|
ขันธ์ ๕ โดยลำดับ (๑) ในบทที่แล้ว เป็นการแสดงกระบวนธรรมตามธรรมชาติของชีวิตโดยลำดับแบบทั่วๆไป ที่ไม่ได้เป็นทุกข์เร่าร้อนเผาลน กล่าวคือเป็นเพียงแต่ทุกข์ที่เกิดขึ้นจากทุกขเวทนาโดยธรรมชาติตามปกติธรรมดาของชีวิตเมื่อมีการผัสสะ หรือทุกข์จากสังขารขันธ์อารมณ์ต่างๆตามธรรมชาติของขันธ์ ๕ เท่านั้น แต่ในขันธ์ ๕ บทนี้ จะเป็นการแสดงการเริ่มเกิดขึ้นของทุกข์อุปาทาน คือขันธ์ ๕ ที่ประกอบด้วยอุปาทานคือกิเลสที่ย้อมจิต ที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ อันเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะแสนเร่าร้อน อีกทั้งยาวนานเพราะวนเวียนปรุงแต่งเป็นวงจรได้ไม่รู้จบ ที่อาศัยขันธ์ต่างๆดำเนินเกิดขึ้นและเป็นไป โดยปุถุชนผู้มิได้สดับย่อมไม่มีทางรู้ได้เลย
ดังที่กล่าวมาแล้วในบทของขันธ์ ๕, พระองค์ท่านได้ทรงแสดงตัวตนหรือชีวิตของเราทั้งหลายว่า ล้วนเกิดขึ้นมาแต่มีเหตุต่างๆ มาเป็นปัจจัยแก่กันและกัน หรือปรุงแต่งกันขึ้นของขันธ์ทั้ง ๕ ชีวิตจึงเป็นสังขารอย่างหนึ่ง อันประกอบด้วยฝ่ายรูป และฝ่ายนาม ก็เพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณาด้วยปัญญาให้เห็นความจริงของชีวิต ในบางทีโดยเฉพาะผู้ที่เน้นปฏิบัติแต่สมถะเพียงฝ่ายเดียว มักเกิดมายาของจิตหรือหลงผิดไปโดยพยายามแยกออกมาให้ได้จริงๆในลักษณะทางรูปธรรม กล่าวคือ พยายามแยกกาย แยกจิตให้ขาดชัดกันออกไปแม้ในความรู้สึกก็ตามที อันเป็นไปในลักษณาการของเจตภูต หรือกายทิพย์, แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เราพึงสามารถแยกแยะได้ด้วยปัญญาจักขุโดยอาศัยธรรมอันวิเศษของพระองค์ท่าน ดังจะทบทวนกันคร่าวๆอีกทีหนึ่ง เพื่อเพิ่มเติมการเริ่มเกิดขึ้นเป็นความทุกข์ ชนิดอุปาทานทุกข์ ดังที่เนื่องในปฏิจจสมุปบาทธรรม (รายละเอียดเพิ่มเติม ขันธ์ ๕ (๓))
ฝ่ายรูปและฝ่ายนาม ที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดชีวิตขึ้นนั้น พระองค์ท่านได้ทรงแสดงธรรม แยกย่อยลงไปอีกเป็นขันธ์ทั้ง ๕ หรือเบญจขันธ์นั่นเอง อันประกอบด้วย ๑.รูปขันธ์ หรือฝ่ายกายและส่วนประกอบต่างๆของร่างกาย หรือสังขารกาย ๒.เวทนาขันธ์ ๓.สัญญาขันธ์ ๔.สังขารขันธ์ ๕.วิญญาณขันธ์ ซึ่งมักเรียกกันโดยย่อว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดังกล่าวรายละเอียดไว้ในบทที่แล้ว (ขันธ์ ๕ โดยลำดับ)
เพื่อแสดงให้เห็นว่าชีวิตหรือตัวตน ที่เราท่านทั้งหลายพากันยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นอัตตาโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัวด้วยอวิชชานั้น ล้วนเป็นเพียงเกิดขึ้นมาแต่การเป็นเหตุเป็นปัจจัยของขันธ์ทั้ง ๕ ที่มาประชุมปรุงแต่งกันอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งๆเท่านั้นเอง กล่าวคือ เมื่อขันธ์ทั้ง ๕ นี้ยังประชุมรวมตัวเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันอยู่ได้ ก็ยังให้มีปกติชีวิตอยู่ได้ และในขณะที่ยังมีปกติชีวิตอยู่นั้น ขันธ์ทั้ง ๕ ยังจำเป็นยิ่งที่ต้องทํางานเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกันอีกด้วย กล่าวคือ มีกระบวนการหรือกระบวนธรรมของชีวิตหรือของขันธ์ทั้ง ๕ อันหมายถึง มีการทำงานที่ประสานเนื่องสัมพันธ์กันของขันธ์ทั้ง ๕ ในการดำรงชีวิตอยู่นั่นเอง อันเป็นกระแสสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของชีวิตที่ต้องเป็นไปเช่นนี้เองเป็นธรรมดา ไม่สามารถเป็นอื่นไปได้
ที่นี้ผู้เขียนจะแสดงกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ หรือกระบวนการทำงานที่เนื่องสัมพันธ์กันของขันธ์ทั้ง ๕ ในการดำเนินชีวิต ก็เพื่อให้เกิดความเข้าใจในกระบวนธรรมพื้นฐานของจิตและกาย อันจักยังให้เกิดความเข้าใจในปฏิจจสมุปบาทโดยละเอียดขึ้นในภายภาคหน้า อีกครั้งหนึ่ง
ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ(อันมีสมองหรือหทัยวัตถุเป็นเหตุปัจจัยอันหนึ่งของใจ) หรือก็คือ อายตนะภายในทั้ง ๖ หรือทวาร ๖ ต่างก็ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของฝ่ายรูปหรือฝ่ายกาย ซึ่งก็จักต้องทํางานร่วมเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกันกับฝ่ายจิตหรือฝ่ายนามอันมี ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นอกจากรูปและจิตแล้ว ยังทำงานเนื่องสัมพันธ์ครอบคลุมถึงเหตุปัจจัยสิ่งแวดล้อมอันคืออายตนะภายนอกทั้ง ๖ ที่เราจักไปกระทบสัมผัสอยู่เสมอๆเกือบตลอดเวลาอีกด้วย อันคือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
เมื่อ ตา กระทบกับ รูป (รูปนี้หมายถึง ภาพที่เห็นด้วยตา คืออายตนะภายนอก)นั้น ระบบประสาทรับสัมผัสของตา(อันพอเทียบเคียงได้ว่าคือ จักขุวิญญาณความรู้ในรูปที่กระทบตา ในทางพุทธศาตร์นั่นเอง)จะเป็นฝ่ายรู้แจ้งและส่งข้อมูลของภาพหรือรูปที่เห็นข้างต้นนั้นๆให้สมอง ฝ่ายความทรงจํา(รูปสัญญา-ความจำได้ในรูปนั้น) ซึ่งอาจมีการบันทึกบรรจุจดจำข้อมูลในรูปหรือภาพนั้นในรูปแบบลักษณะต่างๆ จึงเกิดการจดจําได้ถึงข้อมูลในภาพหรือรูปนั้นๆว่า เป็นอะไร มีอะไรบ้าง ดังเช่น เป็นอะไร ความชอบ,ไม่ชอบ เคยมีประสบการณ์ใดๆ ที่ได้สั่งสม อบรม เก็บจำไว้ในภาพหรือรูปที่เห็นใดๆบ้าง อันเป็นกระบวนการหรือกระบวนธรรมรับรู้อัตโนมัติในสิ่งที่เห็น กล่าวคือ เกิดขึ้นและเป็นไปตามกลไกของธรรมชาติของชีวิตอันยิ่งใหญ่ที่ต้องเป็นเช่นนี้เองหรือตถตา จะห้ามไม่ให้เกิดก็ไม่ได้, จากนั้นย่อมก่อให้เกิดเวทนา-ความรู้สึกที่เกิดจากการรับรู้ในภาพหรือรูปที่เห็นนั้น หรือที่เรียกกันว่า การเสวยอารมณ์ คือเสพรสของรูปหรือภาพที่เห็นหรือกระทบผัสสะนั้นนั่นเอง อันย่อมต้องอาศัยอ้างอิงเป็นไปตามข้อมูลความจํา(รูปสัญญา-ความจําได้)ที่มีในรูปมาแต่เก่าก่อนหรืออดีต จิตจึงเกิดความรู้สึกรับรู้(เวทนา)ในภาพอันพอจําแนกแตกธรรมในความรู้สึกรับรู้(เวทนา)ที่เกิดขึ้นนี้อันยังผลทั้งต่อฝ่ายกายและจิต เป็นไปในลักษณะที่เรียกสื่อสารกันว่า สบายใจ ถูกใจ ชอบใจ หรือเป็นสุข ที่เรียกทางพุทธศาสตร์ว่าสุขเวทนา๑, หรืออาจก่อเป็น ความรู้สึกไม่สบายใจ ไม่ชอบใจ ไม่ถูกใจ ที่เรียกกันทางพุทธศาตร์ว่าทุกขเวทนา๑, หรืออาจเกิดความรู้สึกที่เรียกกันว่าความรู้สึกเฉยๆ หรือเรียกกันว่า"ไม่สุขไม่ทุกข์" หรือที่เรียกกันทางพุทธศาตร์ว่า"อทุกขมสุขเวทนา"หรือ"อุเบกขาเวทนา" อันเป็นเวทนาที่เกิดขึ้นต่อภาพหรือสิ่งที่ตาไปกระทบหรือเห็นเข้านั้น หรือเรียกกันสั้นๆภาษาโลกว่า ชอบ ชัง เฉยๆ ก็โดยการอาศัยสัญญาเป็นตัวจำแนกแตกธรรมที่สำคัญยิ่งอีกด้วย อันพอจะเขียนเป็นกระบวนการหรือกระบวนธรรมของจิตในแนวทางแบบวิทยาศาตร์ได้ดังนี้
ตา กระทบกับ ภาพที่เห็น ย่อมเกิดกระบวนการตามธรรมชาติของชีวิต ที่นำส่งภาพหรือรูปนั้นผ่านทาง ระบบประสาทตา สมองส่วนความจํา จึงเกิดความรู้สึกเป็นสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุข ต่อภาพที่เห็น อันเนื่องมาจากความทรงจำหรือสัญญาในสมองส่วนความจำข้างต้นนั่นเอง
อันนํากระบวนการจิตที่เกิดขี้นมานี้ มาแสดงเป็นกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ในทางพุทธศาตร์ได้ดังนี้
ตา รูป จักขุวิญญาณย่อมต้องเกิดในผู้มีชีวิต สัญญาจํา เวทนา |
หรือเขียนอีกแบบดังนี้
ตา รูป จักขุวิญญาณ การกระทบสัมผัสกันของปัจจัยทั้ง๓ เรียกผัสสะ สัญญาจำ(รูปสัญญา) เวทนา |
กระบวนธรรมของจิตย่อมยังไม่ได้จบแต่เพียงเท่านี้ กล่าวคือ เมื่อเกิดเวทนาความรู้สึกรับรู้จากการกระทบสัมผัส(ผัสสะ)อันร่วมด้วยสัญญาจําเป็นเหตุเป็นปัจจัยร่วมด้วยแล้ว ก็เกิดการนําส่งไปทางระบบประสาทของความคิดหรือใจ(มโนวิญญาณ)ไปยังสมองส่วนความคิด(สัญญาหมายรู้-รูปสัญเจตนา-หมายรู้คิดอ่านในรูปนั้น) อันหมายถึง การสรุปผล โดยการรวบรวมข้อมูล วินิจฉัย(ในขณะจิต เร็วกว่าสายฟ้าแลบ) เปรียบเทียบ ค้นคว้าจากความจํา,ประสบการณ์ หรือสัญชาตญาณ ฯ. แล้วนําข้อมูลที่รวบรวมนั้นส่งไปทางระบบประสาทของความคิดหรือใจ(มโนวิญญาณ)อีกครั้ง เพื่อไปยังสมองส่วนสั่งการ(สัญเจตนา-บางทีผู้เขียนก็ใช้คำว่า มโนสังขาร หรือ จิต) ดังนั้นจะสังเกตุได้อย่างว่า วิญญาณทำการเชื่อมต่อกันระหว่างขันธ์ต่างๆนั่นเอง อันนำมาแสดงกระบวนการทํางานโดยลำดับได้ดังนี้
หรือเขียนย่อลงได้ดังนี้
อันนํามาเขียนในทางพุทธศาตร์โดยขันธ์ ๕ ได้ดังนี้
ตา รูป จักษุวิญญาณ การกระทบสัมผัสกันหรือผัสสะ สัญญาจำ(รูปสัญญา) เวทนา สัญญาหมายรู้(รูปสัญเจตนา) สัญเจตนา(มโนสังขาร,จิต) กรรม การกระทำทางกาย วาจา ใจ |
อันเขียนย่อลงไป ได้ดังนี้
ตา รูป จักษุวิญญาณ ผัสสะ สัญญา(จํา) เวทนา สัญญา(หมายรู้) สังขารขันธ์ ทางกาย วาจา ใจ |
หรือย่อลงไปอีก ก็จะได้กระบวนธรรมของขันธ์๕ แบบย่อ ที่สัมพันธ์กันเฉพาะขันธ์ทั้ง ๕ จึงไม่แสดงสัญญาจำอันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาอยู่แล้ว และไม่แสดงสัญเจตนาอันเป็นส่วนหนึ่งของสังขารขันธ์อยู่แล้ว จึงเป็นดังนี้
ตา รูป วิญญาณ ผัสสะ เวทนา สัญญา สังขารขันธ์ |
กระบวนธรรมดังกล่าวนี้ เป็นเฉกเช่นดียวกันในอายตนะทั้ง๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ หรือทวารทั้ง๖
แสดงเปรียบเทียบกระบวนธรรมขันธ์๕ ของทวารทั้ง๖
ผัสสะสัญญา(จํา)เวทนาสัญญา(หมายรู้)สังขารขันธ์ สัญเจตนากรรม ทางวาจา
หรือ เขียนให้เห็นชัดเจนขึ้นถึงขันธ์ต่างๆที่เกิดเหมือนกันทั้งหมดโดยสีแดง
วิญญาณ ผัสสะ สัญญา(จํา) เวทนา สัญญา(หมายรู้) สังขารขันธ์ สัญเจตนา กรรม ทางวาจา(วจีกรรม)
ลิ้น รส ทางใจ(มโนกรรม)
ดังนั้นคงจะพอเห็นได้ว่า กระบวนธรรมของชีวิต หรือก็คือกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งนั้น ไม่ว่าจะโดยอาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจก็ตามที ล้วนแล้วแต่มีความเนื่องสัมพันธ์หรือต้องมีการประสานงานกันล้วนสิ้นครบทั้ง ๕ ขันธ์ คือ รูป ที่หมายถึงสังขารกาย อันครอบคลุมถึง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ(อันมีสมองเป็นเหตุปัจจัยร่วมด้วย,หทัยวัตถุ) แล้วดำเนินไปตามเหตุปัจจัยหรือกระบวนธรรมของชีวิตจึงเกิด วิญญาณต่างๆ เวทนา สัญญา สังขาร(สัญเจตนาก็เป็นส่วนหนึ่งของสังขารขันธ์) อันล้วนเป็นองค์ประกอบของจิตอย่างครบถ้วนทั้งสิ้น เป็นการเห็นด้วยปัญญา แต่จะโดยรู้ตัวหรือไม่เท่านั้น เพราะบางชนิดก็แผ่วเบา บางชนิดก็เกิดขึ้นเพราะเป็นสังขารที่สั่งสมไว้จึงกระทำเองโดยไม่รู้ตัวเป็นอัติโนมัติ บางสิ่งก็เป็นต้องเจตนา(สัญเจตนา)กระทำขึ้นจึงเห็นได้อย่างเด่นชัด จึงกล่าวได้ว่าจิตนั้นเป็นใหญ่ หรือประธานของชีวิตหรือกระบวนการชีวิต เพราะมิว่าจะกระทำการใดๆหรือกระทบสัมผัสด้วยอายตนะใดๆ ต่างล้วนต้องผ่านใจหรือจิตล้วนสิ้น ดังนั้นการดับทุกข์จึงต้องขึ้นอยู่กับใจหรือจิตเป็นสําคัญ อันมีสมองหรือหทัยวัตถุ(เป็นวัตถุของใจอย่างหนึ่ง)เป็นเหตุปัจจัยหนึ่งของใจหรือจิต อันเป็นปัจจัยในการก่อให้เกิดปัญญาความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง(สัมมาญาณ) อันจักยังให้เกิดสัมมาวิมุตติ(ความสุขอันเนื่องจากการหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา), แต่สมองหรือหทัยวัตถุก็ยังไม่ใช่จิต แต่เป็นแค่เหตุปัจจัยอันหนึ่งของจิตเท่านั้น
ขอให้นักปฏิบัติลองพิจารณาธรรมนี้โดยละเอียดและแยบคาย(ธรรมวิจยะโดยการโยนิโสมนสิการ) ในทั้งตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ แล้วจะเห็นกระบวนธรรมของจิตตามธรรมชาติที่ชัดเจนขึ้น อันจะยังประโยชน์ในการเข้าใจในสภาวธรรมของกระบวนธรรมของจิตในการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์(ปฏิจจสมุปบาท)
ในคราวหน้าจะเขียนรายละเอียดกระบวนจิตในการเกิดทุกข์ ที่เปรียบเทียบกับแนววิทยาการทางวิทยาศาตร์ในปัจจุบัน
คราวนี้มาลองพิจารณาประสาทสัมผัสทางหู ของผู้ที่ยังดำรงขันธ์หรือชีวิตดูกันบ้าง
หู กระทบ เสียงจากผู้ใดหรือสิ่งใด ระบบประสาทหู (เทียบเคียงทางพุทธศาตร์เรียกว่าโสตวิญญาณ)เป็นผู้หรือสิ่งที่นําส่งสมองส่วนความจํา(สัญญา)อันจํา และทั้งทำความเข้าใจในความหมายของเสียงนั้น อันยังผลให้เกิดความรู้สึก จากการรับรู้ในเสียง ที่มากระทบนั้นๆ(เวทนา) สมมติเช่น เสียงที่ได้ยินเป็นการนินทาว่ากล่าว ความไม่ชอบใจ ไม่ถูกใจต่อเสียงนั้น หรืออาจต่อความหมายของเสียงที่ได้ยินหรือที่ผัสสะ หรืออาจแม้แต่ต่อผู้ที่พูดขึ้นนั้น จึงเกิดทุกขเวทนา อันเป็นสภาวธรรมชาติหรือกระแสธรรมชาติ, ถ้าเสียงที่มากระทบนั้นเป็นคำชมเชย หรือไพเราะเสนาะโสตตน สัญญาจำย่อมก่อให้เกิดสุขเวทนา กล่าวคือมีความชอบใจ หรือสบายใจ หรือถูกใจ หรือเป็นสุขต่อเสียงสรรเสริญนั้นๆนั่นเอง, แต่ถ้าเสียงนั้นไม่มีความเข้มเด่นชัดต่อสัญญาใดๆ ก็ย่อมเกิดอุเบกขาเวทนาหรืออทุกขมสุขเวทนาขึ้นก็ได้เป็นธรรมดา แต่กล่าวคือ ต้องเกิดเวทนาเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดบ้างเป็นธรรมดาหรือตถตา กล่าวคือ เป็น สุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง หรือไม่สุขไม่ทุกข์ อย่างใดอย่างขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้นที่ว่าไม่เกิดเวทนาหรือความรู้สึกใดๆหรืออะไรขึ้นเลย หรือเฉยๆ ก็คือเหล่าอุเบกขาเวทนา(อทุกขมสุขเวทนา)นี่เอง
ลองพิจารณาตรงนี้อย่างจริงๆจังๆ อย่าไปคิดว่าเข้าใจแล้ว รู้แล้ว พิจารณาอย่างโดยละเอียดและแยบคายหลายๆครั้ง จะเห็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติแท้ๆของจิตช่วงนี้ ถึงความเป็นเหตุปัจจัยกัน เมื่อมีเหตุปัจจัยเช่นนั้น ย่อมยังผลให้เกิดเป็นทุกขเวทนาเช่นนั้น เป็นสภาวธรรมตามธรรมชาติของปุถุชน อันเป็นไปตามหลักอิทัปปัจจยตากล่าวคือ"เมื่อเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี" หรือก็คือหลักการปฏิจจสมุปบันธรรมอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จึงต้องยอมรับด้วยใจที่เข้าใจตามความเป็นจริง เพราะจริงๆแล้วทุกขเวทนานี้ ยังไม่ใช่ความทุกข์หรือทุกข์อุปาทานที่เร่าร้อนเผาลนที่ปุถุชนพากันเล่าเรียนศึกษาเพื่อหาทางที่ดับไป เป็นแค่กระบวนธรรมของจิตในความรู้สึกรับรู้ในเเบื้องต้นๆอันเป็นกระบวนธรรมตามธรรมชาติของผู้มีชีวิตเท่านั้น ที่คงเกิดคงเป็นเป็นธรรมดาในทุกรูปนาม แต่สามารถไปก่อให้เป็นความทุกข์จริงๆอันเร่าร้อนเผาลน(อุปาทานทุกข์)ได้ต่อไป เนื่องเพราะความไม่รู้ตามความเป็นจริง(อวิชชา อันครอบคลุมถึงสติและปัญญาด้วย) จึงเกิดตัณหาการไปยึดหรืออยากในเวทนาหรือความรู้สึกรับรู้ที่เกิดขึ้นจากการผัสสะนั้นๆ อันเป็นการดำเนินไปตามปฏิจจสมุปบาทธรรมนั่นเอง
เมื่อทุกขเวทนาจากเสียงนั้นเกิดขึ้นแล้ว ณ จุดนี้ อันเป็นจุดสําคัญในการที่กระบวนจิตจะมาถึงจุดทางแยก ที่จักเป็นไปตามกระบวนการขันธ์๕อันเป็นกระบวนการธรรมชาติของชีวิตอันเป็นปกติตามธรรมชาติอย่างที่ไม่เป็นอุปาทานทุกข์ตามที่แสดงมาแล้วข้างต้น หรือจักแวะเวียนเข้าไปในกระบวนการธรรมชาติเช่นกัน แต่เป็นกระบวนธรรมชนิดก่อให้เกิดทุกข์ชนิดอุปาทานทุกข์อันเร่าร้อนเผาลนทั้งต่อจิตและกาย กล่าวคือ ดำเนินกระบวนธรรมของจิตไปตามกระแสวงจรปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง
กระบวนการขันธ์๕....เป็นไปตามกระบวนการของขันธ์๕ อันเป็นไปตามธรรมชาติ อันไม่เป็นทุกข์
........เวทนา
กระบวนการเกิดทุกข์.....เป็นไปตามกระบวนการธรรมชาติชนิดที่ทําให้เกิดทุกข์หรือทุกข์อุปาทาน
ถ้าไปตามกระบวนการขันธ์๕ ทุกขเวทนานั้นย่อมก่อความรู้สึกกระทบกระเทือนไม่สบายใจในขณะจิตแรก แต่ถ้ามีสติที่ทั้งรู้เท่าทันและเข้าใจตามความจริงในเวทนาเหล่านั้น อันย่อมยังผลให้สมองส่วนความคิด(สัญญาหมายรู้)ไม่ถูกครอบงําด้วยอิทธิพลใดๆ เป็นสัญญาหมายรู้ หรือความคิดในเรื่องที่มากระทบนั้นโดยไม่มีอิทธิพลอื่นๆมาเจือ อันเป็นการหมายรู้ตามความเป็นจริงนั่นเอง อันทําให้เกิดสังขารขันธ์อันเป็นผล กล่าวคือไม่พอใจ โกรธ ขุ่นข้องใจ อันเป็นธรรมชาติตามกฎอิทัปปัจจยตา
เมื่อมาถึงตรงนี้ จะเกิดความงุนงงสงสัยขึ้นเป็นธรรมดา เช่น ถ้าเป็นไปตามธรรมชาติ อย่างนั้นในอริยบุคลต่างๆรวมทั้งพระอรหันต์เจ้าก็ยังมีความโกรธหรือ? จริงๆแล้วท่านมี "โกรธ" อันเป็นสังขารขันธ์ แต่ท่านไม่เอา ไปคิดปรุงแต่ง แล้วมันก็ดับไปเอง ดังได้กล่าวไว้แล้วในบท"ธรรมข้อคิด"ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล และอีกประการหนึ่งก็คือถึงมีก็เบาบางกว่าปุถุชน เหตุเพราะสัญญาจําและสัญญาหมายรู้อันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความโกรธ ของท่านนั้นปราศจากอาสวะกิเลสอันขาดสูญไปเนื่องจากการปฏิบัติจนเห็นและรู้เข้าใจอย่างถ่องแท้และลึกซึ้งในคุณและโทษของมันจนขาดความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจของเวทนาหรือจิต หรือวางใจเป็นกลางต่อสังขารเหล่านั้น, ตลอดจนสัญญาจําและหมายรู้ชนิดเจือกิเลสตัณหาของท่านก็ไม่มี มีแต่สัญญาจําและหมายรู้ตามความเป็นจริง ไม่ถูกร้อยรัดไว้ด้วยกิเลสดังปุถุชน จึงไม่ใช่การหมายรู้อย่างปุถุชนที่หมายรู้แฝงไว้ด้วยความชอบใจหรือไม่ชอบใจของตนเอง(กิเลสหรืออาสวะกิเลส) ดังนั้นจึงไม่ส่งผลใดๆต่อเวทนาอย่างรุนแรง ตลอดจนสติท่านมีอยู่อย่างต่อเนื่อง(มหาสติหรือสังขารอันมิได้เกิดแต่อวิชชา อันหมายถึงสังขารในทางดับทุกข์ที่ได้สั่งสมจนสามารถเกิดการทำงานเองโดยอัติโนมัติ), หรือกล่าวได้ว่า เวทนานั้นย่อมต้องเกิดเช่นกันแต่เป็นเวทนาตามธรรมชาติแต่ขาดการปรุงแต่งของกิเลสตัณหาหรือเวทนานั้นหมดจด(อันยังให้เกิดตัณหา,อุปาทานไม่ได้ เมื่อไม่เกิดอุปาทานก็ทําให้เกิดอุปาทานทุกข์ไม่ได้เช่นกัน) เป็นสติที่เกิดจากความเพียรจนเป็นมหาสติและเข้าใจอย่างลึกซึ้งตามความเป็นจริง(ปัญญา)
ในปุถุชนนั้นเมื่อเกิดเวทนาขึ้น ย่อมมีสัญญาหมายรู้เกิดขึ้นเช่นกัน ดังนั้นถ้ามีสติรู้เท่าทันเวทนา สัญญาหมายรู้นั้นย่อมหมายรู้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง อย่างในกรณีที่เราตีตัวเอง ก็เกิดแต่เหตุปัจจัยนี้คือสัญญาหมายรู้(โผฏฐัพพะสัญเจตนา)นั้นรู้ดีอยู่ว่าเป็นเราทดสอบตีตัวเอง ดังนั้นแทนที่จะเป็นสังขารขันธ์ของความโกรธ(ปฏิฆะ)เช่นคนอื่นมาตีเรา กลับกลายเป็นสังขารที่ใช้ในการดับทุกข์ คือ สติที่รู้ดีว่าอะไรเป็นอะไร จึงไม่เกิดทุกข์ เกิดแต่เพียงทุกขเวทนาจากการกระทบผัสสะ, เจ็บหรือไม่เจ็บ ลองตีแรงๆดู แล้วพิจารณาโดยแยบคายด้วยว่า ย่อมเกิดทุกขเวทนาทางกายชัดเจนแจ่มแจ้งตามธรรมหรือตามจริงจากการผัสสะนั่นเอง ส่วนทุกขเวทนาทางใจก็อาจเห็นได้ชัดถ้าตีแรงพอ แต่ต้องสังเกตุให้ชัดเจนแจ่มแจ้งอย่างหนึ่งว่า เป็นทุกขเวทนาโดยธรรมหรือธรรมชาติ จึงไม่เป็นทุกข์อย่างเร่าร้อนเผาลนให้กระวนกระวายทางใจ จริงหรือไม่? จึงยังไม่เป็นทุกข์อุปาทานที่แสนเร่าร้อนเผาลนที่พระองค์ท่านทรงเพียรสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้ดับไป
ดังนั้นกระบวนจิตของพระอริยเจ้า หรือปุถุชนที่มีความคิดที่ไม่ก่อทุกข์ก็จักดําเนินไปตามกระบวนการของขันธ์๕ อันไม่เป็นทุกข์ เป็นไปดังนี้
หู เสียง โสตวิญญาณ สัญญาจำ(สัททสัญญา) เวทนา สัญญาหมายรู้(สัททสัญเจตนา) สังขารขันธ์ อันเป็นผล---->สัญเจตนา---->มโนกรรม
หรือเขียนแบบสั้นๆดังนี้
หู เสียง โสตวิญญาณ ผัสสะ เวทนา สัญญา สังขารขันธ์
คราวนี้เราลองมาพิจารณาทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น แต่เป็นไปตามกระบวนธรรมการเกิดทุกข์ แทนที่จะเป็นไปตามกระบวนธรรมขันธ์๕ คือเมื่อเกิดทุกขเวทนาขึ้นแล้ว เกิดความไม่อยากให้มี ไม่อยากให้เกิด ไม่อยากให้เป็น มีความรู้สึกอยากผลักไสความรู้สึกที่เป็นทุกขเวทนาออกไป มีการต่อล้อต่อเถียงกับจิต(คิดปรุงแต่ง) เหล่านี้ล้วนเป็นอาการของวิภวตัณหา ตัณหาความไม่อยาก(หรืออยากที่จะไม่ให้มี ไม่ให้เป็นเช่นนั้น) ซึ่งนักปฏิบัติหลายๆท่านมักจะไม่สังเกตุวิภวตัณหานี้ หรือสังเกตุเห็นแต่ไปเข้าใจว่าเป็นของดี จึงมัวแต่คอยสังเกตุตัณหาความอยาก(ภวตัณหา)แต่ฝ่ายเดียวเป็นสำคัญ ดังนั้นเมื่อเกิดทุกขเวทนาขึ้นมาจึงเป็นปัจจัยให้เกิดวิภวตัณหาในเวทนานั้นทันที ซึ่งนํามาเขียนเป็นกระบวนการของจิต ต่อจากเวทนาได้ดังนี้
ในกระบวนธรรมข้างต้นนั้น อาจสังเกตุเห็นว่าสัญญาหายไป เพราะนำมาเขียนแบบปฏิจจสมุปบาทการเกิดขึ้นของทุกข์แล้ว สัญญานั้นแฝงอยู่ในทีอยู่แล้ว เพราะสัญญาก็คือ อาสวะกิเลส ที่นอนเนื่องซึมซายย้อมจิตอยู่นั่นเอง จึงเป็นสัญญาประกอบด้วยกิเลสอยู่ในทีหรือสัญญูปาทานขันธ์
เมื่อเกิดตัณหาความไม่อยากในเวทนานั้นแล้ว จิตก็ต้องดําเนินการต่อไปให้เป็นไปตามตัณหาที่เกิดขึ้นแล้วนั้น คือความไม่อยากให้เกิดให้เป็น เพื่อให้ตัวตน,ของตนเกิดความพึงพอใจจึงเป็นเหตุให้เกิดอุปาทาน คือ เจตนาหรือความคิดอ่านให้เป็นไปตามกิเลสหรือความยึดมั่นของตัวตน จึงไปยึดมั่นในการผลักไสสิ่งที่ไม่อยากนั้น และผลลัพธ์ของอุปาทานนี้เองที่ไปยังให้เกิดภพอันคือสภาวะหรือบทบาทที่จิตตกลงใจจะกระทําใดๆลงไป กล่าวคือถ้าอุปาทานความพึงพอใจนั้นได้รับการสนองตอบก็จะเกิดภพแห่งความสุขทางโลกๆ-กามราคะ-กามภพ ถึงจะเป็นสุขในทางโลกได้ชั่วขณะก็จริง แต่ก็จักนําพาไปสู่ทุกข์ในที่สุด เพราะสุขเหล่านี้จะเก็บจําอยู่ในรูปอาสวะกิเลสเช่นกัน อันยังให้เกิด โสกะ ปริเทวะ คือความเศร้าโศกและการครํ่าครวญอาลัยโหยหาในความสุขนั้น อันยังผลให้เกิดทุกข์ในที่สุด อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่ถ้าอุปาทานความพึงพอใจนั้นไม่ได้รับการตอบสนองกล่าวคือยังเกาะติดทุกขเวทนานั้นอยู่ผลักไสไม่ออกเพราะเกิดวิภวตัณหาความไม่อยากนั้นมาครอบเสียแล้ว ภพหรือสภาวะที่เกิดนั้นก็จะเป็นภพแห่งความทุกข์ เช่นขุ่นข้อง เคืองใจ (ปฏิฆะ) อันเขียนเป็นกระบวนการของจิต ต่อได้ดังนี้
เมื่อจิตได้ตกลงเลือกวิถีของจิตแล้ว(ภพ-สภาวะหรือบทบาทที่ตกลงใจ) เป็นอันว่าเกิดความทุกข์ขึ้นทันที จิตเกิดมีหน้าที่หรือภพที่จะต้องกระทํา กล่าวคือ ถูกครอบงําให้เป็นไปตามบทบาทหรือสภาวะที่เลือก จิตจึงเกิดภาระหน้าที่ดิ้นรนกระทําไปตามบทบาทหรือสภาวะนั้นๆภายใต้อิทธิพลครอบงําของความพึงพอใจของตนเป็นหลัก(อุปาทาน) ตัณหาอันคือสังขารขันธ์อย่างหนึ่ง จึงแปรไปเป็น อุปาทานสังขารขันธ์ (สังขารูปาทานขันธ์)
หู เสียง โสตวิญญาณ ผัสสะ เวทนา ตัณหา(วิภวตัณหา) อุปาทาน ภพ ชาติ คืออุปาทานสังขารขันธ์ (สังขารูปาทานขันธ์) |
ต้องการดูวงจรปฏิจจสมุปบาทและอุปาทานขันธ์๕โดยละเอียด คลิกที่นี่
อุปาทานสังขารขันธ์นี้ เช่น มโนกรรมความคิดนึก แยกดูดีๆไม่เหมือนความคิดนึกปกติของขันธ์๕ที่เกิดขึ้นเพราะมีอํานาจของความพึงพอใจเพื่อตัวตนของตนแฝงอยู่เต็มเปี่ยม(อุปาทาน) เกิดเป็นพลังขับดัน และเพราะการปรุงแต่งจึงเอาความคิดนึกหรืออุปาทานสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นนี้มาเป็นธรรมารมณ์ อันเป็นอายตนะภายนอกเช่นเดียวกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส (และธรรมารมณ์) มาก่อให้เกิดขันธ์๕ แบบมีอุปาทานครอบงำแล้วหรืออุปาทานขันธ์๕วนเวียนขึ้นอีกหลายๆครั้ง ซึ่งผู้เขียนเรียกความคิดนึกที่เกิดในลักษณะนี้ว่าความคิดนึกปรุงแต่ง เป็นไปตามวงจรของอุปาทานขันธ์ ๕ ที่แสดงนี้
ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ......ธรรมารมณ์ ใจ วิญญูาณูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ วงจร ปฏิจจสมุปบาท อุปาทานขันธ์๕ อันเกิดวนเวียนอยู่ใน ชรา อันเป็นทุกข์ ดำเนินไปตามวงจรใหม่ อาสวะกิเลส มรณะ ......สังขารูปาทานขันธ์ เกิดมโนกรรมคิดที่เป็นทุกข์ สัญญูปาทานขันธ์ ภาพขยายในชรา ล้วนเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ เพราะเกิดจากสังขารูปาทานขันธ์ในชาติ อันถูกครอบงําโดยอุปาทานแล้ว |
ภาพขยายในชรา ล้วนเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ เพราะเกิดจากสังขารูปาทานขันธ์ในชาติ อันถูกครอบงําโดยอุปาทานแล้ว
และแน่นอนความคิดนึกปรุงแต่งเหล่านี้ ล้วนย่อมแฝงอุปาทานความเป็นตัวกูของกูที่เกิดขึ้นแล้วนั้นมากับธรรมารมณ์หรือความคิดนึกปรุงแต่งนี้ด้วย ดังนั้นเมื่อต้นกระบวนการของขันธ์๕ที่เกิดสืบต่อไปนั้นมีอุปาทานแฝงทํางานอยู่ด้วยย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้กระบวนการต่างๆที่เกิดสืบเนื่องอยู่ภายใต้อิทธิพลของอุปาทานล้วนสิ้นเช่นกัน เป็นไปตามกฎอิทัปปัจจยตา เมื่อสิ่งนี้มี ผลนี้จึงมี ดังนั้นขันธ์๕ที่เกิดใหม่นี้จึงล้วนเป็นอุปาทานขันธ์ในทุกๆขันธ์ที่เกิดทั้งสิ้นที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวว่าเป็นทุกข์ ที่หมายถึงอุปาทานทุกข์นี้นี่เอง และถ้าสติไม่รู้ทันเวทนาหรือความคิดนึกปรุงแต่งนี้อีกก็จักเกิดอุปาทานขันธ์๕ เกิดๆดับๆ อันย่อมต้องเกิดเวทนาชนิดที่มีอุปาทานครอบงํา(เวทนูปาทานขันธ์)แล้วเกิดขึ้นวนๆเวียนๆเช่นกัน ทําให้อยู่ในความทุกข์ของเวทนูปาทานขันธ์เป็นระยะเวลานานๆอย่างต่อเนื่อง และเป็นเหตุปัจจัยเป็นพลังไปขับดันให้เกิดทุกข์อื่นๆอีกอันเนื่องมาจากจิตอันขุ่นมัว เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นกระบวนการเกิดทุกข์ ปฏิจจสมุปบาท ที่เป็นเหตุให้พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้
หลายท่านอาจเคยเกิดความคิดดังนี้ขึ้นมาเช่น ถ้าเช่นนั้นเราไม่เอาทุกขเวทนา เราอยู่แต่กับสุขเวทนาหรือความสุขเราก็พ้นทุกข์แล้ว ก็จริงอยู่ แต่ปัญหาใหญ่ก็คือ มันไม่เที่ยง ต้องแปรปรวน และดับไป อย่างแน่นอน ไม่มีใครบังคับให้เป็นไปตามปรารถนาได้ตลอดไป แม้แต่ สิ่งศักสิทธิ์ เทวดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ ใดๆก็ไม่สามารถช่วยได้ เพราะเป็นกฎธรรมชาติตามพระไตรลักษณ์อันยิ่งใหญ่กว่า และขอให้ท่านโยนิโสมนสิการหรือสังเกตุกระบวนการทางจิตที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบนี้ให้ดีว่าทําไมสุขนั้น หรือความสุข สมหวังทางโลกนั้นจึงไม่ใช่สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงตั้งใจสั่งสอน และยังกล่าวว่า " เป็นทุกข์ "
เมื่อกระบวนการขันธ์๕ เกิดสุขเวทนาขึ้น และดําเนินไปจนสิ้นสุดเกิดสังขารขันธ์ทั้งทางกาย วาจา และใจอันเปี่ยมไปด้วยความสุข สนุกสนาน พึงพอใจแล้ว เหตุไฉนพระอริยะเจ้าทั้งหลายจึงว่ากล่าวว่า เป็นทุกข์?
เพราะสุขนั้นไม่ยั่งยืน แปรปรวน เปลี่ยนแปลง และดับไปในที่สุดดังที่กล่าวไว้แล้ว นอกจากนั้นการที่ได้รับการตอบสนองความพึงพอใจอยู่เสมอๆย่อมทําให้กิเลสตัณหานั้นกล้าแข็ง เติบโตขึ้นทุกขณะจิตโดยไม่รู้ตัว เรามักมองไม่ค่อยออกในความกล้าแข็งขึ้นของกิเลสตัณหานี้ ลองพิจารณาดูดังนี้ ในครั้งแรกของชีวิตเราอยากมีรถใหม่ๆใช้สักคัน เราเลือกตามความอยากและความพอดีในทรัพย์ของเรา เมื่อกาลเวลาผ่านไป ความยินดีในรถคันนั้นย่อมแปรปรวนไปตามกาลเวลา เมื่อถึงคราวต้องซื้อหรือเปลี่ยนใหม่ ท่านลองพิจารณาตัวเองดูสิ ว่าท่านอยากได้รถที่ดีขึ้น สวยขึ้นเป็นธรรมดาหรือไม่ หรืออยากได้รถรุ่นพอๆกับคันเดิมหรือถูกลงกว่าเดิม หรือมีข้ออ้างใดๆให้ซื้อดีขึ้น แพงขึ้น ถูกใจขึ้นกว่าเดิม, หรือการเคยมีรถขับ ถ้าไม่มีหรือรถเสียจะหงุดหงิดเพราะอะไร ทั้งๆที่เมื่อก่อนไม่จําเป็นต้องมี นี่คือตัวอย่างอาการของกิเลสตัณหาที่กล้าแข็งขึ้นอย่างง่ายๆ, นอกจากนั้นแล้วความสุขทางโลกๆนั้นเมื่อเกิดขึ้นอันยังให้เกิดภพแห่งความสุข ไม่ว่ากามภพ รูปภพ อรูปภพใดๆก็ตาม ก็ยังผลให้อุปาทานขันธ์๕ที่เกิดต่อนั้นเป็นไปแบบสุขๆไปด้วย แต่เมื่ออุปาทานขันธ์๕แบบเป็นสุขนั้นได้ดับไปในที่สุด แม้จะเป็นอุปาทานขันธ์๕อันเป็นความสุขอันเหลือล้นก็ตามจะยิ่งถูกจัดเก็บไว้ในความทรงจําที่ท่านเรียกว่าอาสวะกิเลส อันจะยังให้เกิดทุกข์ในภายหลังเพราะโสกะ ความโศกจากการสูญเสีย หรือพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบ หรือปริเทวะ ความครํ่าครวญ อาลัย คิดคำนึงถึงสิ่งที่รักที่ชอบ ที่ได้ดับไป เสื่อมไป หรือพลัดพรากไป ซึ่งเป็นกิเลสอันทําให้จิตขุ่นมัวและเศร้าหมองในกาลต่อไปข้างหน้า อันจักทําให้เกิดวงจรของทุกข์เนื่องต่อไปไม่จบสิ้น ดําเนินต่อไปไม่มีที่สิ้นสุดไม่มีประมาณ ซึ่งก็คือก่อให้เกิดทุกข์ขึ้นอีกในอนาคตหรือกาลข้างหน้าอีกอย่างแน่นอน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าสุขก็คือทุกข์อย่างละเอียดอ่อน อันจะก่อเป็นโทษทุกข์ภัยในภายหน้า
และตามความเป็นจริงแล้ว สุขนั้นไม่มี คำว่า สุข เป็นเพียงภาษาบัญญัติโดยทางโลกซ้อนความหมายของคำว่า "ดับทุกข์" นั่นเอง ถ้าโยนิโสมนสิการในปฏิจจสมุปบาทโดยแยบคายจะพบว่า สุข นั้นเกิดขึ้นแต่การต้องสร้างความทุกข์ โดยตัณหาความอยาก หรือไม่อยากในสิ่งใดๆขึ้นมาก่อน อันเป็นทุกข์เร่าร้อน กระวนกระวาย และถ้าดับทุกข์นั้นได้คือเป็นไปตามตัณหาอุปาทาน ก็เป็นมารยาของจิตที่เรียกว่า ความสุข นั่นเอง
ธรรมชาติของจิตและนํ้า
อันเป็นสภาวะโดยปกติธรรมชาติ(ปรมัตถ์)ที่เป็นจริงอยู่เช่นนี้
(เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมหรือภาพพจน์ได้ชัดเจนขึ้น)
ธาตุจิตนั้นมีคุณสมบัติบางประการเปรียบประดุจดั่งธาตุนํ้า อันอาจเป็นเหตุที่ทำให้มีคำว่า นํ้าจิต หรือนํ้าใจ
นํ้านั้นไร้รูปร่าง ไร้ขอบเขต แปรปรวนไปตามสิ่งแวดล้อมหรือภาชนะที่บรรจุหรือรองรับ, จิตนั้นก็ไร้รูปร่าง ไร้ขอบเขต แปรปรวนไปตามสิ่งแวดล้อมที่กระทบสัมผัส(ผัสสะ),
นํ้าประกอบด้วยเหตุปัจจัยต่างๆมาประชุมรวมกันชั่วระยะหนึ่งเช่น H และ O, จิตแม้เป็นนามธรรมก็เกิดแต่เหตุปัจจัย และประกอบด้วยเหตุปัจจัยยิ่งมากหลายมาประชุมกันชั่วระยะหนึ่ง(มีกล่าวไว้ในบทอื่นๆแล้ว)จิตประกอบด้วยปัจจัยต่างๆเช่น กาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตลอดจนอารมณ์(สิ่งที่จิตยึดเหนี่ยวหรือกระทบสัมผัส เช่น รูป เสียง กลิ่น...)และปัจจัยต่างๆอีกมากมาย (การพยายามหาจิตอยู่ที่ใด จึงหาไม่เจอ)
นํ้ามีคุณสมบัติไหลลงสู่ที่ตํ่าเพราะแรงดึงดูดโลก, จิตก็มีคุณสมบัติเหมือนดั่งนํ้าที่ย่อมไหลลงสู่ที่ตํ่า แต่ตามแรงดึงดูดของความเคยชินที่ได้สั่งสมอบรม(สังขาร)หรือกิเลสตัณหาแลอุปาทานนั่นเอง, อันคือหมุนไปตามภวจักรปฎิจจสมุปบาทนั่นเอง คือเป็นไปตามสังขารที่สั่งสมอบรมไว้
ถ้าเราต้องการยกระดับนํ้าให้สูงขึ้น ย่อมต้องออกแรงพยายามฉันใด, จิตจักยกระดับให้สูงขึ้นเป็นโลกุตระคือสภาวะเหนือจากทางโลกๆได้ ก็ย่อมต้องการการพยายามปฏิบัติฉันนั้น,
การยกระดับนํ้าให้สูงขึ้นโดยใช้วิธีการที่ถูกต้องเช่นเครื่องกล,ภาชนะหรืออุปกรณ์ที่ถูกต้อง ย่อมยกระดับนํ้าได้รวดเร็วฉันใด, จิตก็ย่อมต้องการการปฏิบัติอันถูกต้องจึงจักยกระดับจิตให้สูงขึ้นได้เร็วฉันนั้น,
ธรรมชาติของนํ้า เดือดพล่านเพราะไฟฉันใด, จิตย่อมเดือดพล่านเพราะไฟ อันร้อนแรงของกิเลส ตัณหา อุปาทานฉันนั้น
นํ้าบริสุทธ์คือนํ้าที่ไม่มีสิ่งเจือปน, จิตบริสุทธ์ก็คือจิตเดิมแท้ที่ไม่เจือด้วยกิเลสตัณหาอุปาทานนั่นเอง หรือจิตเดิมแท้นั่นแหละคือจิตพุทธะ อันมีอยู่แล้วในทุกผู้คน เพียงแต่ถูกบดบังหรือครอบงําด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน
ข้อสังเกตุ นักปฏิบัติที่เจริญก้าวหน้าแล้วหยุดหรือพอใจแค่นั้น จึงถูกธรรมชาติของจิตเล่นงาน ไหลกลับลงสู่ความเคยชินตามที่ด้สั่งสม, อบรมไว้ หรือตามกิเลส,ตัณหา,อุปาทาน, ทําให้กลับคืนสู่สภาพเดิมๆในไม่ช้าก็เร็ว อันเป็นไปตามอำนาจของสังขารที่ได้สั่งสมไว้นั่นเอง
แยกแยะเวทนาและสังขารขันธ์ ของขันธ์๕ อันเป็นกระบวนธรรมของผู้ที่มีชีวิต
ท่านเคยถูกของร้อนๆจัดไหม ?
ไฟ (ถูก)มือ กายวิญญาณ ผัสสะ สัญญาจํา เวทนา สัญญาหมายรู้ประเภทสัญชาตญาณอันมีมาแต่เกิด สังขารขันธ์ สัญเจตนา กรรม
เวลาเราถูกไฟ เราจะเกิดความรู้สึกรับรู้้ในความร้อนที่เกิดแต่กายไปสัมผัสไฟ นั่นแหละเป็นเวทนา ชนิดทุกขเวทนา
อาการที่กายสะดุ้งออกจากไฟอันใด เช่น กระโดดหรือสะดุ้งชักมือออกจากไฟ ฯ. เป็นสังขารขันธ์ ที่ทำให้เกิดเจตนากระทำ(สัญเจตนา)ทางกาย หรือกายกรรม
อาการอุทานคำพูดใดๆออกมา เช่น โอ๊ยเจ็บจัง ฯ. เป็นสังขารขันธ์ ที่ทำให้เกิดเจตนากระทำ(สัญเจตนา)ทางวาจา หรือวจีกรรม
อาการคิดนึกขึ้นใดๆในใจ เช่นเจ็บจัง ร้อนจัง โดนอีกแล้ว ฯ. เป็นสังขารขันธ์ ที่ทำให้เกิดเจตนากระทำ(สัญเจตนา)ทางใจ หรือมโนกรรม
เขียนแบบแสดงรายละเอียดของเวทนาที่ย่อมเกิดขึ้นได้ทั้งต่อกาย และใจ และสังขารขันธ์ที่ย่อมแสดงออกได้ทั้งทางกายกรรม, วจีกรรม และมโนกรรม หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อแสดงโดยละเอียด จึงเป็นไปดังนี้
เวทนาทางกาย ทางกาย
ไฟ (ถูก)มือ กายวิญญาณ ผัสสะ สัญญาจํา สัญญาหมายรู้ สัญเจตนา กรรม ทางวาจา
เวทนาทางใจ ทางใจ
การมีสติเห็นเวทนาที่เกิดขึ้น อันหมายถึงรู้เท่าทันว่าเวทนาเยี่ยงไร เป็น เวทนานุปัสสนา ในสติปัฏฐาน๔ (สังเกตุว่ารู้เท่าทันแต่ก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่ดี คือยังไงๆก็เป็นทุกขเวทนา เพราะเป็นสภาวธรรม อันเป็นเพียงความรู้สึกในการรับรู้ที่ออกไปทางไม่ชอบใจไม่ถูกใจหรือในทางลบ แต่ยังไม่ใช่ความทุกข์จริงๆที่ประกอบด้วยอุปาทานจึงเผาลนกระวนกระวาย)
มีสติเห็นความคิดใดๆในใจที่ประกอบด้วยอาการของจิตเช่นโทสะ ที่เกิดขึ้นว่าเป็นเยี่ยงไรเป็น จิตตานุปัสสนา ในสติปัฏฐาน๔
ลองพิจารณาดู พระอริยเจ้าและปุถุชนมีขันธ์ ๕ ดังเช่นนี้ เหมือนกันหรือไม่
ถ้ามีขันธ์ ๕ เฉกเช่นกัน แล้วต่างกันตรงไหน ? เหตุไฉนท่านจึงไม่เป็นทุกข์ รักษาอาการทางกายไปตามควรตามหน้าที่ ส่วนปุถุชนนั้นเล่า ส่วนใหญ่เกิดอะไร ? กล่าวคือดำเนินไปตามกระบวนธรรมการเกิดขึ้นของทุกข์ปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง
เราคงจะพอเห็นแล้วว่า สิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบและสั่งสอนมาเป็นเวลากว่า ๒๕๐๐ ปีมาแล้วนั้น จริงๆแล้วล้วนเป็นวิทยาการที่เหนือลํ้ากว่ากาลสมัย เป็นของทันสมัย ทันวิทยาการในทุกยุคสมัย เป็นอกาลิโก ไม่ถูกจำกัดด้วยกาลเวลา เพราะตั้งอยู่บนหลักของความจริงและความถูกต้องสูงสุด(ปรมัตถ์)ทั้งทางรูปธรรมและนามธรรมนั่นเอง จึงต้องเป็นไปเช่นนี้เอง เพียงแต่ภาษาหรือการสื่อสอน อันเป็นสังขารอย่างหนึ่งนั้น ย่อมอยู่ภายใต้กฏพระไตรลักษณ์ จึงมีการเปลี่ยนแปลง แปรปรวนไปบ้างตามกาลเวลา และการขยายความอันสืบทอดกันมาแต่โบราณย่อมมีการแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือผิดพลาดบ้างเป็นธรรมดาของโลก ตลอดจนความแตกต่างกันในการตีความหมายที่ใช้สื่อกันในแต่ละยุคสมัย, แต่แก่นธรรมนั้นยังคงทันกาลสมัย ถ้าสามารถตีความเข้าใจได้ สมดังคํากล่าวที่กล่าวสืบกันต่อๆมาว่า
อกาลิโก
ให้ผลได้ไม่จํากัดกาล
เมื่อเกิดเวทนาขึ้น
ก็เกิดความเคยชินที่สั่งสม(กิเลส) จึงไปอยากหรือไม่อยาก หรือไปยึด"ความรู้สึก"นั้นไว้ว่าเป็นของกู
ตามที่ได้สั่งสมอบรมไว้มาแต่เก่าก่อน
นั่นแหละที่ยังให้เกิดทุกข์อุปาทาน
หรือความทุกข์จริงๆ
ข้อคิด
หยุดคิดนึกปรุงแต่ง
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ได้กล่าวอยู่เนืองๆว่า อย่าส่งจิตออกนอก ด้วยเหตุเพราะตัณหาที่เกิดนั้นอาจไม่ได้เกิดจากเวทนาของความคิดหรือสังขารขันธ์แรกแต่ฝ่ายเดียว แต่เกิดตัณหาจากเวทนาของความคิดนึกปรุงแต่งที่เกิดขึ้นตามหลังมาเรื่อยๆก็ได้ หลวงปู่จึงมักกล่าวอยู่เสมอๆว่าอย่าส่งจิตออกนอก(ไปคิดนึกปรุงแต่ง) เพราะจะยังให้เกิดทุกข์ขึ้นตามมาในที่สุดนั่นเอง
พุทธพจน์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุ(ตา)และรูป เกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบกันของธรรมทั้ง๓เป็นผัสสะ และเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อม(ต้อง)เกิดความเสวยอารมณ์(เวทนา) เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง
เขา(บุคคล)อันสุขเวทนาถูกต้อง(กระทบ)แล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่
อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไห้ ไม่คร่ำครวญทุ่มอก ไม่ถึงความหลง(โมหะ) พร้อมจึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่
อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้อง(กระทบ)แล้ว ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น(เกิดขึ้น) ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงไม่มีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนาบรรเทา, ละปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา, ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังวิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ
ข้อความเดียวกันใน เสียง-หู, กลิ่น-จมูก, รส-ลิ้น, สัมผัส-กาย, ธรรมารมณ์-ใจ
อันจักได้มรรคปฏิบัติจากขันธ์๕ ดังนี้
เมื่อมีสุขเวทนาเกิดขึ้น
ไม่เพลิดเพลิน
ไม่คิดหรือพูดถึง
ไม่ยึดติดหรือติดเพลิน(ความสุขอันเป็นแค่สุขเวทนานั้น)
อันมักจะยังให้เเกิดความอยาก หรือภวตัณหา
เมื่อมีทุกขเวทนาเกิดขึ้น
ไม่เศร้าโศรก
ไม่รู้สึก(คิด)ว่าลําบาก
ไม่รํ่าไห้,ไม่ครํ่าครวญ
ไม่หลง(โมหะ)
อันมักจะยังให้เเกิดความไม่อยากหรือผลักไส หรือวิภวตัณหา
เมื่อมีอทุกขมสุขหรือเฉยๆเกิดขึ้น
มีสติรู้ว่า เกิดขึ้น
ดับไป
คุณ
โทษ
และการสลัดออกโดยรู้ตามความเป็นจริงสภาวะธรรม
เกิดขึ้นเพราะเป็นสภาวะธรรม ธรรมดา แต่เพราะอทุกขมสุข มักไม่รู้สึกเพราะจับความรู้สึกรับรู้ไม่ได้ชัดเจน
จึงมักปล่อยกายและใจ ไม่สังวรระวัง
จึงเป็นเหตุให้ปล่อยใจไปคิดนึกปรุงแต่งจนเกิดทุกข์ในที่สุด
อันมักจะยังให้เกิดได้ทั้งความอยากและความไม่อยาก อันใดก็ได้
แล้วแต่ความคิดนึกปรุงแต่งนั้นๆ
ขันธ์ ๕ (๓) เพิ่มเติมรายละเอียดต่างๆ