(๖)
Reminiscences (6)
๖.สมัยทรงผนวชพระ
|
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ |
ธรรมเนียมเก่า ชายผู้เกิดต้นปีไปหากลางปี มีอายุนับโดยปีได้ ๒๑ อุปสมบทได้ ผู้เกิดพ้นกลางปีไปแล้ว ให้อุปสมบทต่อเมื่ออายุได้ ๒๒ ปี ตั้งแต่รัชชกาลที่ ๔ ธรรมเนียมในราชการพออายุ ๒๑ ก็อุปสมบทได้ ต่อมาพระมหาเถระในธรรมยุตติกนิกายเห็นว่า คนเกิดต้นปีอาจอุปสมบทได้ในปีที่ ๒๐ ที่ทอนเข้ารอบแล้วได้ ๑๙ ปี มีเศษเดือน พอจะประจบเข้ากับเดือนที่อยู่ในครรภ์เป็น ๑ ปี และได้อุปสมบทแก่คนมีอายุเพียงเท่านี้มาเป็นบางครั้ง ฉะเพาะบุรุษพิเศษ กรมพระนเรศวรวรฤทธิ์ก็ได้ทรงอุปสมบท เมื่อพระชนมายุเท่านี้ เมื่อมีตัวอย่างมาแล้ว เราจึงกราบทูลเสด็จพระอุปัชฌายะ ขอประทานพระมติในการบวช ท่านทรงอำนวยให้อุปสมบท ในปีที่ ๒๐ จึงนำความนี้กราบทูลล้นเกล้าฯ ทรงพระอนุมัติ เป็นอันตกลงว่า จักอุปสมบทในปีที่ ๒๐ นี้ เดิมกรมพระเทวะวงศ์วโรปการจักทรงผนวชในปีนี้ แต่มีราชการต้องงดไป คงบวชแต่เราผู้เดียวสมโภชที่พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัยวันหนึ่งรุ่งขึ้นอุปสมบทที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันศุกร์ เดือน ๘ ขึ้น ๙ ค่ำปีเถาะ เอกศก จุลศักราช ๑๒๔๑ ตรงวันที่ ๒๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๒๒ เสร็จอุปสมบทกรรรม เวลาบ่าย ๑ โมง ๔๑ ลิปดา สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌายะ พระจันทรโคจรคุณ (จันทรังสี) วัดมกุฏกษัตริย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์สวดองค์เดียวตามแบบพระวินัย ธรรมเนียมที่ใช้กันมา สวดคู่ ท่านผู้อยู่ข้างขวาเรียกกรรมวาจาจารย์ ท่านผู้อยู่ข้างซ้ายเรียก อนุสาวนาจารย์ เรียกอย่างเขินๆ เพราะอนุสาวนาเป็นเอกเทศของกรรมวาจา จะหมายกรรมวาจาเป็นญัตติ ก็แยกกันสวดไม่ได้ อย่างไรจึงสวดคู่ เราเห็นว่า คงเกิดขึ้นในหมู่ที่ไม่เข้าใจบาลี สวดเข้าคู่กัน เป็นอันทานกันเอง รูปหนึ่งสวดผิด การสวดย่อมล่ม รู้ได้ง่าย เป็นวิธีชอบกลอยู่ แต่ท่านผู้รู้มักรังเกียจว่าสวดไม่สะดวก ว่าอักษรไม่ตระหนัก แต่บวชออกแขก ยังคงใช้กันมา เว้นแต่ในคราวทำทัฬหิกรรมคือบวชซ้ำ สวดแต่รูปเดียวครั้งล้นเกล้าฯ ทรงอุปสมบท มีกรรมวาจาจารย์รูปเดียว ตั้งแต่นั้นมาพระเจ้าน้องยาเธอทรงอุปสมบทมีกรรมวาจาจารย์รูปเดียวตามอย่าง แต่หม่อมเจ้าคงสวดคู่ คราวนี้กลายเป็นจัดชั้นเอก สวดรูปเดียว ชั้นโทสวดคู่ แต่ตามวัดก็ใช้สวดรูปเดียวตามขึ้นบ้าง นึกดูก็ขัน อย่างไรจึงกลายเป็นยศ คนสามัญที่สุดคนของหม่อมเจ้าเอง พอใจจะมีพระกรรมวาจาจารย์รูปเดียวก็มีได้ ส่วนหม่อมเจ้าเองมีไม่ได้ เหตุไฉนเจ้าคุณจันทรโคจรคุณ ผู้เป็นเพียงพระราชาคณะยก จึงเป็นพระกรรมวาจาของเรา มีเป็นธรรมเนียมในราชการพระอุปัชฌายะหลวงเลือก พระกรรมวาจาจารย์ เจ้าตัวผู้บวชเลือก เราเลื่อมใสอยู่มากในเจ้าคุณจันทรโคจรคุณ เห็นอาการของท่านเคร่งครัดและเป็นสมถะดี มีฉายาอันเย็นเช่น พระราหุลครั้งยังเป็นพระทารก กล่าวชมสมเด็จพระบรมศาสดาฉะนั้น ทำทางรู้จักกับท่านไว้ก่อนแล้วครั้นถึงเวลาบวช จึงเลือกท่านเป็นพระกรรมวาจาจารย์ไม่ต้องการท่านผู้มียศสูงกว่า เราพอใจว่าได้ท่านเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ตั้งแต่บัดนั้นมาจนทุกวันนี้ ในคราวที่เราบวชนั้น เห็นได้ว่าล้นเกล้าฯ ทรงกังวลอยู่ พอเที่ยงแล้วก็เสด็จออกไม่ต้องคอยนาน บวชแล้วมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารนี้ ล้นเกล้าฯ หาได้เสด็จส่งไม่ โปรดเกล่าฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์เสด็จมาส่งโดยรถหลวง เสด็จพระอุปัชฌายะ โปรดให้อยู่คณะกุฏิ์ ที่เป็นคณะร้าง ไม่มีพระอยู่ในเวลานั้น นี้เป็นเหตุให้เราเสียใจ เพราะได้เคยอยู่ที่โรงพิมพ์ที่เคยประทับของทูลกระหม่อมมาแล้ว ทั้งอยู่ห่างจากท่านออกไปด้วย แต่พระประสงค์ของท่านว่า เราอยู่ที่นั่นคณะกุฏิ์จะได้ไม่เปลี่ยว แต่เราก็อยู่สองคนกับตาจุ้ยอายุ ๗๐ แล้ว ที่ยายจัดให้มาอยู่เป็นเพื่อนเท่านั้น แต่อยู่ก็สบาย เงียบเชียบ มีคนหลายคนก็แต่เวลาในเพลที่เขาเชิญเครื่องมาส่ง
|
|
พระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จนฺทรํสี) |
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ เมื่อแรกทรงผนวช |
ถึงหน้าเข้าพรรษา ล้นเกล้าฯ เสด็จถวายพุ่มที่วัดนี้ เคยเสด็จทรงประเคนพุ่มพระเจ้าน้องยาเธอ ผู้ทรงผนวชใหม่ถึงตำหนักเป็นการทรงเยือนด้วย เสด็จกุฎีเราทรงประเคนพุ่ม เราเห็นท่านทรางกราบด้วยเคารพอย่างเป็นพระ แปลกจากพระอาการที่ทรงแสดงแก่ประองค์อื่นเพียงทรงประคองอัญชลี เรานึกสลดใจว่า โดยฐานเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ท่านก็เป็นเจ้าของเรา โดยฐานเนื่องในพระราชวงศ์เดียวกัน ท่านก็เป็นพระเชษฐะของเรา โดยฐานเป็นผู้แนะราชการพระราชพระราชทานท่านก็เป็นครูของเรา เห็นท่านทรงกราบ แม้จะนึกว่าท่านทรงแสดงเคารพแก่ธงชัยพระอรหันต์ต่างหาก ก็ยังวางใจไม่ลง ไม่ปรารถนาจะให้เสียความวางพระราชหฤทัยของท่าน ไม่ปรารถนาจะให้ท่านทอดพระเนตรเห็นเรา ผู้ที่ท่านทรงกราบแล้วถือเพศเป็นคฤหัสถ์อีก เราตกลงใจว่าจะไม่สึกในเวลานั้น แต่หาได้ทูลไม่
|
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงฉายที่วัดมกุฏกษัตริยาราม |
คราวนี้เสด็จพระอุปัชฌายะ หาค่อยได้ทรงสั่งสอนเหมือนเมื่อครั้งเป็นสามเณรไม่ เป็นเพราะท่านเลิกเป็นพระอุปัชฌายะเสีย ทรงรับเป็นเฉพาะบางคน พระใหม่ของท่านจึงมีไม่กี่รูป ท่านทรงสอนพระอื่นกลับสอบถามเราด้วยซ้ำ ในพรรษาต้นอยู่ข้าได้ความสุข เพราะความเป็นไปลงระเบียบและเงียบเชียบ เช้าบางวันไปบิณฑบาต เช้า ๒ โมงครึ่ง ลงนมัสการพระที่พระอุโบสถ กลับขึ้นมาแล้วจึงฉันเช้า แต่นั้นว่าง สุดแล้วแต่จะน้อมเวลาไป กลางวันพัก บ่ายดูหนังสือเรียน พอแดดล่มไปกวาดลานพระเจดีย์กลับจวนค่ำ หัวค่ำเรียนมคธภาษากับพระปริยัติธรรมธาดา (ชัง) เหมือนอย่างเคยเรียนที่วัง ยังเรียนอรรถกถาธรรมบทอยู่นั่นเอง แต่กำลังเคร่งเงินทองไม่เกี่ยวข้อง อาจารย์พลอยขาดผลที่เคยได้เป็นรายเดือนด้วย ๒ ทุ่มครึ่ง ลงนมัสการพระ สวดมนต์ฟังสิกขาที่พระอุโบสถ เสด็จพระอุปัชฌายะมักประทับตรัสอยู่จนเวลาราว ๔ ทุ่ม จึงเสด็จขึ้น พระไม่อยู่รอ ต่างรูปต่างไป เว้นแต่ผู้ที่ท่านตรัสอยู่ ฝ่ายเราเคยมาในราชการ ทั้งท่านตรัสกับเราเองโดยมากด้วย รออยู่กว่าจะเสด็จขึ้นจึงได้กลับ แต่นั้นเป็นเวลาสาธยาย และเจริญสมณธรรม กว่าจะถึงเวลานอนราว ๒ ยาม สวดมนต์ที่เป็นพระสูตรต่างๆ บันดามีในสมุดพิมพ์แบบธรรมยุต ครั้งรัชชกาลที่ ๔ เราเล่าจำได้มาแต่ก่อนอุปสมบทแทบทั้งนั้น ไม่พักลำบากด้วยการนี้ ด้องเล่าเติมบางอย่างที่ไม่มีในนั้น เราเล่าที่วัดนี้ ปาฏิโมกข์ทั้งสองและองค์นิสสยมุตตกะ เป็นต้นที่สำหรับเป็นความรู้ ไม่ได้ใช้เป็นสวดมนต์
|
|
พระอริยะมุนี (เอม อายุวฑฺฒโน) |
พระสมุทรมุนี (หน่าย เขมโก) |
ศึกษาธรรมและวินัยหนักเข้า ออกจะเห็นเสด็จพระอุปัชฌยะทรงในทางโลกเกินไปเสียแล้ว นี้เป็นอาการของผุ้แลเห็นแคบดิ่งไปในทางเดียว ต่อเป็นผู้ใหญ่ขึ้นเอง จึงเห็นว่ารู้ทางโลกก็เป็นสำคัญอุดหนุนรู้ทางธรรมให้มั่นให้กว้าง พระศาสดาของเราก็ได้ความรู้ทางโลกเป็นกำลังช่วย จึงประกาศกระพุทธศาสนาด้วยดี ในเวลานี้ คนเช่นนั้นเขาคงเห็นเราทรงในทางโลกเกินไปเหมือนกัน ครั้งนั้นใคร่จะไปอยู่ในสำนักจ้คุณจันทรโคจรคุณที่วัดมกุฎกษัตริย์ ซึ่งครั้งนั้นเรียกวัดพระนามบัญญัติ เพื่อสำเหนียกความปฏิบัติของท่าน พอออกพรรษาแล้ว พูดแก่ท่านทูลขอพระอนุญาตของล้น เกล้าฯ ทูลลาเสด็จพระอุปัชฌายะ โปรดให้ไปสมปรารถนา เป็นคราวแรกที่เจ้านายพวกเราไปอยู่ที่วัดอื่น นอกจากวัดบวรนิเวศวิหารนี้ และวัดราชประดิษฐ์ ได้ไปอยู่วัดมกุฏกษัตริย์เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีนั้นเอง แต่แรกท่านให้อยู่คณะด้านตะวันออก ที่กุฎีตรงสระด้านเหนือที่เราสร้างเอง แต่บัดนี้ชำรุดและรื้อเสียแล้ว ภายหลังขออนุญาตอยู่ในคณะของท่านทางคณะตะวันตก ท่านให้อยู่ที่หอไตรหลังกุฎีใหญ่ของท่าน ท่านฝากเราให้เรียนมคธภาษาต่อเจ้าคุณพระพรหมมุนี (กิตติสาระ) ครั้งยังเป็นบาเรียน เรียนมังคลัตถทีปนี พอค่ำอาจารย์มาสอนที่กุฎี
เราไปอยู่วัดนั้นเป็นครั้งแรกที่เราได้พบว่า ความปฏิบัติพระธรรมวินัยของพวกพระธรรมยุต แผกกันด้วยวิธี เช่น ถือกัปอติเรกจีวร ภายใน ๑๐ วัน เหมือนกัน แต่วัดบวรนิเวศวิหาร วิกัปหนเดียวแล้ว ฝ่ายที่วัดปกุฎกษัตริย์เมื่อถอนแล้ว ต้องวิปกับใหม่ ทุก ๑๐ วัน เป็นอย่างนี้ ได้ความว่า ในครั้งนั้น คณะธรรยุต มีหัววัดเป็นเจ้าสำนักอยู่สอง วัดบวรนิเวศวิหารที่เป็นเจ้าคณะ ๑ วัดโสมนัสวิหาร ๑ สองสำนักนี้ปฏิบัติวินัยก็ดี ธรรมเนียมก็ดี แผกกันไปบ้างโดยวิธี แม้อัธยาศัยก็แผกกัน วัดอื่นที่ออกจากสองวัดนั้น เรือเนื่องด้วยสองวัดนั้น ย่อมทำตามหัววัดของตน เหตุแผกกันของสองวัดนั้น เราควรจะถามเจ้าคุณพระกรรมวาจาจารย์ของเราได้ที่เดียว แต่พลาดมาเสียแล้ว หาได้ถามไม่ เข้าใจตามความสังเกตและพบเห็นว่า เมื่อครั้งทูลกระหม่อมยังทรงผนวช ครั้นเมื่อเสด็จมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารแล้ว สมเด็จพระวันรัต (พุทฺธสิริ) ครองคณะวัดราชาธิวาสอยู่ข้างโน้น ทูลกระหม่อมทรงเปลี่ยนแปลง หรือตั้งแบบแผนอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นข้างนี้ สามเด็จพระวันรัตอยู่ข้างโน้นบางทีจะไม่รู้ คงทำตามแบบที่ใช้ ครั้งเสด็จอยู่วัดราชาธิวาส ข้างเสด็จพระอุปัชฌายะเสด็จย้ายจากวัดมหาธาตุมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารกับทูลกระหม่อม ไม่ได้เคยเสด็จอยู่วัดราชาธิวาส คงทรงตามแบบที่ใช้ในวัดสืบนี้ การเปลี่ยนแปลงอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่เคยมีประกาศให้รู้ทั่วกันหรือบังคับนัดหมายให้เป็นตามกัน จนถึงเราเป็นคู่ครองคณะ พึ่งจะมีขึ้นบ้างเมื่อมีหนังสือแถลงการณ์คณะสงฆ์ขึ้นแล้ว ครั้นทูลกระหม่อมทรงลาผนวชไปเสวยราชย์แล้ว เสด็จพระอุปัชฌายะเป็นเจ้าคณะแต่ท่านไม่ได้เป็นบาเรียน และท่านทรงถ่อมพระองค์อยู่ด้วย ฝ่ายสมเด็จพระวันรัตเป็นผู้ใหญ่ แก่พรรษากว่าท่าน ต่อมาเป็นสังฆเถระในคณะด้วย เป็นบาเรียนเอก มีความรู้พระคัมภัร์เชี่ยวชาญ ทั้งเอาใจใส่ในการปฏิบัติจริงๆ ด้วย แต่ไม่สันทัดในทางคดีโลกเลย ข้างเสด็จพระอุปัชฌายะโปรดถือตามแบบเดิม ข้างสมเด็จพระวันรัตชอบเปลี่ยนแปลง มีอัธยาศัยเป็นธรรมยุตแท้ สององค์นั้นไม่ได้หารือ และตกลงกันก่อน เมื่อฝ่ายหนึ่งจะแก้ไขทำเนียมเดิม ใครจะแก้ไขไปอย่างไรก็ได้ มุ่งในที่แคบคือเฉพาะวัดที่ปกครอง ไม่คิดว่าจะทำความเพี้ยนกันขึ้นในทางนิกายอันเดียวกัน เหตุอันหนุนให้แก้ไขนั้น คือมุ่งจะทำการที่เห็นว่าถูกไม่ถือความปรองดองเป็นสำคัญ ในเวลานั้นวัดบวรนิเวศวิหารกำลังโทรม มีพระหลักแหลมในวัดน้อยลง ถูกจ่ายออกไปครองวัดต่าง ก็หาเป็นกำลังของวัดเดิมไม่กลับเป็นเครื่องทอนกำลังวัดเดิม พระอริยมุนี (เอม) ได้ออกไปวัดเทพศิรินทร์ เมื่อก่อนหน้าเราอุปสมบทปีหนึ่ง ตั้งแต่นั้นมาจนตลอดเวลาของเสด็จพระอุปัชฌายะ ไม่มีพระออกวัดอีกเลย ในวัดพียงเทศนาอ่านหนังสือได้เป็นจังหวะถูกต้อง สวดปาติโมกข์ได้ก็เป็นดี ฝ่ายวัดโสมนัสกำลังเจริญ มีพระบาเรียนเป็นนักเทศน์และบอกปริยัติธรรมได้หลายรูป ทั้งเป็นผู้มั่นคงในพระศาสนา จ่ายออกวัดต่างไปย่อมเป็นกำลังของวัดเดิม ช่วยแผ่ลัทธิให้กว้างขวาง สมเด็จพระวันรัตไม่มีอำนาจในทางคณะเลย แต่มีกำลังอาจแผ่ลัทธิกว้างขวางออกไปเพรามีผู้นับถือนิยมตาม ความปฏิบัติเพี้ยนกันมีขึ้นด้วยประการอย่างนี้เจ้าคุณอาจารย์ของเรา ได้เคยเป็นพระปลัดของสมเด็จพระวันรัต อยู่วัดราชาธิวาสแล้วย้ายมาอยู่วัดโสมนัสวิหารพร้อมกับท่าน ต่อมาทูลกระหม่อมทรงตั้งเป็นพระราชาคณะ โปรดให้มาอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร ภายหลังโปรดให้ไปอยู่ครองวัดมกุฎกษัตริย์ ท่านเคยพบความเพี้ยนกันมาแล้ว ท่านจึงเลือกใช้ตามความชอบใจ ความปฏิบัติธรรมและวินัยตลอดจนอัธยาศัย เป็นไปตามคติวัดโสมนัสวิหาร แบบธรรมเนียมเป็นไปตามคติวัดบวรนิเวศวิหารปนกันอยู่ ความแผกผันนี้เป็นเหตุ พระต่างวัดไปมาไม่ถึงกันพระต่างเมืองไปมาพักอยู่ต่างวัด กระดากเพื่อเข้านมัสการพระด้วยกัน คราวหนึ่งเพื่อเข้านมัสการพระด้วยกัน คราวหนึ่งได้รับสมณศักดิ์แล้ว เราไปพักอยู่วัดสัตตนาถปริวัตรเมืองราชบุรี เข้านมัสการพระกับพวกพระวัดนั้น ปรารถนาจะดูธรรมเนียม จึงให้พระสมุทรมุนี (หน่าย) เจ้าอาวาสนำนมัสการพระและชัดสวดมนต์ธรรมเนียมแปลกมากเล่าไม่ถูก วัดนั้นออกจากวัดโสมนัสวิหาร บางที่ธรรมเนียมวัดโสมนัสวิหาร จักเป็นเช่นนั้นกระมัง นอกจากนี้ ยังได้พบความเป็นไปของวัดที่ขึ้นวัดอื่นว่าเป็นเช่นไร พระผู้ใหญ่วัดตั้งแต่เจ้าอาวาสลงมา ต้องไปมาหาสู่วัด เจ้าคณะและวัดใหญ่ได้ความคุ้นเคยกับต่างวัด ได้คติของต่างวัด แต่เป็นวัดไม่เจ้านายเสด็จอยู่ พระในพื้นวัดย่อมเซอะอยู่นั่นเองแต่ว่าง่ายหัวไม่สูง
|
|
สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) |
พระธรรมไตรโลกาจารย์ (เดช ฐานจาโร) |
ตั้งแต่ครั้งทูลกระหม่อมยังทรงผนวช พวกพระธรรมยุตนับถือสีมาน้ำว่า บริสุทธิ์เป็นที่สิ้นสงสัย ไม่วางใจในวิสุงคามสีมาอันไม่ได้มาในบาลี เป็นแต่พระอรรถกถาจารย์ แนะไว้ในอรรถกถาอนุโลมตามสีมา ครั้งยังไม่มีวัดอยู่ตามลำพัง จึงใช้สีมาน้ำเป็นที่อุปสมบท ต่อมาพระรูปใดจะอยู่เป็นหลักฐานในพระศาสนา ท่านผู้ใหญ่จึงพาพระรูปนั้น ไปอุปสมบทซ้ำอีกในสีมาน้ำเรียกว่า ทำทัฬหิกรรม สำนักวัดบวรนิเวศวิหารหยุดมานาน พระเถระในสำนักนี้ไม่ได้ทำทัฬหิกรรมโดยมาก สมเด็จพระสังฆราช (ปุสสเทวะ) อุปสมบทครั้งหลังกว่า ๒๐ พรรษา พึ่งได้ทำทัฬหิกรรม ครั้งจะสวดกรรมวาจาอุปสมบทเมื่อล้นเกล้าฯ ทรงผนวชพระ เสด็จพระอุปัชฌายะตรัสว่า พระเถระทั้งหลายผู้เข้าในการทรงผนวชล้วนเป็นผู้ได้ทำทัฬหิกรรมแล้ว ยังแต่ท่านองค์เดียว ทั้งจักเป็นผู้สำคัญในการนั้น จึงต้องทำ คงจะไม่ทรงนึกถึงหม่อมเจ้า พระธรรมุณหิสธาดาผู้ไม่ได้ทำอีกองค์หนึ่ง ฝ่ายสำนักวัดโสมนัสวิหารยังทำกันเรื่อยมา ไม่เฉพาะรูปจะยั่งยืนเป็นหลักในพระศาสนา พระนวกะสามัญก็ทำเหมือนกัน คราวนี้เกิดปันกันขึ้นเองในหมู่พระ เป็นพระน้ำก็มี เป็นพระบกก็มี คราวนี้อุบาสิกาสำนักนั้น ก็พูดกระพือเชิดชูพระน้ำ หมิ่นพระบก จนเกิดความขึ้นคราวหนึ่ง ก่อนหน้าเราบวช ล้นเกล้าฯ ทรงออกรับในฝ่ายพระบก ตั้งแต่นั้นมา เสียงว่าพระน้ำพระบกก็สงบมาถึงยังทำกัน ก็ปิดเงียบ ไม่ทำจนเฝือเหมือนอย่างก่อน ครั้งเราบวช ความนับถือพระบวชในสีมาน้ำยังไม่วาย เราเห็นว่า เราเป็นผู้จักยั่งยืนในพระศาสนาต่อไป พระเช่นเราจักต้องเป็นหลักในพระศาสนาด้วยเหมือนกัน เมื่อพระในนิกายเดียวกัน มีวิธีปฏิบัติแผกกันตามสำนัก เราควรเป็นผู้เข้าได้ทุกฝ่าย อันจะให้เข้าได้ ต้งไม่เป็นที่รังเกียจในการอุปสมบทเป็นมูล ทั้งเราก็อุปสมบทเร็วไปกว่าปกติ เมื่อทำทัฬหิกรรมอุปสมบทซ้ำอีกในสีมาน้ำ จักสามารถทำประโยชน์ให้สำเร็จได้ดี เราจึงเรียนความปรารภนี้แก่เจ้าคุณอาจารย์ ขอท่านเป็นธุระจัดการให้ ท่านเห็นด้วย และรับจะเอาเป็นธุระ สั่งให้เรามากราบทูลเชิญเสด็จ ๆ พระอุปัชฌายะ ท่านตรัสว่าจะเสด็ตก็เกรงจะเป็นการอื้นอึง ตั้งสั่งให้เอาพระนามไปสวด ทรงเทียบว่าไม่อุปัชฌายะ ยังอุปสมบทขึ้น แต่เจ้าคุณอาจารย์ เจ้าคุณพรหมมุนีกับเรา ปรึกษากันเห็นร่วมกันว่า มีความข้อหนึ่ง ในกัมมากัมมวินิจฉัยว่า กรรมอันจะพึงทำในที่ต่อหน้า ทำเสียในที่ลับหลังเป็นวัตถุวิบัติ หาเป็นกรรมที่ได้ทำโดยธรรมไม่ ถ้าอุปสัมปทากรรม จะต้องทำในที่ต่อหน้าอุปัชฌายะ เมื่ออุปัชฌายะไม่อยู่ในที่ประขุมสงฆ์ เป็นแต่เอาชื่อมาสวด ก็จักเป็นกรรมวิบัติ ข้อที่ว่าไม่มีอุปัชฌายะ ก็อุปสมบทขึ้นนั้น อยู่ข้างหมิ่นเหม่จะฟังเอาเป็นประมาณมิได้ จึงตกลงกันว่า เราจักถือเจ้าคุณอาจารย์เป็นอุปัชฌายะใหม่ ในเวลาทำทัฬหิกรรม เจ้าคุณพระพรหมุนีฟันหัก สวดจะเป็นเหตุรังเกียจ เจ้าคุณอาจารย์ท่านเลือกเอาเจ้าคุณธรรมไตรโลก (ฐานจาระ) วัดเทพศิรินทร์ ครั้งยังเป็นบาเรียนอยู่วัดโสมนัสวิหาร เป็นผู้สวดกรรมวาจา ท่านรับจัดการให้เสร็จ พาตัวไปทำทัฬหิกรรมที่แพโบสถ์ อันจอดยู่ที่แม่น้ำไตรงฝั่งวัดราชาธิวาสออกไป เมื่อวันเสาร์เดือนยี่ แรม ๗ ค่ำ ปีเถาะเอกศก จุลศักราช ๑๒๔๑ ตรงวันที่ ๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๒๒ แรกของนิสสัยถืออุปัชฌายะใหม่แล้วทำวิธีอุปสมบททุกประการ สวดทั้งกรรมวาจามคธ และกรรมวาจารามัญ จบกรรมวาจาแรกเวลา ๕ ทุ่ม... ลิปดา เสร็จทำทัฬหิกรรมแล้ว เจ้าคุณท่านสั่งให้ถือนิสสัยอาจารย์ไปตามเดิม เราจึงเรียกเจ้าคุณอาจารย์ตลอกมา
ในเวลาจำพรรษาที่ ๒ เราขออนุญาตเจ้าคุณอาจารย์เข้าไปอยู่อุปฐากท่านในกุฎีเดียวกัน ด้วยปรารถนาจะได้คุ้นเคยสนิท และจะได้เห็นความปฏิบัติของท่านในเวลาอยู่ตามลำพังด้วย ท่านไม่ได้เป็นเจ้าและเป็นเพียงพระราชาคณะสามัญ เราเป็นเจ้าชั้นลูกหลวงห่างกันมาก แม้เป็นศิษย์ ก็ยากที่จะเข้าสนิท จึงปรารถนาที่จะหาช่องผูกความคุ้นเคย เข้ายากแต่ในชั้นแรก พอเข้าสนิทได้แล้วเป็นกันเองดี เรากับเข้าได้สนิทกว่าพระอุปัชฌายะผู้เป็นเจ้าด้วยกัน และเป็นชั้นเดียวกับอาว์ด้วย ปกติของเสด็จพระอุปัชฌายะแม้เข้าสนิทได้แล้ว แต่ไม่ได้เฝ้านานวันเข้ากลับห่างออกไปอีก ต้องคอยเข้าอยู่เสมอ ยากที่จะรักษาความสนิทให้ยืนที่ แม้สัทธิวิหาริกผู้มิใช่เจ้า ที่ท่านเคยทรงใช้สรอยมาสนิทมีฐานันดรพระราชาคณะขึ้นอาจห่างออกไปได้ ด้วยท่านทรงเลิกใช้เสีย พระนั้นเลยเข้ารอยไม่ถูก ฝ่ายเจ้าคุณอาจารย์ เข้าสนิทได้คราวหนึ่งแล้ว แม้อยู่ห่างจากกัน คงสนิทอยู่ตามเดิม เมื่อเรากลับมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารและเป็นต่างกรมมีสมณศักดิ์ในพระแล้ว ท่านก็ยังคุ้นเคยสนิทสนมด้วยตามเดิม ตั้งแต่เรามาอยู่กับท่าน ยังเห็นจรรยาของท่านน่าเลื่อมใสอยู่เสมอ เมื่อเข้าไปอยู่ใกล้ชิดเห็นว่าเป็นปกติของท่านอย่างนั้นจริง ยิ่งเลื่อมใสขึ้น ปกติของท่าน รักษาไตรทวารให้บริสุทธิ์ ปราศจากโทษ นี้เป็นลักษณะสมถะแท้ คุณสมบัติของท่านที่ควรระบุ เราไปอยู่ในสำนักของท่าน ๒ ปี ๒ เดือน อยู่อุปฐากเกือบปีเต็ม ในระหว่างนี้ไม่ปรากฏว่าได้แสดงความโกรธแก่ผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นผู้มีใจเย็น ไม่เคยได้ยินคำพูดของท่านอันเป็นสัมผัปปลาป การณ์ที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่พูดถึงเสียเลย จึงไม่แสดงความเข้าใจเขวให้ปรากฏเลย ความถือเราถือเขาของท่านไม่ปรากฏเลย เป็นผู้มีสติมาก สมตามคำสอนของท่านว่า จะทำอะไร หรือพูดอะไร จงยั้งนึกก่อน ข้อที่แปลกผู้ใหญ่อื่นโดยมากไม่ดูหมิ่นคนเกิดทีหลังว่าเด็กและตื้น แม้ผู้เป็นเด็กพูดฟังโดยฐานะเป็นผู้มีเมตตาอารี หาใช่ผู้มีใจคับแคบตามวิสัยของพระผู้ตั้งตัวเป็นผู้เคร่งไม่ เข้าเราเข้าไปของอยู่ด้วยในสำนัก ท่านมีอัธยาศัยเผื่อแผ่พอที่จะรับไว้ และอนุเคราะห์ให้ได้รับประโยชน์จริงๆ อุบายดำเนินการของท่าน ปกครองบริษัทด้วยผูกใจให้รักและนับถือ แม้เราเป็นเจ้านายก็ปกครองไว้อยู่ ตลอดถึงในน้ำใจสอนคนด้วยทำตัวอย่างให้เห็นมากกว่าจะพูด เมื่อพูดสั่งสอนอย่างใด เห็นว่าท่านปฏิบัติมาอย่างนั้นด้วย เมื่ออธิกรณ์เกิดขึ้นควรจะนิคคหะ ก็รีบทำแต่ชี้โทษให้ผู้ผิดเห็นเอง ทำอย่างที่เรียกว่าบัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น รักษาความสม่ำเสมอในบริษัท จะแจกของแจกทั่วกัน เช่น น่าเข้าพรรษา ท่านจะแจกเครื่องสักการ เพื่อพระสามัญผู้ไม่ได้รับของใครเลย จะได้ใช้ทำวัตร เรามีผู้ถวายแล้วท่านก็แจกมาถึงด้วยเหมือนกัน ชอบผู้ใดผู้หนึ่ง ไม่แสดงให้ปรากฏ มีศิษย์เป็นเจ้านายเฉพาะบางพระองค์ ที่มาอยู่ด้วยมีแต่เรา ไม่มีเฝือดุจเสด็จพระอุปัชฌายะน่าจะตื่น อีกอย่างหนึ่ง ท่านเป็นอันเตวาสิกของทูลกระหม่อม ได้พระเจ้าลุกเธอของท่านเรียกตามโวหารสามัญว่าลูกครูไว้เป็นศิษย์น่าจะยินดีเท่าไร แต่ท่านระวังจริงๆ เพื่อจะไม่ให้ความพอใจรั่วไหลออกภายนอก แต่ก็ไม่ฟังอยู่ดี ท่านประพฤติแก่เราโดยฐานเมตตาอารีเอื้อเฟื้อ ระวังไม่ตีสนิทกับเราเกินพอดี ที่จะพึงเห็นว่าประจบ หรือเอาใจเรามากเกินไป ข้อบกพร่องของท่านตามที่เรานึกเห็น เป็นผู้พูดน้อยไป ที่เรียกกันว่าพูดไม่เป็น ทูลกระหม่อมทรงพระตำหนิว่า พระไม่พุดแต่อันที่จริงคุ้นกันแล้ว ท่านพูด พูดไม่ถนัด ฉะเพาะท่านผู้ที่จะพึงเคารพหรือยำเกรงและคนแปลกหน้า อีกอย่างหนึ่ง เรานึกติท่านในครั้งนั้นว่า เก็บพัสดุปริกขารไว้มาเป็นตระหนี่ เฉพาะเวลานั้นเรายังไม่มีศิษย์บริวารจะพึงสงเคราะห์ นอกจากตาดีอุปฐากแทนตาจุ้ยผู้ตายไปเสีย และยังมียายเป็นผู้บำรุงอยู่ จึงเห็นว่าพระไม่ควรมีอะไรมากนัก ต่อเป็นผู้ใหญ่ขึ้นด้วยตนเอง จึงรู้ว่าพระผู้ใหญ่ผู้ครองวัดและหาผู้บำรุงมั่งคั่งเป็นหลักฐานมิได้ เช่นเจ้าคุณอาจารย์จำต้องมีพัสดุปริขารไว้ใช้การวัดเจือจานแก่บริษัทผู้ขัดสน ยิ่งวัดมกุฏกษัตริย์ที่ตั้งใหม่ ไม่มีของใช้บริบูรณ์เหมือนวัดบวรนิเวศวิหาร เสด็จพระอุปัชฌายะเคยตรัสต่อว่าทางเราว่า แต่ก่อนจะรับกฐินเคยขอยืมเครื่องบูชาที่วัดบวรนิเวศวิหารไปตั้ง อย่างไรเดี๋ยวนั้นหายไป เจ้าคุณอาจารย์ท่านแก้ว่า พอมีขึ้นบ้างแล้ว จึงไม่ได้ไปทูลรบกวน และการสงเคราะห์บริษัทเล่า ทางที่ดีควรทำ รูปใดต้องการสิ่งใดจึงให้ แต่เป็นผู้ใหญ่ย่อมห่างจากผู้น้อยภิกษุสามเณรมักกระดาก เพื่อจะเข้ามาขอของที่ต้องการ ได้แก่ตัวเราเองเมื่อภายหลัง ข้อนี้เราขอขมาท่านในที่นี้
|
ทรงฉายร่วมกับ กรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย ชุดแรก พ.ศ. ๒๔๓๖ (แถวหน้าจากซ้าย) พระราชกวี (ถม) พระศรีสุคตคัตยานุวัตร (ม.จ. พร้อม) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส พระสถาพรพิริยพรต (ม.จ.ถุชงค์) พระเมธาธรรมรส (อ่อน) (แถวที่ ๒) พระครูปลัดอุทิจยานุศาสก์ (ท้วม) พระธรรมราชานุวัตร (ต่าย) พระสมุทรมุนี (เนตร) พระครูวิจิตรธรรมภาณี (จันทร) (แถวที่ ๓) พระครูปลัดจุฬานุนายก (ชม) พระอมราภิรักขิต (แสง) หม่อมราชวงศ์พระชื่น เปรียญ |
เวลาอยู่อุปฐากเจ้าคุณอาจารย์ในพรรษานั้น เราหยุดเรียนหนังสือแต่ได้ศึกษาวินัยกับท่านตลอดถึงสังฆกรรม และหัดสวดกรรมวาจาอุปสมบททั้งทำนองมคธ ทั้งทำนองรามัญ แม้ท่านไม่ได้เป็นบาเรียนแต่ได้เคยเรียนบาลี อ่านเข้าใจ ได้ยินว่าพระราชาคณะยกในฝ่ายธรรมยุตตินิกกายในครั้งนั้น รู้บาลีแทบทั้งนั้น เว้นเฉพาะบางรูป ฐานันดรว่าพระราชคณะยกนั้นน่าจะเพ่งเอาท่านผู้รูบาลี แต่ไม่ได้สอบได้ประโยคเป็นบาเรียน ทรงยกย่องว่าเป็นบาเรียนยก เราเห็นท่านแม่นยำในทางวินัยมาก สังฆกรรมที่ไม่ชินอย่างอุปสมบท เมื่อถามขึ้นโดยรู้ตัว ท่านอธิบายได้ แต่การปฏิบัติวินัยยังเป็นไปตามอักษร และมักเกรงจะผิด ถูกตามแบบที่นิยมไว้ว่า เป็นผู้มีปกติ ละอายใจ มักรำคาญ ใคร่ศึกษา แต่ไม่ยกตนข่มผู้อื่นเพราะเหตุนี้ เหมือนอย่างพระผู้ตั้งตนว่าเคร่ง ในการสวดกรรมวาจาอุปสมบท ท่านได้ชื่อผู่ในเวลานั้น ทั้งเป็นที่นับถือในทางปฏิบัติด้วย ครั้งสมเด็จพระสังฆราช (ปุสสเทวะ) ทำทัฬหิกรรม ท่านก็สวด หัดผู้อื่นไม่สันทัดในอันแนะ แต่ยันหลักมั่น ไม่ผ่อนตาม ธรรมสนใจในบางประการฉะเพาะที่ถูกอารมณ์ และรู้จักอรรถรส ไม่พูดพร่ำเพรื่อถึงคราวจะเทศนา ใช้อ่านหนังสือ ท่านพอใจอย่างนั้น มากกว่าพุ้ยเทศน์ปากเปล่าเหลิงเจิ้ง ที่ในปกรณ์เรียกผู้เทศน์อย่างนั้นว่า ธรรมกถึกย่านไทร สอนผู้บวช ใช้ปากเปล่า แต่มีแบบพอสมแก่สมัยฟังได้ ท่านไม่ได้เป็นบาเรียนก็จริง ถึงอย่างนั้นท่านที่เป็นบาเรียนมีชื่อเสียงตลอดมาทุกยุคถึงเราเองในบัดนี้ นับถือท่านแทบทั้งนั้น เราไม่เคยเสียใจว่ามีอาจารย์วาสนาต่ำเลย ยังเป็นที่พอใจของเราอยู่จนทุกวันนี้
เดิมนึกว่าจะอยู่อุปฐากเพียงพรรษาหนึ่ง ออกพรรษาแล้วจักลาออกเรียนหนังสือต่อไป แต่ยังเลื่อมใสอยู่ จึงทำต่อมาอีกบัญจบเป็น ๑๑ เดือน แต่เรียนหนังสือไปด้วย จนถึงเวลาเรียนปฐมสมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัย อันเป็นหลักสูตรแห่งประโยค ๗ ที่ต้องดูหนังสืออื่นแก้อีกสองสามคัมภีร์ ต้องใช้เวลามากและประจวบคราวเสด็จพระอุปัชฌายะประชวรไข้พิษมีพระอาการมาก เราลาท่านกลับมาอยู่พยาบาลที่วัดบวรนิเวศวิหารกว่าจะหายประชวร เมื่อกลับไปจึงเลยออกจากน่าที่อุปฐากด้วยทีเดียว ตั้งหน้าเรียนหนังสือต่อไป
เดิมเราตั้งใจเรียนพออ่านบาลีอรรถกถาฎีกาเข้าใจความอย่างเสด็จพระอุปัชฌายะ และเจ้าคุณอาจารย์เท่านั้น ไม่ปรารถนาเป็นบาเรียน ครั้นทราบจากเจ้าคุณพรหมมุนีว่า ล้นเกล้าฯ ตรัสถามถึงว่าจะแปลได้หรือมิได้ และเจ้าคุณพรหมมุนีถวายพระพรทูลรับเข้าไว้ด้วยเกรงว่าจะถูกแปล การแปลมีวิธีอย่างหนึ่งนอกจากเอาความเข้าใจ เราไม่ได้เตรียมตัวไว้ ถูกจับแปลเจ้าจะอายเขา เป็นเจ้า พอไปได้ ก็เชื่อว่าไม่ตกใจ ยกเสียแต่ไม่มีพื้นมาเลย เช่นพระองค์เจ้าวัชรีวงศ์ เมื่อครั้งบวชเป็นสามเณร แต่เขาคงว่าได้อย่างเจ้า พวกเจ้าผู้แปลหนังสือเป็นบาเรียนได้รับความชม ได้ยินเพียงทูลกระหม่อมของเรากับหม่อมเจ้าเนตรในพระองค์เจ้าเสือ พระเจ้าราชวงศ์เธอชั้น ๒ ผู้อยู่วัดบวรนิเวศวิหารนี้ นอกจากนี้ ถูกติก็มี เงียบอยู่ก็มี คราวนี้ต้องเตรียมตัวเพื่อเข้าแปลหนังสือด้วย เมื่อตกลงใจอย่างนี้แล้วพลอยเห็นอำนาจประโยชน์ไปด้วยว่า อาจารย์ผู้บอกหนังสือ ไม่ได้รับตอบแทนอันคุ้มกัน เมื่อเราแปลได้ประโยคบาเรียน จักได้ชื่อได้หน้า จักได้เห็นผลแห่งการงานของท่าน เรากล่าวถึงพระองค์เจ้าวัชรีวงศ์ แปลหนังสือตกไว้ในที่นี้ หากท่านยังอยู่ท่านคงไม่โกรธ บางกลับจักเห็นเป็นชื่อเสียอีกมีผู้รู้กันขึ้นว่า ท่านก็เป็นนักเรียนบาลีเหมือนกัน ดีกว่าไม่ได้เป็นทีเดียว
|
พระจันทโทปมคุณ (หตฺถีปาโล) |
เมื่อเราได้ ๒ พรรษาล่วงไปแล้ว จักเข้า ๓ พรรษา เจ้าคุณอาจารย์ให้สวดกรรมวาจาอุปสมบท ครั้งนั้นที่วัดไม่มีผู้สวดเจ้าคุณพรหมมุนีฟันหลุดไม่สวด พระจันโทปมคุณ (หัตถิปาละ) ครั้งยังเป็นพระปลัด ไม่รู้มคธภาษา และไม่สันทัดว่าอักขระสวดไม่ได้ ต้องนิมนต์ผู้สวดมาจากวัดอื่น และผู้สวดกรรมวาจานั้น ในพระบาลีไม่ได้ยกย่องเป็นครูบาของผู้อุปสมบท ยกย่องเพียงอุปัชฌายะและอาจารย์ผู้ให้นิสสัยพึ่งยกย่องในยุคอรรถกถาพระธรรมยุต จึงไม่ถือเป็นสำคัญนัก ทูลกระหม่อมและเสด็จพระอุปัชฌายะท่านก็ได้สวดมาแต่พรรษายังน้อย เจ้าคุณท่านให้เราสวดอนุวัตรตามอย่างนั้น เราเองพอใจในทางหนึ่งว่า ได้เปิดคราวแรกต่อหน้าอาจารย์ของเราเอง ขึ้นสวดเป็นแรก ถือว่าเป็นมงคลแก่กรณียะนี้อันจะพึงทำต่อไปข้างหน้า แต่เสียดายว่าภิกษุรูปแรกที่เราสวดกรรมวาจาอุปสมบทให้นั้น แม้เลือกเอาคนบวชต่อแก่แล้ว ก็หายั่งยืนอยู่หรือตายในพรหมจรรย์
เราอยู่วัดมกุฏกษัตริย์ ได้รับเมตตาและอุปการะของเจ้าคุณอาจารย์อันจับใจ ท่านได้ทำกรณียะของอาจารย์แก่เรา ฝากเราให้เรียนหนังสือในสำนักเจ้าคุณพรหมมุนีจัดการทำทัฬหิกรรมอุปสมบทให้แก่เรา ยังเราให้ได้รับฝึกหัดในกิจพระศาสนาเป็นอันดี ยกย่องให้ปรากฏในหมู่ศิษย์ ตลอดถึงเป็นทางเข้ากับสำนักวัดโสมนัสได้ ให้กำลังเราในภายหน้ามาก เพราะข้อนี้เสแงความวิสาสะฉันอาจารย์กับศิษย์เปิดช่องให้เราเข้าสนิทไม่กระเจิ่น นับว่าได้เจริญในสำนักอาจารย์ เอาใจใส่เอื้อเฟื้อในเราเป็นอย่างยิ่ง สุขทุกข์ของเราเป็นดุจสุขทุกข์ของท่าน และอยู่ข้างเกรงใจเรามาก แผนยาย เมื่อเรายังไม่ได้อุปสมบท เรามีหน้าที่เป็นผู้รับอาบัติของท่าน และได้รับในหนที่สุด เมื่อจวนจะถึงมรณภาพ เราถือว่าเป็นเกียรติ์ของเรา
ฝ่ายเจ้าคุณพรหมมุนีเล่า ได้ตั้งใจบอกปริยัติธรรมแก่เราโดยเอื้อเฟื้อ ประโยคที่เราจะเรียนในวันๆ ท่านอ่านและตริตรองมาก่อน เป็นผู้มีความรู้ในทางแปลหนังสือแตกฉาน เราได้รับความแนะนำในการแปลหนังสือเป็นอย่างละเอียดลออ ได้ความรู้ดีกว่าก่อนเป็นอันมากในครั้งนั้น ท่านยังเป็นบาเรียน ยังหาได้เข้าประชุมในการสอบความรู้ไม่ จึงไม่แน่ใจในวิธีแปลที่ใช้ในสนามหลวงนัก จึงต้องสนใจหาความเข้าใจไว้หลายทาง ถ้ามีทางจะแปล กลับได้ความคิดแตกฉานขึ้นอีก
ในพรรษาที่ ๓ นั้น พ.ศ. ๒๔๒๔ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน เราเข้าไปฉันที่พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัยในการเฉลิมพระชนม์พรรษา พอสรงมรา๓เษกแล้ว ล้นเกล้าฯ เสด็จมาตรัสแก่เสด็จพระอุปัชฌายะว่า เมื่อก่อนหน้าเราบวชได้ทรงปฏิญญาไว้แก่เราว่า บวชได้ ๓ พรรษาแล้ว จักทรงตั้งเป็นต่างกรม บัดนี้ เราบวชเข้าพรรษาที่ ๓ แล้ว ทั้งจะต้องออกงานในการฉลองพระนครครบ ๑๐๐ ขวบปี ทรงกะไว้จะให้ถวายเทศนากระจาดใหญ่ กัณฑ์ที่ทรงพระราชอุทิศถวายทูลกระหม่อม ทรงขอตั้งเราเป็นพระราชาคณะและเป็นต่างกรมในปีนั้น เสด็จพระอุปัชฌายะทรงพระอนุมัติ จริงอยู่ ล้นเกล้าฯ ได้ตรัสแก่เราอย่างนั้น แต่เราหาได้ถือเป็นปฏิญญาไม่ และยังไม่นึกถึงการเป็นต่างกรมเลย เพราะยังเห็นว่าเป็นยศที่ยังอยู่สูงกว่าตัวลิบลับ ด้วยในครั้งนั้น พระเจ้าน้องยาเธอที่ทรงกรมไปก่อนแล้วมีตั้งชั้นใหญ่ ๔ พระองค์ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม พึ่งทรงกรมเมื่อต้นศกนั้น ชั้นกลางมีแต่กรมพระเทวะวงศ์วโรปการพระองค์เดียว พึ่งเป็นต้นศกเหมือนกัน เราเป็นชั้นรองลงมา ในชั้นเรายังไม่มีใครได้เป็น ยกสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าเสีย ในทางสมณศักดิ์ เข้าใจว่าจะต้องรับยศเป็นบาเรียนไปก่อนเหมือนทูลกระหม่อม แล้วจึงขึ้นเป็นพระราชาคณะในลำดับ เราได้ยินตรัสอย่างนั้น ตกตลึงหรืองงดุจฝัน เพราะได้ตกลงใจและเตรียมตัวมาแล้วว่าจักเข้าแปลหนังสือ เรายังมุ่งอยู่ในทางนั้นจึงทูลถามขึ้น ตรัสว่า แปลได้ด้วยยิ่งดี ทรงจัดว่าเดือนยี่แปลหนังสือ เดือน ๔ รับกรม โปรดให้รบที่วัดบวรนิเวศวิหาร เราบวชไม่ได้มุ่งยศศักดิ์ก็จริง เมื่อจะโปรดให้เป็นหาได้คิดบ่ายเบี่ยงไม่ เราได้เคยปรารภว่าผู้ตั้งใจบวชจริงๆ ดูไม่น่าจะรับยศศักดิ์ แต่น่าประหลาดใจว่า พระผู้ไม่ไดอยู่ในยศศักดิ์หรือยิ่งพูดว่าไม่ใยดีในยศศักดิ์ เรายังไม่แลเห็นเป็นหลักในพระศาสนาจนรูปเดียว จะหาเพียงปฏิบัตินำให้เกิดเลื่อมใสเช่นเจ้าคุณอาจารย์ของเรา ให้ได้ก่อนเถิด พระผู้ที่เราเลื่อมใสและนับถือว่าเป็นหลักในพระศาสนาเป็นเครื่องอุ่นใจได้ เป็นผู้รับยศศักดิ์ทั้งนั้น สมเด็จพระวันรัต วัดโสมนัสวิหาร ที่แลเห็นว่าไม่มุ่งในทางโลกีย์แล้ว ยังยอมอยู่ในยศศักดิ์ เหตุให้เป็นอย่างนี้น่าจะมี ภายหลังเป็นผู้ใหญ่ขึ้นเองแล้วจึงรู้ว่าพระที่เราเลื่อมใส และนับถือว่าเป็นหลักในพระศาสนานั้น ย่อมเอาภาระพระพุทธศาสนาเว้นจากความเห็นแก่ตัวเกินส่วน อันจะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ที่สุดเพียงครองวัดหนึ่ง ไม่ได้กำลังแผ่นดินอุดหนุนทำไปไม่สะดวก ฝ่ายแผ่นดินเล่า ย่อมคอยสอดส่องอยู่เสมอ มีพระดีเป็นที่เลื่อมใส และนับถือของมหาชนปรากฏขึ้น ณ ที่ไหนย่อมเอามาตั้งไว้ในยศศักดิ์ ให้กำลังทำการพระศาสนา ลักษณะพระที่ดีจริง ย่อมไม่อยากร่านเป็นนั่นเป็นนี่ เมื่อถึงคราวจะต้องเป็นเข้าจริงไม่แสดงพยศและเบี่ยงบ่ายพระผิดจากลักษณะนี้ เราก็ไม่เลื่อมใสและไม่เห็นเป็นหลักในพระศาสนา จึงหาพระประกอบด้วยลักษณะนั้น นอกยศศักดิ์ไม่ได้ ถ้าจักเป็นพระราชาคณะและเป็นกรมในคราวหนึ่งแล้ว เป็นในเวลานี้ก็ดี ผู้หลักผู้ใหญ่ผู้ได้ทำนุบำรุงมา ทั้งฝ่ายพระทั้งฝ่ายคฤหัสถ์ยังอยู่พร้อมหน้า ต่างจักได้ชื่นบาน ได้เห็นอุปการของท่านจับผลิดผล นี้ก็เป็นจริงอย่างนั้น ตั้งแต่ปีหน้าท่านก็จับล่วงลับไปตามกัน
|
|
|
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม |
พระอุบาลีคุณปมาจารย์ |
ในปีนั้น เราได้รับเกียรติยศ โปรดให้ถวายเทศนาทานมัยในการประราชกุศลออกพรรษาประจำปี ที่ประจวบกับพระราชกุศลในวันประสุติของทูลกระหม่อมเป็นเทศนาบันดาศักดิ์ พระราชาคณะผู้ใหญ่ ในเวลาที่เรากำลังเรียนปริยัติธรรมอยู่นั้น คุณยายแม่บอกให้พระไตรปิฎกสำรับใหญ่จบหนึ่ง ซึ่งมีจำนวนเท่าหนังสือหลวงในหอพระมณเทียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม อันท่านสร้างไว้เมื่อครั้งรัชชกาลที่ ๓ เป็นเจ้าจอมมารดาตัวโปรด ได้อาศัยพระบรมราชูปถัมภ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้กรมราชบัณฑิตจัดสร้างท่านเป็นผู้ออกทรัพย์ หนังสือนี้สร้างเสร็จแล้ว ฝากไว้ที่หอมณเทียรธรรมจนตลอดรัชชกาลที่ ๓ ครั้นถึงรัชชกาลที่ ๔ ย้ายเอาไปฝากไว้ ณ วัดกัลยาณมิตร สำหรับพระยืมไปเล่าเรียน ถวายขาดก็มีบ้างได้ยินว่า พระอุบาลีคุณูปมาจารย์เทียบที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ปาน) ผู้ที่ท่านอุปการให้ได้อุปสมบท ครั้งยังเป็นพระพินิตพินัยอยู่วัดมหรรณพาราม แนะนำท่านเพื่อยกให้เราเสีย จะได้เป็นเครื่องมือแห่งการเล่าเรียน และหนังสือจะได้ไม่กระจัดกระจาย ท่านเห็นชอบตามคำพระอุบลีคุณูปมาจารย์ จึงบอกยกให้เรา และให้ไปรับเอามาจากวัดกัลยาณมิตร นี้เป็นโชคของเราในอันจะรู้ปริยัติธรรมกว้างขวาง พระผู้เรียนแม้แปลได้อ่านเข้าใจแล้ว ผู้มีหนังสือน้อยย่อมติดขัดในการสอบคำที่ชักเอามากล่าวจากคัมภีร์อื่น ถ้าไม่มีเลยเรียนแต่หนังสืออันเป็นหลักสูตรเท่านั้นแล้ว ถึงคำที่อ้างมาจากคัมภีร์อื่น รู้ได้เท่าที่กล่าวตามคำบอก หรืออธิบายของอาจารย์ คำนั้นเดิมใครกล่าวไม่รู้ด้วยตนเอง ต้องจำคำอาจารย์บอก เปรียบเหมือนแลเห็นรูปถ่ายสถานที่เราไม่เคยไป เท่าที่เงาติด จะนึกกว้างขวางออกไปอย่างไรไม่ถูกเลย ได้เคยพบที่มาเดิมแล้ว หรือค้นพบทีหลังอาจเข้าใจได้ชัดเจน เหมือนแลเห็นรูปถ่ายแห่งสถานที่เราเคยไปมาแล้ว แลเห็นปรุโปร่งและนึกติดต่อได้ตลอดไป ด้วยเหตุนี้แล พระบาเรียนโดยมาก จึงมีความรู้ไม่กว้างขวาง ยิ่งเรียนกรอกหม้อพอได้ประโยคเป็นบาเรียนเท่านั้นแล้ว ยิ่งรู้แคบเต็มประดา เจ้าคุณพรหมมุนี แม้ได้ชื่อว่าแปลหนังสือดี ก็ยังขัดด้วยหนังสือเป็นเครื่องมือสำหรับสอบโดยมาก ได้พระไตรปิฎกใหญ่มา ท่านพลอยยินดีด้วยเรา เราขอบคุณพระอุบลีคุณูปมาจารย์ เทียบที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ปาน) ไว้ในที่นี้ด้วย ท่านผู้นี้เป็นพระมีอัธยาศัยเย็น ไม่ถือเรา ถือเขา ไม่ฤศยา แต่ได้รับอบรมมาในอย่างเก่า จึงมีความรู้เข้าใจแคบ อย่างไรก็ยังเป็นที่น่านับถืออยู่ เราได้เคยพบพระดีเช่นนี้ มีอยู่ในมหานิกาย เราจึงไม่ดูหมิ่นมหานิกายเสียทั้งนั้น เหมือนพระธรรมยุตโดยมาก พระไตรปิฎกสำรับนี้ตรวจตามบัญชีของหอพระมณเทียรธรรมขาดบ้าง คงเป็นเพราะกระจัดกระจายดุจพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ปรารภ
ในการที่เราเข้าแปลหนังสือ สอบความรู้ปริยัติธรรมนั้น จัดไว้แต่ต้นว่า จะให้แปล ๕ ประโยคเท่าทูลกระหม่อม ท่านทรงแปลอรรถกถาธรรมบทประพันธ์ประโยคเดียว นับเป็น ๓ ประโยค เราเป็นแต่เพียงพระองค์เจ้าให้แปล ๒ ประโยค บั้นต้นประโยค ๑ บั้นปลายประโยค ๑ แล้วจึงแปลมังคลัตถทีปนีบั้นต้นเป็นประโยคที่ ๔ สารัตถสังคหะเป็นประโยคที่ ๕ และโปรดให้แปลเป็นพิเศษหน้าพระที่นั่ง เหมือครั้งทูลกระหม่อมทรงแปลในรัชชกาลที่ ๓ เราได้ยินว่า ทูลกระหม่อมทรงแปลอรรถกถาธรรมบทวันหนึ่ง แล้วทรงแปลมังคลัตถทีปนีอีกวันหนึ่ง สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม) ครั้งยังเป็นประราชาคณะชื่อนั้น นีดนาทาเน้นจะให้ตกเสียจงได้ จนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวขัดพระราชหฤทัย มีพระราชดำรัสสั่งให้หยุดไว้เพียงเท่านี้ พึ่งได้ยินในคราวนี้เอง ว่าทูลกระหม่อมทรงแปลประโยคที่ ๕ ด้วย เหตุไฉนสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม) จึงกล้าทำอย่างนั้นต่อหน้าพระที่นั่ง และไม่ปราณีแก่ทูลกระหม่อมฟ้าบ้างเลย แม้จะไม่ช่วยก็พอให้ได้รับยุกติธรรม ตรงไปตรงมาก็แล้วกัน ปัญหานี้ ไม่ใช่ที่จะแก้ ขอยกไว้ให้นักตำนานแก้ ในที่นี้ขอกล่าวยืนยันไว้เพียงว่าเป็นจริงอย่างนั้น เท่านั้น เริ่มแปลหนังสือขอมวันอาทิตย์เดือนยี่ ขึ้น ๕ ค่ำ ปีมะเส็งตรีสก จุลศักราช ๑๒๔๓ ตรงกับวันที่ ๒๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๒๔ เวลาเช้าไปจับประโยคที่วัดราชประดิษฐ์ สมเด็จพระสังฆราชเป็นผู้เปิด ธรรมเนียมเปิดประโยคเดิม พระราชาคณะบาเรียนผลัดเวรกันเปิดวันละรูป เปิดเกินจำนวนผู้แปไว้ ๑ ประโยค โดยปกติ แปลวันละ ๔ รูป ประโยคเปิดวันละ ๕ กะแล้วว่าจะให้แปลอะไร ปิดหนังสือวางคว่ำไว้ไม่ให้เห็นว่าผูกอะไร ให้ผู้แปลเข้าไปจับเอาทีละรูป จับได้ประโยคใด แปลประโยคนั้นตามหน้าที่ ท่านผู้เปิดอาจเปิดได้ตามใจแต่จะเปิดได้ง่ายเกินไปก็ไม่ได้อยู่เอง คงถูกติเตียน หรือแม้ถูกอธิบดีค้าน เมื่อเปิดประโยคที่งามหรือยาก อาจารย์ของผู้แปลย่อมดักถูก ถึงตั้งเกณฑ์ลงเป็นประโยคซ้อมได้ เมื่อไม่มีทางจะเปิดให้ลอดไป ตกลงเป็นประโยคใดเคยออกมาแล้ว ท่านผู้เปิดก็เปิดประโยคนั้นออกอีก แต่ประโยคชั้นต่ำก็มีมากพอว่า ซ้อมเพียงเท่าจำนวนที่ออก ก็พอจะเป็นผู้รู้หนังสือเพียงชั้นนั้นได้ นอกากนี้ ได้ยินว่า ยังมีทางที่ท่านผู้เปิดจะช่วยหรือจะแกล้งก็ได้ ถ้าจะช่วยก็เปิดประโยคที่เพลา และทำสัญญาให้เห็นในเวลาวาง ถ้าจะแกล้งก็เปิดประโยคที่ยุ่งหรือที่ยาก ครั้นมาถึงยุคเสด็จพระอุปัชฌายะทรงเป็นอธิบดี ทรงจัดประโยคที่จะออกให้แปลเขียนเป็นฉลากเข้าซองผนึกไว้ครบจำนวนที่จะออกได้ จัดลงในหีบตามชั้น ให้ผู้จะแปลจับเอามอบให้เป็นหน้าที่ของสมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้อำนวยให้จับพระราชาคณะบาเรียนผู้เคยออกประโยคกลายมาเป็นผู้เปิดหนังสือมอบให้ผู้แปลไปธรรมเนียมนี้ ยังใช้มาจนถึงยุคเราเป็นอธิบดี ธรรมเนียมเดิมให้แปล ๓ ลาน ยุคเสด็จพระอุปัชฌายะ ลดลงเพียง ๒ ลาน
|
|
เจ้าพระยาวิจิตตวงศ์วุฒิไกร (ม.ร.ว.คลี่ สุทัศน์) |
หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) |
ครั้งเราแปลสมเด็จพระสังฆราชเปิดประโยคไว้ ๕ โดยธรรมเนียมเก่า วันแรกเราจับได้ธัมมปทัฏฐกถา บั้นต้นผูก ๒๐ อตฺตา หเวติฯ เปฯ วสฺสสตํ หุตนฺติ ที่ว่าด้วยชำนะตนดีกว่าชำนะคนอื่น ประโยคนี้ค่อนข้างยาก แปลได้เป็นชื่อเสียง แต่มียุคบางแห่ง เพราะท่านผู้รจนาเขียนพลั้งไว้แต่เดิม เราไม่อยากถูก เกรงท่านผู้สอบจะไม่ได้สนใจไว้ อยากถุกประโยคที่ยากแต่ไม่ยุ่ง เมื่อถุกแล้วจำต้องแปล รับหนังสือแล้วเข้าไปพักดูอยู่ที่ทิมดาบกรมวัง เวลาบ่ายเสด็จออกแล้วจึงเข้าไปแปล ที่พระที่นั่งบรมราชสถิตมโหฬาร ห้องเขียวประชุมพระราชาคณะผู้ใหญ่ ๑๐ รูป มีเสด็จพระอุปัชฌายะเป็นประธาน ท่านผู้เกี่ยวข้องกับเรา เจ้านายในรัชชกาลเดียวกัน ทั้งฝ่ายหน้าทั้งฝ่ายใน และข้าทูลละอองธุลีพระบาท ผู้เป็นข้าหลวงเดิมของทูลกระหม่อม สมเด็จพระสังฆราชเป็นผู้สอบที่เรียกว่าผู้ทัก คือทักพากย์หรือศัพท์ที่แปลผิด สมเด็จพระวันรัต (พุทฺธสิริ) ช่วยทักบ้าง ไปวุ่นอยู่ตรงคำเกินนั้นเอง เพราะท่านไม่ได้สนใจไว้ตามคาด แต่วิสัยคนเข้าใจความก็อาจคาดได้ว่าท่านจะต้องการให้แปลอย่างไร ผลอย่างสูงที่ได้ เพราะการเรียนโดยวิธีอย่างนี้ คือหัดรู้จักคาดน้ำใจอาจารย์และผู้สอย ธรรมเนียมเดิมกำหนดเวลาให้แปลอย่างหลวม แปลวันละ ๔ รูป เริ่มบ่าย ๒ โมง หรือเมื่อไรไม่แน่ พอค่ำมืดไม่แลเห็นหนังสือ จุดเทียนที่มีกำหนดน้ำหนักขี้ผึ้งว่าเล่มละ ๑ บาท หรือเท่าไรผู้แปลผลัดกันแปล ติดออกแก้ เทียนดับยังแปลไม่จบประโยคเป็นตก รูปที่แปลจบไปก่อน เป็นได้ ยุคเสด็จพระอุปัชฌายะเป็นอธิบดี ใช้เวลานาฬิกาคราวก่อนหน้าเราแปล ประโยคธัมมปทัฏฐกถาให้เวลา ๑ ชั่วโมงครึ่ง ประโยคตั้งแต่ ๔ ขึ้นไป ให้เวลา ๒ ชั่วโมง ใช้ต่อมาจนถึงยุคเราเป็นอธิบดีเป็นแต่ย่นเวลาประโยคสูง ลงเสมอกันกับประโยคธัมมปทัฏบกถา และพึ่งเลิกใช้เวลาเมื่อไม่สู้ช้า เพราะแก้วิธีแปล ไม่ให้ออกแก้ให้แปลไปจนตลอดประโยค ถูกผิดชั่งใช้ตัดสินกันเอา จะให้เป็นได้หรือตก ในคราวเราแปลไม่ได้กำหนดเวลาให้แปล วันแรกแปลจบประโยคเวลาเท่าไร หารู้ไม่ รู้อย่างนั้น จึงขอเจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกรครั้งยังเป็นพระวุฒิการบดี เจ้ากรมสังฆการีและธรรมการ หรือผู้อื่นจำไม่ได้แน่ ให้ช่วยสังเกตเวลาให้ด้วย ครั้งก่อนหน้าเราแปล ธัมมปทัฏฐกถา ต้องแปลให้ได้ ๓ ประโยคจึงเป็นได้ ตกประโยคเหนือแม้ประโยคล่างได้แล้ว ก็พลอยตกไปตามกัน พึ่งยอมให้พักประโยคได้เมื่อจัดให้มีการสอบทุกปี แทน ๓ ปีต่อหน ครั้งเราเป็นแม่กองแล้ว ฝ่ายเราก็เห็นจะต้องแปลได้ทั้ง ๒ ประโยค จึงเป็นอันได้ วันที่ ๒ จับได้ประโยค ธัมมปทัฏฐกถาบั้นปลายผูก ๑๐ กายปฺปโกปนฺติ ฯเปฯ หราหิ นนฺติ ที่แก้ให้ด้วยระวังความกำเริบ แห่งไตรทวารแปลจบประโยคเวลาล่วง ๒๙ นาที ต่อนี้พัก ๓ วัน เพราะวันพระเหลื่อมและหน้าวันพระหรือเกราะเหตุอย่างอื่น หาได้จดไว้ไม่ แปลต่อเป็นวันที่ ๓ เมื่อวันศุกร์เดือนยี่ ขึ้น ๑๐ ค่ำ จับได้ประโยคมังคลัตถทีปนีบั้นต้น ผูก ๕ อิติ พหุสฺสุตสฺส กาหุสจฺจํ ฯเปฯ ทฏฺฐพฺพตํ ที่แก้ด้วยบุคคลผู้เป็นพหุสุต รู้จักรักษาตนให้บริสุทธิ์ เวลาล่วง ๔๐ นาที วันที่ ๔ จับได้ประโยค สารัตถสังคหผูก ๙ ทายกา ปน ฯเปฯ วินย ฏีกายํ วุตฺตํ ที่แก้ด้วยทายก ๓ จำพวกเป็นเจ้าแห่งทานก็มี เป็นสหายแห่งทานก็มี เวลาล่วง ๓๕ นาที ประโยคที่จับได้ ๓ วันหลังง่ายเกินไปแปลได้ก็เห็นไม่เป็นเกียรติ ไม่ต้องการเหมือนกัน ตกลงว่าจับได้ประโยคไม่เป็นที่พอใจเลยสักวัน ถ้าเราเป็นผู้เปิดประโยคให้ผู้อื่นเช่นเราแปล วันแรกเราจักเปิดประโยคง่าย ฟังความรู้ผู้แปลดูที ถ้ามีความรู้อ่อนจักเปิดเสมอนั้นต่อไป ถ้ามีความรู้แขงจักเปิดประโยคแขงขึ้นไป พอสมแก่ความรู้ เพื่อจะได้เป็นชื่อเสียงของผู้แปล แต่เราจับได้ประโยคตรงกันข้าม ท่านยังไม่ทราบความรู้ของเรา จับได้ประโยคยาก ครั้นท่านทราบความรู้ของเราแล้วจับได้ประโยคง่ายดาย แม้อย่างนั้นก็ยัง ได้รับสรรเสริญของพระราชาคณะ ผู้สอบผู้ฟังว่าแปลหนังสือแข็ง และนับถือความรู้เราต่อมา เหตุอย่างไรท่านจึงชมคง เพราะท่านเห็นรู้จักวิธีแปลและขบวรแก้ไม่ถลากไถลดุจเราได้พบในภายหลัง โดยมากกระมัง แต่พื้นประโยคไม่น่าได้ชมเลย ในวันที่สุด ได้รับพระราชทานรางวัลส่วนตัว พระราชหัตถเลขาทรงปวารณาด้วย กัปปิยภัณฑ์ ราคา ๘๐๐ บาท ไตรแพรอย่างดี ๑ สำรับ ย่ามเยียรบับ ๑ ใบ กับตรัสสั่งเจ้าพระยามหินทรศักดิธำรง ให้รื้อโรงพิมพ์ที่วัดบวรนิเวศวิหารสร้างกุฎีขึ้นใหม่ เป็นที่อยู่ของเรา ส่วนเจ้ากรมพรหมมุนีไตรแพรสามัญ ๑ สำรับ ย่ามโหมดเทศ ๑ ใบ ทรงมอบเรามาพระราชทาน ในการติดต่อมาทรงตั้งเป็นพระราชาคณะโดยนามว่าพระกิตติสารมุนี แต่จะว่าเพราะเราแปลหนังสือได้เป็นบาเรียนก็ไม่เชิง เพราะทรงตั้งพร้อมกับรูปอื่น ผู้มีประโยคต่ำกว่าท่าน พระปริยัติธรรมธาดา (ชัง) ควรจะได้รับพระราชทานบำเหน็จด้วย แต่ไม่ทรงทราบว่าแกก็สอนด้วยกระมัง หรือจะเข้าพระราชหฤทัยว่าขาดตอนไปแล้ว เหมือนพระปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม) ก็เป็นได้ เราแปลหนังสือได้เป็นบาเรียนครั้งนั้น อาจารย์ผู้สอนยังมีตัวอยู่ ได้อนุโมทนาทุกท่านครั้งนั้นในประเทศเรา มีการสอบความรู้ฉะเพาะปริยัติธรรมอย่างเดียว และมีมาเหลายชั่วอายุ ครั้งกรุงเก่ายังตั้งเป็นพระนครหลวง บาเรียนได้มีมาแล้ว ตั้งแต่ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์มา เจ้านายแปลปริยัติธรรม ได้เป็นบาเรียนก่อนหน้าเราตามที่นับได้ ทูลกระหม่อมเป็นที่ ๑ หม่อมเจ้าอีก ๘ องค์ ไม่ได้จำลำดับไว้ เรียงตามคเน หม่อมเจ้าพระญาณวราภรณ์ (รอง) ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๑ กรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิ์ ๗ ประโยค หม่อมเจ้าโศภน ในสมเด็จพระประพันธ์วงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ๓ ประโยค หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) ในพระวงศ์เธอกรมหลวงเสนบริรักษ์ ๖ ประโยค ๓ องค์นี้แปลในรัชชกาลที่ ๒ หม่อมเจ้าเนตร ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ ชั้น ๒ พระองค์เจ้าเสือ ๕ ประโยค หรือ ๗ ประโยค จำไม่ถนัด หม่อมเจ้าพระธรรมุณหิสธาดา (สีขเรศ) ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๒ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์ ๔ ประโยค กรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์ ในสมเด็จพระเจ้าไปยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ๘ ประโยค พระองค์เจ้าอรุณริภาคุณากร ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๓ กรมหมื่นภูมินทรภักดี ๕ ประโยค ๔ องค์นี้แปลในรัชชกาลที่ ๔ หม่อมเจ้าประภากร ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๒ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ ๕ ประโยค องค์นี้ในรัชชกาลที่ ๕ เราเป็นที่ ๑๐ ในจำนวนนี้มีชั้นลุกหลวงเพียงทูลกระหม่อมกับเราเท่านั้น ท่านพระองค์อื่นหาได้ทรงแปลไม่เสร็จการแปลหนังสือแล้ว กราบลาเจ้าคุณอาจารย์กลับมาวัดบวรนิเวศวิหารเพื่อเตรียมการรับกรม กลับมาในมกราคมนั้นเอง เวลาลากลับ เราปรารถนาจะแสดงความคิดถึงอุปการะของเจ้าคุณอาจารย์ที่ท่านได้มีแก่เราอย่างไร แต่เห็นท่านจ๋อยมากสักหน่อยจะเพิ่มความกำสรดเข้าอีก และเราบางทีก็จะทนไม่ได้เหมือนกัน จึงมิได้รำพันถึง ในระหว่างเราแปลหนังสือเจ้าคุณอาจารย์จับอาพาธเป็นบุราณโรค เรานึกหนักใจอยู่ แต่ยังไปไหนได้ และยังมาส่งเราที่วัดบวรนิเวศวิหารได้ จึงไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ต่อไป และผัดการรับกรมไปข้างหน้า ทั้งจะต้องรับก่อนการฉลองพระนคร อันจะมีในพฤษภาคม ด้วย คราวนี้เสด็จพระอุปัชฌายะโปรดให้อยู่ที่พระ ปั้นหย่า พระตำหนักที่บรรทมของทูลกระหม่อม เจ้านายที่ได้อยู่ปั้นหย่านั้นชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า พระองค์เจ้ามีมาก่อน แต่กรมหลวงพิชิตปรีชากร ครั้งทรงผนวชเป็นสามเณรพระองค์เดียว ได้ยินว่า ทูลกระหม่อมทรงขอให้ได้เสด็จอยู่ไม่ กุฎีที่ตรัสสั่งให้เจ้าพระยามหินทรศักดิธำรงสร้าง ท่านแฉะเสียเราก็ไม่เตือน อยู่พระปั้นหย่าก็ดีแล้ว ทั้งต่อมายังเที่ยวไปวัดมกุฏกษัตริย์อยู่อีก ภายหลังมีธุระมากขึ้น จึงเข้าจองโรงพิมพ์เป็นสำนักงานอีกหลังหนึ่ง เหมือนครั้งทูลกระหม่อม
สรูปประโยชน์ที่ได้รับเพราะไปอยู่วัดมกุฏกษัตริย์ดังนี้ :-
๑. ได้ความรู้เป็นไป ของคณะธรรมยุตกว้างขวางออกไป
๒. ได้รับอุปถัมภ์ของเจ้าคุณอาจารย์ เป็นทางตั้งตัวเป็นหลักต่อไปข้างหน้า
๓. ได้ความรู้มคธภาษาดีขึ้น
๔. ได้ช่องเพื่อจะเข้าสนิทกับสำนักวัดโสมนัสวิหาร
๕. บันเทาความตื่นเต้นในธรรมลงได้ หรือพูดอีกโวหารหนึ่งว่า ทำตนให้เข้าทางที่ควรจะเป็นได้
อนึ่ง ที่วัดมกุฏกษัตริย์ มีสำนักพูดธรรม พระจันโทปมคุณเป็นเจ้าสำนัก ได้รู้นิสสัยของพวกนี้ ว่าเป็นอย่างไร
ถ้าเราจักไม่ได้ไปอยู่วัดมกุกษัตริย์แล้วไซร้ เราจักบกพร่องมากทีเดียว หากจะได้ขึ้นเป็นหัวหน้าของคณะ ก็คงเป็นหัวหน้าผู้ไม่แขงแรง เป็นวาสนาของเราอยู่ที่น้อม ความเลื่อมใสในเจ้าคุณอาจารย์แล้ว และไปอยู่วัดมกุฏกษัตริย์
The old custom of a male born in the
early year to the middle year was regarded as
21 years old and could be
ordained a monk. A male born afterwards was ordained when he was 22 years old . Since the reign of King Rama IV , the custom for civil
servants who were 21 years
old could also be ordained . Later the senior
or elder monks in
the Dhamma Yuti Sect are
of the opinion that a male born in the early year
can also be ordained in the 20th year
shortened to be 19th year
or so since the person must be in the womb for 1
year. The male who is
ordained in this way is a special
person such as His Highness Prince Krom Phra Naresun Vararith. The example
like this was what I
asked my
prince ordainers conclusion, and
he said he was also ordained at the
age of 20. I informed
His Majesty and he agreed
on it, so the ordination has been
on the 20th year.
Formerly, Prince Krom Phra
Devavongse Varopakarn would
be ordained in that
year , but his
civil service caused him to
cancel it , so I alone was ordained.
The joyful ceremony was done at
Amarin Vinichai Throne Hall on
that day, and the following day
the ordination was at the
Temple of Emerald Buddha
on Friday, 8th lunar
month , 9th day
of the waxing moon , the Year of the Rabbit , the first
year of the decade, the
Minor Era or Year of 1241,
corresponding to June 27,
B.E. 2422 (A.D. 1879). The ordination
was completed in the afternoon at
Momchao in
general could not
have. Why did venerable
Chao Khun Chandra Kochonkhun, who had clerical
title between Somdej
and Phra Koo , become my monk teacher of ecclesiastical edict ? . It
has been a custom
that the prince - ordainer had chosen this monk - teacher on
his own . I always have confidence
and faith in monk teacher Chao Khun Chandra
Kochonkhun , whose strict
behaviour has the tranquility of
his mind . He used to have a name like venerable (Phra)
Rahul when he was a child .
He also praises the Lord
Buddha. I have known him before my
ordination and chose him as
my monk - teacher of ecclesiastical edict. What
is most admirable is his plain
and simple title up
until now. When I was ordained , His Majesty was still worried . He left the
When it was time for the Lent , His Majesty the King presented flowers arranged in the shape of a bush . He proffered with his royal younger brother an offering of bush . His Majesty came to my monks chamber and proffered it . I saw that he went down on his knees with palms pressed together at his chest and prostrated himself humbly . His behaviour was strange from other manners. He put his palms against the chest . I felt saddened since he was my august King , and I was only a humble member of his House. Besides , he was my royal brother and a great civil service teacher. I humbly looked at his prostration and knew he respected the Banner of Arahatship, but I might not rest easy on this. I did not want His Majesty to look at me when he humbly bowed down, and thought to myself that I was only a layperson. It was equivalent to the old expression of inauspiciousness or to put it in the Thai expression we might say that it was like putting lice onto my head . I decided to myself that I would never leave this Order of Sangha , but I did not humbly inform my resolution to His Majesty.
At this time, the prince-ordainer
did not teach me like the time that I had been a novice. Maybe, he ceased to be
an ordainer, but there were some monks and novices around when he taught. The prince - ordainer made an
inquiry on me in the early Lent whether I had contentment after all things were
settled, peaceful and serene. In early mornings, I went alms-round. At
Studying real hard relating to Vinaya or a collection of disciplines and Dhamma might find that the prince-ordainer was too much worldly wise. This might be a one dimensional attitude. When I grew up to be an adult, to be worldly wise was very important and helped to understand and broaden our scope of Dhamma. The Buddha knew the worldly happiness which became His own encouragement and helped Him to establish Buddhism. Maybe at this time, these people might see the world happiness too much. In those days, I would like to stay with His Eminence Chao Khun Chandra Kochonkhun at Wat Makut Kasattriya, which had been called Wat Nambanyat. To pay attention to my prince-ordainer, I had humbly informed him for his kind permission to leave the wat after the Lent. It was the first time for a monk of royal lineage to go to other wat. Besides Wat Bovorn Nives Viharn and Wat Rajjradit in November of that year, I went to Wat Mongkut Kasattriya. At first, the abbot put me in the eastern section. We built kutis or monks cells or chambers near the northern pond. It is now dilapidated and had been dismantled. Later, we asked for permission from his western section. He put us in the monastic library in the back of his big kuti, and asked myself to study Pali with venerable Phra Prom Muni (Kittisara), who was a real scholar. In the evenings he taught lessons and teachings on a treatise of auspicious things at my own chamber.
When I first went to this monastery we found that the behaviour and manners of Dhamma Yuti monks differ on methods; for example, they carry Buddhist robes entrusted to the care of another for 10 days, but, at Wat Bovorn Nives Viharn, they carry the robes only one day. At Wat Makut Kasittiya, they continue the carrying every ten year. It turns out that the Dhamma Yuti Sect has two sections, that is Wat Bovorn Nives Viharn and Wat Sommanas Viharn. These two wats differ on routines and manners, even the requirements are not the same. Other wats do things on their own. In fact, I should have asked my teacher - ordainer, but failed to pose him this question. Based on my observation, I found that when His Majesty was ordained at Wat Bovorn Nives Viharn, Supreme Patriarch Wannarat (Buddha Siri) was directing at the section of Wat Rachathivas on the other side. His Majesty had graciously changed or set up a new way. The Supreme Patriarch perhaps did not know that, and continued the old way. When he resided at Wat Rachathivas, my ordainer with His Majesty moved from Wat Mahathat to Wat Bovorn Nives Viharn. He did not reside at his own wat. Such change might be unnoticed or not known at all. When I became the holder of this assembly, there was an announcement of the Sangha. His Majesty the King left the monkhood in order to rule this country. The prince ordainer was a lord of the monastery, but he was not a learned monk, but he was very humble. Venerable Phra Vannarat was older than he. Later he was also a senior or Elder member of the assembly of the ecclesiastical Council, and was well-versed in Buddhist scriptures. He practiced Dhamma very well, and was not worldly wise. The prince-ordainer preferred the old way whereas the venerable Phra Vannarat wanted to change the methods. Two of them did not confer with each other, but if one would like to alter the old system, he might do so but within the wat that he directed, and did not want it to deivate too much . The reason for the change was to improve upon the organized whole rather than be harmonious with the old system. At that time, the Wat Bovorn Nives Viharn was degenerating ; there were too few sagacious monks around. They were sent out to many wats and could not be a real internal power, and this might undermine it. Venerable Ariya Muni (EM) was sent to Wat Dhepsirind one year before I was ordained. From that time until that of the prince ordainer, there was no monk sent out to other wats. In this wat, one simply read the sermon rhythmically well, or read it solemnly twice of a month to the whole body of monks. Wat Somanas was progressing, and had many sagacious monks who were eloquent preachers, and could tell Buddhist scriptures of nine divisions, the Tripitaka, to fellow-monks. They were devout believers in this religion. Their internal power was the real force for the wat and helped broaden the scope of knowledge. His Eminence Somdej Wanrarat had no elan or power in the assembly, but had far-reaching influence all over the country. Such deviation became known. My monk teacher used to be Phra Palad or deputy chief of His Eminence Somdej Phra Vannarat. He moved from Wat Rachathivas to Wat Sommanas. Later, His Majesty had set up clerical titles between Somdej and Phrakru and directed them to reside at Wat Bovorn Nives Viharn, but afterwards asked some of them to reside at Wat Makut Kasattriya. Maybe, we had seen the deviation, so His Majesty carefully selected them according to the routines and the Vinaya or collection of disciplines as well as the disposition of each wat ; for example, the customs of Wat Bovorn Nives Viharn and Wat Sommamas Viharn. Different wats did not visit each other. Those monks from upcountry felt abashed to stay with fellow monks in towns. On one occasion, I happened to receive monks rank and stayed at Wat Sattanat Pariwat in Rajburi province. I went to pay respects to fellow monks, so I asked Abbot Samut Muni ( Nai) to perform respect and do their prayer. The custom there was indelibly peculiar, but that monastery learnt many things from Wat Somanas Viharn.
Besides this, I had seen many things happening at other famous monasteries. Senior monks from abbots to other town to ordinary monks went and met other important Lord Abbots at the wats in other towns in order to have good acquaintance, but these wats did not have the royalty to stay. The monks there were awkward and did not have higher taste.
The ordination of this Majesty in
the Dhamma Yuti Sect respected the water confines of a monastery for being
pure and faultless. They did not trust boundaries of Buddhist wats accredited
by the Thai government which did not come from the Pali language texts. It was
simply written and suggested by the
authors of Buddhist exegetical literature when there was no wat in the area, so
they used water confines as a place for the ordination. Later, in case any monk
wants to be registered and established, the senior monk will re-ordain him in the confine, which is called a
confirmation. The office of Wat Bovorn Nives Viharnm, the Supreme Patriarch nor
the senior monks did not do this work. The Supreme Patriarch (Pussa Deva) was ordained around 20
rainy seasons ago, and was confirmed when he became a monk who prayed the ecclesiastical
edict for His Majestys ordination. My prince ordainer said that all the
senior monks at the ordination had done their ceremony of confirmation, except
him. He had to do an important work, so he did this again. He might forget a
Mon monk by the name of Dhamma Histhada who did not confirm it also. The
clerical office of Wat Somanas Viharn did this all along, even those monks who were not established had to confirm
it. They were called terra firma monks
and aqua monks. The laywomen lauded the aqua or water monks and looked
down upon the terra firma ones. A legal suit then followed. Before my
ordination, His Majesty graciously welcomed the terra firma monks. From that
time on, the whole story became not tangled as it used to be. During my
ordination, respect for the aqua monks did not really go away. I am of the
opinion that I am confirmed in the religion. If the same sect has different
ways according to the customs practiced by each wat, I shall be most
compromising for all of them. The practice of the ordination shall not be obnoxious to each
other, I was ordained earlier than most monks and was re-ordained in aqua or water
confines. Anything compromising could be of
use to all monks. I informed this to monk teacher, and he agreed and
would carry it out. He told us to inform to the prince ordainer who said the
whole thing might be resounding, and his name should be the one in the chanting. My teacher monk Chao Khun Prom Muni and I myself discussed the
matter, and came to the conclusion that there was a passage in Kamma Vinichai
(religious rite form) saying Any kamma should be carried out only in presence,
never done behind, otherwise this kamma is a ruinous action, not a legitimate
or correct one. If the ordination is not done in presence of the ordainer or if
the ordainer is not in presence of the assembly of monks, but simply uses his
name in order to chant, such action is ruinous. In case there be no ordainner, the ordination was very
risky and inconceivably dangerous, so we agreed that the monk-teacher Chao Khun
would be the ordainer. But in the confirmation ceremony the venerable Chao Khun
Prom Muni had tooth decay and could not do the prayer properly since it could
be objectionable or loathsome. He chose the venerable Chao Khun Dhamma Trailoke
(Thanjana) at Wat Dhepsirind, who had been a learned monk at Wat Sommanas
Viharn. He was the one who chanted the ecclesiastical edict. He said he would
carry it out, and the confirmatory rite was performed at the temple raft docked
in the river opposite Wat Rachathivas on Saturday, the 7th day of
the waning moon, the Year of the Rabbit,
the first year of the decade, the minor Year or Era of 1241, corresponding to
January 3rd, B.E. 2422. First of all, one must ask for new habit and
new ordination by getting oneself ordained in every respect. One had to do the
prayer both in Pali and Mon edict which was completed on
Our second stay in the monastery during the rainy season, I asked for monk teachers permission to give support to the monks in their chambers (kutis), since I desired to be acquainted with all of them, and I would like to see his behaviour when he was with himself. He was not a royalty, but was an ordinary type. I happen to be a royalty and perhaps quite difficult to be his own disciple. I wanted to be accustomed, but sooner or later I happened to be closer to him than my prince-ordainer who is my uncle of the same rank. Usually, though one became accustomed to the prince-ordainer, one did not attend to him all the time, he would become estranged. One must always get along with him and turned to be most compatible. Even the person with trusting and sincere heart who is not a royalty but is a royal chapter by rank would become distant, and he might not use him at all. My monk teacher whom I used to be familiar is still very close. When I moved to Wat Bovorn Nives Viharn , and got the ecclesiastical rank of a member of the royal family, he is still well acquainted. Since I have been with him, I can see his trust-worthy manners. The closer one is to him, the more calm and serene he is. In general, he always practices himself unharmed, serene and pure for his body, speech and mind (heart). This is the good character of a serene mind. I had resided at his chamber or monastic cell for 2 years and 2 months, and served him for nearly a year. During this time, he was never in a rage with anyone. He had a tranquil mind and never heard him say anything nonsensical. In case of not understanding or not knowing, it turned out that he did not disarrange anyone. One can see that no discrimination has been found. He is very mindful. As the old teaching says Whatever one does one should stop to ponder or think about it. What was different from other grown-ups was that he did not say that the young generation was superficial or shallow. He has been kind and amicable even to children, and never seems narrow minded like a conservative solemn monk. When I asked his permission to be with him, he was generous, and allowed us to learn his method. I can say with assurance that he governs everyone with love and respect. Even though I happened to be a royalty, he would always be courteous rather than be garrulous. I would say that he always keeps his words. Once there was a case, a punishment inflicted on novices should occur. He pointed out the blame of the wrong-doer, and handled the whole situation adroitly and uniformly in the assembly. He even handed out all-distributed presents to every monk. For example, during the Lent, he distributed all decorations of homage to all common monks who might not receive anything so that they might perform the matters on their own. I was presented offerings, but received the same amount as other monks. In case he favors anyone, he never shows it, There has been no one who receives more than other, whether the person is a prince or not. His distribution is not like prince-ordainer, who gets into muddle over all things. He also received His Majestys robe for monk which his royal son humbly presented to him. He was cautious not to leak the presentation, but he was not happy at all about it. His generosity and freedom from meanness do not mean that he has been too acquainted with me to the extent of being a sycophant or being indulgent. His shortcoming or defect from what one can see is that he was not loquacious, but very articulate. His Majesty once said that this monk did not speak at all. In fact if one becomes acquainted with him, he does not mention anything causally, or rather finds it difficult to say, especially to those whom he reveres, and even strangers included. On the other hand, we may put the blame on him for storing too many eight requisites and utensils for monks. Someone might call him a skinflint. But unlike him, I do not have disciples to give my assistance except a few local people and their spouses, who gave me kind support. People in general would figure that the monks did not require much. Later, when I became a grown up, I discovered that the senior monks do not have some one of good standing to look after them, so this monk-teacher must have a lot of requisites and utensils to help the hard pressed monks. Wat Makut Kasatriya which was recently set up does not have plentiful things like Wat Bovorn Nives Viharn. The prince ordainer once reproached him strongly that before receiving at the presentation ceremony, the wat borrowed altar offerings from Wat Bovorn Nives Viharn, but every thing was gone and disappeared. My monk teacher made excuses and said that the wat had something borrowed to return, so the wat did not humbly inform him. To give assistance to the assembly, the better way is to give back to the monks who wanted it. But the senior ones are distant from most monks and novices so they feel diffident to ask for it; for example, they may be wanting something, but do not get it. The monk - teacher also asked for forgiveness in case the wat had done something wrong.
When I was a lay supportor or attendant of this monk teacher during the Lent, I stopped studying, but learnt a great deal from his discipline, and Sangha ceremony as well as his training to chant in Pali and Mon tonal recitation. Though he is not a learned monk of Pali, his understanding of the language is legible. I had heard that the royal chapter of monks in Dhamma Yuti Sect. in those days understood Pali well, except for only a few of them. These chapters said the monks should know the Pali language, but some of them might not sit for exam to be holders of certificate in Pali studies. His Majesty praised these monks as special ones. I could see that this monk-teacher is quite good at disciplines. Even Sangha ceremony which he might not be acquainted with, he could explain it very well when I asked him unawares, but his practice is somewhat literal. He feared that he might be wrong. The quotable quote of his conduct is that :- He who is regular is ashamed and irksome because he feels like to study more, but he must not be overbearing. Monks like this consider themselves very devout. In the ecclesiastical edict, he has been respected for his practice. When the Supreme Patriarch (Pussa Deva) did the confirmation, he helped to train others who were not experienced in order to have devout background, not giving up certain standards ; for example, these monks may be interested in certain Dhamma which was only fitting in with their taste and favour. The devout monks are not irrelevant when it comes to give sermon. They would read the sermon rather than rave about it. Such is called in the exposition as gullible religious preachers . These monks are taught to give sermons or speeches off the cuff. My teacher monk is a learned monk, and he has been well-known and respected all the time for his sermons. I never feel that he has low innate taste, and has been famous up until the present time.
I thought that I might be his lay supporter or attendant for one rainy season only. When the Buddhist Rains Retreat entered, I asked his permission to continue my study, but I was impressed with him , so I resided there for another 11 months, and still studied the Dhamma until I learnt the Initial Collection of Vinaya or Disciplines, which is used for holder of 7th grade certificate in Pali studies. There were other two text - books that I must read so that I could extend their meanings. In addition, the prince ordainer was very unwell, I therefore took leave in order to help minister to him at Wat Bovorn Nives Viharn until he recuperated. I returned and nursed him, and continued studying.
Previously I was determined to read Buddhist exegetical literature of the original treatises that I could comprehend its contents like my prince ordainer and monk teacher did. I did not wish to be a real learned monk on this. The venerable Prom Muni told me that His Majesty asked whether I could translate or not. This monk agreed that I could translate to some extent. The translation has only one method; that is, the comprehension of the text. I was not prepared for it and felt abashed to translate. I happened to be a monk of royal lineage and could translate to some extent only. One should have some background otherwise one could not translate at all just like His Highness Prince Vachareevongse did not do it when he was a novice , but he was in the footsteps of the royalty who could translate Pali, and was called a learned monk. His Majesty told the venerable Momchao Netr who was born from His Highness Prince Sua, a second grade royalty, that staying at Wat Bovorn Nives Viharn, some monks were severely reproached, but other were very quiet. This time I prepared for the translation and could understand its value and meanings, but my teachers were not well remunerated. When I could translated the Pali works and became a learned monk , I began to be famous for this. I had mentioned that His Highness Prince Vachareevongse missed some points when he translated. I hope he is not angry to mention his name. Some monks said he was a Pali student which of course was better than not to be.
When two Buddhist Lent retreats had elapsed, the 3rd one became nearer. My monk - teacher Chao Khun directed me to pray for the ordination. At that time, the monastery had nobody to chant since the monk teacher Chao Khun Prom Muni lost all of his teeth and could not chant. The venerable Chandto Pramakhun (Hattipala) when he was assistant did not know enough Pali and was not well versed in chanting. From time to time, this monastery had to ask other wats to help. Monks who chant the ecclesiastical edict , the Pali Tripitaka does not praise them only as monk teachers of the ordained, but extols them to be the ordainers who are free from the old habits. The treatises of Buddhist exegetical literature in Dhamma Yuti Sect did not regard this as very important. His Majesty and the prince ordainer had chanted since very young age, and the venerable Chao Khun directed me to do that way. I have been pleased in one way that I first chanted in presence of my monk teacher, and I put forward his name in the chanting. This was deemed to be auspicious and I shall do it again in the future. But it is a pity that the first monk that I chanted for him when he was old did not live long. He did not die in celibacy or chastity.
I resided in Wat Makut Kasatriya and was kindly assisted by my monk-teacher Chao Khun. He had done a great service, and impressively put me in the care of the monk-teacher Chao Khun Prom Muni who kindly taught Pali and confirmed my ordination. He very well trained myself in religious matters and gave me the high praise among his students. It was a way to get acquainted with the monks of Wat Sommanas and gave me good encouragement for the future. It could be deemed as a familiarity between a monk teacher and his students. He gave me an opening to be closer and not outlandish. I began to flourish in his place and he took great care and concern. Our pleasure and sorrow were like his, and he was considerate to us. As for my grand-mother, what I did when I was not ordained, I had accepted her transgression, but finally she was about to pass away. I accepted and deemed it my great dignity and honour.
My venerable Chao Khun Prom Muni intended to teach the Buddhist scriptures very generously. All study that he taught had been read and also pondered by him. He was highly knowledgeable in translation, and suggested its contents subtly. I could say that I learned a lot more. At the time, he was a learned monk, but did not sit for the exam, and was not confident of the official translation at the Phra Meru grounds. This was the reason why he sought knowledge in diverse ways. If there should be his own translation, it would be profound and thorough.
During the 3rd Lent in B.E. 2424 (A.D. 1881) on September 21, I partook of the food at Amarind Vinichai Throme Hall on the royal date of birth. When the water poured onto His Majestys royal head during the ceremony was completed, His Majesty informed the prince ordainer that before I was ordained he took a vow that if I became a monk for 3 rainy seasons (pansas),
he would appoint me as (Chao) Tang Krom (a high rank for royalty conferred by the King). It was then the third year of my ordination.
Besides, there
was also Centennial Celebrations of
In that year , I was graciously honored to give a charitable sermon on His Majesty s royal birth date during the annual Lent Retreat. This was a dignified sermon given by Thai senior monks or chapter (of the Elders).
While I was learning the Buddhist Holy Scriptures , an old lady gave her entire books on Tripitaka , whose size was the same as royal tomes found in Monthiantham Hall , Temple of Emerald Buddha, constructed in the reign of King Rama III . She was one of his consorts. His Majesty directed the Royal Institute to set them up for this consort who gave all her possessions. The tome arrangement had been completed, and the impressive volumes were at Monthiantham Hall during the reigns of King Rama III and King Rama IV . They were then moved to Wat Kalyanamitra to be studied by the monks. But there were some incomplete tomes that could not be found. I have heard that the venerable Ubali Kunu Pamacharn had informed His Eminence Somdej Phra Puttacharn (Pan), who ordained him when he was the venerable Pinit Nas at Wat Mahan Param , that all these tomes should be presented to my wat to study the Buddhist Holy Scriptures. I regarded this as being fortunate to broaden our scope of knowledge . The monks who have studied these tomes may understand them .But some of the monks are without them and can not check the accuracy of their own text books . Monks do not know whether they have heard the explanations from their mentors or not . They are just like a photograph of a location which they have not seen with their naked eye. They do not understand or know whether it is true or real or not. If they have read the tomes , or have seen the location , they may get better idea . This is the reason why most learned monks do not have comprehensive knowledge , and may gloss things over . They may have passed the exam of Pali studies , but their scope of knowledge is rather shallow and narrow . The venerable Prom Muni is known as a good translator. He once complained that he was without the Buddhist tomes to understand the whole Dhamma . The Buddhist books are mostly for exams only . We fortunately received the Tripataka tomes , and always feel very thankful to the venerable U-bali Kunu Pamacharn, who compared these tomes with the existing ones . He is nice and kind, unassuming, and never envies anyone. His scope of knowledge is conservative and rather narrow , and I have not met good ones like him, but there are quite a number of them in this sect. This is why I never look down on those , who are exactly the same as monks in Dhamma Yuti Sect. Some of the Tripataka tomes may be missing if compared to the impressive volumes at Monthiantham Hall .The venerable U-bali Kunu Pamacharn commented that maybe because these tomes had been scattered about all the time .
When I sat
for the translation exam,
my understanding of
the ecclesiastical Dhamma was
equivalent to the 5th level
certificate of Pali studies. When His Majesty graciously
directed me to do the translation, it was only a translation for 3rd
level certificate. The examiners
told a His Highness Prince like myself to take the translation exam of 2nd level ; that is , early 1st level and late 1st level , and also translated the 4th level of
early treatise or discourse on auspicious things and the 5th level of
Saratta Songha (Essential Assembly)
that was done in the
reign of King Rama III . I have heard
that one day His Majesty translated
Buddhist exegetical
literature, and another day did the treatise on
auspicious things . His Eminence
Somdej Phra Buddhajarn (Chim) when he had been an
ecclesiastical dignitary almost
failed the exam until
His Majesty was dissatisfied, and he ordered
the exam be put to an end
right there . I
have then heard that
His Majesty also translated the 5th level
of exam. Why His Eminence Somdej Phra
Buddhajarn (Chim) was
treated like that
in His Majesty s presence ? That
was merciless on him . If
there was no help directly, it
would be pitiful . I would leave this
matter to other annalists
to solve the problem. I confirm that
what I have written is
true . The translation
started on Sunday , second lunar month,
5th day of the waxing
moon, the Year of the Snake, the third
year of the decade , the
Minor Year or Era
of 1243, corresponding to December
25th , B.E. 2424 (A.D. 1881) . That
morning the Supreme Patriarch
opened the ceremony at
Wat Rachapradit. The old
custom was that one of the ecclesiastical dignitaries
first began the translation of not more than
one sentence. Usually, it took
about 4 monks on each day.
Altogether there were 5 turns, depending on the subjects of translation . What was to be translated one
must first close the books , turn
them upside down , and tie them
to anything . Each translator
must draw what he would translate.
The translators drew the
translation depending on
what they received. The
subject might be too
easy, and the chairman and the Council might reprimand severely. Difficult sentences might be anticipated by the
mentors whose students may have
already rehearsed . Sometimes some sentences might be in the
exam questions, and they might
be in the paper again
.The questions in the
lower levels could be in the same manner like that . Those who passed the exam
were Pali literate . In addition to this , those
who drew might get the assistance , or the translation questions might be done with
a sense of malice. In case of help , the sentences might
be easy . If done with a
sense of
malice, the sentences were extremely
difficult and caused some
trouble for the translators . When
my royal preceptor or
ordainer was chairman, he
arranged all the sentences
like lottery tickets, and put them
into a box. Each translator drew the questions depending on the grades or
levels . The venerable
who drew the translation works was the
Supreme Patriarch whereas the
ecclesiastical dignitaries
who were the examiners were the
ones who gave the translation works
to the monks. This custom had been in use until
I became chairman . They used to translate 3 sentences . My royal
preceptor reduced the
translation works to 2 sentences only . When I became chairman, the
Supreme Patriarch directed the monks to
translate 5 sentences. As for the old custom, on the
first day of the drawing, I drew the one on the Ethical Discussion. The first
part of the 20 numerical designations for string-based palm-leaf books reads
Atta Hveti Pay ฯ Yanje
Vassatam Hutnati or to be victorious
over oneself is better than to be
victorious in the minds of others. This sentence was very difficult and maybe
complicated, and if one could translate
one would be a good translator. The author of this work made a slip of the
tongue in some places, but the examiners were not interested. I would prefer a
difficult but not complicated sentence, and I had to translate it. I received
the questions and paused awhile and did the translation at the row of rooms for
the guard in the department of palace. In the afternoon, when His Majesty the
King proceeded there, I went in to translate at the royal hall of Bororn Racha
Satit Mahoran in the green room where ten Elder Dignitaries were assembled, and
chaired by the royal preceptor. He was related to me and was a prince of the
same reign. Both of us worked for the inner and outside quarters of the palace
and are also the servants under His Majesty . The Supreme Patriarch was the examiner , who remonstrated the
translators in case of wrong translation
. His Eminence Somdej
Phra Vanrat (Buddhasiri)
might also admonished the
mistranslation and excessive usage of
the words. Those who used the words might expect to do
their best. Such method of study anticipated the thinking and questioning of the examiners and the
examinees. The old way was to schedule the time
rather than do it freely, and the questioning was for 4 monks , starting
from
When the translation had been completed, I took leave of the monk teacher and returned in January to Wat Bovorn Nives Viharn in order to be titled a Krom . While taking leave, I desired to express my thanks and appreciation to my monk teacher for his kind support, but when I looked at him, he looked very downcast and low spirited. I could not tolerate this feeling , and did not speak at length on it. While I was translating books on Pali , he was afflicted with lingering disease. His condition made me concerned , but he could move about and saw me off when I left for Wat Bovorn Nives Viharn. I could not stay with him, and had to be titled a Krom before the Centennial Celebrations in May. This time my royal preceptor or ordainer directed me to stay at a hip roofed house . Some princes had stayed there including His Royal Highness Princes and His Highness Princes . When His Highness Prince Krom Pichit Preechakorn was ordained as a novice, I have heard that His Majesty had graciously directed him to stay on. Later, he was ordained as a monk, but finally preferred to leave the Order . The chambers or monastic cells that the royal ordainer asked Chao Phraya Mahind Sakthamrong to build were not there, and I did not warn him on that matter, so I resided in this house with a hip-roof . Later , I also went to Wat Makut Kasat(riya), but I found myself occupied with a lot of work. I used the printing house as my office just like what I did in the reign of His Majesty the King.
The benefits that I gained from going to Wat Makut Kasat(riya) are as follows: -
1) I have broadened my knowledge of the background of Dhamma Yuti Sect.
2) I have received the kind support of my teacher monk who is a real pillar of strength for this religion.
3) My understanding of the Magatha or Pali language has been much better.
4) This is like giving an opening so that I can be well acquainted with the administration of Wat Somanas Viharn.
5) I have become eased and not over - excited about being too much engrossed in studying Dhamma doctrine. In other words , I have made the best of what I can be.
Anyway , Wat Makut Kasat(riya) has a Dhamma Orator Association , with venerable Phra Chantopom Khun as its head. I have learnt the ideas and habits of all the speakers or moderators.
If I did not reside at Wat Makut Kasat(riya), I must have some shortcomings. In case I was not the head of my section , I must be responsible for many grave mistakes. It is fortunate of me to be able to humbly respect and admire my monk teacher , and to have the great opportunity to have resided at Wat Makut Kasat(riya).
|