ทำไม หยุดคิดปรุงแต่ง จึงเป็นหัวใจสำคัญในการปฏิบัติของนิกายเซ็น |
คลิกขวาเมนู |
(อันเนื่องมาจาก คำสอนของฮวงโป)
หยุดคิดปรุงแต่ง เป็นคำสอนและหลักปฏิบัติที่ถือเป็นหัวใจของนิกายเซ็น เซ็นกล่าวว่าการ"หยุดคิดปรุงแต่ง"สามารถทำให้บรรลุธรรมหรือตรัสรู้ได้โดยฉับพลันทีเดียว ซึ่งเปรียบเทียบกับฝ่ายเถรวาทของไทยนั้น"คิดปรุงแต่ง ก็หมายถึง "อุทธัจจะ"คิดฟุ้งซ่านนั่นเอง จึงหมายถึงการหยุดความคิดฟุ้งซ่าน หรือหยุดความคิดนึกปรุงแต่งนั่นเอง ซึ่งจัดเป็นสังโยชน์ข้อที่ ๙ ที่ผูกมัดสัตว์ไว้กับทุกข์ รองจากเพียงอวิชชาเท่านั้น จึงมีความสำคัญยิ่งตรงกัน อีกทั้งการหยุดการ"อุทธธัจจะ"หรือการ"คิดนึกปรุงแต่ง"ลงไป ซึ่งแท้จริงแล้วก็คืออาการเดียวกันของการ"อุเบกขาสัมโพชฌงค์" คือการวางใจเป็นกลาง วางใจเฉย รู้สึกอย่างใดก็อย่างนั้นตามความเป็นจริงของธรรม แต่ไม่เอนเอียงแทรกแซงเข้าไปปรุงแต่งด้วยถ้อยคิด(ความคิดนึก)หรือกริยาจิตใดๆในกิจนั้น ก็คือการหยุดคิดปรุงแต่งเช่นเดียวกันนั่นเอง แท้จริงแล้วทั้งสองก็คือสิ่งที่มีจุดหมายเดียวกัน ซึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นธรรมองค์สุดท้ายของการตรัสรู้ ในสัมโพชฌงค์ ๗ อีกทั้งเมื่อพรั่งพร้อมด้วยความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง จึงเป็นการกำจัดอวิชชา(สังโยชน์ ข้อ ๑๐)ลงไปด้วยในคราเดียวกัน จึงเกิดการตรัสรู้โดยพลันขึ้นได้ ดังที่ทางนิกายเซ็นกล่าวถึง อีกทั้งความจริงแล้วก็เป็นแนวทางดียวกับการปฏิบัติจิตตานุปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง คือจิตหรือสติเห็นสังขารขันธ์ที่ยังให้เกิดความคิดต่างๆ(มโนกรรม)นั่นเองแล้วไม่ยึดถือคือปล่อยวางหรือหยุดเสียนั่นเอง ดังนั้นในการปฏิบัติ"หยุดคิดปรุงแต่ง"นั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่ต้องจำแนกแตกธรรมให้เข้าใจแจ่มแจ้งถูกต้องถูกตัว อีกทั้งมีสติระลึกรู้เท่าทันว่า อะไรคือการคิดปรุงแต่งหรืออุทธัจจะ? และอะไรคือความคิดนึกชนิดธรรมารมณ์ที่เป็นความคิดนึกที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตเสียด้วย? จึงไม่ใช่การหยุดคิดหยุดนึกเสียดื้อๆด้วยเป็นโทษ และจึงไม่ใช่ความเข้าใจเพียงพอแค่รู้คร่าวๆ หรือพอสังเขปในใจอีกต่อไป, เมื่อปฏิบัติได้ผลย่อมบรรลุธรรม หรืออย่างน้อยที่สุดก็ย่อมดับทุกข์ได้ตามควรแห่งฐานะตน
อีกทั้งจะเห็นว่า"จิตปรุงกิเลส"
ดังนั้นการ"หยุดคิดปรุงแต่ง" หรือการ"อุเบกขาสัมโพชฌงค์" จึงเป็นองค์สุดท้ายของการปฏิบัติหรือตรัสรู้
ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากคำสอนของนิกายเซ็นกับฝ่ายเถรวาทของไทย จะเห็นได้ว่าสอดคล้องกันอย่างลงตัว จึงเป็นที่สุดของการปฏิบัติ
ความคิดนึกธรรมารมณ์ ได้แก่ความคิดนึกทั่วๆไป ที่ดำเนินในชีวิตประจำวัน เช่น คิดในกิจ คิดในการงาน คิดนึกถึงสิ่งที่หลงสิ่งที่ลืม คิดถึงเรื่องทุกข์ คิดถึงอดีต ฯลฯ. สารพัดคิด มักเป็นความคิดแรกที่เกิดขึ้นมาในช่วงขณะหนึ่งๆ ดังเช่น คิดเรื่องทุกข์ในแวบแรก คิดเรื่องต่างๆในชีวิต คิดถึงคนนั้น คิดถึงคนนี้ คิดถึงเรื่องนั้น คิดถึงเรื่องนี้ ฯลฯ. สารพัดความคิดนึกต่างๆของชีวิต ที่สามารถผุดคิด ผุดนึกได้ด้วยสาเหตุต่างๆนาๆประการ ซึ่งพึงต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาของชีวิต ความคิดนึกเหล่านี้ถือว่าเป็นความคิดนึกสามัญตามวิสัยชีวิต ตามวิสัยโลก เรียกกันทั่วไปว่า "ธรรมารมณ์" คือสิ่งที่รู้ คือรับรู้ได้ด้วยใจนั่นเอง, ซึ่งถ้าไม่มีเสียก็ดำเนินชีวิตต่อไปในโลกไม่ได้เลยทีเดียว ความคิดนึกธรรมารมณ์เหล่านี้ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเหตุร่วมกับขันธ์ทั้ง ๕ เมื่อมีเหตุแล้ว จึงย่อมเกิดผลขึ้น คือดำเนินไปตามกระบวนธรรมของจิตโดยขันธ์ทั้ง ๕ อันเป็นไปตามหลักอิทัปปัจจยตา
ส่วนความคิดปรุงแต่ง ความคิดนึกปรุงแต่ง ความคิดฟุ้งซ่าน คิดนึกฟุ้งซ่าน แม้เป็นความคิดนึกเหมือนกัน รับรู้ได้ด้วยใจเช่นกัน แต่เป็นความคิดนึกที่เป็นฝ่ายผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนธรรมในการทำงานประสานสัมพันธ์กันกับขันธ์ทั้ง ๕ ร่วมด้วยกับเหตุ คือรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ ที่กระทบ ดังนั้นเหตุเกิดจึงเนื่องไได้จากทุกอายตนะ คือเมื่อเกิดจากการกระทบกับอารมณ์(สิ่งที่จิตกำหนด คือ รูป เสียง กลิ่น...ธรรมารมณ์)ต่างๆแล้ว จึงย่อมดำเนินไปตามธรรมชาติ ที่ทำงานดุจดั่งเครื่องจักรยนต์ หรือลูกศรที่หลุดจากแล่ง ที่ย่อมควบคุมบังคับไม่ได้อีกต่อไปแล้ว เพียงได้แต่การทำงานตามหน้าที่ของตนนั้นๆเท่านั้น, จึงเกิดการผัสสะ เกิดเวทนา เกิดสัญญา และเกิดสังขารขันธ์อันคืออารมณ์ต่างๆทางโลกขึ้น เป็นธรรมดาตามวิสัยของชีวิต, แล้วผลของกระบวนธรรมของขันธ์ทั้ง ๕ นี้คือ สังขารขันธ์หรืออารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นนี้ ยังดำเนินไปคือเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสัญเจตนา คือความคิดอ่านที่ปรุงจิต ให้เกิดการกระทำต่างๆคือกรรม ได้ทั้งดี ชั่ว และกลางๆ ออกมาได้ทั้งทางกาย วาจา ใจ, ทางใจนี้นี่เอง ที่เรียกกันว่ามโนกรรม ซึ่งก็คือความคิดนึกที่เป็นผลที่เกิดขึ้นจากสังขารขันธ์(อารมณ์ทางโลก)ต่างๆ จึงเกิดการคิดนึกมโนกรรมขึ้นจากกระบวนธรรมของชีวิตคือขันธ์ทั้ง ๕ ดังภาพ
ธรรมารมณ์(คิดอันเป็นเหตุ) ใจ มโนวิญญาณ สัญญาจํา เวทนา สัญญาหมายรู้ สังขารขันธ์ [ เกิดสัญเจตนา(เจตนา,จงใจ,คิดอ่าน) กรรม (คือ การกระทำต่างๆ เช่นทางใจ(มโนกรรม)ความคิดนึก (ความคิดนึกที่เกิดจากสังขารขันธ์นี้เป็นผล) ] |
ความคิดนึกมโนกรรม นี้นี่เอง ที่เกิดขึ้นจากการไม่รู้ตามความเป็นจริงหรืออวิชา จึงมักไปทำหน้าที่ให้เกิดความคิดความนึกขึ้นในรูปต่างๆเรื่อยไป ด้วยอำนาจของความไม่รู้ เข้าใจไปว่าไม่เป็นทุกข์โทษภัย ผสมกับอานาจของสิ่งแวดล้อมปรุงแต่งอยู่ จึงเกิดเป็นความคิดนึกต่างๆนาๆตามมา ซึ่งสามารถแปรไปทำหน้าที่เป็นธรรมารมณ์ได้อีกเรื่อยๆ ทำให้เกิดการผัสสะเนื่องต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการวนเวียนปรุงแต่งจนเป็นทุกข์, ความคิดนึกมโนกรรมนี้นี่เองจึงเป็นที่เกิดของความคิดปรุงแต่ง ที่ต้องมีสติรู้เท่าทัน แล้วหยุดมันเสีย คือหยุดคิดปรุงแต่ง หรือก็คือการอุเบกขานั่นเอง
ส่วนการคิดนึกมโนกรรม ที่เกี่ยวกับกิจ เกี่ยวกับการงาน คือไม่ใช่อกุศลมโนกรรมก็ยังคงให้มีอยู่ เพื่อประโยชน์ในการสร้างสรรค์ และปัญญา ดังเช่น ธรรมวิจยะ กล่าวคือมีสติเท่าทันในอกุศลมโนกรรม แล้วอุเบกขาเสีย
หรือกล่าวให้ชัดแจ้งกระชับลงไปอีกได้ว่า "หยุดคิดปรุงแต่ง"ก็คือ"หยุดมโนกรรมปรุงแต่ง"ฝ่ายอกุศลเสียนั่นเอง
คิด หรือ ธรรมารมณ์ (คิดที่เป็นเหตุ เมื่อเกิดแล้วย่อมดำเนินไปตามเหตุ) + ใจ มโนวิญญูาณขันธ์ เวทนาขันธ์ หยุดมโนกรรม แสดงวงจรกระบวนธรรมการทำงานของขันธ์ทั้ง ๕ ที่วนเวียนปรุงแต่ง สังขารขันธ์ จึงเกิดมโนกรรม(เกิดคิดที่เป็นผล แม้ต้องรับผล ไม่สามารถดับได้ แต่อุเบกขาได้ จึงไม่ไปเป็นเหตุอีกได้) สัญญาขันธ์ |
อนึ่งครูบาของเซ็นได้กล่าวสอนไว้ด้วยว่า เมื่อปฏิบัติดั่งนี้ได้แล้ว ก็อย่าไปคาดหวังด้วยปรุงแต่งไปว่าจะมีอะไร เพราะว่าจะไม่มีการเกิดปรากฏการณ์ใดๆขึ้นตามที่บางท่านคาดหวังไว้ ดังที่ท่านได้กล่าวไว้เนื่องจาก "ก็ไม่มีอะไรต้องบรรลุถึง" "ไม่มีอะไรต้องปรากฏ" เพราะมักคิดปรุงแต่งกันไปตามความเชื่อในตำนานที่มีผู้เล่าขานถ่ายทอดหรือปรุงแต่งกันสืบต่อๆมาอย่างบุคคลาธิษฐานจึงเข้าใจผิด หรือตามคำร่ำลือกันผิดๆไปต่างๆนาๆ เพียงแต่เมื่อท่านปฏิบัติได้แม้ชั่วขณะหนึ่งๆด้วยตนเอง ก็จะรู้สึกและเข้าใจได้ด้วยตนเอง(ไม่ใช่ต้องให้มีใครบอก)ว่า จางคลายจากทุกข์ หรือดับทุกข์ได้ด้วยตนเองจริง และย่อมมีความผ่อนกายใจ(ปัสสัทธิ) เพราะจิตพุทธะที่แสวงหานั้น แท้จริงแล้ว ไม่ต้องแสวงหาจากภายนอก แต่อยู่กับตัวนักปฏิบัติเองอยู่แล้ว แต่ถูกบดบังเสียด้วยกิเลสต่างๆจากการคิดปรุงแต่งนั่นเอง
ปัญหาใหญ่ของการปฏิบัติโดยการ "หยุดคิดปรุงแต่ง" หรือ "อุทธัทจะ"ให้ได้นี้ ทางเซ็นท่านถือว่าศิลปะหรือวิชาทีเดียวที่จะ"หยุดคิดปรุงแต่งเยี่ยงไร" คือ จะคิดถึงการไม่คิดได้อย่างไร โดยปราศจากการคิด เพราะจิตของผู้ปฏิบัติมักมีความเคยชินตามที่ได้สั่งสมอบรมมาตั้งแต่เกิดในการคิดนึกปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยหัดควบคุมบังคับ จึงเกิดการวอกแวก เอ๊ อ๊ะ คิดนึกไปต่างๆนาๆเรื่อยไปอยู่เกือบตลอดเวลา ไวเหมือนลิงเหมือนวอกจึงควบคุมได้ยาก ซึ่งทางเซ็นใช้วิธี"ซาเซ็น(Zazen)"คือการนั่งสมาธิแบบเซ็น เพื่อนำไปใช้ในการพิจารณาให้เห็นความคิด อีกทั้ง"อะไรคือความคิดปรุงแต่ง" (หรือดังที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโลได้บันทึกไว้ใน "วิธีเจริญจิตภาวนา") หรืออีกวิธีหนึ่ง ก็คือการใช้ปัญญาไปในการโยนิโสมนสิการขบคิดพิจารณาให้เห็นเข้าใจกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ที่ความคิดนึกนั้นทำหน้าที่เป็นทั้งเหตุก่อ และอีกทั้งทำให้เกิดผลคือเกิดความคิดนึกมโนกรรมต่างๆ เมื่อเข้าใจจึงเกิดปัญญาพละ จึงมีกำลังเมื่อมีปัญญาญาณแจ่มแจ้งชัดเจนบังเกิดขึ้นแก่ตนว่า สิ่งใดคือความคิดชนิดธรรมารมณ์ สิ่งใดคือความคิดปรุงแต่ง(อุทธัทจะ) ดังแสดงมาข้างต้น จึงทำให้เกิดวิชชารู้ว่า ความคิดนึกชนิดใด เป็นธรรมารมณ์ หรือคิดปรุงแต่ง เมื่อรู้ชัด อีกทั้งปัญญาพละจึงมีกำลังกำหนดหยุด คืออุเบกขาเขาได้ อย่างถูกต้องตรงตัว เมื่อนำมาปฏิบัติการหยุดเขาได้อย่างถูกต้องตรงตัวแล้ว จึงย่อมเกิดผลอันยิ่งขึ้น
เมื่อจำแนกแยกแยะได้ชัดเจนดีแล้ว จึง"หยุดคิดปรุงแต่ง" ในชีวิตประจำวัน ใหม่ๆก็ย่อมช้าบ้าง ทันบ้าง ไม่ทันบ้าง รู้ตามบ้าง รู้ภายหลังบ้าง ฯ. หรือเพราะมัวคิดปรุงแต่งที่จะหยุดมันบ้าง เป็นธรรมดา แต่เมื่อมีความเชี่ยวชาญชำนาญยิ่งพร้อมทั้งความเข้าใจที่ย่อมแจ่มแจ้งขึ้นไปเป็นลำดับจากการปฏิบัติจนพบปัญหาต่างๆด้วยตนเองแล้วนั้น ย่อมทำให้เกิดการ"หยุดคิดปรุงแต่ง"อย่างฉับพลันได้ในที่สุด เมื่อแจ่มแจ้งแยกแยะได้ดีแล้วก็อย่าอ้อยอิ่ง ให้จิตหลอกล่อไปคิดนึกปรุงแต่งอีกต่อไปนั่นเอง จึงเกิดผลยิ่ง, อนึ่งการปฏิบัติธรรมวิจยะคือการคิดนึกพิจารณาในธรรมโดยละเอียดและแยบคาย ไม่ใช่การคิดปรุงแต่ง เพราะมโนกรรมที่เกิดขึ้นเนื่องนั้นเป็นกุศลมโนกรรม ส่งเสริมให้เกิดปัญญาญาณ จึงเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติยิ่ง และเป็นสัมโพขน์ฌงค์องค์ที่ ๒ องค์(ประกอบ)ของการตรัสรู้ จึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำให้เจริญยิ่ง
ผู้ที่เข้าใจกระบวนจิตการทำงานของปฏิจสมุปบาท หรือขันธ์ ๕ แจ่มแจ้งดีแล้ว ย่อมสามารถพิจารณาเห็นความคิดชนิดธรรมารมณ์ หรือความคิดปรุงแต่งได้ง่าย ดังแสดงกระบวนธรรมการทำงานของจิตโดยขันธ์ทั้ง ๕ ข้างต้น ที่จำแนกแยกแยะแตกธรรมการทำงานประสานสัมพันธ์กันของขันธ์ทั้ง ๕ ได้ชัดเจน และต้องพึงเกิดจากการพิจารณาจนยอมรับได้ด้วยตนเองว่ามันเป็นเหตุเป็นผลกันเป็นไปตามนั้นจริงๆ และเมื่อนำมาพิจารณาโดยแยบคายย่อมพอจำแนกแยกแยะความคิดนึกชนิดธรรมารมณ์ และคิดนึกมโนกรรมปรุงแต่ง ได้อย่างแจ่มแจ้ง, ส่วนในปฏิจจสมุปบาทนั้น เมื่อโยนิโสมนสิการโดยแยบคายก็ย่อมทราบได้ว่า ความคิดนึกปรุงแต่งก็คือ กระบวนธรรมของอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ที่วนเวียนปรุงแต่งเป็นอีกวงจรหนึ่งในองค์ธรรม"ชรา"ที่หมายถึงความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงนั่นเอง(วงจรเล็กสีแดงซ้ายมือ) อันเป็นวงจรการทำงานประสานกันของอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ จึงคิดปรุงแต่งวนเวียนเป็นวงจร จนยิ่งสั่งสมเป็นทุกข์ และเพราะวนเวียนจึงอย่างยาวนานอีกด้วยนั่นเอง ดังภาพ
อาสวะกิเลส อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป มรณะ สฬายตนะ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ (เกิดมโนกรรม) ชรา อันเป็นทุกข์ วนเวียนปรุงแต่งและเร่าร้อน ผัสสะ เวทนูปาทานขันธ์ วิญญูาณูปาทานขันธ์ ใจ ธรรมารมณ์ (มโนกรรมจาก"ชาติ"มาทำหน้าที่เป็นธรรมารมณ์) ชาติ (สังขารขันธ์ แปรเป็นสังขารูปาทานขันธ์เกิดมโนกรรมคิดนึก เวทนา (มโนสังขาร) (อกุศลสัญเจตนา) (สังขารขันธ์) ภาพวงจรปฏิจจสมุปบาท แบบขยายความเต็มรูปแบบโดยพิศดาร |
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
วิถีเซ็น พุทธปรัชญาเซ็น