ไปสารบัญ

หัวข้อธรรม ๑  

 สังขารขันธ์ ในขันธ์ ๕

             คลิกขวาเมนู

        สังขารขันธ์ เป็นสังขารปรุงแต่งอย่างหนึ่งเช่นกัน จึงเกิดขึ้นมาจากการปรุงแต่งเป็นเหตุปัจจัยกันของขันธ์อื่นอีกทั้ง ๔ กับเหตุต่างๆคือสิ่งที่มากระทบคืออายตนะภายนอกทั้งหลาย   มีความหมายเฉพาะตัวว่า

        "สังขารขันธ์ ในขันธ์ ๕ จึงมีความหมายว่า ธรรม(คือสิ่งที่ไปปรุงจิต ดังเช่น อารมณ์ทางโลกต่างๆ, ความรู้สึกหรืออาการของจิตต่างๆ เช่น โกรธ) ที่ไปปรุงแต่งจิตให้เกิดสัญเจตนา(ความเจตนา,ความจงใจ,ความคิดอ่าน) ซึ่งยังผลให้เกิดการกระทำ(กรรม)ต่างๆ ได้ทั้งทางดี ชั่ว และแม้กลางๆ(แม้ที่ใช้ในการงานในชีวิต) แสดงผลออกมาได้ทั้งทางกาย(กายกรรม) ได้ทั้งทางวาจา(วจีกรรม) และทั้งทางใจก็คือมโนกรรมซึ่งก็คือความคิดนึกต่างๆอันเป็นผลที่เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากสังขารขันธ์นั้นเป็นเหตุปัจจัยนั่นเอง

        กล่าวคือเมื่อเกิดการผัสสะกันของอายตนะใดๆก็ตามทีแล้ว ย่อมเกิดสังขารขันธ์เป็นผลขึ้นเป็นที่สุด  และสังขารขันธ์นี้นี่เองที่ยังเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดกรรมคือการกระทำต่างๆขึ้นเนื่องต่อไปอีกด้วย  แม้ทางใจซึ่งก็คือมโนกรรมด้วย  ดังภาพ

กระบวนธรรมของขันธ์ทั้ง ๕...ดำเนินไปจนเกิด....สังขารขันธ์ anired06_next.gif สัญเจตนา anired06_next.gif มโนสังขาร  anired06_next.gif มโนกรรม(ความคิดนึกที่เกิดจากสังขารขันธ์เป็นเหตุปัจจัย)

        พูดง่ายๆ สังขารขันธ์นี้นี่เอง ที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดเจตนา(สัญเจตนา) และขับดันให้เกิดกรรมคือการกระทำต่างๆขึ้น ทั้งความคิดนึกที่เป็นผลจากการผัสสะ คือมโนกรรมในผู้ที่ยังดำรงขันธ์หรือชีวิตอยู่  และมโนกรรมนี้นี่เองที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้ทุกข์หมุนหนุนเนื่องเป็นวงจรต่อเนื่องจึงรุ่มร้อนและยาวนานดังภาพด้านล่าง  ด้วยการไปทำหน้าที่เป็นธรรมารมณ์ชนิดความคิดปรุงแต่งต่างๆอีก หรืออุทธัจจะอันเป็นสังโยชน์ขั้นละเอียด  จึงเป็นไปดังพุทธดำรัสที่ตรัสไว้ว่า

 

"เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ, เจตยิตฺวา กมฺมํ กโรมิ กาเยน วาจาย มนสา"

  "ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนานั่นแหละเป็นกรรม   เมื่อมีเจตนาแล้ว บุคคลย่อมกระทำกรรม โดยทางกาย วาจา ใจ"

 

        จึงกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า สังขารขันธ์หรืออารมณ์ทางโลกต่างๆนี้นี่เอง ที่เป็นเหตุปัจจัยขับเคลื่อนให้เกิดกรรม

คิด หรือ ธรรมารมณ์ (คิดที่เป็นเหตุ เมื่อเกิดแล้วย่อมดำเนินไปตามหตุ)       กระทบกัน เช่น ตาเห็นรูป   ใจ     anired06_next.gif    มโนวิญญูาณขันธ์     anired06_next.gif     เวทนาขันธ์

มโน กรรม                          แสดงวงจรกระบวนธรรมการทำงานของขันธ์ทั้ง ๕  ที่วนเวียนปรุงแต่ง                                    

สังขารขันธ์ เกิดมโนกรรม(เกิดคิดที่เป็นผล แม้ต้องรับผล ไม่สามารถดับได้  แต่อุเบกขาได้ จึงไม่ไปเป็นเหตุอีกได้)      สัญญาขันธ์

        ชีวิต ย่อมเป็นสังขารอย่างหนึ่ง เพราะเกิดขึ้นจากการปรุงแต่ง คือมีเหตุจากขันธ์ทั้ง ๕ มาเป็นปัจจัยแก่กันและกัน  จึงย่อมอยู่ใต้อำนาจของธรรมนิยาม ซึ่งย่อมมีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ด้วยความที่คงสภาพอยู่ไม่ได้จึงเป็นทุกข์ในที่สุด เป็นอนัตตา,  ชีวิตสามารถจำแนกแบบหนึ่งได้ว่า มีองค์ประกอบต่างๆมาเป็นปัจจัยแก่กันและกันขึ้นเป็นชีวิตชั่วขณะระยะเวลาหนึ่งนั้น จากการเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันของขันธ์ทั้ง ๕ นั่นเอง  ซึ่งขันธ์ทั้ง ๕ สามารถแบ่งตามการทำงานได้เป็น ฝ่ายกายและฝ่ายจิต  ฝ่ายกายนั้นก็คือรูปขันธ์ ๑ ซึ่งเป็นรูปธรรม,  ส่วนอีก ๔ ขันธ์ ล้วนเป็นนามธรรม คือ เวทนาขันธ์๑ สัญญาขันธ์๑ สังขารขันธ์๑ วิญญาณขันธ์๑  ทั้ง ๔ นี้จึงจัดอยู่ในฝ่ายจิต   ดังนั้น "สังขารขันธ์" จึงอยู่ในฝ่ายจิต แต่ถึงแม้เป็นฝ่ายจิต แต่ว่าเป็นเหตุปัจจัยไปปรุงจิตให้เกิดสัญเจตนา(ความจงใจ,ความคิดอ่าน)ที่ยังให้เกิดการกระทำ(กรรม)ต่างๆขึ้นได้ทั้งทางกาย,วาจาและใจ โดยอาศัยผ่านทางรูปขันธ์นี้นี่แล   และพึงระลึกอยู่เสมอว่า ขันธ์ทั้ง ๕ จำเป็นในการดำรงชีวิต และยังต้องพึ่งพา เนื่องอาศัยซึ่งกันและกัน อยู่ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่อย่างปกติ ไม่สามารถขาดขันธ์ใดขันธ์หนึ่งได้เลย และแต่ละขันธ์ก็เพียงทำงานตามหน้าที่ตน เหมือนเครื่องจักรกลอย่างหนึ่งๆเท่านั้น  การปฏิบัติทั้งปวงจึงต้องไม่ใช่การพยายามไป"ดับ"หรือไป"ละ"ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งเข้า เพราะย่อมไม่ได้ผลในที่สุด  แต่ต้องเป็นการ"ดับ"หรือ"ละ"ที่"เหตุ" ก็เพื่อไม่ให้เกิดผล คือไม่ให้ทุกข์ที่ประกอบด้วยอุปาทานเกิดการสืบเนื่องต่อวนเวียนเป็นวงจรของความทุกข์อันยาวนาน จึงเป็นการดับที่ถูกต้อง(คือไม่ให้เกิดขึ้นสืบเนื่องต่อไปอีก)  ดังอมตะวาจาที่"หลวงปู่ดูลย์ อตุโล"ได้โปรดสอนไว้ เมื่อมีผู้กราบเรียนถามท่านว่า "ท่านย้งมีโกรธ อยู่ไหม" ท่านได้ตอบว่า "มี  แต่ไม่เอา"  ซึ่งดังนี้จึงเป็นการถูกต้อง จึงต้องใช้ทั้งสติและปัญญามาโยนิโสมนสิการให้เข้าใจ ดังจะกล่าวต่อไป เพราะมิฉนั้นจะเกิดวิจิกิจฉาขึ้นได้ว่า  เอ๊ะ!ทำไมพระอริยเจ้าท่านจึงยังมีกิเลสคือความโกรธอีก!  เพราะเป็นเพียงเป็นไปในระดับขันธ์ ๕ อันเป็นวิสัยโลก จึงไม่นอนเนื่องเป็นอนุสัยคือปฏิฆานุสัยในสังโยชน์ ๑๐

        และเพราะมักไปสับสนปนเปกับ สังขารในความหมายอื่นๆ เช่น สังขารที่หมายถึงสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาทั้งปวงบ้าง  หรือสังขารที่ทางโลกใช้ไปในความหมายว่าร่างกายบ้าง ชีวิตบ้าง  แต่ครานี้ในที่นี้จะเป็นการกล่าวถึง สังขารขันธ์ ในขันธ์ ๕ เท่านั้น ซึ่งหมายถึง ธรรม(สิ่งต่างๆ ที่สามารถปรุงแต่งจิตให้เกิดอาการต่างๆของจิต หรืออารมณ์ทางโลกในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ) ซึ่งส่งผลให้เกิดการปรุงแต่งจิตให้เกิดการกระทำต่างๆขึ้นมานั่นเอง ทั้งฝ่ายดี และชั่ว อีกทั้งกลางๆที่ใช้งานทั่วๆไป ได้ทั้งทางกาย วาจา และใจ(มโนกรรม)

        พึงระลึกรู้แต่เบื้องต้นเสียก่อนว่า สังขารขันธ์เป็นขันธ์ๆหนึ่งหรือกองหนึ่งๆของชีวิต และเพียงทำหน้าที่ของตนได้เพียงเท่านั้น ไม่ทำอื่น เหมือนดังหัวใจที่ทำหน้าที่แต่เพียงสูบฉีดโลหิตแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ทำอื่น  แต่ก็ทำงานเป็นเหตุปัจจัยเนื่องสัมพันธ์กับขันธ์อื่นๆอีกด้วย,  เมื่อเป็นขันธ์จึงทำงานเป็นอิสระจากเราหรือใครๆ เพราะไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ด้วยเป็นอนัตตา จริงๆแล้วจึงควบคุมบังคับเขาคือสังขารขันธ์และขันธ์ใดๆนั้นไม่ได้เลย  เขาเกิดขึ้นและเป็นไปตามเหตุปัจจัยเท่านั้น  จะไปควบคุมบังคับ เปลี่ยนแปลง หรือทำให้ดับสูญโดยการบังคับหรือด้วยใจปรารถนาไม่ได้เลย  ดังนั้นจึงอย่าได้แปลกใจ ที่ยังมีสังขารขันธ์คืออารมณ์ทางโลกต่างๆ เช่น โกรธ เสียใจ หดหู่ ตัณหาต่างๆ ทุกข์ใจ สุขใจ ฯ. ยังคงต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  เพียงแต่ว่าพระพุทธองค์ท่านทรงรู้แจ้งในเหล่าเหตุปัจจัยนี้อย่างแจ่มแจ้ง  ท่านจึงได้โปรดเวไนยสัตว์ ด้วยการสั่งสอนให้ทำการดับที่เหตุที่จะทำให้เป็นเหตุปัจจัยสืบเนื่องให้เป็นทุกข์ต่อไปอีกไม่ได้  เพราะฉะนั้นจึงสามารถดับทุกข์ได้ด้วยวิธีการคือธรรมอันถูกต้อง  จึงไม่ใช่ไปกดข่ม ไม่ให้เกิด ไม่ต้องการให้มี ไม่ให้เป็น ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะเป็นการฝืนสภาวธรรมหรือธรรมชาติอันเป็นวิสัยของโลก

        สังขารขันธ์ คือ ธรรม(เช่น สิ่งต่างๆ, อารมณ์ทางโลกต่างๆ) ที่ไปปรุงแต่งจิต ให้เกิดสัญเจตนา(ความคิดอ่าน,เจตนา)ในการกระทำ(กรรม)ต่างๆทุกอย่าง ทั้งฝ่ายดี และฝ่ายชั่ว และแม้กลางๆโดยทั่วไปในชีวิต  หรือก็คือ สภาพที่ปรุงแต่งใจ ให้เกิดความคิดอ่านหรือความจงใจในการกระทำต่างๆ ทั้งในทางดี หรือชั่ว หรือกลางๆ ทั้งทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ ดังเช่น อารมณ์ต่างๆทางโลก รัก โลภ โกรธ หลง เกลียด กลัว สติ ฌาน สมาธิ ปัญญา ศรัทธา เมตตา ยินดี ยินร้าย สุขใจ ทุกข์ใจ หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน กังวลใจ แม้แต่อุเบกขา(ไม่ได้หมายถึงข้อธรรม แต่หมายถึงอารมณ์ทางโลกแบบเฉยๆ หรือความรู้สึกเฉยๆ หรือความรู้สึกกลางๆโดยทั่วไป เป็นหนึ่งในอาการหรือความรู้สึกอย่างหนึ่งของจิตในเจตสิก ๕๒ ข้อที่ ๓๔) เช่น เกิดเจตนาความคิดอ่านอย่างเฉยๆ(คือไม่ยินดี, ไม่ยินร้าย, หรือกลางๆ)เช่น ในการทำงาน พูดจา การเดินเหิน ฯลฯ.

        ดังนั้นแม้สังขารขันธ์เป็นฝ่ายจิต แต่ส่งผลคือเป็นเหตุปัจจัยให้เนื่องเกิดกรรม(การกระทำต่างๆ)โดยอาศัยการพึงพาอาศัยกันกับรูปขันธ์หรือกายได้  ด้วยเป็นเหตุเป็นปัจจัยปรุงแต่งจิตให้สัญเจตนาคือเจตนา,ความจงใจ,ความคิดอ่านต่างๆ ให้เกิดการกระทำต่างๆ(กรรม)ตามที่จงใจไว้ได้ทั้งในทางกาย วาจา

        เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ทางโลกจะเรียกสังขารขันธ์กันทั่วๆไปให้เข้าใจง่ายว่า "อารมณ์ทางโลก" ก็คงได้ แตกต่างกันตรงเพียงอารมณ์นั้นไม่เน้นกล่าวไปถึงเจตนาหรือสัญเจตนา  อารมณ์ทางโลก ที่หมายถึง สภาพความเป็นไปของจิต หรือความรู้สึก หรืออาการของจิต ในชั่วขณะๆหรือช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ นั้น เช่นอารมณ์โกรธ(โทสะ) ก็คือ สภาพของใจหรือความรู้สึกในขณะนั้นๆที่ประกอบหรือปรุงแต่งด้วยความโกรธความขุ่นข้อง(โทสะ)  ถ้ากล่าวเพิ่มเจตนาเข้าไปก็คือสังขารขันธ์นั่นเองซึ่งทำให้เกิดคิดอ่านกระทำในสิ่งต่างๆที่มักประกอบไปด้วยความโกรธความขุ่นข้อง ซึ่งย่อมส่งผลต่อการการกระทำหรือแสดงออกมาต่างๆได้ ทั้งในทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ ดังเช่น เกิดเจตนาคือจงใจทางกายจึงเกิดการลงไม้ลงมือทำร้ายต่างๆ  ทางวาจาเกิดเจตนาคือจงใจกระทำทางวาจาได้แก่การด่าทอ ต่อว่า เสียดสี  ส่วนทางใจนั้นเมื่อเกิดเจตนาคือจงใจหรือคิดอ่านต่างๆทางใจได้แก่การคิดร้าย หรือก่นด่า สาปแช่งในใจต่างๆนาๆ  ซึ่งจะดำเนินไปในช่วงเวลาขณะนั้นๆตราบเท่าที่ถูกครอบงำหรืออยู่ใต้อำนาจของสังขารขันธ์ชนิดโทสะความโกรธนั้นอยู่ กล่าวง่ายๆคือ การกระทำหรือการแสดงออกต่างๆมักประกอบด้วยโทสะนั่นเอง ซึ่งจะดำเนินไปชั่วระยะที่ครอบงำอยู่ จนกว่าจะดับไป  ดังนั้นอารมณ์ทางโลกเมื่อร่วมด้วยสัญเจตนา(เจตนา)แล้วก็คือสังขารขันธ์นั่นเอง ดังนั้นบางทีอาจใช้สังขารขันธ์บ้างอารมณ์บ้างตามกรณี

อารมณ์ + เจตนา = สังขารขันธ์

        สังขารขันธ์ เช่น อารมณ์หดหู่ สภาพใจหรือความรู้สึกที่มีอาการหดหู่ จึงเกิดสัญเจตนา(เจตนา)หรือจงใจหรือคิดอ่านไปปรุงแต่งให้กระทำการต่างๆ ที่มักประกอบไปด้วยความหดหู่ เหี่ยวแห้งใจ ในช่วงนั้นๆ เช่น ความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆที่มักประกอบด้วยความหดหู่  การกระทำต่างๆด้วยความหดหู่เหี่ยวแห้งใจนั้นเช่นคิดสั้น สักแต่ว่าทำ  หรือพูดจาประกอบด้วยความหดหู่

        อารมณ์กังวล สภาพของใจที่มีความวิตกกังวล จึงเกิดการกระทำหรือคิดอ่านที่ประกอบด้วยความกังวล เช่น การกระทำวนเวียนด้วยความกังวลใจ หรือย้ำพูด ย้ำคิด ย้ำทำ วนเวียนในสิ่งนั้นๆด้วยความกังวล เป็นทุกข์ เป็นห่วง ระวัง ฯ.

        อารมณ์โกรธ สภาพหรืออาการของจิต ที่ประกอบด้วยความขัดข้อง คับแค้น จึงเกิดสัญเจตนาความคิดอ่านที่ประกอบด้วยความโกรธ ขุ่นข้อง จึงเกิดกรรมทางกาย เช่น ทำร้ายทางกาย, เกิดกรรมทางวาจา เช่น ด่าทอ ต่อว่า, เกิดกรรมทางใจ เช่น สาปแช่ง นินทา ก่นด่าอยู่ในใจ อีกทั้งคิดปรุงแต่งต่างๆนาๆในทางอกุศล

        อารมณ์กลัว  อารมณ์ฟุ้งซ่าน ฯ. ก็เป็นไปในลักษณาการเฉกเช่นเดียวกัน

        (ในทางธรรมแล้ว อารมณ์ หมายถึง สิ่งที่จิตไปกำหนดหมายหรือยึดเหนี่ยวในขณะหนึ่งๆ,  ส่วนในทางโลก อารมณ์ หมายถึง สภาพความเป็นไปของจิต หรือ ความรู้สึกในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ เช่น สภาพของจิตที่ประกอบด้วยความโกรธ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรืออารมณ์โกรธในช่วงระยะหนึ่งๆนั่นเอง  จึงต้องทำความเข้าใจในทั้งสองความหมายให้ถูกต้อง และต้องแยกแยะให้ออกเมื่อกล่าวถึงอารมณ์ว่าหมายถึงความหมายใดด้วย)

        สังขารขันธ์ หรือจิตกองนี้นี่เอง จึงเป็นตัวกำหนดให้เกิดความคิดอ่านหรือเจตนา(สัญเจตนา)ไปปรุงแต่งทำให้เกิดกรรม(การกระทำ)ต่างๆ ได้ทั้งทางดีและชั่ว และกลางๆที่ครอบคลุมแม้ในการดำเนินชีวิตทั่วๆไปอีกด้วย รวมทั้งมโนกรรม จึงมีความสำคัญมาก เป็นสิ่งที่ควรมีสติรู้เท่าทัน เป็นธรรมที่พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสสอนไว้ใน จิตตานุปัสสนา ใน สติปัฏฐาน ๔ อีกด้วย กล่าวคือ ให้มีสติเห็นคือรู้เท่าทันในสังขารขันธ์ (ที่ย่อมยังให้เกิด"มโนกรรม") อันมีทั้งคุณและโทษและแม้กลางๆในการดำเนินชีวิตนั่นเอง ดังพระองค์ท่านทรงกล่าวถึง สังขารขันธ์ที่ยังให้เกิดมโนกรรมที่ควรรู้เท่าทันแล้วไม่ยึดถือ หรือละเสีย ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน ฯ. ซึ่งถ้าไม่ปล่อยวางแล้ว ย่อมให้โทษแก่ผู้ไปยึดถือยึดมั่นนั่นเอง

        แต่สังขารขันธ์นั้น  พระพุทธองค์ทรงอุปมาเปรียบเทียบไว้ว่า เป็นดั่งต้นกล้วย อันแม้ต้นแลดูทั้งอวบ ทั้งใหญ่  แลดูเผินๆแล้วน่ามีคุณค่าประโยชน์เฉกเช่นไม้ใหญ่มีค่าทั้งหลาย  แต่แท้จริงแล้วกลับไม่มีสาระ คือไม่มีแก่นแกน ไม่มีกระพี้  ไม่มีสาระใดๆดังที่เห็นเพียงผิวเผินๆ คือไม่มีแก่นแกนหรือกระพี้ที่ให้ความแข็งแรงเป็นประโยขน์ ดังเช่นไม้ใหญอันมีค่า่อื่นๆ (เปรียบเทียบขันธ์ ๕ กับสังขารอื่นๆ)

        เพราะสังขารขันธ์ ก็เป็นสังขารที่หมายถึงสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นอย่างหนึ่ง จึงย่อมไม่เที่ยง(อนิจจัง)  สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นย่อมเป็นทุกข์(ทุกขัง)เพราะความที่คงทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้  จึงย่อมมีความแปรปรวน มีการเปลี่ยนแปลง แปรปรวน จึงแปรสภาพอยู่เสมอๆเป็นธรรมดา ดังนั้นควรหรือ ที่จะไปยึดถือเสียว่า สังขารขันธ์หรืออารมณ์ทางโลกนั้นๆ "เป็นเรา เป็นของเรา เป็นอัตตาตัวตนเเรา" อีกทั้งมันต้องเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่ได้เป็นไปตามความปรารถนา เมื่อไปยึดถือเสียแล้ว จึงย่อมเป็นทุกข์เมื่อไม่เป็นไปตามปรารถนา

        สังขารขันธ์ต่างๆ นี้เองที่ยังให้เกิด เจตนา(สัญเจตนา) คือความจงใจ คือเกื้อหนุนผลักดันให้คิดอ่าน หรือครอบงำ ให้เกิดการกระทำ(กรรม)ในสิ่งต่างๆขึ้นได้ ทั้งดี ชั่ว กลางๆ ผ่านทางกาย(กายกรรม) วาจา(วจีกรรม) หรือใจ(มโนกรรม) ในชั่วขณะหนึ่งๆ

ซึ่งพอจะเขียนเป็นสมการ ให้แลดูพอให้เข้าใจง่ายๆ ในการกระบวนธรรมการทำงานเนื่องสัมพันธ์กันของขันธ์ทั้ง ๕ หรือชีวิต

                                                     ผัสสะ

ธรรมารมณ์    กระทบกัน เช่น ตาเห็นรูป ใจ  มโนวิญญาณ  anired06_next.gif  สัญญาจํา   เวทนา  สัญญาหมายรู้   สังขารขันธ์  [ anired06_next.gif เกิดสัญเจตนา(เจตนา,จงใจ) anired06_next.gif กรรม (คือ การกระทำต่างๆทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ ] เป็นไปตามสัญเจตนาที่เกิดจากสังขารขันธ์

กล่าวคือ

ความคิด(ธรรมารมณ์) เมื่อกระทบกับ ใจ  ย่อมเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด มโนวิญญาณ (โดยธรรมหรือธรรมชาติ คือยังไงก็ต้องเกิดบังคับบัญชามันไม่ได้ กล่าวคือตั้งแต่มโนวิญญาณไปแล้ว ล้วนเป็นไปตามกระบวนธรรม(ตามธรรมชาติ)ทั้งสิ้น ไม่อยู่ในอำนาจของใครแม้ตัวเรา ดุจดั่งลูกธนูที่หลุดออกจากแหล่งไปแล้วนั่นเอง) การประจวบกันของเหตุปัจจัยทั้ง ๓ ทางธรรมเรียกว่า ผัสสะ จึงเป็นเหตุปัจจัยจึงเกิด สัญญา ความจำต่างๆ ในธรรมารมณ์หรือข้อมูลสิ่งต่างๆในความคิดนั้นขึ้นมาได้เอง  จึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยจึงเกิด เวทนา ความรู้สึกต่างๆที่ย่อมต้องเกิดขึ้นจากการเสวย คือ รับรู้ในสิ่งที่กระทบนั้นโดยธรรมคือธรรมชาติ เป็นสุขจากการผัสสะหรือสุขเวทนาบ้าง  หรือเป็นทุกข์ระคายเคืองจากการผัสสะหรือทุกขเวทนาบ้าง  หรือเป็นอทุกขมสุขเวทนาบ้างตามสัญญาจำที่ได้สั่งสมมานั้นๆ  เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งต้องเกิดขึ้น จึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด สัญญาหมายรู้,วิเคราะห์,ประมวลผล หรือการคิดอ่านในสัญญานั้น คือในคิดนั้นๆขึ้นอีกครั้งเอง จึงเป็นเหตุปัจจัยจึงเกิดผลเป็น สังขารขันธ์ สภาพหรือสิ่ง ที่ปรุงแต่งใจหรืออารมณ์ทางโลก ที่ทำให้เกิดเจตนาให้กระทำในสิ่งต่างๆ ทั้งดี ชั่ว กลางๆ  จึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดสัญเจตนาคือความจงใจหรือความคิดอ่านไปผลักดันให้กระทำในสิ่งต่างๆ ในช่วงระยะเวลานั้นๆ  จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการกระทำต่างๆขึ้นได้ ทั้งทางกาย วาจา หรือใจ อันเป็นไปตามความเจตนาหรือความคิดอ่านนั้นๆนั่นเอง  กระบวนธรรมทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นในชั่วพริบตา เป็นไปตามธรรมหรือธรรมชาติหรือวิสัยโลก อีกทั้งฝึกฝนสั่งสมดำเนินมาแต่แรกเกิด จึงจำต้องใช้ปัญญาคือการโยนิโสมนสิการไล่เป็นลำดับจึงเห็นแจ้งขึ้นได้เท่านั้น

         สังขารขันธ์ สภาพต่างๆหรืออาการต่างๆของใจ ได้แก่ อารมณ์ทางโลกทั้งหลายนั่นแหละ ความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง(โมหะ) ความหดหู่  ความฟุ้งซ่าน ความรำคาญใจ  ความกังวล ความกลัว ความเดือดร้อนใจ(กุกกุจจะ) ความซึมเซา  สติ  ความมีจิตแน่วแน่  ปัญญา  สมาธิ  จิตหลุดพ้น  จิตเป็นกลางๆ  ปีติ(ความปลาบปลื้ม)  ความพอใจ(ฉันทะ) ความสุขใจ ความทุกข์ใจ  ความริษยา ความยินดียินร้าย ราคะ ดีใจ เสียใจ เฉยๆ อีกทั้งตัณหา ฯ. ดังทั้งหลายในเจตสิก ๕๐ (เจตสิก ๕๒ ยกเว้น เวทนากับสัญญาเท่านั้น)  ซึ่งสังขารขันธ์หรืออาการหรือสภาพของจิตทั้งหลายเหล่านี้จึงย่อมล้วนส่งผลให้เกิดเจตนาและเกิดกรรมหรือการกระทำต่างๆในที่สุด ซึ่งย่อมได้อิทธิพลเป็นไปตามสภาพของจิตที่เกิดขึ้นขณะนั้นๆนั่นเอง

         ดังนั้นเมื่อเกิดสังขารขันธ์ อันเมื่อปัญญาเห็นว่าให้โทษหรือสมควรแก่เหตุ จึงควรปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นหมายมั่นใดๆ ด้วยการอุเบกขา คือวางใจเป็นกลาง วางใจเฉยเสียนั่นเอง ด้วยการไม่เอนเอียงเข้าไปปรุงแต่งด้วยถ้อยคิด(ความคิด,ความนึก) หรือกริยาจิตใดๆ(ยินดี ยินร้าย ชอบ ชัง ถูก ผิด ชั่ว ดี แม้กระทั่งบุญ บาป)ในเรื่องหรือเหตุนั้นๆ เพราะถ้าไม่ปล่อยวางย่อมส่งผลให้เกิดการกระทำต่างๆทั้งทางกาย วาจา ใจ ไปตามสัญเจตนานั้นๆอย่างแน่นอน เพราะความที่ย่อมต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่สามารถควบคุมบังคับมันได้ด้วยเป็นอนัตตา  แต่ถ้าหากยังไม่มีกำลังของปัญญา(ปัญญาพละ)อันเกิดจากการพิจารณาอย่างละเอียดและแยบคาย(โยนิโสมนสิการ)จนเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งดียิ่งว่า เมื่อเกิดการปรุงแต่งต่อไปแล้วย่อมเกิดการผัสสะให้เกิดเวทนาและสังขารขันธ์ต่างๆอันย่อมทำให้เป็นทุกข์เนื่องต่อ หรือวนเวียนเป็นวงจรต่อไปอีก ย่อมไม่ค่อยได้ผล  หรือถ้าสังขารขันธ์นั้นรุมเร้ารุนแรงหรือสติไม่พอ การอุเบกขาก็อาจยังไม่มีปัญญาพละ จึงทำไม่ได้อย่างที่ควรอีกเช่นกัน  ก็ให้ใช้วิธีเปลี่ยนอารมณ์ เป็นการทำให้เกิดการปล่อยวางไม่ยึดถือได้เป็นการชั่วคราว ได้ดีอีกอย่างหนึ่ง

 

แสดงกระบวนธรรมของจิตแบบขันธ์ ๕ ที่เกิดการคิดนึกปรุงแต่งฟุ้งซ่านไม่หยุดหย่อน(อุทธัจจะ)

จิตจึงทำงานวนเวียนเป็นวงจร  จนอาจก่อให้เป็นทุกข์ในที่สุดได้

รูป หรือ ธรรมารมณ์ (คิดที่เป็นเหตุ เมื่อเกิดแล้วย่อมดำเนินไปตามเหตุ)    +    ใจ   anired06_next.gif   มโนวิญญูาณขันธ์    anired06_next.gif  เวทนาขันธ์

X มโนกรรม X                                   แสดงวงจรกระบวนธรรมการทำงานของขันธ์ทั้ง ๕                                               

สังขารขันธ์ (เกิดคิดที่เป็นผล(มโนกรรม) แม้ต้องรับผล ไม่สามารถดับได้ แต่อุเบกขาได้ จึงไม่ไปเป็นเหตุอีกได้)    สัญญาขันธ์

หรือเมื่อเป็นทุกข์เร่าร้อนดังอยู่ในวงจรปฏิจจสมุปบาทแล้ว

เมื่อยิ่งปรุงแต่งวนเวียนจึงเป็นวงจรของอุปาทานขันธ์ ๕ จึงยิ่งเร่าร้อนเผาลนและยาวนานจนสลัดไม่หลุด

 anired06_next.gif      anired06_next.gif      anired06_next.gif ตัณหา anired06_next.gif อุปาทาน anired06_next.gif ภพ anired06_next.gif ชาติ anired06_next.gif......รูปูปาทานขันธ์     ใจ   anired06_next.gif  วิญญูาณูปาทานขันธ์    anired06_next.gif   เวทนูปาทานขันธ์  

                                                                                           อุปาทานขันธ์๕ อันเกิดวนเวียนอยู่ใน ชรา อันเป็นทุกข์                      

   ดำเนินไปตามวงจรใหม่  anired06_next.gif อาสวะกิเลส anired06_next.gif มรณะ anired06_next.gif......สังขารูปาทานขันธ์ เกิดมโนกรรมคิดที่เป็นทุกข์      สัญญูปาทานขันธ์    

ภาพขยายในชรา   ล้วนเป็นอุปาทานขันธ์ อันเป็นทุกข์ เพราะเกิดจากสังขารูปาทานขันธ์ในชาติ อันถูกครอบงําโดยอุปาทานแล้ว

        จงจำไว้ให้ดี  ทั้งเวทนาและสังขารขันธ์(อารมณ์)ทั้งหลาย เช่น ความทุกข์ ความโกรธ ความเศร้า หดหู่ ฟุ้งซ่าน สุขใจ ทุกข์ใจ ยินดี ยินร้าย ฯลฯ. ต่างๆ ยังคงมีอยู่ เกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา ไม่ได้หายไปไหน จึงอย่าไปพยายาม"ละ"มัน ที่หมายถึงการไปดับโดยตรงๆ  มีหน้าที่เพียง มีสติรู้เท่าทัน และด้วยปัญญาที่รู้ว่าอันใดให้โทษหรือสมควรแก่เหตุแล้ว  ปล่อยวางด้วยรู้ว่า สักว่าเป็นเช่นนี้เอง ด้วยอาการอุเบกขาเสีย ด้วยการวางใจเป็นกลาง วางทีเฉย ไม่เอนเอียงเข้าไปปรุงแต่งด้วยถ้อยคิดใดๆในเหล่า"มโนกรรม"ต่างๆที่เกิดขึ้นจาก"สังขารขันธ์หรืออารมณ์"นั้นๆ  มันก็ไม่สามารถเนื่องให้เป็นเหตุก่อทุกข์ต่อไปอีกได้  แล้วมันก็จะเสื่อมดับไปด้วยอำนาจธรรมนิยามเอง นั่นเป็นสิ่งที่พึงปฏิบัติ

        หรือไว้ท่องพิจารณาให้คล่องเป็นคาถา  "สังขารขันธ์หรืออารมณ์ต่างๆ โลภ โกรธ หลง หดหู่ ฟุ้งซ่าน สุขใจ ทุกข์ใจ เกิดขึ้นของมันเองตามเหตุปัจจัย ไปบังคับมันไม่ได้เลย  ได้แต่มีสติ"รู้ทัน" แล้วไม่เอาหรือ"อุเบกขา"เสียนั่นเอง"

        อีกทั้งสติ ก็เป็นสังขารขันธ์อย่างหนึ่ง(เจตสิก ๕๒ ข้อที่ ๒๙) เมื่อมีสติรู้เท่าทันสังขารขันธ์คืออารมณ์อื่นๆที่เกิดขึ้น หรือมีสติร่วมเกิดขึ้นด้วยนั้น สัญเจตนาที่เกิดขึ้นตามมาย่อมเป็นไปในฝ่ายกุศลได้ดี

          มีผู้เรียนถาม"หลวงปู่ดูลย์ อตุโล"ว่า "หลวงปู่  ยังมีโกรธไหม"  หลวงปู่ตอบว่า "มี  แต่ไม่เอา"

 หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

webmaster-เป็นคำตอบตามความสัตย์จริงอันยิ่ง เหตุที่ท่านกล่าวยอมรับว่า"มี" ความโกรธอยู่นั้น เพราะโกรธนั้นก็เป็นสังขารขันธ์อย่างหนึ่งแม้เป็นอกุศลสังขารขันธ์ แต่ก็ยังคงมีอยู่เป็นธรรมดาของขันธ์ ที่ไม่สามารถควบคุมบังคับบัญชาได้ด้วยเป็นอนัตตา ไม่ว่าอริยบุคคลระดับไหน การไปดับตรงๆดื้อๆ หรือจะไม่ให้เกิดขึ้นเลยจึงย่อมไม่ได้,   แต่"ไม่เอา"ไปปรุงแต่งต่อหรืออุเบกขาสัมโพชฌงค์เสียนั่นเอง เพื่อไม่ให้เกิดการสืบเนื่องต่อไปได้  โกรธก็ย่อมเสื่อมดับไป ในขณะจิตหนึ่ง  จึงเป็นการตัดวงจรของทุกข์ไม่ให้เกิดการสืบเนื่องต่อไปเสียนั่นเอง ที่เีรยกกันทางโลกๆว่า"ดับ"ไปก็ได้   แต่ในความคาดเดาของปุถุชนนั้น มักคาดเดาไปกันเองว่าท่านต้อง "ไม่มี"  เมื่อเข้าใจผิดไปดั่งนั้น เมื่อมีการปฏิบัติจึงเห็นเป็นไปตามแนวทางตามความคิดเห็นที่เข้าใจผิด(ทิฏฐุปาทาน)ที่เกิดขึ้นและเป็นไปโดยไม่รู้ตัว จึงโน้มเอียงศึกษาค้นหาไปในทางปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ โดยการดับขันธ์คือสังขารขันธ์ทุกข์ต่างๆอย่างตรงๆดื้อๆอย่างหักหาญโดยห้าวหาญ โดยหารู้ไม่ว่าไม่สามารถไปดับขันธ์ต่างๆอันเป็นสภาวธรรมของชีวิตได้โดยตรงๆดังปิดสวิตช์ไฟ ด้วยกำลัง  แม้ด้วยฌานสมาธิที่แม้มีกำลังมากแต่ก็ได้เพียงกดข่มไว้ในชั่วขณะที่อยู่ในสภาวะนั้นเท่านั้น ที่ท่านกล่าวว่าจึงเป็นเพียง วิกขัมภนวิมุตติ  การพยายามดับโดยหักหาญจึงเปรียบเสมือน วิ่งเอาหัวชนภูเขา จึงย่อมไม่สามารถก้าวหน้าไปในการปฏิบัติได้  เพราะเป็นการไปต่อสู้กับธรรมหรือธรรมชาติ อันเป็นวิสัยของโลก จึงไม่มีวันชนะะอย่างแท้จริง  จึงต้องดำเนินกลยุทธตามหลัก"อิทัปปัจจยตา" จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ตามหลักพระศาสนา อันเป็นปรมัตถ์  

        ดังนั้นพึงเข้าใจด้วยว่า อารมณ์ต่างๆจึงยังคงเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามวิสัยโลก  แต่เมื่อเห็นว่าเป็นโทษหรือสมควรแก่เหตุแล้วก็"ไม่เอา" คือปล่อยวาง ไม่ยึดถือ หรืออุเบกขาเสียนั่นเอง เพื่อไม่ให้เกิดทุกข์สืบเนื่องต่อไปหรือดับทุกข์ลงไปนั่นเอง

        และแม้ความโกรธนี้เป็นปฏิฆะ แต่เป็นไปในระดับขันธ์ ๕ อันเพียงเป็นไปตามธรรมชาติหรือวิสัยโลก แต่เมื่อรู้เท่าทันและไม่เอาหรืออุเบกขา ก็ไม่นอนเนื่องเป็นอนุสัย(ปฏิฆานุสัย)คือไม่เป็นปฏิฆะในสังโยชน์ ๑๐ (รายละเอียดอยู่ในสังโยชน์ ๑๐)

        ทุกข์มันมีอยู่ตลอดเวลา  ทุกข์เพราะหิวกระหาย  ทุกข์เพราะเจ็บป่วย  (ส่วน)ทุกข์เพราะความทะเยอทะยานดิ้นรน อยากได้นั่นอยากได้นี่   ทุกข์เพราะความกังวลเกี่ยวข้องพัวพัน กลุ้มอกกลุ้มใจ  (คือ)ทุกข์ที่เป็นนามธรรม     (ส่วน)ทุกข์ที่เป็นรูป ก็ทุกข์เพราะหิวกระหาย กระทบเย็นร้อนอ่อนแข็ง ทุกอย่างที่มากระทบ    เพราะสัมผัสมันมีอยู่  ประสาท(วิญญาณ ๖)มันยังไม่ทันดับยังไม่ทันตาย  สิ่งทั้งหลายจะต้องมากระทบอยู่ตลอดเวลา  จะหนีทุกข์พ้นที่ไหนได้ ไปไม่พ้นหรอก   จึงว่าใครจะทิ้งทุกข์ก็ทิ้งไม่ได้  มีชีวิตอยู่ตราบใดก็ยังมีทุกข์อยู่ตราบนั้น    พระพุทธเจ้าก็เหมือนกัน  พระอริยสงฆ์สาวกก็เหมือนกัน   ถึงแม้ท่านจะพิจารณาเห็นทุกข์แล้ว  ทุกข์ก็ยังอยู่เหมือนเดิม  ท่านก็ไม่ได้ทิ้งไปไหน  แต่ว่าทุกข์มาแล้วไม่สามารถมารบกวนท่านได้  ด้วยเหตุที่ท่านเห็นชัดตามเป็นจริง ดังที่อธิบายมานั้น.......

webmaster-ปุถุชนมักไปคาดเดากันไปว่า ไม่มีเลย มีแต่พ้นทุกข์อย่างสุข สงบ สบาย แต่ฝ่ายเดียว ตามสีลัพพตุปาทานและทิฏฐุปาทาน ที่ซึมซ่านย้อมจิตกันมาแต่อ้อนแต่ออก  โดยไม่รู้ว่ายังคงมีทุกข์ธรรมชาติหรือทุกขอริยสัจยังคงเกิดมีอยู่เป็นธรรมดาของโลก เพียงแต่ทุกข์เหล่านั้นไม่ประกอบด้วยอุปาทานจึงล้วนไม่สามารถมารบกวนท่านให้เป็นทุกข์อันเร่าร้อนลนใจได้

 จากเรื่อง "ทุกข์"  โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรัง

 

อารมณ์หรือสังขารขันธ์

 

หัวข้อธรรม

 

กลับหน้าเดิม

 

กลับสารบัญ