|
แสดงสติ ที่เกิดขึ้นในขันธ์ ๕ และในขณะฟุ้งซ่านหรือ"คิดนึกปรุงแต่ง" |
|
คิด |
ถ้ามีการฝึกปฏิบัติไว้ คือเกิดสติอันเป็นสังขารขันธ์ขึ้นมาได้ (อันเนื่องมาจากปัญญาที่สั่งสมไว้ในธัมมสัญเจตนา-สัญญาหมายรู้ อันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาขันธ์) ที่เมื่อเห็นคือมีสติระลึกรู้เท่าทันในเวทนาหรือสังขารขันธ์ว่า ล้วนเพียงสักว่า หรือเมื่อเกิดมโนกรรม-การกระทำทางใจจากสังขารขันธ์ขึ้น ก็"หยุดการคิดนึกปรุงแต่ง" หรือการอุเบกขา ก็เป็นกระบวนธรรมขันธ์ ๕ อันเป็นปกติธรรมดา
หรือบางครั้งเกิดสังขารขันธ์อันเป็นฝ่ายอกุศลขึ้นแล้วคือตัณหา ดังเช่น โลภ โกรธ หลง ฯ. อีกทั้งย่อมพึงเกิดมโนกรรม ที่พึงยังมีอยู่เป็นธรรมดาตามกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ก็ไม่เอา ปล่อยวาง หรืออุเบกขาเสีย ก็เป็นอันจบกันเท่านี้เอง
ทั้ง ๒ ลักษณะวิธีข้างต้นนี้ เป็นสุดยอดของการปฏิบัติ การดับแบบทั้ง ๒ นี้ลงไปได้ย่อมประกอบด้วย สติสมาธิปัญญา จึงรับเพียงผลทุกข์ธรรมชาติเพียงขณะจิตหนึ่งเท่านั้น
แต่ถ้าไม่เท่าทันในเวทนา หรือสังขารขันธ์ แล้วสักว่า หรือไม่เอา หรืออุเบกขาไม่ได้เสียแล้ว ดังข้างต้นแล้ว สังขารขันธ์อันคือตัณหาย่อมดำเนินไปคือเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอุปาทาน คือปรุงแต่งจิตให้เห็นเป็นไปตามกิเลสตน สังขารขันธ์จึงแปรไปเป็น"สังขารูปาทานขันธ์"ที่ถูกครอบงำด้วยอุปาทานหรือกิเลสตนนั่นเอง จึงย่อมเกิดมโนกรรมความคิดนึกแฝงกิเลสเป็นผลตามมาด้วย ก็ให้อุเบกขาเสีย
เกิดตัณหา เช่น โกรธ โลภ หรือคิดนึกปรุงแต่ง(มโนกรรม)....จึงเกิดอุปาทาน....จึงเกิดสังขารรูปาทานขันธ์ ที่ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดมโนกรรมอีกภายใต้กิเลสอีกด้วย ก็สามารถทำที่นี่ได้เช่นกัน โดยการปล่อยวาง หรืออุเบกขาทั้งในสังขารขันธ์ตัณหาและมโนกรรม เพื่อไม่ให้เนื่องเกิดขึ้นอีกต่อไป
แต่ถ้าไม่เท่าทัน เกิดการคิดนึกปรุงแต่ง วนเวียนเป็นวงจร (ในองค์ธรรมชราก็เช่นกัน แต่เปลี่ยนเป็นอุปาทานขันธ์ ) เรียกสภาวะในช่วงภาพล่างนี้ว่า "คิดนึกปรุงแต่ง"นั่นเอง
มโน สังขารขันธ์ เกิดมโนกรรม(เกิดคิดที่เป็นผล
แม้ต้องรับผล
ไม่สามารถดับได้ แต่อุเบกขาได้ จึงไม่ไปเป็นเหตุอีกได้)
|
ที่วงจรนี้ เมื่อเกิดสติอันเป็นสังขารขันธ์จากในวงจรขึ้น เห็นเวทนาและสังขารขันธ์เพียงสักว่า จึงไม่เอาสังขารขันธ์หรือเห็นมโนกรรม-การกระทำทางใจขึ้น ก็"หยุดสังขารขันธ์หรือหยุดมโนกรรมคิดนึกปรุงแต่ง" หรือการอุเบกขาขึ้น วงจรจึงดับไปเช่นกัน
หรืออาจจากความคิดหรือธรรมารมณ์ฝ่ายดีที่แทรกขึ้นมาได้แว๊บหนึ่ง
ในวงจรที่
การทำงานของกระบวนธรรมจึงดำเนินไป ดังภาพล่างนี้
ธรรมารมณ์(คิดฝ่ายดี) |
วงจรความคิดฟุ้งซ่าน"คิดนึกปรุงแต่ง" จึงดับไปเช่นกัน