กระดานธรรม ๑

 แสดง"คิดนึกปรุงแต่ง"ในวงจรปฏิจจสมุปบาท

 คลิกขวาเมนู

จิตที่ส่งออกนอกเพื่อรับสนองอารมณ์ ทั้งสิ้น

เป็นสมุทัย

ผลอันเกิดจากจิตส่งออกนอกแล้วหวั่นไหว

เป็นทุกข์

จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง

เป็นมรรค

ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง

เป็นนิโรธ

หลวงปู่ ดูลย์  อตุโล

Webmaster - จิตส่งออกนอก-ส่งจิตไปคิดนึกปรุงแต่ง หรือฟุ้งซ่านต่างๆ ย่อมยังให้เกิดเวทนาต่างๆ จึงอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา

รับสนองอารมณ์ - เสวยอารมณ์, เวทนา    

หวั่นไหว - คิดนึกปรุงแต่งแล้วเกิดตัณหา   

จิตเห็นจิต-สติเห็นทั้งเวทนาและจิตสังขาร คือ เวทนานุปัสสนา และ จิตตานุปัสสนา จึงเป็นนิโรธอันพ้นทุกข์

         มนุษย์เราอยู่ได้ด้วยความคิด  เจริญเติบโตจนมีวิวัฒนาการขั้นสูงได้ก็เพราะมีความคิดเหนือสรรพสัตว์อื่นๆทั้งหลาย  ความคิดความจำต่างๆจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิต เช่น คิดเรื่องหน้าที่การงานเพื่อการดำรงชีวิต  คิดแก้ไขปัญหา  ความคิดความจำในการดำเนินชีวิตปกติ  คิดพิจารณาธรรม ฯลฯ.  สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ถูกต้องและดีงาม อันควรทำให้เกิดขึ้น ควรทำให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป และก็ต้องไม่มีตัณหาอุปาทานอันเกิดขึ้นเนื่องจากความคิดเหล่านี้ด้วยจึงจะไม่ดำเนินไปตามวงจรการเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์  การไปปฏิบัติหยุดความคิดอันดีงามเหล่านี้จึงก่อโทษต่อการดำเนินชีวิต และธาตุขันธ์อย่างรุนแรง เพราะความเข้าใจผิด ไปยึดในความว่างอย่างผิดๆจึงไปหยุดคิดหยุดนึกก็มี  ให้หยุดคิดหยุดนึกปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่านแต่ไปหยุดคิดหยุดนึกโดยขาดเหตุผลก็มี

         แต่ก็มีบางความคิดที่ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้เจริญขึ้น  เช่น ความคิดที่ผุดขึ้นมาเองอันเนื่องจากอาสวะกิเลส   และจากความเคยชิน    ตลอดจนความคิดที่เกิดขึ้นที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับความคิดนึกอันดีงามที่ใช้ในกิจต่างๆดังกล่าวข้างต้นแต่ความคิดนึกเหล่านี้ไม่มีหน้าที่อันควร  โดยตรง  เราเรียกความคิดความนึกขึ้นมาได้ในสิ่งเหล่านี้ว่า คิดปรุงแต่ง  คิดนึกปรุงแต่ง  จิตปรุงแต่ง จิตฟุ้งซ่านบ้าง    สิ่งเหล่านี้นี่เองที่เป็นเหตุปัจจัยอันสำคัญยิ่งที่ยังให้เกิดอุปาทานทุกข์ขึ้นโดยไม่รู้ตัว (ตัวอย่าง คิดนึกปรุงแต่ง)

         คิดนึกปรุงแต่ง, จิตปรุงแต่ง จิตฟุ้งซ่านออกไปภายนอก หรือจิตส่งออกนอกต่างล้วนมีความหมายหรือมีความนัยเช่นเดียวกัน ดังเช่น กริยาจิตคิด ที่กระทำต่อเนื่องจากสังขารขันธ์ต่างๆที่เกิดขึ้น  ดังเช่น ในกระบวนธรรมของจิตแสดงในรูปขันธ์๕ อันเนื่องมาจาก หู ไปกระทบกับ เสียงที่นินทาด่าทอต่อว่าต่างๆนาๆ   จึงเกิดกระบวนธรรมของจิตดำเนินไปในการอธิบายในรูปแบบของขันธ์ ๕ เยี่ยงนี้

หู เสียงด่าทอ  โสตวิญญาณ ผัสสะ สัญญาจำ  ทุกขเวทนา  สัญญาหมายรู้  สังขารขันธ์ อันเป็นโทสะ(ย่อมยังให้เกิดมโนกรรม)

         เมื่อเกิดสังขารขันธ์อันเป็นโทสะเกิดขึ้นแล้ว  โดยวิสัยของปุถุชนก็ย่อมดำเนินไปตามวิถีของวงจรปฏิจจสมุปบาท จึงเกิดการกระทำทางจิตหรือกริยาจิต เช่น ความคิดต่างๆกล่าวคือ คิดปรุงแต่ง,จิตปรุงแต่ง ที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นมานั้นๆ   ในกรณีตัวอย่างนี้เกิดสังขารขันธ์อันเป็นโทสะหรือความโกรธ  ปุถุชนก็มักเกิดความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆนาๆกระทำต่อเนื่องและสัมพันธ์กับสังขารขันธ์อันเป็นโทสะที่เกิดขึ้นนั้น  จึงย่อมแฝงด้วยโทสะตามสังขารขันธ์อันเป็นเหตุหรือต้นกำเนิด

ปุถุชน จึงมีระบบความคิดปรุงแต่ง ที่แสดงในรูปแบบกระบวนธรรมของขันธ์๕ หรืออุปาทานขันธ์๕  เป็นไปดังนี้

ห ู+ เสียงโสตะวิญญาณผัสสะสัญญาจำเวทนาสัญญาหมายรู้สังขาร(มโนกรรม)

                                                                                                    

                                                                                                    ใจ + มโนวิญาณผัสสะสัญญาจำเวทนาสัญญาหมายรู้สังขาร(มโนกรรม)

                                                                                                                                                                                             

                                                                                                                                                                                             ใจ + มโนวิญาณผัสสะ....ฯ.

                                                                                                                                                                                                                                        

มักเป็นดั่งนี้ลงไปเรื่อยๆ ตามสังขารความเคยชินที่สั่งสมโดยไม่รู้ตัว

จนกว่าจะดับไปเพราะไตรลักษณ์  หรือถูกเบี่ยงเบน,บดบังโดยเหตุใดๆ เช่น จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า

แสดงการคิดปรุงแต่งดังข้างต้นในรูปวงจรของขันธ์๕   หรืออุปาทานขันธ์๕ ดังนี้  ก็ได้เช่นกัน

(รูป-ธรรมารมณ์) + ใจ anired06_next.gif มโนวิญญูาณขันธ์  anired06_next.gif เวทนาขันธ์

มโนกรรม                           ขันธ์ทั้ง๕                               

สังขารขันธ์ จึงเกิดมโนกรรมขึ้น                    สัญญาขันธ์

วงจรแสดงขันธ์ทั้ง๕ ที่วนเวียนฟุ้งซ่านจนเป็นทุกข์ในที่สุด

รูปูปาทานขันธ์ + ใจ anired06_next.gif วิญญูาณูปาทานขันธ์   anired06_next.gif   เวทนูปาทานขันธ์

มโนกรรม                            อุปาทานขันธ์ทั้ง๕                                

สังขารูปาทานขันธ์ จึงเกิดมโนกรรมทุกข์ขึ้น        สัญญูปาทานขันธ์

วงจรอุปาทานขันธ์ทั้ง๕ในชรา ที่ล้วนถูกครอบงําโดยอุปาทาน จึงเร่าร้อนยิ่ง

กล่าวคือ สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นแลัวเกิดมโนกรรมนั้น ไปทำหน้าที่เป็นธรรมารมณ์หรือรูปขันธ์เช่นคิด จึงเกิดเนื่องสัมพันธ์กันขึ้นอีกครั้ง จึงดำเนินไปเป็นวงจวนเวียนไม่หยุดหย่อน

 -----------------------------

แสดง คิดนึกปรุงแต่ง  ในวงจรปฏิจจสมุปบาท

         ความคิดนึกปรุงแต่งหรือจิตปรุงแต่ง ถ้าพิจารณาจากการเกิดขึ้นในวงจรปฏิจจสมุปบาท   ณ ที่องค์ธรรมสังขารอันได้สั่งสมไว้อันเนื่องมาจากอาสวะกิเลสและอวิชชานั้น ก็จัดเป็นความคิดปรุงแต่งอย่างหนึ่งได้เช่นกัน  แต่ที่องค์ธรรมสังขารนี้เราไม่นำมาพิจารณาเพราะเป็นสภาวธรรมอย่างหนึ่งของปุถุชนผู้ยังไม่มีวิชชา  อันย่อมผุดขึ้นหรือนึกขึ้นมาเองโดยควบคุมบังคับไม่ได้บ้างเป็นบางครั้งเป็นธรรมดา    ดังนั้นถ้าไม่พิจารณาองค์ธรรมสังขารนี้แล้ว   ก็สามารถจำแนกความคิดนึกปรุงแต่งที่เกิดในวงจรปฏิจจสมุปบาทที่นักปฏิบัติสมควรกระทำการหยุดการคิดปรุงแต่งเหล่านี้  เป็น แบบใหญ่ๆด้วยกัน

         แบบที่ ๑. เป็นความคิดนึกปรุงแต่ง  ที่เกิดขึ้นในวงจรปฏิจจสมุปบาท ณ ตำแหน่งที่แยกออกมาจากองค์ธรรมเวทนา  ด้วยสักว่าเวทนา มันเป็นเช่นนี้เอง ตามแสดงในภาพด้านล่าง  เป็นความคิดปรุงแต่งที่ยังไม่เป็นทุกข์   แต่ก็อาจจะ  เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาและเป็นอุปาทานทุกข์ขึ้นได้ถ้าประมาทไม่สำรวมระวัง  กล่าวคือ ปล่อยให้เกิดการคิดปรุงแต่งสืบต่อไปเรื่อยๆ ดังภาพที่แสดง จนความคิดปรุงแต่งอันใดอันหนึ่งเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดตัณหาขึ้น   จึงย่อมดำเนินและเป็นไปตามวงจรของทุกข์ต่อไปจนได้ในที่สุด

แสดงการคิดนึกปรุงแต่ง แบบที่๑.

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                                 

                             ปัญญา+สัญญาหมายรู้                     (อุทธัจจะ)

                                                                                 

                             สังขารขันธ์ ไม่เป็นทุกข์          แต่คิดนึกปรุงแต่งต่อ   

 

 

        กล่าวคือ มีสติรู้เท่าทันเวทนา  และถ้ามีปัญญาร่วมด้วยก็เกิดสัญญาหมายรู้ ที่หมายรู้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง  จึงเกิดสังขารขันธ์(เช่น คิดหรือจิตสังขาร บางทีก็เรียกว่าจิต)ขึ้น   แม้อาจจะเป็นโทสะก็ตามที เพราะเป็นไปตามสภาวธรรม แต่ก็เบาบางกว่าปุถุชนทั่วไป หรือเบาบางกว่าปกติธรรมดาของบุคคลนั้นๆด้วยปัญญาที่ร่วมกับสัญญาหมายรู้  กล่าวคือ ยังไม่ถึงกับเกิดอาการเร่าร้อนเผาลนใจอันต่อเนื่อง แล้วก็จางคลาย..ดับไป   แต่เพราะเนื่องเพราะวิชชา หรือสติและปัญญายังไม่บริบูรณ์  จิตจึงไม่หยุดอยู่เพียงเท่านั้น  ยังเกิดการคิดนึกปรุงแต่งต่อไปอีกบ้างตามภาพลูกศร ที่แสดง  วนเวียนอยู่บ้างหรือเรียกความคิดปรุงแต่งแบบนี้ว่าอุทธัจจะ ความฟุ้งอันคือสังโยชน์ข้อ๙   หรืออาจเพิ่มความรุนแรงด้วยสังขารตามที่สั่งสมไว้ตามความเคยชินที่ปรุงแต่งไปต่างๆนาๆในเรื่องนั้นๆ ตามภาพลูกศร ที่แสดง,   กล่าวคือ ย้อนกลับเข้าไปในวงจรของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์อีก จนความคิดปรุงแต่งบางความคิดเกิดโอกาสเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดตัณหาขึ้น  แล้วดำเนินและเป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทจนเกิด ตัณหา >> อุปาทาน >> ภพ >> ชาติ >> ชราอันเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์

         อีกลักษณะหนึ่ง ณ ตำแหน่งที่แยกออกมาจากองค์ธรรมเวทนา  ที่เกิดกับปุถุชนมากที่สุด คือ เกิดเวทนาชนิด อทุกขมสุขเวทนา คือมีความรู้สึกเฉยๆต่อรูปหรือสิ่งที่ผัสสะนั้นก็จริงอยู่  จึงไม่มีตัณหาเกิดขึ้น  เป็นไปตามกระบวนธรรมของขันธ์๕ธรรมดา จึงเกิดสังขารขันธ์ ไม่เป็นทุกข์(ดังแสดงในวงจรข้างต้น)  แต่เกิดขึ้นและเป็นไปตามธรรมชาติเพราะอทุกขมสุข   แต่เนื่องจากยังไม่มีวิชชา จึงเกิดการคิดปรุงแต่งต่อเนื่องหรือค่อนข้างต่อเนื่องไม่หยุดหย่อนเหมือนดังข้างต้นที่กล่าวแล้ว   หรืออาจเพิ่มความรุนแรงด้วยสังขารตามที่สั่งสมไว้ตามความเคยชินที่ปรุงแต่งไปต่างๆนาๆในเรื่องนั้นๆ ตามภาพลูกศร ที่แสดง,    จนในที่สุดเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา ที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดตัณหาขึ้น จึงเกิดอุปาทานขันธ์ ๕ ในชราอันเป็นความทุกข์(อุปาทานทุกข์)

         ทั้งสองเกิดที่ตำแหน่งเดียวกันในวงจร  แต่ฝ่ายหนึ่งยังมีสติและปัญญาจากการปฏิบัติ   แต่อีกฝ่ายเป็นไปตามกระบวนธรรมของธรรมชาติเพราะอทุกขมสุขเวทนานั่นเอง มิได้เป็นเพราะสติและปัญญา เพียงแต่ยังไม่เกิดตัณหาอุปาทานก็เพราะอทุกขมสุขเวทนาอันเฉยๆหรือแผ่วเบาเพียงเท่านั้นเอง

         การมีสติรู้เท่าทันเวทนาในปฏิจจสมุปบาท หรือรู้เท่าทันจิต(จิตสังขาร ในภาพวงจรข้างต้นคือ" สังขารขันธ์ ไม่เป็นทุกข์ ") แล้วหยุดการปรุงแต่งลงเสียนั้น  เป็นสุดยอดของการปฏิบัติ    เป็นการปฏิบัติเฉกเช่นในสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง คือ สติเห็นเวทนาหรือจิต แล้วไม่ยึดมั่นหมายมั่นในสิ่งใด  หรือก็คือ ถืออุเบกขา  หยุดการปรุงแต่ง   ซึ่งจะเป็นเหตุปัจจัยให้อุปาทานทุกข์อันเร่าร้อนเกิดขึ้นไม่ได้  จึงย่อมไม่เสวยอุปาทานทุกข์  ใดๆ   แต่ย่อมต้องเสวยเวทนาที่เกิดขึ้นมาแล้วเป็นธรรมดา แล้วก็ดับจางคลายลงไปเพราะขาดเหตุปัจจัยให้เกิดสืบเนื่องต่อไป    แต่ก็ไม่เร่าร้อนเผาลนกระวนกระวายจนกายใจเดือดพล่าน และสืบเนื่องยาวนาน เหมือนดั่งในอุปาทานทุกข์    จึงควรมีความเข้าใจด้วยว่าเวทนาความรู้สึกรับรู้ที่เกิดขึ้นแล้วนั้นเป็นสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)ยังคงมีคงเกิดเป็นธรรมดา เพราะมิฉนั้นจะดิ้นรนพยายามดับสภาวธรรมจนก่อเป็นทุกข์โดยไม่รู้ตัว  การดับเวทนาอันเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติของชีวิตเป็นความรู้สึกรับรู้ที่เกิดขึ้นแต่การผัสสะในอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นย่อมเป็นไปไม่ได้  ดุจดั่งการพยายามไล่จับเงานั่นเอง

 

         แบบที่ ๒. ความคิดปรุงแต่งที่ดำเนินไปในองค์ธรรมชาติ และชรา  ในวงจรปฏิจจสมุปบาท  ล้วนเป็นอุปาทานทุกข์   อันเผาลน   กล่าวคือ  จิตดำเนินไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทจนเกิดความทุกข์(อุปาทานทุกข์)แล้ว  ดำเนินและเป็นไปดังกระบวนธรรมดังนี้

         อาสวะกิเลส อวิชชา  เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกัน จึงมี สังขาร เป็นเหตุปัจจัย จึงมี วิญญาณ เป็นเหตุปัจจัย จึงมี นาม-รูป เป็นเหตุปัจจัย จึงมี สฬายตนะ เป็นเหตุปัจจัย จึงมี ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย จึงมี เวทนา เป็นเหตุปัจจัย จึงมี  ตัณหา เป็นเหตุปัจจัย จึงมี  อุปาทาน เป็นเหตุปัจจัย จึงมี ภพ เป็นเหตุปัจจัย จึงมี ชาติ เป็นเหตุปัจจัย จึงมี ชรา  ณ ที่นี้นี่เอง ที่เป็นที่เกิดของความคิดปรุงแต่งหรืออุปาทานสังขารขันธ์แบบเป็นทุกข์อันเร่าร้อนเผาลน เพราะล้วนเป็นอุปาทานขันธ์๕  แล้วยังให้เกิดมโนกรรมตามมาอันทำให้เกิดความคิดฟุ้งซ่านปรุงแต่ง ที่เกิดๆดับๆอันยังให้เกิดการเสพเสวยเวทนูปาทานขันธ์อันเร่าร้อนเผาลนยิ่งนัก

 anired06_next.gif      anired06_next.gif      anired06_next.gif ตัณหา anired06_next.gif อุปาทาน anired06_next.gif ภพ anired06_next.gif ชาติ anired06_next.gif......รูปูปาทานขันธ์     ใจ   anired06_next.gif  วิญญูาณูปาทานขันธ์    anired06_next.gif   เวทนูปาทานขันธ์  

                                                                                           อุปาทานขันธ์๕ อันเกิดวนเวียนอยู่ใน ชรา อันเป็นทุกข์                      

   ดำเนินไปตามวงจรใหม่  anired06_next.gif อาสวะกิเลส anired06_next.gif มรณะ anired06_next.gif......สังขารูปาทานขันธ์ เกิดมโนกรรมคิดที่เป็นทุกข์      สัญญูปาทานขันธ์    

ภาพขยายในชรา   ล้วนเป็นอุปาทานขันธ์ อันเป็นทุกข์ เพราะเกิดจากสังขารูปาทานขันธ์ในชาติ อันถูกครอบงําโดยอุปาทานแล้ว

        กล่าวคือ เป็นความคิดปรุงแต่งที่ล้วนถูกครอบงำด้วยอุปาทาน จึงอาจดำเนินไปด้วยความสุขแต่แอบแฝงความเร่าร้อนเผาลน   หรือทุกข์ที่เร่าร้อนเผาลน   หรือทั้งสุขและทุกข์คละเคล้าไปแต่แอบแฝงความเร่าร้อนเผาลนเช่นกัน    จึงย่อมล้วนเป็นไปอย่างมีความรุนแรงเร่าร้อนและเผาลนกว่าแบบที่๑.  กล่าวคือ กำลังเผาลนอยู่ในกองไฟแห่งทุกข์นั่นเอง  เพราะอำนาจของอุปาทานที่มีกำลังของความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจของตัวของตนเป็นใหญ่ ซึ่งได้ครอบงำในทุกๆขันธ์ที่เกิดขึ้นและเป็นไป  เพียงแต่ว่าไม่รู้เท่านั้นเอง   ดังนั้นทุกๆความคิดปรุงแต่งที่เกิดในชราจึงล้วนประกอบด้วยขันธ์ต่างๆ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นอุปาทานขันธ์  อันก่อให้เกิดได้ทั้งสุขและทุกข์แต่ก็ล้วนเป็นแบบเร่าร้อนเผาลนใจ และล้วนเก็บสั่งสมเป็นอาสวะกิเลส อันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความทุกข์ขึ้นอีกในภายหน้าโดยไม่รู้ตัว (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน ชราในวงจรปฏิจจสมุปบาท อันเป็นที่ดำเนินไปของความทุกข์)

         ภาวะที่เกิดในชราของอุปาทานขันธ์ทั้ง๕  เป็นการเกิดการคิดปรุงแต่งอย่างวนเวียนอย่างต่อเนื่องหรือค่อนข้างต่อเนื่อง และเป็นวงจรที่มีความเนื่องสัมพันธ์กันอยู่  และมักเป็นไปโดยไม่รู้ตัว   หรืออาจรู้ตัวมีสติเห็นความคิดปรุงแต่งในนักปฏิบัติ แต่อาจขาดความต่อเนื่องของสติ(สมาธิ) และปัญญาญาณยังไม่บริบูรณ์ จึงไม่สามารถหยุดการปรุงแต่งได้ในบางครั้ง  เพราะกำลังอันแรงกล้าของอุปาทานได้ครอบงำเสียแล้ว   เป็นอุปาทานทุกข์หรือความทุกข์แท้ๆที่มนุษย์พากันเป็นทุกข์อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน  แทบทุกขณะจิต   เป็นทุกข์ชนิดอุปาทานทุกข์ที่พระพุทธเจ้าได้เพียรสั่งสอนทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เพื่อให้ดับลงไป, นี้แหละคือความทุกข์หรืออุปาทานทุกขหรืออุปาทานขันธ์ ๕ ที่แสวงหาเพื่อการดับไปของนักปฏิบัติ และสามารถปฏิบัติได้จริงด้วยธรรมของพระองค์ท่าน

         คิดนึกปรุงแต่งหรือสังขารูปาทานขันธ์ที่เป็นมโนกรรมเกิดขึ้นใน ชาติและชรา นี้  เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เร่าร้อนเผาลนด้วยความรู้สึกรับรู้-อุปาทานเวทนา(เวทนูปาทานขันธ์)ที่เกิดอย่างต่อเนื่อง หรือค่อนข้างต่อเนื่อง  กล่าวคือรับรู้ความรู้สึกรับรู้ที่เกิดขึ้น(เวทนูปาทานขันธ์)แต่ละครั้งที่เกิดขึ้น  กล่าวคือ เวทนูปาทานขันธ์ที่เกิดก่อนยังไม่ทันได้มอดดับลงไป ก็คิดปรุงแต่งใหม่อันเนื่องสัมพันธ์กับทุกข์เดิมจนเกิดเวทนูปาทานขันธ์ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง  เป็นดังนี้เป็นระยะๆ  จนความทุกข์นั้นๆดูราวกับต่อเนื่องเป็นชิ้นเป็นหนึ่งเดียวกัน  แต่ในตามความเป็นจริงแล้วมีการเกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ แต่อย่างต่อเนื่องสัมพันธ์กันไปดังกล่าว อีกทั้งจึงย่อมยังให้เกิดสังขารขันธ์หรืออารมณ์เช่น ราคะ โทสะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน ฯ.เกิดขึ้นตามมา ซึ่งย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสัญเจตนาคือความจงใจหรือคิดอ่านที่ไปปรุงแต่งจิต ให้เกิดการกระทำต่างๆขึ้นได้ ทั้งทางกาย วาจา และใจ(มโนกรรม) ซึ่ง ณ. ที่องค์ธรรมชาติและชรานี้ย่อมเป็นฝ่าย"อกุศล"ทั้งสิ้น เพราะประกอบด้วยอำนาจของอุปาทาน จึงย่อมส่งผลให้เจตนาหรือความคิดอ่านเห็นเป็นไปตามอำนาจกิเลสตน จึงเกิดอกุศลกรรมต่างๆ ได้ทั้งทางกาย วาจา และใจ(มโนกรรม)  และมโนกรรมนี้นี่เอง ที่จะแปรไปเป้นธรรมารมณ์ขึ้นอีก จึงเกิดการวนเวียนปรุงแต่งฟุ้งซ่านหรืออุทธัจจะ อันเป็นสังโยชน์เบื้องสูงรองจากอวิชชา ที่ผูกมัดสัตว์ไว้กับทุกข์

         ผู้ที่ศึกษาและเข้าใจปฏิจจสมุปบาทดี  ก็จะเข้าใจในความเป็นเหตุเป็นปัจจัยกัน จึงยังให้เกิดสิ่งอื่นขึ้น    ลองโยนิโสมนสิการโดยการตีตัวเองแรงๆ  จะเห็นกฏของธรรมชาติหรือสภาวะธรรม  กล่าวคือเมื่อเกิดการกระทบผัสสะขึ้น ย่อมเกิดเวทนาการรับรู้ความรู้สึกเป็นธรรมดา   ธรรมดาแต่หมายถึงยิ่งใหญ่คือเป็นจริงและเที่ยงเยี่ยงนี้คือไม่แปรผันหรือเปลี่ยนแปลงไม่ได้    ความคิดปรุงแต่งอันเป็นทุกข์เร่าร้อนนั้นก็เป็นเฉกเช่นกัน  กล่าวคือ เมื่อคิดปรุงอันเผาลนขึ้นมาแล้วย่อมเกิดความรู้สึกรับรู้เป็นทุกข์ขึ้นเป็นธรรมดา  เป็นกฏของธรรมชาติที่นักปฏิบัติย่อมไม่สามารถไปแปรเปลี่ยนอะไรได้ต่อให้มีอำนาจวาสนาแค่ไหนก็ตาม  ถ้ากดข่มก็ได้เป็นครั้งเป็นคราวเท่านั้น เช่น กดข่มดื้อๆด้วยกำลังของจิต หรือด้วยอำนาจขององค์ฌานแต่ก็ล้วนก่อให้เกิดผลร้ายในภายหลัง   ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงให้มีสติเห็นเวทนาที่เกิดขึ้นหรือเห็นจิต(จิตตสังขาร)ที่หมายถึงความคิด  หรือ ณ ที่นี้ก็คือความคิดปรุงแต่งหรือจิตปรุงแต่ง   แล้วไม่ไปยึดมั่นหมายมั่นใดๆ ด้วยการอุเบกขา  ในโพชฌงค์๗  คือ เป็นกลางวางทีเฉย โดยการไม่เอนเอียงเข้าไปแทรกแซงด้วยถ้อยคิด  หรือกริยาจิต  ใดๆในเรื่องทุกข์นั้น  ไม่ปรุงแต่งในเรื่องทุกข์นั้นๆไม่ว่าในทางดีหรือชั่ว  ดังเช่น  เราถูกเขาผิด  เราผิดเขาถูก  เราดีเขาชั่ว  เราชั่วเขาดี   บุญหรือบาป   สิ่งต่างๆเหล่านี้ความจริงแล้วเป็นการปรุงแต่งฟุ้งซ่าน เมื่อยิ่งปรุงแต่ละครั้งก็ย่อมเกิดความรู้สึกรับรู้ชนิดเวทนูปาทานขันธ์อันเร่าร้อนขึ้นทุกครั้ง ดังนั้นจึงยิ่งทุกข์และต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนยิ่งเร่าร้อนเผาลนอย่างยาวนานขึ้นไปเป็นลำดับ

         การหยุดคิดปรุงแต่ง หรือหยุดจิตปรุงแต่ง ฟังดูแล้วแสนง่ายไม่น่ายากแต่ประการใด  ตามความเป็นจริงแล้วเป็นหัวใจในการปฏิบัติ และกลับปฏิบัติได้ยากแสนยากเพราะเป็นสังขารอันสั่งสมไว้อย่างแก่กล้าไม่รู้ว่านานมาสักกี่ภพกี่ชาติมาแล้วนั้น อีกทั้งท่านจัดเป็นสังโยชน์เบื้องสูงรองจากอวิชชา  และทั้งยังต้องมีสติระลึกรู้เท่าทันทั้งในเวทนาหรือจิต(มโนกรรม)ที่เกิดขึ้น ตลอดจนปัญญาที่เป็นผู้จัดการปัญหา  แต่ก็ล้วนสามารถสั่งสมอบรมสังขารใหม่ให้เกิดความชำนาญหรือวสีได้,    โดยเฉพาะการคิดปรุงแต่งที่เกิดในชรา  คือขณะกำลังเสพเสวยความทุกข์อันเร่าร้อนอยู่  โดยมีกำลังอันกล้าแข็งของอุปาทาน  ได้ครอบงำไว้แล้วด้วยอิทธิฤทธิ์อันแรงกล้าที่ครอบสรรพสัตว์มาได้ตลอดกาลนาน   เมื่อพยายามหยุดการปรุงแต่งจึงมักหยุดไม่ได้เป็นธรรมดาทั้งที่รู้และพยายามหยุดการปรุงแต่งแต่ก็ยังวนเวียนปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา แม้จะช้าหรือทิ้งช่วงไปบ้างก็ตาม    แต่สำหรับนักปฏิบัติที่เข้าใจปฏิจจสมุปบาทอย่างแจ่มแจ้งจะมีกำลังของปัญญา  ที่เกิดการสั่งสมเข้าใจและจากประสบการณ์ในการปฏิบัติอย่างแจ่มแจ้งถึงความเป็นเหตุปัจจัยกัน   จึงมีกำลังของจิตอันเกิดแต่ปัญญาที่รู้ว่าทุกข์เหล่านี้เกิดแต่เหตุใดอย่างมั่นใจจึงมีความพยายามหรือมีกำลังของจิตหรือปัญญาพละมากกว่าในการหยุดการปรุงแต่งเหล่านั้น   ถึงจะยังเกิดขึ้นบ้างก็อยู่ได้ไม่นานเหมือนปุถุชน   อันเกิดแต่ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง  ในปฏิจจสมุปบาทกระบวนธรรมของจิตในการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์อย่างมั่นคงไม่โยกคลอนดุจดั่งเสาเข็มริมเขื่อนแล้วนั่นเอง

          การหยุดคิดนึกปรุงแต่ง แท้จริงแล้วก็คือการอุเบกขา  เป็นการอุเบกขา ในมโนกรรมความคิดนึก ที่เกิดขึ้นในองค์ธรรม"ชาติ" หรือ"ชรา"

(รูป-ธรรมารมณ์) + ใจ anired06_next.gif มโนวิญญูาณขันธ์  anired06_next.gif เวทนาขันธ์

มโนกรรม                           ขันธ์ทั้ง๕                               

สังขารขันธ์ จึงเกิดมโนกรรมขึ้น                    สัญญาขันธ์

วงจรแสดงขันธ์ทั้ง๕ ที่วนเวียนฟุ้งซ่านจนเป็นทุกข์ในที่สุด

รูปูปาทานขันธ์ + ใจ anired06_next.gif วิญญูาณูปาทานขันธ์   anired06_next.gif   เวทนูปาทานขันธ์

มโนกรรม                            อุปาทานขันธ์ทั้ง๕                                

สังขารูปาทานขันธ์ จึงเกิดมโนกรรมทุกข์ขึ้น        สัญญูปาทานขันธ์

วงจรอุปาทานขันธ์ทั้ง๕ในชรา ที่ล้วนถูกครอบงําโดยอุปาทาน จึงเร่าร้อนยิ่ง

 จิตส่งออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่ง

คิดนึกปรุงแต่ง ๑ ครั้ง,  คือการเกิดทำงานของขันธ์ทั้ง ๕ ขึ้น ๑ ครั้ง  

เกิดการทำงานของขันธ์ ๕ ขึ้น ๑ ครั้ง,  ย่อมต้องเกิดเวทนาขึ้น ๑ ครั้ง

ดังนั้นคิดนึกปรุงแต่ง ๑๐๐ ครั้ง,  ย่อมต้องเกิดเวทนาขึ้น ๑๐๐ ครั้งเช่นกัน

เวทนาเกิดขึ้น ๑๐๐ ครั้ง  ย่อมเปิดโอกาสให้เกิดตัณหาได้ ๑๐๐ ครั้งเช่นกัน

ตัณหาเกิดขึ้นเมื่อใด  ทุกข์อุปาทานเกิดขึ้นเมื่อนั้น

ดังนั้นจงมีแต่คิดนึก,  แต่ไม่มีคิดนึกปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่าน.

พนมพร

 

จิตฟุ้งซ่าน ปรุงแต่ง อุปมาดังปาหินลงน้ำ

 

 

 

กลับสารบัญ