ธรรมข้อคิดจากพระอริยเจ้า

 

คลิกขวาเมนู

 ธรรมคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุ  ล้วนแล้วแต่สอนอย่างถึงแก่นถึงแกน  ที่ถูกต้องดีงาม  สมดั่งพระพุทธประสงค์

ท่านทำหน้าที่ได้สมดังฉายาขององค์ท่านว่า "พุทธทาส" โดยบริบูรณ์

มีธรรมะต่างๆที่น่ารู้  น่าศึกษา เป็นแก่นเป็นแกนของท่านอีกเป็นจำนวนมาก

ที่ พุทธทาสศึกษา

ตลอดจน เสียงธรรมท่านพุทธทาสภิกขุ

การศึกษาข้อธรรม,ข้อเขียนของท่านนั้น  ควรศึกษาอย่างพิจารณา วางใจเป็นกลาง วางความเชื่อ ความยึดเดิมๆ ชั่วขณะ

พิจารณาตามเหตุตามผล เพราะข้อธรรมคำสอนของท่านนั้น เป็นการสอนอย่างตรงไปตรงมาเป็นที่สุด

จึงมักขัดแย้งกับความเชื่อ(ทิฏฐุปาทาน) ความยึดเดิมๆ(สีลัพพตุปาทาน)ตามที่ได้สืบทอด อบรม สั่งสมมา

อันแอบซ่อน,แอบเร้นอยู่ในจิตโดยไม่รู้ตัว จึงทำให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ และยอมรับได้ยาก

ต้องใช้การโยนิโสมนสิการในการพิจารณาในข้อธรรมบรรยายของท่านด้วยใจเป็นกลาง อย่างหาเหตุหาผล จึงจักได้รับประโยชน์สูงสุด

เรียนพุทธศาสนา ใน ๑๕ นาที ให้ความเข้าใจเบื้องต้นในพระพุทธศาสนา

มรดกของพุทธทาส มรดกที่ท่านฝากไว้ให้พุทธบริษัท

แก่นพุทธฉบับสมบูรณ์ หนังสือรางวัลชนะเลิศ Unesco

อานาปานสติ สำหรับคนทั่วไป อย่างง่าย

อิทัปปัจจยตา

รายชื่อหนังสือท่านพุทธทาส

การบวชอยู่ที่บ้าน หลักและวิธีปฎิบัติ เพื่อการประพฤติพรหมจรรย์

คู่มือมนุษย์

พระพุทธเจ้า ประสูติ-ตรัสรู้-ปรินิพพาน ตรงเป็นวันเดียวกัน

คำสอน ของฮวงโป คำสอนของนิกายเซ็น เพื่อการตรัสรู้อย่างฉับพลัน

 

สูตรเว่ยหลาง คำสอนของนิกายเซ็น    (เฉพาะส่วนหนึ่งเรื่องบุญ)

ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ

ไม่น่าจะบ้า  

พุทธศาสนา คือวิชา ที่เปลื้องปลุก         มิให้คน ทนทุกข์ เท่าเส้นขน
แต่คนรับ รับมา ท่าสัปดน                    มาทำตน ให้ทุกข์ รุกขึ้นไป
ให้ยึดมั่น ขลาดเขลา เมาศาสนา           สอนเป็นบ้า เรียนเป็นบ้า คว้ากันใหญ่
สร้างเป็นบ้า จนเป็นฝ้า บังจิตใจ            เกิดฝักฝ่าย พวกพรรค รักสู้กัน
ส่วนพระธรรม คำสอน สิ่งดับทุกข์         ไม่สนใจ ทำให้ถูก ตามหลักนั่น
หลงส่งเสริม เพิ่มทุกข์ ลุกเป็นควัน        นี่แหละพันธุ์ พวกบ้า เจ้าข้าเอยฯ

พุทธทาสภิกขุ  

 

เรียนธรรมะ

  เรียนธรรมะ อย่าตะกละ ให้เกินเหตุ         จะเป็นเปรต หิวปราชญ์ เกิดคาดหวัง

  อย่าเรียนอย่าง ปรัชญา มัวบ้าดัง            เรียนกระทั่ง ตายเปล่า ไม่เข้ารอย

  เรียนธรรมะ ต้องเรียน อย่างธรรมะ          เรียนเพื่อละ ทุกข์ใหญ่ ไม่ท้อถอย

  เรียนที่ทุกข์ ที่มีจริง ยิ่งเข้ารอย               ไม่เลื่อนลอย มองให้เห็น ตามเป็นจริง

  ต้องตั้งตน การเรียน ที่หูตา ฯลฯ             สัมผัสแล้ว เกิดเวทนา ตัณหาวิ่ง

  ขึ้นมาอยาก เกิดผู้อยาก เป็นปากปลิง      “เรียนรู้ยิง ตัณหาดับ นับว่าพอ” ฯ  

พุทธทาสภิกขุ  

 

กลับสารบัญ