ไปสารบัญ

ย้อนกลับ

      

คลิกขวาเมนู

เพื่อความเข้าใจอันถูกต้อง ในการโยนิโสมนสิการใน"ขันธ์ ๕" และ"ปฏิจจสมุปบาท" เพื่อการดับทุกข์

เพื่อ"ดวงตาเห็นธรรม"

เพราะ"ปฏิจจสมุปบาท"เป็นธรรมที่ทำให้พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ และมีพุทธดำรัสตรัสยืนยันไว้ดั่งนี้ว่า

"ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม

ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท"

และ "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต"

    เนื่องจากผู้เขียนได้เขียนมาเป็นเวลานานแล้ว  ข้อธรรมคำแนะนำตลอดจนการจำแนกแตกธรรมต่างๆอาจมีการแก้ไขบ้าง ตามภูมิรู้ภูมิธรรมที่เกิดเพิ่มพูนขึ้นบ้างตามการโยนิโสมนสิการและกาลเวลา  แต่ก็ล้วนอยู่ในแนวทางเดิมๆอันถูกต้องดีงามตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสำคัญทั้งสิ้น เพียงแต่การจำแนกแตกธรรมอาจมีการขยายความตามความรู้ความเข้าใจที่บังเกิดขึ้นจึงได้มีการแก้ไขบ้าง  ดังนั้นถ้ามีความย้อนแย้งกันประการใดในข้อเขียนใดๆก็ดี  ก็ขอให้ยึดบทความนี้เป็นหลักในการพิจารณาเป็นสำคัญ เพราะเป็นการรวบรวมเรียบเรียงอย่างครบถ้วนบริบูรณ์ล่าสุดอยู่ในบทเดียว เป็นที่ถูกต้องตามพุทธประสงค์เป็นที่สุดแล้ว และให้ผลได้ดีสำหรับที่ต้องการดับทุกข์อันเกิดแต่อุปาทานขันธ์ ๕

    ก่อนอื่นขอกล่าวข้อธรรม ที่จะไปเนื่องกับความเข้าใจปฏิจจสมุปบาทบางข้อบางประการเสียก่อน เพื่อจักได้เข้าใจปฏิจจสมุปบาทได้แจ่มแจ้ง ประการหนึ่งที่นักปฏิบัติเข้าใจปฏิจจสมุปบาทได้ยาก เพราะพระองค์ท่านได้กล่าวไว้แล้วว่า ธรรมที่ยากของท่านมีเพียง ๒ คือ ปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน คราแรกท่านทรงท้อพระทัยจะไม่แสดงธรรมด้วยเห็นว่าเป็นเรื่องยากสำหรับปุถุชน  และยังได้ตรัสไว้ว่าเป็นเรื่องที่ยากดังที่พระองค์ท่านได้ตรัสเตือนพระอานนท์ไม่ให้ประมาทว่า ปฏิจจสมุทปบาทเป็นธรรมที่เข้าใจได้ง่ายๆ ดังได้ฟังแต่คราแรกๆ  และส่วนใหญ่เพราะเกิดจากผู้พิจารณาอาจไม่มีพื้นฐานความเข้าใจในเหตุปัจจัย(ปัจจัยปริคคหญาณ) จึงเป็นเหตุปัจจัยให้มีอวิชชา ๘ ในข้อที่ ๕, ๖, ๗ และ ๘ จึงไม่สามารถเข้าใจปฏิจจสมุปบาทได้   อีกทั้งไม่เข้าใจในขันธ์ ๕ เกี่ยวกับกระบวนธรรมหรือกระบวนการของจิตในการทำการงานประสานสัมพันธ์เป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกันให้เกิดการสืบเนื่องกันของขันธ์ทั้ง ๕ หรือชีวิต  เหตุเพราะมีหลักการพื้นฐานเหตุปัจจัยในลักษณาการเดียวกันกับปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง  เพียงแต่ว่าเป็นกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ที่เป็นเหตุปัจจัยในการดำเนินชีวิตตามปกติธรรมดา ซึ่งยังไม่ทำให้เกิดความทุกข์ชนิดยังให้เกิดอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ชนิดทุกข์อุปาทานจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕  เพียงเป็นกระบวนธรรมของขันธ์ทั้ง ๕ ที่เป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกันในการดำเนินชีวิตโดยทั่วไป และก็ยังให้เกิดทั้งสุขหรือทุกข์ตามปกติวิสัยของปุถุชนในการดำเนินชีวิต แต่ก็มักปรุงแต่งกันต่อๆไปจนเป็นทุกข์ที่ประกอบด้วยอุปาทานในที่สุด ด้วยความไม่รู้หรืออวิชชาได้นั่นเอง  (อ่าน "ขันธ์ ๕ กระบวนธรรมของจิตโดยลำดับ")

    เวทนา  การเสวยอารมณ์(อารมณ์ที่หมายถึงสิ่งที่จิตกำหนดหมาย)  เป็นความรู้สึกที่เกิดจากการรับรู้จากการผัสสะ คือ เป็นเครื่องมือของชีวิตในการรับรู้รสสัมผัสจากการกระทบในสิ่งที่ผัสสะหรือสัมผัสนั้นๆ  เสวยอารมณ์จึงมีความหมายว่า การเสพรส(ชาด)ของสิ่งที่ผัสสะนั่นเอง,  เมื่อเสพหรือเสวยแล้วย่อมรับรู้ในรสที่เสวย๑ แล้วยังเกิดความรู้สึกต่างๆร่วมขึ้นอีกด้วย๑ ความรู้สึกนี้เกิดจากสัญญาความจำได้ตามที่ได้สั่งสมอบรมไว้ ดังเช่น รูปสัญญา ฯ.  ดังพระองค์ท่านได้แบ่งความรู้สึกที่ย่อมเกิดขึ้นด้วยนี้เป็น สุขเวทนา ความรู้สึกที่ถูกใจ พอใจ ชอบใจ สบายกาย สบายใจ หรือความรู้สึกจากการรับรู้ไปในทางดีๆหรือบวกๆจากการกระทบผัสสะนั่นเอง(เหตุที่ใช้ความรู้สึกในทางดีๆหรือบวกดังนี้ เพราะการสื่อสารเป็นภาษาคนนั้นยากอันอาจสับสน บางท่านอาจตีความไปซ้ำกับคำว่าตัณหาทำให้เกิดวิจิกิจฉาขึ้นได้) คือเกิดอาการถูกใจ,สบายกายใจในสิ่งที่กระทบคือผัสสะต่างๆจาก รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ จากการกระทบของตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ,  หรือทุกขเวทนา ความรู้สึกไม่ถูกใจ ไม่พอใจ ขัดใจ ไม่สบายกายใจ คือเกิดอาการไม่สบายกายใจจากสิ่งที่กระทบคือผัสสะต่างๆจาก รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์,  หรืออทุกขมสุขเวทนาคือไม่สุขไม่ทุกข์ คือกลางๆหรือเฉยๆในสิ่งที่ผัสสะนั้นๆ (บางท่านนับว่า เป็นความสุขอย่างเบาๆอ่อนๆอีกด้วย ด้วยไม่สุขไม่ทุกข์เพราะไม่มีสิ่งรบกวนใจขณะนั้นๆนั่นเอง ก็นับว่าถูกต้อง),   ดังนั้นเวทนาย่อมต้องเกิดขึ้นเมื่อมีการผัสสะทุกคราไป เพราะเป็นสภาวธรรมโดยธรรมชาติของชีวิตหรือวิสัยของชีวิต มันจึงเป็นเช่นนี้เอง จึงต้องมีสติรู้เท่าทันและไม่ไปยึดถือ

    ที่บางท่านอาจกล่าวว่าไม่จริงที่ว่า บางครั้งเกิดการผัสสะแล้วอาจไม่เกิดเวทนาขึ้นบ้างก็ได้ บางครั้งไม่มีอะไร ไม่เกิดเวทนาใดๆขึ้นเลย  ที่เป็นดังนั้นในบางครั้งนั้นเป็นเพียงเพราะสติไม่ระลึกรู้ หรือสังเกตุไม่เห็น  แท้จริงเป็นเพียงความไม่รู้เรื่อง"เวทนา" หรือเพราะ"เวทนา"หรือ"อทุกขมสุขเวทนา"นั้นแผ่วเบา หรือสั่งสมจนเคยชินยิ่งเท่านั้นเอง จึงไม่ใส่ใจ  เหมือนดั่งการสวมใส่เสื้อผ้าถ้าไม่สังเกตุโดยละเอียดหรือโดยใช้สติสังเกตุเมื่อกล่าวถึงแล้ว  ตามปกติแล้วจะไม่รู้สึกถึงการผ้สสะหรือการสัมผัสกันของร่างกายกับเสื้อผ้าเลย ทั้งที่เกิดการผัสสะหรือสัมผัสกันอยู่ตลอดเวลา จึงมี"อทุกขเวทนา"อันแผ่วเบาและเคยชินเสียยิ่งกว่าการแก้ผ้าเสียอีก, หรือดั่งการหายใจเข้า-ออก เมื่อไม่พูดถึงหรือสังเกตุแล้วก็ไม่ระลึกรู้ได้เลยเป็นเพียงอทุกขมสุขเวทนาอันแผ่วเบาและเคยชินยิ่ง, หรือดั่งการก้าวเท้ากระทบพื้นมีเกิดขึ้นเป็นประจำเป็นธรรมดาของชีวิต แต่เป็นเพียงอทุกขมสุขเวทนาที่เคยชินยิ่ง,  ส่วนเวทนามีอามีคือเวทนาที่ประกอบด้วยเครื่องล่อหรือกิเลส(ดังเวทนาในปฏิจจสมุปบาท),  เมื่อเวทนาอันให้โทษดังเช่นเวทนามีอามีส หรือเวทนาอื่นๆอันเป็นโทษก็เช่นกัน เมื่อเกิดขึ้นท่านให้มีสติเท่าทันแล้วปล่อยวาง คืออุเบกขา ด้วยสักว่าเวทนา มันย่อมเป็นเช่นนี้เอง จึงไม่ยึดถือ ซึ่งหมายถึงการดับเวทนานั่นเอง,  การดับเวทนา จึงไม่ได้หมายถึงการพยายามบังคับไม่ให้มีเวทนาเกิดขึ้น หรือการหาทางไปพยายามดับมันตรงๆ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เป็น ไม่ให้มีความรู้สึกถูกใจ,ไม่ถูกใจ, หรือให้รู้สึกเฉยๆแต่อย่างใด, เขาเพียงแต่ทำหน้าที่ของเขาด้วยความเป็นอนัตตาจึงยังคงมีอยู่เช่นนั้นเอง ไปบังคับบัญชาเขาให้เป็นไปตามใจปรารถนาไม่ได้  ดังนั้นพึงมีสติระลึกรู้ว่า เวทนายังพึงเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เป็นถูกใจ สบายใจบ้าง ไม่สบายใจบ้าง กลางๆบ้างเป็นธรรมดา แล้วก็จางคลายดับไปในที่สุด เป็นเช่นนี้เองเป็นธรรมดา จึงอย่าไปยึดหรืออยากหรือยินดียินร้ายให้เป็นตัณหา  เหตุที่ต้องดับเวทนาที่มีอามิสคือเจือกิเลสนั้นเสียด้วยสติรู้เท่าทันและปัญญานั้นและอีกทั้งการอุเบกขา  ด้วยเวทนาจะได้ไม่ไปเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดตัณหา(ซึ่งครอบคลุมถึงสังขารขันธ์ฝ่ายอกุศลต่างๆเช่นโทสะ โมหะ ราคะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน ฯลฯ.) ดังมีกล่าวไว้ในปฏิจจสมุปบาท ด้วยเวทนาในปฏิจจสมุปบาทล้วนเป็นเวทนามีอามิสทั้งสิ้นอันเนื่องมาจากอาสวะกิเลสที่มีอยู่เป็นธรรมดา นั่นเอง

    เหตุดังกล่าวดังนี้ว่า "สักว่าเวทนา ที่ต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา" เพราะสภาวธรรมของกิริยาจิต ชนิดปัญจทวาราวัชชนจิต และมโนทวาราวัชชนจิต นั่นเอง คือทวารทั้ง ๕ และมโนทวาร ต่างสักว่าทำการงานตามหน้าที่ของเขาเป็นธรรมดา  คือเมื่อทวารทั้ง ๖ กระทบสิ่งใดเขาก็สักว่าทำกิจการงานตามหน้าที่ตนเช่นนี้เอง เช่น เมื่อตากระทบกับรูป ตาก็ย่อมสักว่าแค่ทำการงานของเขาคือต้องรับการกระทบกับรูปนั้นเป็นธรรมดา จะสั่งให้ไม่กระทบหรือไม่เกิดขึ้นไม่ได้,  และเมื่อกระทบแล้วจึงเป็นเหตุปัจจัยทำให้เกิดการดำเนินไปตามกระบวนธรรมของจิตของขันธ์ ๕ คือเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดเนื่องสัมพันธ์ต่อไป ย่อมทำให้เกิด วิญญาณ ย่อมทำให้เกิด รูปสัญญา ย่อมทำให้เกิด เวทนา ย่อมทำให้เกิด รูปสัญเจตนา ย่อมทำให้เกิด สังขารขันธ์  ขึ้นในที่สุด

ตัวอย่างเช่น เมื่อทานอาหารที่ถูกใจหรือชอบ ก็จะเกิดการรับรู้รสอาหาร เช่นว่า อร่อย๑  และยังประกอบร่วมด้วยความรู้สึก๑ เช่น ถูกใจ ชอบใจ พอใจ คือสุขเวทนา พร้อมขึ้นมาด้วย,  แต่เมื่อทานอาหารที่ไม่ถูกใจ ก็ย่อมเกิดการรับรู้รสว่าไม่อร่อย๑  หรือย่อมเกิดความรู้สึก๑ เป็น ไม่ถูกใจ ไม่ชอบ คือ ทุกขเวทนา,  หรือเป็นกลางๆ

คิดเรื่องเป็นทุกข์ ก็จะเกิดความรู้สึกจากการรับรู้รสชาดว่า เร่าร้อนใจ๑  และย่อมเกิดความรู้สึก๑ เช่น ไม่ชอบ ไม่ถูกใจ ไม่พอใจไม่สบายใจ คือทุกขเวทนา พร้อมขึ้นมาด้วย,  คิดเรื่องเป็นสุข ก็เกิดการรับรู้รสจากความคิดนั้นเป็นสบายใจ  และย่อมเกิดความรู้สึก ถูกใจ ชอบใจ สบายใจ คือสุขเวทนา

เจอหน้าคนไม่รู้จัก ก็จะเกิดการรับรู้รสในสิ่งที่กระทบนั้น(คน)ว่าเป็นกลางหรือเฉยๆ๑  จึงมีความรู้สึกเป็นกลางๆเฉยๆ๑ ต่อสิ่งนั้น คือเกิด อทุกขมสุขเวทนา

     ควรทำความเข้าใจให้ดี แม้แลดูง่ายแต่ปฏิบัติยากที่ให้มีสติรู้เท่าทันอีกทั้งเข้าใจแจ่มแจ้ง จึงจำต้องพิจารณาให้แจ่มแจ้งด้วยการโยนิโสมนสิการไม่ใช่ด้วยการอ่านการฟังแต่อย่างเดียว เช่นว่า เกิดขึ้นมาแต่เหตุปัจจัยใด ทำไมจึงดับเวทนาแบบว่าไม่ต้องการให้เกิดขึ้นมาเลยจึงทำไม่ได้,  ด้วยเวทนาเป็นตัวเหตุปัจจัยให้เกิดตัณหาอันเป็นทุกข์สืบเนื่องต่อไป ดังแสดงในวงจรปฏิจจสมุปบาท,  ดังภาพต่อไปนี้ แสดงการเกิดของเวทนาว่า เกิดแต่เหตุอะไรมาเป็นปัจจัยกัน คืออะไรเป็นเหตุ ที่มาเป็นปัจจัยแก่กันและกันจนเกิดเวทนาขึ้นทุกครั้งไป (แสดงเวทนาเกิดแม้ในพระอริยเจ้าแต่มีความแตกต่างกันอย่างไร สัลลัตถสูตร)

                                        ผัสสะ   รูปสัญญา                      

รูป    กระทบกัน เช่น ตาเห็นรูป ตา ย่อมทำให้เกิดขึ้น โดยธรรม จักขุวิญญาณ การประจวบกันของปัจจัยทั้ง ๓ ข้างต้น สัญญาจํา ย่อมทำให้เกิด เวทนา การประจวบกันของปัจจัยทั้ง ๓ ข้างต้น แล้วดำเนินไปจนสิ้นกระบวนธรรมของขันธ์ทั้ง ๕ คือที่สังขารขันธ์ คืออาการต่างๆของจิตที่ไปปรุงแต่งจิตให้เกิดกรรม

     ข้อสำคัญมีสติระลึกเท่าทันอยู่เนืองๆว่า เวทนาเป็นเช่นนี้เอง(ตถตา) หรือสักว่าเวทนา ท่านจัดเวทนาว่าเป็นธาตุอย่างหนึ่ง คือความที่ทรงสภาวะอยู่อย่างนี้เป็นธรรมดา และเป็นอนัตตา ย่อมควบคุมบังคับให้เป็นไปตามปรารถนาไม่ได้ เป็นไปตามเหตุปัจจัย เช่นนี้เอง  คือเป็นสภาวธรรมนั่นเอง คือเป็นกิริยาจิตชนิดปัญจทวารวัชชนจิต มันสักว่าทำกิจของมัน แล้วจึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดเวทนา,  จึงไปดับเอาตรงๆไม่ได้นั่นเอง ได้แต่รู้เท่าทันและเข้าใจ จึงปล่อยวางคืออุเบกขา คือการที่เรียกว่าดับเวทนานั่นเอง คือเวทนาเป็นอันตั้งอยู่ไม่ได้,  จะไปดับมันดื้อๆคือห้ามมันเกิด หรือเมื่อเกิดขึ้นแล้วให้ดับแบบไปสั่งไปทำเอาดื้อๆย่อมมิได้  ดังนั้นเมื่อเวทนาเกิดขึ้นพึงเท่าทันและเข้าใจว่า"มันเป็นเช่นนี้เอง" ไม่เป็นอื่น (เวทนานุปัสสนา) จึงปล่อยวาง ไม่พัวพัน ไม่ยึดถือไปตามตัณหาความปรารถนา  หรือโดยการอุเบกขา มันจึงย่อมต้องเสื่อมดับไป อาจเหลือแต่เวทนากายอันย่อมต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัย  แต่เวทนาใจที่ไปทำให้เกิดทุกข์ใจสืบเนื่องไปนั้น เป็นอันตั้งอยู่ไม่ได้ จึงถึงนับว่าดับไป

    เวทนาจึงมีการเกิดขึ้นในลักษณะ ๒ จังหวะ คือ เมื่อเกิดเวทนาการเสวยอารมณ์ คือเสวยหรือเสพรสในสิ่งที่กระทบนั้น ย่อมเกิดความรู้สึกเป็น ๒ ส่วนเพื่อการพิจารณา คือ

    ๑.ส่วน การรับรู้ในรสในสิ่งที่ผัสสะหรือสัมผัส  ดั่งกินอาหารอร่อย ลิ้นย่อมรับรู้คือรู้แจ้งในรสชาดของอร่อยอาหารนั้น, สัมผัสความคิดอันเป็นทุกข์ ใจย่อมรู้แจ้งในรสชาดของความทุกข์ในความคิดนั้น,  สัมผัสในเสียงสรรเสริญ หูย่อมรับรู้แจ้งในรสชาดสุขจากเสียงนั้น

    ๒.แล้วเมื่อรับรู้รสแล้ว ยังมีความรู้สึกเกิดขึ้นร่วม จากการรับรู้รสสัมผัสนั้นอีกด้วย ท่านแบ่งออกเป็น สุขเวทนา๑ ทุกขเวทนา๑ อทุกขมสุขเวทนา๑ คือ สบายใจ ไม่สบายใจ พอใจ ไม่พอใจ ชอบ ชัง หรือเฉยๆ ในรสที่เกิดขึ้นมาจากการสัมผัสนั้นๆ คือ พอใจหรือชอบก็จัดว่าเป็นสุขเวทนา, ไม่พอใจหรือชังหรือไม่ชอบก็เป็นทุกขเวทนา, หรือเฉยๆกลางๆต่อรสนั้นอันคืออทุกขมสุขเวทนา  ดังเช่น สัมผัสกับเสียง ถ้าเป็นคำชมสรรเสริญก็รู้แจ้ง ก็เกิดความรู้สึกสบายใจเป็นสุขเวทนา  ถ้าเป็นเสียงด่าทอต่อว่าก็เกิดความรู้สึกว่าไม่สบายใจเป็นทุกขเวทนา ฯ.

    สังขารขันธ์  ธรรมหรือสิ่งที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่ว หรือกลางๆ หรือพูดภาษาโลกๆก็คือ อารมณ์ในทางโลก หรืออาการต่างๆของจิต มีความหมายคล้ายๆกันนั่นเอง ดังเช่น ราคะ โทสะ โมหะ หดหู่ สุข ทุกข์ อีกทั้งตัณหา(แสดง ตัณหาคือสังขารขันธ์อย่างหนึ่ง) ฯลฯ. ที่ย่อมเกิดขึ้นจากการปรุงจิตของสัญญาหมายรู้ที่สั่งสมอบรมไว้ต่อจากเวทนาที่เกิดขึ้น (ดังเช่น ธัมมสัญเจตนา, รูปสัญเจตนา ฯ.) เมื่อเกิดสังขารขันธ์แล้ว เช่นโกรธ ก็ไปเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสัญเจตนา คือเจตนาหรือคิดอ่านไปปรุงแต่งจิตให้เกิดการกระทำต่างๆ(กรรม)ได้ทั้งทางกาย วาจา และใจ คือเป็นไปตามอำนาจของความโกรธนั้นๆขึ้น เช่นทางกายเกิดการเข้าทำร้าย  ทางวาจาเกิดการด่าทอก่นด่า  หรือทางใจเกิดมโนกรรมทางอกุศลต่างๆ เช่นคิดแช่ง คิดด่าทอในใจ

     ดังรูปการทำงานหรือการเป็นเหตุปัจจัยกันของขันธ์ทั้ง ๕ อันเป็นสภาวธรรม(ชาติ)ของชีวิต จึงต้องเป็นเช่นนี้เองเป็นธรรมดา

                                         ผัสสะ      รูปสัญญา                         รูปสัญเจตนา

รูป    กระทบกัน เช่น ตาเห็นรูป ตา ย่อมทำให้เกิดขึ้น โดยธรรม จักขุวิญญาณ  การประจวบกันของปัจจัยทั้ง ๓ ข้างต้น  สัญญาจํา ย่อมทำให้เกิด  เวทนา ย่อมทำให้เกิด สัญญาหมายรู้  ย่อมทำให้เกิด สังขารขันธ์

และสังขารขันธ์   anired06_next.gifเกิดสัญเจตนา(เจตนาปรุงแต่งจิต)จึงทำให้เกิดกรรม (คือ การกระทำทางกาย วาจา หรือใจเช่น มโนกรรม]

     ส่วนในปฏิจจสมุปบาทนั้น สังขารขันธ์นั้นก็คือองค์"ตัณหา"นั่นเอง ซึ่งก็คือสังขารขันธ์ฝ่ายอกุศล หรือจะเรียกง่ายๆว่าอารมณ์ฝ่ายอกุศลก็ย่อมได้ ดังเช่น โลภะ โทสะ โมหะ ริษยา หดหู่ ฟุ้งซ่าน ทุกข์ใจ ริษยา ฯลฯ. เมื่อเป็นสังขารขันธ์จึงไปปรุงจิตให้เกิดเจตนาหรือคิดอ่าน(สัญเจตนา)ให้เกิดการกระทำฝ่ายอกุศล ในทางชั่วได้ทั้งทาง กาย วาจา และใจ  ในลักษณาการเดียวกันกับสัญเจตนาที่พึงเกิดขึ้นจากสังขารขันธ์ทั่วๆไป

    อนัตตา  ไม่มีตัวตน คือตัวตนที่แม้ว่า"เห็นได้"หรือ"ผัสสะคือสัมผัสต่างๆได้" เช่นจากการลูบคลำ จากกลิ่น จากรส จากความคิดนึก(ธรรมารมณ์) ฯ.ได้นั้นๆ  แท้จริงแล้วล้วนไม่มีตัวไม่มีตน ของมันเองจริงๆ,  ตัวตนที่เห็นหรือจากผัสสะใดๆได้จนเข้าใจว่าเป็นตัวตน หรือเป็นของตนนั้น  ไม่ว่าจะเป็นจากการเห็น หรือมาจากการผัสสะด้วยอายตนะใดๆ(ตา หู....กาย อีกทั้งใจฯ.)  แท้จริงขั้นปรมัตถ์คือตามความเป็นจริงขั้นสูงสุดแล้ว ตัวตนนั้นเป็นเพียงกลุ่มก้อน หรือมวลรวม(ฆนะ)ของเหล่าเหตุปัจจัยต่างๆที่ประชุมประกอบปรุงแต่งประกอบกันขึ้นขณะหนึ่งๆ  จึงล้วนไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของมันเองจริง  จึงครอบครองเป็นเจ้าของมันไม่ได้จริง จึงควบคุมบังคับให้เป็นไปตามใจปรารถนาไม่ได้  เพราะแท้จริงขั้นสูงสุดแล้วล้วนเป็นเพียงการประกอบกันขึ้นของเหตุย่อยๆต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบย่อยๆมาปรุงแต่งกันขึ้นทั้งสิ้น  ดังนั้นตามหลักอิทัปปัจจยตา จึงล้วนขึ้นหรืออิงอยู่กับเหตุปัจจัย จึงไม่ขึ้นอยู่กับใครๆหรือกับเราก็ตามที จึงย่อมไม่เป็นไปตามใจปรารถนาของใครๆแม้แต่เรา แต่ล้วนแปรปรวนเป็นไปตามเหตุต่างๆที่มาเป็นปัจจัยปรุงแต่งกันทั้งสิ้น,  "ชีวิต"ก็เป็นเพียงการประกอบกัน หรือปรุงแต่งกันขึ้นของขันธ์ทั้ง ๕ เท่านั้น จึงแปรปรวนไปตามเหตุคือขันธ์ ๕ เท่านั้นเองตามหลักอิทัปปัจจยตา  จึงไม่เป็นไปตามใจปรารถนาของใครๆแม้แต่เรา จึงได้แต่พยายามแก้ไขได้ที่เหตุเท่านั้น (อ่าน เหตุปัจจัย ปฐมบทของโลกและธรรม)

    ทุกขสัจจ์ หรือทุกข์ธรรมชาติ เป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นกับทุกรูปนาม เป็นทุกข์ตามวิสัยของชีวิต  เกิดกับทุกรูปนามหรือชีวิต แม้ในองค์พระอริยเจ้า ย่อมไม่สามารถหลีกหนีพ้น แต่ขาดเสียซึ่งความเร่าร้อนด้วยไฟกิเลสของความยึดมั่นถือมั่นในกิเลสตน   ทุกขสัจจ์อันได้แก่ ๑.ความเกิด ๒.แก่(เจ็บ) ๓.ตาย ๔.ประสบสิ่งที่ไม่รัก ที่ชอบ ๕.พลัดพรากจากสิ่งที่รัก ที่ชอบ ๖.,ปรารถนาในสิ่งใดไม่ได้ในสิ่งนั้น อีกทั้ง ๗.โสกะ ๘.ปริเทวะ ๙.ทุกข์กาย ๑๐.โทมนัส ๑๑.อุปายาส ทั้ง ๑๑ ยังคงมีอยู่เป็นธรรมดา,  ส่วนทุกขเวทนาอันย่อมมีประจำในทุกชีวิตอยู่แล้ว เช่น หิว เหนื่อย กระหาย เจ็บปวด นั้นก็ล้วนประกอบอยู่ในทุกขสัจจ์ที่ย่อมยังผลให้เกิดเวทนาขึ้นอยู่แล้ว

    อุปาทานทุกข์ หรือทุกข์อุปาทาน เป็นการเรียกเพื่อให้เข้าใจง่าย ซึ่งแท้จริงก็คืออุปาทานขันธ์ ๕ คือขันธ์ ๕ ที่ประกอบด้วยอุปาทาน ที่พระองค์ท่านกล่าวโดยสรุปว่าเป็นทุกข์ คือเป็นความทุกข์ที่ประกอบด้วยอุปาทาน จึงเร่าร้อนกว่าปกติด้วยไฟของกิเลสด้วยความยึดมั่นถือมั่นในกิเลสตนหรือความพึงพอใจของตัวตนเป็นสำคัญ  เป็นทุกข์ที่พระองค์ท่านทรงตรัสรู้และสั่งสอนเวไนยสัตว์เพื่อให้ดับมันลงไปให้ได้นั่นเอง ไม่ใช่การไปพยายามดับทุกขสัจจ์อันเป็นสภาวธรรม(ชาติ)จึงย่อมไม่มีวันประสบผลสำเร็จ,  ส่วนอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์หรืออุปาทานทุกข์นั้น เป็นทุกข์ที่กล่าวถึงใน การเกิดขึ้นอีกทั้งการดับไป โดยแสดงเหตุที่เป็นปัจจัยกันให้เกิดการสืบเนื่องกันต่อๆไปจนเป็นทุกข์ และยังหมุนเวียนจนเป็นวงจรของทุกข์ในปฏิจจสมุปบาทภถๅ

    อนึ่งการดับไปในปฏิจจสมุปบันธรรม นั้นไม่ได้หมายถึงการดับ ชนิดไม่มี, ไม่เกิดขึ้น, หรือต้องทำให้ดับหายสูญไป แต่ประการใดไม่ แต่หมายถึง การดับขององค์ธรรมต่างๆที่แม้อาจเกิดขึ้นตามธรรม แต่ทำให้ไม่สามารถดำเนินไปเป็นเหตุก่อให้เกิดการสืบเนื่องของวงจรต่อเนื่องสัมพันธ์กันได้อีกต่อไป จนเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์   ดังเช่น เวทนาที่แม้เกิดขึ้นทั้งกับปุถุชนและพระอริยเจ้า แต่มีความแตกต่างกัน ดังแสดงใน "สัลลัตถสูตร" จึงไม่เกิดเวทนาทางใจ หรือการดับเวทนาหมายถึงไม่ให้เวทนาเป็นเหตุปัจจัยเนื่องต่อสัมพันธ์กันจนเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์

    อนึ่งพึงดับวิจิกิจฉาลงไปเสียด้วยว่า กระบวนจิตของทุกข์ของเราไม่เป็นไปเช่นดังนี้หรือดังนั้น, เราต่างกว่าเขา, ของเราไม่ตรงกับคนนั้น คนนี้, ฐานะต่างกัน, หรือสถานการณ์ไม่เหมือนกัน ไม่ตรงกัน, เราฉลาดกว่า เราเข้าใจกว่า ไม่จริง ไม่ถูก, พื้นฐานไม่เหมือนกัน, เรามีบุญกว่า ฯลฯ. ล้วนฟุ้งซ่านไปเพราะความไม่รู้  พึงพิจารณาโดยแยบคาย เพราะล้วนเป็นความเข้าใจผิดด้วยอวิชชาทั้งสิ้นทั้งปวง ด้วยไม่มีข้อยกเว้นใดๆแม้องค์พระศาสดาผู้ตรัสรู้ด้วยธรรมนี้ด้วยพระองค์เอง  เพราะเป็นไปไม่ได้ด้วยเป็นกระบวนธรรมชนิดธรรมชาติของชีวิต จึงเป็นเช่นนี้เอง จะแตกต่างกันก็เพียงการจำแนกแตกธรรมเพื่อการอธิบายสาธยายธรรมบ้างเท่านั้น แต่หลักการแล้วล้วนเป็นไปเช่นนี้เองเป็นธรรมดาล้วนสิ้น ไม่เป็นอื่นไปได้

              วงจรปฏิจจสมุปบาท                

 

ปฏิจจสมุปบาท

    อวิชชา ความไม่รู้จริง ความหลงอันเป็นเหตุให้ไม่รู้จริง คือความไม่รู้อริยสัจ ๔ คือ ความไม่รู้ใน ๑.ทุกข์ รู้เท่าทันทุกข์  และรู้อีกด้วยว่ามีทั้งทุกขสัจจ์หรือทุกข์ธรรมชาติ  และอีกทุกข์หนึ่งคืออุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ที่เร่าร้อนด้วยไฟกิเลสของอุปาทาน,  ทุกขสัจจ์อันพึงย่อมยังต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาโดยวิสัยของชีวิต มีอยู่ ๑๑ ประการ คือ ๑.เกิด ๒.แก่,เจ็บ ๓.ตาย ๔.พลัดพรากจากสิ่งที่รัก ที่ชอบ ๕. ประสบสิ่งที่ไม่รัก ไม่ชอบ ๖.ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ในสิ่งนั้น ๗.โสกะ ๘.ปริเทวะ ๙.ทุกข์กาย ๑๐.โทมนัส ๑๑.อุปายาส  กล่าวคือ อย่าให้ทุกขสัจจ์เหล่านี้กลายเป็นทุกข์ที่ประกอบด้วยอุปาทาน คือกลายเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ที่พึงปฏิบัติเพื่อการดับไปตามคำสอนของพระองค์ท่าน  ๒.สมุทัย เหตุแห่งทุกข์คือตัณหา ซึ่งคืออกุศลสังขารขันธ์ เช่น โลภะ โทสะ ริษยา หดหู่ อีกทั้งอุทธัจจะความฟุ้งซ่าน ฯลฯ. ที่มีเวทนาเป็นเหตุให้เกิดตัณห,า  และตัณหาจึงไปเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอุปาทาน อันเป็นทุกข์  ๓.นิโรธ ว่าสงบ บริสุทธิ์ ร่มเย็น เป็นสุขอย่างไร และ ๔.มรรค ทางปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์,  แต่สำหรับปฏิจจสมุปบาทธรรมนั้นจะเป็นการกล่าวถึง อวิชชา ๘ กล่าวคือเพิ่มเติมขึ้นอีก ๔ ประการ คือ ๕.ความไม่รู้อดีต อดีตที่หมายความว่า"ส่วนสุดในเบื้องต้น"(ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส ในหัวข้อที่ ๖๔) จึงหมายถึง การไม่รู้เหตุนั่นเองว่า ธรรมใดล้วนเกิดแต่เหตุ ดังเช่น การผัสสะกันย่อมเป็นเหตุให้เกิดเวทนา  ๖.ความไม่รู้อนาคต อนาคตที่มีความหมายว่า"ส่วนสุดในเบื้องปลาย" จึงหมายถึงผล คือการไม่รู้ในผลที่เกิดจากเหตุ ดังเช่นการผัสสะกันย่อมยังให้เกิดผลคือเวทนา  ๗.ความไม่รู้ทั้งในอดีตและอนาคต เมื่อไม่รู้ทั้งในเหตุและผล จึงย่อมไม่รู้ในการเป็น"ปัจจัย"กัน คือสิ่งที่ทำให้เหตุต่างๆมาเป็นปัจจัยแก่กันและกัน แล้วยังให้เกิดสิ่งอีกสิ่งหนึ่งคือผลขึ้น คือไม่รู้ในอิทัปปัจจยตาอีกด้วยที่แสดงไว้ว่า "เพราะเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี....ฯ"  ๘.ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาท กล่าวคือเมื่อไม่รู้ทั้งในเหตุ ทั้งในผล อีกทั้งในการเป็นปัจจัยกัน จึงย่อมไม่เข้าใจได้ในปฏิจจสมุปบาท  ธรรมที่อาศัยความเป็นเหตุปัจจัยกันให้เกิดขึ้น  หรือความที่เหตุต่างๆมาเป็นปัจจัยแก่กันและกัน จึงเกิดการสืบเนื่องสัมพันธ์กันจนเกิดผลเป็นความทุกข์ที่ประกอบด้วยอุปาทาน หรืออุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ในที่สุด,  เพราะความไม่รู้จริงทั้ง ๘ นี้จึงย่อมไม่สามารถดับอวิชชาได้  (อ่าน "เหตุปัจจัย" เพื่อดับอวิชชา๘ ในข้อ๕,๖,๗)

    อาสวะกิเลส กิเลสสิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัว,เศร้าหมอง,รับคุณธรรมไม่ได้ ที่นอนเนื่องซึมซ่านย้อมจิต จากการสั่งสม (เป็นสัญญาความจำอย่างหนึ่งอันเป็นวิสัยของชีวิตเป็นธรรมดา)  แต่ตามปกตินอนเนื่องอยู่ เหมือนเศษตะกอนที่นอนก้นอยู่ในน้ำ ที่น้ำนั้นแม้แลดูใสดูสะอาด แต่เมื่อถูกกวนก็ฟุ้งกระจายขุ่นมัวเศร้าหมองขึ้นไปทั่ว  อาสวะกิเลสก็เช่นกันเพียงรอวันกำเริบเสิบสานฟุ้งซ่านขึ้นมาเมื่อถูกกวนหรือกระตุ้นเร้าขึ้นมาย้อมจิตเมื่อประสบกับอารมณ์คือสิ่งนั้นๆ  เป็นสัญญา(ความจำ)จากการสั่งสมของทุกข์สุขที่ผ่านมาแต่อดีตจากเหล่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จากการ"มรณะ"คือดับไปของทุกข์ต่างๆในอดีตนั่นเอง

 "อวิชชา" เป็นเหตุ เป็นปัจจัย อีกทั้งร่วมด้วย"อาสวะกิเลส" จึงมี "สังขาร"     

    องค์ธรรม "สังขาร" นี้มีความหมายถึง "สิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นทั้งหลาย จากสิ่งที่ได้สั่งสมอบรมมาแต่อดีต"  จึงมีความหมายครอบคลุมกว้างขวางนัก  เช่น ความคิดต่างๆ ความนึกถึงในสิ่งต่างๆ หรือบรรดาธรรมารมณ์ ตามที่ได้เคยสั่งสมอบรมเก็บจำมาแต่อดีตนั่นเอง   จึงครอบคลุมแม้กระทั่งนิสัย, อารมณ์(ในทางโลก คืออาการของจิตต่างๆ) เช่น ความโศก ความวิตก หดหู่ ฟุ้งซ่านคืออุทธัจจะต่างๆ หรือบรรดาสังขารขันธ์อันเคยเกิดมีแต่อดีตมาแล้วนั่นเอง   สิ่งเหล่านี้สามารถเกิดอาการผุดระลึก ผุดจำขึ้นมาได้ อันเป็นไปตามวิสัยของชีวิต  และสังขารเหล่านี้ย่อมเป็นสังขารที่ประกอบด้วยกิเลส เพราะมีเหตุเกิดมาจากอาสวะกิเลสนั่นเอง   และเมื่อบรรดาสิ่งที่ถูกปรุงแต่งเหล่านี้หรือ"สังขาร"ได้เกิดขึ้นมาแล้วในผู้มีชีวิตหรือขันธ์ ๕ ย่อมต้องเกิดวิญญาณขึ้นรับรู้ในสิ่งที่มากระทบนั้นๆ อันนี้เป็นกฏของธรรมชาติอีกเช่นกัน

    ดังนั้น สังขาร อาจเกิดจากการส่งจิตออกไปปรุงแต่งใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์(ความคิด หรือความทุกข์)  จึงเป็นเหตุปัจจัยร่วมกับอาสวะกิเลสและอวิชชา จึงเกิดสังขารกิเลสขึ้นได้เช่นกัน  หรือการอุทธัจจะในสังโยชน์ข้อที่ ๙

    หรือ สังขาร อาจเกิดจากอายตนะภายนอกต่างๆเช่น รูป เสียง กลิ่นรส สัมผัส ธรรมารมณ์(ความคิด หรือความทุกข์) ฯ. จากการดำเนินชีวิตเป็นกิเลสจรมากระทบ  เมื่อร่วมด้วยอาสวะกิเลสและอวิชชา จึงเกิดสังขารกิเลสขึ้นได้เช่นกัน

    หรือ สังขาร อาจเป็นอารมณ์ต่างๆในทางโลกที่ผุดขึ้นมาจากอาสวะกิเลสนั่นเอง จึงย่อมแฝงกิเลสหรือความขุ่นมัวอยู่ด้วยในที

    การเกิดของสังขารปรุงแต่งนั้น จึงเกิดขึ้นได้จากการผุดนึกผุดจำขึ้นของอาสวะกิเลสขึ้นมาได้เองโดยวิสัยหรือธรรมชาติของชีวิต ๑    จากการส่งจิตออกนอกไปฟุ้งซ่าน(อุทธัจจะ)ปรุงแต่ง ๑     หรือจากกิเลสจรที่เกิดจากการที่อายตนะภายนอกจากการดำเนินชีวิตได้จรมากระทบ ๑

ข้อน่าคิดพิจารณา

    อวิชชา เป็นเหตุปัจจัยร่วมด้วยกับ อาสวะกิเลส จึงมี สังขาร,   อันสังขารนี้ย่อมเป็นสังขาร ฝ่ายกิเลส คือสิ่งปรุงแต่งเจือกิเลสทั้งหลาย ดังเช่น ความคิด ความนึกต่างๆ แต่ย่อมเป็นไปในทางแฝงอกุศล แม้แต่อารมณ์(อันเป็นสังขารสิ่งปรุงแต่งในทางโลก)ฝ่ายอกุศลต่างๆ เช่น หดหู่ กังวล หงุดหงิดใจ ฯลฯ. จึงสามารถเกิดขึ้นได้แต่แรกๆจากอาสวะกิเลสโดยตรงอีกด้วย  (ดังนั้นหลายๆท่านอาจหายสงสัยได้ว่า ทำไมอยู่ดีๆจึงรู้สึก หดหู่ วิตก ฯ.ขึ้นมาเองได้  อันนี้เกิดจากอาสวะกิเลสตามที่ได้สั่งสมอบรมไว้แต่อดีต ได้ผุดขึ้นมาเป็นสังขารได้เองดังกล่าวนั่นอง),  และเมื่อมีสังขาร เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นเหตุปัจจัยจึงมี วิญญาณ ขึ้นรู้แจ้งหรือรับรู้ในสังขารต่างๆข้างต้นที่เกิดหรือผุดขี้นมานั้น เป็นธรรมดาหรือธรรมชาติของชีวิต

     สังขาร จึงเป็นเหตุ ร่วมเป็นปัจจัยกัน จึงมี วิญญาณ

    วิญญาณ อันเป็นองค์ธรรมหนึ่งในปฏิจจสมุปบาท เกิดขึ้นจาก"สังขารข้างต้น"เป็นเหตุปัจจัย จึงเกิดวิญญาณ คือความรู้แจ้งอารมณ์ หรือก็คือวิญญาณนั่นเอง คือมีความรู้ในสิ่งที่กระทบนั้นๆ  กล่าวคือ อายตนะภายใน(ตา หู จมูก...ใจ)ที่มีอยู่เป็นธรรมดาตามวิสัยของชีวิต กระทบกับสังขารกิเลสข้างต้นนั้น เป็นสภาวธรรมในการทำงานของชีวิตหรือวิสัยของชีวิต เป็นกิริยาจิตที่สักว่าต้องทำการงานหน้าที่ของมัน ชนิดปัญจทวาราวัชชนจิต(จากทวารทั้ง ๕) หรือมโนทวาราวัชชนจิต(จากมโนทวาร)คือ ทวารตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร ซึ่งย่อมมีอยู่แล้วเป็นธรรมดาของชีวิต(เพียงแต่นอนเนื่องซึมเซาอยู่) เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดจิตหรือวิญญาณหนึ่งขึ้นรับรู้ในสิ่งที่กระทบระหว่างทั้ง ๒ คือกับสังขารนั้นเป็นธรรมดา จึงเกิดวิญญาณ ๖ ขึ้น คือ มโนวิญญาณถ้าสิ่งที่กระทบนั้นเป็นความคิดหรือธรรมารมณ์  หรือจักขุวิญญาณถ้าสิ่งที่กระทบนั้นเป็นรูปหรือการเห็น  หรือโสตวิญญาณถ้าเป็นเสียงการได้ยิน ฯ. คือ เกิดการรู้แจ้งในองค์ธรรม"สังขาร"ที่เกิดขึ้นข้างต้น เป็นวิญญาณของอายตนะนั้นๆทั้ง ๖ ดัง มโนวิญญาณ  จักขุวิญญาณ  โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ เป็นธรรมดาของชีวิต เป็นสภาวธรรม ไม่เป็นอื่นไปได้  เป็นไปดั่งพระสูตร "มหาตัณหาสังขยสูตร"

            [๔๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

    วิญญาณ อาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น  ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ

    วิญญาณ อาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น  ก็ถึงความนับว่าจักษุวิญญาณ (รู้แจ้งในอารมณ์อันคือรูป หรือรับรู้ในรูป)

    วิญญาณ อาศัยโสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าโสตวิญญาณ (รู้แจ้งในอารมณ์อันคือเสียง หรือรับรู้ในเสียง)

    วิญญาณ อาศัยฆานและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าฆานวิญญาณ (รู้แจ้งในอารมณ์อันคือกลิ่น หรือรับรู้ในกลิ่น)

    วิญญาณ อาศัยชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าชิวหาวิญญาณ (รู้แจ้งในอารมณ์อันคือรส หรือรับรู้ในรส)

    วิญญาณ อาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ากายวิญญาณ (รู้แจ้งในอารมณ์อันคือกาย หรือรับรู้ในกายสัมผัส)

    วิญญาณ อาศัยมน(ใจ)และธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ามโนวิญญาณ (รู้แจ้งในธรรมารมณ์ หรือรับรู้ในธรรมารมณ์)....ฯ.

    กล่าวคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หรืออายตนะภายในนั้น ซึ่งย่อมต้องมีอยู่แล้วเป็นธรรมดาของชีวิต  และเมื่อมีการกระทบกับ "สังขาร" ข้างต้นอันอาจเป็นอาสวะกิเลส หรือรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ จากกิเลสที่จรมาในการดำเนินชีวิต  จึงต้องเกิดวิญญาณของอายตนะนั้นๆขึ้นเป็นธรรมดา ดังพระสูตรข้างต้น

 วิญญาณ จึงเป็นเหตุ ร่วมเป็นปัจจัยกัน จึงมี นาม-รูป

    นาม-รูป อันเป็นองค์ธรรมหนึ่งในปฏิจจสมุปบาท เป็นนามธรรม จึงหมายถึง การทำการงานของชีวิตหรือรูปนาม ที่หมายถึง รูปนามหรือชีวิตที่ยังเดิมอยู่ในสภาพยังนอนเนื่องอยู่เหมือนดั่งอาสวะกิเลส[เหมือนเครื่องยนต์หรือรถยนต์อยู่ในสภาวะ idle(เดินเบา) รอการทำงานจริงคือกระตุ้นเร่งให้ออกแล่นไป คือแม้ทำงานอยู่แต่อยู่ในสภาพเดินเบา ยังต้องรอการกระตุ้นจากการเร่งเครื่องให้ทำงานตามหน้าที่จริง คือการทำให้ขับแล่นออกไปได้] ได้ถูกกระตุ้นเร้าปลุกตื่นตัวจากวิญญาณข้างต้นที่เกิดจากสังขาร จึงทำให้รูปนามเกิดการตื่นตัวขึ้นจากการนอนเนื่อง เหมือนดั่งแมวที่นอนหวดอยู่ แล้วแลเห็นหนูผ่านมา แมวย่อมตื่นตัวขึ้นทันที,  คือจึงพร้อมทำการงานต่างๆของรูปนามหรือชีวิตอย่างเต็มที่หรือเต็มรูปแบบนั่นเอง (หรืออุปมาเหมือนดั่งรถยนต์ที่เร่งเครื่องยนต์ขึ้นเพื่อทำงานตามหน้าที่จริง คือการขับแล่นไปได้ตามจุดประสงค์หน้าที่ได้แล้วนั่นเอง)  โดยปกติรูป-นามหมายถึงขันธ์ทั้ง ๕ หรือชีวิตอันเป็นรูปธรรม  แต่ในปฏิจจสมุปบาทท่านใช้นาม-รูป ที่มีความหมายทางนามธรรม จึงหมายถีง การทำงานหรือการทำหน้าที่การงานของชีวิตหรือรูปนาม

นาม-รูป จึงเป็นเหตุ ร่วมเป็นปัจจัยกัน จึงมี สฬายตนะ

    สฬายตนะ อันเป็นองค์ธรรมหนึ่งในปฏิจจสมุปบาท มีความหมายทางนามธรรมเช่นกัน หมายถึงการทำการงานของอายตนะภายใน ในลักษณาการเดียวกันกับ"นาม-รูป"ข้างต้น คือ อายตนะภายในต่างๆที่ย่อมมีอยู่เป็นธรรมดาของชีวิตอยู่แล้วนั้น เกิดการตื่นตัวคือถูกกระตุ้นเร้าขึ้นมาทำการงานต่างๆตามหน้าที่ตนของอายตนะภายในต่างๆนั้น ตามนาม-รูปหรือชีวิตที่ได้ตื่นตัวขึ้นมาแล้ว  จึงย่อมทำให้อายตนะภายในทั้ง ๖ ที่อิงอาศัยอยู่กับรูปนามนั้นต้องตื่นตัวพร้อมรูปนามไปอีกด้วย จึงไปกระตุ้นเร้าให้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจทั้ง ๖ ที่แม้มีอยู่แต่อยู่ในสภาพนอนเนื่อง จึงย่อมต้องตื่นตัวจากการนอนเนื่องขึ้นเช่นกัน และพร้อมที่จะทำหน้าที่ต่างๆของตนเต็มกำลังตามหน้าที่ตน คือ ตาไปทำหน้าที่ในรูป  หูไปทำหน้าที่ในเสียง  จมูกทำหน้าที่ในกลิ่น  ลิ้นทำหน้าที่รับในรส  กายทำหน้าที่รับโผฏฐัพพะ(สัมผัสทางกาย)  และใจทำหน้าที่รับในธรรมารมณ์ เช่นความคิด เรื่องทุกข์ใจ, หรือรูปที่มากระทบ ฯ. อันล้วนเกิดจากสังขารข้างต้นที่มากระทบนั่นเอง,  โดยปกติท่านใช้อายตนะอันเป็นรูปธรรม หมายถึง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ  แต่ในปฏิจจสมุปบาทท่านใช้"สฬายตนะ"ที่สื่อทางนามธรรม แสดงถึง การทำหน้าที่ หรือ การทำงานของอายตนะภายในต่างๆตามหน้าที่ตน

    กล่าวคือ ถ้าสังขารกิเลสข้างต้นที่เกิดขึ้นจากอาสวะกิเลส ดังกล่าวข้างต้น  เกิดจรกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ต่างๆ เช่น เกิดขึ้นจากการคิดคือธรรมารมณ์ เกิดระลึกรู้ หรือผุดคิด, ผุดนึกขึ้นมา  อายตนะ"ใจ"ที่ย่อมเกิดขึ้นมาทำหน้าที่นั้นย่อมแฝงด้วยกิเลส  ก็จะเข้าทำหน้าที่การงานนั้น ตามหน้าที่ตน

    แต่ถ้าเกิดจาก"รูป"ดังเช่น จากกิเลสจรคือรูปที่จรมาในการดำเนินชีวิต  อายตนะ"ตา"ที่ย่อมแฝงกิเลสก็จะทำหน้าที่ในรูปนั้นๆ

    ถ้าเกิดจาก"เสียง" จากกิเลสที่จรมากระทบคือเสียงที่จรมากระทบ เช่น เสียงนินทาว่าร้าย  อายตนะ"หู"อันย่อมแฝงกิเลสอยู่ ก็จะทำหน้าที่นั้น

    ถ้าเกิดจาก"ธรรมารมณ์" เป็นกิเลสที่จรมา เช่น ความคิด, เรื่องเป็นทุกข์ใจต่างๆ  อายตนะ"ใจ"ที่ย่อมแฝงกิเลสอยู่ในทีแล้ว ก็ย่อมจะทำหน้าที่ของตน...ฯ

สฬายตนะ จึงเป็นเหตุ ร่วมเป็นปัจจัยกัน จึงมี ผัสสะ

    ผัสสะ เป็นอาการของชีวิตที่เมื่อครบองค์ ๓ เรียกว่าผัสสะหรือสัมผัส คือ การประจวบกันของ อายตนะภายนอก๑ เช่น รูป เสียง....ธรรมารมณ์ คือ ความคิดนึกต่างๆ(จากองค์"สังขาร" หรือจากกิเลสต่างๆที่จรมากระทบได้ดังที่กล่าวข้างต้น) ฯ.   กับการทำงานของอายตนะภายในที่แฝงกิเลส(จากองค์สฬายตนะข้างต้น)๑ เช่น ตา หู...ใจ(จากองค์"สฬายตนะ")    อีกทั้งวิญญาณ๑(จากองค์"วิญญาณ"), ที่ต่างล้วนตื่นตัวพร้อมทำการงาน จึงครบองค์ ๓  ซึ่งพระองค์ท่านเรียกการประจวบกันของธรรมทั้ง ๓ นี้ว่าเกิดการ"ผัสสะ"หรือไทยใช้ว่า"สัมผัส" คือ เกิดครบองค์ของการเริ่มทำงานของชีวิตในการติดต่อหรือสื่อสารกับสิ่งต่างๆของโลกกับชีวิต โดยผ่านทางอายตนะภายในทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ที่ย่อมแฝงกิเลสมาด้วยนั่นเอง  จึงเกิดการผัสสะ ๖ จากอายตนะต่างๆข้างต้นขึ้น เช่นเกิด มโนผัสสะ(มโนสัมผัส),  จักขุสัมผัส,  โสตสัมผัส,  ฆานสัมผัส,  ชิวหาสัมผัส,  และกายสัมผัส,  ดั่งนี้พระองค์ท่านจึงตรัสว่า สฬายตนะเป็นเหตุปัจจัยจึงมีผัสสะ

ผัสสะ จึงเป็นเหตุ ร่วมเป็นปัจจัยกัน จึงมี เวทนา

    เวทนา เมื่อมีการผัสสะ ย่อมต้องเกิดเวทนาขึ้นเป็นธรรมดา เป็นไปตามเหตุปัจจัยของขันธ์ ๕ นั่นเอง จึงเกิดเวทนาคือ การเสวยอารมณ์[สิ่งที่จิตกำหนดหมาย ณ.ที่นี้คือ สิ่งปรุงแต่ง(จากองค์"สังขาร"หรือบรรดากิเลสจรที่จรมากระทบ) ดังเช่นความคิด หรือรูป(สิ่งที่เห็น)นั้นๆ หรือเสียงนินทาด่าทอต่อว่า] ที่เมื่อมีการเสวยแล้วย่อมมีการรับรู้ในรสชาด๑  และอีกทั้งเกิดความรู้สึกร่วมจากการรับรู้รสด้วย๑ อันท่านแบ่งเป็น ๓ อันมี สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา อย่างใดอย่างหนึ่งต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาของชีวิตหรือรูปนาม(วิสัยของชีวิต)  และเวทนาที่เกิดขึ้นนี้ย่อมเป็นเวทนามีอามีสเป็นธรรมดา เพราะล้วนเกิดสืบเนื่องมาจากอาสวะกิเลสที่แฝงนอนเนื่องในจิตที่กำเริบขึ้นซึมซ่านย้อมจิตโดยไม่รู้ อีกทั้งจากอวิชชา ดังเช่น เมื่อเกิดสุขเวทนาก็ไปเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดตัณหาคือราคะ หรือโลภะ หรือโมหะ หรือฟุ้งซ่าน ฯ.,  หรือเมื่อเกิดทุกขเวทนาก็เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดตัณหาคือ โทสะ หรือหดหู่ หรือโมหะขึ้น หรือฟุ้งซ่าน,  หรือเมื่อเกิดอทุกขมสุขเวทนาเป็นกลางๆเฉยๆ ก็ประมาท จึงไปฟุ้งซ่านปรุงแต่งจนเกิดเวทนา,ตัณหาแบบต่างๆอันก่อทุกข์ขึ้นจนได้ในที่สุด,  เหตุที่เวทนาในวงจรปฏิจจสมุปบาทเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดตัณหาเป็นสำคัญนั้น แทนที่จะเป็นเกิดสังขารขันธ์คืออารมณ์หรือสิ่งปรุงแต่งให้เกิดอาการต่างๆของจิตตามปกติธรรมดาคือไม่ได้ประกอบด้วยกิเลส หรือเป็นกุศลสังขารขันธ์ ก็ดังที่กล่าวอยู่เนืองๆว่า เป็นเพราะเวทนาในวงจรปฏิจจสมุปบาทล้วนแฝงด้วยกิเลสสิ่งขุ่นมัวจากอาสวะกิเลสและร่วมด้วยอวิชชา จึงล้วนเป็นเวทนามีอามีสคือแฝงเครื่องล่อลวงหรือกิเลสทั้งสิ้น จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสังขารขันธ์ฝ่ายอกุศล คือ ตัณหา แต่ฝ่ายเดียว,   แต่ถ้าเป็นเวทนาในขันธ์ ๕ โดยทั่วไป เวทนาที่เกิดขึ้นนั้นอาจเป็นปัจจัยให้เกิด"กุศลสังขารขันธ์"ที่ไม่ประกอบด้วยอกุศลก็ได้ เช่น สติ ปัญญา ความเป็นกลาง ฯลฯ.  หรืออาจเกิดสังขารขันธ์ฝ่ายอกุศลคือตัณหาก็ย่อมได้เช่นกั

    จึงต้องใช้เวทนานุปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔ คือการมีสติระลึกรู้เท่าทันเวทนา และด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งว่า สักว่าเวทนาขันธ์ที่พึงต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ด้วยเป็นอนัตตาจึงบังคับบัญชาไม่ได้ตามปรารถนา เป็นไปตามเหตุปัจจัย,  แต่ไม่เอา คือปล่อยวาง  โดยการมีสมาธิตั้งจิตมั่นในการอุเบกขาเป็นกลาง โดยการวางเฉย ไม่พัวพัน,  เมื่ออุเบกขาก็ย่อมทำให้วงจรขาดความสสืบเนื่องของเหตุปัจจัยให้ดำเนินต่อไปได้  จึงนับว่าเวทนานั้นดับไป ตัณหา...อุปาทาน...ภพ...ชาติ... ฯลฯ. ย่อมดับไปเมื่อขาดเหตุปัจจัย

    แต่ถ้าทั้งสติและปัญญาไม่เท่าทันเวทนาแล้ว ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้วงจรปฏิจจสมุปบาทดำเนินต่อไป กล่าวคือ เวทนานี้จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดตัณหาต่อไปนั่นเอง

เวทนา จึงเป็นเหตุ เป็นปัจจัยกัน จึงมี ตัณหา

    ตัณหา ความปรารถนา ความใคร่ หรือความทะยานอยาก ความอยากให้เป็นไปตามกิเลสตนหรือความพึงพอใจของตัวตน  ในปฏิจจสมุปบาทและอริยสัจจ์นั้น จะตีความเพียงแค่นี้แบบภาษาทางโลกๆทั่วไปไม่ได้โดยเด็ดขาด  เพราะแท้จริงแล้วมีความหมายครอบคลุมถึงสังขารขันธ์ฝ่ายอกุศลทั้งปวง ที่สามารถทำให้เกิดทุกข์ขึ้นได้  จึงครอบคลุมทั้ง ราคะ โทสะ โมหะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน ริษยา กลัว กังวล ทุกข์ใจ ฯลฯ.,  ตัณหาที่มีความหมายว่า ความต้องการให้เป็นไปตามใจปรารถนาของตน จึงไม่ใช่เพียงแต่ความปรารถนา ความทะยานอยาก(ภวตัณหา) หรือความไม่อยาก(วิภวตัณหา)ต่างๆ ที่เกิดจากเวทนาการเสวยอารมณ์เพียงเท่านั้น  แท้จริงอย่างปรมัตถ์จึงครอบคลุมถึงเหล่าอกุศลจิตทั้งปวงด้วยนั่นเองเพราะมีความเนื่องสัมพันธ์กัน จึงล้วนเป็นตัณหาทั้งสิ้น ดังเช่น

มีตัณหาอยากได้ จึงเกิดตัณหาที่เรียกเจาะจงลงไปว่าโลภ

หรืออยากได้ แต่ไม่ได้ดังปรารถนาก็อาจเกิดตัณหาที่เรียกเจาะจงลงไปว่าความหลง(โมหะ),  หรืออาจเกิดเป็นโทสะ, ความหดหู่, ความฟุ้งซ่าน ก็ย่อมได้  

เมื่อตัณหาแบบไม่อยากได้ จึงเกิดตัณหาที่เรียกเจาะจงว่าโทสะ, หรืออาจตัณหาที่เรียกว่าความหลง(โมหะ)จึงเกิดความกลัว กังวล ริษญา ความหดหู่, ความฟุ้งซ่าน ฯ.

มีตัณหาความใคร่จึงเกิดตัณหาที่เรียกเจาะจงว่าราคะ ฯลฯ.

    จึงกล่าวได้ว่า เพราะมีเวทนา จึงเป็นเหตุปัจจัย จึงมีราคะ โทสะ โมหะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน ริษยา ฯลฯ. ด้วยตัณหาซึ่งแท้จริงแล้วก็คือสังขารขันธ์ฝ่ายอกุศล หรือบางทีเรียกกันว่าจิตสังขารหรือ"จิต", เรียกรวมกันว่าตัณหา เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายและครอบคลุมได้บริบูรณ์ว่าหมายถึง อารมณ์ในทางโลกฝ่ายอกุศลต่างๆ  หรืออาการต่างๆของจิตฝ่ายอกุศลนั่นเองอันล้วนจัดเป็นตัณหา (แสดงทำไม ตัณหาคือสังขารขันธ์ฝ่ายอกุศล)  กล่าวคือการเกิดเวทนาอันเป็นสภาวธรรมชาติของชีวิต มันจึงยิ่งใหญ่และจึงเป็นเช่นนี้เอง ได้เกิดขึ้นมาแล้ว ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการรับรู้ ในสิ่งที่ผัสสะเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือกลางๆ  เมื่อสุขก็เกิดความปรารถนา ความยินดี ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น  เมื่อทุกข์ก็ไม่ปรารถนา ความยินร้าย ไม่อยากได้ ไม่อยากให้มี ไม่อยากให้เป็นไป ฯ. จึงเกิดอกุศลสังขารขันธ์หรืออกุศลจิตต่างๆดังที่กล่าว คือ โทสะ โมหะ โลภะ ราคะ ฟุ้งซ่าน หดหู่ ฯลฯ. ซึ่งเมื่อเกิดตัณหาต่างๆดังนี้  จิตจึงเกิดการคิดอ่านหรือเจตนาต่างๆขึ้นก็เพื่อต้องการให้เกิดผล คือได้รับการตอบสนองตามตัณหาความปรารถนาของตน  จึงเกิดอุปาทานความคิดอ่านหรือเจตนาต่างๆขึ้นตามที่สั่งสมไว้เพื่อหวังให้สัมฤทธิ์ผลเกิดผลคือผลที่ได้รับขึ้นมาได้ดังตัณหาความปรารถนานั่นเอง

    เมื่อเกิดสุขเวทนา ก็เกิดความชอบใจ ติดใจ จึงเกิดตัณหา ความยินดี ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ความติดเพลิน เช่น โลภะ ราคะ ฯ.,  เมื่อเกิดทุกขเวทนา ก็ไม่ชอบใจ ไม่ยินดีคือยินร้าย ก็เกิดอาการผลักไส ไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากให้เป็น ก็คือเกิดตัณหาความหลงคือโมหะ หรืออาจเกิดโทสะ ฯ.,  เมื่อเกิดอทุกขมสุขเวทนา แม้กลางๆเฉยๆแต่ด้วยความไม่รู้อวิชาจึงประมาทไปฟุ้งซ่าน(อุทธัจจะ)จนเกิดสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาต่างๆขึ้นในที่สุด  ด้วยเหตุเช่นดังกล่าวนี้ จึงเป็นเหตุปัจจัยจึงมีอุปาทาน ความคิดอ่านหรือเจตนาเพื่อให้เกิดการตอบสนองต่อความปรารถนาหรือตัณหาของตัวตนเกิดขึ้น

    ตัณหา ความทะยานอยาก, ความดิ้นรน, ความปรารถนา, ความเสน่หา หรือสังขารขันธ์ฝ่ายอกุศลมี ๓ คือ
     ๑. กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม อยากได้อารมณ์(อารมณ์-สิ่งที่จิตกำหนดหมายในขณะนั้นๆ)อันน่ารักน่าใคร่ หรืออาจเป็นที่ไม่ปรารถนาในกามทั้ง ๕ คือใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
     ๒. ภวตัณหา ความทะยานอยากในภพ อันเป็นนามธรรม เช่น อยากให้เป็นอย่างนั้น อยากให้เป็นอย่างนี้ อยากเป็นนั่น อยากเป็นนี่ ดังเช่น อยากร่ำรวย อยากมีชื่อเสียง อยากเป็นดารา อยากโด่งดัง อยากใช้หนี้ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ ต่างๆ ฯ.
     ๓. วิภวตัณหา ความทะยานอยากในวิภพ คือความทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็น อยากไม่เป็นนั่น อยากไม่เป็นนี่ อยากตายเสีย อยากขาดสูญ อยากพรากพ้นไปจากภาวะที่ตนเกลียดชังไม่ปรารถนา เช่น อยากไม่ให้เกิดทุกข์ อยากให้ทุกข์ที่เป็นอยู่ดับสูญไป(จึงยิ่งเป็นทุกข์ เพราะวิภวตัณหานี้นี่เอง)  อยากไม่ยากจน  อยากไม่เป็นหนี้  อยากไม่ถูกโกง  อยากไม่แก่  อยากไม่เจ็บป่วย  อยากไม่ตาย  อยากไม่ให้เป็นไปดังนั้น อยากให้ไม่เป็นไปดังนี้ ฯ. จึงยิ่งเป็นทุกข์ก็เพราะวิภวตัณหานี้นี่เอง,  ซึ่งบางครั้งผู้เขียนเองชอบเรียกง่ายๆมีความหมายถึงวิภวตัณหานี้ว่าความ"ไม่อยาก" ซึ่งแท้จริงแล้วก็เป็นตัณหาความปรารถนาหรือความอยากที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น หรือก็คือความไม่อยากให้เกิดขึ้น  ไม่อยากเจ็บ   ไม่อยากตาย  ไม่อยากให้เป็นไปดังนั้น ไม่อยากให้เป็นไปดังนี้ ฯ.  ความไม่อยากจึงมีความหมายถึง"วิภวตัณหา"นี่เอง และมักเป็นตัณหาประเภท โมหะ(หลง) หดหู่ ฟุ้งซ่าน ฯ.

    จึงแยกแยะแบบง่ายๆเพื่อการนำไปพิจารณาได้เป็น ๒ คือ ความอยาก อันได้แก่ความอยากในกามตัณหาและภวตัณหา  และความไม่อยาก อันได้แก่ความไม่อยากทั้งในกามตัณหาและอีกทั้งวิภวตัณหา

    อนึ่งพึงระลึกว่า ตัณหาหรือสังขารขันธ์ฝ่ายอกุศลนี้ยังพึงเกิดขึ้นได้ แต่เราไม่เอา ไม่ยึดถือให้เป็นไปตามกิเลส(อุปาทาน)เสียนั่นเอง เช่น ไม่เกี่ยวข้องพัวพัน ไม่ปรุงแต่ง หรืออุเบกขาสัมโพชฌงค์เสียนั่นเอง  ตัณหานั้นก็นับว่ากาลนับว่า"ดับไป" คือไม่พึงให้เกิดอุปาทานทุกข์ได้อีกต่อไป

    จึงต้องใช้จิตตานุปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔ คือการมีสติระลึกรู้เท่าทันจิต คือเท่าทันจิตสังขารฝ่ายอกุศลต่างๆ ดังเช่น ราคะ โทสะ โมหะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน ฯลฯ. และด้วยสมาธิตั้งมั่น และปัญญาอันรู้ดีว่า สักว่าสังขารขันธ์ที่พึงต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาเช่นนี้เอง ด้วยเป็นอนัตตา จึงไม่เอา คือปล่อยวาง  โดยการมีสมาธิตั้งจิตมั่นในการอุเบกขา,  เมื่ออุเบกขาก็ย่อมทำให้วงจรขาดความสืบเนื่องที่จักดำเนินต่อไปได้  จึงนับว่าตัณหานั้นดับไป...อุปาทาน...ภพ..ชาติ... ฯลฯ. ย่อมดับไปด้วยเมื่อขาดเหตุปัจจัย.

ตัณหา จึงเป็นเหตุ เป็นปัจจัยกัน จึงมี อุปาทาน

    อุปาทาน มีความหมายว่า ความยึดมั่นถือมั่นด้วยอำนาจกิเลสตน หรือยึดมั่นในความพึงพอใจของตัวตนเป็นสำคัญ   หรือคำนิยามที่ได้ยินกันบ่อยๆจากท่านพุทธทาสที่ใช้ว่า"ตัวกู ของกู"  จึงหมายถึง เครื่องปรุงจิตคือสิ่งที่ไปปรุงจิต ให้คิดอ่านหรือเจตนา(อุปาทานจึงเป็นสัญเจตนาคือเจตนาฝ่ายอกุศลนั่นเอง)ให้เกิดความคิดอ่านหรือเจตนาให้เห็นเป็นไปตามกิเลสของตนหรือความพึงพอใจของตน จึงยังให้เกิดคือเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการกระทำ(กรรม)ชั่วเป็นอกุศลเนื่องด้วยกิเลสของตัวตน ออกมาได้ทั้งทางกาย วาจา และใจ,  จึงยังให้สังขารขันธ์ที่เกิดคือตัณหา(สังขารขันธ์ฝ่ายอกุศล)ข้างต้น ประกอบคือหลอมรวมหรือตกอยู่ใต้อำนาจของอุปาทานที่มีอยู่ ก็เพื่อเจตนาที่เป็นแรงผลักดันจิตให้ลงมือกระทำการ(กรรม)ต่างๆก็เพื่อให้เกิดผลขึ้น คือให้เป็นไปตามกิเลสได้จริง คือให้เป็นไปได้ตามตัณหาความปรารถนาหรือกิเลสของตน จึงแปรไปเป็นสังขารที่ประกอบด้วยอุปาทานความยึดมั่นคือสังขารูปาทานขันธ์, และอีกทั้งขันธ์ทั้ง ๕ ทั้งปวง ที่ปกติจะทำการงานต่างๆประสานสัมพันธ์กันอยู่ตามหน้าที่อันเป็นวิสัยของชีวิตต่อๆไป จึงเกิดการแปรปรวนตามเหตุปัจจัยคือเปลี่ยนแปลง คือถูกครอบงำตามไปด้วยเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ ทั้งสิ้นด้วยอำนาจอุปาทาน,  ดังนั้น ขันธ์ ๕ ต่างๆ ดัง"รูปขันธ์"แปรไปด้วยอำนาจอุปาทานเป็น"รูปูปาทานขันธ์(รูปขันธ์ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นส่วนหนึ่งของรูปขันธ์ ซึ่งล้วนต้องอาศัยใช้ติดต่อกับโลก ก็ตกอยู่ในอำนาจเหตุปัจจัยของอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นของกิเลสตน)",  ส่วน"เวทนาขันธ์"แปรเป็น"เวทนูปาทานขันธ์",  "สัญญาขันธ์"ก็แปรเป็น"สัญญูปาทานขันธ์",  "สังขารขันธ์"ก็แปรเป็น"สังขารูปาทานขันธ์",   "วิญญาณขันธ์"ก็แปรเป็น"วิญญาณูปาทานขันธ์",  ซึ่งพระองค์ท่านได้ตรัสสรุปโดยชัดแจ้งดีแล้วไว้ในอริยสัจจ์ ๔ ในเรื่อง"ทุกข์"ไว้ว่า "โดยสรุป เรากล่าวว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์" นั่นเอง,  อุปาทานขันธ์ ๕ ก็คือขันธ์ ๕ (อีกทั้งสิ่งต่างๆที่ล้วนถูกรู้คือกระทบกับอายตนะต่างๆ ซึ่งต่างย่อมล้วนเป็นส่วนหนึ่งของรูปขันธ์อีกด้วย)ประกอบหรืออยู่ในอำนาจของอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในกิเลสตน หรือตามความพีงพอใจของตัวตนนั่นเอง จึงย่อมมีความเร่าร้อนของไฟกิเลส จึงย่อมเร่าร้อนกว่าทุกขสัจจ์โดยธรรมชาติยิ่งนัก,  อุปาทานมีอยู่ ๔ คือ

        ๑.กามุปาทาน อุปาทานคือ กิเลสสิ่งขุ่นมัวที่ไปปรุงจิตหรือขันธ์ ให้เห็นเป็นไปตามความยึดมั่นถือมั่นด้วยกิเลสหรือความชอบความชังของตน หรือตามความพึงพอใจของตัวตนในกามทั้ง ๕ คือใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส  จึงเป็นบ่อเกิดของความเร่าร้อนด้วยไฟกิเลสของความยึดมั่นถือมั่นในกามทั้ง ๕ ตามความอยาก หรือไม่อยาก ตามความปรารถนา หรือความไม่ปรารถนา(วิภวตัณหา-ไม่อยากให้เกิดขึ้น)ให้เกิดขึ้น,ให้เป็นไป ในกามต่างๆเหล่านั้น ให้เห็นเป็นไปตามความชอบ,ความชัง,หรือรสนิยมความพึงพอใจของตัวตน คือเป็นไปตามความต้องการหรือตามใจปรารถนาของตน  จึงเป็นเหตุให้เกิดอกุศลต่างๆเช่น ความริษยาหรือหวงแหน ลุ่มหลง เข้าใจผิด ทำผิด ยึดติด ฯลฯ.ที่ยิ่งเร่าร้อนด้วยไฟกิเลสของอุปาทาน  ก็เนื่องด้วยตัณหาความกำหนัดในสิ่งต่างๆในรูปธรรมเหล่านั้นจึงเกิดกามุปาทาน

        ๒.ทิฏฐุปาทาน กิเลสที่ปรุงจิตให้เห็นหรือเป็นไปตามความยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิงมงายขาดปัญญา คือ ลัทธิ หลักความเชื่อ ความเข้าใจ ความคิดเห็น ทฤษฏี กล่าวคือปรุงจิตให้มีความคิดเห็นหรือเจตนาให้เป็นไปตามความยึดมั่นถือมั่นตามความเชื่อของกิเลสตนอย่างงมงายขาดปัญญา ที่บางความเชื่อความเข้าใจได้สั่งสมปลูกฝังรากลึกมาตั้งแต่เล็กจนเติบใหญ่  คือปรุงจิตให้เกิดเจตนาหรือคิดอ่านที่จะให้เห็นอีกทั้งเป็นไปตามความคิดเห็นหรือเชื่อมั่นถือมั่นของตนอย่างขาดปัญญา เช่น ชอบชังบุคคลใด บุคคลนั้นก็มักถูกต้องน่ารักน่าใคร่ดีงาม หรือน่าเกลียดน่าชังหรือชั่วร้ายไปตามทิฏฐิความเห็นของตนแต่อย่างเดียวอย่างงมงายโดยขาดปัญญาขาดการพิจารณา  หรือเชื่อว่าต้องเป็นอย่างนั้นๆแล้วด็ ก็เชื่ออย่างหัวปักหัวปำอย่างงมงายขาดเหตุขาดผลขาดการพิจารณา  ไม่รับฟังเหตุผล ไม่พิจารณา ถึงแม้รับฟังใดๆก็ปฏิเสธไม่เชื่อ ดังเช่น เชื่อว่าบุคคลนั้นๆว่าดีงามทั้งๆที่ตรงข้ามกับความจริงเป็นอย่างยิ่ง  ความเชื่อเรื่องคล้องพระเพื่อความคงกระพัน เพื่อโชคลาภ,  กล่าวคือ หัวปักหัวปำเชื่อในความเชื่อต่างๆที่ตนมีอยู่ ที่หมายถึงงมงาย, งมงายในบุคคลหรือสิ่งของต่างๆจนขาดเหตุผลเพราะขาดการพิจารณาด้วยปัญญา, เชื่อในครูบาอาจารยแต่์อย่างงมงาย ขาดสติ จึงขาดการพิจารณาตามที่พระองค์ท่านสอนในหลักกาลามสูตร ข้อที่ ๑๐ ที่สอนว่า "อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา",  ไปยึดมั่นถือมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆในสิ่งที่เกินกำลังตน หรือไม่สามารถกระทำได้ ฯลฯ.  ทั้งสิ้นล้วนเป็นไปตามความเข้าใจความเชื่อของตนเป็นสำคัญ ดังในความเชื่อความเข้าใจต่างๆใรเรื่อง เชื้อชาติ ศาสนา การเมือง ฯ. แต่เป็นไปอย่างงมงายขาดเหตุขาดผลอันถูกต้องดีงาม จึงเป็นโทษมหันต์

        ๓.สีลัพพตปาทาน กิเลสที่ปรุงจิตให้ยึดมั่นถือมั่นให้เห็นเป็นไปตามศีล(ข้อบังคับ)วัตร(ข้อปฏิบัติ)แต่เป็นไปอย่างงมงาย จึงผิด เช่น โดยเชื่อว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ด้วยศีลและวัตรเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอ จึงปฏิบัติแต่ศีลและวัตร ขาดการพิจาณา ขาดการวิปัสสนา, จึงทำแต่บุญกุศลแต่ฝ่ายเดียว,  หรือมีความเชื่อว่าปฏิบัติสมาธิแล้วปัญญาจะผุดเกิดขึ้นมาเอง จึงขาดการเจริญปัญญาคือวิปัสสนาหรือการโยนิโสมนสิการเพื่อให้เกิดปัญญา  หรือเชื่อว่าปฏิบัติสมาธิให้แก่กล้าถึงฌาน ๔ แล้วปัญญาจึงสามารถเกิดขึ้นได้  จึงขาดการพิจารณามัวแต่มุ่งปฏิบัติแต่ฌานสมาธิเสียฝ่ายเดียว โดยไม่รู้ความจริงว่า สมาธิเป็นเพียงเหตุปัจจัยเครื่องสนับหนุนไปใช้ในการพิจารณาให้เกิดปัญญา ดังที่มีกล่าวไว้ในอนุศาสน์ว่า  "สมาธิปริภาวิตา  ปญฺญามหปฺผลา  โหติ มหานิสํสา"   สมาธิ เป็นเครื่องหนุน ปัญญา,  และปัญญาจึงเป็นเครื่องหนุนให้ถึงวิมุตติ(ความสุขจากการหลุดพ้น) ดังปรากฏในสัมมัตตะ ๑๐,  เมื่อไม่รู้ ไม่ยอม ไม่เข้าใจว่าต้องมีการโยนิโสมนสิการหรือธรรมวิจยะเพื่อให้เกิดปัญญา จึงเกิดวิมุตติแท้จริงที่ไม่กลับกลายหายสูญขึ้นได้ ฯลฯ.  จึงมุ่งแต่ปฏิบัติในศีลและวัตรเช่นสมาธิ ทำแต่บุญ ทำแต่กุศลต่างๆ ทำแต่สมาธิไปอย่างมากมายอย่างงมงาย แม้ได้บุญตามนั้นก็จริงอยู่ แต่อย่าหวังหลุดพ้นจากทุกข์ หรือบริสุทธิ์หลุดพ้นไปได้,  ได้เพียงบุญความยินดี หรือมีความสุขจากสมาธิ และความหวังอยู่แบบซ่อนลึกว่าจะได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดียิ่งๆขึ้นไป,  หรือทุกข์ โศก โรคภัย ฯ. จะได้ไม่กล้ำกราย,  หรือเข้าใจไปว่าจะล้างบาปล้างกรรมบริสุทธิ์หลุดพ้นนั้นๆได้เพราะการถือศีลว้ตรเพียงฝ่ายเดียว

        ๔.อัตตวาทุปาทาน กิเลสที่ปรุงจิตให้ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆว่าเป็นตัวตน(อัตตา) หรือเป็นของตนจริง เกิดขึ้นจากการสั่งสมในการพูดจา(วาทุ มาจากคำสมาสกับคำว่าวาทะกับอุปาทาน คือวาทะ-ถ้อยคำ)ต่างๆเพื่อใช้ในการสื่อสารกับโลก อันเป็นวิสัยของชีวิต มาแต่เกิด ก็เพียงเพื่อที่จะแสดงสถานะในทางโลกหรือโดยสมมติแก่ใครๆว่า เป็นตัวตน(อัตตา) หรือว่าเป็นของของตน  จนจิตเกิดความหลงเชื่อ, หลงยึดติดไปโดยไม่รู้ตัว จนเห็นเป็นจริงเป็นจัง ฝังจดจำเป็นสัญญาความจำมาตั้งแต่น้อยจนเติบใหญ่โดยไม่รู้ตัวจึงมั่นคงถาวร  จึงเกิดการยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆว่าเป็นตัวตน หรือว่าเป็นของตนจริงๆขึ้นโดยไม่รู้ตัวจากการสื่อสารคำพูดต่างๆ จึงมองไม่เห็นธรรม ดังเช่น สมัยเด็กก็เริ่มแสดงความเป็นเจ้าของ เช่น ตัวฉัน นั่นนมฉัน นั่นของเล่นฉัน นี่แม่ฉัน จนเติบใหญ่ นั่นของฉัน นี่ทรัพย์สมบัติฉัน นี้ชื่อเสียงฉัน เกียรติยศฉัน ของของฉัน เงินฉัน บ้านฉัน รถฉัน ลูกฉัน เมียฉัน ผัวฉัน แฟนฉัน ฯลฯ. เป็นไปดังนี้ตราบจนวันตาย จึงฝังรากงอกงามอยู่ในจิตมาอย่างเนิ่นนานไม่รู้ว่าสักกี่ภพกี่ชาติมาแล้วนั้น

อุปาทาน จึงเป็นเหตุ เป็นปัจจัยกัน จึงมี ภพ

    ภพ โลกเป็นที่อยู่ของสัตว์, ความมี, ความเป็น,  ในปฏิจจสมุปบาทจึงมีความหมายถึง สิ่ง(ที่อยู่, ที่เป็น, ที่อาศัย, ชนิดของโลกหรือสถานะของโลก) ที่ตนตกลงปลงใจเลือกไปอาศัยอยู่ในขณะนั้นๆ  หรือสภาวะจิตหรือสถานะของชีวิตที่ตนตกลงใจใช้อาศัยอยู่ ณ.ขณะจิตนั้นๆ  หรือวิถี(ทางเดิน)ของชีวิตในขณะนั้นๆ,  ในปฏิจจสมุปบาท แบ่งภพเป็น ๓ คือ ตามที่อยู่ที่อาศัยของกิเลสหรืออุปาทานในแบบต่างๆ คือ กามภพ รูปภพ๑  และอรูปภพ๑  จึงเกิดการเป็นอยู่, การกระทำต่างๆ ได้ทั้งทางกาย วาจา ใจ หรือการดำเนินวิถีชีวิตตามกำลังของภพที่ตนเข้าไปยึดอาศัยอยู่ในขณะนั้นๆ [เทียบเคียงได้กับกรรม(การกระทำต่างๆ)ในขันธ์ ๕ ที่เป็นไปตามสัญเจตนา]  แต่ในภพของวงจรการเกิดขึ้นของทุกข์นี้ย่อมประกอบด้วยทั้ง ตัณหา anired06_next.gif อุปาทาน แล้วดังนั้นจึงเกิดการกระทำต่างๆ(กรรม) หรือการดำเนินชีวิตต่างๆไปตามอำนาจกิเลสหรืออุปาทานของภพ(ที่อาศัยอยู่, ที่ที่เกิดอยู่)นั้นๆ เช่น

    ๑.กามภพ จึงเป็นที่อยู่ หรือที่อาศัยของกามราคะ คือดำเนินสภาวะชีวิตคือเกิดกรรมหรือการกระทำต่างๆทั้งทางกาย วาจา และใจ ไปในกามทั้ง ๕ ตามกิเลสตน คือ ตามอุปาทานยึดมั่นตามความชอบ,ความชัง หรือความพึงพอใจของตัวตนในกามทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส

    ๒.รูปภพ จึงเป็นที่อยู่ หรือที่อาศัยของรูปราคะ คือดำเนินสภาวะของชีวิตไปตามอำนาจของสภาวะรูปฌาน หรือในรูปอันวิจิตร แต่ก็อยู่ภายใต้อำนาจของอุปาทานจึงเป็นโทษ เช่น การกระทำต่างๆในรูปฌาน คือ มีความสุข สงบ เย็น สบาย ฯ. จากปีติ สุข อุเบกขา อันชวนให้เพลิดเพลิน เกิดความพึงพอใจ ซึ่งเกิดแต่อำนาจของรูปฌาน จึงติดเพลินจนเกิดอุปาทานยึดมั่น  จึงประคองอยู่ คอยเสพอยู่ แม้ในการดำเนินชีวิต มิได้นำพาไปใช้ในการเจริญปัญญา จึงเป็นโทษในที่สุด ,  หรือใน"รูปอันวิจิตร"ต่อตน คือในกามทั้ง ๕ ข้างต้นแต่มีความวิจิตรต่อตนเป็นพิเศษ จึงลึกซึ้งและยึดถือกว่ากามทั้ง ๕ เช่นใน ลูก สามี ภรรยา แฟน รถ บ้าน ฯลฯ. สิ่งที่วิจิตรหลงไหลหลงรักใคร่หัวปักหัวปำทั้งหลาย ฯลฯ.

    ๓.อรูปภพ จึงเป็นที่อยู่ หรือที่อาศัยของอรูปราคะ คือ กรรมในสภาวะของอรูปฌาน อันมี ความสุข สงบ สบาย ฯ. อันวิจิตรยิ่งกว่ารูปฌานเสียอีก จึงติดเพลินเพลิดเพลินลึกซึ้งเข้าไปอีก  อันเกิดจากอำนาจของอรูปฌาน  อีกทั้งอุปาทานจึงยึดมั่นติดเพลิน,  หรือใน"อรูปอันวิจิตร" เช่น ชื่อเสียง เกียรติยศ อำนาจ คำสรรเสริญเยินยอ ฯลฯ. คือในอรูปอันวิจิตรต่อตนทั้งหลาย ฝ่ายธรรมมารมณ์ต่างๆอีกด้วย

(ภาพประกอบการเทียบเคียงกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ และกระบวนธรรมของวงจรปฏิจจสมุปบาท  ซึ่งทั้ง ๒ ต่างล้วนเป็นกระบวนธรรมของจิตหรือขันธ์ทั้ง ๕ โดยการอาศัยความเป็นเหตุปัจจัยของขันธ์ทั้ง ๕  เพียงแต่ฝ่ายกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ เป็นการแสดงความเป็นไปเพื่อการดำเนินชีวิตปกติธรรมดา  แต่ปฏิจจสมุปบาทเป็นกระบวนธรรมของจิตโดยขันธ์ทั้ง ๕ ที่ทำให้เกิดทุกข์ เพราะสังขารขันธ์ได้แปรเป็นสังขารขันธ์ฝ่ายอกุศลคือตัณหา  แต่มีพื้นฐานและหลักการในลักษณาการเดียวกัน  ส่วนความแตกต่างในการเรียงลำดับกระบวนธรรมของทั้ง ๒ บ้างนั้น เกิดจากการการจำแนกแตกธรรมที่แสดงรายละเอียดต่างกันออกไปบ้างเท่านั้นเอง,  พระอริยเจ้าหลายท่านจึงกล่าวว่า เข้าใจขันธ์ ๕ ได้แจ่มแจ้งย่อมเข้าใจเห็นปฏิจจสมุปบาทธรรมได้ดี) กระบวนธรรมนี้เหมือนกันหมดทุกรูปนาม ทุกชาติภาษา เป็นสภาวธรรมชาติที่พระองค์ท่านทรงตรัสรู้  ไม่มีใครนอกเหนือไปจากกฏเกณฑ์ธรรมชาตินี้ได้,  บางท่านอาจกล่าวว่าไม่จริง ก็เกิดจากความที่ไม่รู้ความจริงเท่านั้นเอง ต้องเร่งศึกษาโยนิโสมนสิการให้แยบคายแล้วจึงค่อยยืนยัน

ดังหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ได้กล่าวเรื่องขันธ์ ๕ และปฏิจจสมุปบาทไว้ดังนี้่

"...........ที่จริงพระอรหันต์ทั้งหลายท่านไม่ได้รู้อะไรมากมายเลย เพียงแต่เจริญจิตให้รู้ในขันธ์ ๕  แทงตลอดในปฏิจจสมุปบาท  หยุดการปรุงแต่ง  หยุดการแสวงหา  หยุดกริยาจิต  มันก็จบแค่นี้  เหลือแต่ บริสุทธิ์ สะอาด สว่าง มหาสุญตา ว่างมหาศาล"   (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)

ภพ จึงเป็นเหตุ เป็นปัจจัยกัน จึงมี ชาติ

    ชาติ คือ การเกิดขึ้นของทุกข์  กล่าวคือ เมื่อมีภพที่อยู่ที่อาศัยหรือโลกแล้ว ย่อมมีการเกิดขึ้นของหมู่สัตว์ไปอาศัยในโลกนั้นๆ  แต่ปฏิจจสมุปบาท มีความหมายถึง เมื่อมีภพแล้ว จึงมีการเกิดขึ้นเช่นกัน แต่เป็นการเกิดขึ้นของทุกข์ คือ การเริ่มเกิดขึ้นของอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ อันเป็นทุกข์ หมายถึง ขันธ์ ๕ ที่ส่งผลให้เกิดกรรมการกระทำต่างๆขึ้นจากภพในข้างต้นนั้น ที่ล้วนถูกครอบงำหรืออยู่ใต้อำนาจของอุปาทาน แล้วในที่สุดจึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดมโนกรรมคือการกระทำทางใจเช่นความคิดนึก(ซึ่งเป็นกรรมที่เกิดขึ้นจากสังขารขันธ์หรืออารมณ์ฝ่ายอกุศลจากภพ จึงไม่ใช่ธรรมารมณ์โดยทั่วไป) ที่ย่อมถูกครอบงำด้วยอุปาทาน คือเกิดมโนกรรมการคิดนึกหรือการกระทำทางใจที่ถูกครอบงำด้วยด้วยกิเลสหรืออุปาทานแล้ว ที่จะไปทำหน้าที่ คือดำเนินกระบวนธรรมของจิตหรือชีวิตต่อไปโดยไปทำหน้าที่เป็น"ธรรมารมณ์"(สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจเช่นความคิดนึกต่างๆ)ใน"ชรา" ที่ย่อมต้องประกอบด้วยอุปาทานไปด้วย[ความคิดนั้นซึ่งทำหน้าที่เป็นรูป(สิ่งที่ถูกรู้โดยอายตนะต่างๆ) แต่ย่อมแปรเป็น"รูปูปาทานขันธ์"คือสิ่งที่ถูกรู้โดย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่ล้วนอาศัยอยู่ในรูปขันธ์ แต่แฝงความยึดมั่นถือมั่น จึงต่างล้วนอยู่ในอำนาจของอุปาทาน อันเป็นการเริ่มขึ้นของวงจร"ชรา"]  หรือการเริ่มเกิดขึ้นของสังสารวัฏคือการเกิดการเวียนว่ายวนเวียนแปรปรวนของอุปาทานขันธ์ ๕ ต่อไปใน"ชรา"อันย่อมเร่าร้อนด้วยไฟกิเลสคือตัณหา,อุปาทานของตัวตน

จึงกล่าวได้ว่า มโนกรรม(ความคิด)ที่เกิดจากสังขารขันธ์อันเป็นผลของการทำงานของขันธ์ทั้ง ๕ ที่ประกอบด้วยกิเลสของตัวตน(อุปาทาน)ใน"ชาติ"นี้แหละ คือ การเริ่มเกิดขึ้นของทุกข์ เป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศล  การเกิดขึ้นของทุกข์ หรือการเวียนว่ายในกองทุกข์อันเร่าร้อน จึงเริ่มเกิดมีด้วยประการฉะนี้  ไม่ว่าจากอายตนะใดๆเป็นเหตุให้เกิดขึ้นก็ดี ดังการเกิดจาก ตากับรูป, หูกับเสียง, จมูกกับกลิ่น, ลิ้นกับรส, กายกับสัมผัสต่างๆ และใจกับธรรมารมณ์ทั้งปาง  แต่ทั้งปวงในที่สุดแล้วแล้วย่อมรวมลงสู่จิตในที่สุดทั้งสิ้น,  จิตหรือใจจึงเป็นใหญ่ในการดับทุกข์

ชาติ จึงเป็นเหตุ เป็นปัจจัยกัน จึงมี ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

    ชรา สังขารทั้งปวงเมื่อมีการเกิดขึ้นแล้ว ย่อมมีอาการแปรปรวน ไม่เที่ยง เป็นธรรมดาของสังขารตามธรรมนิยาม  ดังนั้นในปฏิจจสมุปบาทก็เช่นกันจึงมีความหมายถึง การแปรปรวน การเปลี่ยนแปลง อันยังให้ทรุดโทรม จึงหมายถึง การแปรปรวนเปลี่ยนแปลง อีกทั้งเกิดการเปลี่ยแปลงวนเวียนเป็นวงจรของขันธ์ทั้ง ๕ กล่าวคือกระบวนธรรมของขันธ์ทั้ง ๕ ใน"ชรา"จึงล้วนประกอบด้วยอุปาทาน กล่าวคือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ทั้ง ๕ ที่จะทำการงานอยู่ใน"ชรา" ซึ่งล้วนถูกครอบงำหรือประกอบด้วยอุปาทานทั้งสิ้นแล้ว จึงแปรไปเป็น รูปูปาทานขันธ์(อุปาทานรูป-ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ถูกรู้โดย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่ล้วนอาศัยอยู่ในรูปขันธ์ แต่ต่างล้วนแฝงอยู่ในอำนาจของอุปาทาน) เวทนูปาทานขันธ์(อุปาทานเวทนา) สัญญูปาทานขันธ์(อุปาทานสัญญา) สังขารูปาทานขันธ์(อุปาทานสังขาร) และวิญญาณูปาทานขันธ์(อุปาทานวิญญาณ) ก็ด้วยอำนาจของอุปาทานนั่นเอง  ดังนั้นอุปทานขันธ์ ๕ จึงย่อมเร่าร้อนเผาลนกว่าทุกข์จากขันธ์ ๕ ตามธรรมชาติ(อันเกิดขึ้นเป็นปกติธรรมดาของชีวิต)   และยังเกิดการวนเวียนปรุงแต่งฟุ้งซ่าน(อุทธัจจะ)ต่างๆนาๆด้วยอุปาทานขันธ์  เป็นวงจรจึงมีแปรปรวนปรุงแต่งไม่รู้จักจบ แบบไม่มีต้นไม่มีปลายอีกต่อไปเชื่อมต่อเป็นวงจรเป็นเหตุปัจจัยต่อกันและกันไปได้เรื่อยๆจึงยาวนานได้  ซึ่งวงจร"ชรา"นี้ก็ซ้อนอยู่ในวงจรปฏิจจสมุปบาทอีกทีนั่นเอง เป็นวงจรที่หมุนหนุนเนื่องให้เกิดการฟุ้งซ่านอยู่ตลอดเวลาได้ ด้วยกำลังแรงของอุปาทาน  จึงยิ่งสั่งสมจึงยิ่งเร่าร้อน การวนเวียนว่ายตายเกิดจึงยิ่งเร่าร้อนเผาลนและยาวนานยิ่งๆขึ้นไปอีก เพราะวนเวียนเป็นวงจรยิ่งสั่งสมไปเรื่อยๆไม่รู้จบ จนกว่าจะดับไปด้วยธรรมนิยามคือทุกขัง(การทรงสภาพเดิมอยู่ไม่ได้ของสังขารทั้งปวง)  หรือจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจากการปฏิบัติตามธรรมของพระองค์ท่านด้วย สติ สมาธิ และปัญญา,  แล้วยังมีการเกิดดับ เกิดดับๆ.....ขึ้นใหม่ต่อไปได้เรื่อยๆอีกนานแสนนาน...ไม่รู้จบ  ก็ด้วยอาสวะกิเลสที่เป็นผลเกิดสืบเนื่องขึ้นมาด้วยโดยไม่รู้ตัว ที่ห้ามไม่ได้ด้วยเป็นสัญญาจำประการหนึ่งและเป็นอนัตตา (จึงเป็นผลข้างเคียง หรือ by products)  จึงเกิดวงจรของทุกข์หรือปฏิจสมุปบาทที่ไม่รู้จักจบดังวงจรที่หมุนหนุนเนื่องให้แปรปรวนดั่งระลอกคลื่นในทะเล ที่มีการหนุนเนื่องกันอยู่ตลอดกาลนาน   ดังรูป

ขันธ์ทั้ง ๕ ที่วนเวียนปรุงแต่งแปรปรวนเป็นวงจรอยู่ใน"ชรา"จึงยาวนานเพราะวนเวียน ต่างล้วนประกอบด้วยอุปาทานเข้าครอบงำแล้วทั้งสิ้น คือ ประกอบด้วย

รูปูปาทานขันธ์(อุปาทานรูป),  เวทนูปาทานขันธ์(อุปาทานเวทนา), สัญญูปาทานขันธ์(อุปาทานสัญญา), สังขารูปาทานขันธ์(อุปาทานสังขาร), และวิญญาณูปาทานขันธ์(อุปาทานวิญญาณ)

อันต่างล้วนเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์  ที่ยิ่งเร่าร้อนเผาลนด้วยไฟของกิเลส กว่าขันธ์ ๕ ธรรมดาที่เป็นเพียงทุกข์ธรรมชาติซึ่งยังต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  

ด้วยแฝงด้วยอุปาทานความยึดมั่นยึดถือตามกิเลสของตัวตน  หรือตัวกู ของกู

 

 

          anired06_next.gif         anired06_next.gif ตัณหา anired06_next.gif อุปาทาน anired06_next.gif ภพ anired06_next.gif ชาติ anired06_next.gif.. รูปูปาทานขันธ์     ใจ anired06_next.gif วิญญูาณูปาทานขันธ์    anired06_next.gif   เวทนูปาทานขันธ์       

                    วงจร ปฏิจจสมุปบาท                                     อุปาทานขันธ์๕ อันเกิดวนเวียนอยู่ใน ชรา อันเป็นทุกข์                          

   ดำเนินไปตามวงจรใหม่  anired06_next.gif อาสวะกิเลส anired06_next.gif มรณะ anired06_next.gif......สังขารูปาทานขันธ์ เกิดมโนกรรมคิดที่เป็นทุกข์      สัญญูปาทานขันธ์    

ภาพขยายในชรา   ล้วนเป็นอุปาทานขันธ์ อันเป็นทุกข์ เพราะเกิดจากสังขารูปาทานขันธ์ในชาติ อันถูกครอบงําโดยอุปาทานแล้ว

 

ภาพขยายความ วงจรชรา(สีแดง)ในวงจรปฏิจจสมุปบาท(สีเทา)

    มรณะ หมายถึง การดับไป สังขารทั้งปวงเมื่อมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่อย่างแปรปรวน แล้วย่อมคลายดับไป(ทุกขัง) มรณะจึงมีหมายถึงการดับหรือการสิ้นไปของอุปาทานขันธ์ ๕ หรือทุกข์ที่เกิดขึ้นมาอย่างเร่าร้อนและวนเวียนจึงยาวนานด้วยอุปาทาน ในวงจร"ชรา"นั้นๆ แต่เป็นเพียงในรอบนี้เท่านั้น และพร้อมที่จะกำเริบเสิบสานเกิดขึ้นมาใหม่ได้อีกเสมอๆโดยธรรม(ธรรมชาติของชีวิต)หรือเมื่อถูกกระตุ้นเร้าโดยการผัสสะใดๆก็ดี  การดับไปจึงเกิดได้จากเหตุหลายประการคือสภาวธรรมของสังขารจึงทุกขังคงสภาพเดิมอยู่ไม่ได้จึงต้องดับไปซึ่งกินเวลายาวนานและที่ยิ่งเร่าร้อนวนเวียน  หรือจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าเบี่ยงเบนไปชั่วขณะๆ  หรือด้วยสติ สมาธิ ปัญญาจากการปฏิบัติอันดีเลิศ

    อาสวะกิเลส อันมี โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส คือเหล่ากิเลสต่างๆที่ย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นผลสืบเนื่องจากทุกข์หรืออุปาทานขันธ์ ๕ ที่ประกอบด้วยอุปาทานที่ได้ดับไปแล้ว แปรไปเป็นสัญญาความจำได้อย่างหนึ่งตามวิสัยของชีวิตนั่นเอง ในเบื้องแรกเป็นในลักษณะเก็บจำนอนเนื่องอยู่ในจิต จึงเป็นสัญญาความจำที่เจือด้วยกิเลสของอดีตที่สั่งสมมา  รอวันเวลากำเริบเสิบสานขึ้นมาใหม่ได้อีกเมื่อไรก็ได้ ด้วยเป็นวิสัยของชีวิตอีกเช่นกันที่ย่อมระลึกจำสิ่งต่างๆขึ้นมาได้ กล่าวคือ กิเลสที่ซึมซาบย้อมจิต ย่อมสามารถผุดขึ้นมาได้เองเป็นธรรมดาของชีวิต  หรือเมื่อมีสิ่งมากระทบกระตุ้นเร้า ก็ย่อมขุ่นมัวขึ้นมาอีก ดุจดั่งน้ำที่ขุ่นมัว แต่ตกตะกอนนอนก้น แล้วถูกกวนให้ขุ่นมัวขึ้นมาฟุ้งกระจายไปย้อมจิตด้วยกิเลสอีกเป็นที่สุด

การตัดวงจรหรือดับวงจรปฏิจจสมุปบาท คือการดับวงจรของการเวียนว่ายตายเกิดในกองทุกข์

    การดับวงจรปฏิจจสมุปบาทหรือวงจรของทุกข์ลงไปนั้น สามารถกระทำได้หลายวิธี เพราะมีความสืบเนื่องเป็นเหตุปัจจัยต่อกัน เมื่อตัดหรือดับไปที่หมายความว่า โดยทำให้วงจรขาดความสืบเนื่องต่อไปคือการดับไป จึงขึ้นอยู่กับ จริต สติ สมาธิ และปัญญาของผู้ปฏิบัติเอง  และสถานะการณ์นั้นๆ  ซึ่งต่างล้วนให้ผลดีงามด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น เพราะเกิดจาการปฏิบัติ มิได้ดับไปเองด้วยสภาวธรรมของ"ทุกขัง"ความที่คงสภาพเดิมอยู่ไม่ได้ดังตามปกติธรรมดาของปุถุชน

    อวิชชาดับ    อันย่อมเป็นสุดยอดของวิชชา เมื่ออวิชชาดับด้วยสติ สมาธิ ปัญญาด้วยมรรค อีกทั้งรู้อดีต อนาคตที่เคยเกิดเป็นมาของทุกข์ล้วนเกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยดังนี้ๆ ด้วยปัญญาดั่งนี้เอง จึงไม่ฟุ้งซ่านปรุงแต่ง(อุทธัจจะ) จึงย่อมไม่เกิดสังขารฝ่ายกิเลสขี้นมา  กล่าวคือ เมื่ออวิชชาดับด้วยวิชชา สังขารจึงดับไป  เพราะสังขารดับไป วิญญาณจึงดับ นาม-รูปจึงดับ  ........ฯ. เนื่องกันไป เกิดปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวาร การดับไปของวงจรของทุกข์นั่นเอง

    เวทนาดับ    เวทนา สติระลึกรู้เท่าทันเวทนา(เวทนาอันเป็นสภาวธรรมตามธรรมคือธรรมชาติของชีวิต  มันเกิดขึ้นและเป็นไปเช่นนี้เองด้วยเป็นอนัตตา)  หรือก็คือหลักปฏิบัติในเวทนานุปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง แล้วไม่เอา ไม่ยึดถือ ไม่ยึดมั่นถือมั่นใดๆ ไม่ปรุงแต่ง หรืออุเบกขาสัมโพชฌงค์เสียนั่นเอง, เวทนานี้เป็นเพียงเครื่องรู้(ญาณ)และเครื่องระลึกเตือน(สติ)ว่า สักว่าเป็นเช่นนี้เองโดยธรรมหรือธรรมชาติ,   เวทนานั้นแม้เกิดขึ้นก็จริงอยู่ แต่ย่อมดับไปที่มีความหมายว่า เวทนาแม้มีอยู่แต่ไม่ส่งผลให้เกิดการเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการสืบเนื่องให้เกิดตัณหา(อกุศลสังขารขันธ์)อันก่อทุกข์ต่อไปอีก กล่าวคือ เวทนานั้นจะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสังขารขันธ์ตามปกติธรรมดาของขันธ์ ๕ ชนิดไม่ประกอบด้วยอกุศลหรือกิเลสนั่นเอง  ก็ด้วยสติสมาธิที่ระลึกรู้เท่าทัน และด้วยปัญญาที่เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในเวทนา ว่าเกิดแต่เหตุปัจจัยใด มันจึงเป็นเช่นนี้เองด้วยอนัตตา จึงปล่อยวางลงไปได้ ด้วยมีกำลังของสมาธิและปัญญาจึงไม่ยึดมั่นถือมั่น หรืออุเบกขาสัมโพชฌงค์นั่นเอง

    ตัณหาดับ    สติระลึกรู้เท่าทันตัณหา หรือสังขารขันธ์ฝ่ายอกุศล กล่าวง่ายๆก็คืออารมณ์ในทางโลกหรืออาการของจิตต่างๆฝ่ายอกุศลนั่นเอง เช่น ราคะ โทสะ โมหะ หดหู่ ริษยา ฟุ้งซ่าน ฯลฯ. แล้วไม่เอา ปล่อยวาง ไม่ยึดถือ ไม่ยึดมั่นถือมั่นให้เป็นไปตามกิเลสตน ด้วยการอุเบกขาสัมโพชฌงค์ จิตสังขารหรืออารมณ์เหล่านี้เป็นเพียงเครื่องรู้(ญาณ)และเครื่องระลึกเตือน(สติ)ว่า สักว่าเป็นเช่นนี้เองโดยธรรมหรือธรรมชาติ, ซึ่งก็คือหลักปฏิบัติจิตตานุปัสนานั่นเอง แล้วอุเบกขาสมโพชฌงค์,  ตัณหาจึงนับเนื่องว่า"ดับไป" ที่หมายความว่าแม้เกิดตัณหามีอยู่แต่ไม่ส่งผลเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการสืบเนื่องต่อไปอีกได้  ก็ด้วยสติสมาธิที่ระลึกรู้เท่าทัน และด้วยปัญญาที่เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในตัณหา ว่าเกิดแต่เหตุปัจจัยใด มันจึงเป็นเช่นนี้เองด้วยอนัตตา จึงปล่อยวางลงไปได้ ด้วยมีกำลังของสมาธิและปัญญาจึงไม่ยึดมั่นถือมั่น หรืออุเบกขาสัมโพชฌงค์นั่นเอง

    อุปาทานดับ  เกิดเนื่องจากตัณหาดับไป คือการดับอุปาทานลงไปด้วยอาการที่เรียกกันไปต่างๆนาๆเช่น ไม่เอา ไม่ยึดถือ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ปรุงแต่งต่อไปอีก ปล่อยวาง โดยสรุปก็คือ"อุเบกขา"เสียนั่นเอง  กล่าวคือเมื่อเกิดราคะ โทสะ โมหะ หดหู่ ฯ.แล้วไม่เอาไปยึดถือ ดังเช่นที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ได้กล่าวไว้ในเรื่องความโกรธว่า โกรธนั้นมีอยู่ แต่ไม่เอา มันก็ดับไปเอง,  ซึ่งแท้จริงแล้วตัณหาดับคืออาการปฏิบัติเดียวกันกับ"อุปาทานดับ"นั่นเอง เพราะไม่เอา ไม่เอาไปยึดถือ ไม่เอาไปยึดมั่นถือมั่น แท้จริงจึงคือสิ่งเดียวกัน เพราะตัณหาเป็นสังขารขันธ์จึงเป็นอนัตตา ควบคุมบังคับย่อมไม่ได้ จึงได้แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มีสติรู้เท่าทันตัณหาข้างต้นแล้วไม่เอาไปยึดถือหรือไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยกิเลสตนหรืออุปาทานนั่นเอง จึงเป็นการปฏิบัติเดียวกันแต่มีมุมมองที่ต่างกันเท่านั้น  แต่มักนิยมใช้กันว่าดับตัณหาหรือตัณหาดับ ก็ด้วยตัณหาเป็นสังขารขันธ์คืออาการอย่างหนึ่งของจิต ที่สามารถมีสติรู้เท่าทันเมื่อเกิดขึ้นมาได้ชัดกว่าดังการปฏิบัติในจิตตานุปัสสนา,  อีกทั้งในอริยสัจ ๔ ได้กล่าวนำไว้ด้วยว่า ตัณหาเป็นสมุทัยเหตุแห่งทุกข์,  ส่วนอุปาทานนั้นมีลักษณะนอนเนื่องเหมือนดั่งอาสวะกิเลสนั่นเอง,   อุปาทานนั้นเป็นไปดั่งพุทธภาฆิตที่กล่าวว่า "เจตนาหํ กมฺมํ วทามิ" ที่แปลได้ว่า "เจตนา(หรืออุปาทานด้วย)นั่นแหละกรรม" อันมีที่มาจากพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า "เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทาม, เจตยิตฺวา กมฺมํ กโรติ กาเยน วาจาย มนสา" แปลว่า "ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนานั่นแหละกรรม(เกิดการกระทำ)  เมื่อมีเจตนาแล้ว บุคคลย่อมกระทำกรรม(การกระทำต่างๆ)โดยทางกาย วาจา ใจ" ดับอุปาทานจึงเป็นการดับกรรมหรือการกระทำต่างๆลงไปเช่นกัน ผลก็คือ ชาติย่อมดับตาม คือเกิดขึ้นไม่ได้นั่นเอง

    ชาติดับ   สติระลึกรู้มโนกรรม เช่นความคิดนึก ที่เป็นผลมาจากกรรม(การกระทำ)ในภพที่อาศัยอยู่  คือสติเห็นจิตคือความคิดนึกชนิดมโนกรรมที่ประกอบด้วยอุปาทานจึงย่อมประกอบด้วยกิเลสนั่นเอง ซึ่งก็คือจิตตานุปัสนาเช่นกัน คือระลึกรู้เท่าทันจิตสังขาร(สังขารของจิต)  แล้วอุเบกขา ไม่ยึดมั่น หมายมั่นใดๆ  จึงนับว่าขาติดับไป  ที่หมายความว่าแม้มีมโนกรรมความคิดเจือกิเลสเกิดขึ้นแล้ว แต่สติระลึกรู้เท่าทัน(เป็นจิตตานุปัสสนาเช่นกัน) แล้วปล่อยวาง ไม่ยึดถือพัวพันเช่นกัน จึงนับว่าดับไป เพราะไม่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการสืบเนื่องต่อไปนั่นเอง

    ชราดับ    ซึ่งย่อมเกิดความคิดนึกปรุงแต่งวนเวียนเป็นวงจรของอุปาทานขันธ์ ๕ ที่ล้วนประกอบด้วยอุปาทาน  กล่าวคือวนเวียนอยู่ในวังวนของกองทุกข์แล้ว  เมื่อสติเกิดรู้เท่าทันทั้งโดยเวทนานุปัสสนา หรือจิตตานุปัสสนาใน"ชรา"ก็ตาม คือทั้งเวทนูปาทานขันธ์ และสังขารูปาทานขันธ์ อีกทั้งมโนกรรมต่างๆใน"ชรา"  แล้วหยุดเสียด้วยการไม่เอา ไม่ปรุงแต่ง ด้วยอุเบกขาเสีย  จึงนับว่าชรานั้นดับไป ด้วยทำให้วงจรของ"ชรา"อีกทั้งวงจรปฏิจจสมุปบาทดับไป ขาดความสืบเนื่องให้เกิดขึ้นต่อไป

    ถ้าไม่สามารถดับวงจรของทุกข์ลงได้ดังกล่าว  ผู้ปฏิบัติก็จะหลงวนเวียนปรุงแต่งอยู่อย่างยาวนานด้วยไฟกิเลสของอุปาทาน จึงยิ่งเร่าร้อนอยู่ใน"ชรา" ไปเรื่อยๆ นานบ้าง เร็วบ้าง ทิ้งช่วงไปบ้าง จนกว่าจิตจะเบี่ยงเบนออกไปด้วยภารกิจอื่นๆ คือจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ด้วยเหตุอันใดก็ดี จิตจึงหยุดวงจรการเวียนว่ายตายเกิดในชราได้ชั่วขณะ  หรือจากการดับไปด้วย"ธรรมนิยามหรือพระไตรลักษณ์"คือ ความไม่เที่ยง คงสภาพเดิมอยู่ไม่ได้นั่นเอง  แต่ต้องใช้เวลาอันแสนยาวนานวนเวียนจมอยู่ในกองทุกข์ เพราะยิ่งปรุงแต่งวนเวียนมากเท่าใดก็ยิ่งย่อมเร่าร้อนเผาลนทวีคูณด้วยการสุมของไฟกิเลสขึ้นมากเท่านั้น  อีกทั้งการดับไปครานี้ย่อมยังให้เกิด"อาสวะกิเลส"คือเกิดกิเลสสิ่งขุ่นมัวเศร้าหมองที่นอนเนื่องเก็บจำไว้มากยิ่งขึ้นโดยไม่รู้ตัวเป็นธรรมดา ที่ย่อมทำให้เกิดการกำเริบเสิบสานขึ้นมาได้อีกเมื่อใดก็ได้ เมื่อขาดสติหรือถูกกระตุ้นเร้าจากกิเลสจร  วงจรของทุกข์ก็จะเริ่มขึ้นอีกครั้งวนเวียนอยู่เยี่ยงนี้ จึงเป็นไปเช่นนี้ได้ตลอดกาลนาน แม้ ๑ชม...๒ชม...๑วัน...๓วัน...๕วัน...๑เดือน...๑ปี...๑๐ปี....ฯ.จวบจนวันตาย

    การดับทุกข์ในวงจรนั้น เหตุที่ต้องกล่าวไว้หลายๆตำแหน่งหรือหลายๆแบบนั้น เพราะขึ้นอยู่กับนักปฏิบัติเอง ที่ย่อมขึ้นอยู่กับ จริต สติ สมาธิ ปัญญา อีกทั้งสภาวธรรมหรือสถานะการณ์ต่างๆของผู้ปฏิบัติเอง  จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเลือกปฏิบัติเป็นลำดับหรือเลือกตัวใดตัวหนึ่ง ให้ใช้หลักว่า

สติรู้เท่าทันธรรมใด ก็ปฏิบัติธรรมนั้นไป

    ที่บางขณะมีวิชชาบริบูรณ์ คือมีสติ สมาธิ ปัญญาเต็มกำลัง จึงหยุดฟุ้งซ่านปรุงแต่งคืออุทธัจจะเสียแต่ต้นมือ สังขารอันประกอบด้วยกิเลสก็ย่อมไม่เกิดขึ้น คือการถึงนับว่าดับไป อันย่อมเป็นสุดยอดของการปฏิบัติหรือการดับวงจรของทุกข์ โดยที่ทุกข์ที่ประกอบด้วยอุปาทานหรืออุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ย่อมไม่เกิดขึ้น  เป็นวิธีการที่ทางนิกายเซ็นนิยมใช้ปฏิบัติ คือเน้นการให้หยุดความคิดปรุงแต่ง(อุทธัจจะ) จึงเกิดจิตพุทธะ เพื่อการบรรลุฉับพลัน ดังใน"คำสอนของฮวงโป" (ในบทที่ ๑ ข้อที่ ๔)

    แต่ในการปฏิบัติจริงของนักปฏิบัติในการดำเนินชีวิต บางครั้งอาจมีสติระลึกรู้เท่าทันเมื่อเกิดเวทนาขึ้นแล้วบ้าง

    บางครั้งอาจมีสติระลึกรู้เท่าทันจิตบ้าง อันคือสังขารขันธ์ฝ่ายอกุศล(ตัณหาหรืออารมณ์ฝ่ายอกุศล)ต่างๆ เช่น โลภะ โทสะ โมหะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน ริษยา ทุกข์ใจ ฯลฯ.

    บางครั้งอาจมีสติเท่าทันจิต จิตที่หมายถึงความคิดที่เกิดขึ้นจากสังขารขันธ์หรือตัณหา คือมโนกรรมความคิดนึกต่างๆใน"ชาติ"อันเป็นการเกิดของอุปาทานขันธ์เบื้องต้นบ้าง

    หรือบางครั้งอาจมีสติเท่าทัน ขณะวนเวียนปรุงแต่งอยู่ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์อย่างเร่าร้อนเผาลนด้วยไฟกิเลสอยู่ในองค์"ชรา"ไปแล้วบ้าง

    หรือบางครั้งอาจมาพิจารณาเห็นอดีตโดยได้ดับไปแล้วบ้าง

    ด้วยเหตุนี้นี่เอง จึงมีการปฏิบัติแบบต่างๆดังปรากฏในสติปัฏฐาน ๔ ก็เพื่อให้มีสติรู้เท่าทันไม่ว่าจะอยู่ในสภาวธรรมหรือสถานะการณ์ใดๆ ก็เพียงเพื่อดับคือตัดวงจรของทุกข์ให้ขาดการหมุนเวียนสืบเนื่องการเป็นเหตุปัจจัยสืบไปของทุกข์  พร้อมทั้งปัญญาสั่งสมที่ย่อมเกิดขึ้นด้วยการเห็นความจริงได้ด้วยตัวตนเองเป็นลำดับว่าเกิดและดับจากเหตุปัจจัยใด ได้อย่างแจ่มแจ้ง จึงเกิดภูมิรู้ภูมิธรรมเป็นกำลังของปัญญาขึ้นไปเป็นลำดับอีกด้วย

จึงล้วนนับว่าเป็นการดับด้วยสติ สมาธิ และปัญญาอันดีงาม และถูกต้องทั้งสิ้น

    ข้อสังเกตุ ในการปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวันที่ควรรู้ เพียงชั่วขณะหนึ่ง เร็วกว่าเสี้ยวกระพริบตา หรือสายฟ้าแลบเสียอีก ดุจดั่งลูกธนูหลุดออกจากแล่งแล้ว กระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ย่อมทะยานไปจนถึงเป้าหมายสุดท้ายของกระบวนธรรมของขันธ์ทั้ง ๕ คือสังขารขันธ์  การไปหยุดลูกศรที่ปล่อยไปแล้วเสียกลางคันกลางอากาศย่อมเป็นไปมิได้ ฉันใดก็ฉันนั้น   ดังนั้นโดยแท้จริงขั้นปรมัตถ์แล้ว วงจรของทุกข์นั้นได้เกิดหรือดำเนินไปอย่างน้อยที่สุดถึงตำแหน่งองค์"ตัณหา"แล้วนั่นเอง กล่าวคือดำเนินไปเหมือนกับกระบวนธรรมการทำงานของขันธ์ ๕ จนสิ้นสุดกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ที่สุดท้ายคือ"สังขารขันธ์" ซึ่ง ณ.ที่นี้ก็คือ"ตัณหา"อันเป็น"สังขารขันธ์ฝ่ายอกุศล"นั่นเอง,  แต่ถ้ารู้เท่าทันเวทนา แล้วปล่อยวางเวทนานั้นไม่ยึดถือพัวพันด้วยรู้ว่ามันเป็นเช่นนี้เอง สุขเวทนาก็เป็นเช่นนีัเอง ทุกขเวทนาก็เป็นเช่นนี้เอง ก็ถึงนับว่าเป็นการ"ดับเวทนา" เมื่อเวทนาไม่ไปเป็นเหตุปัจจัยให้ดำเนินต่อไปได้ด้วยรู้ชัด ทำให้ตัณหาแม้เกิดขึ้นด้วยก็ย่อมคลายดับไป อันนับว่าถึงกาล"ดับไป"ของตัณหาเช่นกัน,   หรือเมื่อสติระลึกรู้เท่าทันจิต(จิตสังขาร)คือตัณหาอันคืออกุศลสังขารขันธ์ แล้วรู้แจ้งจึงปล่อยวาง

    ก็เป็นไปดังที่ท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ได้กล่าวสอนไว้ เมื่อมีผู้เรียนถามท่านว่า"ท่านยังมี"โกรธ"ไหม" ท่านก็ตอบตามความสัตย์จริงและสั้นยิ่งว่า"มี แต่ไม่เอา"  เนื่องด้วยโกรธเป็นสังขารขันธ์(ฝ่ายอกุศล)หรือตัณหาอย่างหนึ่งจึงยังมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดาด้วยเป็น"อนัตตา"ควบคุมบังคับบัญชาเขาไม่ได้ ไม่เป็นไปตามปรารถนา แต่ล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัยเท่านั้น,  และเมื่อเป็นอกุศลสังขารขันธ์คือตัณหาให้เกิดโทสะท่านก็ไม่เอา ที่มีความหมายว่า ไม่เอาไปยึดมั่นถือมั่นด้วยกิเลสตน(อุปาทาน) จึงปฏิบัติด้วยการ ไม่พัวพัน ไม่ยึดถือ ไม่ยึดติด ไม่ปรุงแต่ง คือสรุปโดยการอุเบกขาเป็นกลางวางทีเฉยเสียนั่นเอง, เมื่อขาดเหตุก่อคือเหตุที่ทำให้เกิดการสืบเนื่องต่อไป ตัณหาจึงนับว่าคลายดับไป(ความโกรธเป็นตัณหาคืออกุศลสังขารขันธ์)

    อีกครั้งหนึ่ง มีผู้เรียนถามหลวงปู่เรื่องการละกิเลส "หลวงปู่ครับ ทําอย่างไรจึงจะตัดความโกรธให้ขาดได้"
    
หลวงปู่ตอบว่า "ไม่มีใครตัดให้ขาดได้หรอก มีแต่รู้ทัน... เมื่อรู้ทันมันก็ดับไปเอง"
เหตุเพราะความโกรธนั้นเป็น"สังขารขันธ์"นั่นเอง เป็นอนัตตา จึงบังคับบัญชามันไม่ได้ จึงไม่มีใครห้าม ไปหยุดเขาได้  แต่ถ้ามีสติรู้เท่าทัน แล้วไม่เอาไปยึดมั่นถือมั่น ไม่เอาไปปรุงแต่งต่อไป เหตุก่อให้เกิดการสืบเนื่องต่อไปมันก็ไม่มี มันก็จางคลายดับไปเอง

    หรือดังอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงถึงสภาวธรรมของขันธ์ ๕ อันเป็น"อนัตตา"ได้ดี คือ 

    "มีผู้เรียนถามหลวงปู่ดูลย์ อตุโลว่า "พระอรหันต์ท่านเคยนอนหลับ"ฝัน"เหมือนคนธรรมดาด้วยรึเปล่าครับ"  

    ท่านตอบกลับว่า  "การหลับแล้วเกิด"ฝัน"  เป็นเรื่องของ"สังขารขันธ์" ไม่ใช่หรือ."  

ซึ่งย่อมมีความหมายในคำตอบนั้นว่า "ยังมีอยู่" เพราะเมื่อเป็น"สังขารขันธ์"คืออาการอย่างหนึ่งของจิต ก็ย่อมเป็นสภาวธรรม(ชาติ)หรือวิสัยของชีวิต เป็นอนัตตาจึงไปควบคุมบังคับไม่ได้ จึงยังคงมีอยู่เป็นธรรมดานั่นเอง แม้ในพระอรหันต์ก็ไปห้าม ไปหยุดเขาไม่ได้,   ปุถุชนเมื่อไม่เข้าใจ ก็มีความสงสัยว่า ท่านเป็นพระอริยะจริงหรือ ถึงยังมีโทสะอันคือตัณหาอยู่อีก?  เป็นไปเพราะไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นั่นเป็นเพียง"กิริยาจิต"(ไม่ได้หมายถึงกริยาจิต)จึงเป็นเหตุปัจจัยใหเดำเนินเป็นไปในระดับขันธ์ เป็นเพียงวิสัยของชีวิตโดยธรรม(ชาติ) ยังไม่เกิดอุปาทานขันธ์อันเป็นทุกข์เพราะไม่เกิดความยึดมั่นถือมั่นด้วยกิเลสตน(อุปาทาน) จึงไม่เกิดปฏิฆานุสัยนอนเนื่อง ไม่นับเนื่องเป็นปฏิฆะในข้อ ๕ ของสังโยชน์ ๑๐ สิ่งที่ผูกมัดสัตว์ไว้กับกองทุกข์  กล่าวคือเมื่อเกิดขึ้นแล้วแทนที่จะปล่อยให้เกิดอุปาทาน แต่ท่านก็ไม่เอา คือไม่เอาไปยึดมั่นถือมั่นตามกิเลสหรือความพึงพอใจของตนคืออุปาทาน  ปล่อยวาง ไม่พัวพัน หรืออุเบกขาเสียนั่นเอง เมื่อขาดเหตุก่อให้ต่อเนื่องสืบสัมพันธ์กันต่อไปได้  โทสะในระดับขันธ์ตามธรรมชาติที่เกิดจาก"กิริยาจิต"(ไม่ใช่กริยาจิต)แล้วเป็นเหตุให้ดำเนินไปตามขันธ์ ๕,  แล้วย่อมเสื่อมดับไปเอง ด้วยการปฏิบัติของสติ สมาธิ ปัญญาขององค์พระอริยะเจ้าดังนี้เอง

    ถ้ายังไม่เข้าใจ ก็ขอให้พิจารณาดูเวลาหิว ย่อมอยากทานอาหารเป็นธรรมดาทุกคนไป เป็นเพียงความอยากทานอาหารหรือผลของกิริยาจิตของชีวิตในระดับขันธ์ ๕ เพื่อดำรงชีวิตอันเป็นปกติวิสัยของชีวิตหรือสภาวธรรม จึงไม่นับเนื่องว่าเป็นตัณหาจนเกิดกามราคะ(สังโยชน์ ข้อ ๔) เป็นเพียงอาการของจิตตามธรรมชาติหรือผลของกิริยาจิตอย่างหนึ่งเท่านั้น,   แต่การหิว แล้วเกิดอยากกิน แต่เอาไปปรุงแต่งเนื่องต่อไปว่า ต้อง(ยึดมั่น,อุปาทาน)กินอย่างนั้น ต้องกินไอ้นั่น ต้องกินไอ้นี่ ต้องอย่างนี้ ต้องอย่างนั้นให้ได้ ฯ. เยี่ยงนี้จึงนับเนื่องว่าเป็นตัณหาเพราะย่อมยังให้เกิดอุปาทาน จึงจัดเป็นกามราคะ อันเป็นสังโยชน์ข้อที่ ๔  (ดู สังโยชน์)  เพราะถ้าจำแนกแตกธรรมไม่ถูกต้องแล้วก็จะกลายเป็นความหลง ความไม่รู้หรือโมหะไปเสีย ดังในกรณีที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโล กล่าวไว้ข้างต้นนั่นเอง

แสดงกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ที่ต้องดำเนินไปจนสิ้นสุดกระบวนธรรมที่สังขารขันธ์ ด้วยเป็นสภาวธรรม(ชาติ) เป็นอนัตตา จึงบังคับบัญชาไม่ได้ มันเป็นไปเช่นนี้เอง  เพื่อการโยนิโสมนสิการ

                                         ผัสสะ      รูปสัญญา                          รูปสัญเจตนา

รูป    กระทบกัน เช่น ตาเห็นรูป ตา ย่อมทำให้เกิดขึ้น โดยธรรม จักขุวิญญาณ  การประจวบกันของปัจจัยทั้ง ๓ ข้างต้น  สัญญาจํา ย่อมทำให้เกิด  เวทนา  สัญญาหมายรู้   สังขารขันธ์......อันเป้นขันธ์ที่เป็นผลเกิดขึ้น

และ สังขารขันธ์ คืออารมณ์ต่างๆหรืออาการของจิตที่เกิดขึ้นยังไปเป็นเหตุปัจจัย anired06_next.gif เกิดสัญเจตนา(เจตนา) จึงทำให้เกิด กรรม (การกระทำทางกาย วาจา หรือใจ-มโนกรรม)ต่างๆ

 

ลองพิจารณากระบวนธรรมการทำงานของขันธ์ทั้ง ๕ ข้างต้นว่า เป็นไปดังนี้ไหม?  ถ้าเห็นว่าเป็นไปดั่งนี้ได้แล้ว สมเหตุสมผลแล้วก็ตาม แต่ต้องพิจารณาโยนิโสมนสิการดังต่อไปนี้อีกว่า

ด้วยชันธ์ทั้ง ๕ เป็นอนัตตา จึงไม่มีใครครอบครองเป็นเจ้าของได้ จึงย่อมควบคุมบังคับเขาไม่ได้เลย ได้แต่เป็นไปตามเหตุปัจจัย

ดังเมื่อรูปกระทบตาในผู้มีชีวิต ย่อมเกิดวิญญาณความรู้แจ้ง อันเป็นกิริยาจิตขนิดปัญจทวาราวัชนจิต จะไม่ไปเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดจักขุวิญญาณได้หรือ คือ ไม่ให้เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการรู้แจ้งคือการรู้เห็นรูปนั้น คือไม่ให้เห็นรูปนั้น  หยุดหรือห้ามไม่ให้เกิดขึ้นหรือเป็นไปดังนี้ได้ไหม?  ขอเราจงไม่เห็นรูปนี้เถิด!

ถ้ารูปกับตาอีกทั้งจักขุวิญญาณ คือธรรมทั้ง ๓ ประจวบครบองค์ของการผัสสะหรือสัมผัสในการทำการงานแล้ว แล้วไม่ทำการงานต่อคือหยุดเสีย  หยุดหรือห้ามไม่ให้เกิดขึ้นหรือดำเนินต่อไปได้ไหม?  ขอเราจงไม่เกิดการผัสสะขึ้นเถิด!

ถ้าผัสสะกันแล้ว ไม่ไปเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสัญญาจำได้หมายรู้(รูปสัญญา)ที่มีในรูปนั้น  คือหยุดหรือห้ามไม่ให้เกิดสัญญาขึ้น เป็นไปดังนี้ได้ไหม?  ขอให้เราจงจำเข้าใจในรูปนี้ไม่ได้ด้วยเถิด!

ถ้าจำขึ้นมาได้แล้ว หยุดไม่ให้เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดเวทนาความรู้สึกจากการเสวยในรูปนั้น   หยุดหรือห้ามไม่ให้เกิดขึ้นหรือเป็นไปดังนี้ได้ไหม?  ขอเราจงอย่าเกิดเวทนาเถิด!

ถ้าเกิดเวทนาแล้ว ห้ามไม่ให้เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสัญญาคิดอ่านหมายรู้(รูปสัญเจตนา)ที่สั่งสมอบรมนั้น  หยุดหรือห้ามไม่ให้เกิดสัญญาคิดอ่านหรือเจตนาที่ไปปรุงจิตให้เกิดอาการของจิตต่างๆขึ้น เป็นไปดังนี้ได้ไหม?  ขอเราจงไม่คิดอ่านเจตนาใดๆในรูปนี้เถิด!

ถ้าเกิดการปรุงจิตของสัญญาคิดอ่าน(รูปสัญเจตนา)แล้ว ห้ามไม่ให้เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสังขารขันธ์หรืออาการต่างๆของจิตคืออารมณ์ต่างๆที่ส่งผลให้เกิดเจตนาและกรรม(การกระทำ)ขึ้น  หยุดหรือห้ามไม่ให้เกิดสังขารขันธ์ขึ้น เป็นไปดังนี้ได้ไหม?  ขอเราจงอย่าได้เกิดอาการของจิตหรืออารมณ์ต่างๆขึ้นเถิด!

    หรือลองพิจารณาดูดั่งนี้ ในผู้มีชีวิตอยู่

    เมื่อตากระทบรูป ขอให้ไม่เห็นรูป ไม่รับรู้ในรูปนั้นได้ไหม?(กิริยาจิต ชนิด ปัญจทวาราวัชชนจิต)

    เมื่อหูกระทบเสียง ขอให้ไม่ได้ยินเสียง ไม่รับรู้ในเสียงนั้นได้ไหม?

    เมื่อจมูกกระทบกลิ่น ขอให้ไม่ได้กลิ่น ไม่รับรู้ในกลิ่นได้ไหม?

    เมื่อลิ้นกระทบรส(อาหาร) ขอให้ไม่รู้รส ไม่รับรู้ในรสได้ไหม?

    เมื่อกายกระทบสัมผัส(โผฏฐัพพะ) ขอให้ไม่รู้สึกสัมผัส ไม่รับรู้รสสัมผัสได้ไหม?

    เมื่อคิดกระทบใจ ขอให้ไม่รู้สึกจากคิดนั้น ไม่รับรู้ในความคิดนั้นได้ไหม?(กิริยาจิต ชนิด มโนทวาราวัชชนจิต)

    ที่เป็นไปดังนี้เพราะเป็นสภาวธรรมของชีวิต ที่ย่อมเกิดกิริยาจิต(ไม่ใช่กริยาจิต)ชนิดปัญจทวาราวัชชนจิตที่ทำหน้าที่แฝงอยู่ในในทวารทั้ง ๕  และมโนทวาราวัชชนจิตที่ทำงานแฝงอยู่ในมโนทวารหรือใจ, เป็นวิสัยของชีวิต เป็นสภาวธรรมอย่างหนึ่ง ในการรับรู้การกระทบกับอายตนะภายนอกทางทวารทั้ง ๖ จึงเป็นเหตุปัจจัยให้ดำเนินต่อไปจนเกิด anired06_next.gif วิญญาณ anired06_next.gif สัญญาจำได้ anired06_next.gif เวทนา anired06_next.gif...ฯ. เป็นไปเช่นนี้เองเป็นธรรมดา  คือ เขาสักว่าทำกิจตามหน้าที่ของเขาแฝงอยู่ จึงไปห้าม ไปหยุดเขาไม่ได้เลย แม้กระทั่งในขณะหลับอยู่! ดั่งเช่นการฝัน

    ลองตอบคำถามเหล่านี้ด้วยการโยนิโสมนสิการด้วยตัวตนเองอย่างแยบคาย  แล้วลองนำไปพิจารณาในทุกๆอายตนะอีกด้วยว่า เป็นไปเยี่ยงไร? แล้วจะดวงตาเห็นธรรม,  ด้วยเหตุดังนี้ขันธ์ทั้ง ๕ เขาจึงทำงานของเขาไปตามธรรม(ชาติ)  จึงไปห้าม ไปหยุดขันธ์ทั้ง ๕ ย่อมมิได้เลย จนสิ้นสุดกระบวนธรรมของขันธ์ทั้ง ๕ คือสังขารขันธ์ จึงกล่าวว่าดุจลูกศรที่หลุดออกจากแล่งย่อมทะยานเข้าสู่เป้าคือสังขารขันธ์  ด้วยเหตุ ด้วยผล ด้วยกลดังนี้แล  มันจึงเป็นไปเช่นนี้เอง(ตถตา)  ด้วยเหตุนี้ในการปฏิบัติที่สำคัญที่สุดที่เราสามารถกระทำได้เพียงหนึ่งเดียวคือโดยอาศัยกำลังสติและสมาธิ แล้วใช้หลักของการปล่อยวาง ไม่พัวพัน ไม่ยึดมั่นถือมั่นในกิเลสตน(อุปาทาน) ไม่ปรุงแต่ง หรืออุเบกขาเสียนั่นเอง (ความมุ่งหมายเหมือนกันทั้งสิ้น)  ด้วยการไปห้าม ไปหยุด ไปกำจัดเขาไม่ได้ ด้วยเป็นทั้งอนัตตา และสภาวธรรม(ชาติ) จึงเป็นเช่นนี้เองเป็นธรรมดา  ก็ด้วยปัญญา(สัมมาญาณ มรรคองค์ที่ ๙)ที่รู้แจ้งเห็นจริงได้ด้วยตัวตนเองดังนี้แล

    ขันธ์ทั้ง ๕ จึงเป็นไปดังเช่นคำสอนของหลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล, ท่านเป็นลูกศิษของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ที่กล่าวในลักษณาการเดียวกันนี้ว่า

    "ขันธ์ ๕ ย่อมทำงานของเขาไปตามธรรมชาติ  ไม่มีใครหยุด  หรือห้ามการทำงานของเขาได้  เพียงแต่มีสติ ระลึกรู้ แล้ววาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็สามารถเป็นอิสระเหนือขันธ์ ๕ ได้ โดยวิธีนี้"

    ข้อธรรมนี้ แม้แลดูธรรมดาๆ แต่แท้จริงแฝงด้วยแก่นธรรมอันสูงสุดในการดับทุกข์ทีเดียว  อีกทั้งเป็นการดับเหตุปัจจัยของวงจรปฏิจจสมุปบาทไม่ให้เกิดการสืบเนื่องเป็นทุกข์อยู่ในทีอีกด้วย  ซึ่งต้องใช้สติ สมาธิ และอีกทั้งกำลังของปัญญาที่เกิดขึ้นเพราะรู้ความจริง มาเป็นกำลังจัดการจึงได้ผลยิ่ง  การปฏิบัติโดยขาดความเข้าใจ(ปัญญาหรือญาณ)เนื่องด้วยอวิชชา ๘ คือความไม่รู้ในเหตุ ในผล ในการเป็นปัจจัยกัน อีกทั้งความไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท แม้ได้ผลแต่มักไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ด้วยยังมีวิจิกิจฉาอยู่ในที จึงขาดกำลังของปัญญาญาณ

    กล่าวคือ ขันธ์ ๕ ย่อมทำงานของเขาตามธรรมชาติ และตามเหตุปัจจัยอีกทั้งการสั่งสมมาแต่อดีตอีกด้วยเช่นสัญญา ขันธ์แต่ละขันธ์ก็ต่างทำหน้าที่หรือกิจของตนและยังเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกัน  ไปหยุด ไปห้าม ไปบังคับบัญชาเขาไม่ได้เลย ด้วยเป็นอนัตตา จึงไม่ใช่เรา,ไม่ใช่ของของเรา  อีกทั้งอย่าลืมว่าทุกขสัจจ์ คือทุกข์ธรรมชาติของชีวิตยังคงมีอยู่เป็นธรรมดา หนักบ้างเบาบ้างตามเหตุปัจจัย จึงต้องยอมรับตามความเป็นจริงของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ว่า มันเป็นเช่นนี้เอง  ด้วยปัญญาอย่างนี้ จึงมีสติปล่อยวาง ไม่ยึดถือ ไม่ยึดมั่นถือมั่นตามกิเลสชอบชังของตนหรือตามความพึงพอใจของตัวตนเป็นสำคัญ(อุปาทาน)  ด้วยอาการไม่เข้าไปพัวพัน ไม่ปรุงแต่ง หรืออุเบกขาเสีย จึงสิ้นเหตุก่อ คือสิ้นเหตุที่จะไปก่อให้เกิดการสืบเนื่องดำเนินต่อไป จึงย่อมไม่สืบเนื่องให้เกิดอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ ซึ่งเป็นทุกข์ที่ประกอบด้วยอุปาทานจึงเร่าร้อนด้วยไฟกิเลสจากการความยึดมั่นถือมั่นอยากให้เป็นไปตามกิเลสตนหรือความพึงพอใจของตนเป็นสำคัญ,  เยี่ยงนี้คือการดับของทุกข์ เพราะวงจรย่อมขาดความสืบเนื่องของเหตุต่างๆที่มาเป็นปัจจัยกัน  เยี่ยงนี้จึงนับว่าเป็นการดับไปของวงจรแห่งทุกข์อย่างถูกต้อง จึงมิใช่ด้วยการกดข่ม,เบี่ยงเบน หรือไปห้าม ไปหยุดเขาเสียดื้อๆ

    ดังนั้นโดยแท้จริงแล้ว ในการดำเนินไปในวงจรปฏิจจสมุปบาทนั้น เหล่าเวทนา ย่อมทำให้เกิด ตัณหา(เพราะเป็น"สังขารขันธ์"แต่ฝ่ายอกุศล)จึงได้ดำเนินเกิดขึ้นแล้วเช่นกัน เฉกเช่นเดียวกับขันธ์ ๕  เนื่องจากในช่วงแรกจนถึงตัณหา(อันคือสังขารขันธ์)นี้ เป็นการแสดงการเริ่มเกิดขึ้นของวงจรโดยการทำงานประสานกันของขันธ์ทั้ง ๕ มาเป็นเหตุปัจจัยกันนั่นเอง กระบวนธรรมจึงดำเนินไปตามสภาวธรรม(ชาติ)เหมือนขันธ์ ๕ จึงไปห้าม ไปหยุดเขาไม่ได้ ด้วยเป็นธรรมชาติของชีวิต จึงเกิดดำเนินไปจนถึงสังขารขันธ์(คือตัณหา),  อีกทั้ง ถ้าสติไม่เท่าทัน ไม่ปล่อยวางหรืออุเบกขาเสียก็อาจดำเนินไปตามวงจรของเหตุปัจจัยไปจนเกิด ย่อมทำให้เกิด อุปาทาน ย่อมทำให้เกิด ภพ ย่อมทำให้เกิด ชาติอันเป็นความคิดนึก ที่ประกอบด้วยอุปาทานจึงเป็นทุกข์ (คือเกิดมโนกรรมความคิดที่ประกอบด้วยอุปาทานใน"ชาติ") ย่อมทำให้เกิด หรือแม้อาจดำเนินไปจนถึงอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ใน"ชรา" ที่วนเวียนปรุงแต่งเป็นวงจรของทุกข์ที่เวียนหนุนต่อเนื่องกันไปเป็นวงจร เมื่อเป็นวงจรได้ จึงไม่รู้จบ จึงยาวนาน จึงยิ่งสั่งสม จึงยิ่งเร่าร้อนด้วยไฟกิเลส,   ดังนั้นการมีสติรู้เท่าทัน จึงมีความหมายถึง สติระลึกรู้เท่าทันในตัวใดตัวหนึ่งที่ได้เกิดขึ้นมาแล้วดังกล่าว ตามจริต ความชำนาญ(วสี) สติ สมาธิ ปัญญา และสถานะการณ์ต่างๆ กล่าวให้เข้าใจง่ายๆก็คือ สติระลึกรู้เท่าทันสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่กล่าวก็ล้วนดีงามทั้งสิ้น  ไม่จำเป็นต้องรู้เท่าทันสิ่งไหนก่อนกัน ซึ่งบางครั้งสติอาจระลึกรู้ในเวทนาบ้าง  หรือจิตคือตัณหาบ้าง(สังขารขันธ์ฝ่ายอกุศลหรือจิตสังขารหรือเรียกว่าจิต)  หรือความคิดบ้าง(มโนกรรมจัดว่าเป็นจิต คือจิตสังขารอย่างหนึ่งเช่นกัน)  หรือมักเรียกกันว่าจิต(สติ)เห็นจิต(คิด)บ้าง หรือจิต(สติ)เห็นคิด(มโนกรรม)บ้างก็ได้นั่นเอง ตามแต่ละท่านจะจำแนกแตกธรรม,   การมีสติระลึกรู้นี้เกิดตามแต่จริต สติ สมาธิ ปัญญาของนักปฏิบัติที่ได้ฝึกฝน,อบรม,สั่งสมมา อีกทั้งความแรงเข้มเด่นชัดของแต่ละองค์ธรรมที่เกิดขึ้นซึ่งย่อมมีความแตกต่างกันไปตามสภาวธรรมหรือสถานะการณ์  กล่าวคือ เกิดทุกข์ขึ้นเกือบครบวงจรของทุกข์แล้ว เพียงแต่ยังไม่มรณะคือยังไม่คลายดับไป  การมีสติระลึกรู้เท่าทันจึงอาจระลึกรู้เห็นเด่นชัดในเวทนาบ้าง  บางขณะบางสถานะการณ์สติระลึกรู้เท่าทันเห็นเด่นชัดในจิต คือตัณหาคือโทสะคือโกรธ หรือโลภะอยาก ฯ.บ้าง  หรือจิตที่เป็นความคิดนึกปรุงแต่ง(มโนกรรม)ใน"ชาติ"  หรืออุทธัจจะฟุ้งซ่านอยู่ใน"ชรา"แล้วบ้าง  ซึ่งต่างก็ล้วนดีงามทั้งสิ้น เพราะล้วนแต่เกิดจากสติและปัญญาอันแจ่มแจ้งดีแล้ว  เพียงแต่เมื่อสติระลึกรู้เท่าทันแล้ว ต่างล้วนปฏิบัติโดยการปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยกิเลสตนหรือความพึงพอใจของตัวตน จึงไม่พัวพัน ไม่ปรุงแต่ง หรืออุเบกขาเสียทั้งสิ้น กล่าวคืออย่าลืมว่า ทั้งเวทนาและตัณหา(สังขารขันธ์)ยังคงมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  และอาจเกิดถึง"ชาติ"อันคือความคิดนึกมโนกรรมที่ประกอบด้วยอุปาทานอีกด้วย แต่ด้วยปัญญาแจ่มแจ้งเป็นกำลัง จึงไม่ดิ้นรน จึงไม่เอา คือไม่ยึดมั่นถือถือด้วยกิเลส ไม่หมายมั่น ไม่พัวพัน หยุดการปรุงแต่งต่อไปเสีย สักว่ามันเป็นสภาวธรรม มันจึงเป็นเช่นนี้เอง  ดังนั้นด้วยการอุเบกขา หยุดเสียดื้อๆ ไม่ต่อล้อต่อเถียงกับจิต ไม่เปิดโอกาสให้จิตหลอกล่อพัวพันไปปรุงแต่งให้เนื่องยืดยาวต่อไปอีก  มีสติกำจัดเหล่าอภิชฌา(ความอยากได้)และโทมนัส(ความไม่สบายใจ)ทั้งหลายออกไปดังที่ท่านได้กล่าวไว้ในสติปัฏฐาน ๔,  วงจรของทุกข์ก็ย่อมเสื่อมดับไป เพราะไม่มีเหตุปัจจัยเป็นกำลังให้สามารถหมุนหนุนเนื่องให้วงจรของทุกข์ขับเคลื่อนวนเวียนต่อไปได้อีก  อีกทั้งพร้อมทั้งการสั่งสมอันดีเลิศของสติและปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติ ที่เห็นได้ด้วยตัวตนเองจริง, มิใช่จากการปล่อยให้มันดับไปเองด้วยอำนาจทุกขังดังปุถุชนทั่วไป,  จนเป็นวสีในที่สุด สามารถกระทำได้เองแทบเป็นอัตโนมัติ หรือมหาสติอันดีเลิศ

    ดังนั้นการดับไปในวงจรปฏิจจสมุปบาททั้งใน เวทนา และอกุศลสังขารขันธ์(ตัณหา) ตลอดจนความคิด(มโนกรรม)  จึงมีความหมายว่า แม้ยังคงเกิดขึ้นก็จริงอยู่ และทุกขสัจจ์ก็ยังมีอยู่อย่างยอมรับความจริง แต่ปล่อยวาง ไม่พัวพัน ไม่ปรุงแต่ง หรืออุเบกขา จึงไม่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการสืบเนื่องเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดทุกข์ที่ประกอบด้วยอุปาทานได้วนเวียนเป็นวงจรได้อีกต่อไป จึงนับว่าเป็นการดับไป  อย่างถูกต้องดีงาม,  จึงไม่ใช่การพยายามไปดับแบบไม่ให้เกิด ไม่ให้เป็น ไม่ให้มี แบบตรงๆดื้อๆได้ดั่งการเปิดปิดหลอดไฟแต่อย่างใด ลองพิจารณาดูว่าเคยพยายามกระทำดังนี้ไหม?  เพราะทั้งขันธ์ ๕ และปฏิจจสมุปบาทมีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น และต่างล้วนเป็นสภาวธรรม เป็นอนัตตาจึงย่อมควบคุมบังคับบัญชาเขาไม่ได้  มันจึงเป็นเช่นนี้เองคือเมื่อมีเหตุมาเป็นปัจจัยแก่กันและกันย่อมต้องเกิดขึ้น แต่เพราะการปล่อยวาง อุเบกขาวางทีเฉย ไม่พัวพันในองค์ธรรมใดๆที่สติรู้เท่าทัน จึงตัดวงจรการเกิดสืบเนื่องของเหตุปัจจัยออกไป จึงถึงนับได้ว่าเป็น"การดับไป"ด้วยองค์ธรรมนั้นๆนั่นเอง

    ดังได้กล่าวเรื่องจิตเห็นจิตมาแล้ว เพื่อแก้ข้อสงสัยของบางท่าน ที่ได้กล่าวไว้ว่า จิตแรกหมายถึงสติซึ่งก็คือสังขารขันธ์จึงจัดเป็นจิตสังขารอย่างหนึ่งเช่นกัน จึงใช้เรียกแทนสติว่าจิต  ส่วนจิตหลังนั้นหมายถึงความคิดที่เกิดขึ้นจากสังขารขันธ์(อารมณ์ต่างๆ)ไปปรุงจิตให้เกิดการกระทำทางใจ คือความคิดความนึกอันเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการเป็นเหตุปัจจัยกันของขันธ์ทั้ง ๕ ที่เรียกกันว่ามโนกรรม การกระทำทางใจคือความคิดนั่นเอง จึงจัดว่าเป็นจิตสังขารหรือจิตเช่นกัน,  บางท่านไปเข้าใจว่าจิตตัวหลังหมายถึง"ธรรมารมณ์" คือความคิดความนึกที่ทำหน้าที่เป็นเหตุ จึงพยายามไปหยุดคิดหยุดนึก,ห้ามไม่คิดไม่นึกเสีย ก็เพื่อไม่ให้เกิดเวทนา anired06_next.gif สัญญา anired06_next.gif....ฯ. เจตนาก็เพื่อดับเวทนาเสียไม่ให้เกิดขึ้นหรือสิ้นไปเสียตรงๆ หรือก็เพื่อเจตนาไม่ให้เกิดเวทนาขึ้นมาเลย,  แต่เพราะกระบวนธรรมของชีวิตหรือขันธ์ ๕ เป็นสภาวธรรม(ชาติ) จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะไปควบคุมบังคับดับกระบวนธรรมคือดับที่ฝืนธรรมชาติหรือดับธรรมชาติ  และแท้จริงแล้วสิ่งที่เรียกว่า"ธรรมารมณ์หรือสิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ"นี้เกิดขึ้นเหมือนดั่งยังลอยละล่องยังไม่ทำการงานใดจากใจเดิมที่นอนเนื่องอยู่ เป็นเพียงเหตุสิ่งที่จะไปปรุงแต่ง แต่ยังไม่ได้มีการปรุงแต่งอะไรๆดังองค์"สังขาร"ในปฏิจจสมุปบาทก็เช่นกัน จึงยังไม่มีความหมาย คือเป็นเพียงเหตุแต่ยังไม่ได้เป็นปัจจัยกับสิ่งใดๆเลย  จึงยังไม่รู้อะไรอะไรทั้งสิ้นเพราะยังขาดเหตุปัจจัยให้รู้แจ้ง(วิญญาณ)  จนกระทั่งกระทบกับอายตนะภายในของชีวิตคือมโนหรือใจ จึงเกิดวิญญาณขึ้นคือมโนวิญญาณ จิตหนึ่งหรือวิญญาณ(การรู้แจ้งในสิ่งกระทบ)จึงเกิดขึ้น จึงจักเกิดการรู้แจ้งคือรับรู้ในธรรมารมณ์นั้นๆขึ้นได้ แต่ถึงแม้รู้แจ้งด้วยเกิดวิญญาณขึ้นแล้ว แต่จำต้องดำเนินไปตามกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ อันเป็นธรรมชาติของชีวิต ไปจนสิ้นสุดกระบวนธรรมเหมือนดั่งลูกศรที่ออกจากแล่งดังกล่าว จึงย่อมยังให้ต้องเกิดเวทนา anired06_next.gif สัญญา(ธัมมสัญเจตนา) anired06_next.gif สังขารขันธ์ อันเป็นผลของการทำงานเป็นเหตุปัจจัยกันของขันธ์ทั้ง ๕  และสังขารขันธ์นี้แม้จบกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ไปแล้วก็ตาม แต่สังขารขันธ์นี้ก็ยังไปทำหน้าที่เป็นเหตุปัจจัย คือเป็นสิ่งที่เราเจตนาหรือคิดอ่านไปปรุงจิตให้เกิดกรรมต่างๆเช่นมโนกรรมขึ้นเนื่องต่อไปอีกด้วย,  และมโนกรรมนี้นี่เองที่จะไปทำหน้าที่เป็นเหตุคือธรรมารมณ์อีกครั้ง เกิดกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ขึ้นมาอีก จึงก่อให้เกิดฟุ้งซ่านหรือวนเวียนเป็นวงจรของขันธ์ ๕ ขึ้นได้  ด้วยเหตุนี้จึงจำต้องมีสติระลึกรู้เท่าทันมโนกรรม แล้วปล่อยวาง ไม่พัวพัน  มโนกรรมก็ย่อมไม่สามารถไปทำหน้าที่เป็นเหตุก่อให้เกิดการสืบเนื่องต่อไปได้อีก อันอาจก่อให้เกิดทุกข์ได้จากการฟุ้งซ่านนั่นเอง ดังภาพที่แสดง  (สำหรับผู้ที่ยังสงสัย หาอ่านรายละเอียดได้ใน ขันธ์ ๕ กระบวนธรรมของชีวิตโดยลำดับ)

คิด หรือ ธรรมารมณ์ (คิดที่เป็นเหตุ เมื่อเกิดแล้วย่อมดำเนินไปตามหตุ)    +   ใจ     anired06_next.gif    มโนวิญญูาณขันธ์     anired06_next.gif     เวทนาขันธ์

หยุด มโนกรรม                       แสดงวงจรกระบวนธรรมการทำงานของขันธ์ทั้ง ๕  ที่วนเวียนปรุงแต่ง                               

สังขารขันธ์ เกิดมโนกรรม(เกิดคิดที่เป็นผล แม้ต้องรับผล ไม่สามารถดับได้  แต่อุเบกขาได้ จึงไม่ไปเป็นเหตุอีกได้)      สัญญาขันธ์

    จากการพิจารณาดังโยนิโสมนสิการข้างต้นแล้ว ยังยืนยันได้โดยอาศัย"ปฏิจจสมุปบาทธรรม" กล่าวคือ องค์ธรรม"สังขาร"คือสิ่งปรุงแต่งที่เกิดขึ้นนั้น เบื้องต้นก็ยังไม่มีการรับรู้ใดๆเป็นเพียงเหตุที่ยังไม่ได้เป็นปัจจัยกับสิ่งใดๆ จึงต้องเกิดวิญญาณขึ้นมาทำหน้าที่รู้แจ้ง ในสังขารปรุงแต่งนั้นก่อน จึงทำให้นาม-รูปหรือชีวิตทำหน้าที่การงานขึ้นได้

    จิตเห็นจิต ในทางวิปัสสนา จึงไม่ใช่การเห็นจิตเป็นดวง เป็นแสง เป็นมณี เป็นปฏิสนธิวิญญาณ เป็นเจตภูติ เป็นตัวเป็นตนแบบใดๆก็ตามที หรือหาว่าอยู่ที่ไหน อยู่อย่างไร แต่อย่างใดทั้งสิ้น,  ในการปฏิบัติสมถะสมาธิอาจมีบางท่านบางครั้งใช้ไปเป็นอุบายวิธี ในการรวมจิตให้เป็นสมาธิ แต่ก็มีสั่งสมสั่งสอนกันจนหลงผิดไปกันอย่างแพร่หลาย  จนเมื่อปฏิบัติก็พยายามหาจิต ซึ่งหาอีกกี่ภพกี่ชาติย่อมไม่เจอ ที่เจอก็คือของหลอกลวงที่นักปฏิบัติอุปโลกน์เองขึ้นมาโดยไม่รู้เท่านั้น, เป็นความเข้าใจที่ผิดที่มีการปฏิบัติกันแพร่หลายมาอย่างช้านาน  (อ่าน จิตคืออะไร อยู่ที่ไหน)

    อีกทั้ง"จิตเห็นจิต" อาจมีความหมายรวมถึงการมีสติเท่าทันในเวทนาอีกด้วย จึงครอบคลุมทั้ง เวทนา จิต(จิตสังขารหรือสังขารขันธ์) อีกทั้งมโนกรรมความคิด  จึงขึ้นอยู่กับการจำแนกแตกธรรมของแต่ละท่าน  เพราะเวทนาก็เป็นเจตสิกคืออาการอย่างหนึ่งของจิต ในเจตสิก ๕๒ เช่นกัน เพียงแต่ที่ไม่จัดว่าเป็นสังขารขันธ์นั้น เพราะว่าเวทนานั้นจัดเป็นขันธ์ๆหนึ่งแล้วคือเวทนาขันธ์นั่นเอง  บางท่านจึงจัดเป็นจิตสังขารอีกอย่างหนึ่งก็ได้เช่นกัน

    จิตเห็นคิด ก็คือจิตเห็นมโนกรรม(การกระทำทางใจคือความคิด)ใน"ชาติ" และ"ชรา" นั่นเอง จึงจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของจิต หรือ"จิตเห็นจิต"หรือ"สติเห็นจิต"ได้ด้วยเช่นกัน

    นักปฏิบัติที่มักสงสัย จนเกิดวิจิกิจฉาว่า ทำไมจึงยังเกิด เวทนา ตัณหา และมโนกรรมอยู่ ปฏิบัติไม่ถูกต้องหรืออย่างไร? ดับมันไปไม่ได้เสียที  ก็เนื่องด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น  คือยังเกิดอยู่ มีอยู่ แต่มีสติ ปัญญา รู้เท่าทัน แล้วอุเบกขา จึงเกิดสิ่งที่เราเรียกกันว่าดับไป จากการปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นหมายมั่น ไม่พัวพัน ไม่ปรุงแต่ง หรือก็คือการอุเบกขา จึงทำให้ไม่เป็นเหตุให้เกิดการต่อเนื่องเป็นวงจร

               การดับวงจรของทุกข์  

               วงจรปฏิจจสมุปบาท  

    จากการพิจารณาดังนี้ๆ  อาจพอได้ข้อสรุปหลักปฏิบัติให้ได้ดังนี้

    สติระลึกรู้เท่าทันตัวใดตัวหนึ่งดังที่จะกล่าวต่อไป ต่างล้วนดีงามทั้งสิ้น แม้เร็วบ้าง ช้าบ้าง  เพราะล้วนเกิดจากสติ สมาธิ และสัมมาญาณ,  ด้วยไม่ใช่ปล่อยให้ฟุ้งซ่าน ปรุงแต่งต่างๆจนดับไปเองด้วยอำนาจทุกขัง(ความทรงสภาพเดิมอยู่ไม่ได้)ในพระไตรลักษณ์,  เมื่อสติระลึกรู้เท่าทันแล้ว ก็อุเบกขา คือวางเฉย ด้วยการไม่การปรุงแต่ง ก็เพื่อหยุดการเป็นเหตุปัจจัยไม่ให้เกิดการสืบเนื่องกันต่อไปจนวงจรของทุกข์เกิดการสืบเนื่องต่อไปได้ ด้วยปัญญาที่ทราบดียิ่ง

    ๑. มีสติ สมาธิ คือ มีสติระลึกรู้เท่าทัน โดยมีสมาธิคือตั้งใจอย่างแน่วแน่เป็นเครื่องหนุนหรือเสาหลัก ในการไม่ปรุงแต่งสังขารกิเลสขึ้น  ที่ต้องประกอบด้วยปัญญาจากการพิจารณาโดยแจ่มแจ้ง(โยนิโสมนสิการ)แล้ว  ด้วยรู้ดียิ่งว่าด้วยเหตุอันใดจึงต้องมีสติ สมาธิ ไม่ปรุงแต่งดังกล่าว  และด้วยปัญญาอันรู้ดียิ่งว่า ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด วิญญาณ เป็นเหตุปัจจัยสืบเนื่องต่อไปอีกเป็นธรรมดาที่ไม่ธรรมดา  หรือกล่าวสั้นๆได้ว่า มีสติและสมาธิอยู่กับกิจหรือการงานที่ทำ ไม่ส่งจิตออกไปฟุ้งซ่านปรุงแต่งหรือเมื่อกระทบกับอารมณ์ที่จรมานั่นเอง จึงไม่เป็นการเปิดโอกาสให้จิตเกิดสังขารกิเลสขึ้นนั่นเอง อีกทั้งการสำรวม สังวร ระวัง ในอารมณ์คืออายตนะภายนอกที่จรมากระทบ  อันเป็นการเปิดโอกาสให้อาสวะกิเลสที่นอนเนื่องอยู่เป็นเหตุปัจจัยร่วมกับอวิชชาจึงมีสังขารกิเลสขึ้นนั่นเอง

    ๒. มีสติ สมาธิ คือ มีสติระลึกรู้เท่าทัน โดยมีสมาธิคือตั้งใจอย่างแน่วแน่เป็นเครื่องหนุนหรือเสาหลัก ในเวทนที่เกิดขึ้น  ที่ต้องประกอบด้วยปัญญาจากการพิจารณาโดยแจ่มแจ้งในเวทนาแล้วว่าด้วยเหตุอันใด แล้วประกอบด้วยการอุเบกขา คือไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ปรุงแต่ง ด้วยปัญญาหยั่งรู้ดีว่า ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดผลสืบเนื่องต่อไปจนเกิด"ตัณหา" จนเป็นทุกข์ในที่สุดนั่นเอง ที่ย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาที่ไม่ธรรมดา

    ๓. มีสติ สมาธิ คือ มีสติระลึกรู้เท่าทัน โดยมีสมาธิคือตั้งใจอย่างแน่วแน่เป็นเครื่องหนุนหรือเสาหลัก ในจิต อันคือจิตสังขารต่างๆ ที่ย่อมหมายรวมทั้งตัณหา(โลภะ  เช่นความอยาก ราคะ, โทสะ เช่นโมโห ขัดเคืองใจ,โมหะ เช่นความหลง เพราะความไม่รู้ เชื่อง่าย หูเบา ฯลฯ.) อีกทั้งมโนกรรมความคิดนึกใน"ชาติ"ที่เกิดขึ้นจากตัณหา-อุปาทาน-ภพ,  ที่ต้องประกอบด้วยปัญญาจากการพิจารณาโดยแจ่มแจ้งแล้วว่าด้วยเหตุอันใด แล้วประกอบด้วยการอุเบกขา คือไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง ไม่ปรุงแต่ง ด้วยรู้แจ้งยิ่งว่า ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดผลอื่นๆสืบเนื่องต่อไปเป็นธรรมดา ดังแสดงในวงจรปฏิจจสมุปบาท จนเป็น"อุปาทานขันธ์ ๕" อันเป็นทุกข์ ที่หมุนวนเวียนหนุนเนื่องอยู่ใน"ชรา"อันเร่าร้อนเผาลน

    การดับวงจรของทุกข์ดังกล่าวข้างต้น จึงนับได้ว่าเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องดีงามทั้งสิ้น ไม่ว่าจะสติเท่าทันแบบใดก็ดี แม้ทั้งการมีสติระลึกรู้เท่าทันในองค์"ชรา"อันได้เริ่มเสวยทุกข์ คือได้เสวยทุกข์ไปบ้างแล้ว  เนื่องด้วยการดับไปนี้ประกอบด้วยการใช้ทั้ง สติ สมาธิ ปัญญา  เพราะไม่ใช่การปล่อยให้วงจรของทุกข์หนุนหมุนเวียนไปเรื่อยๆ ให้สั่งสม และยาวนานฟุ้งซ่านพล่านไป จนดับไปเองเพียงด้วยธรรมนิยามคือ"ทุกขัง"คือการที่คงสภาพเดิมอยู่ไม่ได้ อันเป็นการหยุดที่เป็นไปเพียงตามสภาวธรรมคือเป็นไปตามกฏธรรมชาติคือพระไตรลักษณ์หรือธรรมนิยามเท่านั้น  ไม่ได้เกิดจากการปฏิบัติที่ประกอบด้วยสติ สมาธิ และปัญญา จึงย่อมมีผลแตกต่างกับการปฏิบัติดังที่กล่าวมาข้างต้น  เพราะจิตย่อมไม่เกิดการรู้เห็นความจริงขั้นสูงสุดต่างๆจากความเป็นเหตุปัจจัยอะไรๆอันเป็นปรมัตถ์ด้วยตัวตนเอง  จึงเป็นการดำเนินไปแบบปุถุชนทั่วไป ย่อมทำให้ไม่เกิดความก้าวหน้าในการเจริญธรรม คือปัญญา อันเป็นกำลังสำคัญในการก้าวจนถึงวิมุตติ

    ในองค์"ชรา"นั้นแม้เสวยทุกข์ไปบ้างแล้วเพราะล้วนประกอบด้วยอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ที่วนเวียนปรุงแต่งกันอยู่ แต่ถ้าเป็นการดับที่เกิดจากการปฏิบัติที่ใช้ทั้ง สติ สมาธิ และปัญญาดังกล่าว ไปรู้เท่าทันในเวทนาและจิตก็ดีงามถูกต้องเช่นกัน ถึงแม้เป็นการรู้เท่าทันในอุปาทานเวทนา และจิตที่เป็นอุปาทานสังขาร(สังขารูปาทานขันธ์)และมโนกรรม(ความนึกคิดต่างๆอันเป็นผลจากอุปาทานสังขารที่ปรุงจิตให้เกิดกรรม)ที่ย่อมประกอบด้วยอุปาทานเช่นกัน คือย่อมประกอบด้วยกิเลสจากอุปาทาน ที่วนเวียนปรุงแต่งอยู่  แต่เมื่อมีสติ,สมาธิ,ปัญญาเท่าทันก็ปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นตามกิเลสชอบชังของตน คืออุเบกขา องค์ชราอันเร่าร้อนจึงเสื่อมดับไปเช่นกัน,  อีกทั้งเกิดการสั่งสม อบรม จนสติ สมาธิ และปัญญา ให้แก่กล้าขึ้นไปเป็นลำดับ เพราะการรู้เห็นความจริงได้ด้วยตัวตนเองหรือปัจจัตตัง  เพราะไม่ใช่การปล่อยให้ดับไปด้วยอาการทุกขัง(การคงสภาพอยู่ไม่ได้)ในพระไตรลักษณ์เหมือนปุถุชน

    การดับวงจรของทุกข์ให้ได้ผลนั้น เป็นการทำงานร่วมกันทั้งของ สติ สมาธิ และปัญญา  กล่าวคือ สติและสมาธิทำหน้าที่จับในการรู้เท่าทัน  ส่วนปัญญานั้นทำหน้าที่เป็นเครื่องดับ  การดับความสิ้นไปแห่งเหตุปัจจัยนี้  ไม่ใช่การต้องไปไล่เรียงวงจรปฏิจจสมุปบาททุกคราไป  แต่เป็นเพียงการอธิบายเพื่อให้เห็นความจริงของธรรมเท่านั้น  เพื่อให้เกิดกำลังของปัญญา และน้อมรับความจริงได้ดี จึงเป็นกำลังของปัญญาในการทำให้สิ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย  ใช้การปฏิบัติในสติปัฏฐาน ๔ เป็นทางปฏิบัติ ที่ประกอบด้วยความเข้าใจดี(ปัญญา)ในธรรมใดเกิดแต่เหตุ เพื่อความสิ้นไปของปัจจัย จากปฏิจจสมุปบาทเป็นกำลังจากการรู้ความจริง

    การปฏิบัติดังนี้จึงอาศัยการปฏิบัติในสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง คือ มีสติระลึกรู้เท่าทันเวทนา(เวทนานุปัสสนา)  และสติระลึกรู้เท่าทันจิต จิตที่หมายถึงจิตสังขารคือทั้งสังขารขันธ์อารมณ์ต่างๆเช่น โทสะ โมหะ หดหู่ ฯ. และยังครอบคลุมถึงผลที่เกิดสืบเนื่องจากสังขารขันธ์ด้วยก็คือความคิดหรือมโนกรรมจึงเป็นจิตสังขารอย่างหนึ่งเช่นกัน อันเป็นการปฏิบัติจิตตานุปัสสนานั่นเอง (.........สังขารขันธ์ สัญเจตนา(เจตนา)  กรรม มโนกรรม)

    จิตเห็นจิต ถ้าเทียบเคียงกับขันธ์ ๕ ทั้งปฏิจจสมุปบาทแล้ว จิตแรกมีความหมายถึง"สติ"  ส่วนจิตหลังมีความหมายถึง"จิตสังขาร"คือสังขารปรุงแต่งจากจิตทั้งปวง  จึงไม่ใช่จิตที่หมายถึงวิญญาณ,  ดังนั้นความหมายของจิตเห็นจิต คือการที่สติเห็นจิตสังขาร  จิตสังขารซึ่งครอบคลุมได้ทั้ง เวทนา สังขารขันธ์(ตัณหาในปฏิจจสมุปบาท) และความคิด(มโนกรรม)ต่างๆ แล้วแต่การจำแนกแตกธรรมของแต่ละท่าน,  แต่บางทีก็จำแนกแตกธรรมแยก"เวทนา"กับ"สังขารขันธ์และความคิด"กันเพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้นก็มี  จึงเรียกเป็น จิตเห็นเวทนาบ้าง  และจิตเห็นจิต(สังขารขันธ์คือตัณหากับความคิด)บ้าง

    จิตเห็นคิด ถ้าพิจารณาจากปฏิจจสมุปบาทแล้ว ก็คือ อาการที่"สติ"เห็นความคิด(มโนกรรม)ที่เกิดใน"ชาติ"และ"ชรา"นั่นเอง  เมื่อเป็นอกุศลก็ ปล่อยวาง หยุดปรุงแต่ง อุเบกขาเสีย (จึงไม่ใช่การหยุดคิด หยุดนึกทั้งปวงโดยไม่มีปัญญา),   แต่ถ้าเทียบเคียงกับกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ แล้ว จิตเห็นคิด ก็คือการที่จิตเห็นมโนกรรม อันเป็นผลที่เกิดสืบเนื่องจากสังขารขันธ์นั่นเอง  ดังภาพ

                                         ผัสสะ      รูปสัญญา                          รูปสัญเจตนา

รูป    กระทบกัน เช่น ตาเห็นรูป ตา ย่อมทำให้เกิดขึ้น โดยธรรม จักขุวิญญาณ  การประจวบกันของปัจจัยทั้ง ๓ ข้างต้น  สัญญาจํา ย่อมทำให้เกิด  เวทนา  สัญญาหมายรู้   สังขารขันธ์.......[ anired06_next.gifเกิดสัญเจตนา(เจตนา,จงใจ)จึงทำให้เกิดกรรม (มโนกรรม)]

 

     ไม่ว่าจะปฏิบัติโดยวิธีใดๆก็ตาม ตามจริต สติ สมาธิ ปัญญาของตนที่ได้สั่งสมอบรมปฏิบัตินั้น ก็ด้วยจุดประสงค์สูงสุดคือ เพื่อให้วงจร"ปฏิจจสมุปบาท"หยุดการดำเนินสืบเนื่องของการเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกัน  จึงทำให้วงจรของทุกข์ดำเนินต่อไปไม่ได้ คือการดับไปนั่นเอง อันเป็นเป้าหมายสูงสุดแท้จริงในการปฏิบัติ

ปฏิจจสมุปบาท

ขันธ์ ๕

กลับหน้าเดิม

 

Google


ทั่วโลก  ค้นหาเฉพาะใน"ปฏิจจสมุปบาท"