สารบัญ ข้อ ๒๓

 

 คลิกขวาเมนู  

        สังโยชน์ ๑๐ คือ กิเลส(สิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมอง, สิ่งทำให้รับคุณธรรมได้ยาก) ที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมหรือสิ่งที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์, สิ่งที่ผูกมัด ร้อยรัดสรรพสัตว์ทั้งหลายให้ผูกติดอยู่กับความทุกข์ทําให้ไม่สามารถสลัดหลุดออกมาได้  อันมี ๑๐ ประการ คือ ๑. สักกายทิฏฐิ   ๒. วิจิกิจฉา   ๓. สีลัพพตปรามาส   ๔. กามราคะ   ๕. ปฏิฆะ   ๖. รูปราคะ   ๗. อรูปราคะ   ๘. มานะ   ๙. อุทธัจจะ   ๑๐. อวิชชา  ล้วนเป็นสิ่งที่ร้อยรัดผูกมัดสัตว์ไว้กับทุกข์ อีกทั้งขัดขวางการเจริญธรรมทั้งสิ้น  

       พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้,
       พระสกิทาคามี ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้ และทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย,
       พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้น คือ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้หมด,
       พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ บรรลุเจโตวิมุตติ  ปัญญาวิมุตติ

(อ้างอิงจาก สัมปสาทนียสูตร หัวข้อที่ ๘๕, ที่พระองค์ท่านตรัสแสดงไว้,  ไม่ได้ตั้งใจจำแนกแยกแยะเพื่อไปให้เกิดการยึดถือใน"ฐานะ"ต่างๆแต่อย่างใด แต่จุดประสงค์ต้องการจำแนกแจกแจงให้เป็นเพียงเครื่องสำรวจตัวเอง เพื่อเป็นเครื่องรู้,เครื่องระลึก,เครื่องเตือนสติ ให้เห็นโทษของธรรมอันให้โทษต่างๆ  อีกทั้งเข้าใจลำดับความยากง่ายหรือความละเอียดอ่อนในการดับไป หรือในการเลิก,ลด,ละ เสียซึ่งในธรรมเหล่านั้น แม้ในฆราวาส,  เพื่อรู้ แล้วลด ละ ในเหล่าสังโยชน์ ที่ทำให้จิตขุ่นมัวจนรับคุณธรรมได้ยากบางประการลงไปบ้าง ก็เพื่อให้พบกับความสุข สงบ ได้ตามควรฐานะแห่งตน  เมื่อมีเครื่องรู้,เครื่องเตือนสติเพื่อลดละในธรรมอันให้โทษเหล่านี้ลงไปบ้าง)

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

        โอรัมภาคิยสังโยชน์  หรือสังโยชน์เบื้องตํ่า คือกิเลสผูกใจสัตว์อย่างหยาบ อันมี ๕ ซึ่งเมื่อระงับหรือละได้ ย่อมเกิดโลกุตตรสุข จางคลายจากทุกข์ได้ตามควรแห่งฐานะของตน

        ๑. สักกายทิฏฐิ สักกาย  มีความหมายว่า ความมีตัวตน หรือเป็นของตน  การเห็นว่ามีตัว มีตน เป็นของตนเองจริง  จึงเป็นบ่อเกิดของอุปาทานขันธ์ ๕ นั่นเอง,  จึงครอบคลุมการเห็นไปว่า สิ่งต่างๆล้วนมีตัวตนของมันเองอีกด้วย จึงย่อมครอบครองเป็นของของตนคือเป็นเจ้าของมันได้,  ส่วนทิฎฐิ มีความหมายว่า ความเห็น, ความเชื่อ, ทฤษฎี,  สักกายทิฏฐิ จึงมีความหมายว่า ความเห็นที่คิดว่า สิ่งทั้งหลายมีตัวตนของมันเอง หรือครอบครองเป็นของตัวของตนได้อย่างแท้จริง ดังสังขารที่ใกล้ตัวมากที่สุดคือ กายของตน และขันธ์อื่นๆอีกทั้ง ๔  จึงเห็นหรือเข้าใจในชีวิตหรือขันธ์ทั้ง ๕ ไปว่า มีตัวตน จึงเป็นของตนอย่างแท้จริง  จึงอยู่ในอำนาจตน เช่นเห็นว่า รูป(กาย)เป็นตน หรือของตน  เห็นเวทนาเป็นตนหรือของตน  เห็นสัญญาเป็นตนหรือของตน ฯ.  อีกทั้งจึงพลอยเห็นเข้าใจไปโดยไม่รู้ตัวในสังขารทั้งปวงอีกด้วยว่า ล้วนมีตัวตนของมันเองจริงๆ หรือเป็นของตัวของตน ด้วยอายตนะภายในต่างๆก็ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของรูปขันธ์ด้วย ดังนั้นรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส แม้ธรรมารมณ์ก็พลอยถูกเข้าใจไปว่า เป็นตัวตนหรือเป็นของตัวตนด้วย,  ในที่นี้ จึงมีความหมายว่าเป็นความเห็นผิด เชื่อผิดๆ อันเป็นปกติของปุถุชนด้วยอวิชชา อันย่อมมีมาตั้งแต่รู้ความเป็นธรรมดา กล่าวคือ จึงย่อมมี สักกายทิฏฐิ ซึ่งมีความหมายว่า ความคิดหรือความเห็นความเข้าใจหรือความเชื่อในเรื่องสังขารต่างๆทั้งปวงอีกด้วย เช่น กาย หรือชีวิตคือขันธ์ทั้ง ๕ ทั้งสังขารทั้งปวงว่า เป็นตัวตน หรือเป็นของตนจริง(สักกายสมุทัย)โดยไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นไปคือเกิดขึ้นและเป็นไปโดยธรรมหรือธรรมชาติ,  ความคิดความเห็นว่าเป็นตัวตน จึงเป็นเหตุให้ถือตัวถือตนหรือชีวิต คือ ขันธ์ทั้ง ๕ เช่น เห็นรูปว่าเป็นตน,เป็นของตน  เห็นเวทนาว่าเป็นตนอีกทั้งของตน ฯ. กล่าวคือ เพราะย่อมยังไม่มีความเข้าใจในความเป็นเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้นมาของสังขารทั้งปวง (ดู เหตุปัจจัย) จึงไม่เคยรู้ ไม่เคยระลึก ไม่เคยพิจารณา  จึงย่อมไม่มีเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ  จึงไม่เกิดสัมมาปัญญาหรือญาณอย่างน้อมยอมรับว่า ตัวตนหรือรูปกายของตนนั้น ก็ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอย่างที่คิดอย่างแท้จริง  สักแต่ว่าเกิดมาแต่การประชุมปรุงแต่งกันขึ้น ของเหตุปัจจัยของธาตุ ๔   หรือชีวิต(ชีวิตินทรีย์)ที่มีร่างกายตัวตนก็สักแต่ว่าเกิดแต่เหตุปัจจัยของขันธ์ทั้ง ๕ หรือเบญจขันธ์  หรือสังขารร่างกายล้วนเป็นไปตามพระไตรลักษณ์  เหมือนกันดังสังขารทั้งปวงที่ต่างล้วนต้องเกิดมาแต่การที่มีเหตุต่างๆมาเป็นปัจจัยกัน หรือประชุมปรุงแต่งกันขึ้นมาชั่วขณะๆหนึ่ง   จึงล้วนเกิดขึ้น แล้วตั้งอยู่อย่างแปรปรวน แล้วทุกขังคือคงสภาพเดิมอยู่ไม่ได้ จึงเสื่อมดับไป จึงเป็นทุกข์ขึ้นเป็นธรรมดา ไม่เป็นอื่นไปได้   ล้วนเป็นอนัตตา คือไม่มีตัวตน ของมันเองจริง  เมื่อไม่มีตัวตนจึงย่อมเข้าครอบครองเป็นเจ้าของไม่ได้ จึงไม่ใช่ของตัวของตน หรือของใครๆได้อย่างแท้จริง จึงควบคุมบังคับให้เป็นไปตามใจปรารถนาไม่ได้ แต่เป็นไปตามเหตุปัจจัยที่มาปรุงแต่งกัน  แต่ด้วยอวิชชาดังนั้นจึงมีความคิดความเห็นอย่างยึดมั่นยึดถือโดยไม่รู้ตัวอยู่ภายในอยู่ตลอดเวลาใน รูปขันธ์(กายตน)  ตลอดจนในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในสังขารทั้งปวง ว่าเป็นตัวตนเป็นของตน หรือเป็นส่วนหนึ่งของตัวตนของตนอย่างเชื่อมั่นหรือรุนแรงตามที่ได้สั่งสมอบรมมาแต่ทารกโดยสัญชาตญาณ(ความรู้ที่มาแต่การเกิดเป็นธรรมดา)โดยไม่รู้ตัวหรืออวิชชา,  เพราะความไม่รู้และไม่รู้เท่าทันว่าตัวตนหรือกาย(รูปขันธ์)ก็สักแต่ว่าประกอบด้วยเหตุปัจจัยของธาตุทั้ง ๔  หรือชีวิตก็เป็นเพียงเหตุปัจจัยของขันธ์ทั้ง ๕  จึงเป็นสังขาร จึงย่อมมีความไม่เที่ยง(อนิจจัง) และคงทนอยู่ไม่ได้(ทุกขัง) เป็นอนัตตาที่ไม่ใช่ตัวใช่ตนของใครอย่างแท้จริง  เป็นเพียงมวลหรือก้อนของเหตุปัจจัยคือธาตุ ๔ ที่ประชุมปรุงแต่งเป็นปัจจัยกันขึ้น จึงขึ้นอยู่กับธาตุ ๔ ไม่ขึ้นอยู่กับตัวตนที่หมายถึงเราหรือของเราหรือของใครๆแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นมายาจิต หลอกล่อให้เห็นว่าเป็นเราหรือเป็นของเรา  ทั้งๆที่เป็นหรือเกิดแต่เหตุปัจจัย จึงเกิดขึ้นและเป็นไปล้วนขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยทั้งสิ้น,  และไม่รู้และไม่รู้เท่าทันอีกว่า เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ หรือขันธ์ที่เหลือทั้ง ๔ ก็เช่นเดียวกัน ต่างก็ล้วนเป็นเพียงสังขารเช่นกันทั้งสิ้น จึงเกิดแต่เหตุปัจจัยมาประชุมกัน จึงเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไปเช่นกัน  ล้วนแล้วแต่ไม่ใช่เป็นตัวตนของตน หรือเป็นส่วนหนึ่งของตัวตนของตนอย่างแท้จริง ดังนี้เป็นต้น   จึงไม่มีเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ ให้เกิดนิพพิทา เพื่อให้คลายความยึด, ความอยาก, ความกังวลหรือความหลงใหลในกายสังขารตน หรือขันธ์ ๕ อันเป็นที่หวงแหนยิ่งเหนือสิ่งใดโดยไม่รู้ตัว  อันเป็นบ่อเกิดของอุปาทาน - ความยึดมั่นพึงพอใจในตัวตนหรือของตนด้วยกิเลสในขั้นต้นของปุถุชนทั่งปวงโดยทั่วไป

        ถอดถอนสักกายทิฏฐิได้โดยการโยนิโสมนสิการใน"เหตุปัจจัย"

        การเจริญวิปัสสนาเพื่อถอดถอนสักกายทิฏฐิย่อมต้องอาศัยพื้นฐานจากการพิจารณา หรือโยนิโสมนสิการในความเป็นเหตุปัจจัยให้เห็นอย่างแจ่มแจ้ง ดังจากอิทัปปัจจยตา,  ปฏิจจสมุปบันธรรม(อันพึงเกิดขึ้นจากการพิจารณาปฏิจจสมุปบาทได้),  ขันธ์ ๕(การเห็นการเป็นเหตุปัจจัยของขันธ์ทั้ง ๕ หรือกระบวนธรรมของขันธ์ ๕),  พระไตรลักษณ์ ฯลฯ.  อันพึงเจริญตามจริต สติ ปัญญา ฯ. เพียงแต่ว่าต้องเป็นไปในลักษณะของการเจริญวิปัสสนาด้วยปัญญาอย่างจริงจัง ให้เห็นเข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผล จนเห็นความเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันจึงเกิดขึ้นและดับไปเป็นที่สุดนั่นเอง  ที่แม้แต่ตัวตน อีกทั้งสังขารทั้งปวง ก็ล้วนสักว่าเกิดแต่เหตุปัจจัย มิใช่สิ่งๆเดียวกันอย่างแท้จริง เกิดแต่มีเหตุต่างๆมาประะชุมปรุงแต่งเป็นปัจจัยแก่กันและกัน จึงเกิดขึ้นชั่วขณะๆหนึ่ง  แท้จริงตัวตนทั้งปวงจึงล้วนเป็นเพียงการประกอบกันขึ้น ขององค์ประกอบย่อยๆ ที่มาประชุมปรุงแต่งรวมตัวกันเพียงขณะระยะเวลาหนึ่งๆเท่านั้นเอง

        เมื่อไม่รู้ ไม่เข้าใจถึงกายและตัวตน ว่าเป็นเพียงสมมติสัจจะ ที่แม้อาจถือว่าจริง แต่ก็จริงเพียงระดับหนึ่งหรือจริงเพียงชั่วขณะระยะหนึ่ง ซี่งภาษาธรรมเรียกว่าโดยสมมุต จึ่งว่า มีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ถูก ที่ล้วนเกิดมาแต่เหตุปัจจัย หรือการประกอบกันขึ้นขององค์ประกอบย่อยๆในขณะระยะเวลาหนึ่งๆ  จึงเป็นเพียงสังขารชนิดหนึ่งภายใต้พระไตรลักษณ์ ที่เมื่อแรงบีบคั้นให้เกิดการรวมตัวกันคลายลง จึงแปรปรวน จึงมีความไม่เที่ยง จึงเป็นทุกขังคือคงสภาพเดิมอยู่ไม่ได้ จนดับไป จึงเป็นทุกข์ในที่สุด  อีกด้วยเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตนของมันเองอย่างแท้จริง  จึงย่อมเข้าไปครอบครองเพื่อเป็นเจ้าของไม่ได้ เมื่อเข้าครอบครองไม่ได้จึงควบคุมบังคับเขาให้เป็นๆไปตามใจปรารถนาไม่ได้ จึงเพียงเป็นไปตามเหตุอันแสนแปรปรวนที่มาเป็นปัจจัยปรุงแต่งกันเท่านั้น,  กล่าวคือ ไม่เข้าใจความเป็นเหตุปัจจัยหรือปฏิจจสมุปบันธรรม ๑   จึงไม่เข้าใจสังขาร(สิ่งปรุงแต่งในพระไตรลักษณ์) ๑   จึงไม่เข้าใจพระไตรลักษณ์ และอนัตตา๑  จึงย่อมไม่สามารถนำไปน้อมนึกคิดพิจารณาให้เกิดปัญญาญาณอย่างแจ่มแจ้งตามจริงหรือปรมัตถ์ได้ในสักกายนิโรธ  จึงเกิดสักกายทิฏฐิ คือเห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขารขันธ์  วิญญาณ อีกทั้งสังขารทั้งปวง ว่าเป็นตัวตนเป็นตนจริงโดยไม่รู้ตัว  อีกทั้งไม่มีเครื่องรู้ เครื่องระลึก ไว้เพื่อเตือนสติอีกด้วย

        คำว่า"ไม่มีตัวตน" ไม่ใช่การไปพยายามทำความรู้สึกใดๆไปว่า เพราะขันธ์ทั้ง ๕ ไม่มีตัวตนจึงต้องอย่าไปรู้สึกรู้สาสนใจมัน  แต่เป็นการรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อมันไม่มีตัวตน สิ่งเหล่านี้ทั้งปวงจึงครอบครองเป็นเจ้าของไม่ได้จริง จึงไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา จึงไม่เป็นไปตามใจปรารถนาเช่นนี้เอง จึงทำให้เกิดผล คือเข้าใจในสิ่งทั้งปวง แท้จริงแล้วอยู่นอกอำนาจควบคุมบังคับบัญชาของเราหรือใครๆ  เพียงขึ้นอยู่กับแต่เหล่าเหตุปัจจัยอันแปรปรวนที่มาประชุมปรุงแต่งกันเท่านั้น

        สักกายทิฏฐิ จึงเป็นการละด้วยปัญญาคือความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในเหตุปัจจัยโดยการโยนิโสมนสิการ จนมีความเข้าใจแจ่มแจ้ง ในความไม่ใช่ตัวตน หรือไม่มีตัวตนของเขาเองจริงด้วยตนเอง ด้วยเป็นอนัตตา  จึงไม่ใช่การมักนำไปปฏิบัติกันในแนวทางฌานสมาธิ ที่พยายามเพ่งท่องบ่นให้เห็นว่าไม่ใช่ตัวตน หรือไม่มีตัวตน หรือพยายามเพ่งจนตัวตนนั้นแตกย่อยสลายไปก็มี ซึ่งเป็นเพียงเพ่งกสิณอย่างหนึ่ง ที่แม้เป็นการปฏิบัติที่มีประโยชน์บ้างเพราะย่อมยังให้เกิดนิพพิทาได้เช่นกัน แต่ต้องพึงประกอบด้วยปัญญาความเข้าใจจึงยังผลยิ่ง  จึงไม่ใช่แต่การเพ่งกสิณเพียงเพื่อให้เห็นการแตกสลายไม่มีตัวตนในมโนจิตเท่านั้น

แสดง เหตุปัจจัย ปฐมบทของโลกและธรรม

แสดง ปฏิปทาสูตร ว่าด้วยเกิดดับของสักกายทิฏฐิ

แสดง รูปขันธ์และขันธ์ทั้ง ๕ ว่าไม่ใช่ตัวตน อีกทั้งไม่ใช่ของตน

        พึงระลึกไว้เรื่องหนึ่ง  สิ่งใดที่ว่า"มีตัวมีตน"นั้น ย่อมหมายถึง เราหรือผู้หนึ่งผู้ใดย่อมสามารถเข้าครอบครองเป็นเจ้าของมันได้จริง  ซึ่งมีความหมายว่า มันจะต้องอยู่ภายใต้อำนาจการบังคับบัญชาของเรา หรือของใครๆก็ตามที ตามใจปรารถนาได้,  ถ้าไม่เป็นไปเช่นนั้นจริง  แสดงว่าไม่มีตัวตนของมันเองจริงให้ครอบครองเป็นเจ้าของได้  เพียงแต่เกิดขึ้นมาจากเหตุปัจจัย คือการที่มีเหตุต่างๆมาเป็นปัจจัยแก่กันและกันจึงเกิดขึ้น

        ดังกายหรือร่างกาย บางท่านไปมีโมหะ(ความหลง)เข้าใจผิดคิดไปว่า บังคับบัญชามันได้ ก็สั่งกิน ยืน นอน เดิน นั่ง ฯลฯ. ได้ตามใจปรารถนา ดังนั้นย่อมมีตัวตนจริง และเราครอบครองเป็นเจ้าของมันได้จริง,  แต่การณ์หาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะสิ่งเหล่านั้นแท้จริงแล้ว เป็นเพียงการกิริยาหรืออาการของการกระทำ หรือกรรมเท่านั้น ที่เกิดจากเหตุปัจจัยของกายและจิตทำงานเป็นปัจจัยแก่กันและกันเท่านั้นเอง,  ไม่ได้เข้าไปครอบครองเป็นเจ้าของมันได้จริงๆ  เพราะถ้าเป็นของเราจริงแล้วไซร้ ต้องบังคับบัญชามันได้ตามใจปรารถนา ดังเช่นว่า เจ้าจงอย่าแก่ เจ้าจงอย่าเจ็บ เจ้าจงอย่าตาย เจ้าจงสวย เจ้าจงแข็งแรง ฯลฯ. เยี่ยงนี้จึงถึงนับว่ามีตัวตนให้เข้าครอบครองเป็นเจ้าของได้  ซึ่งย่อมไม่ได้ตามปรารถนานั้น,   อีกทั้ง"สังขารทั้งปวง"ก็เป็นไปเฉกเช่นนี้เอง เพราะล้วนเป็นอนัตตา นั่นเอง   (สักกายทิฏฐิ มีเหตุมาจากอายตนะ ๑๒ คือ อายตนะภายนอกและภาย)

        ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจในพระรัตนตรัย จึงขาดศรัทธาในสิ่งที่ดีงามจริง โดยเฉพาะยิ่งในพระธรรม อันคือ ธรรมคำสอนโดยพระพุทธองค์ ที่มีพุทธประสงค์สูงสุดล้วนเป็นเรื่องของสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ที่เกี่ยวกับความทุกข์ ดังเช่น การเกิดขึ้นและดับไปของทุกข์ แต่ไม่ใช่เพื่อให้เป็นทุกข์ แต่เพื่อให้รู้เหตุ  ก็เพื่อนำไปใช้ในการดับไปแห่งทุกข์ต่างๆนั่นเอง จึงยังให้เกิดความสุขจากการหลุดพ้น อันสุขยิ่งกว่าสุขทางโลกนั่นเอง อีกทั้งไม่กำเริบเสิบสานวนเวียนเป็นวงจรขึ้นอีก อันวิจิกิจฉาหรือความลังเลสงสัยนี้ ย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาเนื่องจากความไม่เข้าใจในธรรมของพระองค์ท่านอย่างถ่องแท้ในเบื้องต้นเนื่องด้วยอวิชชา อันมีมาแต่การเกิด  ดังนั้นเมื่อปฏิบัติไปย่อมต้องเกิดการติดขัดเป็นธรรมดา ก็ย่อมต้องเกิดความลังเล สงสัย ไม่แน่ใจ, จึงไปเที่ยวค้นหาการปฏิบัติใหม่ๆ, ลัทธิใหม่, วิธีใหม่, อาจารย์ใหม่, หรือที่ยึดถือใหม่ ฯลฯ. จึงเป็นการค้นหา, วิ่งเข้าหาสิ่งผิดๆเสียด้วยอวิชชาเสียก็มี  จึงเป็นการเริ่มต้นกันใหม่อยู่เสมอๆ และไม่สามารถบังเกิดความรู้ความเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้งแท้จริง,  ถ้าไม่มีวิจิกิจฉาความลังเลสงสัยอันจักบังเกิดขึ้นจากความเข้าใจแจ่มแจ้งในธรรมพื้นฐานอย่างถูกต้อง เมื่อเกิดอุปสรรคในการปฏิบัติ  จิตจะไม่เกิดความลังเลสงสัย  แต่จิตจะพลิกไปพิจารณา, ครุ่นคิด, คิดค้นคว้า แก้ไขให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่กระจ่างสว่างขึ้นไปเป็นลําดับ กล่าวคือเจริญวิปัสสนาจนเกิดความรู้ความเข้าใจให้หลุดพ้นจากปัญหาต่างๆนั้นนั่นเอง, วิจิกิจฉาจึงเป็นอุปสรรคสําคัญที่บั่นทอนสัมมาปัญญาหรือญาณไม่ให้เกิด จึงทําให้ร้อยรัดสรรพสัตว์ไว้กับทุกข์,  แต่การไม่ลังเลสงสัยก็ต้องไม่เป็นไปในลักษณะของความมัวเมาอย่างงมงายด้วยอธิโมกข์หรือสีลัพพตุปาทานหรือทิฏฐุปาทาน  จึงต้องประกอบด้วยปัญญา จึงต้องเจริญวิปัสสนาด้วยการโยนิโสมนสิการนั่นเอง เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง จึงขาดจากการวิจิกิจฉาลงไปได้

        วิจิกิจฉา จึงต้องเป็นการสิ้นลงไปด้วยการประกอบด้วยปัญญาจนเห็นความจริง ด้วยธรรมวิจยะนั่นเอง จึงไม่ใช่ด้วยความงมงายด้วยศรัทธา หรืออธิโมกข์แต่ฝ่ายเดียว  (ตัวอย่างเรื่องโมหะ ที่ก่อให้เกิดวิจิกิจฉาอยู่เนืองๆ)

        ๓. สีลัพพตปรามาส ความยึดมั่นถือมั่นในศีล(ข้อบังคับ) และวัตร(ข้อปฏิบัติ) อย่างงมงาย คือไปยึดมั่นถือมั่นอย่างเข้าใจผิดๆ เช่น โดยสักว่าทำตามๆกันมาอย่างงมงาย  หรือด้วยอธิโมกข์ หรือศรัทธาอย่างผิดๆแต่ฝ่ายเดียว  ด้วยยึดมั่นเข้าใจไปว่า การถือศีลและข้อวัตรปฏิบัติต่างๆโดยเคร่งครัด ก็เพียงพอให้บริสุทธิ์หลุดพ้นได้  จึงขาดการวิปัสสนาหรือการโยนิโสมนสิการในทางให้เกิดปัญญา  โดยเพียงแต่ถือมั่นยึดมั่นในศีลข้อบังคับและวัตรข้อปฏิบัติ โดยสักแต่ว่าทําตามๆกันมาและอย่างงมงาย แต่ไม่เข้าใจในธรรม(สภาวธรรม)ตามความเป็นจริง แต่เป็นการปฏิบัติไปตามความเชื่อ ความยึด หรือตามประเพณีที่สืบทอดกันต่อๆมาในศีลและวัตร โดยขาดปัญญาพิจารณาเนื่องด้วยอธิโมกข์ เช่น เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ด้วยศีลและวัตรข้อปฏิบัติแต่ฝ่ายเดียวก็พอเพียงแล้ว จึงขาดการวิปัสสนา  ถือศีลข้อวัตรปฏิบัติต่างๆอย่างเคร่งครัดแต่ฝ่ายเดียวแล้วจะบรรลุมรรคผลได้ ด้วยอาการเมาบุญ  การปฏิบัติแต่สมถสมาธิอย่างเดียว แล้วจะเกิดปัญญาเข้าใจธรรมหรือมรรคผลย่อมปรากฏได้เองเมื่อแก่กล้าจากฌานหรือสมาธิ,  การปฏิบัติแบบทรมานตนโดยหวังผลว่าได้ผล ฯ. ตามที่เข้าใจหรือตามที่เคยได้ยินสืบทอดกันต่อๆมา

        สีลัพพตปรามาส จึงรวมถึง ความยึดมั่นถือว่า บุคคลจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ด้วยการถือศีลและวัตร คือ ถือว่าเพียงประพฤติศีลและวัตรให้เคร่งครัดก็พอที่จะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ไม่ต้องอาศัยปัญญาก็ตาม ถือศีลและวัตรที่งมงาย หรืออย่างงมงายก็ตาม จึงขาดการวิปัสสนาให้เกิดปัญญาคือความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง หรือขาดการปฏิบัติที่ถูกต้องดังเช่น การหยุดคิดปรุงแต่ง
        การถือศีลพรต โดยสักว่า ทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย หรือโดยนิยมว่าขลังว่าศักดิ์สิทธิ์ ด้วยเมาบุญ ไม่เข้าใจความหมายและความมุ่งหมายที่แท้จริง
        
ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่า จะมีได้ด้วยศีลหรือพรตอย่างนั้นอย่างนี้ อันล่วงธรรมดาวิสัย(หรือธรรมชาติ)

        เข้าใจไปว่าต้องได้สมาธิหรือฌานชั้นสูง หรือฌานสมาบัติเท่านั้น จึงจะหลุดพ้นได้ จึงมุ่งปฏิบัติ โดยไม่รู้ว่าแค่ขณิกสมาธิหรือวิปัสสนาสมาธิ หรือแค่ปฐมฌานก็มีกำลังพอให้เจริญปัญญาหรือวิปัสสนาจนดับทุกข์

        สีลัพพตปรามาส จึงทำให้การปฏิบัติหลงทางหรือเกิดโมหะขึ้นนั่นเอง  การปฏิบัติจึงเป็นไปหรือประกอบด้วยโมหะความหลง คือไม่เกิด"ปัญญาที่เป็นเครื่องตรัสรู้ดี เป็นที่ไปในเบื้องหน้า"  (ทางนิกายเซ็นก็มีการกล่าวถึงสิ่งๆนี้ไว้ โดยเรียกว่าการปฏิบัติแบบเมาบุญ)

        สีลัพพตปรามาส จึงเป็นบ่อเกิดของอย่างหนึ่งของอุปาทาน คือสีลัพพตุปาทาน จึงไม่อาจล่วงพ้นไปได้  จึงจัดเป็นสังโยชน์ที่ผูกมัดสัตว์ไว้กับทุกข์ ไม่สามารถเจริญในธรรมจนเกิด"ปัญญาที่เป็นเครื่องตรัสรู้ดี เป็นที่ไปในเบื้องหน้า"

        ส่วนการถือศีลและวัตรอันดีงาม ย่อมเป็นเหตุปัจจัยเครื่องสนับสนุนสติ สมาธิ และปัญญาในที่สุด, ถ้าไม่งมงายจนเข้าใจผิด ก็เป็นคุณอนันต์

แสดง อุปาทานทั้ง ๔

แสดง เหตุปัจจัยให้เกิดขึ้นแห่งทิฏฐุปาทานและสีลัพพตปรามาส

สัพพาสวสังวรสูตร (ในหัวข้อที่ ๑๒)

[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย.....................................................................................................

...............อริยสาวกนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า นี้ทุกข์  นี้เหตุให้เกิดทุกข์  นี้ความดับทุกข์  นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์

เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการอยู่โดยแยบคายอย่างนี้ สังโยชน์ คือ

สักกายทิฏฐิ  วิจิกิจฉา  สีลัพพตปรามาส ย่อมเสื่อมสิ้นไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการเห็น

(การเห็นคือปัญญา ที่เข้าใจว่า นี้ทุกข์  นี้เหตุให้เกิดทุกข์  นี้ความดับทุกข์ จึงย่อมเข้าใจในความเป็นเหตุปัจจัยของการเกิด การดับต่างๆ ฯ. จึงย่อมทำให้เข้าใจใน สักกายทิฏฐิ คลายวิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาส ทั้ง ๓)

        โสดาบัน คือ ท่านผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว คือผู้ปฏิบัติด้วยมรรค จนเกิดผลขึ้นแล้ว  หรือ “ผู้ถึงกระแส”  พระองค์ท่านทรงตรัสแสดงไว้ว่า ตั้งแต่พระโสดาบันเป็นลำดับไป ไม่ว่าอย่างไรก็ตามที เขาย่อมเป็นผู้เข้าถึงกระแสโลกุตรธรรม, ด้วย"มีปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ดี เป็นที่ไปในเบื้องหน้า"  จึงเข้าสู่กระแสพระนิพพานเป็นที่สุด อันพึงแต่เพียงรอเวลาหรือกาลวาระเท่านั้น ไม่อาจสามารถผันแปรไปเป็นอื่นได้อีกต่อไป เพราะได้ทำเหตุมาดีแล้วจึงเกิดผลนั่นเอง  อันท่านจัดว่า เป็นผู้มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ย่อมถึงที่สุดแห่งทุกข์ในกาลต่อไปอย่างแน่นอน  ดังมีพุทธดำรัส ตรัสไว้ในพระสูตรดังนี้ว่า

โสตาปันนสูตร

ว่าด้วยผู้เป็นพระอริยสาวกโสดาบัน

        [๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้. อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน?

        ได้แก่ อุปาทานขันธ์คือรูป  อุปาทานขันธ์คือเวทนา  อุปาทานขันธ์คือสัญญา  อุปาทานขันธ์คือสังขาร  อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ.

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่พระอริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ

        และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตามความเป็นจริง.

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า พระอริยสาวกผู้โสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

(พระไตรปฏก เล่มที่ ๑๗ หัวข้อที่๒๙๖)

 

        ผู้ที่ละสังโยชน์ทั้ง ๓ นี้ได้ ท่านสรรเสริญว่าเป็นอริยบุคคลระดับโสดาบัน เป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้ถึงฝั่งไม่หวนกลับมา  เป็นผู้เที่ยงมีอันจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า  เพราะล้วนเกิดแต่ปัญญาชอบ(สัมมาปัญญา)

        ๔. กามราคะ  ความกำหนัดด้วยอำนาจกามคุณ ๕ กล่าวคือ ความใคร่ ความปรารถนา ความทะยานอยาก ความกำหนัด ความติดใจ ความติดเพลิน(นันทิ) หรือย้อมใจติดอยู่อารมณ์คือ ใน รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ทั้ง ๕ (เว้นธรรมารมณ์) อันล้วนก่อเป็นกามราคะ จากวัตถุกาม อันคือจาก วัตถุอันน่าใคร่ หรือวัตถุอันเป็นเหตุให้เกิดความใคร่เป็นเหตุปัจจัยสำคัญ  หมายถึง เกิดความใคร่ ความปรารถนา ความอยาก ความไม่อยากเกิดขึ้นแก่ใจ  แต่มีเหตุปัจจัยโดยตรงเนื่องจากวัตถุกาม จึงส่งผลให้เกิดความใคร่ ความปรารถนา ความย้อมใจอยาก

          สําหรับฆราวาสนั้น เนื่องจากยังมีภาระหน้าที่กำกับ ทั้งด้านอาชีพการงาน(จึงมีอาชีวทุกข์) และครอบครัว ดังเช่น การมีเพศสัมพันธ์กับคู่ของตนเอง (โผฏฐัพพะ) แม้นับเนื่องว่าเป็นพรหมจรรย์ตามฐานะแห่งตน จึงไม่ผิดแต่อย่างใด แต่ย่อมยังไม่ถึงที่สุดแห่งการดับทุกข์ อันเนื่องจากยังมีการบริโภคกามอยู่บ้าง กล่าวคือ ยังเนื่องอยู่ หรือยังคงมีหน้าที่ต่างๆที่ผูกพันพึงต้องกระทำอยู่บ้างเป็นครั้งคราวเป็นเครื่องผูกเครื่องมัด ดังเช่น ทุกข์ย่อมเกิดจากการดูแลปกป้องห่วงใยครอบครัว ทรัพย์สมบัติ(โภคะ), ทุกข์จาการประกอบอาชีพการงานหรืออาชีวทุกข์ ดังเช่น บ้านท่านปลวกขึ้น แล้วไม่กำจัดด้วยคิดว่าเป็นบาป ก็ถือว่าถึงซึ่งความหลง(โมหะ) เพราะท่านเองยังมีหน้าที่กำกับอันสำคัญยิ่งที่ต้องดูแลรักษาทรัพย์หรือบ้านทั้งเพื่อตนและครอบครัวบุตรหลาน, หรือเมื่อทำการค้าขาย มีใครมาโกง จะปล่อยให้เขาโกงโดยไม่ป้องกันแก้ไขหรือ? (ตัวอย่างเรื่อง โมหะ ของฆราวาสที่ก่อให้เกิดวิจิกิจฉาอยู่เนืองๆ)  การที่ถูกบีบคั้นจากการต้องหาเงินมาจ่ายค่าดูแลเลี้ยงดูบุตรธิดา, ค่าน้ำ ค่าไฟ ฯลฯ. สิ่งต่างๆเหล่านี้เองจึงยังเป็นเครื่องผูกอยู่ตามหน้าที่ตนฝ่ายฆราวาส,  จึงมักมีวิจิกิจฉาอยู่เนืองๆว่า ทำไมแม้ว่าปฏิบัติมาดีแล้ว แต่ยังมีอารมณ์โทสะ โมหะ ตัณหา ฯ. ยังคงครอบงำ มีการเกิดขึ้นบ้างเป็นครั้งคราว ไม่ขาดสูญ, เรื่องนี้พระองค์ท่านทรงแสดงเหตุและผลในพระสูตร"จูฬทุกขักขันธสูตร" ด้วยเป็นธรรมที่ทรงแสดงต่อเจ้าชายมหานามะ ผู้เป็นเชฏฐภาดา(พี่ชาย)ของพระอนุรุทธะ  ผู้ซึ่งภายหลังได้เป็นราชาปกครองแคว้นศากยะในสมัยพุทธกาล (ภายหลังพระเจ้าสุทโธทนะ) และเป็นอุบาสกผู้มีศรัทธาแรงกล้า ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาผู้ถวายของประณีต ผู้เป็นอุบาสก เพศฆราวาส และเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ได้กราบทูลถามพระองค์ด้วยความสงสัยว่า "เหตุใดหนอ โลภธรรมก็ดี โทสธรรมก็ดี โมหธรรมก็ดี ยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ ไว้ได้เป็นครั้งคราว"  พระองค์โปรดแสดงแจงเหตุผลว่า เหตุที่เจ้าชายมหานามะซึ่งเป็นฆราวาส แม้ปฏิบัติดีแล้วแต่ยังคงมี โลภะ โทสะ โมหะ หรือโลภ โกรธ หลง เกิดขึ้นอยู่บ้างเป็นครั้งคราว  ไม่ขาดสูญไป(ในฆราวาสผู้ปฏิบัติ) ก็เนื่องเพราะยังเป็นฆราวาสอยู่นั่นเอง จึงยังมีการบริโภคกามอยู่บ้าง ทำการงานตามหน้าที่ต่างๆบ้าง, จึงเกิดขึ้นและเป็นไป  เพราะย่อมเป็นไปตามหลักอิทัปปัจจยตานั่นเอง นั่นคือยังมี คือยังทำเหตุอยู่บ้าง คือยังมีการบริโภคกามอยู่บ้าง หรือทำการงานตามหน้าที่บ้าง จึงย่อมเกิดผลขึ้นบ้างเป็นธรรมดานั่นเอง  แต่ถึงกระนั้นก็ดี อย่าได้ท้อแท้ใจไป เพราะสามารถจางคลายจากทุกข์ได้เป็นลําดับขั้นของโลกุตรธรรม(ธรรมหรือสิ่งที่อยู่เหนือสภาวะทางโลกๆ, สภาวะเหนือโลก) ได้ตามควรแก่ฐานะแห่งตน  จึงย่อมสามารถอยู่ในโลกได้อย่างสุข สงบ สบาย  จึงระงับอุปาทานทุกข์ หรืออุปาทานขันธ์ลงได้ตามควรเป็นลำดับตามโลกุตรภูมินั้นๆ ดังเช่น โสดาบัน, สกิทาคามี, ดังนั้นในฆราวาสแม้ย่อมยังมีการเกิดขึ้นของกิเลสต่างๆบ้างเป็นครั้งคราวเป็นธรรมดา จึงอย่าได้สงสัยจนเป็นวิจิกิจฉาไปเลยว่า ทำไมจึงยังคงเกิดขึ้นบ้างเป็นครั้งคราวไม่ขาดสนิท  ดังความแสดงชัดแจ้งในพระสูตรจูฬทุกขักขันธสูตร ก็เนื่องด้วยยังมีหน้าที่ของการงานและครอบครัวเป็นเครื่องกำกับผูกมัดไว้ตามหน้าที่ ของฐานะตนเป็นธรรมดานั่นเอง จึงย่อมยังไม่สามารถสลัดออกได้หมดสิ้นในปัจจุบัน  แต่ย่อมดับทุกข์ได้ตามควรแห่งฐานะตน  แต่ย่อมเข้าสู่กระแสนิพพานได้ในที่สุด  เพราะท่านเป็นผู้ที่พระองค์ตรัสยืนยันไว้ว่าเป็น "ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีปัญญาเครื่องตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า"

ตัณหาเป็นสมุทัย คือเหตุที่จะทำให้เกิดผลคือ"ทุกข์"   แต่ยังไม่ใช่ตัวทุกข์ !

อุปาทาน(หรือสัญเจตนาชนิดอกุศล) ที่เกิดจากตัณหา(คือสังขารขันธ์ชนิดอกุศล)ต่างหาก ที่เป็นตัวทำให้เกิดทุกข์ คือเกิดอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ที่แท้จริง

        ดังที่กล่าวข้างต้น  จึงขอกล่าวรายละเอียดของกามราคะ เพื่อป้องกันโมหะ หรือการหลง ดังที่เกิดขึ้นเสมอๆกับการปฏิบัติ ดังเช่น อาการหิว หรือเมื่อถึงเวลาทานอาหารตามกาล จึงเกิดทุกขเวทนาคือต้องการทานอาหาร หรือแม้อื่นๆใดก็ตามที ฯลฯ. แม้ดูราวกับว่าเเป็นตัณหาอันเป็นสมุทัยในอริยสัจ ๔ อันจักเป็น"เหตุ"ให้เกิด"ผล" อันคือ"ทุกข์"ขึ้นได้  แต่แท้จริงแล้วยังไม่เป็นตัณหาที่ก่อให้เกิดทุกข์หรือตัวทุกข์จริงๆ คือไม่เป็นอุปาทานขันธ์ ๕  จึงไม่จัดว่าเป็นเหตุให้เกิดสังโยชน์อันเป็นทุกข์ในข้อ ๔ หรือ"กามราคะ"ในรสหรืออาหารแต่อย่างใด  เพราะแท้จริงแล้วเป็นเพียงกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ตามปกติธรรมดาหรือธรรมชาติของชีวิต  เป็นเพียงทุกขเวทนาที่พึงเกิดขึ้นเป็นธรรมดาของชีวิต เพียงแต่เมื่อเกิดทุกขเวทนาขึ้นแล้ว ก็อย่าไปยึดถือหรือปรุงแต่งต่อไปจนเป็นตัณหา,  ไม่เช่นนั้นก็เกิดกามราคะกันทุกมื้อทุกวัน ทุกอย่างกันเลยทีเดียว  ยังไม่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอุปาทานจนเป็น"อุปาทานขันธ์ ๕"อันเป็นทุกข์  แท้จริงจึงไม่จัดเป็นกามราคะใน"สังโยชน์ที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์"แต่อย่างใด  จึงไม่ตกตะกอนนอนเนื่องเป็นอนุสัย คือราคานุสัย (หรืออาสวะกิเลสในปฏิจจสมุปบาท ในมุมมองของปฏิจจสมุปบาทธรรม) เป็นเพียงวิสัยของขันธ์ ๕ และโลกเป็นธรรมดา,  นอกจากประกอบด้วยอุปาทานคือมีความจงใจคิดอ่านให้เป็นไปตามกิเลสตน เช่นอยากทานไอ้นั่น ไอ้นี่ อย่างจู้จี้จุกจิก ตามกิเลสตน  ต้องอร่อยถูกปากถูกใจให้ได้ตามกิเลสของตัวของตน จึงวนเวียนเร่าร้อนกระวนกระวาย คือเกิดตัณหา แล้วเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด   เป็นเหตุปัจจัย ให้เกิด  อุปาทาน คือมีเจตนาหรือคิดอ่านปรุงแต่งจิตให้กระทำตามกิเลสตน จึงต้องทานไอ้นั่น ไอ้นี่ อย่างนั้น อย่างนี้ แบบนั้น แบบนี้ ฯ. เยี่ยงนี้จึงจัดเป็นกามราคะ  จึงต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องด้วย ไม่เช่นนั้นจะเป็นโมหะ แล้วการปฏิบัติจะเกิดการไปห้าม ไปหยุด ไปละ ในเสียทุกๆอย่างด้วยความเข้าใจผิดคือโมหะ แม้ในธรรมอื่นๆในลักษณาการเดียวกัน ที่แม้จะเป็นตัณหาแต่ยังคงเป็นเพียงเหตุยังไม่เป็นทุกข์  เป็นเพียงกระบวนธรรมของขันธ์ทั้ง ๕ ที่ต้องดำเนินไปตามวิสัยของชีวิต  ด้วยไม่เข้าใจว่าเป็นเพียงกระบวนธรรมตามธรรมหรือธรรมชาติของขันธ์ ๕ อันไม่เป็นโทษภัยเป็นปกติวิสัยก็มี และจำเป็นในการดำเนินชีวิตเสียอีกด้วย ดั่งเรื่องอาหารนี้ ความหิวก็ทำให้เกิดทุกขเวทนาอยากทานอาหาร ก็เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานอาหารต่างๆนั่นเองอันเป็นปกติวิสัยของชีวิตหรือขันธ์ ๕ จึงไม่จัดเป็นกามราคะ ไม่เกิดกามานุสัยนอนเนื่ง

        การทานอาหารแล้วอร่อย  หรือการเห็นรูปนั้นว่าสวย  จึงเป็นปกติวิสัยของชีวิตหรือกระบวนธรรมของขันธ์  เป็นเพียงเวทนาขันธ์และสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดาของชีวิตหรือขันธ์ ๕ ที่ย่อมมีความรู้สึกจากการรับรู้คือผัสสะ แล้วเกิดสังขารขันธ์คืออารมณ์ต่างๆขึ้น  แล้วจึงเกิดสัญเจตนาความคิดอ่าน เกิดมโนกรรมความคิดนึกอันเป็นผล ว่าอร่อย,ว่าสวย  เกิดขึ้นตามความเป็นจริงเช่นนั้นเองตามวิสัยโลก  แต่ไม่ประกอบด้วยอุปาทานจึงไม่ใช่"กามราคะ"  นอกจากว่าเมื่อเกิดตัณหาขึ้นแล้ว ยังปล่อยให้เป็นเหตุปัจจัยให้เกิด   เป็นเหตุปัจจัย ให้เกิด  อุปาทาน จนเกิดอุปาทานขันธ์หรือสัญเจตนาชนิดคิดอ่านยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งนั้นๆ จึงจัดเป็นกามราคะ,  เมื่อเข้าใจได้ถูกต้องแล้วก็จะไม่เกิดความกังวลสงสัยจนเป็นวิจิกิจฉา เช่นว่า การหิวอยากกินอาหาร เป็นราคะหรือโลภะไหม,  การเห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ว่ายังสวย เป็นกามราคะไหม

        ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการปฏิบัติต่อตัณหา หรือสังขารขันธ์สิ่งปรุงแต่งจิตฝ่ายอกุศล จึงเป็นไปดังที่ท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ได้กล่าวไว้เรื่องความ"โกรธ" คือ

มีผู้เรียนถามท่านว่า ท่านยังมี "โกรธ"อยู่ไหม?

ท่านตอบตามความสัตย์จริงว่า "มี" แต่ "ไม่เอา"

กล่าวคือ มีสติระลึกรู้เท่าทันจิตคือจิตสังขาร หรือจิตตานุปัสสนาว่า "มี" หรือเกิดขึ้น แต่ไม่เอาไปยึดมั่นถือมั่น, ไม่เอาไปปรุงแต่งต่อไป จึงย่อมต้องดับไป ไม่เกิดอุปาทาน ด้วยขาด"เหตุก่อ"ให้ดำเนินต่อเนื่องไปนั่นเอง  หรือการถืออุเบกขาสัมโพชฌงค์ ไม่ฟุ้งซ่าน ปรุงแต่งต่อไปอีกนั่นเอง

        ตัณหาจึงกล่าวได้ว่าเป็นไปในลักษณาการเดียวกันกับความโกรธ คือต่างล้วนเป็นสังขารขันธ์สิ่งปรุงแต่งจิตฝ่ายอกุศ คือ "ตัณหา แม้มีอยู่ แต่ไม่เอา หรืออุเบกขาสัมโพชฌงค์" จึงถึงการนับว่าดับไป จึงไม่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอุปาทานหรือสัญเจตนา(เจตนา)ที่ทำให้เกิดทุกข์ ขึ้นได้ดังกล่าวนั่นเอง

 

 

        ๕. ปฏิฆะ ความพยาบาท, ความขุ่นข้อง ขัดเคือง, แค้นเคือง, ความขึ้งเคียด, ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ได้แก่ จิตหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ อันถึงขั้นการเกิดปฏิฆะ คือถึงขั้นเกิดอุปาทานขันธ์ ๕ จึงก่อเป็นอนุสัย หรืออาสวะกิเลส,  เมื่อรู้อุบายคือ ละได้ คือไม่เอา หรืออุเบกขาสัมโพชฌงค์เสีย ก็ไม่ก่อให้เกิดปฏิฆานุสัยหรืออาสวะกิเลส (คือแม้ยังคงมีในระดับขันธ์ ๕ อันเป็นเรื่องปกติธรรมชาติตามวิสัยโลก เพราะเป็นอนัตตาจึงควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้ แต่ไม่ถึงขั้นประกอบด้วยอุปาทาน จนเป็นอุปาทานขันธ์อันเป็นทุกข์ที่ประกอบด้วยอุปาทานหรือทุกข์อย่างแท้จริง จึงเกิดเป็นอนุสัยคือกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน,  กามราคะดังกล่าวข้างต้น ก็เป็นไปในลักษณาการเดียวกัน เช่นความหิว จึงอยากทานอาหารหรือถึงเวลาอาหาร เป็นเพียงกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ย่อมไม่นอนเนื่องเป็นราคานุสัย เนื่องจากไม่ได้ประกอบด้วยอุปาทานขันธ์ ๕ เป็นเพียงขันธ์ ๕ อันเป็นวิสัยของชีวิต)   จึงเป็นไปดังที่"หลวงปู่ดูลย์ อตุโล"ได้กล่าวไว้เรื่องความโกรธ คือ "มี แต่ไม่เอา  แล้วมันก็ดับไปเอง" อันหมายถึง"มีการเกิดขึ้น" แต่ในระดับกระบวนธรรมในการดําเนินชีวิตของขันธ์ ๕ ธรรมดาๆ คือเป็นเหตุปัจจัยกันจึงเกิดขึ้นเหมือนดั่งวงจรปฏิจสมุปบาทแต่ไม่ประกอบด้วยตัณหาอุปาทาน จึงไม่เกิดอุปาทานขันธ์ ๕,  แล้วเมื่อ"ไม่เอา" คือไม่คิดปรุง ไม่ยึดมั่นถือมั่นตามกิเลสตน เมื่อไม่มีเหตุด่อต่อไปอีก มันก็ย่อมต้องดับไปเองด้วยทุกขัง,  แม้ต้องเกิดทุกขเวทนาและสังขารขันธ์ฝ่ายอกุศลคือโกรธขึ้นในขณะจิตหนึ่ง แต่เป็นทุกข์เพียงทุกข์ธรรมชาติ คือ เพียงในระดับขันธ์ ๕ อันเป็นเพียงวิสัยของชีวิต ชั่วขณะหนึ่ง,  แต่ไม่ประกอบด้วยอุปาทานขันธ์ จึงไม่ถึงขนาดยิ่งเร่าร้อน ยิ่งเผาลน ยิ่งกระวนกระวาย วนเวียนว่ายตายเกิดในทุกข์นั้นอย่างยาวนาน,  จึงย่อมไม่ตกตะกอนนอนเนื่องเป็นปฏิฆานุสัย  (หรืออาสวะกิเลส ถ้าพิจารณาในแนวปฏิจจสมุปบาทธรรม)  เป็นเพียงสัญญาขันธ์ความจำได้หมายรู้ของชีวิตเป็นธรรมดา,  นี่คือตัวอย่างแสดงให้เห็นความแตกต่างของปุถุชนและพระอริยเจ้า ในเรื่องความโกรธ ที่ของท่านแม้มีสังขารขันธ์ชนิดความขัดข้องใจหรือโกรธ แต่ไม่มีปฏิฆะนอนเนื่องเป็นอนุสัย  ดังมีผู้เรียนถามหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ผู้ซึ่งผู้เขียนให้ความเคารพนับถือในข้อธรรมคำสอนของท่าน กล่าวตอบต่อผู้เรียนถามท่านว่า "ท่าน ยังมีโกรธ อยู่ไหม" ท่านได้ตอบอย่างลัดสั้นกระชับไว้ว่าตามความเป็นจริง "มี แต่ไม่เอา" ซึ่งหมายความว่า เมื่อไม่เอา ไม่ยึดถือ ไม่ปรุงแต่งต่อ มันก็ย่อมเสื่อมดับไป จึงไม่เป็นอนุสัยนอนเนื่องเป็นปฏิฆะหรือปฏิฆานุสัยนั่นเอง  เป็นเพียงกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ปกติธรรมดาของชีวิต  ที่ย่อมรับรู้ในสิ่งต่างๆตามเหตุปัจจัยตามความเป็นจริง เป็นธรรมดา ยังไม่ประกอบด้วยอุปาทานที่เป็นเจตนาความคิดอ่านที่ไปปรุงจิตให้เห็นเป็นไปตามกิเลสตน จึงยังไม่เกิดอุปาทานขันธ์ ๕ ขึ้นนั่นเอง ด้วยการอุเบกขาสัมพชฌงค์ หรือการไม่เอาเสียนั่นเอง,   

        ปฏิฆะ ก็จัดเป็นตัณหาในข้อโทสะหรือโมหะนั่นเอง

แสดง วิธีปฏิบัติเพื่อดับโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ จากพระสูตร

[อันแสดงการละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ด้วยสมถวิปัสสนา คือการใช้สมถกรรมฐานร่วมกับวิปัสสนากรรมฐาน]

อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕

        อุทธัมภาคิยสังโยชน์  คือ สังโยชน์เบื้องสูง,  ธรรม(สิ่ง)อันละเอียดที่มัดสัตว์ไว้กับกองทุกข์ อันละได้เด็ดขาดในพระอรหันต์เจ้าเท่านั้น ดังมีกล่าวไว้ในสัมปสาทนียสูตร,  อันมี ๕  เป็นการละโดยประกอบด้วยสัมมาญาณเป็นสำคัญ

        ๖. รูปราคะ  ความติดใจในรูปธรรม คือติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต  ความติดใจในอารมณ์สุขจากรูปฌานหรือสมาธิ หรือในรูปธรรมอันวิจิตรประณีต  ปรารถนาในรูปภพ,  เพราะความติดใจในอารมณ์แห่งสมาธิคือรูปฌาน เช่น ปีติ สุข อุเบกขา ฯ. ต่างๆ (ฌานสมาธิที่เกิดจากการใช้รูปเป็นอารมณ์กำหนดหมาย เช่นลมหายใจ, การบริกรรมต่างๆเช่นพุทโธ สัมมาอรหัง ฯ., ใช้การเคลื่อนไหวหรืออริยาบถต่างๆเป็นอารมณ์กำหนดหมาย ฯ.)  อีกทั้งความติดใจในรูปธรรมอันประณีตวิจิตร  ติดเพลิน ความติดใจอยาก หรือตัณหาในรูปธรรมอันประณีต คือใน รูปฌานหรือสมาธิแต่เป็นมิจฉาสมาธิและมิจฉาฌาน อันเพราะไปติดเพลิน(นันทิ)เสียเข้านั่นเอง จึงเกิดวิปัสสนูปกิเลส ที่มักชอบจมแช่นิ่งอยู่ในความสุขสงบสบายในรูปภพ,  อีกทั้งรูปอันประณีตวิจิตร อันล้วนเป็นราคะความพึงพอใจในขั้นละเอียดในสิ่งอันประณีตงามวิจิตร ถูกจริตถูกใจและละเอียดอ่อนกว่ากามราคะข้างต้นในข้อ ๔ ที่สัมผัสได้ด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ทั้ง ๕,  แต่รูปราคะ ยังรวมไปถึงราคะที่เกิดแก่จิตหรือใจ คือธัมมารมณ์ที่เกิดเนื่องมาจากรูปในข้อ ๔ ข้างต้นดังกล่าวด้วย แต่มีความวิจิตรประณีตแก่ตน ดังเช่น ความรักในลูก, ในภรรยา, บิดามารดา, ในสิ่งที่ไปหลงรักเลยหลงยึดว่าเป็นเรา,เป็นของเรา ฯลฯ. จึงละเอียดอ่อนลึกซึ้งกว่ากามราคะซึ่งเกิดจากรูปหรือวัตถุกามในข้อ ๔  จึงจัดเป็นสังโยชน์เบื้องสูง

        สมถสมาธิหรือฌาน หมายถึงรูปฌาน ที่อาศัยรูปเป็นอารมณ์ยึดหมาย อันยังให้เกิดความสงบ ความสบาย หรือปีติ สุข อุเบกขา เอกัคคตา อันประณีตวิจิตร อันเกิดผลได้แก่ทั้งทางกายและใจ แต่เกิดการไปยึดมั่นถือมั่น คือไปติดเพลิน(นันทิอันคือตัณหา)โดยไม่รู้ตัว   ตามปกติเป็นการปฏิบัติที่สำคัญเป็นกำลังอันเลิศของจิตที่สงบไปหนุนปัญญา จึงมิได้หมายถึงการละทิ้ง หรือห้ามไม่ให้ปฏิบัติ ยังคงมีอยู่ เพียงแต่ต้องไม่ติดเพลิน(นันทิอันคือหรือตัณหา)เข้าด้วยความไม่รู้ จึงปฏิบัติอยู่เสมอๆจนสั่งสมเคยชินยิ่ง จมแช่อยู่เสมอๆ จนมันทำของมันเองได้ โดยไม่นำพาต่อการนำไปวิปัสสนา ให้เกิดปัญญา,  จึงให้มีแค่เป็นเครื่องอยู่ หรือมีอยู่ในเพียงระดับขันธ์ ๕, ไม่มีนันทิคือตัณหาจนเป็นอุปาทานขันธ์ จนเป็นทุกข์ ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "ติดสุข" ดังมีแสดงในวิปัสสนูปกิเลส   ที่มักมีอาการ"จิตส่งใน"ซึ่งเป็นภัยต่อการนักปฏิบัติเป็นเครื่องสังเกตุ ที่เกิดการกระทำโดยไม่รู้ตัวอยู่ภายใน

        รูปราคะอันประณีตวิจิตร อาจทำความเข้าใจได้ยาก  เป็นราคะที่เกิดขึ้นกับใจตนเป็นสำคัญ แม้เป็นกิเลสกามแต่ก็เนื่องสัมพันธ์มาจากรูป(ที่หมายถึง สิ่งสัมผัสได้ด้วยอายตนะทั้ง ๕ ใดๆก็ตามดังรูปราคะข้างต้น)เป็นสำคัญ  ไม่ใช่ตัว"รูป"เองแต่อย่างเดียวโดยตรง เช่น ดังที่กล่าวว่า รูปอันวิจิตร คือประณีต ละเอียด จึงซ่อนเงื่อนอยู่ มีความถูกจริตถูกใจ ซึ่งมีความละเอียดอ่อนนอนเนื่องยิ่งกว่ากามราคะที่เกิดขึ้นจากรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ตามปกติ  ราคะในวัตถุกามมากมายนัก ดังเช่น รูปราคะในลูก ก็คือ ความรักความปราณีความห่วงอาทรในลูก จนขาดเหตุผล กล่าวคือ ลูก(อันคือรูป)นั้นย่อมเป็นรูปอันแสนวิจิตรของพ่อแม่ จะถูกหรือผิด ดีหรือชั่ว ฯ. แต่ความเป็นลูกหรือรูปนั้นแฝงเนื่องสัมพันธ์หรือแสนวิจิตรถูกจริตถูกใจหรือความพึงพอใจของตน  มากกว่า ไม่ว่าลูกนั้นจะดีหรือชั่ว ถูกผิด ก็ตามทีก็ยังลำเอียงรักใคร่หวังดีอยู่ร่ำไป  จึงจัดเป็นกิเลสกาม อันประณีตวิจิตรกว่ารูปทั่วๆไป และมีความวิจิตรแก่ใจตน จึงจัดเป็น"รูปราคะ",  รูปราคะในคนรัก,  ในรสอาหารบางอย่างบางชนิดที่ติดตรึงใจประณีตเป็นพิเศษกว่าธรรมดา เช่น ต้องคนนี้ปรุง, ต้องอย่างนี้, เจ้านี้ปรุงอร่อยเป็นพิเศษเหนือธรรมดา อย่างนี้ก็จัดเป็นรูปราคะอันละเอียดอ่อนนอนเนื่องกว่ากามราคะในรส,  รูปราคะในทรัพย์สินบางชนิด,  รูปราคะในยาเสพติด(ยาเสพติดออกฤทธิ์ต่อกายคือโผฏฐัพพะทางกาย แล้วส่งผลไปทางใจให้สุขสบายติดเพลินอีกด้วย  แต่ขณะขาดยาเสพติดก็เกิดโผฏฐัพพะทางกายเกิดอาการทุรนทุราย ส่งผลให้เกิดความเร่าร้อนทุรนทุรายทางใจด้วยนั่นเอง จึงจัดเป็นรูปราคะ) ฯลฯ.  ดังนั้นรูปทั้งหลายที่หมายถึงสิ่งที่ถูกรู้ได้ด้วยอายตนะ ๕ ทั้งหลายที่เนื่องสำคัญกับ"ใจ"หรือความพึงพอใจของตนเป็นประณีตหรือเป็นพิเศษนั่นเอง ก็จัดว่าเป็น"รูปราคะ"   ส่วนรูปฌานก็เป็นรูปราคะเช่นกัน คือ ราคะที่เกิดแต่จิตหรือใจเป็นสำคัญ  โดยการอาศัยรูปหรือสิ่งที่สังขารขึ้น จนสัมผัสได้ด้วยอายตนะใดๆ อันจัดเป็นรูป เช่น ลมหายใจจากกายสังขาร พุทโธเป็นวจีสังขารอย่างหนึ่ง ฯลฯ. เป็นอารมณ์ในการปฏิบัติ จนเกิดความสุข ความสบาย ความสงบ จึงไปยึดติดยึดมั่นเป็นราคะทางใจในความสุขสงบสบายอันปราณีตวิจิตรที่เกิดขึ้น  อันเนื่องมาจากสังขารหรือรูปอันละเอียดอ่อนหรือวิจิตรนั่นเป็นอารมณ์ในการปฏิบัติ จึงจะสามารถนอนเนื่องเป็นรูปราคะอันให้โทษได้ ถ้าเข้าไปยึดถือ ยินดี ยินร้าย  หรือพูดง่ายๆคือเกิดเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์  จึงละได้ยากจึงจัดเป็นสังโยชน์ขั้นสูง

        ๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรม คือติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรมอันประณีต(คือสิ่งที่ไม่มีรูป คือ สิ่งรู้ได้ด้วยใจ ได้แก่เวทนา(ใจ) สัญญา สังขาร วิญญาณ, ความคิดนึก-สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ), ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน(จากการปฏิบัติฌานที่ใช้อรูปเป็นอารมณ์) จึงมีความปรารถนาในอรูปภพ เพราะการติดใจติดเพลิน ติดใจอยากในรสประณีตอันละเอียดยิ่งขึ้นของสิ่งที่เป็นอรูปอันวิจิตร ซึ่งไม่มีตัวตนรูปร่างอันสัมผัส เป็นการสัมผัสได้ด้วยใจหรือจิตนั่นเอง เช่นใน อรูปฌาน(ฌานที่ใช้อรูปเป็นอารมณ์ เช่น กำหนดความว่างเช่นอากาศ, ความไม่มีอะไรเป็นอารมณ์ ฯ.) จึงชอบจมแช่หรือติดใจเพลินในผลอันสุขสบายอันเกิดขึ้นในอรูปภพ จึงเกิดความติดเพลินความพึงพอใจในรสอันประณีตวิจิตรเหนือธรรมดาของฌานอันเกิดแต่อรูป เป็นอารมณ์  แต่เป็นแบบไปติดเพลินคือนันทิหรือตัณหานั่นเอง จึงเป็นโทษ

        ส่วนอรูปราคะอันประณีตวิจิตร ก็ละเอียดอ่อนนอนเนื่องยิ่งกว่ารูปราคะอันวิจิตรเสียอีก,  ความปรารถนาในอรูปราคะอันวิจิตรประณีตละเอียดอ่อน เช่น ชื่อเสียง เกียรติยศ อำนาจ คำสรรเสริญยกย่อง ความมั่งคั่ง สุข ทุกข์ แม้นิพพาน ฯ. อันล้วนเป็นอรูปอันวิจิตรประณีตละเอียดอ่อน และแม้แต่นิพพาน (ที่ในช่วงแรกที่ยังไม่ละในโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ พระองค์ท่านสอนให้น้อมระลึกหรือน้อมนำถึงพระนิพพานอันบรมสุขอยู่เนืองๆจัดเป็นอุปสมานุสติ  แต่ก็ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นแม้พระนิพพานนั้น กล่าวคือ ด้วยเป็นสิ่งที่ต้องละในที่สุดเช่นกัน  ก็เนื่องด้วยความเป็นอรูปราคะในอรูปภพอย่างหนึ่งนั่นเอง ที่แม้มีประโยชน์ยิ่งเพราะเป็นกำลังแก่จิตในการดำเนินการปฏิบัติเพื่อการวิปัสสนาในช่วงการละ สังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง ๕ แต่แล้วในที่สุดต้องใช้สัมมาญาณจากการวิปัสสนาในการละอรูปราคะแม้ในพระนิพพานนี้ ที่หมายถึงไม่ยึดมั่นในพระนิพพานอีกครั้งหนึ่ง)   ส่วนในความสุขทุกข์นั้นเล่า เกิดแต่จิตโดยตรงและมีเหตุปัจจัยมาจากการสังขารขึ้น เกิดแต่เหตุปัจจัยดังเช่นเงา ก็ยังแฝงอยู่ด้วยราคะอันละเอียดนอนเนื่องเป็นอย่างยิ่ง มีความกำหนัด ความปรารถนาอยู่ในความสุขทั้งหลายอันเกิดจากอรูปทั้งหลาย และแม้วิภวตัณหาในเหล่าทุกข์ทั้งปวง โดยละเอียดโดยไม่รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา  จึงละเอียดอ่อนที่สุดในราคะทั้งปวง

        สังโยชน์ในข้อ รูปราคะและอรูปราคะ ติดตรึงตาตรึงใจและละเอียดอ่อนนอนเนื่องเสียยิ่งกว่ากามราคะข้างต้นมาก  ดังที่ท่านพุทธทาสได้กล่าวไว้ ดังนี้

            "สังโยชน์อีก ๒ ชื่อ ซึ่งพระอรหันต์จะต้องละนั้น ได้แก่ รูปราคะ และอรูปราคะ,  ราคะ ๒ อย่างนี้ไม่ได้เกี่ยวกับกาม(กาม นี้ท่านพุทธทาสหมายถึง ไม่เกี่ยวกับวัตถุกามหรือกามคุณ ๕ โดยตรงคือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส) เป็นเพียงความพอใจในรสของความสงบสุข(กล่าวคือ เป็นกิเลสกาม ทั้ง)ที่เกิดมาจากการเพ่งรูป(จึงเกิดรูปราคะ) และการเพ่งสิ่งที่ไม่มีรูป(จึงเกิดอรูปราคะ) เป็นธรรมดาอยู่เอง ที่สุขเวทนาอันประณีต ก็ย่อมเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือขั้นประณีต ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ละได้ยาก ดังคำกล่าวในรูปของบุคคลาธิษฐานที่ว่า อายุของพวกพรหมโลกนั้นยืนยาวเป็นกัปป์ๆ ทีเดียว ข้อนี้หมายความว่า ความพอใจในรูปราคะและอรูปราคะ หรือความที่ได้เป็นพรหมนั้น มีกำลังเหนียวแน่นและลึกซึ้งมาก ยากที่จะถอนออกได้ง่ายๆ เมื่อเทียบส่วนกันกับความพอใจในกามราคะทั่วๆ ไปของมนุษย์ กล่าวให้สั้นที่สุด ก็ว่า สุขเวทนาที่เกิดมาจากความสงบของจิตและอำนาจของสมาธินั้น มีรสชาติยิ่งไปกว่าสุขเวทนาที่เกิดมาจากกาม อย่างที่จะเปรียบกันไม่ได้ทีเดียว"

( จาก วิธีลดอัตตา  โดย ท่านพุทธทาส)

        จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่า อารมณ์ทั้งในรูปราคะและอรูปราคะต่างก็ล้วนอยู่ในสภาพของอารมณ์ที่ประกอบด้วยอุปาทานอยู่ในทีแล้วนั่นเอง กล่าวคือ มีอารมณ์นอนเนื่องซึมซ่านย้อมจิตอยู่แล้ว เมื่อประสบกับอารมณ์นั้นก็เป็นไปดังสิ่งที่นอนเนื่องซึมซาบย้อมจิตทันที  จึงเป็นสิ่งที่ไม่มีในพระอรหันต์เจ้าเท่านั้นเอง

        ๘. มานะ ในสังโยชน์ หมายถึงความถือตัว ถือตน ทนงตน  ความถือว่าตนเป็นนั่น เป็นนี่   หรือการถือตัวว่า ดีกว่าเขา เหนือกว่าเขา  ด้อยกว่าเขา  เสมอเขา  มีทิฏฐิจึงย่อมก่อให้เกิดการคิดปรุงแต่งกิเลสต่างๆนาๆ   จึงไม่ใช่ มานะ ในภาษาไทยที่มีความหมายถึงว่า ความพยายาม ความตั้งใจแต่อย่างใด

"มานะ ๓ เป็นไฉน คือ ความถือตัวว่าเสมอเขา๑   ความถือตัวว่าเลวกว่าเขา๑   ความถือตัวว่าดีกว่าเขา๑   มานะ ๓ นี้ควรละ"

(ตัณหาสูตรที่ ๑๓)

        เพราะทิฏฐิความคิดว่า "ดีกว่าเขา" "ด้อยกว่าเขา" "แม้แต่เสมอเขา" ต่างล้วนทำให้เกิดความคิดฟุ้งซ่านหรือปรุงแต่งที่ยังให้เกิดทุกข์รำคาญใจขึ้นได้ทั้งสิ้น  ลองโยนิโสมนสิการโดยแยบคาย จะเข้าใจได้ว่า มีผลเกิดขึ้นคือเมื่อเกิดการคิดนึกปรุงแต่งว่า ดีกว่าเขา ด้อยกว่าเขา เสมอเขา ขึ้นมาด้วยเหตุอันหนึ่งอันใดก็ดี จึงก่อให้เกิดการปรุงแต่งจนเป็นทุกข์ ดังเช่น คิดปรุงแต่งว่า ดีกว่าเขา ก็เกิดอาการยินดี อวดตัว อวดตน อวดกร่าง เบ่งตัวพองทับถมเขา ดังเช่น กูแน่กว่า, ดีกว่า, อย่ามาตีเสมอ,   หรือเมื่อคิดไปว่าเสมอเขา ก็เกิดอาการยินดีหรือยินร้าย คืออยากดีอยากเด่นกว่าเขา ไม่อยากด้อยกว่าเขา,   หรือเมื่อด้อยกว่าเขา ก็รู้สึกเป็นทุกข์คือคับแค้นขัดข้องใจ ปรุงแต่งว่าทำยังไงจึงดีเสมอหรือดีกว่าเขาได้  ทำไมเขาถึงดีกว่า เพราะเขาทำบุญอะไรมา ซึ่งล้วนแล้วแต่ก่อทุกข์รำคาญใจขึ้นทั้งสิ้น อีกทั้งเกิดการอิจฉา ริษยา ต่างๆนาๆเกิดขึ้นใจจิต

        หรือพิจารณาจากขันธ์ ๕ หรือปฏิจจสมุปบาทก็ได้ ว่าเมื่อมีสังขารปรุงแต่งหรือการ"คิดนึกปรุงแต่ง"ดังนี้เกิดขึ้น ย่อมยังให้เกิดการผัสสะเกิดทุกขเวทนาและสังขารขันธ์ฝ่ายอกุศล หรืออารมณ์อกุศลต่างๆขึ้น,  และเมื่อประกอบด้วยตัณหาอีก ย่อมทำให้เกิด ย่อมเกิดอุปาทาน....แล้วย่อมแปรไปเป็นเวทนูปาทานขันธ์หรือสังขารูปาทานขันธ์อันล้วนเป็นอุปาทานขันธ์ อันเป็นทุกข์หรืออุปาทานขันธ์ ๕ ที่ประกอบด้วยอุปาทานจึงเร่าร้อนวนเวียนอยู่ใน"ชรา"

        หรือกล่าวโดยสรุปได้ว่า สังโยชน์ทั้ง ๘ ข้อ ๑-๘ นั้น ล้วนเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสังโยชน์ข้อที่ ๙ คือ "อุทธัจจะ" หรือความคิดปรุงแต่ง ความคิดฟุ้งซ่าน ขึ้นได้ทั้งสิ้น

        ๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ความคิดนึกปรุงแต่ง ความฟุ้งซ่าน ความกังวล ความฟุ้งซ่านปรุงแต่งไปในเรื่องต่างๆ จิตพล่าน จิตไม่สงบ จากกิเลส,  หรือจากความคิดมโนกรรมคือความคิดนึกที่เป็นผลเกิดขึ้นมาจากสังขารขันธ์(อารมณ์ต่างๆ) โดยไม่รู้ตัว เป็นความฟุ้งซ่านที่เจาะจงหมายถึงการฟุ้งซ่านไปในสิ่งที่ก่อกิเลสสิ่งขุ่นมัวต่างๆขึ้นได้นั่นเอง หรือก็คือ"การคิดนึกปรุงแต่ง"ที่ก่อให้เกิดกิเลสนั่นเอง  จึงไม่ใช่การไปพยายามหยุดคิดหยุดนึกทั้งปวงหรือเกือบทั้งหมด แต่เฉพาะที่เห็นได้ด้วยปัญญาดีแล้วที่ประกอบด้วยทั้งสติและสมาธิว่า"ฟุ้งซ่านชนิดเป็นเหตุให้เกิดกิเลส",   ความฟุ้งซ่านนี้เป็นดังที "ท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโล" ท่านใช้คำว่า "อย่าส่งจิตออกนอก(ไปปรุงแต่ง)" ซึ่งมีความหมายเดียวกันนั่นเอง,  ความคิดฟุ้งซ่านแลดูไม่น่ามีโทษรุนแรง  แต่พระองค์ท่านจัดไว่ว่าเป็น"สังโยชน์เบื้องสูง" ที่ละได้ยาก ละได้เฉพาะพระอริยเจ้า เพราะการฟุ้งซ่านนี้ได้ดำเนินเป็นไปตั้งแต่เกิดและสั่งสมมาจนเป็นปกติธรรมดาของปุถุชน   ด้วยเหตุนี้ความคิดฟุ้งซ่านจึงถูกจัดอยู่ในสังโยชน์เบื้องสูงหรือขั้นละเอียดข้อที่ ๙.  ด้วยรู้เห็นเป็นไปได้ยาก และด้วยความเคยชินยิ่งนักอันเป็นธรรมชาติของปุถุชน  อีกทั้งย่อมไม่รู้ตัวและไม่รู้ว่ามีทั้งคุณอนันต์และเป็นโทษมหันต์ คุณอนันต์ก็ได้แก่ความคิดสร้างสรรค์ในกิจการงาน การประดิษฐ์ การพิจารณาธรรม(ธัมมวิจยะ) ฯ. แม้มีคุณอนันต์แต่เมื่อใช้ไปในทางที่ผิดก็เป็นโทษมหันต์นั้นก็คือก่อปรุงแต่งให้เกิดกิเลสจนเป็นทุกข์ได้มากมายเป็นที่สุดท่านจึงจัอย่ในสังโยชน์ข้อที่ ๙ เพียงรองจากอวิชชาทีเดียว,  เหล่านี้จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการฟุ้งซ่านปรุงแต่งต่างๆนาๆเป็นประจำอยู่เสมอๆ เพราะคิดว่าเป็นเพียงความคิดนึกประเภทธรรมารมณ์อันไม่น่าเป็นโทษหรือเห็นว่าเป็นคุณเสียอีก เพราะไม่ได้จำแนกว่าสิ่งใดมีคุณหรือมีโทษก็ด้วยเป็นไปด้วยความไม่รู้หรืออวิชชานั่นเอง  ซึ่งย่อมเป็นผลให้เกิดการผัสสะจึงเกิดทั้งเวทนาและสังขารขันธ์ขึ้นอยู่เสมอๆ จนเปิดโอกาสให้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ขึ้นจากตัณหาที่ร่วมเกิดขึ้นด้วยในที่สุด ได้อย่างง่ายดายและจึงมากมายเป็นที่สุด,  อุทธัจจะหรือความฟุ้งซ่านเบื้องแรกเกิดขึ้นจากการกระตุ้นเร้าหรือจากการผัสสะของอายตนะต่างๆได้ทั้งทาง ตา(กับรูป),  หู(กับเสียง),  จมูก(กับกลิ่น),  ลิ้น(กับรส),  กาย(กับโผฏฐัพพะ),  ใจ(กับธรรมารมณ์) ทั้ง ๖ แล้วส่งผลให้เกิดสังขาร(สิ่งปรุงแต่งต่างๆ)ที่ย่อมเจือกิเลส ดังเช่น ในองค์"สังขาร"ต่างๆที่เกิดขึ้นในวงจรปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง  จึงควรอุเบกขาเสีย คือปล่อยวาง ไม่เอา ไม่ยึดถือ หยุดคิดนึกปรุงแต่ง ฯ. ในสังขารขันธ์คืออารมณ์ต่างๆหรือในมโนกรรมที่เกิดขึ้นนั้น ที่เล็งเห็นด้วยปัญญาว่าเป็นโทษ

        อีกทั้งในการดำเนินชีวิตหรือการทำงานของขันธ์ทั้ง ๕ นั้น อุทธัจจะหรือความคิดฟุ้งซ่านนั้นจัด เป็นสังขารขันธ์ฝ่ายอกุศล จึงเป็นตัณหาอย่างหนึ่ง จึงเป็นเหตุคือสมุทัยให้เกิดทุกข์  และสามารถก่อโทษทุกข์ได้ง่ายดายและมากมายด้วยความเคยชินและไม่รู้  อีกทั้งรุนแรงเร่าร้อนขึ้นเป็นลำดับเพราะวนเวียนปรุงแต่งเป็นวงจรของทุกข์จึงยิ่งทับถมทวีคูณ จึงยิ่งยืดเยื้อยาวนานและเป็นทุกข์ทับถมทวีคูณยิ่งขึ้นไปอีก  จึงละเอียดอ่อนและลึกซึ้งทำให้รับคุณธรรมได้ยากเพียงรองจากอวิชชาเท่านั้น  ก็ด้วยความไม่รู้หรืออวิชชานั่นแหละว่าเป็นเพราะ"อุทธัจจะ" หรือการ "คิดนึกปรุงแต่ง" นั่นเอง  จึงต้องมีสติรู้เท่าทัน อีกทั้งปัญญาเล็งเห็นโทษ แล้วอุเบกขาเสีย เพื่อดับวงจรของทุกข์ลงไป คือไม่หนุนให้เกิดการหมุนเวียนของทุกข์ต่อเนื่องสัมพันธ์อีกต่อไปอีกได้นั่นเอง ดังภาพที่แสดง

                                                  ผัสสะ                                                            อุทธัจจะ       ยังให้เกิด                                                                     ส่งผลให้

ธรรมารมณ์    กระทบกัน เช่น ตาเห็นรูป ใจ  มโนวิญญาณ  anired06_next.gif  สัญญาจํา   เวทนา  สัญญาหมายรู้   สังขารขันธ์  [ anired06_next.gif สัญเจตนา(เจตนา,จงใจต่างๆนาๆ) anired06_next.gif กรรม คือจึงเกิดมโนกรรมฟุ้งซ่านต่างๆนาๆขึ้นเป็นเอนก   (แล้วแปรไปปรุงแต่งเป็นธรรมารมณ์ ขึ้นใหม่อีก ดังเริ่มต้น)

แล้วฟุ้งซ่าน คือเกิดการดำเนินปรุงแต่งวนเวียนเป็นวงจร  จึงยาวนานและยิ่งเร่าร้อน

ธรรมารมณ์     กระทบกัน เช่น ตาเห็นรูป  ใจ   anired06_next.gif  มโนวิญญูาณขันธ์   anired06_next.gif  เวทนาขันธ์

หยุดมโนกรรม            ขันธ์ทั้ง๕ ที่เป็นวงจร                      

สังขารขันธ์ จึงเกิดมโนกรรมขึ้น                    สัญญาขันธ์

วงจรแสดงขันธ์ทั้ง ๕ ที่วนเวียนฟุ้งซ่านจนเป็นทุกข์ในที่สุด

ธรรมารมณ์     กระทบกัน เช่น ตาเห็นรูป   ใจ anired06_next.gif วิญญูาณูปาทานขันธ์  anired06_next.gif เวทนูปาทานขันธ์

หยุดมโนกรรม      อุปาทานขันธ์ทั้ง๕ในชราวนเวียนเป็นวงจร           

สังขารูปาทานขันธ์ จึงเกิดมโนกรรมทุกข์ขึ้น        สัญญูปาทานขันธ์

วงจรอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ในชรา ที่ล้วนถูกครอบงําโดยอุปาทาน จึงยิ่งเร่าร้อน

สังขารขันธ์ ยังให้เกิด(คือเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด)สัญเจตนา  ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยจึงเกิดมโนกรรมขึ้น

อีกทั้งมโนกรรม แปรไปทำหน้าที่เป็นธรรมารมณ์ หรือรูปูปาทานขันธ์ได้อีก จึงเกิดการวนเวียนเป็นวงจร จนเป็นทุกข์ หรือยิ่งเร่าร้อนเป็นทุกข์ยาวนาน

จึงหยุดมโนกรรมที่จะไปทำหน้าที่เป็นความคิดปรุงแต่ง(อุทธัจจะ)เสีย หรือการอุเบกขา

        อุทธัจจะ ส่วนใหญ่จึงเกิดจากความคิดนึกที่ส่งออกนอกไปปรุงแต่งกับสิ่งที่กระทบต่างๆ(อายตนะภายนอก)  จนเกิดความคิดนึกมโนกรรม คือความคิดนึกที่เกิดขึ้นจากสังขารขันธ์ คือสังขารขันธ์หรืออารมณ์ทางโลกต่างๆเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น  ด้วยเหตุฉะนี้จึงควรมีสติรู้เท่าทันมโนกรรม(เกิดจากสังขารขันธ์หรืออารมณ์นั่นเอง เมื่อเห็นว่าเป็นโทษ ดังเช่น โทสะ โมหะ หดหู่ ทุกข์ ฯ.) แล้วปล่อยวาง ไม่ยึดถือ ไม่เอา ไม่ถือสา หยุดเสีย ฯ. ด้วยอาการของการอุเบกขาเสียนั่นเอง,  วงจรของขันธ์ ๕ หรืออุปาทานขันธ์ ๕ ดังที่แสดง ก็จักขาดการสืบต่อเนื่องให้เป็นวงจรหมุนหนุนเนื่องของทุกข์อีกต่อไป  ส่วนธรรมารมณ์นั้นก็เพียงพึงระวังพวกอกุศลเท่านั้น เพราะธรรมารมณ์ความคิดนึกต่างๆก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในการดำเนินชีวิตอีกทั้งการงานอีกด้วย และทำหน้าที่เป็นเหตุที่ยังคงเกิดขึ้นอยู่เป็นธรรมดาของชีวิต  การดับอุทธัจจะไปในอดีต ปัจุบัน หรืออนาคตลงไปได้ จึงเป็นการดับทุกข์ที่เกิดในขณะจิตนั้นๆลงไปได้ดี

       อุทธัจจะ ยังจัดเป็นหนึ่งในนิวรณ์ ๕อีกด้วย  เพราะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดกุกกุจจะ ความเดือดร้อนใจ ความรำคาญใจ จึงเป็นปฏิปักษ์กับสมาธิ เพราะย่อมทำให้จิตซัดส่าย ไม่สามารถแน่วแน่อยู่กับอารมณ์(สิ่งที่จิตกำหนดหมาย) ที่ใช้เป็นอุบายในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดสมาธิได้

       สังโยชน์ข้อนี้ คืออุทธัจจะ มีความสำคัญมาก เพราะเมื่อปฏิบัติได้ดี สามารถส่งผลให้เกิดการลดละในสังโยชน์ข้ออื่นๆได้ดีเป็นผลตามมาอีกด้วย  อีกทั้งถ้าประกอบด้วยปัญญาย่อมยิ่งยังให้คุณอนันต์ ดังเห็นเข้าใจเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น และดับไปของการคิดนึกปรุงแต่ง  ย่อมลดละได้ทั้งสักกายทิฏฐิ อีกทั้งวิจิกิจฉา สีลัพพตตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ ฯ.

 

อุทธัจจะ เป็นสมุทัย เหตุแห่งทุกข์       อุเบกขา เป็นมรรค การปฏิบัติ เพื่อนิโรธการดับทุกข์

 

แสดง คำสอนของฮวงโป ของนิกายเซ็น

ที่เน้นความสำคัญของการหยุดอุทธัจจะหรือความคิดปรุงแต่ง หรือความคิดนึกฟุ้งซ่าน เพื่อการตรัสรู้โดยฉับพลัน

        ๑๐. อวิชชา ความไม่รู้ไม่เข้าใจตามความเป็นจริงของธรรม อวิชชา ความไม่รู้ธรรม ความหลงทำให้ไม่รู้จริง,  เมื่อไม่มีวิชชาก็ย่อมไม่รู้ความจริงต่างๆของธรรมได้ สิ่งใดถูก สิ่งใดผิด สิ่งใดมีคุณ สิ่งใดให้โทษ ฯ. ไม่รู้ทางปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์  จึงนับได้ว่าเป็นปฐมบทหรือต้นกำเนิดของสิ่งที่ทำให้รับคุณธรรมไม่ได้หรือสังโยชน์  เมื่อไม่มีวิชชาก็ย่อมทั้งไม่รู้ จึงเกิดความหลง อีกทั้งตลอดถึงการปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์ เช่น ต้องมีสติรู้เท่าทัน  ต้องมีปัญญาคือความเข้าใจ(ไม่ได้หมายถึงความฉลาด)คือรู้ตามความเป็นจริงในสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของการเกิดขึ้นของทุกข์และการดับไปของทุกข์ อันคือ ปัญญาญาณ

อวิชชา ๘

        อวิชชา ๘  ความไม่รู้แจ้ง, ความไม่รู้จริง, ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริง อันมี ๘ ประการ

        ๑.ความไม่รู้ในเรื่องทุกข์,  ๒.ความไม่รู้ในสมุทัย,  ๓.ความไม่รู้ในนิโรธ,  ๔.ความไม่รู้ในมรรค,  ๕.ความไม่รู้ในส่วนอดีต,  ๖.ความไม่รู้ในส่วนอนาคต,  ๗.ความไม่รู้ในส่วนทั้งอดีตและอนาคต,  ๘.ความไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท คือความไม่รู้ในธรรมทั้งหลาย ที่อาศัยกันจึงเกิดมีขึ้นตามหลักอิทัปปัจจยตา

        ๑. ความไม่รู้ใน"ทุกข์"ว่า ทุกข์นี้คืออะไร สภาพที่ทนได้ยาก หมายถึงคงทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ อีกทั้งทนอยู่ร่วมได้ยาก , สภาวะที่บีบคั้น ขัดแย้ง บกพร่อง ขาดแก่นสารและความเที่ยงแท้ ไม่ให้ความพึงพอใจแท้จริง, ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะ การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความปรารถนาไม่สมหวัง โดยย่อว่า อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์,  สติรู้เท่าทันทุกข์  และทุกข์ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้รู้ และให้ดับสนิทหมายถึงอุปาทานทุกข์หรืออุปาทานขันธ์ ๕ ที่หมายความว่า ทุกข์ที่เกิดขึ้นจากความไม่รู้จริง จึงไปยึดครองขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ต่างๆที่เกิดขึ้นจากบรรดาทุกข์ธรรมชาติทั้งหลาย(เกิด,แก่เจ็บ,ตาย ฯ.)นั้นว่า มีตัวมีตนเป็นแก่นแกนสาระจริงๆ และเป็นเราหรือของเราจริงๆ (ไม่ว่าจะเกิดอุปาทานไปยึดมั่นถือมั่นกับขันธ์ใดขันธ์หนึ่งที่เกิดขึ้นก็ตาม เช่นจาก รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เพราะย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้เนื่องสัมพันธ์กันจนเป็นอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ตามหลักปฏิจจสมุปบันธรรม),  จึงต้องมีสติรู้เท่าทันทุกข์ที่เกิดขึ้นมาเหล่านี้  ที่ล้วนเกิดขึ้นมาจากเหล่าทุกขสัจจ์อันเป็นทุกข์ธรรมชาติ ที่เป็นสภาวธรรม(ธรรมชาติ)หนึ่งของชีวิต ของทุกรูปนาม ที่คงเกิดขึ้นเป็นธรรมดา คือ เกิด๑ แก่เจ็บ๑ ตาย๑ พลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบ๑ ประสบสิ่งที่ไม่รักไม่ชอบ๑ ปรารถนาในสิ่งใดแล้วไม่ได้ในสิ่งนั้น๑ อีกทั้ง โสกะ๑ ปริเทวะ๑ ทุกข์๑ โทมนัส๑ อุปายาส๑ ทั้ง ๑๑ ซึ่งยังคงเกิดมีเช่นนี้เป็นธรรมดาจนวันตายไป เพราะความที่เป็นสภาวธรรมหรือวิสัยของชีวิต การปฏิบัติที่ไม่เข้าใจในเรื่องทุกข์จึงหลง(โมหะ)พยายามไปปฏิบัติเพื่อจะดับมันเข้า จึงไม่มีวันประสบความสำเร็จได้เลย ไม่ว่าจะกี่ภพกี่ชาติก็ตามที,  เพียงแต่ว่าเมื่อเหล่าทุกขสัจจ์เหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ต้องปฏิบัติอย่างไร จึงไม่เป็นอุปาทานทุกข์(ความทุกข์ที่ประกอบด้วยอุปาทาน หรืออุปาทานขันธ์ ๕ คือขันธ์ ๕ ที่ประกอบด้วยอุปาทาน ดังที่กล่าวข้างต้น) ที่ย่อมเร่าร้อนเผาลนด้วยไฟกิเลส  ให้คงเป็นเพียงทุกขเวทนา หรือทุกข์ธรรมชาติหรือทุกขสัจจ์,  ดังนั้นนั่นเอง ทุกข์นี้ จึงมีกิจจญาณหรือกิจอันควรกระทำ ที่ประกอบปัญญายิ่ง คือ เป็นสิ่งที่ควรกำหนด " รู้ " คือทั้งรู้เท่าทัน  และรู้(ญาณ) เข้าใจทั้งในทุกข์ธรรมชาติหรือทุกขสัจจ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  หรือทุกข์อุปาทาน(อุปาทานขันธ์ ๕)ที่ควรทำให้ดับไป

        ๒. ความไม่รู้ใน"สมุทัย" ว่าเป็นสิ่งที่ต้อง"ละ",  สมุทัยสิ่งที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ว่า มาจากตัณหา(กามตัณหา-อยากในกามหรือในทางโลกๆ, ภวตัณหา-ความอยาก,  วิภวตัณหา-ความไม่อยาก, อยากดับสูญ) เพราะตัณหา เป็นเหตุปัจจัยให้ เกิดอุปาทาน  จึงมีความหมายครอบคลุมถึงเหล่าอกุศลสังขารขันธ์ เช่น โทสะ โมหะ โลภะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน ฯ. อันต่างล้วนเป็นส่วนหนึ่งของตัณหานั่นเอง อันจักเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นอุปาทานทุกข์,  สมุทัย มีกิจจญาณหรือกิจอันควรกระทำที่ประกอบปัญญา คือ เป็นสิ่งที่ควร " ละ "  ตัณหาไม่ได้ครอบคลุมแต่เพียงความใคร่ ความอยาก ความปรารถนาเท่านั้น แต่ยังหมายครอบคลุมถึงสังขารขันธ์ฝ่ายอกุศลต่างๆอีกด้วย ดังเช่น ราคะ โทสะ โมหะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน ฯลฯ. (เพราะ ตัณหาคือสังขารขันธ์ฝ่ายอกุศล)  เมื่อไม่รู้จึงไม่ระวังด้วยเข้าใจไปว่าไม่เป็น"ตัณหา"นั่นเอง

        ๓. ความไม่รู้ใน"นิโรธ" ไม่เคยทำให้แจ้งประจักษ์ ว่าเป็นเช่นใด ไม่เคยสัมผัส หรือไม่เข้าใจสภาวะนิโรธอันว่างจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน อันล้วนเป็นเหตุปัจจัยที่ต่อเนื่องสัมพันธ์กันอันยังให้เกิดอุปาทานทุกข์ ทําให้ไม่ทราบว่าดับทุกข์ได้แล้ว จักใจเบา โปร่ง โล่ง เป็นสุข สงบ สะอาด บริสุทธิ์ ที่ขาดจากการฟุ้งซ่านปรุงแต่งของกิเลสอย่างไร?  คุ้มค่าให้ปฏิบัติไหม?  มีจริงหรือเปล่า?  มักเข้าใจผิดไปจับสภาวะผลอันสุข,สงบ,สบาย,เย็นใจของสมาธิหรือฌานเป็นสภาวะนิโรธ! อันเป็นวิปัสสนูกิเลสอันเป็นสิ่งที่ผูกมัดร้อยรัดสัตว์ไว้กับกองทุกข์  ทําให้จริงๆแล้วยังคงมีความสงสัยอยู่ลึกๆในจิต(วิจิกิจฉา),  นิโรธ มีกิจจญาณหรือกิจอันควรกระทำที่ประกอบปัญญา คือ เป็นสิ่งที่ควร " ทำให้แแจ้ง " คือทำให้เกิดขึ้น แล้วแจ้งแก่ตัวตน,  นิโรธคือสภาวะที่ไม่ปรุงแต่งกิเลส หรือวิสังขารนั่นเอง

        ๔. ความไม่รู้ใน"มรรค" การปฎิบัติในการดับทุกข์  ควรปฏิบัติอย่างไร?   ศึกษาแล้วยังไม่เข้าใจ ปฏิบัติไม่ถูก ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน?   วิธีใด?  ของใครถูกแน่? (อ่านรายละเอียดในอริยสัจ ๔),  มรรค มีกิจจญาณหรือกิจอันควรกระทำที่ประกอบปัญญา คือ เป็นสิ่งที่ควร " ปฏิบัติ " ดัง มรรค ๘, ที่เป็นเหตุปัจจัยเกื้อหนุนกันให้เกิดมรรคองค์ต่อๆไป เพื่อยังให้เกิด มรรคองค์ที่ ๙ และ ๑๐ คือ สัมมาญาณ(ปัญญาชอบ) และสัมมาวิมุตติ ของพระอริยเจ้า คือ สัมมัตตะ ๑๐

        ๕. ความไม่รู้ในส่วน"อดีต"  อดีตที่หมายถึง ความไม่รู้ในส่วนสุดเบื้องต้น (คำอธิบายในหัวข้อที่ [๖๔]) ความไม่รู้อดีต  จึงมีความหมายจริงๆว่า ความไม่รู้ในส่วนเหตุ(ธรรมหรือสิ่งที่เป็น  ันเป็นเบื้องต้นนั่นเอง เช่น ความไม่รู้เหตุ ที่ทำให้เกิดขึ้นของทุกข์ จึงไม่ใช่หมายถึงการไม่รู้ระลึกชาติแต่อดีต คือไม่ได้หมายถีงการต้องมีญาณไปหยั่งรู้ในอดีตชาติปางก่อนแต่อย่างใด แต่หมายถึง การไม่รู้ในเรื่องเบื้องต้นของทุกข์ว่า ทุกข์นั้นเกิดจากเหตุ จึงเกิดขึ้น  หรือมีเหตุจึงเกิดขึ้นได้  กล่าวง่ายๆคือ การไม่รู้เหตุ ในการเกิดของทุกข์  ไม่รู้จักว่าอะไรเป็นเหตุที่มาเป็นปัจจัยกันให้เกิด  ด้วยไม่เข้าใจในอิทัปปัจจยตาและขันธ์ ๕ นั่นเอง จึงย่อมไม่เข้าใจในปฏิจจสมุปบาทธรรมได้ ดังเช่น การไม่รู้ว่าตัณหา(อกุศลสังขารขันธ์)ต่างๆ ดังเช่น ราคะ โทสะ โมหะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน ฯ.ต่างๆเป็นเหตุให้เกิดอุปาทานทุกข์หรืออุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์,  การไม่รู้ว่าการกระทบกันของอายตนะต่างๆเป็นเหตุให้เกิดวิญญาณ ๖,  หรือการไม่รู้ว่าการผัสสะกันเป็นเหตุให้เกิดเวทนา ๓,  หรือการไม่รู้ว่าสังขารทั้งปวงล้วนเกิดแต่เหตุ

        ๖. ความไม่รู้ในส่วน"อนาคต" อนาคตที่มีความหมายว่า ความไม่รู้ในในส่วนสุดเบื้องปลาย (คำอธิบายในหัวข้อที่ [๖๔]) ซึ่งหมายถึงผล จึงหมายถึง ความไม่รู้ในผลเบื้องปลาย ที่จักเกิดขึ้นจากเหตุให้เป็นทุกข์ขึ้นได้  จึงไม่ใช่หมายถึงว่าการที่ต้องมีญาณอำนาจไปหยั่งรู้อนาคตแต่อย่างใด  ไม่ได้เป็นด้วยอำนาจวิเศษใดๆ แต่เป็นไปด้วยญาณคือปัญญา,  จึงหมายถึงว่าเมื่อเป็นการไม่รู้ว่า ล้วนแต่เกิดมาจากเหตุใดจริง จึงย่อมไม่รู้ในผลคือเบื้องปลาย  จึงย่อมประมาท  จึงเกิดผลอันเป็นทุกข์  การไม่รู้วิธีว่าจะดับผลคือทุกข์ลงไปได้เยี่ยงไร  เพราะไม่เข้าใจว่า อะไรเป็นเหตุ  ก็เพราะความไม่เข้าใจแต่ในเบื้องต้น(อดีต)แล้วว่า ล้วนเกิดแต่เหตุ  กล่าวง่ายๆคือ ไม่รู้จักการเกิดขึ้นของทุกข์ ด้วยไม่เข้าใจในอิทัปปัจจยตานั่นเอง ที่กล่าวว่า "เมื่อเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี" กล่าวง่ายๆคือ เมื่อไม่รู้หลักการเกิดของขึ้นของทุกข์ ก็ย่อมไม่รู้ว่ายังผลในเบื้องปลายอย่างไร คือผลเกิดจากเหตุอะไรจึงทำให้เป็นทุกข์  เพราะไม่รู้อิทัปปัจจยตาอีกด้วยนั่นเอง ดังเช่น ไม่รู้ว่าการกระทบกันของอายตนะต่างๆเป็นผลให้เกิดวิญญาณ ๖,  หรือการไม่รู้ว่าการการผัสสะกันเป็นเหตุให้เกิดผล คือเวทนา ๓ ขึ้น,  หรือการไม่รู้ว่า เมื่อมีเหตุย่อมเกิดผลขึ้น

        ๗. ความไม่รู้ในส่วนทั้ง"อดีตและอนาคต" คือ ความไม่รู้ทั้งในส่วนสุดเบื้องต้นและส่วนสุดเบื้องปลาย (คำอธิบายในหัวข้อที่ [๖๔]) คือ ความไม่รู้ในธรรมทั้งหลายอันอาศัยกันและกันจึงเกิดขึ้น   เมื่อไม่รู้ทั้งเหตุเบื้องต้น อีกทั้งไม่รู้ในผลเบื้องปลาย จึงย่อมไม่รู้,ไม่เข้าใจในการเป็น"เหตุปัจจัย" ให้เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง  จึงย่อมไม่มีทั้งเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติตั้งแต่ในเบื้องต้น  อีกทั้งย่อมไม่มีปัญญาญาณ  ทั้งย่อมไม่รู้ว่าการเกิดดับ เกิดแต่เหตุปัจจัยคือเหตุและผลอันใด และอย่างไร   ย่อมเกิดความประมาท จึงย่อมขาดการป้องกันจากการไม่รู้ทั้งอดีตและอนาคต  และย่อมไม่สามารถเข้าใจใน"ปฏิจจสมุปบาท"หรือการเกิดขึ้นของทุกข์นั้นได้เลยว่า เพราะอาศัยความเป็น"เหตุเป็นปัจจัยกัน"ให้เกิดการสืบเนื่องกันจึงเกิดขึ้นของทุกข์  จึงย่อมไม่รู้วิธีดับมันไปได้นั่นเอง

(อ่าน"เหตุปัจจัย" เพื่อการละอวิชชาในข้อ ๕ ๖ ๗ และ ๘)

        ๘. ความไม่รู้ใน"ปฏิจจสมุปบาท" คือ ไม่รู้ในธรรมทั้งหลาย ที่อาศัยกันจึงเกิดมีขึ้นตามหลักอิทัปปัจจยตา,  เมื่อไม่รู้ทั้งเหตุและผล อีกทั้งความเป็นเหตุปัจจัยกัน คือ ความไม่รู้ในธรรมทั้งหลาย อันอาศัยกันและกันให้เกิดขึ้น กล่าวคือ ไม่รู้ในธรรมทั้งหลายอาศัยความเป็นเหตุปัจจัยต่อกันและกันจึงเกิดขึ้น,  จึงย่อมไม่ทราบ,ไม่รู้ ในกระบวนการเกิดขึ้นของทุกข์ และกระบวนการดับไปของทุกข์ ที่ล้วนอาศัยเหตุปัจจัยสืบเนื่องกันต่อๆไป  จึงย่อมไม่รู้จักอาสวะกิเลส ตลอดจนตัณหาและอุปาทานที่แอบซ่อนนอนเนื่องอยู่ในจิตหรืออวิชชา  เมื่อไม่รู้ไม่เข้าใจจึงไม่สามารถดับทุกข์ ที่เหตุปัจจัยด้อย่างเข้าใจและถูกต้องตามจริง จึงย่อมดับทุกข์ไม่ได้นั่นเอง อันอุปมาได้ดั่งช่างยนต์ที่ไม่รู้ไม่ศึกษาเรื่องเครื่องยนต์ แล้วจักซ่อมเครื่องยนต์ให้ดีถูกต้องได้อย่างไร?  จึงต้องทำให้เป็นไปดั่งพุทธอุทานที่แสดงพุทธปีติที่บังเกิดขึ้น เมื่อคราท่านตรัสรู้ว่า ด้วยความเข้าใจในหลักปฏิจจสมุปบาทนี้นี่เอง ที่ว่าเพราะมารู้ธรรมพร้อมทั้งเหตุ  และการสิ้นของปัจจัย

โลกุตรธรรม

        โลกุตรธรรม ธรรมหรือสิ่งอันมิใช่วิสัยทางโลกๆ, สภาวะพ้นจากทางโลกๆ หรือสภาวะเหนือโลก อันมี ๙ ดังนี้ (พระอริยบุคคล มี ๘ คือผู้ปฏิบัติได้ในข้อ๑-๘ - ฐานะแห่งตน ที่จำแนกแบบอริยสาวก)

        ๑. โสดาปัตติมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงผล อันคือความเป็นพระโสดาบัน, ญาณคือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ  วิจิกิจฉา  สีลัพพตปรามาส,  เมื่อโสดาปัตติมรรคเกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วขณะมรรคจิตเท่านั้น พ้นจากนั้นก็จะเกิดผลจิตคือโสดาปัตติผล ในข้อ ๒. กลายเป็นผู้ตั้งอยู่ในผล คือเป็นพระโสดาบันนั่นเอง

        ๒. โสดาปัตติผล ผลคือการถึงกระแสพระนิพพาน จากการละสังโยชน์ ๓ ข้อแรกด้วยโสดาปัตติมรรค ทําให้บุคลผู้นั้นเป็นพระโสดาบัน  ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีปัญญาเครื่องตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า,  กล่าวคือ เข้าสู่กระแสพระนิพพาน หมายถึงเข้าสู่กระแสแรงดึงดูดของพระนิพพานเสียแล้ว อันมิอาจเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นได้ เพียงขึ้นอยู่กับระยะเวลา ตั้งแต่ภพชาติเดียว(เอกพีชี)จนถึงมากที่สุด ๗ ชาติ  มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเพียร สติ ปัญญา ตลอดจนเหตุปัจจัย  เป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็น ธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีปัญญาเครื่องตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า  ดังนี้

โสตาปันนสูตร

ว่าด้วยผู้เป็นพระอริยสาวกโสดาบัน

        [๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้. อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? ได้แก่ อุปาทานขันธ์คือรูป  อุปาทานขันธ์คือเวทนา  อุปาทานขันธ์คือสัญญา  อุปาทานขันธ์คือสังขาร  อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ.

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่พระอริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตามความเป็นจริง. (ผู้ที่รู้ชัดใน เหตุเกิด ดับ คุณ โทษ และวิธีสลัดออก ของอุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมมีความเข้าใจในการเป็นเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น การแปรปรวนจนดับไป จึงย่อมเข้าใจสักกายทิฏฐิ สิ้นวิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาส คือสิ้นสังโยชน์ทั้ง ๓ อยู่ด้วยในทีเช่นกัน)

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า พระอริยสาวกผู้โสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

(พระไตรปฏก เล่มที่ ๑๗ หัวข้อที่๒๙๖)

        ๓. สกิทาคามิมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผลความเป็นพระสกิทาคามี, หรือการปฏิบัติเพื่อให้เกิดญาณรู้คือความรู้อันเป็นเหตุละสังโยชน์ ๓ ข้อแรก และเบาบางลงในข้อ ๔ และ ๕ คือ กามราคะ และ ปฏิฆะ

        ๔. สกิทาคามิผล ผลที่ได้รับจากการปฏิบัติอันสืบเนื่องจากสกิทาคามิมรรคในข้อ๓ ทําให้เป็น พระสกิทาคามี

        ๕. อนาคามิมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผลคือความเป็นพระอนาคามี, หรือการปฏิบัติเพื่อให้เกิดญาณคือความรู้อันเป็นเหตุละสังโยชน์ทั้ง๕ข้อแรกได้

        ๖. อนาคามิผล ผลที่ได้รับจากการปฏิบัติอันสืบเนื่องจากอนาคามิมรรคในข้อ๕ ทําให้เป็นพระอนาคามี

        ๗. อรหัตตมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผลเป็นพระอรหันต์, หรือการปฏิบัติเพื่อให้เกิดญาณคือความรู้อันเป็นเหตุละสังโยชน์ทั้ง ๑๐

        ๘. อรหันตผล ผลคือความสําเร็จเป็นพระอรหันต์  ผลที่ได้รับจากการละสังโยชน์ทั้งหมด

        ๙. นิพพาน  ผลการดับกิเลสและกองทุกข์ เป็นโลกุตรธรรมที่เป็นจุดหมายสูงสุดในพุทธศาสนา

  

ผลแห่งการละกิเลส

        [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใด เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่จำต้องทำ ทำเสร็จแล้ว มีภาระ ปลงลงแล้ว ลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว มีสัญโญชน์ใน ภพหมดสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่มีวัฏฏะ เพื่อจะบัญญัติต่อไป.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยาย แล้ว ภิกษุเหล่าใดละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ทั้ง ๕ ประการ ได้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น(หมายถึง พระอนาคามี)ทั้งหมดเป็น โอปปาติกะ  ปรินิพพานในโลกนั้น มีการไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใด ละสัญโญชน์ ๓ ประการได้แล้ว กับมีราคะโทสะและโมหะบางเบา ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็น พระสกทาคามี มาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใด ละสัญโญชน์ ๓ ประการได้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็น ธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีปัญญาเครื่องตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรา กล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้นเปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใด ผู้เป็นธัมมานุสารี เป็นสัทธานุสารี ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด มีปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ดีเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

            ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เบื้องของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว บุคคลเหล่าใด มีเพียงความเชื่อ เพียงความรักในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้มีสวรรค์ เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

            พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น มีใจชื่นชม เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.

จบ อลคัททูปมสูตรที่ ๒

(พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๒)

 

สัจจธรรม

ทุกข์ของขันธ์ ๕ ทั้งใจและกาย คือเวทนาอีกทั้งสังขารขันธ์ทุกข์ อันเป็นสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ยังคงมีอยู่  แต่เราปฏิบัติเพื่อไม่ให้เกิดอุปาทานทุกข์

หมายถึง ไม่ให้อุปาทานขันธ์ ๕ เกิดแล้ว  ยังต้องยอมรับในสภาวธรรมของทุกขเวทนาและสังขารขันธ์ทุกข์ตามความเป็นจริง

อันพึงเกิดแต่ขันธ์ ๕ ทั้งทางใจและกาย อย่างเข้าใจถูกต้อง

การไม่ยอมรับอย่างเข้าใจ ก่อให้เกิดการดิ้นรนกระวนกระวายหรือตัณหา จนกลายเป็นอุปาทานทุกข์นั่นเอง

 

ความพึงพอใจเกิดจากเหตุปัจจัยมาปรุงแต่ง

สิ่งใดปรุงแต่ง สิ่งนั้นไม่เที่ยง ล้วนต้องแปรปรวนด้วยอาการใด

สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นทนอยู่ไม่ได้ จึงเป็นทุกข์ถ้าเข้าไปอยากไปยึด

สิ่งใดทนอยู่ไม่ได้สิ่งนั้นไม่มีแก่นแกนถาวร(ไม่มีค่า,ไม่ใช่ของจริง) ให้ยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจ

ล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยเท่านั้น

นิพพานขาดเสียแล้ว ซึ่งเหตุปัจจัยอันมาปรุงแต่งด้วยตนเอง

นิพพานคือภาวะดับสูญเสียแล้วซึ่งทุกข์

คือภาวะดับสูญอุปาทาน

คือภาวะดับเสียแล้วซึ่งความพึงพอใจยินดีแห่งตัวตน

คือภาวะซึ่งดับเสียแล้วซึ่งการเกิด "ภพ" และ "ชาติ"

 

"เหนือโลก" มิใช่ "หนีโลก"      

ธรรมะ มีไว้ช่วยให้อยู่ในโลกอย่าง"ชนะโลก" หรือ "เหนือโลก"

มิใช่ให้ "หนีโลก" แต่อยู่เหนืออิทธิพลใดๆของโลก

ไม่ใช่จมอยู่ในโลก

มักสอนให้เข้าใจกันผิดๆว่า ต้องหนีโลก ทิ้งโลก สละโลก

อย่างที่ไม่มีประโยชน์อะไรแก่ใครเลย

(พุทธทาสภิกขุ)

กลับหน้าเดิม

กลับสารบัญ

 

Google


ทั่วโลก  ค้นหาเฉพาะใน"ปฏิจจสมุปบาท"